วันศุกร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2555

PA712 การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ อ.บุญยง ชื่นสุวิมล

PA712 การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  Human Resource Development
การพัฒนาสังคม หมายถึง การทำให้เจริญ (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตฯ 2525)การเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น  ความหมายตามนัยอื่น เช่น การทำให้ GDP สูงขึ้น หมายถึงรายได้ประชาชาติต่อหัวสูงขึ้นนั่นเอง
1950-60         -  ใช้ศก.นำการพัฒนา
-      GNP = gross national product.
-      Un & lewis “สิ่งที่เราสนใจคือการเจริญเติบโต ไม่ใช่การกระจาย
-      วัดได้ (ตัวเลข) และต้องการพัฒนาอุตสาหกรรม
1960             -  สังคมถูกละเลย เกิดความยากจนหลายพื้นที่ เกิดประชาชนชายขอบ
-      1962 EC0SOC ของ UN ประกาศบูรณาการ + เศรษฐกิจ + สังคม
-      Robert S.Mcmamara ประธาน ธนาคารโลก “อัตราการโตสูงขึ้น การพัฒนาช่วงแรกไม่ได้ก้าวอย่างน่าพอใจ”
1970             -  Un เสนอ Unified approach
                   -  เน้น สังคมกับเศรษฐกิจ คือ
1.       ไม่ให้ประชาชน ถูกละเลย
2.       ปรับปรุงโครงสร้างเอื้อพัฒนาเศรษฐกิจ
3.       เท่าเทียมกันทางสังคม
4.       สร้างศักยภาพมนุษย์ สร้างโอกาสทำงานซับซ้อนเกินไป ไม่อาจดำเนินการได้
1975             -  ILO (International Labour Organization)องค์การแรงงานระหว่างประเทศ ที่เกี่ยวกับสิทธิแรงงานสำคัญ 4 ประเด็นใหญ่ คือ 1 เรื่องของการไม่ให้ใช้แรงงานภาคบังคับ
2 การไม่ใช้แรงงานเด็กอย่างไม่ถูกต้อง 3 การเคารพและยอมรับในสิทธิในการรวมตัวกัน และเจรจาต่อรองของคนงาน  และ 4 การไม่เลือกปฏิบัติ
-      ความจำเป็นพื้นฐาน Basic need
-      เกิดความยากจนสัมบูรณ์ Absolute Poverty ใน 2/5 ของประชากรโลก
1980             -  ยุค  NICS
                   -  ยุคหลงทาง
                   -  4 เสือแห่งเอเชีย คือ สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ไต้หวัน และฮ่องกง
                   -  เกิดความซับซ้อนทางความคิด
                   -  ยุค 1990 เกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง Crisis Tomyamkoong
                   -  ไทยเป็น NAC New Agricultural Country
1990             -  แนวพัฒนาใหม่ ซีกโลกเหนือใต้
                   -  ซีกโลกเหนือ Redevelopment ได้แก่ us Russia Spain swiss austria Poland
                   -  RECYCLE โรงงานนิวเคลียร์ โรงงานอุตสาหกรรมปล่อยมลพิษ ไปยังประเทศโลกที่  
   สาม เช่นกากนิวเคลียร์ สินค้าขายไม่ออก
                   -  ซีกใต้  (ความทันสมัย การทำสงครามกับความยากจน มักจะเป็นคนจนมากกว่า)
New Common
-          วิถีรวมใหม่ วัฒนธรรมชุมชน + ความทันสมัย
-          ต้องการออกจากโซ่ทางเศรษฐกิจ การตลาด เน้นการจัดความสัมพันธ์ทางสังคม สาธารณสุข การผลิต บริโภค

UNDP โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ
          การพัฒนามนุษย์ สร้างดัชนีการวัดประเทศที่พัฒนาแล้ว = บรรทัดฐาน เช่น อัตราการเกิด ตาย อัตราการไม่รู้หนังสือ
สรุป

