วันอังคารที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2554

อ. ชลิดา ศรมณี

ข้อ 1  ทฤษฎีระบบ
ตัวแบบทฤษฎีระบบ
      ทฤษฎีระบบสามารถแยกออกได้เป็น  2  แนวใหญ่ด้วยกัน  คือ
      แนวแรก มองในฐานะสิ่งมีชีวิตคล้ายกับทางชีววิทยา (System as organic entity)  ตัวแทนที่เด่นของแนวคิดนี้ในวิชารัฐศาสตร์   ได้แก่  เดวิด  อีสตัน  (David Easton)
     แนวที่สอง  มองระบบในแง่ของโครงสร้าง หน้าที่  ตัวแทนของแนวความคิดนี้  ได้แก่   เกเบรียล  อัลมอนต์ และคณะ
1. ทฤษฎีระบบในฐานะสิ่งมีชีวิต
      เจ้าตำหรับที่นำแนวคิดเกี่ยวกับทฤษฎีระบบมีใช้ในวิชาสังคมศาสตร์  คือ  นักสังคมวิทยา ชื่อ  ทัลคอท  พาร์สัน  (Talcott Parsons)  ต่อมานักสังคมศาสตร์รวมทั้งนักรัฐศาสตร์รับเอาแนวความคิดนี้มาใช้  กล่าวโดยสรุป  หัวใจของนักทฤษฎีระบบอยู่ที่การมองสังคมว่าเป็นระบบ (Social system)  ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับระหว่างระบบใหญ่กับระบบย่อยคล้ายสิ่งมีชีวิต  เช่น  ร่างกายมนุษย์ซึ่งประกอบด้วยอวัยวะต่าง ๆ  ที่มีความสัมพันธ์กัน
      ในฐานะที่เป็นระบบสังคมจึงมีความจำเป็นที่จะต้องการบางอย่าง (Need) ได้รับการตอบสนอง  เพื่อความอยู่รอดของระบบ  คือ  อยู่ในภาวะดุลยภาพ  ดังนั้น ระบบของสังคมจึงมีฐานะคล้ายกับสิ่งมีชีวิต  คือ  สามารถปรับตัวให้อยู่รอดได้  ถ้าหากความต้องการต่าง    ได้รับการตอบสนอง  แต่ถ้าหากความต้องการของสังคมไม่ได้รับการตอบสนองเท่าที่ควรก็จะทำให้สังคมเกิดภาวะไร้ดุลยภาพ  คือ  เสียศูนย์ระบบก็เสื่อมสลายไปในที่สุด
      เดวิด  อีสตัน  เป็นตัวแกนของกลุ่มที่มองระบบในฐานะสิ่งมีชีวิต  และเป็นคนแรกที่นำเอาทฤษฎีระบบมาใช้ในการศึกษาวิชารัฐศาสตร์  ความหวังของ อีสตัน อยู่ที่การสร้างทฤษฎีทางการเมืองที่เป็นมาตรฐานให้เป็นที่ยอมรับของนักรัฐศาสตร์ทั่วไป
ทฤษฎีของเดวิด  อีสตัน  เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย  ในหมู่นักรัฐศาสตร์           สภาพแวดล้อม  (Environment)  หมายถึง  สภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อระบบการเมือง
           สิ่งที่ใส่เข้าไปในระบบการเมือง  (Inputs)  แยกเป็นข้อเรียกร้องที่มีต่อระบบ  (Demand)  และการยอมรับหรือการสนับสนุนที่สมาชิกมีต่อระบบ (Support)
         ระบบการเมือง  (Political system)  หมายถึง  ระบบความสัมพันธ์และพฤติกรรมทางการเมืองรวมตลอดถึงสถาบันและโครงสร้างทางการเมืองที่ทำหน้าที่ในการจัดสรรสิ่งที่มีค่าในสังคม
           ผลลัพธ์ที่ออกมาจากการทำงานของระบบการเมือง  (Output)  เช่น  นโยบาย  การตัดสินใจ  การดำเนินการต่าง    ของรัฐบาล
           ข้อมูลย้อนกลับ  (Feedback)  หมายถึง  ผลสะท้อนอันเนื่องมาจากการทำงานของระบบการเมืองอันจะนำไปสู่การสนับสนุน  หรือการตั้งข้อเรียกร้องใหม่ต่อระบบการเมือง  ถ้าระบบการเมืองสามารถตอบสนองต่อข้อเรียกร้องต่าง ๆ  ได้  ก็จะได้รับการสนับสนุนจากสมาชิก  ระบบก็อยู่รอด  หากเป็นไปในทางตรงกันข้ามระบบก็เสื่อมสลายไป 
