วันอาทิตย์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2554

ระบบทุนนิยม (PA704)

                                     ระบบทุนนิยม คือ พลังเบื้องหลังที่ขับเคลื่อนกระบวนการที่เรียกว่า โลกาภิวัฒน์ 
Pax  Britanuica  คือ ระบบทุนนิยมที่อังกฤษเป็นศูนย์กลาง หัวใจสำคัญอยู่ที่การควบคุมการค้าของอังกฤษระหว่างอินเดียและจีน  สิงค์โปร์เป็นเกาะที่เป็นทางผ่าน มีฝิ่นเป็นสินค้าสำคัญของอังกฤษเป็นที่มาของการสะสมทุนอย่างมหาศาล เกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจไทย คือ เมื่ออังกฤษยึดอินเดียวแล้ว ยึดพม่า กรุงเทพฯในยุคก่อนทำสัญญาเบาริ่ง พื้นที่ส่วนใหญ่ปลูกอ้อยจึงทำให้ไทยเป็นผู้ส่งออกน้ำตาล ผู้ที่เข้ามาลงทุนผลิตน้ำตาล คือ พ่อค้าชาวจีน พ่อค้าสิงค์โปร์ผลักดันรัฐบาลอังกฤษให้ทำสนธิสัญญากับไทยเพื่อซื้อน้ำตาลได้อย่างสะดวก 
                ลัทธิเสรีนิยม (liberalism)  รัฐอังกฤษเลิกหารายได้เองแต่หันมาเก็บภาษีแทน เป็นจุดเริ่มต้นของลัทธิเสรีนิยม
                Pax Britanuica มีลัทธิทางเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ เสรีนิยม ตั้งแต่ ร.3 ท่านรู้ว่าท่านเองเคยเป็นพ่อค้าขายของให้หลวง ท่านจึงยกเลิกการแต่งเรือหลวงและพระคลังสินค้า  การหารายได้เข้ารัฐโดยการเก็บภาษีอาการ ท่านเพิ่ม tax farm 38 รายการ  (tax  farm คือ เวลามีธุรกรรมทางค้าขึ้นมีความต้องการของรัฐที่จะเข้าไปเก็บส่วนเกิน ) โดยมีเจ้าพระคลังสินค้าเป็นผู้คุมอาการและเจ้ากรมพระคลังเป็นผู้คุมภาษี ซึ่งทั้ง 2 ฝ่ายเป็นพี่น้องกันเพื่อเป็นการถ่วงดุลกัน การที่ไทยเป็นผู้ผลิตน้ำตาลก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ คือ การที่มีแรงงานอื่นเข้ามานั้น หมายถึงการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยามีนัยะสำคัญกับชาวนาไทย คือ ชาวนาไทยเริ่มต้นผลิตสินค้าให้ตลาด ข้าวไม่ได้มีไว้บริโภคเพียงอย่างเดียว ชาวนาไทยเริ่มมีการบริโภคสินค้าอื่น ๆ ร. 3 จึงขยาย tax farm ดังนั้น ไทยเป็นศูนย์กลางของระบบทุนนิยม จะเห็นการขยายตัวของระบบโครงสร้างเศรษฐกิจ มีการบริโภคสินค้าเพิ่มขึ้น เศรษฐกิจขยายตัวนัยสำคัญ คือ เป็นที่มาของรายได้ของรัฐ
                Pax Britanuica เป็นระบบทุนนิยม มีรัฐอังกฤษเป็นศูนย์กลาง มีบทบาทสำคัญในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พ่อค้าอังกฤษในสิงค์โปร์เริ่มอึดอัดเรื่องพ่อค้าเอาเรือมาซื้อน้ำตาลที่ไทย ไทยต้องเริ่มปฏิรูปการเก็บภาษี อังกฤษซื้อข้าวและขายฝิ่น อังกฤษต้องการให้ไทยปลูกข้าวให้ตลาดโลกเพราะอังกฤษรู้ว่าบริเวณอื่น ๆ ปลูกน้ำตาลได้ดีกว่าไทย เช่น ฟิลิปปินส์ เกาะชวา