PA 712 (อ.จักรภพ ศรมณี)
เศรษฐศาสตร์ ทรัพยากรมนุษย์ประกอบด้วย
1. ประชากร
2. แรงงาน
3. การศึกษา
4. สุขภาพอนามัย
5. จริยธรรม
6. ฝึกอบรม
7. ศาสนธรรม
8. สิ่งแวดล้อม
ความหมายและความสำคัญ
• ทรัพยากร (Resources)
บ่อเกิดของสิ่งที่ดี ที่เกิดของทรัพย์ โดยทรัพย์นั้นอาจมีรูปร่างหรือไม่มีก็ได้ เช่น ที่ดิน แร่ธาตุ น้ำ ปัญญา ซึ่งก็คือ ความมั่งคั่งทั้งมวลของประเทศหรือปัจจัยที่นำมาซึ่งความมั่งคั่งเป็นเงินและทรัพย์สินที่เปลี่ยนเป็นเงินได้ รวมถึงความสามารถในการแก้ไขสถานการณ์ต่างๆได้ และความสามารถในการผลิตและประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ การปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม ไหวพริบ และความฉลาด
• ทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources)
เป็นสมบัติล้ำค่าที่ก่อเกิดสะสมในตัวมนุษย์ นอกจากความรู้ ความสามารถ ทักษะ สติปัญญา ไหวพริบแล้ว ยังรวมถึง ความขยัน ซื่อสัตย์ อดทน เสียสละ จริยธรรม ความรับผิดชอบ เคารพกฎหมาย และอื่น เพื่อให้เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่า
ความหมาย ?
เศรษฐศาสตร์ : การจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อตอบสนองความต้องการที่ไม่จำกัดของมนุษย์
เศรษฐศาสตร์ ทรัพยากรมนุษย์ : เป็นการศึกษาเกี่ยวกับมนุษย์และสังคมว่าจะใช้ทรัพยากรที่มีค่าไม่ว่าจะเป็นเงิน ที่ดิน เครื่องมือ อุปกรณ์ เวลา อย่างไรในการพัฒนา อบรม ให้การศึกษาแก่มนุษย์และเยาวชนอย่างไร ให้มีความรู้ความสามารถ ความชำนาญ มีจิตใจ อุปนิสัย และบุคลิกภาพที่ดีให้แก่สังคม
• การวิเคราะห์บทบาทของทรัพยากรมนุษย์ในการพัฒนาเศรษฐกิจ การวิเคราะห์การลงทุนในทรัพยากรมนุษย์ในรูปแบบของการลงทุนในการศึกษา การฝึกอบรม การอพยพ และสุขภาพอนามัย ประชากร และอื่นๆ
• บทบาทของการลงทุนในทรัพยากรมนุษย์ต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจและการกระจายรายได้
• นักเศรษฐศาสตร์ที่สำคัญ
Adam Smith : The Wealth of Nations : บิดาแห่งวิชาเศรษฐศาสตร์ ได้อธิบายถึงความมั่งคั่งของชาติ คือ แรงงาน (Labor) และ การแบ่งงานกันทำของแรงงาน(Division of Labor)
: เน้นเรื่องประสิทธิภาพการผลิตของแรงงาน และ สัดส่วนของแรงงานในประเทศที่มีงานทำและได้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
Prof. Robert M. Solow : ผู้ให้ความหมายที่ชัดเจนยิ่งขึ้นเกี่ยวกับ เศรษฐศาสตร์ทรัพยากรมนุษย์:ศึกษาโดยใช้ Production function อธิบายเทคนิคการผลิต การลงทุน เพื่อให้เกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
Prof. Theodore W. Schultz : ผู้จุดประกายเกี่ยวกับเศรษฐศาสตทรัพยากรมนุษย์
: ศึกษาโดยใช้ Production functionเช่นเดียวกับ Solow แต่ค้นพบว่าการลงทุนทางการศึกษาเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งในการอธิบายการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ: เกิดเศรษฐศาสตร์การศึกษาขึ้น
