วันจันทร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2554

แนว PA701

ข้อ 1 สินค้าสารธารณะ public goods และสินค้าเอกชน private goods มีความสำคัญอย่างไร แตกต่างกันอย่างไร ประชาชนมีความจำเป็นข้องเข้าใจในสินค้าสาธารณะหรือไม่เพราะเหตุใด ?
แนวตอบ

ในสังคมบริโภคนิยมทุกวันนี้ มีสินค้าหลากหลายชนิดให้ผู้บริโภคได้เลือกสรรกันอย่างมากมาย อยู่ที่ว่าใครจะมีความพอใจและมีอำนาจซื้อได้เท่านั้น แต่ในทางเศรษฐ ศาสตร์ ใช่ว่าจะมีแต่สินค้าที่ซื้อหากันได้  เพราะสินค้าบางอย่างถึงจะมีเงินมากมายสักเท่าไรก็ซื้อไม่ได้ หรือบางอย่างก็เป็นความจำเป็นที่ทุกคนต้องมีส่วนร่วมไม่ว่าจะอยากซื้อหรือ ไม่ก็ตาม สินค้าดังกล่าวนี้ ทางเศรษฐศาสตร์ เรียกว่า public goods

public goods หรือ สินค้าสาธารณะ
หมายถึง สินค้าหรือบริการที่ทุกคนในสังคมได้ใช้ร่วมกัน เมื่อผู้หนึ่งผู้ใดใช้สินค้าหรือบริการนั้นแล้วก็ไม่เป็นเหตุให้ผู้อื่นไม่ ได้ใช้สินค้าหรือบริการนั้น เช่น การป้องกันประเทศ ในขณะเดียวกันก็ไม่สามารถใช้ราคาเป็นเครื่องมือกีดกันหรือแบ่งแยกการบริโภค สินค้าหรือบริการนั้นได้  กล่าวคือ  ทุกคนที่ใช้สินค้าหรือบริการนั้นไม่จำเป็นต้องเสียค่าตอบแทนในการใช้สินค้า หรือบริการดังกล่าว ดังนั้น จึงไม่สามารถใช้กลไกราคามาจัดสรรสินค้าหรือบริการดังกล่าวได้
สินค้าเอกชน หรือ  private goods
หมายถึง สินค้าหรือบริการที่ถูกใช้หรือบริโภคโดยคนหนึ่งคนใดแล้วจะทำให้ผู้อื่นไม่ ได้ใช้สินค้าหรือบริการนั้น กล่าวคือ สินค้าหรือบริการนั้นมีลักษณะการเป็นปรปักษ์ใน  การบริโภค (rival consumption) เช่น เมื่อผู้ใดบริโภคอาหารจานนั้นแล้วผู้อื่นก็จะ บริโภคไม่ได้ ในกรณีที่เป็นสินค้าเอกชนนั้นสามารถใช้ราคาเป็นเครื่องแบ่งแยกการบริโภค (exclusion) ออกจากกันได้ คือผู้ที่เป็นเจ้าของสินค้าหรือบริการเป็นผู้ที่มีกรรมสิทธิ์ในสินค้าหรือ บริการนั้น ผู้อื่นต้องเสียค่าใช้จ่ายหรือต้องได้รับความยินยอมจากผู้ที่เป็นเจ้าของ สินค้าหรือบริการ จึงจะใช้สินค้าหรือบริการนั้นได้ เมื่อพิจารณาถึงผลประโยชน์ในการใช้หรือบริโภคสินค้าเอกชนนั้น โดยปรกติแล้วผลประโยชน์จากการบริโภคจะตกแก่ผู้บริโภคเป็นสำคัญ.