ไทยจึงตกอยู่ในฐานะความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ คือ สินค้าชนิดนี้ที่อื่นสามารถผลิตได้ดีกว่า นี่คือความต้องการของอังกฤษ ๆ เป็นทุนนิยมการค้าหรือทุนนิยมพาณิชย์ อังกฤษต้องการค้าขายได้ภายใต้เงื่อนไขของตัวเองโดยไม่ต้องการให้เป็นประเทศอาณานิคม  โดยส่งตัวแทนเข้ามาติดต่อกับ ร. 3 ๆ ให้ขุนนางไปติดต่อกันเอง ในขณะนั้นกลุ่มขุนนางได้แบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย ๆ แรก คือ กลุ่มพระคลังอากร ซึ่งเป็นพวกที่ศึกษาอารยธรรมตะวันตกซึ่งเชื่อว่าเปิดโอกาสค้าขายกับอังกฤษไทยจะได้ผลประโยชน์  และกลุ่มพระคลังภาษีซึ่งเป็นกลุ่มที่ไม่อยากเปลี่ยนแปลง  ดังนั้น การทำสนธิสัญญาเบาริ่งเป็นเรื่องของการต่อรองความขัดแย้งภายใน 2 กลุ่ม ๆ ที่ฐานอำนาจที่ระบบเดิมไม่ต้องการเปลี่ยนแปลง กลัวกระทบกระเทือนกับฐานของตนกับกลุ่มที่ต้องการเปลี่ยนแปลง ต้องการเปิดการค้า ยอมรับระบบเสรีนิยม (Pax  Americana 2)  ร.4 อนุญาตให้ซื้อฝิ่นได้และเป็นฐานรายได้สำคัญของประเทศ ปัญหาของสนธิสัญญาเบาริ่งอยู่ที่จะรื้อโครงสร้างที่กลุ่มพระคลังภาษีคุมได้อย่างไร
                1.  การเปิดการค้ากับอังกฤษที่เกิดจากข้อเรียกร้องของระบบทุนนิยม ในกระบวนการดังกล่าวมีพลังสังคมต่าง ๆ เช่น ร.4 , พระคลังอากร   Public Policy เกิดมาจากข้อเรียกร้องของระบบทุนนิยมโลกมีคนได้ประโยชน์และถูกต่อต้านจากกลุ่มผู้เสียประโยชน์
                ผลที่เกิดจากการทำสัญญา
                1.  โครงสร้างอำนาจทางการเมือง  ร. 4 เป็นกษัตริย์ที่ไม่มีพระราชอำนาจ โครงสร้างเดิมเป็นระบบอุปถัมภ์  อำนาจทางการเมือง คือ ความสามารถในการควบคุมและจัดสรรทรัพยากร ๆ คือ รายได้ที่เป็นภาษีอากร ส่วนใหญ่ตกอยู่ในมือพระคลังภาษี คนเหล่านี้เห็น ร.4 ไม่มีพระราชอำนาจจึงไม่สนใจนำรายได้ให้ท่านหรือที่เรียกว่าพระคลังข้างที่ (ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์)  จึงเป็นเงื่อนไขในการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสมัย ร. 5 เกิด Public  Policy ที่สำคัญ คือ
                - เกิดการขยายตัวของการผลิตเป็นที่มาของรายได้ที่เป็นภาษีอากรของรัฐ เมื่อก่อนอยู่ในมือขุนนางฝ่ายพระคลังภาษี เมื่อสิ้น ร. 4 พวกขุนนางได้เลือก ร. 5 เป็นกษัตริย์ เพราะคิดว่าสามารถจะควบคุมทรัพยากรเหล่านี้ต่อไปได้