เป้าหมายทางเศรษฐศาสตร์
เป้าหมายหลัก
: ใช้ทรัพยากรสังคมที่มีอยู่อย่างจำกัดให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์ที่สุดแก่สังคม
ทรัพยากร
: ทรัพยากรมนุษย์ (human resources) คือ ความรู้ความสามารถ คุณธรรม ซึ่งมีในผู้ประกอบการ
กำลังคนและแรงงาน
: ทรัพยากรที่ไม่ใช่มนุษย์ (non-human resources) คือ ที่ดิน ทุนและเครื่องจักร
ประสิทธิภาพ
: การใช้ทรัพยากรที่น้อยลงกว่าเดิมแต่ผลิตสินค้าและบริการได้มากกว่าเดิมหรือใช้ทรัพยากรเท่าเดิมแต่ผลิตสินค้าและบริการได้มากกว่าเดิม
ประโยชน์สูงสุดแก่คนในสังคม
: สินค้าและบริการที่ผลิตได้จะต้องถูกรสนิยมและตอบสนองความต้องการของคนส่วนใหญ่ โดยที่คนส่วนใหญ่ต้องมีโอกาสบริโภคมีกำลังซื้อเพียงพอ
ผู้ผลิตสินค้าและบริการ: Supply side คือ ทรัพยากรมนุษย์
ผู้บริโภค : Demand side ก็คือทรัพยากรมนุษย์
ดังนั้น à การใช้ทรัพยากรทางสังคมที่มีอยู่อย่างจำกัดต้องถูกจัดการใช้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดโดยบทบาทของทรัพยากรมนุษย์เพื่อทรัพยากรมนุษย์
หากชนชาติใดไม่มีแนวทางในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความพร้อมทั้งร่างกาน สติปัญญา ความรู้ สาธารณสุข แรงงาน จริยธรรม และอื่นๆ
ความสำคัญ !
เป็นปัจจัยที่สำคัญในการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจโดยเฉพาะการลงทุนเรื่องการศึกษา การอบรม พัฒนาให้แก่ เยาวชน แรงงาน และทรัพยากรมนุษย์ในภาคการผลิต เศรษฐกิจ การเมือง การทหาร และ สังคมต่างๆ
แนวทางในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ที่ใช้กันทั่วไปมี 8 แนวทางคือ
1. คุณภาพทรัพยากรมนุษย์เริ่มจากสถาบันครอบครัว และสิ่งแวดล้อม Family
2. คุณภาพทรัพยากรมนุษย์เกิดจากการศึกษา Education
- การศึกษาในระบบหรือมีรูปแบบ (Formal Education)
- การศึกษานอกระบบหรือไม่มีรูปแบบ (Non-Formal Education)
- การศึกษาอย่างไม่เป็นทางการ (Informal Education)
3. คุณภาพการศึกษาเกิดจากการฝึกอบรม
- การฝึกอบรมทั่วไป (General Training)
- การฝึกอบรมเฉพาะ (Specific Training)
4. คุณภาพทรัพยากรมนุษย์เกิดจากการมีสุขภาพอนามัยและโภชนาการที่ดี
5. การอพยพ เป็นการเพิ่มคุณภาพทรัพยากรมนุษย์
6. ข่าวสารเกี่ยวกับตลาดแรงงาน
7. คุณภาพทรัพยากรมนุษย์เกิดจากประสบการณ์ในการทำงาน
8. คุณภาพทรัพยากรมนุษย์ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม
- Air Pollution
- Noise Pollution
- Water Pollution
ดัชนีวัดระดับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
• ทุนมนุษย์ (human capital) = ปริมาณความรู้ ความรู้ซึ่งมีอยู่ในบุคคลตามที่ได้ลงทุนปลูกฝังไว้แล้ว
1. ตัวชี้วัดระดับการพัฒนาโดยตรง
- อัตราส่วนระหว่างผู้สำเร็จการศึกษาระดับต่างๆ ต่อประชากรทั้งหมด