-          ปี 1960 ประเทศในซีกโลกเหนือรวยกว่าใต้  20 เท่า
-          ปี 1980 ประเทศในซีกโลกเหนือจนกว่าใต้  46 เท่า
-          ฝ่ายเหนือคุมเทคโนโลยีก้าวหน้า
-          วิถีเก่าถูกทำลาย วิถีใหม่ไม่เกิดขึ้น
-          ประชาชนแปลกแยก
-          Westernization มาตรฐานเดียว
-          ทำลายความหลากหลาย 

1.       สหรัฐกับประเทศอุตสาหกรรมอื่นๆ ได้ยืนอยู่ตรงจุดสุดยอดแห่งวิวัฒนาการทางสังคมในปัจจุบัน
-          Usa เหนือกว่าใครในด้านเทคโนโลยี
-          ผลการพัฒนา คือเราบริโภคสิ่งของ 1 ปี เท่ากับโลกต้องใช้เวลาสะสม 1 ล้านปี
-          การพัฒนาทำให้เกิดขยะมลพิษขนาดมากกว่า 5-6 เท่าของขนาดโลกถึงจะฝังหมด
-          ดังนั้นประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งหลายจึงไม่ใช่ต้นแบบการพัฒนา คือเป็นการพัฒนาผิดรูปแบบ
2.       ความคิดทรูแมน = การเสนอระเบียบโลกใหม่  โดยมีสหรัฐเป็นผู้นำ
-          แต่ ประเทศนอกทุนนิยมที่สร้างระบบอุตสาหกรรมของตนสำเร็จคือ โซเวียต  ทั้งๆที่ ทรูแมนเรียกร้องให้ประเทศกำลังพัฒนาร่วมต่อสู้มาถึง 40 ปี
-          หมดยุคแบ่งลัทธิ และของทรูแมน กลายเป็นยุค รวยกับจน
-          เป้าหมายการพัฒนาเปลี่ยนเป็นป้องกัน เช่น การสกัดแรงงานประเทศยากจน การสกัดมิให้สงครามภูมิภาคขยายตัว
3.       การพัฒนาทำให้โลกเปลี่ยนไปแต่มิใช่ความแนวคิดของทรูแมน  ปรากฏเป็นความผิดพลาดในระดับโลก
4.       มีการตั้งข้อสังเกตที่ว่า การพัฒนาเป็นความคิดที่ผิดพลาดมาแต่ต้น ไม่ใช่เกิดจากความล้มเหลวของการพัฒนาแต่มาจากความสำเร็จ
-          ประเทศที่พัฒนาอย่างสมบูรณ์ไม่มีใครเคยเห็น
-          ทุกชาติต่างพัฒนาโดยเอาแบบอย่างจากประเทศตะวันตก westernization
-          ทุกประเทศต่างพัฒนาอย่างคล้ายคลึงกัน มาตรฐานเดียวกัน จึงส่งผลต่อจิตสำนึกทางสังคม
-          เกิดการแพร่กระจายทางวัฒนธรรม ทำลายทางเลือกที่ดีมั่งคงทางสังคมต่างๆ
-          สังคมอุตสาหกรรมที่มุ่งขยายตัว ทำลายความสามารถของมนุษย์ที่จะตอบสนองการท้าทายใหม่ๆของโลก
-          ด้อยพัฒนา  ของ  ทรูแมน ไม่ชัดเจนคลุมเครือ ไม่แพร่กระจายถึงแม้เจตจำนงดี 

เครื่องชี้วัดการพัฒนา
          ทศวรรษ 1950
-          มุ่งศก.ตามตะวันตก
-          เครื่องชี้ ใช้ GNP
-          มุ่งเน้นอุตสาหกรรมความทันสมัย
-          ไม่ใช่ความต้องการประชาชน
GNP หมายถึง