                โครงสร้างการคุมกำลังคนในช่วงนี้แบ่งให้ขุนนางคุม หลังเสียกรุงรัฐไม่อยู่ในฐานะควบคุมกำลังคนได้ ฐานอำนาจของรัฐจึงอยู่ที่การค้า การผลิต หลังสัญญาเบาวริ่ง ร. 4 นำโดยพระคลังอากรอยากให้เลิกระบบศักดินา เลิกทาส แต่ปัญหาอยู่ที่ว่าจะตอบแทนขุนนางได้อย่างไร  สัญญาเบาริ่งทำให้ไพร่ ทาส เป็นแรงงานอิสระ ได้ไปปลูกข้าวส่วนรัฐก็จะเก็บภาษีจากการปลูกข้าว  การเปลี่ยนแปลงในสมัย ร. 5 ไม่ได้เพื่อรับมือการล่าอาณานิคมแต่จำเป็นต้องปรับโครงสร้างการควบคุมกำลังคน โลกาภิวัตน์เปิดประเด็นว่ามีความจำเป็นต้องจัดการ ร. 5 จึงอาสาเข้าไปจัดการเรื่องนี้เอง ชนกลุ่มใหญ่ในสังคมไม่อยากให้มีการเปลี่ยนแปลงเรื่องไพร่ สมเด็จเจ้าพระยาฯ จึงให้ ร. 5 เข้ามาแก้ไขจึงเป็นที่มาที่ท่านตั้งหอรัษฏากรพิพัฒน์ (สนง.เร่งรัดรายได้)  สมเด็จฯ เร่งรัดรายได้ของท่าน สมัยก่อนมีกระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม กรมพระคลังสมบัติ  ในสมัย ร. 4 กรมหลวงวงศาฯ ซึ่งเป็นน้อง ร. 4 หักหลังท่านโดยการไม่นำรายได้ส่งให้ท่าน  ในสมัย ร. 5 จึงพยายามดึงเอารายได้มาอยู่ภายใต้การควบคุมของพระองค์  ในพิธีราชาภิเษก ครั้งที่ 2 ร. 5 จึงออกประกาศเลิกหมอบคลาน ทำให้ไทยเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ท่านให้ผู้สำเร็จราชการอังกฤษที่สิงค์โปร์มาพบเพื่อขอคำปรึกษาและได้มีการตั้งสมาชิกสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินโดยสาเหตุที่ท่านยกเลิกหมอบคลานเพื่อจะเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกับทุนนิยมของอังกฤษ  เมื่อ ร. 5 คิดจะยึดอำนาจจากขุนนางท่านศึกษารูปแบบการปกครองของประเทศต่าง ๆ ต้นแบบที่ท่านนำมาใช้ปฏิรูปมาจากฝรั่งเศสซึ่งเป็นต้นแบบของระบบสมบูรณาฯ  สภาที่ปรึกษาได้ออกกฎหมายดึงเอา tax farm เข้ามาที่สำนักทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ สมเด็จเจ้าพระยาฯ ไม่ยอม ร. 5 จึงขอตรวจบัญชีจากกรมนาพบว่าสมเด็จเจ้าพระยาฯ คอรัปชั่น จึงมีการแจกบัตรสนเทศว่าหลวงจะฆ่าวังหน้า ทำให้ ร. 5 ไม่พอใจ(เนื่องจากสมเด็จเจ้าพระยาฯ นั้นเป็นผู้ที่แต่งตั้งวังหน้า) ทำให้เกิดการปะทะกันระหว่างวังหน้าและวังหลวง พวกวังหน้าหลบเข้าไปพึ่งสถานทูตอังกฤษ ๆ จึงเข้ามาจัดการเรื่องนี้และอังกฤษก็เข้าข้าง ร. 5  ทุนนิยมโลกเปิดโอกาสให้ ร. 5 ทำการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ คือ ดึงทรัพยากรเข้ามาที่ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ 
เหตุการณ์นี้เกี่ยวข้องกับโลกาภิวัตน์ คือ
1.             ท่านให้ข้ออ้างที่จะต้องเปลี่ยนแปลงเป็นข้ออ้างของการปฏิรูป
2.             ท่านรู้ว่าการหาประโยชน์จาการขยายตัวทางเศรษฐกิจมาเป็นพื้นฐานในการสร้างระบบราชการสมัยใหม่เพราะเป็นระบบฐานอำนาจของกษัตริย์ ไม่ใช่ระบบที่จะเอาตำแหน่งมาหาประโยชน์ ระบบเก่ากษัตริย์ไม่มีอำนาจเพราะไม่มีรายได้ โดยในระบบใหม่ ข้าราชการต้องมีการศึกษา มีเงินเดือนประจำและทำงานตามกฎเกณฑ์