- อัตราส่วนระหว่างผู้ที่ประกอบอาชีพชั้นสูง หรือ ผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับสูงกับประชากรทั้งหมด
- อัตราการอ่านออกเขียนได้
- อัตราส่วนระหว่างจำนวนวิศวกรและนักวิทยาศาสตร์กับประชากรทั้งหมด
- อัตราส่วนระหว่างจำนวนนักเรียนที่กำลังเรียนในระดับประถมศึกษาต่อจำนวนประชากรทั้งหมด
2. ตัวชี้วัดระดับการพัฒนาทางการศึกษาทางอ้อม
- ดัชนีโภชนาการ (Nutrition Index)
- ดัชนีสุขภาพ (Health Index)
- ดัชนีรวม GNP , GDP และดัชนีพัฒนามนุษย์
ปัจจัยที่ใช้วัดความเจริญเติบโตโดยเฉพาะการเจริญเติบโตด้านเศรษฐกิจ
- ผู้ประกอบการ Entrepreneur
- นักลงทุน Investor
- ผู้สร้างโอกาสในการลงทุน Creator of investment opportunity
- ผู้ค้นพบทรัพยากรหรือสินค้าใหม่ๆ Discover of new resources and new commodity
- ผู้ประดิษฐ์หรือค้นพบเทคโนโลยีใหม่ๆ Inventor Innovator
- ครูผู้สอนให้เกิดความเชี่ยวชาญ หรือ ทักษะใหม่ๆ Teacher of new skill
- ผู้ถ่ายทอดความรู้ใหม่ๆ Disseminators of useful ideas
- นักออม Saver
Albert Hirschman “Human capital VS Physical capital ?”
ทรัพยากรมนุษย์กับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
• จากมุมมองของนักเศรษฐศาสตร์ต่างๆสามารถบอกได้ว่าปัจจัยสำคัญที่กำหนดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจศูนย์กลางอยู่ที่ปัจจัยคน !!!
• Adam smith เน้นปัจจัยแรงงาน การแบ่งงานกันทำ
• Karl Marx เน้นปัจจัยแรงงานกรรมกร
• Schumpeter เน้นผู้ประกอบการ และการค้นพบสิ่งใหม่ๆ
• Harrod เน้นกำลังคน และ ผลผลิตต่อหัว ปริมาณสินค้าทุน ระดับของเทคนิคการผลิต ปริมาณทรัพยากร และสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ
• Schultz เน้นทุนมนุษย์ที่ได้รับการศึกษาอบรม
Human capital VS Physical capital (การลงทุนในทรัพยากรมนุษย์ กับ การลงทุนทางกายภาพ)
ข้อคล้ายคลึง
1. การลงทุนทุกรูปแบบเป็นกระบวนการที่ใช้ เวลาและค่าใช้จ่าย
2. เป้าหมายการลงทุนคือ ประสิทธิภาพในการผลิตและรายได้
3. ผลจากการลงทุนตกอยู่กับ สังคมหรือเอกชน
4. ใช้เงินจากการออมต่างๆ
ข้อแตกต่าง
1. การลงทุนทางกายภาพเน้นที่กำไรสูงสุด การลงทุนมนุษย์เน้นที่การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
2. ทุนมนุษย์ในบุคคลไม่สามารถประเมินราคา มูลค่าได้
3. ทุนมนุษย์ไม่สามารถคาดคะเนความสามารถในการผลิตได้อย่างแน่นอน
4. ทุนมนุษย์สามารถเคลื่อนไหวได้เอง มีกิจกรรมเคลื่อนไหวเสมอ
ทุนมนุษย์ : Human capital
- แนวคิดด้านทุนมนุษย์สมัยใหม่สามารถอธิบายความแตกต่างของค่าจ้าง เงินเดือนของบุคคลที่มีลักษณะทางประชากรศาสตร์แตกต่างกัน
- ทุนมนุษย์และทรัพยากรมนุษย์มีความสำคัญมากกว่าสินค้าทุนและทรัพยากรที่มิใช่มนุษย์
คำถาม : จากทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดควรเลือกลงทุนด้านใด เป็นสัดส่วนเท่าไร ?