2. ทฤษฎีระบบในแง่ของโครงสร้าง-หน้าที่    ในทางรัฐศาสตร์  ตัวแทนของแนวความคิดที่มองระบบในแง่ของโครงสร้าง-หน้าที่  ได้แก่  เกเบรียล  อัลมอนด์  ทฤษฎีโครงสร้าง-หน้าที่  ของเขาไม่แตกต่างอะไรไปจากทฤษฎีระบบของอีสตัน  กล่าวคือ  ยังมองการทำงานของระบบการเมืองในแง่ของ  “สิ่งที่เข้าไปในระบบกับสิ่งที่ออกมา”  (Inputs-Outputs)  แต่อัลมอนด์ให้ความสำคัญกับหน้าที่และภารกิจของระบบการเมืองมากกว่าอีสตัน  โดยเขาเห็นว่าหน้าที่เป็นตัวกำหนดโครงสร้างในระบบการเมืองหนึ่ง  (จุดนี้ถือว่ามีความสำคัญมาก  เพราะแสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างอัลมอนด์กับเฟรด ริกส์ )  การให้ความสำคัญในหน้าที่มากกว่าโครงสร้าง  ทำให้อัลมอนด์เรียกวิธีการศึกษาของเขาว่า “The functional approach  to  comparative  political”
      อัลมอนด์มีความคิดเห็นว่า  หน้าที่ที่สำคัญของการเมืองหนึ่ง    ประกอบด้วยกลุ่มใหญ่    และเวลาศึกษาเปรียบเทียบระบบการเมืองนั้นก็จะเปรียบเทียบหน้าที่หลัก กลุ่มนี้  ว่าของใครทำงานได้ตรงตามหน้าที่มากกว่ากัน
     
ก.หน้าที่ทางการเมืองหรือส่วนที่นำเข้าไป  (political  or Input functionalประกอบไปด้วย
              1.  การให้ความรู้ทางการเมืองแก่ประชาชน  เพื่อให้เกิดความตื่นตัวและต้องการเข้ามา  มีส่วนร่วมทางการเมือง (political  socialization  and  recruitment)
              2.  การให้ประชาชนสามารถแสดงออกทางการเมือง  เพื่อป้องกันประโยชน์ของประชาชน ( Interest  articulation)
              3.  การรวมตัวของประชาชนที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน  ในรูปของกลุ่มผลประโยชน์และพรรคการเมือง  ( Interest  aggregation)
              4.  การคมนาคมติดต่อสื่อสาร  เพื่อแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเมืองของประชาชน (political  comumication)
     
ข. หน้าที่ของรัฐบาลหรือส่วนที่ออกมา  (Govermmant  or  output functional )  ประกอบไปด้วยการกำหนดกฎเกณฑ์ข้องบังคับต่าง    (Rule-making)  การบังคับใช้กฎเกณฑ์เหล่านั้น  (Rule-application)  และการพิจารณาตัดสินให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์นั้น    (Rule-adjudication)
     
ค.  หน้าที่เกี่ยวกับความสามารถของระบบการเมือง  (Capability functional)  ประกอบด้วย
   - การปกป้องรักษาและการปรับตัวของระบบการเมือง  (Maintenance  and  adaptation)
   - กระบวนการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่นำเข้าให้เป็นผลออกมา  (Conversion)
   - ความสามารถอื่น    เช่นความสามารถในการกำหนดระเบียบกฎเกณฑ์ความ สามารถในการสกัดเอาทรัพยากรมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ  ความสามารถในการแจกจ่ายและตอบสนองต่อข้อเรียกร้องของประชาชน  รวมตลอดถึงความสามารถในเชิงสัญลักษณ์  เพื่อสร้างความรู้สึกมีส่วนร่วมให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชน
แนวคิดทฤษฎีเชิงระบบ มีส่วนประกอบสำคัญของระบบ ดังนี้