ระบบทุนนิยมโลกในเชิงทฤษฏี ต้องมีศูนย์กลางและมีบริเวณที่มีปฏิสัมพันธ์กับส่วนกลาง แต่ละบริเวณมีหน้าที่ในระบบทุนนิยมแตกต่างกันออกไป หน้าที่ถูกกำหนดโดยศูนย์กลาง ดังนั้นความสัมพันธ์ในระบบทุนนิยมโลกจึงเป็นความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ศูนย์กลางเป็นผู้กำหนดนโยบายแต่ละบริเวณ เช่น ให้ไทยเป็นผู้ผลิตข้างแทนน้ำตาล  ศูนย์กลางจะมีอำนาจบริเวณต่าง ๆ จะทำหน้าที่อะไรในระบบทุนนิยมนั้นขึ้นอยู่กับการสั่งการเป็นสำคัญ เป็นการแบ่งงานกับทำระหว่างประเทศ บริเวณต่าง ๆ ผลิตสินค้าที่ต่างกันไป ในวิชาเศรษฐศาสตร์ทฤษฎี Neo classic บอกว่า Internationl of Labour เกิดจากหลักการสำคัญ คือ Comparative Advantage  (ความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ)  ฝรั่งเศสมีภูมิประเทศเหมาะแก่การปลูกองุ่น จึงมี Comparative Advantage  ที่จะผลิตไวน์  ส่วนไทยนั้นภูมิประเทศเหมาะกับปลูกอ้อยและข้าว  ดังนั้น หัวใจสำคัญของการทำงานของระบบทุนนิยมโลก คือ ศูนย์กลางเป็นผู้กำหนดที่ตอบสนองความต้องการของตัวเองเป็นเรื่องความสำคัญในเชิงอำนาจ  ระบบทุนนิยมโลกแต่ละช่วงมีศูนย์กลาง การทำงานไม่มีขอบเขตในรัฐของตัวเอง แต่จะดึงบริเวณต่าง ๆ ให้เข้ามาอยู่ในระบบ อาณาบริเวณจึงไม่ได้ถูกกำหนดที่เส้นกั้นเขตแดนของประเทศแต่ขึ้นอยู่กับบริเวณใดที่เกี่ยวข้องกับระบบทุนนิยมโลก


Pax  Americana 1
ปลายศตวรรษที่ 19  มีการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 2 ที่เยอรมันในเรื่องเครื่องจักร เคมี เครื่องไฟฟ้าและอุตสาหกรรมหลัก   สงครามโลกครั้งที่ 1 เยอรมันแพ้สงครามและต้องลงนามสัญญาแวร์ซาย ซึ่งทำให้เยอรมันเสียเปรียบจึงเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมีเยอรมัน อิตาลีและญี่ปุ่น และได้แพ้สงครามกับฝ่ายพันธมิตร    หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สหรัฐเป็นผู้เข้ามามีบทบาทเป็นศูนย์กลางในระบบทุนนิยมโลก  หัวใจสำคัญของระบบนี้ คือ สหรัฐพยายามเข้าไปบริหารจัดการ  วิธีคิด คือ หลังจากญี่ป่นแพ้สงครามสหรัฐได้ลงโทษเยอรมันและญี่ปุ่นไม่ให้มาเป็นผู้ท้าทายได้อีกต่อไป   และสหรัฐตระหนักว่าทุนนิยมของตนเองไม่สามารถทำงานต่อไปได้ในสภาวะที่ไม่มีประเทศใดมีเงินมาซื้อสินค้าของตัวเอง นักเศรษฐศาสตร์ เรียกว่า “dollar  gap”  จึงได้มีแนวคิดที่จะฟื้นทั้ง 2 ประเทศให้เป็นพันธมิตรของตน  วิธีคิดในกรณีประเทศเยอรมัน คือ สหรัฐคิดว่าอุตสาหกรรมของเยอรมันพื้นตัวเร็ว ต้องทำให้เยอรมันเข้าถึงแหล่งทรัพยากรที่สำคัญซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของฝรั่งเศส นั่นก็คือ ถ่านหิน  ฝรั่งเศสและเยอรมันได้ทำข้อตกลงกัน เป็นข้อตกลงที่ผูกขาดให้รัฐทำตาม เป็นข้อตกลงที่มีฐานะเหนือรัฐ “supernational”  หลังจากนั้นเกิดข้อตกลงตลาดร่วมยุโรปเพราะตลาดโลกยุโปรเป็นตลาดสินค้าใหญ่ของเยอรมัน ฝรั่งเศสเป็นประเทศเกษตรกรรม  หน่วยทางเศรษฐกิจตกลงกันทลายกำแพงภาษีระหว่างกัน รายได้ไหลผ่านพรมแดนประเทศอีกประเทศหนึ่งเสมือนประเทศของตนเอง แรงงานย้ายข้ามเหมือนกับสินค้า  ทำให้ตลาดสินค้าของเยอรมันใหญ่ขึ้น รวมทั้งเข้าถึงทรัพยากร (ถ่านหิน) ของฝรั่งเศส
สหรัฐพยายามทำให้ญี่ปุ่นเป็นป้อมปราการณ์ของระบบทุนนิยม “Fortress of Capitalism”  สหรัฐพยามให้ญี่ปุ่นเข้าถึงทรัพยากรของภูมิภาค  เศรษฐกิจญี่ปุ่นเติบโตอย่างรวดเร็วและการดำเนินนโยบายอย่างจงใจของสหรัฐที่จะต้องการให้ญี่ปุ่นขยายตัวอย่างรวดเร็ว  ญี่ปุ่นมีรัฐที่เข้าแข็งมีความสามารถในการพัฒนา สาเหตุที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นฟื้นตัวเพราะ
1.             ญี่ปุ่นได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ผลิตยุทธโธปกรณ์ในการทำสงครามเกาหลี
2.                                     ความจงใจของสหรัฐในเรื่องการเปิดตลาดรับสินค้าราคาถูกจากญี่ปุ่น  นโยบาย “One dollar Browse”  ทำให้อุตสาหกรรมเสื้อผ้าผู้หญิงของสหรัฐประสบปัญหาเนื่องจากสินค้าจากญี่ปุ่นเข้ามาตีตลาด
ทุนการเงินและทุนน้ำมันอยู่เบื้องหลังนโยบายต่างประเทศของสหรัฐ

บทบาทของสหรัฐในการจัดการระบบเศรษฐกิจโลกหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
                “Bretton  Woods System”  เป็นการประชุมก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติ ก่อนหน้านี้ระบบเศรษฐกิจโลกเผชิญปัญหามากมาย ในเรื่อง ประเทศต่าง ๆ แข่งขันกันลดค่าเงินของตนเพื่อแข่งขันในเรื่องการส่งออกและมีแนวคิดใหม่ในระบบทุนนิยมหลังเศรษฐกิจตกต่ำ  นโยบายสหรัฐ คือ รัฐต้องเข้ามาช่วยดูแลส่วนที่เป็นแรงงานของตน ไม่ใช่ส่งเสริมเฉพาะทุนอย่างเดียว แนวความคิดนี้มีต่อมาถึงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เพราะรัฐเป็นผู้ดูแลให้สวัสดิการประชาชน  (Kennesian  Economy)   รัฐมีหน้าที่ให้สวัสดิการกับแรงงาน ประเด็นต่อไปจะทำให้ระบบการเงินระหว่างประเทศเกิดเสถียรภาพได้อย่างไร จึงมีข้อตกลงที่จะไม่ให้อัตราแลกเปลี่ยนขึ้นลงอย่างวูบวาบจึงเป็นที่มาของการเกิด
1. IMF ซึ่งเกิดขึ้นเพื่อรักษาระบบแลกเปลี่ยนในเศรษฐกิจโลก การตัดสินใจในกองทุนนี้ให้ตัดสินใจตามสัดส่วนของเงินในกองทุน  โดยสมาชิก IMF อนุญาตให้เงินขึ้น ลง ไม่เกิน 10% เพื่อรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนในระบบเศรษฐกิจระหว่างประเทศ  สหรัฐตรึงราคากับทองคำ และประเทศต่าง ๆ นำอัตราแลกเปลี่ยนของตนเองตรึงไว้กับเงินดอลล่าร์