มีความสำคัญต่อการพัฒนาด้านต่างๆของประเทศ เช่น เศรษฐกิจ การเมือง สังคม และ ด้านอื่นๆ
1. ด้านเศรษฐกิจ : ทำให้เกิดการพัฒนาด้านเศรษฐกิจของประเทศและของโลก โดยดูได้จากระดับการให้การศึกษาที่มีปฎิสัมพันธ์การเพิ่มขึ้นของรายได้ประชาชาติ (GDP)
2. ด้านการเมือง : ช่วยให้เกิดการพัฒนาความรู้ ความสามารถ จริยธรรม การเคารพต่อกฏเกณฑ์ของบ้านเมือง ทำให้ประชาธิปไตยก้าวหน้า ประเทศชาติเจริญ
การศึกษากับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
“เพราะการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมีศูนย์กลางอยู่ที่ทรัพยากรมนุษย์ ดังนั้นมนุษย์ในระบบเศรษฐกิจจะต้องได้รับการศึกษา อบรม อย่างมี คุณภาพส่งผลกระทบต่อ การเจริญเติบโตต่อประสิทธิภาพทางการผลิต และการเจริญเติบโตเศรษฐกิจ”
ผู้ที่ได้รับการศึกษาดี สามารถรับข่าวสารข้อมูลใหม่ๆ ได้เร็ว และสามารถนำปัจจัยการผลิตใหม่ๆไปใช้ สร้างกระบวนการผลิตใหม่ๆ มาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดกระบวนการผลิตใหม่ๆ และ สินค้าและบริการใหม่ๆ
การเปลี่ยนแปลงมูลค่าผลิตภัณฑ์ภายในประเทศต่อหัวในช่วง 25 ปี
• จากการศึกษา GDP Per Capita ของประเทศในกลุ่มที่มีอัตราเจริญเติบโตสูง 9 ประเทศในเอเชีย คือ ญี่ปุ่น จีน ฮ่องกง เกาหลีใต้ สิงคโปร์ จีน ไต้หวัน อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย พบสาเหตุการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจที่สำคัญดังนี้
1. การเจริญเติบโตของผลผลิตและประสิทธิภาพการผลิตเกิดอย่างรวดเร็วในภาคเกษตร
2. อัตราส่งออกสินค้าในภาคสินค้าหัตถอุตสาหกรรมสูงกว่าประเทศอื่นๆ
3. ภาวะการเจริญพันธุ์ลดลงก่อนและเร็วกว่าประเทศอื่นๆ
4. อัตราการเจริญเติบโตของสินค้าทุนสูงกว่า และเกื้อหนุนด้วยอัตราการออมภายในประเทศที่สูงกว่าประเทศอื่นๆ
5. มีทุนมนุษย์เริ่มต้นที่สูงกว่าและมีการขยายตัวของทุนมนุษย์ในอัตราที่สูงกว่าประเทศอื่นๆ
6. มีอัตราการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตที่สูงกว่าโดยทั่วไป
ปัจจัยที่กำหนดรายได้ตลอดชีวิต
• ความรู้ความสามารถ(Knowledge)
• ประสบการณ์(Experience)
• พลังความเข้มแข็งของร่างกาย(Strength)
• ความก้าวหน้าในอาชีพ(Progress in career)
• ความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
การตัดสินใจลงทุนในทุนมนุษย์ของรัฐและครัวเรือน
• มาจากแนวความคิดการลงทุนมนุษย์ในภาครัฐ
1. รัฐเป็นผู้ผลิตสินค้าและบริการสาธารณะ
2. รัฐมีบทบบาทในฐานะผู้ให้สวัสดิการ (โดยเฉพาะการผลิตทุนมนุษย์)
* โดยมีข้อจำกัดของทรัพยากรต่าง !!!!!