1.       สินค้าบริการที่ดี มูลค่าขั้นสุดท้าย Market Value
2.       ประชาชน ประเทศผลิตในระยะ 1 ปี รวมนอกอาณาเขตประเทศ
3.       ก่อนหักค่าเสื่อม
Market Value หมายถึง สินค้าบริการที่มีและไม่มีในท้องตลาด เช่น ข้าวที่บริโภค บ้านที่อยู่อาศัย 

          ทศวรรษ 1960
-          การพัฒนาหมายถึง ความกินดีอยู่ดีของประชาชน แต่ปัญหาคือความหมายกว้างเกิน
-          ประเทศไม่ใช่อุตสาหกรรม ตามประเทศอุตสาหกรรมไม่ทัน
สรุป 1950-1960
          การพัฒนาไม่ประสบผล แม้ตัวเลขโดยรวมจะโตก็ตาม

1970

-          จัดตั้งมหาวิทยาลัยสหประชาชาติ UN.U
-          เริ่มโครงการ การพัฒนามนุษย์และสังคม
-          ปี 76 ประชุมผู้เชี่ยวชาญนานาชาติ
-          เริ่มโครงการ GPID (Goals , Processes and Indicator of development)
-          เครื่องชี้วัดสังคมระดับนานาชาติเกิดขึ้น

Joseph R. Goeke 1971
-          เครื่องชี้ถูกละเลย เช่น สุขภาพสังคม ความเข้มแข็งทางการเมือง บรรยากาศทางธุรกิจ นิเวศ ความพอใจทำงาน เยาวชน ศาสนา
1974

-          Organization for Economic Cooperation and development (OECD) คือองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา  สร้างเครื่องชี้วัด คือ ความกินดีอยู่ดี
-          ผู้เชี่ยวชาญพูดพัฒนามนุษย์มากกว่าเครื่องชี้วัด
-          เครื่องชี้วัดกลายเป็นน่าสนใจ
-          เป็นเครื่องมือปรับปรุงแผน รัฐ-เอกชน
1976
-          อังกฤษ ฝรั่งเศส แคนาดา สหรัฐ และนอร์เวย์ 5 ประเทศ สร้างเครื่องชี้วัด ประกอบด้วยปัจจัยดังนี้ คือ
1.       ประชากร
2.       การศึกษา
3.       การจ้างงาน
4.       รายได้
5.       สุขภาพ
6.       ที่อยู่อาศัย
7.       ความปลอดภัย
8.       นันทนาการ
1978

-          Dept. of Commerce Bureau of Census(US.) พบว่าชาวอเมริกา ให้คุณค่า
1.       การมีสุขภาพดี
2.       ชีวิตครอบครัวมากว่า เงิน ทางเพศ งาน
3.       ความสงบทางจิต
-          ชาว USA 33% ชีวิตรู้สึกสบาย มาพอใจบริการสาธารณะและนักการเมือง


แผน 3 (2515-2519)

-          ใช้ชื่อ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
-          วิกฤต Oil shock น้ำมันขึ้น 4 เท่า
-          เศรษฐกิจซบเซาทั่วโลก
-          เกิด 14 ตุลา 16 -  6  ตุลา 19(รัฐประหาร ธานิน  ไกรยวิเชียร)
-          การลงทุนต่างประเทศลดลง
เป้าหมายแผน 3
-          วางแผนครอบครัว  ครั้งแรก
แผน 4 (2520-2524)

-          ยุครัฐบาลเกรียงศักดิ์  ชมะนันท์
-          เป้าหมาย – ฟื้นฟูศก.
-          เกิดความขัดแย้งระหว่างชาวนาไร่กับนายทุน
-          ตั้งสหภาพต่อรองนายทุน
-          เกิดนโยบาย 66/23 และ 66/24
แผน 5 (2525-2529)

-          เกิดรัฐบาลเปรม ประชาธิปไตยครึ่งใบ

แผน 6 (2530 – 35)
-          เกิดรัฐบาลชาติชาย “ปลาไหลใส่สเก็ต ชุบจาระบี
-          ปัญหา ความเสื่อมทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
-          เศรษฐกิจขยายตัว 11.7 % 3 ปีซ้อน
-          สัดส่วนอุตสาหกรรมมากกว่าเกษตรกรรม ครั้งแรก

ประเทศไทย  ท่านคิดว่าประเทศไทยพัฒนาแล้วหรือยัง
ก่อนอื่นต้องเข้าใจในลักษณะของประเทศที่พัฒนาแล้ว สำหรับประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีแนวทางการพัฒนาที่สอดคล้อง
กับทฤษฎี Modernization ของ Huntington ที่มุ่งเน้นการพัฒนาในด้านต่างๆ ดังนี้
1. ด้านเศรษฐกิจ
- เน้นการสร้างประเทศให้เป็นประเทศอุตสาหกรรม
- เพิ่มความเจริญเติบโตของ GDP
- เกิดเครือข่ายทางเศรษฐกิจ
- ส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ
2. ด้านสังคม
- เครื่องจักรมีบทบาทแทนแรงงาน
- อัตราการเกิดการตายลดลง
- ชายและหญิงมีความเท่าเทียมกัน
- ค่านิยมมีการเปลี่ยนแปลง
3. ด้านการเมือง
- ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน
4. ด้านความรู้
- ก้าวทันข้อมูลข่าวสารในยุคโลกาภิวัตน์
จากแนวคิดการทำให้ประเทศมีความทันสมัย หากนำประเทศไทยมาเปรียบเทียบ พบว่า มีความสอดคล้อง
กับทฤษฎีดังกล่าว โดยพิจารณาจากแผนพัฒนาฯซึ่งแสดงแนวทางการพัฒนาประเทศไทยว่ามีการพัฒนาในด้านต่างๆ
ดังนี้
1. ด้านเศรษฐกิจ
- มีการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯเพื่อเป็นวางแผนการพัฒนาประเทศอย่างเป็นระบบ จะเห็นได้ว่า
แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑ มีเป้าหมายการพัฒนาที่เน้นการเพิ่มผลผลิต และส่งเสริมอุตสาหกรรม และผลที่ได้รับคือ GDP
เท่ากับ 7.3 ถือว่าเศรษฐกิจมีความเติบโตในระดับดี
- มีการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ เช่น อาเซียน โอเปค เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศและส่งเสริม
การลงทุนจากต่างชาติ
2. ด้านสังคม
ในช่วงแรกใช้คำว่า แผนพัฒนาเศรษฐกิจต่อมาได้มีการเพิ่มคำว่า สังคมลงไปกลายเป็นแผนพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แสดงว่ามีการให้ความสำคัญในการพัฒนาสังคมควบคู่ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจ เช่น
ส่งเสริมด้านสุขภาพ การศึกษา สาธารณูปโภค เป็นต้น
3. ด้านการเมือง
- มีการพัฒนาการเมืองให้มีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น
4. ด้านความรู้
- มุ่งสร้างประเทศให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ตาม พ...การศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542 ที่ส่งเสริมให้มี
การศึกษาตลอดชีวิต
จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นว่าแนวทางการพัฒนาประเทศไทยในภาพรวมมีการปรับปรุงให้มีความทันสมัย
ในทุกๆด้าน แต่ผลที่ได้รับจากการพัฒนากลับไม่ได้มีแต่ความเจริญเพียงอย่างเดียวกลับพบว่ามีผลกระทบที่ตามมาด้วย
ดังนั้น การจะกล่าวว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วดูจะมีความขัดแย้งกับความหมายของการพัฒนา ที่มี
ความหมายว่า การเปลี่ยนแปลงไปในทางเจริญทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรม แต่ในความเป็น
จริงกลับกลายเป็นว่ามีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเพียงมิติเดียว หรืออาจกล่าวได้ว่ามีความร่ำรวยแต่ความสุข
ลดลง ซึ่งการพัฒนาของประเทศไทยที่ผ่านมาพบว่ามีผลกระทบที่ตามมาดังนี้
1. ด้านสังคม
- เกิดความเหลื่อมล้ำทางรายได้ เนื่องจากสังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงจากสังคมเกษตร กลายเป็น
สังคมอุตสาหกรรม ทำให้ผู้ที่มีทุนคือผู้ที่ได้เปรียบทางเศรษฐกิจ จนเกิดปัญหาความแตกต่างทางชนชั้นระหว่างคนรวย
กับคนจน และเป็นสิ่งสะท้อนว่าสังคมไทยมีแต่ Growth แต่ไม่มีการ Distribution ทำให้เกิดสภาวะ รวยกระจุก
จนกระจาย ซึ่งสถานการณ์เช่นนี้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชากร
2. ด้านวัฒนธรรม
- วัฒนธรรมไทยกำลังเลือนหายเนื่องจากประเทศมีทิศทางการพัฒนาตามแบบตะวันตก จึงมีค่านิยมใน
วัฒนธรรมตะวันตก ทำให้เกิดการพัฒนามาตรฐานเดียวลดความหลากหลายของวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ควรแก่การอนุรักษ์
3. ด้านการเมือง
- แม้ประเทศไทยจะมีการปกครองแบบประชาธิปไตยตั้งแต่มีการปฏิวัติการปกครอง พ.. 2475 แต่
การเมืองก็ยังไม่เสถียรภาพ ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลและรัฐธรรมนูญบ่อยครั้ง จนกระทั่งในปัจจุบันก็ยังพบว่ามี
ความขัดแย้งทางการเมือง อันเนื่องมาจากความแตกต่างทางชนชั้น มิใช่ ความแตกต่างทางอุดมการณ์
4. ด้านสิ่งแวดล้อม
- มีการทำลายสิ่งแวดล้อมทำให้เกิดปัญหาต่อระบบนิเวศน์ ส่งผลต่อสุขภาพและวิถีชีวิตของประชากร
จากที่กล่าวมาทั้งหมดแสดงให้เห็นแนวทางการพัฒนาประเทศไทยตั้งแต่เริ่มทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑ ถึงปัจจุบัน พบว่ามีทั้งความเจริญและผลกระทบต่างๆ ซึ่งน่าจะเป็นข้อมูลให้ทุกท่านสามารถตัดสินใจได้ว่า ประเทศไทยพัฒนา หรือ ยังไม่พัฒนา ทั้งนี้ขึ้นกับความคิดเห็นของแต่ละท่าน โดยมีเหตุผลเพิ่มเติมเพื่อให้คำตอบดูน่าเชื่อถือ 

