ข้อแตกต่าง | การวิจัยเชิงปริมาณ | การวิจัยเชิงคุณภาพ |
แ น ว คิ ด พื้ น ฐ า น / ปรัชญาพื้นฐาน | ปฏิฐานนิยม (Positivism) เป็นแนวคิดที่มี พื้นฐานแบบวิทยาศาสตร์นักปฏิฐานนิยม เชื่อ ว่าวิธีการแสวงหาความรู้ที่ดีที่สุดคือการใช้ วิธี แบบวิทยาศาสตร์ที่มีรากฐานอยู่บนข้อมูลเชิง ประจักษ์ กล่าวคือ สิ่งที่มนุษย์สามารถรับรู้ได้ ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 เป็นสิ่งที่เป็นจริงและ เป็นความรู้ที่ยอมรับได้ ดังนั้นเมื่อนำ แนวความคิดปฏิฐานนิยมมาใช้ในสาขา สังคมศาสตร์จะเน้นวิธีการแสวงหาความรู้จาก ข้อมูลเชิงประจักษ์เน้นข้อมูลที่แจงนับและวัด ได้ ดังนั้นการวิจัยที่มีพื้นฐานความเชื่อแบบปฏิ ฐานนิยม จะเน้นวิธีการเชิงปริมาณ | ปรา กฏก ารณ์นิยม(Phenomenology) เชื่อว่า ความรู้ที่มนุษย์ได้รับการถ่ายทอดจากผู้อื่นและสังคม อาจผิดพลาดได้ ความรู้อาจเกิดจากการถูกบังคับ หรือยัดเหยียด มนุษย์ควรศึกษาโลกและสังคมด้วย ตัวของตัวเอง และสร้างระบบความรู้ ที่เป็นส่วนตัว ขึ้นมาจากมนุษย์จะมีระบบความคิดวิจารณญาณ โลกทัศน์ ความหมาย วัฒนธรรม ค่านิยม อุดมการณ์ เฉพาะตน โดยการได้สัมผัสกับโลกโดยตรง นัก ปรากฏการณ์นิยมจะให้ความสำคัญกับข้อมูลที่เป็น ความรู้สึกนึกคิดและคุณค่าของมนุษย์ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งความหมายที่มนุษย์ให้ต่อสิ่งต่าง ๆ รอบตัว นักปรากฏการณ์นิยมจะใช้วิธีสลัดความคิดเดิม ใช้ ความหมาย ระบบความคิด ความรู้สึกของผู้ให้ข้อมูล อธิบายพฤติกรรมของเขา ดังนั้นการวิจัยที่มีพื้นฐาน ความเชื่อแบบปรากฏการณ์นิยมจะเน้นวิธีการเชิง คุณภาพ |
คำจำกัดความ | ก า ร วิ จั ย เ ชิ ง ป ริ ม า ณ ( Quantitative Research) เป็นวิธีค้นหาความรู้และความจริง โดยเน้นที่ข้อมูลเชิงตัวเลข การวิจัยเชิงปริมาณ จะพยายามออกแบบวิธีการวิจัยให้มีการ ควบคุมตัวแปรที่ศึกษาต้องจัดเตรียมเครื่องมือ รวบรวมข้อมูลให้มีคุณภาพ จัดกระทำ สถานการณ์ที่เกี่ยวข้องให้เป็นมาตรฐาน และ ใช้วิธีการทางสถิติช่วยวิเคราะห์และประมวล ข้อสรุปเพื่อให้เกิดความคลาดเคลื่อน (Error) น้อยที่สุด | การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) หรือ ที่บางท่านเรียกว่า การวิจัยเชิงคุณลักษณะ ดร. สุภางค์ จันทร์วานิช (๒๕๒๒ : ๑๙-๒๑) ให้ ความหมายว่า การวิจัยเชิงคุณลักษณะ เป็นวิธีค้นหา ความจริงจากเหตุการณ์ และสภาพแวดล้อมที่มีอยู่ ตามความเป็นจริง โดยพยายามวิเคราะห์ ความสัมพันธ์ของเหตุการณ์กับสภาพแวดล้อม เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ (Insight) จาก ภาพรวมของหลายมิติ ความหมายนี้จึงตรงกับ ค ว า ม ห ม า ย ข อ ง ก า ร วิ จั ย เ ชิ ง ธ ร ร ม ช า ติ (Naturalistic Research) ซึ่งปล่อยให้สภาพทุกอย่าง อยู่ในธรรมชาติ ไม่มีการจัดกระทำ (Manipulate) สิ่ง ที่เกี่ยวข้องใดๆเลย |
วัตถุประสงค์ | - มุ่งวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างตัว แปรอิสระกับตัวแปรตาม - Grand Theory | - ต้องการเข้าใจความหมาย กระบวนการ ความรู้สึกนึกคิดโดยเชื่อมโยงกับบริบทของ สังคม - truths, Grounded Theory |
การกำหนดสมมุติฐาน | กำหนดขึ้นก่อนเก็บข้อมูล และนำข้อมูลที่ รวบรวมได้มาพิสูจน์สมมติฐานที่ตั้งไว้ เป็นนามธรรม อ้างทฤษฎี | ไม่ได้กำหนดไว้ก่อน แต่เป็นการมุ่งแสวงหา สมมติฐานเป็นกรอบในการวิจัย โดยเป็นการ เก็บรวบรวมข้อมูลมาเพื่อทำการสรุป กำหนดคร่าวๆพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงตาม สถานการณ์ เป็นรูปธรรม |
การคัดเลือกตัวอย่าง | สุ่มโดยอาศัยการสุ่มชนิดที่ทราบโอกาส ห รื อ ค ว า ม น่ า จ ะ เ ป็ น ที่ ถู ก เ ลื อ ก (Probability) เช่น Simple random sampling, Stratified random sampling | สุ่มโดยอาศัยการสุ่มชนิดที่ไม่ทราบโอกาสหรือ ความน่าจะเป็นที่จะถูกเลือกเป็นตัวอย่าง(Nonprobability sampling) แต่เป็นการเลือกกลุ่ม ตัวอย่างขึ้นมาศึกษา |
จำนวนตัวอย่าง | จำนวนมาก | จำนวนน้อย |
ขอบเขตการวิจัย | ศึกษาในวงกว้าง โดยเลือกเฉพาะกลุ่ม ตัวอย่างที่สุ่มมา | ศึกษาแนวลึกเฉพาะกลุ่มที่สนใจ |
ระเบียบวิธีการศึกษา | ใช้วิธีนิรนัย (Deductive) คือ การวิจัยที่ มีเป้าหมายที่ต้องการจะทดสอบทฤษฎี ทำวิจัยทดสอบทฤษฎีที่มีอยู่แล้วว่าใช้ได้ ต่อไปหรือไม่ โดยใช้การวิจัยเป็นเครื่องมือ เริ่มต้นจากทฤษฏีและสมมุติฐาน จัดการและควบคุมวารอย่างเข้มงวด ใช้เครื่องมือที่เป็นทางการ แสวงหาจุดร่วมหรือบรรทัดฐาน ลดรูปข้อมูลไปสู่ตัวเลขและเน้นการใช้ สถิติ ใช้ภาษานามธรรมในการเขียนอธิบาย | ใช้วิธีอุปนัย (Inductive) VS วิธีนิรนัย (Deductive) คือ การวิจัยเพื่อจะพัฒนาทฤษฎี ใหม่ สร้างองค์กรความรู้ใหม่ สร้างสิ่งใหม่ๆ ขึ้นมาเพื่อที่จะแก้ไขทฤษฎีที่มีอยู่เดิมๆ พร้อมกับ ทดสอบทฤษฎีที่มีอยู่แล้วไปพร้อมๆ กัน จบการศึกษาลงโดยการตั้งสมมุติฐานและการ สร้างทฤษฏีระดับเบื้องต้น ไม่เน้นการควบคุมและมีลักษณะเชิงอธิบาย ความ แสวงหาแบบแผนของความเป็นจริง แสวงหาพหุลักษณะและความซับซ้อน ใช้สถิติเพียงส่วนน้อย ใช้การเขียนเชิงพรรณนาความ |
บทบาทของผู้วิจัย | แยกผู้วิจัยออกจากเรื่องที่ศึกษา โดยมีความ เชื่อว่าในการทำวิจัยนั้นผู้วิจัยจะต้องเป็นอิสระ จากสิ่งที่กำลังวิจัย พยายามทำตนเป็นกลาง ปราศ อคติ และค่านิยม มีความเป็นปรนัยสูง ไม่ให้ความสำคัญในเชิงคุณค่าของสิ่งที่ทำวิจัย แต่พยายามทำวิจัยให้ดีที่สุด เปรียบเสมือน “คนนอก” คือ ผู้วิจัยไม่จำเป็นต้องไปศึกษา ข้อมูลเอง ให้ใครเข้าไปศึกษาแทนก็ได้ | ผู้วิจัยเป็นเครื่องมือในการทำวิจัย โดยมีความเชื่อว่า นักวิจัยที่ดีควรมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งที่ตนทำวิจัย เพื่อ เข้าใจในสิ่งที่ศึกษาได้อย่างชัดเจนมากขึ้น โดยยึด คุณค่าของสิ่งที่วิจัยเป็นหลักในการดำเนินการวิจัย เปรียบเสมือน “คนใน” คือ ผู้วิจัยลงไปคลุกคลีกับ แหล่งข้อมูลจนเกิดความรู้สึกเห็นอกเห็นใจ ลำเอียง จนไม่สามารถแบ่งแยกข้อมูลได้ว่าอะไรถูกอะไรผิด |
ขั้นตอนการวิจัย | 1. เลือกเรื่องการวิจัย 2. กำหนดประเด็นปัญหาย่อย 3. ตั้งสมมุติฐาน 4. ออกแบบการวิจัย 5. รวบรวมข้อมูล 6. วิเคราะห์ข้อมูลและแปรความหมาย 7. เสนอรายงานผลการวิจัย | 1. กำหนดเรื่องการวิจัย 2. เตรียมการรวบรวมข้อมูล 3. รวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ 4. บันทึกข้อมูลเชิงคุณภาพ 5. วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ 6. สรุปผลและเขียนรายงาน |
วิธีการเก็บข้อมูล | 1. แบบสอบถามปลายปิด 2. แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง 3. (แบบปรนัย) | 1. การสังเกต 2. การสัมภาษณ์เจาะลึก 3. การจัดสนทนากลุ่ม 4. การบันทึกประวัติชีวบุคคล 5. การวิจัยเอกสาร 6. การเตรียมตัวทำงานภาคสนาม 7. (แบบอัตนัย) |
การวิเคราะห์ข้อมูล/ การตรวจสอบข้อมูล | - วิเคราะห์เชิงปริมาณโดยใช้สถิติช่วย (Statistical analysis) ใช้สถิติบรรยาย และสถิติอนุมาน - การวิเคราะห์มีความเป็นปรนัยเข้าใจได้ ง่าย | - วิเคราะห์เชิงตรรกะเป็นหลักอาจมีการวิเคราะห์ เชิงปริมาณช่วยเล็กน้อย (Content analysis) - ใช้สถิติบรรยายประกอบการวิเคราะห์โดยใช้ ความเป็นเหตุเป็นผล - ใช้เวลามากในการผสมผสานข้อค้นพบและ ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล - การวิเคราะห์ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับผู้วิจัย ทำให้ไม่ เป็นปรนัย - ระบุวิธีการศึกษาอย่างละเอียด - พรรณาข้อมูลอย่างละเอียดก่อนสร้างข้อสรุปใน เรื่องนั้นๆ - ตรวจสอบข้อมูล 3 เส้า (ดูในหนังสือ) |
การรายงานผล | รายงานผลโดยอ้างอิงสถิติ (Report statistical analysis) | รายงานผลโดยอ้างอิงคำพูดหรือเรื่องราวจริงจาก กลุ่มตัวอย่าง (Report rich narrative) |
การเขียนรายงานการ วิจัย | นักวิจัยเชิงปริมาณมีลีลาและรูปแบบการเขียน รายงานการวิจัยของตนเองที่มีลักษณะของ การใช้ภาษาเป็นพิธีการ | นักวิจัยเชิงคุณภาพมีลีลาและรูปแบบการเขียน รายงานการวิจัยของตนเองที่มีลักษณะของภาษา อย่างเป็นกันเอง |
การสรุปผล | นำไปใช้อ้างอิงแทนประชาการทั้งหมดได้ | ใช้อ้างอิงได้เฉพาะกลุ่ม |
ทักษะของนักวิจัย | มีความสามารถทางสถิติ | มีความละเอียดอ่อน |
วันเสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
PA 702 ระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์ ผศ.ประภาส ปิ่นตบแต่ง (ต่อ)
ความแตกต่างของงานวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น