การตัดสินใจอยู่บนพื้นฐานของต้นทุน-ผลได้ของสังคม (Social cost and social benefit)
• ความจำเป็นการลงทุนมนุษย์ในภาครัฐ
1. ทุนมนุษย์เป็นสินค้าสาธารณะ
2. การลงทุนมนุษย์อาจช่วยกระจายรายได้
3. ทุนมนุษย์เปรียบได้กับสินค้าที่มีคุณค่า (Merit goods)
4. ทุนมนุษย์เกี่ยวข้องกับผลกระทบภายนอก
5. ความรู้ของสังคมเกี่ยวกับกระแสต้นทุน
6. เอกชนอาจตัดสินใจพลาด
7. สังคมมีข้อมูลที่ดีกว่าเอกชน
8. การตัดสินใจลงทุนของรัฐและเอกชนต่างกันที่อัตราดอกเบี้ย
• การตัดสินใจลงทุนมนุษย์ภาคครัวเรือน
ปัจจัยในการตัดสินใจ
1. รายได้ครัวเรือน
2. การศึกษาของบิดา มารดา
3. อาชีพของบิดามารดา
4. เขตที่อยู่อาศัย
5. คุณค่าของเด็ก
การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การออม และการลงทุน
จากผลการศึกษาประเทศในกลุ่ม HPAEs พบว่าสัดส่วนการออมและการลงทุนต่อ GDP มีความสัมพันธ์ทางบวกต่ออัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและประชากรโดยทั่วไป
การเปลี่ยนแปลงจำนวนประชากรมีผลต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจแต่ต้องพิจารณาในสถานการณ์และช่วงเวลาที่แตกต่างกัน ดังนี้
1. ทฤษฎีประชากรของมัลทัส ว่าด้วยเรื่องการหยุดยั้งประชากรทางบวกและลบเพื่อให้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดเพียงพอต่อจำนวนประชากร
2. ทฤษฎีขนาดประชากรที่เหมาะสม (Optimum Population Theory) เป็นทฤษฏีที่เจาะจง (Particular Theory) ว่าด้วยขนาดประชากรและการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรภายใต้ทรัพยากรที่จำกัดของประเทศหนึ่งๆ
3. ทฤษฎีประชากรของนักชีววิทยา (Biological Theory of Population) ว่าด้วยเรื่องการเพิ่มขึ้นและลดลงของประชากรที่ไม่คงที่ตามวงจรชีววิทยา
4. ทฤษฎีการปรับเปลี่ยนประชากร (Demographic Transition Theory) เป็นทฤษฎีที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของจำนวนประชากรระดับต่างที่พิจารณาจากอัตราการเกิดและอัตราการตายในช่วงต่างๆ
Human resource economics กับ การพัฒนาประเทศ
• การพัฒนาด้านทรัพยากรมนุษย์ของประเทศไทยได้มีการให้ความสำคัญโดยเน้นเรื่องการพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้เป็นศูนย์กลางในการพัฒนาประเทศตั้งแต่แผนฯ 8 เรื่อยมา
• เน้นให้เกิดการพัฒนาระดับบุคคลเป็นขั้นแรก มีตัวชี้วัดระดับบุคคล คือ
- สุขภาพร่างกาย
- สุขภาพจิต
- สุขภาพสังคม
- สุขภาพปัญญา
• เมื่อระดับบุคคลได้รับการศึกษา อบรม พัฒนาให้มีศักยภาพพื้นฐานที่ดีแล้ว จะนำไปสู่การพัฒนาระดับครอบครัว และ ชุมชน
• ตัวชี้วัดระดับ ครอบครัว และ ชุมชน คือ ปัจจัยในการดำรงชีวิตที่พอเพียง (รายได้ การทำงาน หลักประกัน ปัจจัยสี่) ความรู้และศักยภาพในการเรียนรู้ ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง และสิ่งแวดล้อมที่ดี
• เมื่อระดับครอบครัว และ ชุมชน ได้พัฒนาศักยภาพตามตัวชี้วัดต่างๆแล้วก็จะทำให้ระดับสังคมมีพื้นฐานในการพัฒนา
• ตัวชี้วัดระดับสังคมคือ ความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าของทรัพยากรมนุษย์ ความเจริญทางสังคมและวัฒนธรรม การบริหารการจัดการที่ดี และ นำมาซึ่งการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
• การพัฒนาที่ส่งผลกระทบไป-มาในการพัฒนาทั้งสามระดับ เป็นผลกระทบแบบต่อเนื่องสองทาง ต้องอาศัยการดำเนินการในการพัฒนาการทั้งสามระดับไปพร้อมๆกัน
อุปสงค์และอุปทานแรงงาน
• อุปสงค์แรงงาน : ความต้องการแรงงานในการผลิตสินค้าและบริการในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง เป็นอุปสงค์ต่อเนื่อง (Derived demand)
• อุปทานแรงงาน : จำนวนแรงงานที่แรงงานเสนอขาย ณ ระดับอัตราค่าจ้างต่างๆในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง
อุปสงค์และอุปทานแรงงาน D&S (Labour market)
การเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ
- ทรัพยากรมนุษย์ด้านการศึกษา > มีความสัมพันธ์ชี้ชัดกับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
- ทรัพยากรมนุษย์ด้านสาธารณสุข > เป็นพื้นฐานที่สำคัญในการพัฒนาบุคคลากรในการให้ศึกษา และพัฒนาประสิทธิภาพการทำงาน
- ทรัพยากรมนุษย์ด้านแรงงาน > ทรัพยากรบุคคลต้องมีงานทำและได้ทำงานที่เหมาะสม อุปสงค์และอุปทานแรงงานต้องอยู่ในระดับดุลยภาพ
- ทรัพยากรมนุษย์ด้านแรงงาน > ทรัพยากรบุคคลต้องมีงานทำและได้ ทำงานที่เหมาะสม อุปสงค์และอุปทานแรงงานต้องอยู่ในระดับดุลยภาพ
- จำนวนประชากร > ศึกษาปิรามิดประชากรที่มีผลต่อการบริโภค การจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด และศึกษาเรื่องการย้ายถิ่นของประชากร
การวางแผนการพัฒนากำลังคนและทรัพยากรมนุษย์
• การวางแผนกำลังคนในอนาคตเรื่องทรัพยากรมนุษย์
- มีข้อมูลประชากรข่าวสารต่างๆที่จำเป็นในการคำนวณอย่างครบถ้วน
- มีการวิเคราะห์วิจารณ์ข้อมูลที่ถูกต้อง
- มีการมองการณ์ไกล
- มีความกล้าปรับเปลี่ยนวิธีการและข้อมูลตามความเหมาะสม
- ยอมรับความเป็นจริง
àInformative , Analytical , Farsighted , Bold and Flexible , Realistic
• ความสำคัญ
ตั้งแต่แผนพัฒนาฯ7 เป็นต้นมาเน้นไปที่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อก้าวสู่วิสัยทัศน์ในการพัฒนาที่ประเทศปรารถนาในระยะยาวอย่างต่อเนื่อง
ดังนั้นการพัฒนาคนหรือการสะสมทุนมนุษย์จึงเป็นเรื่องการพัฒนาระบบการศึกษาโดยรวม
การวางแผนกำลังคนและการศึกษา
• วัตถุประสงค์
1. เพื่อวิเคราะห์แยกแยะให้ทราบว่าในอนาคตแรงงานและทรัพยากรมนุษย์ที่มีฝีมือที่ระบบเศรษฐกิจต้องการนั้นมีจำนวนเท่าไร มีความเชี่ยวชาญด้านใดมากน้อยเพียงไร และการผลิตกำลังคนที่มีความชำนาญด้านต่างๆพอเพียงตามอุปสงค์และอุปทานแรงงานหรือไม่