ประเทศญี่ปุ่น
Q: จากการพัฒนาของประเทศญี่ปุ่น ทำให้ปัจจุบันประเทศญี่ปุ่น รวยหรือจนความคิดของนักศึกษา? โดยให้หา
ทฤษฎีและเหตุผลสนับสนุน
แม้ปัจจุบันประเทศญี่ปุ่นจะมีGNPสูงเป็นอันดับ2ในโลกซึ่งให้ให้ประเทศต่างๆมองเห็นถึงความร่ำรวยมั่งคั่ง
ของญี่ปุ่นแต่ในความเป็นจริงแล้วข้าพเจ้าคิดว่าประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีความยากจนแอบแฝงอยู่ โดยใช้ทฤษฎี
ศักยภาพการพัฒนาและการแพร่กระจาย ช่วยวิเคราะห์
ทฤษฎี ศักยภาพการพัฒนาและการแพร่กระจาย มีปัจจัย 6 ประการ
1. ทรัพยากรธรรมชาติ ถ้ามีมากการพัฒนาก็จะสูง ลดการพึ่งพา แต่ ญี่ปุ่นไม่มี ต้องพึ่งพาจากต่างประเทศเช่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจัยในข้อนี้มีวามสำคัญที่สุดในการพัฒนา
2. ทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะวัยแรงงานถ้ามีมากศักยภาพสูง แตญี่ปุ่นประชากรวัยชรามีสูง แก่แต่ไม่ตาย
3. องค์กรสังคม มีพรรคการเมืองดีมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันเป็นพรรคฝ่ายค้านมาบริหารประเทศขาดทักษะประสบการณ์
4. ผู้นำ ผู้นำคนเยอะ กลุ่มคนทำงานใหญ่ ญี่ปุ่นคนทำงานเป็นทีม
5. การติดต่อ ญี่ปุ่นมีการติดต่อสื่อสารที่ดีมีศักยภาพ
6. การศึกษาฝึกอบรม ญี่ปุ่นมีการศึกษาฝึกอบรมที่ดี ญี่ปุ่นขาดทรัพยากรธรรมชาติ และทรัพยากรมนุษย์ที่เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการพัฒนา
ปัจจัยที่แสดงถึงความยากจนของญี่ปุ่น
ประเทศญี่ปุ่นมีประชากร 120 ล้านคน แต่มีพื้นที่น้อยเป็นหมู่เกาะ ทำให้แสดงถึงความแออัดของ
ประชากร
ประชากรของประเทศญี่ปุ่น มีสัดส่วนวัยชราค่อนข้างเยอะ เมื่อเทียบกับประชากร และด้วยญี่ปุ่น
เป็นรัฐสวัสดิการ ทำให้วัยแรงงานมีภาระมากขึ้นต้องทำงานมากขึ้น
สภาวะแวดล้อมมีปัญหาจากอดีตถึงปัจจุบัน เช่นโรค อิไตอิไต ที่เกิดจากการบริโภคน้ำเหมืองแร่
โรคมินามาตะ เกิดจากสารปรอท และมนุษย์ปรมาณูจาการรั่วไหลของกัมมันตรังสีทำให้เกิดการเลือกปฏิบัติ
ประเทศญี่ปุ่นไม่มีทรัพยากรเป็นของตนเอง เปรียบเหมือนซูโม่ตัวใหญ่บนรองเท้าบัลเลย์คู่เล็ก มี
การพึ่งพาการค้า ต่างประเทศ เช่น USA ถึง25%
                   การดำรงชีวิตไม่สมดุลกับการผลิต สิ่งที่เป็นวัตถุเปลี่ยนแปลงเร็วกว่าสิ่งที่ไม่ใช่วัตถุ เมืองเปลี่ยนแปลงเร็วกว่าชนบท
อุตสาหกรรมของญี่ปุ่นมีลักษณะ โครงสร้าง 2 ชั้น คือ บ.ยักษ์ กับ บ.SMEs แสดงถึงความด้อย
พัฒนา และรัฐบาลส่งเสริมแต่บ.ยักษ์ ละเลย บ.SMEs
ค่าแรงสูง ส่งผลต่อค่าครองชีพสูง
การระบายน้ำและส้วมเทียบเท่าประเทศกำลังพัฒนา
ปัญหาที่อยู่อาศัยยิ่งเมืองใหญ่ห้องยิ่งเล็กมากๆ ราคาที่ดินเพิ่มขึ้นทุกปี ทำให้บ้านมีราคาแพงมากแม้
คนญี่ปุ่นจะทำงานอย่างบ้านคลั่ง ทุ่มเทเท่าไหร่แต่งานที่ทำก็ไม่สามารถให้คนทั่วไปมีบ้านได้ ไม่สามารถผ่อนให้หมดได้ในรุ่นเดียว บ้านมีเพียง 2 ห้องนอนเท่านั้น คือ ห้องครัว และห้องนอนทำให้เมื่อชรา ไม่สามารถอยู่กับลูกได้
จากปัจจัยที่กล่าวมาแสดงให้เห็นถึง ความยากจนของคนญี่ปุ่น ซึ่งแม้ ญี่ปุ่นจะมีGNP ที่สูงติดอันดับ 2 ของโลก แต่คนญี่ปุ่นไม่ได้มีความสุข หรือมีปัจจัยพื้นฐานของชีวิต ที่พร้อมสมบรูณ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น