                2.  World Bank มีหน้าที่ฟื้นเศรษฐกิจ แนวคิด คือ ประเทศที่พัฒนาแล้วมีหน้าที่ช่วยเหลือประเทศที่ด้อยพัฒนา 
แต่ในความเป็นจริงประเทศที่พัฒนาแล้วขูดรีดประเทศที่ด้อยพัฒนา ซึ่งไม่มีทางที่ประเทศด้อยพัฒนาจะไปเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วได้ ประเทศที่เป็นนิกส์เกิดขึ้นโดยประเทศที่พัฒนาแล้วกำหนดบทบาท สนับสนุน ซึ่งสัมพันธ์โดยตรงกับนโยบายของสหรัฐ เป็นเรื่องความสัมพันธ์เชิงอำนาจเกิดจากข้อเรียกร้องของผู้กำหนดทุนนิยมโลก กำหนดนโยบายเพื่อเอื้อผลประโยชน์ตัวเอง 
Concept การพัฒนาของสหรัฐ คือ มองว่าประเทศด้อยพัฒนายังไม่มีการเข้าสู่กระบวนการหรือที่เรียกว่า อุตสาหกรรม  โดยต้องช่วยประเทศเกษตรกรรมเป็นประเทศอุตสาหกรรม  จึงได้เกิดนโยบาย ISI (Import Substitution Industry)  อุตสาหกรรมทดแทนการนำเข้าขึ้นเพื่อผลิตสินค้าที่เคยมีการนำเข้าภายในประเทศเอง ตั้งกำแพงภาษี  หัวใจสำคัญ คือ เพื่อเปิดทางให้ทุนนิยมอุตสาหกรรมของสหรัฐมาลงทุนในประเทศด้อยพัฒนา 
ปัญหาที่พบคือ
1.             สหรัฐต้องการให้รัฐบาลถอนตัวจากอุตสาหกรรมที่รัฐเป็นผู้ทำ เช่น รัฐวิสาหกิจ องค์กรเครื่องหนัง
2.             การขาดโครงสร้างพื้นฐานในประเทศ   บทบาทของธนาคารโลก คือ สนับสนุนให้เกิดโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ที่พร้อมรับการลงทุนจากต่างประเทศ
3.             โครงสร้างกฎหมาย ที่เอื้อต่อการลงทุน การขาดทรัพยากรมนุษย์
ดังนั้น  สิ่งทิ่เกิดกับไทยเริ่มตั้งแต่สมัยจอมพลสฤษฎิ์  ท่านได้ไปรักษาตัวที่สหรัฐ ๆ ส่งเจ้าหน้าที่มาเพื่อปรึกษาหารือในประเด็นที่ต้องการให้เกิดการพัฒนาประเทศโดยต้องเลิกรัฐวิสาหกิจ ส่งเสริมการลงทุน จึงเป็นจุดเริ่มต้นระหว่างรัฐไทยกับทุนนิยมโลกเป็นระลอกที่ 2
ข้อเรียกร้องของ Pax Britanuica  คือ ลดอัตราภาษี แต่ของ Pax Americana  คือ แปรรูปรัฐวิสาหกิจ
Pax  Americana 2
อยู่ภายใต้ลัทธิเสรีนิยมใหม่ (Neoliberalism)  เป็นรัฐให้สวัสดิการ ในกรณีประเทศกำลังพัฒนารัฐเป็นผู้ให้กิจการสาธารณูปโภคจัดหาโครงสร้างพื้นฐานทำให้รัฐเป็นผู้จัดหาให้กิจกรรมสาธารณะให้ประชาชน ประเทศกำลังพัฒนาได้เกิดรัฐเป็นผู้จัดการ  เกิดรัฐวิสาหกิจสายพันธุ์ใหม่ซึ่งเป็นการให้บริการประชาชนในราคาถูกโดยไม่ตั้งใจ รัฐให้สวัสดิการสังคมทางอ้อมโดยเป็นผู้ให้กิจการสาธารณูปโภคแก่ประชาชน ยุคนี้รัฐต้องโอนรัฐวิสาหกิจให้ประชน   Pax Americana สิ้นสุดลงในปี 1971  เมื่อประธานาธิบดีนิกสันประการปิดหน้าต่างของ Demand กับราคาทองคำ จึงเป็นการล่มสลายของระบบ Bretton  Woods System 
IMF และ ธนาคารโลกถูกลอยแพ สิ่งที่เกิดขึ้น คือ ทั้ง 2 องค์กรต้องไปหาภารกิจของตนเองโดยทั้งสองสรุปเหมือนกันว่าภารกิจในอนาคตคือชักจูงประเทศที่เคยเปิดรับยุทธศาสตร์ ISI และเปลี่ยนมาเป็น EOI (การผลิตเพื่อการส่งออก)    ไทยได้เปลี่ยนมาใช้นโยบาย EOI ในสมัยเปรม 
                 Neoliberalism ต้องตั้งบนหลักการที่ตลาดต้องทำหน้าที่อย่างเต็มที่ รัฐต้องไม่เข้ามาจัดการในกระบวนการผลิต  กิจกรรมทางเศรษฐกิจต้องปล่อยเป็นหน้าที่ของตลาด รัฐให้ความช่วยเหลือและ รัฐต้องไม่เป็นผู้ประกอบกิจกรรมทางธุรกิจเอง เน้นที่ตลาดให้รัฐถอนตัวจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เช่น ไม่เกี่ยวข้องกับรัฐวิสาหกิจ รัฐต้องไม่เข้ามากำหนดกฎระเบียบกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ
                หลักการของลัทธิเสรีนิยมใหม่
1.             Privatization
2.             Liberalization หัวใจของระบบนี้ คือ การเปิดเสรีของการค้าและบริการ
3.             Deregulation
4.             Satabilization
หัวใจของทุนนิยมสหรัฐหลังการลงสลายของ Bretton  Woods System คือ การล่มสลายของภาคการเงิน และภาคการเงินของเราเปิดรับภาคการเงินจากต่างประเทศโดยเสรี  Information  Technology  เป็นเครื่องมือในระบบทุนนิยม หลังจากเงินเป็นหัวใจของระบบทุนนิยมโลก เงินเกิดจากรายได้ของประเทศ ซึ่งฝากไว้ที่ลอนดอน (ออฟชอ)  สหรัฐส่งเสริมให้ธนาคารเอาเงินไปให้ประเทศด้อยพัฒนากู้โดยให้ประกันว่าจะช่วยคุ้มครองการเงิน ประเทศต่าง ๆ กู้เงินจึงเกิดหนี้สินจำนวนมาก
1981  ประธานาธิบดีเรเกนขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างมโหฬาร ผลคือ ประเทศที่กู้เงินเป็นหนี้ เกิดวิกฤตเงินกู้ ประเทศเหล่านี้มีความจำเป็นที่จะต้องไปกู้เงิน IMP และธนาคารโลก  สหรัฐเป็นประเทศที่กำหนดดอกเบี้ยและพิมพ์ธนบัตรได้ตามชอบใจ กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนได้เอง
หลังเกิดวิกฤตน้ำมันรอบ 2 ประเทศต่าง ๆ ที่กู้เงินจาก IMF และ ธนาคารโลก ต้องรับนโยบายที่ต้องการเปลี่ยน ISI เป็น EOI  สหรัฐผลักดันให้ประเทศต่าง ๆ รับกระแสเสรีนิยมใหม่  สะท้อนออกมาในรูป SAL หรือเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างระบบเศรษฐกิจโลก
1.  การผลิตอุตสาหกรรมของสหรัฐถดถอยลง เกิด “Sunset Industry”  เนื่องจากภาคการเงินของสหรัฐไม่สนใจนำเงินมาลงทุนในภาคอุตสาหกรรมของตนเอง เป็นการปฏิวัติ Information  Technology 
2.  การขึ้นค่าเงินเยน ปี 1985  ประเทศอุตสาหกรรมของโลกมาประชุมกันเพื่อจัดการปัญหาค่าเงินดอลล่าร์ที่ลดลงอย่างมาก ญี่ปุ่นยอมขึ้นค่าเงินของตนเอง มีผลทำให้ญี่ปุ่นปรับนโยบายการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมของตนเองใหม่ จากที่เมื่อก่อนญี่ปุ่นคัดค้านการผลิตแบบสหรัฐ  ซึ่งสหรัฐใช้ระบบการผลิตแบบ Fordism (ระบบสายพาน)  เป็นแนวคิดเรื่องศักยภาพของมนุษย์ที่ทำงานซ้ำ ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ซึ่งในระบบนี้ก็มีข้อเสียและญี่ปุ่นได้นำข้อเสียมาปรับปรุงเป็นระบบ TOYOTISM
ข้อแตกต่างของระบบการผลิตของญี่ปุ่นต่างจากสหรัฐ คือ บริษัทผลิตแค่พาทต่าง ๆ มาส่งบริษัทผลิตรถยนต์ที่อยู่ในเครือข่ายเดียวกัน เรียกว่า ไคริซึ   โตโยต้าไม่ต้องผลิตชิ้นส่วนเองจึงเป็นที่มาของการบริหารจัดการที่เรียกว่า QC. และ Just in time
1985  ณ โรงแรม Plaza  New York  เกิดข้อตกลง “Plaza Accord”  ทำให้เกิดการขึ้นเงินมาคและเงินเยน  สิ่งที่เกิดขึ้น คือ ญี่ปุ่นต้องลดต้นทุนการผลิตโดยแจกจ่ายการผลิตชิ้นส่วนอื่น ๆ ให้ประเทศอื่น ๆ ญี่ปุ่นผลิตชิ้นส่วนสำคัญ ๆ เพียงไม่กี่ชิ้น ชิ้นส่วนที่ใช้เทคโนโลยีระดับกลางและระดับล่างจะไหลเข้าสู่ภูมิภาค เกิดการทะลักการลงทุนของเงินลงทุนญี่ปุ่น  ยุทธศาสตร์สำคัญของญี่ปุ่น คือ การโยกย้ายการผลิตชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์มานอกประเทศ โดยญี่ปุ่นจะเป็นผู้คัดเลือกว่าประเทศใดจะเป็นที่ประกอบขั้นสุดท้าย ญี่ปุ่นจะเป็นผู้กำหนดว่าประเทศใดจะผลิตชิ้นส่วนอะไร เช่น ชิ้นส่วนที่ปราณีตต้องมาผลิตที่ไทย  จึงเป็นที่มาของ Pax Nipponica
Pax  Nipponica  มีบทบาทในภูมิภาคตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ราวปี 1980 เป็นต้นมา ญี่ปุ่นเข้ามามีบทบาทที่มาเลเซียและอินโดนีเซีย ๆ มีทรัพยากรมาก  สหรัฐมองญี่ปุ่นเป็นพันธมิตรที่สำคัญไม่ว่าที่ญี่ปุ่นมาหาผลประโยชน์ในภูมิภาคนี้
การแปรรูปรัฐวิสาหกิจในสมัยเปรม
1.  ราคาของรัฐวิสาหกิจสูง  แต่การแปรรูปไม่สำเร็จเกิดแรงต่อต้านจากประชาชนและการทำงานของ NGO  เกิด เทคโนแครต และการเติบโตของภาคประชาชน NGO เข้ามีมีบทบาทสำคัญในเรื่องนโยบายสาธารณะที่กระทบต่อประชาชน
1980  IMF และธนาคารโลก เข้ามาผลักดันนโยบาย SAL 
ข้อเรียกร้องของ Neoliberalism ต่อการเปิดเสรีทางการค้า คือ กลไกสำคัญอยู่ในองค์กรที่เรียกว่า GATT . WTO  สหรัฐอยู่เบื้องหลังโดยผ่านการทำงานของ GATT และ WTO 
1990  ยุคคอมมิวนิสต์ล่มสลายลงเป็นยุคของโลกาภิวัตน์  Information  technology  เข้ามามีบทบาทเกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง การทำงานของทุนนิยมเข้มข้นขึ้น มีการเปิดการค้าเสรีทางการค้า การเงิน แปรรูปรัฐวิสาหกิจ
หัวใจสำคัญของ Neoliberalism  เน้นที่บทบาทของตลาด ให้รัฐบาลถอนตัวออกจากกิจการทางเศรษฐกิจ

1 ความคิดเห็น:

  1. อยากทราบว่าในยุค Pax Britannica นี่สินค้าของอังกฤษติดป้าย made in Britain หรือ made in England คะ

    ตอบลบ