2. เพื่อวิเคราะห์ กำหนดทิศทาง แนวทาง กรอบ และโครงการต่างๆที่จะเป็นยุทธศาสตร์ในอนาคตและศึกษาถึงปัญหาและวิธีการแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้
วิธีการวางแผนกำลังคน
• Manpower Planning Approaches
1. การวางแผนตามความต้องการของสังคม (Social Demand Approach)
2. วิธีหากำลังคนที่ต้องการ (The Manpower Requirement Approach)
3. วิธีอัตราผลตอบแทนในการลงทุน (ROI Approach)
4. วิธีการฉายภาพการเข้าศึกษาต่อ (Enrolment Projection Approach)
5. วิธีการฉายภาพกำลังแรงงานโดยใช้อัตราการเข้าสู่กำลังแรงงาน (Labor Force Participation Approach)
6. การฉายภาพการจ้างงานโดยใช้ฟังก์ชั่นการจ้างงานและมูลค่าเพิ่ม (Employment Value Added Function)
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10
กรอบนโยบายเศรษฐกิจ
พิจารณาจากกระบวนทรรศน์ของแผนฯ 10 (พ.ศ. 2550-2554)
- เน้นการปฏิบัติตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
- คนเป็นศูนย์กลาง / ให้คนอยู่ดีมีสุข
- สังคมอยู่ร่วมกันอย่างอยู่เย็นเป็นสุข
- ดุลยภาพเชิงพลวัตร
- วิธีการบูรณาการองค์รวม คุณธรรมนำความรอบรู้ ใช้ทุนประเทศ
- สร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมทุกขั้นตอน
สาระสำคัญของแผนฯ 10 ต่อนโยบายเศรษฐกิจ
ดำเนินงานตามหลักการเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลัก มีการจัดการความเสี่ยงทางเศรษฐกิจ / มีภูมิคุ้มกัน / มีดุลยภาพในโลกาภิวัตน์ พัฒนาเศรษฐกิจไทยบนฐานการผลิตที่แข็งแกร่งด้วยองค์ความรู้สร้างคุณค่าเพิ่ม มุ่งนำทุนในประเทศ ทั้งสังคม เศรษฐกิจ ทรัพยากร ในไทยมาใช้ให้เกิดประโยชน์ และเสริมสร้างให้เข้มแข็ง แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11
มีขั้นตอนของการวางแผนฯ 11 ในเรื่องของการกำหนดทิศทางของแผนฯ การสร้างแนวคิด การพิจารณาผลของการพัฒนาตามแผนฯ 10 และการสร้างกระบวนทรรศ์ของแผนฯ 11
จากการพิจารณาผลของแผนฯ 10 ช่วง 2 ปี (2550-2552) พบความสำเร็จตามเป้าประสงค์หลายประการ คุณภาพคน และ สังคมมีคุณภาพดีขึ้นในด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การสร้างความแข็งแกร่งของชุมชน การบริหารเศรษฐกิจมหภาคอย่างเข้มแข็ง โดยเฉพาะภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจในสภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังมีการสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากร สิ่งแวดล้อมความหลากหลายทางชีวภาพ และ ธรรมมาภิบาลในการบริหารประเทศ
ในการประชุมประจำปี 2552 ของ สศช. มีการระดมความเห็นจากทุกภาคส่วนในประเด็นทั้ง 5 ดังนี้
1. ความท้าทายหลังวิกฤติเศรษฐกิจโลก : โอกาสของประเทศไทย ?