สินค้าและบริการสาธารณะ (Public Goods)
          สินค้าและบริการสาธารณะ (Public Goods) หมายถึง สินค้าและบริการที่ผลิตขึ้นมาแล้วทั้งในระดับท้องถิ่นหรือระดับประเทศ ทุกคนจะได้รับหรือมีสิทธิ์ที่จะได้รับการบริโภคที่เท่ากัน หรือบริโภคที่ร่วมกัน (Joint Consumption) ซึ่งมี 2 ลักษณะที่สำคัญคือ
1.      Non-rival in Consumption
          หมายถึง การบริโภคของคนๆ หนึ่งจะไม่กระทบการบริโภคของคนอื่น หรือจะไม่ทำให้การบริโภคของคนอื่นลดลง (ความพอใจของผู้บริโภคคนอื่น ¯) โดยพิจารณาจาก
Ø Marginal Cost (MC) of Additional User (ต้นทุนส่วนเพิ่มที่ทำให้ความพอใจ
    ของผู้บริโภคคนอื่น ¯ เมื่อมีผู้บริโภคเพิ่มขึ้น 1 คน) = 0 หรือ
          Ø Congestion Cost (ต้นทุนความแออัด) = 0
2.      Non-excludable
                   หมายถึง ไม่สามารถกีดกันผู้บริโภคได้ ถึงแม้ว่าผู้บริโภคไม่จ่ายเงิน กล่าวคือไม่สามารถเก็บเงินโดยตรงจากผู้บริโภคได้



Rival in Consumption
Non-rival in Consumption
Excludable
1. Private Goods
สินค้าและบริการเอกชน
                 Club Goods สินค้าสโมสร
2. Quasi-public Goods
สินค้าและบริการกึ่งสาธารณะ
Non-excludable
3. Quasi-public Goods
สินค้าและบริการกึ่งสาธารณะ
4. Pure Public Goods
สินค้าและบริการสาธารณะที่แท้จริง

ช่องหมายเลข
1.      สินค้าและบริการเอกชนทั่วๆ ไปที่ซื้อขายในตลาด เช่น กล้วย ไอสครีม น้ำอัดลม ทางด่วน
2.      Cable-TV ทางด่วนที่มีปริมาณการจราจรไม่หนาแน่น
3.      ถนนทางหลวงแผ่นดินที่มีปริมาณการจราจรมาก สวนสาธารณะ (วัด) ในเมืองที่มีประชากรมาก (สวนจัตุจักร) ปลาที่กรมประมงปล่อยในแม่น้ำลำคลอง   
4.      การบริการป้องกันประเทศ การดำเนินนโยบายต่างประเทศของรัฐบาล คลื่นวิทยุ คลื่น TV ดาวเทียม ฝนหลวง ประภาคาร (Lighthouse) ไฟที่ให้แสงสว่างตามท้องถนน ทางหลวงแผ่นดินที่มีปริมาณรถน้อย การลดมลภาวะทางอากาศ การรักษาความสงบภายในประเทศ การดำเนินนโยบายต่างประเทศสวนสาธารณะ (วัด) ขนาดใหญ่ ในเมืองที่มีประชากรน้อย

Ø Private Goods ® กลไกตลาดสามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Ø Quasi-public Goods ® กลไกตลาดสามารถทำหน้าที่ได้บ้าง แต่ไม่สมบูรณ์เหมือนกรณีของ
                                    Private goods
Ø Pure Public Goods ® กลไกตลาดไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
® Market Failure
® รัฐต้องเข้ามาดำเนินการเพื่อให้กลไกตลาดสามารถทำหน้าที่ได้ดีขึ้น
® Market cannot provide pure public goods
® ผู้บริโภคทุกๆ คน จะไม่มีแรงจูงใจที่จะเปิดเผยดีมานด์ (อุปสงค์) ที่แท้จริงของ  ตนเอง (Understate True Demand) กล่าวคือผู้บริโภคทุกๆ คนพยายามที่จะเป็น Free Rider (คนที่ตีตั๋วฟรี) แต่อย่างไรก็ตาม หากทุกๆ คนเป็น Free rider หมด ก็จะไม่มีสินค้าบริการสาธารณะให้ใช้ [If everyone tries to free ride, no one gets a ride (Ronald Fisher, 1996)]
              ® A Free rider is a person who consumes a good without paying for it
                  (Parkin, 2000)

Ø ถ้ากำหนดให้
          q1  =  จำนวนสินค้าและบริการ  Q  ที่ครอบครัวที่ 1 บริโภค
          q2  =  จำนวนสินค้าและบริการ  Q  ที่ครอบครัวที่ 2 บริโภค
          q3  =  จำนวนสินค้าและบริการ  Q  ที่ครอบครัวที่ 3 บริโภค
          Q  =  จำนวนสินค้าและบริการที่ผลิตขึ้นมาเพื่อการบริโภคทั้งหมด (Total Consumption)

ดังนั้น   Ø Private goods (สินค้าและบริการเอกชน)     q1 + q2 + q3 £  Q
                        Ø Public goods (สินค้าและบริการสาธารณะ)  q1 = q2 = q3 = Q
                  
Club Goods (สินค้าสโมสร)
1.      การสมัครสมาชิกโดยเต็มใจ
2.      ผลประโยชน์ที่ได้รับของการเป็นสมาชิก > การไม่ได้เป็นสมาชิก
3.      มีการใช้สินค้าและบริการร่วมกันบ้าง
Ø กล่าวคือ จะมี Degree of rival in consumption (Congestion cost) เมื่อมีการรับสมาชิกถึงระดับหนึ่ง
4.      สามารถกีดกันผู้บริโภคได้ (Excludable)


ต้นทุนเฉลี่ย/สมาชิก
ต้นทุน/สมาชิกที่ลดลงเมื่อสมาชิก
เพิ่มขึ้น 1 คน (MB)
 1,000,000/1  =  1,000,000
1,000,000/2  =  500,000
1,000,000/3  =  333,333
1,000,000/4  =  250,000
1,000,000/5  =  200,000
-
500,000
               166,667        ลดลง
 83,333
 50,000

            Ø ต้นทุนความแออัด (Congestion Cost) จะเพิ่มขึ้นเมื่อมีการรับสมาชิกเพิ่มขึ้น 1 คน ซึ่งเป็นต้นทุนส่วนเพิ่มของสโมสร (Marginal Cost, MC) และ MC นั่นจะมีลักษณะเพิ่มขึ้น (Increasing MC)
Ø เมื่อสโมรรับสมาชิกเพิ่มขึ้น 1 คน ต้นทุนเฉลี่ย/สมาชิก จะลดลง ซึ่งจะเป็นผลประโยชน์ส่วนเพิ่มของสโมสร (Marginal Benefit, MB) แต่ผลประโยชน์ส่วนเพิ่มที่ได้รับนั้นจะมีลักษณะลดน้อยถอยลง (Decreasing MB) ดังตัวเลขที่แสดงในตาราง



Ø ที่ M* นั้น MB = MC จะเป็นระดับที่จำนวนสมาชิกที่สโมสรจะทำการรับและสโมสรจะได้รับประโยชน์รวมสูงสุด
          Ø เช่น สโมสรสนามกอลฟ์ (Golf Club) สโมสรการออกกำลังเพื่อสุขภาพ (Fitness Club) จะมีการจำกัดระดับจำนวนสมาชิกที่สโมสรจะทำการรับเอาไว้

Efficient Provision of Public goods (Partial Equilibrium Analysis)
การจัดสรรสินค้าและบริการสาธารณะโดยภาครัฐบาล (การวิเคราะห์ดุลยภาพแบบบางส่วน)

Ø วิธีการหาเส้นดีมานด์รวมของตลาด (How to drive market demand or total demand)
                   Ø Private goods      Þ     QD = f(P)
Þ              ผู้บริโภคจะปรับปริมาณความต้องการที่จะซื้อตามราคาที่กำหนดมาให้
Þ     Horizontal Summation (การบวกทางแกนนอน)
          QA  =                       QB  =  8 - P              Qt  =  QA + QB =  
          - Public goods          Þ   P = f(Q) 
Þ   ผู้บริโภคจะปรับ ความยินดีที่จะจ่าย ตาม Q ที่กำหนดให้
Þ   สินค้าและบริการสาธารณะผลิตขึ้มาแล้วทุกคนได้รับการ
       บริโภคเท่ากันหมด (Joint consumption)  
                                      Þ   Vertical Summation (การบวกทางแกนตั้ง)

MB is the maximum price that a consumer s willing to pay for an extra unit of good or service when utility is maximized (Parkin, 2000)
MB = ราคาสูงสุดที่ผู้บริโภคยินดีที่จะจ่ายสำหรับสินค้าและบริการหน่วยสุดท้าย โดยที่ผู้บริโภคมีความพอใจสูงสุด
Efficient Provision of Public goods
(การจัดสรรสินค้าและบริการสาธารณะอย่างมีประสิทธิภาพโดยภาครัฐบาล)
ทบทวน Þ Public goods, q1  =  q2  =  q3  = … qn  = Q
                    Þ สินค้าและบริการที่ผลิตขึ้นมาแล้วทุกคนได้รับการบริโภคที่เท่ากัน
                        (Joint Consumption)       

ขนาดที่เหมาะสมของสินค้าและบริการสาธารณะตามหลักของ Samuleson Public Goods Equilibrium

แนวคิด Þ Marginal Benefit (MB) = Marginal Cost (MC)

ที่มา: Parkin (2000)


การกำหนดการกระจายภาระต้นทุนตามหลักของ Lindahl Equilibrium (Lindahl Pricing)
(Ronald Fisher, 1996)

Þ เส้นเส้นอุปสงค์รวมของทุกๆ คน, Dt = MBA + MBA + MBC =  SMBi
Þ รัฐจะทำผลิตรถดับเพลิงที่ Q* จึงจะมีประสิทธิภาพสูงสุด
Þ Samuleson Public goods equilibrium (SMBi  =  MC)
                        (Ronald Fisher, 1996)
Þ ตามหลัก Lindahl Pricing (Lindahl Equilibrium หรือ Lindahl Taxation)
Þ เก็บภาษีต่อหน่วยแต่ละคน  =  MBi หรือ Demand ของแต่ละคนที่ Q*
\      TaxA  =  PA  =  MBA  =  8
                              TaxB  =  PB  =  MBB  =  12
TaxC  =  PC  =  MBC  =  20

Þ สังเกตุ  TaxA  +  TaxB  +  TaxC  =  Taxรวม  =  40  = MC
\      สัดส่วนภาษีของแต่ละคนที่จะต้องเสียให้รัฐ  (% Share of Tax)
                             ของนาย  A  =  TaxA/Taxรวม  =  8/40   =  .20  =  20%
                             ของนาย  B  =  TaxB/Taxรวม  =  12/40  =  .30  =  30%
                             ของนาย  C  =  TaxC/Taxรวม  =  20/40  =  .50  =  50%

\      ถ้ารัฐเพิ่มค่าใช้จ่ายผลิต Public goods 1 บาท
                             นาย A จ่าย  .20 บาท
                             นาย B จ่าย  .30 บาท
                             นาย C จ่าย  .50 บาท
Ø ข้อสังเกตุจาก  Lindahl Pricing (Ronald Fisher, 1996)

          การ Charge Tax = MBi หรือ ดีมานด์ของแต่ละคนอาจไม่ใช่เรื่องง่ายในทางปฏิบัติเพราะว่า
1.      ผู้บริโภคสินค้าและบริการสาธารณะไม่มีแรงจูงใจที่จะเผยความต้องการที่แท้จริง (Understate true demand)
2.      เป็นงานที่หนักและค่าใช้จ่ายมาก ถ้ารัฐต้องการทราบหรือหาดีมานด์ที่แท้จริงของแต่ละคน
3.      นักเศรษฐศาสตร์บางคนเห็นว่าเมื่อสินค้าและบริการสาธารณะที่แท้จริง (Pure-public Goods) นั้น
Þ Congestion cost = 0 หรือ
     MC of additional user = 0
\               อาจไม่เหมาะสมที่จะ Charge Tax = MBi  ของแต่ละคน
Þ แต่นักเศรษฐศาสตร์บางคนก็โต้แย้งว่า Pure-public goods นั้นผลิต
     ขึ้นมาและมีต้นทุนการผลิต
Þ รัฐต้องหารายได้โดยต้องเก็บภาษีชนิดอื่น เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม
(Value added tax) หรือภาษีสรรพสามิต (Excise tax) ในท้องที่นั้นแทน 
\  เป็นการเหมาะสมที่จะ Charge Tax = MBi (ของแต่ละคน)
4.      อาจไม่สามารถกีดกัน (Exclude) ผู้บริโภคบางคนที่ยังไม่ยอมจ่ายเงินภาษี

แต่ประโยชน์ของ Lindahl Taxation
          เปลี่ยนภาษีที่จะเก็บออกมาในรูปของสัดส่วนภาษีที่จะต้องเสีย (% Share of Tax)


Þ เก็บค่าบริการหรือภาษี/หน่วย ตามกลุ่มฐานะ กลุ่มรายได้ หรือกลุ่มที่ได้รับผลประโยชน์
เช่น
         ภาษี/หน่วย               20% (.20 บาท)                   30% (.30 บาท)                   50% (.50 บาท)
By Income Class        คนจน                     คนปานกลาง                  คนรวย
                        ประเทศที่ยากจน       ประเทศที่กำลังพัฒนา     ประเทศที่พัฒนาแล้ว
ผลประโยชน์ที่ได้รับ      น้อย                       ปานกลาง                     มาก

ประชาชนมีความจำเป็นข้องเข้าใจในสินค้าสาธารณะหรือไม่เพราะเหตุใด
ประชาชนทุกคนจะต้องทราบก็เพราะว่า สินค้าสินค้าสาธารณะ คือทุกคนไม่ว่าใครล้วนได้รับประโยชน์ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะมีส่วนรับผิดชอบต่อค่าใช้จ่ายที่เป็นต้นทุนของสินค้าและบริการภาครัฐนั้นหรือไม่ก็ตาม และมักจะมีกลุ่มคนที่เรียกว่า Free Rider ที่ใช้บริการสาธารณะแต่ไม่ยอมเสียอะไร เช่น เลี่ยงภาษี, การใช้รถใช้ถนนแต่ไม่ทำตามกฎจราจร พวกชอบปาดแทรกแถวรถติด, พวกฝ่าไฟแดง

Free Rider เป็นพวกที่ก่อปัญหา Collective Action Problem ซึ่งถ้ามีคนแค่ 2-3 คนไม่ทำตามกฎอันเนื่องจากระบบอุปถัมภ์ คนที่เหลือก็จะรู้สึกถูกเอาเปรียบ

สรุป Collective Action Problem ก็คือปัญหาความเป็นสาธารณะเนื่องจากปัญหาการจัดการภาครัฐ ต่างจากสินค้าบริการภาคเอกชนที่ไม่อยู่ในกลไกตลาด ใครไม่พูดประโยคนี้ตก เริ่มจากความแตกต่างของสินค้า è เกิด Free Rider ซึ่งจะไม่เกิดในภาคเอกชน
·       สินค้าภาครัฐ:   มีความเป็นสาธารณะ ทุกคนเข้าถึง มีไว้สำหรับทุกคน
·       สินค้าเอกชน:   เฉพาะคนที่มีกำลังซื้อเท่านั้น
ทหาร ตำรวจ การให้บริการด้านความมั่นคง รักษาความสงบเรียบร้อย ก็ถือเป็นสินค้าบริการของรัฐ

ข้อ 2 การบริหารงานการคลังสาธารณะ  ใช้หลักใดการบริหารงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
การคลังสาธารณะเป็นกระบวนการภาคเศรษฐกิจของรัฐในการกำหนดระดับค่าใช้จ่ายรวมของระบบเศรษฐกิจผ่านการใช้จ่ายในการซื้อสินค้าและบริการต่าง ๆ ซึ่งภาครัฐบาลมีอิทธิพลต่อการกำหนดค่าใช้จ่ายของภาคเศรษฐกิจอื่น ๆ เช่น ภาคครัวเรือน ภาคธุรกิจ และภาคต่างประเทศ เป็นต้น โดยการคลังสาธารณะมีบทบาททั้งทางด้านการจัดสรรทรัพยากรของรัฐ บทบาทด้านการกระจาย เช่น การกระจายความเจริญไปสู่ชนบท บทบาทด้านการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ เป็นต้น
โดยสรุปแล้ว ความสำคัญของการคลังสาธารณะ เป็นการควบคุมให้เกิดความสมดุลทางด้านการเงินในระบบเศรษฐกิจมิให้มีมากหรือต่ำเกินไป ให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมกับสถานการณ์
หลักของการบริหารงานคลัง
หลักของการบริหารงานคลัง คือแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับเรื่องธรรมาภิบาล วินัยทางการคลัง ความโปร่งใส ความรับผิดชอบต่อสาธารณะ และประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากร แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ ธรรมาภิบาล วินัยทางการคลัง และบรรทัดฐานทางการคลังว่าด้วยหน้าที่และรายจ่ายของรัฐ มีรายละเอียดดังนี้
1) ธรรมาภิบาลหรือธรรมรัฐ เป็นบรรทัดฐานระดับสูงสุด กล่าวคือเป็นแนวคิดที่ต้องการให้รัฐเป็นรัฐที่ดี หากกล่าวถึงบุคคลหมายถึงบุคคลที่มีคุณธรรม รัฐที่ดีนั้นต้องตอบสนองความต้องการของสังคมและประชาชน กล่าวคือทำในสิ่งที่ประชาชนต้องการและยินดีที่จะสนับสนุนงบประมาณของรัฐเพื่อทำกิจกรรมนั้น ๆ ให้กับประชาชน โดยมีลักษณะเป็น Participatory Democracy มากกว่า Authoritarian โดยอยู่ในอัตราที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม ข้อเท็จจริง และเรื่องหรือกิจกรรมที่ทำ โดยที่สำคัญประชาชนต้องมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการดำเนินการ โดยรัฐจะต้องส่งเสริมให้ส่วนต่าง ๆ ของสังคม โดยหลักการนี้จะต้องได้รับความยินยอมจากประชาชนผู้เสียภาษี เพื่อให้การดำเนินกิจกรรมของรัฐเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
2) วินัยทางการคลัง คือการที่รัฐสามารถรักษาดุลยภาพระหว่างรายได้กับรายจ่ายหรือ ดุลการคลังเอาไว้ได้ ซึ่งจะทำให้รัฐมีเสถียรภาพทางการคลัง มีความน่าเชื่อถือทั้งทางกลไกและกระบวนการทางการคลัง โดยจะต้องประกอบไปด้วยในด้านรายได้ รายจ่าย และการเงินการบัญชี โดยการดำเนินการดังกล่าวจะต้องเป็นไปด้วยความรับผิดชอบ โปร่งใส และตรวจสอบได้ ซึ่งเป็นหลักการที่สำคัญและเป็นที่ยอมรับทั่วไป
3) บรรทัดฐานทางการคลังว่าด้วยหน้าที่และรายจ่ายของรัฐ เป็นบรรทัดฐานในระดับปฏิบัติการ ซึ่งหน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่รับผิดชอบเฉพาะด้านหรือที่ได้รับมอบหมายจะนำไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายและระเบียบปฏิบัติต่าง ๆ เช่น เรื่องรายได้ รายจ่าย งบประมาณ การเงิน การบัญชี การรายงาน การตรวจสอบ นโยบายการคลัง และรวมถึงความสัมพันธ์ทางการคลังระหว่างรัฐบาลกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วย
ข้อ 3 ให้วิเคราะห์โครงการที่  ตัวอย่าง....กรณีศึกษา
โครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
1.ความเป็นมา
โครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ  เป็นโครงการหนึ่งภายใต้นโยบายเศรษฐกิจรากหญ้าของรัฐบาลโดยรัฐบาล จัดสรรเงินอุดหนุนให้แก่หมู่บ้าน และชุมชนเมือง แห่งละ 1 ล้านบาท ในลักษณะเงินทุนหมุนเวียน เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนในหมู่บ้าน ละชุมชนเมือง สำหรับใช้ในการ ลงทุนสร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย บรรเทาเหตุฉุกเฉิน และความจำเป็นเร่งด่วน
            2.ข้อเท็จจริงของโครงการ
โครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชน จึงมีสภาพเป็นเพียงแหล่งเงินกู้แหล่งใหม่ที่นำมาให้ระดับรากหญ้ากู้เพิ่มมากขึ้น การทุ่มเงินลงไปยังหมู่บ้านให้ชาวบ้านกู้ง่ายใช้คล่อง ยังกระตุ้นพฤติกรรมบริโภคนิยมให้กับชาวบ้านมากยิ่งขึ้นไปอีก หลายๆ คนก็ได้พกพาโทรศัพท์มือถือ ขี่รถมอเตอร์ไซด์
3.การพัฒนาบรรทัดฐาน
      3.1 ระดับสูง
รัฐบาลต้องการให้คนจนเข้าถึงแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำแทนแหล่งเงินกู้นอกระบบดอกเบี้ยแพง เพื่อสร้างอาชีพ สร้างรายได้ที่มั่นคงนำไปสู่ชีวิตที่ดีขึ้น
3.2 ระดับกลาง
         การบริหารจัดการกองทุนยังคงไม่มีความยืดหยุ่น เนื่องจากกองทุนแต่ละกองได้รับการจัดสรรเท่ากันหมด โดยไม่พิจารณาตามความต้องการเงินทุนของแต่ละหมู่บ้าน และไม่มีระบบการป้องกันไม่ให้เกิดหนี้เสีย
3.2 การพิจารณาระดับล่าง
คณะกรรมการกองทุนส่วนใหญ่มีขีดความสามารถในการบริหารจัดการในระดับปานกลาง การขาดความรู้ ทักษะ ในด้านกฎหมาย  การอนุมัติเงินกู้ การจัดทำบัญชี  และติดตามการนำเงินไปใช้ตามวัตถุประสงค์ เช่น
1.สมาชิกนำเงินไปใช้ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ที่แท้จริง
2.ข้อจำกัดในเรื่องวงเงินกู้ที่ต่ำ และระยะเวลาชำระหนี้คืนสั้นภายในกำหนด 1 ปี
          3.สมาชิกสามารถไปกู้เงินจากแหล่งเงินกู้อื่น เพื่อมาชำระหนี้คืนกองทุน เนื่องจากช่วงเวลาการชำระหนี้คืนไม่ตรงกับช่วงเก็บผลผลิต
                    4. การสังเคราะห์ผลการพัฒนาโครงการ
               รัฐบาลมุ่งเน้นที่จะแก้ปัญหาความยากจนให้หมดไป และต้องการให้ประชาชนมีเงินกู้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ ตามนโยบายการขจัดความยากจนออกไปจากประเทศ และเพื่อแก้ปัญหาการกู้ยืมเงินนอกระบบที่มีดอกเบี้ยแพง ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการประเภทนี้หมดไปจากระบบเงินนอกระบบ ในความเป็นจริงประชาชนนำเงินที่ได้มาจากการกู้นอกระบบมาใช้หนี้กองทุนหมู่บ้าน และก็กู้เงินจากกองทุนหมู่บ้านไปใช้หนี้นอกระบบ ทำให้โครงการไม่ประสบผลสำเร็จ
สรุปผล
            โครงการกองทุนหมู่บ้าน นอกเหนือจากไม่ทำให้ชาวบ้านลืมตาอ้าปากได้แล้ว ยังทำให้ชาวบ้านตกอยู่ในวงจรหนี้สินอุบาทว์ ชาวบ้านที่กู้เงินนอกระบบอยู่แล้ว ก็ยังคงกู้อยู่ เนื่องจากต้องนำเงินมาใช้หนี้กองทุนหมู่บ้าน จากนั้น ก็กู้เงินจากกองทุนหมู่บ้านไปใช้หนี้นอกระบบ หมุนเวียนกันไปไม่สิ้นสุด นอกเหนือไปจากการกู้จากแหล่งเงินกู้อื่นๆ ที่มีอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น สถาบันการเงินในระบบ กลุ่มสัจจะออมทรัพย์ในชุมชน สหกรณ์ ส่วนความเป็นอยู่ของชาวบ้านก่อนนี้เป็นอยู่อย่างไร ตอนนี้ก็ยังเป็นอยู่อย่างนั้น
ข้อเสนอแนะ
        1) ควรออกระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน และชุมชนเมืองแห่งชาติ และควรปรับระเบียบข้อบังคับกองทุนกำหนด ให้ขยายระยะเวลาชำระคืนเงินกู้ไม่เกิน 3 ปี หรือตามกิจกรรมการผลิต
        2) ควรพัฒนาศักยภาพของกองทุนในการบริหารจัดการของกองทุน โดยจัดทำโครงการฝึกอบรมบัญชีอย่างง่าย และให้สมาชิกจัดทำบัญชีรายรับรายจ่าย เพื่อประเมินผลการดำเนินงานของสมาชิก
        3) ควรส่งเสริมการอนุมัติเงินกู้ที่เชื่อมโยงกับโครงการอื่น ๆ ของรัฐบาลให้มากขึ้น
        4) เนื่องจากสมาชิกกองทุนส่วนใหญ่ สามารถกู้เงินจากแหล่งอื่นได้หลายแหล่ง จึงควรมีการเชื่อมโยงเครือข่าย ระบบบัญชีของกองทุนกับแหล่งเงินทุนอื่น ๆ เพื่อให้ตรวจสอบความเข้มแข็งทางด้านสถานภาพการเงินของสมาชิกได้อย่างถูกต้อง และรวดเร็ว

3 ความคิดเห็น:

  1. คุณจำเป็นต้องกู้เงินเร่งด่วน? คุณไม่จำเป็นต้องชนิดของการกู้ยืมเงินที่จะเริ่มขึ้นธุรกิจหรือไม่ คุณไม่จำเป็นต้องกู้เงินเพื่อซื้อบ้านหรือรถหรือไม่ หรือคุณไม่จำเป็นต้องกู้เงินเพื่อชำระค่าของคุณหรือที่จะดูแลตัวเองของคุณ? ถ้าใช่ส่งอีเมลถึงเราในวันนี้ที่ (georgeanderson.loanfirm255@gmail.com) แล​​ะได้รับเงินกู้ของคุณ ..

    ข้อเสนอเงินกู้

    ตอบลบ
  2. พระเจ้าในวัน !!!

    คุณเป็นนักธุรกิจ / หญิง? คุณอยู่ในระเบียบทางการเงินใด ๆ หรือคุณต้องการ
    เงินทุนในการเริ่มต้นธุรกิจของตัวเอง? หรือเพื่อชำระค่าของคุณหรือเริ่มต้นที่ดี
    ธุรกิจ? ติดต่อเราได้ที่: anitabrisonloanscompany@gmail.com
    ต้องกรอกข้อมูล:
    ชื่อ--
    จํานวน -
    ระยะเวลา -
    หมายเลขโทรศัพท์-
    ประเทศ-
    ความนับถือ,

    จาก: Anit Brison เงินกู้ยืม บริษัท
    +19513548012
    anitabrisonloanscompany@gmail.com
    รอการเร่งด่วนของคุณ นอนหลับ เร็ว ๆ นี้ต่อไป
    ขอบคุณ
    Mrs. Anita Brison

    ตอบลบ
  3. พระเจ้าในวัน !!!

    คุณเป็นนักธุรกิจ / หญิง? คุณอยู่ในระเบียบทางการเงินใด ๆ หรือคุณต้องการ
    เงินทุนในการเริ่มต้นธุรกิจของตัวเอง? หรือเพื่อชำระค่าของคุณหรือเริ่มต้นที่ดี
    ธุรกิจ? ติดต่อเราได้ที่: anitabrisonloanscompany@gmail.com
    ต้องกรอกข้อมูล:
    ชื่อ--
    จํานวน -
    ระยะเวลา -
    หมายเลขโทรศัพท์-
    ประเทศ-
    ความนับถือ,

    จาก: Anit Brison เงินกู้ยืม บริษัท
    +19513548012
    anitabrisonloanscompany@gmail.com
    รอการเร่งด่วนของคุณ นอนหลับ เร็ว ๆ นี้ต่อไป
    ขอบคุณ
    Mrs. Anita Brison

    ตอบลบ