    1. ปัจจัยนำเข้า (Input) เป็นการนำเอาทรัพยากรซึ่งประกอบไปด้วย คน (Man) เครื่องจักร อุปกรณ์เทคโนโลยี (Machine ,Equipment & Technology) วัตถุดิบ (Material) เงินทุน (Money) ตลาด (Market) การจัดการ (Management) มาใช้ในระบบ โดยนำเข้าสู่กระบวนการเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ต้องการ ซึ่งทรัพยากรที่ใส่เข้าไปจะถูกแปรสภาพตามกระบวนการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ
2. กระบวนการ (Process) เป็นขั้นตอนในการทำงาน เป็นการอธิบายรายละเอียดของลำดับขั้นตอน ก่อน-หลัง ของการเปลี่ยนสภาพปัจจัยนำเข้าให้เป็นผลผลิตในความเป็นจริงระบบแต่ละระบบจะมีกระบวนการมากกว่า 1 กระบวนการ เพื่อบรรลุเป้าหมายความสามารถขององค์การในการบริหารหรือเปลี่ยนสิ่งที่นำเข้าสู่ระบบให้เป็นผลผลิตตามที่ต้องการ
3. ผลผลิต (Output) หมายถึง ส่วนประกอบของระบบองค์การซึ่งเกี่ยวข้องกับสินค้า บริการ และผลผลิตอื่น ๆ ที่ถูกผลิตโดยองค์การ เป็นผลที่เกิดจากนำ Input ผ่านกระบวนการที่องค์การกำหนดเป็นเป้าหมาย
ปัจจุบันการบริหารมุ่งให้ผลผลิตมีคุณภาพและประสิทธิภาพประหยัดคุ้มค่ากับงบประมาณตอบสนองความต้องการของผู้เกี่ยวข้องประชาชนพึงพอใจไม่มีผลต่อสิ่งแวดล้อม
 4. การป้อนกัน (Feedback) เป็นข้อมูลเกี่ยวกับสภาพและผลลัพธ์เกี่ยวกับกิจกรรมขององค์การข้อมูลเหล่านี้ใช้เพื่อปรับปรุงปัจจัยนำเข้าและกระบวนการแปรสภาพ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่พึงพอใจมากขึ้น ซึ่งการป้อนกลับจะช่วยให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดตามเป้าหมายที่ต้องการ และเพื่อนำไปปรับปรุงตั้งแต่ขั้นตอน Input หรือ Process ซึ่งข้อมูลที่ได้นี้ผู้บริหารสามารถนำไปใช้ประโยชน์เพื่อให้การวางแผนเกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
 5. สภาพแวดล้อม (Environment) หมายถึง แรงผลักดันทั้งภายนอกหรือภายในซึ่งมีผลกระทบต่อการปฏิบัติงานในองค์การ สามารถแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ
          สภาพแวดล้อมภายนอก(External Environment) : แรงผลักดันภายนอกองค์กร ที่ส่งผลกระทบถึงศักยภาพของการบริหารองค์การเช่น สภาพเศรษฐกิจ, สังคม, การเมือง,กฎหมาย, (ควบคุมไม่ได้)
          สภาพแวดล้อมภายใน (Internal Environment) : แรงผลักดันภายในองค์กร ที่มีอิทธิพลต่อองค์การและการทำงาน เช่น กระบวนการผลิต(ควบคุมได้)
ได้อะไรจากการคิดเชิงระบบ
1. ช่วยให้เกิดความคิดเพื่อพัฒนาองค์การในภาพรวมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. ประสานงานร่วมกับบุคคลอื่นให้เป็นไปตามกระบวนการ และระบบการบริหารงานภายใน
3. สามารถแก้ปัญหา ตัดสินใจ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. แก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งที่จะเกิดขึ้นในองค์การได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5. เพื่อมองเห็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นกับระบบภายในองค์การ ที่เกิดขึ้นเป็นระบบ เชื่อมโยงติดต่อกัน และสามารถแก้ไขสถานการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6. ช่วยให้มีความเข้าใจเรื่องที่ซับซ้อนได้อย่างลึกซึ้ง กว้างขวางยิ่งขึ้น
คุณลักษณะที่สำคัญของทฤษฎีเชิงระบบ
1. เป็นแนวคิดที่มององค์การเป็นระบบ ซึ่งประกอบด้วยระบบย่อย (Subsystem) หลายระบบที่ทำงานร่วมกันและพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน
2. พลวัต (Dynamic) ระบบย่อยภายในองค์การจะมีการเคลื่อนไหว เพื่อดำเนินกิจกรรมในหน้าที่ของตนและติดต่อประสานงานกับระบบย่อยอื่น
3. หลายชั้น (ระดับ) และหลายมิติ (Multilevel and multidimensional) การศึกษาองค์การจะมองทั้งในภาพรวมและรายละเอียดปลีกย่อย ตั้งแต่ด้านโครงสร้าง ระบบการบริหารจัดการที่ปรากฏในแต่ระดับ เพื่อพิจารณาถึงความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างระบบย่อยต่าง ๆ อันจะนำมาซึ่งการประสานงานที่ดีระหว่างกัน
4. ใช้การจูงใจหลายด้าน (Multimotivated) ผู้บริหารต้องใช้การจูงใจที่มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น
5. สหวิชาการ (Multidiscipline) ทฤษฎีระบบได้นำเอาวิชาการที่หลากหลายเข้ามาผสมผสานกัน เช่น สาขาวิชาจิตวิทยา การวิจัยการปฏิบัติการ ทฤษฎีการบริหาร นิเวศวิทยา สังคมวิทยา ประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างกลยุทธ์ของการแข่งขันให้เหนอคู่แข่งขัน
6. การปรับตัว (Adaptive) ในสภาพแวดล้อมที่ไม่คงที่ ผู้บริหารต้องนำพาองค์การให้มีความยืดหยุ่นสามารถดำรงอยู่ได้ในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งการใช้ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) ช่วยให้ผู้บริหารทราบถึงจุดบกพร่องหรือปัญหาที่เป็นอันตรายได้ตั้งแต่เริ่มแรก โดยจะเตรียมปรับตัวเพื่อต่อสู้กับสิ่งเลวร้ายต่าง ๆ
7. ตัวแปรหลายตัว (Multivariable) ทฤษฎีเชิงระบบเชื่อว่าสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับองค์การมีสาเหตุมาจากตัวแปรหลายตัว และตัวแปรเหล่านั้นก็มีความเกี่ยวข้องกันทั้งทางตรงและทางอ้อม ความน่าจะเป็น (Probabilistic) ทฤษฎีสมัยดั้งเดิมสภาพแวดล้อมค่อนข้างคงที่ การตัดสินใจทุกอย่างมีความแน่นอนสูง
การคิดเชิงระบบทางอ้อม
การคิดเป็นพฤติกรรมทางสมอง ที่สมองกระทำกับวัตถุความคิด (Object of thinking) ซึ่งเรียกว่า มโนมติ (Concept) มโนมติของคนเราอาจมีหลายมติ ซึ่งเกิดขึ้นจากประสบการณ์ และการคิดขึ้นเองจากโลกแห่งความเป็นจริง หรือจินตนาการจากโลกมายาก็ได้
การคิดที่เป็นประโยชน์ต่อชีวิตมนุษย์มีหลายรูปแบบ โดยเฉพาะการคิดเชิงระบบ เป็นวิธีการคิดเชิงบูรณาการ เป็นการขยายขอบเขตการคิดของเราที่มีต่อเรื่องนั้นๆ ออกไป โดยไม่ด่วนสรุปหรือตัดสินใจ แต่พิจารณาเรื่องนั้นอย่างละเอียดถี่ถ้วน ทุกมุมมอง เปิดโอกาสให้ความคิดของคนเราได้มีการเชื่อมโยง เพื่อหาความเป็นไปได้ใหม่ๆ ได้มุมมองใหม่ๆ เห็นแนวทางแก้ปัญหาที่ดีกว่าสร้างสรรค์ รวมทั้งให้เห็นความสัมพันธ์แบบเชื่อมโยงระหว่างเรื่องนั้นกับปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้อง



2. ทฤษฏีอะไร บ้างที่มีแนวคิดสอดคล้องกับการคิดเชิงบูรณาการบ้าง มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร อธิบาย
ในทัศนะของข้าพเจ้า  ทฤษฎีที่มีแนวคิดสอดคล้องกับการคิดเชิงบูรณาการ คือ แนวคิดทฤษฎีเชิงระบบและทฤษฎีเชิงสถานการณ์  แต่ก่อนอื่นเราต้องมารู้จักความหมายของการคิดเชิงบูรณาการกันก่อน
           การคิดเชิงบูรณาการ คือ ความสามารถในการเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสาร มุมมอง หรือแนวความคิดทีแยกส่วนหรือมีความแตกต่างกัน ให้รวมเข้าด้วยกันกับเรื่องที่เป็นแกนหลักได้อย่างสมบูรณ์ ส่งผลให้เรื่องที่เป็นแกนหลักหรือมีความสำคัญสูงสุด มีความสมบูรณ์และมีเอกภาพ เป็นความคิดบนฐานความเข้าใจในสัจธรรม เชื่อมโยงกับสิ่งต่างๆ มากกว่า 1 สิ่ง อย่างมีเหตุผลสัมพันธ์กันทั้งเหตุผลที่เชื่อมโยงโดยตรงหรืออ้อม เป็นการพยายามทำให้เกิดความคิดที่ว่า ปัจจัยนั้น สิ่งนั้น เป็นความคิดของทุกๆ คนร่วมกัน มีข้อมูลเพียงพอพิจารณาถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ได้รับผลกระทบ ร่วมรับฟังความคิดเห็นและความต้องการของแต่ละคนต่อเรื่องนั้น แล้วนำความคิดเห็นเหล่านั้นมารวมกัน ในตำแหน่งที่เหมาะสมเพื่อประกอบการตัดสินใจให้เกิดความร่วมมืออย่างเป็นระบบ
            สรุปง่าย ๆ การคิดเชิงบูรณาการ เป็นการคิดในภาพรวม คิดทุกๆด้านที่เกี่ยวข้องกัน ทุกๆส่วนที่เชื่อมโยงถึงกันและกัน ภายใต้การมีส่วนร่วมดำเนินการจากทุกภาคส่วน เพื่อหาทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบ ปราศจากข้อขัดแย้ง
            การคิดเชิงบูรณาการ เป็นการคิดที่มีลักษณะเป็นกระบวนการภายใต้กรอบความคิด 3 ขั้นตอน ได้แก่
            1. การถอดกรอบ เป็นการฝึกคิดเชิงบูรณาการ ฝึกเชื่อมโยง เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ เห็นภาพชัดเจนขึ้น และต้องดีกว่าเดิมโดยการถอดกรอบตนเองออกจากการมองโลกของตนเอง จากวิธีการคิดเดิม ๆ กรอบวัฒนธรรม ความคิดเก่าๆที่คิดว่าดี คิดดีและปฏิบัติอย่างเหมาะสม ซึ่งต้องเอากับดักทางความคิด 4 กับดักออก คือ
                1. กับดักรูปแบบวิธีคิด
                2. กับดักทางวัฒนธรรม
                3. กับดักทางความรู้ และ
                4. กับดักประสบการณ์
         2. การขยายกรอบ เป็นการค้นหาสาเหตุ การวินิจฉัยเหตุการณ์ และการแก้ปัญหาอย่างสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน ซึ่งต้องมองใน 5 ด้าน คือ
          1. มององค์รวม (holistic view)
         2. มองสหวิทยาการ
         3. มองอย่างอุปนัย
        4. มองประสานขั้วตรงข้าม
        5. มองทุกฝ่ายชนะ
3. การคลุมกรอบ เปรียบเสมือนการดูภาพจิกซอว์ที่มีความสมบูรณ์แล้ว แต่เป็นกรอบที่มีความยืดหยุ่นได้ เป็นรวมความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ นำมารวมภายใต้แกนเดียวกันโดยไม่มีการขัดแย้ง และนำข้อขัดแย้งไปสู่ข้อสรุปเอกภาพเดียวกัน ภายใต้การผนวกแกนเดียวกัน ครอบคลุมครบถ้วน กลายเป็นกรอบแนวคิดใหม่ที่บูรณาการแล้ว
ได้อะไรจากการคิดเชิงบูรณาการ
      1. ช่วยขจัดความขัดแย้งบนพื้นฐานการประสานผลประโยชน์
      2. ช่วยให้มีความเข้าใจเรื่องที่ซับซ้อนได้อย่างลึกซึ้ง กว้างขวางยิ่งขึ้น
     3. ช่วยลดความผิดพลาดจากการคิดไม่ครบ เช่น คิดง่าย ๆ สั้น ๆ ไม่ครอบคลุมประเด็นที่ต้องการ ซึ่งอาจเกิดจากกรอบความคิดมีข้อจำกัดหรือตอบสนองความต้องการเฉพาะหน้า
    4. ลดความซ้ำซ้อนและสิ้นเปลืองทรัพยากร
    5. ช่วยให้เราเป็นคนใจกว้าง
ลักษณะสำคัญของการคิดเชิงบูรณาการ
  1. จิตสาธารณะ
 2. รักเรียนรู้ รับความรู้ใหม่ๆตลอดเวลา
3. มองให้ครบ มองลึก มองกว้าง มองไกล รอบคอบ
4. สมานฉันท์ ลบอคติจากใจ
ต่อมาเราก็มาพูดถึงการคิดเชิงระบบกันนะครับ
ทฤษฎีแนวคิดทฤษฎีเชิงระบบ มีแนวคิดสอดคล้องเกี่ยวข้องกันกับการคิดเชิงบูรณาการ ดังนี้
1. การมององค์รวม ( Holistic view ) เป็นการมองให้ครบทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น พิจารณาว่าเรื่องนั้นเกี่ยวกับใครบ้าง เกี่ยวข้องอย่างไร อะไรเป็นสาเหตุ ผลกระทบเกี่ยวเนื่องที่จะเกิดขึ้นมีอะไรบ้าง
2. มองอย่างอุปมาอุปนัย เป็นการมองขยายกรอบความคิด เป็นการเปิดโอกาสให้สมองได้ใช้ศักยภาพอย่างเต็มที่ในการเรียนรู้ และทำความเข้าใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยใช้เหตุผลแบบอุปนัย (inductive thinking) หรือใช้กรอบความรู้ที่ได้พิสูจน์แล้วมาตอบ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการคิดเชิงบูรณาการ
3. มีรูปแบบของปัจจัยป้อนเข้า และผลผลิต (Input Output Model) ซึ่งแสดงให้เห็นถึงผลของปฏิสัมพันธ์ที่มีกับสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มต้นจากปัจจัยกระบวนการ และผลผลิตตามลำดับเป็นองค์ประกอบของแนวคิด
4. แต่ละองค์ประกอบของระบบจะต้องมีส่วนสัมพันธ์กัน หรือมีผลกระทบต่อกันและกัน (The Entities Model) หมายความว่า ถ้าองค์ประกอบของระบบตัวใดตัวหนึ่งเปลี่ยนไป ก็จะมีผลต่อการปรับเปลี่ยนขององค์ประกอบตัวอื่นด้วย
5. เชื่อในหลักการของความมีเหตุ-ผลของสิ่งต่าง ๆ (Cause and Effect) ซึ่งเป็นหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถพิสูจน์ได้ ไม่เชื่อว่าผลของสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง เกิดจากสาเหตุเพียงสาเหตุเดียว แต่เชื่อว่าปัญหาทางการบริหารที่เกิดขึ้นมักจะมาจากสาเหตุที่มากกว่าหนึ่งสาเหตุ
6. มีกระบวนการในการปรับเปลี่ยน และป้อนข้อมูลย้อนกลับ(Feed Back) เพื่อบอกให้รู้ว่า ระบบมีการเบี่ยงเบนอย่างไร ควรจะแก้ไขที่องค์ประกอบใดของระบบ ซึ่งก็คือ การวิเคราะห์ระบบ (Systems Analysis) นั่นเอง
สรุป
แนวคิดทฤษฎีเชิงระบบและการคิดเชิงบูรณาการ ช่วยให้เราคิดเพื่อพัฒนาองค์การในภาพรวมได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีกรอบของการพิจารณาที่รัดกุม และครอบคลุมถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ อย่างทั่วถึง ช่วยลดความผิดพลาดจากการคิดไม่ครบ เช่น คิดง่าย ๆ สั้น ๆ ไม่ครอบคลุมประเด็นที่ต้องการ ซึ่งอาจเกิดจากกรอบความคิดมีข้อจำกัดหรือตอบสนองความต้องการเฉพาะหน้า ช่วยให้การบริหารงานตามกระบวนการ การใช้เทคนิคทางการบริหารและการพิจารณาในทรรศนะต่าง ๆ มีลักษณะเป็นสาระ ส่งผลให้องค์การย่อมจะสามารถดำเนินการด้วยดีที่สุดและสำเร็จผลสูงสุดได้อย่างสมดุลที่สุด

ข้อ 3 ทฤษฎีเชิงสถานะการณ์
ตอบ.....
ดูจากหนังสือเลยครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น