2. เศรษฐกิจสร้างสรรค์ : ทางเลือกเศรษฐกิจไทย
3. ภาวะโลกร้อน : รู้วิกฤติ สร้างโอกาสในการพัฒนา
4. สถาปัตยกรรม : ทางเลือกใหม่ของคนไทย
5. สัญญาประชาคมใหม่ : พลังขับเคลื่อนสังคมสู่สมดุล
สรุปการวางแผนพัฒนากำลังคนและทรัพยากรมนุษย์
• เป็นการเตรียมแผนงาน โครงการ อย่างเป็นระบบ ใช้ความเข้าใจสภาวะและผลสืบเนื่องจากอดีต ปัจจุบัน และคาดคะเนแนวโน้มเหตุการในอนาคต
• การวางแผนต้องมีข้อมูลข่าวสารสำคัญที่เพียงพอ เชื่อถือได้ รวมถึงวิธีวิเคราะห์ข้อมูลทั้งอดีตปัจจุบัน เพื่อความมั่นใจในการวางแผนงานในอนาคต
• ต้องใช้ผู้วางแผน นักวางแผน ที่มีความเข้าใจในอดีต ปัจจุบัน และมีวิสัยทัศน์ (vision) ยาวไกล และต้องมีความกล้าติดสินใจวางแผน โครงงานต่างๆตามหลักความเป็นจริงภายใต้ข้อจำกัดที่มีอยู่ นอกจากนี้ต้องสามารถวางแผนให้มีความยืดหยุ่นสามารถปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ต่างๆได้
ชุมชนเข้มแข็ง
หมายถึงการที่คนแต่ละคนมาอยู่รวมกัน สร้างความสัมพันธ์กันโดยมีหลักการ เงื่อนไข กติกา หรือระเบียบบรรทัดฐานของการอยู่ร่วมกัน ชุมชนมีลักษณะเป็นองค์กรทางสังคมที่สามารถตอบสนอมความต้องการของสมาชิกและสามารถช่วยให้สมาชิกจัดการกับปัญหาต่างๆ ที่มีอยู่ร่วมกันได้
ความเข้มแข็งของชุมชน หมายถึง การที่ประชาชนในชุมชนต่างๆ ของเมืองหรือชนบทรวมตัวกันเป็นองค์กร”องค์กรชุมชน” โดยมีการเรียนรู้ การจัดการและการแก้ไขปัญหาร่วมกันของชุมชนแล้วถึงได้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือการพัฒนาทั้งทางด้านเศรษฐกิจสังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมภายในชุมชนตลอดจนมีผลกระทบสู่ภายนอกชุมชนที่ดีขึ้นตามลำดับโดยจะเรียกชุมชนนี้ว่า กลุ่ม ชมรม สหกรณ์ บริษัท องค์กรชาวบ้าน เครือข่ายหรืออื่นๆ ที่มีความหมายแสดงถึงการร่วมมือช่วยเหลือกันเพื่อประโยชน์ร่วมกันและด้วยความเอื้ออาทรต่อชุมชนอื่นๆในสังคม
สรุป ชุมชนเข้มแข็งหมายถึง ชุมชนที่มีลักษณะดังนี้
1. ชุมชนมีการแก้ไขปัญหาและสร้างสรรค์สิ่งที่ดีหมายถึง สมาชิกของชุมชนร่วมกันแก้ปัญหา ที่เกิดขึ้นในชุมชนได้และหรือสร้างสรรค์สิ่งดีงามในด้านต่างๆ ในชุมชน
2. ชุมชนมีความเป็นปึกแผ่น หมายถึง สมาชิกของชุมชนมีความผูกพันและสัมพันธ์ที่ดี มีความสามัคคีและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน สมาชิกเห็นประโยชน์ของกลุ่มมากกว่าประโยชน์ส่วนตน
3. ชุมชนพึ่งตนเองได้ หมายถึง สมาชิกของชุมชนสามารถร่วมกันติดสินใจในการดำเนินงาน กิจกรรมต่างๆ ของชุมชนด้วยตนเองโดยมีอิสระปราศจากการควบคุมบังคับจากภายนอก และมีอำนาจต่อรองจากภายนอกชุมชน
4. ชุมชนมีผู้นำตามธรรมชาติ หมายถึง มีผู้นำเกิดขึ้นในขณะที่เกิดกระบวนการเรียนรู้ของชุมชนที่ทำให้ชุมชนเข้มแข็ง
คำถาม อ.จักรภพเกี่ยวกับ ชุมชนเข้มแข็ง หลังเรียนจบ
1. ให้ตอบคำถามจากข้อมูลชุมชนน้ำเกี๋ยน จังหวัดน่าน ดังนี้
- ความหมายและที่มา ของการพัฒนาชุมชนเข้มแข็ง
- หลักการพัฒนาชุมชนน้ำเกี๋ยน ให้มีความเข้มแข็ง
- ประโยชน์ของการพัฒนาชุมชนเข้มแข็งที่มีต่อสมาชิกชุมชนและเครือข่ายสังคมที่เกี่ยวข้อง
2. จากแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ผ่านมา ให้วิเคราะห์หลักการของการพัฒนาตามแนวทางที่ผ่านมาและวิเคราะห์ผลกระทบของแผนที่มีต่อเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน