คำถามประกอบคำบรรยาย 14 ข้อ
1. การคลังสาธารณะคืออะไร สำคัญอย่างไร
การคลังสาธารณะ เป็นศาสตร์การคลังมุ่งเน้นศึกษาเนื้อหาสาระเกี่ยวกับหน้าที่ทางเศรษฐกิจของรัฐและมาตรการทางการคลังต่างๆ ทั้งด้านรายรับและรายจ่ายให้บรรลุผลตามเป้าหมายทางเศรษฐกิจ ส่วนความหมายทางศิลป์คือ การกำหนดนโยบายและการดำเนินการทางด้านการคลังและการเงิน การจัดหารายได้ เงินคงคลัง และการก่อหนี้ รวมถึง การใช้จ่ายของรัฐบาลซึ่งมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศเพื่อบรรลุเป้าหมายที่รัฐต้องการ
การคลังสาธารณะ เป็นบทบาทและหน้าที่ของรัฐในการจัดการกำหนดหน้าที่ว่ารัฐควรทำอะไรบ้างและมีค่าใช้จ่ายในการทำกิจกรรมนั้น ๆ เท่าใด จะหารายได้เพื่อนำมาใช้ในการจัดกิจกรรมนั้นจากไหน เป็นจำนวนเท่าใด และอย่างไร นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการออมด้วย และเนื่องจากรัฐมีองค์กรในการปกครองหลายระดับ ยังหมายความรวมไปถึงความสัมพันธ์ทางการคลังระหว่างองค์กรปกครองในแต่ละระดับด้วย ทั้งนี้การคลังสาธารณะที่ดีจะต้องดำเนินการไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
โดยมีความสำคัญ กล่าวคือ การคลังสาธารณะเป็นกระบวนการภาคเศรษฐกิจของรัฐในการกำหนดระดับค่าใช้จ่ายรวมของระบบเศรษฐกิจผ่านการใช้จ่ายในการซื้อสินค้าและบริการต่าง ๆ ซึ่งภาครัฐบาลมีอิทธิพลต่อการกำหนดค่าใช้จ่ายของภาคเศรษฐกิจอื่น ๆ เช่น ภาคครัวเรือน ภาคธุรกิจ และภาคต่างประเทศ เป็นต้น โดยการคลังสาธารณะมีบทบาททั้งทางด้านการจัดสรรทรัพยากรของรัฐ บทบาทด้านการกระจาย เช่น การกระจายความเจริญไปสู่ชนบท บทบาทด้านการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ เป็นต้น
โดยสรุปแล้ว ความสำคัญของการคลังสาธารณะ เป็นการควบคุมให้เกิดความสมดุลทางด้านการเงินในระบบเศรษฐกิจมิให้มีมากหรือต่ำเกินไป ให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมกับสถานการณ์
2. หลักของการบริหารงานคลังเป็นอย่างไร สำคัญอย่างไร
หลักของการบริหารงานคลัง คือแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับเรื่องธรรมาภิบาล วินัยทางการคลัง ความโปร่งใส ความรับผิดชอบต่อสาธารณะ และประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากร แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ ธรรมาภิบาล วินัยทางการคลัง และบรรทัดฐานทางการคลังว่าด้วยหน้าที่และรายจ่ายของรัฐ มีรายละเอียดดังนี้1) ธรรมาภิบาลหรือธรรมรัฐ เป็นบรรทัดฐานระดับสูงสุด กล่าวคือเป็นแนวคิดที่ต้องการให้รัฐเป็นรัฐที่ดี หากกล่าวถึงบุคคลหมายถึงบุคคลที่มีคุณธรรม รัฐที่ดีนั้นต้องตอบสนองความต้องการของสังคมและประชาชน กล่าวคือทำในสิ่งที่ประชาชนต้องการและยินดีที่จะสนับสนุนงบประมาณของรัฐเพื่อทำกิจกรรมนั้น ๆ ให้กับประชาชน โดยมีลักษณะเป็น Participatory Democracy มากกว่า Authoritarian โดยอยู่ในอัตราที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม ข้อเท็จจริง และเรื่องหรือกิจกรรมที่ทำ โดยที่สำคัญประชาชนต้องมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการดำเนินการ โดยรัฐจะต้องส่งเสริมให้ส่วนต่าง ๆ ของสังคม โดยหลักการนี้จะต้องได้รับความยินยอมจากประชาชนผู้เสียภาษี เพื่อให้การดำเนินกิจกรรมของรัฐเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ2) วินัยทางการคลัง คือการที่รัฐสามารถรักษาดุลยภาพระหว่างรายได้กับรายจ่ายหรือ ดุลการคลังเอาไว้ได้ ซึ่งจะทำให้รัฐมีเสถียรภาพทางการคลัง มีความน่าเชื่อถือทั้งทางกลไกและกระบวนการทางการคลัง โดยจะต้องประกอบไปด้วยในด้านรายได้ รายจ่าย และการเงินการบัญชี โดยการดำเนินการดังกล่าวจะต้องเป็นไปด้วยความรับผิดชอบ โปร่งใส และตรวจสอบได้ ซึ่งเป็นหลักการที่สำคัญและเป็นที่ยอมรับทั่วไป
3) บรรทัดฐานทางการคลังว่าด้วยหน้าที่และรายจ่ายของรัฐ เป็นบรรทัดฐานในระดับปฏิบัติการ ซึ่งหน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่รับผิดชอบเฉพาะด้านหรือที่ได้รับมอบหมายจะนำไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายและระเบียบปฏิบัติต่าง ๆ เช่น เรื่องรายได้ รายจ่าย งบประมาณ การเงิน การบัญชี การรายงาน การตรวจสอบ นโยบายการคลัง และรวมถึงความสัมพันธ์ทางการคลังระหว่างรัฐบาลกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วย
3. วินัยทางการคลังหมายความว่าอย่างไร อธิบาย
ถ้าจะตอบสั้นๆ วินัยทางการคลัง น่าจะหมายถึง การรู้จักใช้จ่ายเงินให้เหมาะสมกับสถานการณ์ รู้จักบริหารจัดการเงินให้คุ้มค่า สร้างผลตอบแทนที่เป็นกอบเป็นกำ ไม่เป็นภาระกับประชาชนและประเทศในระยะยาว
แต่ตามความหมายอื่นๆ ที่นักวิชาการได้เสนอไว้ มีดังนี้
วินัยการคลัง เป็นระเบียบแบบแผนที่ใช้กำกับการจัดการทางการเงินของประเทศ หรืออีกนัยหนึ่ง คือ แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการและผลของการบริหารจัดการทางการคลัง (ศิวัสน์ เหลืองสมบูรณ์, 2552)
หรือ อีกความหมายถึง วินัยทางการคลัง (Fiscal Discipline) คือ การดูแลให้รายจ่ายสาธารณะและข้อผูกพันทางการเงินของรัฐบาลทั้งในปัจจุบันและในอนาคตอยู่ในระดับที่สมดุลกับขีดความสามารถในการจัดหารายได้ของรัฐบาล (จรัส สุวรรณมาลา, 2546)
แต่ปกติแล้วเราก็มักคิดว่า วินัยทางการคลัง คือการที่รัฐจะต้องรัดเข็มขัด ลดรายจ่ายไม่ให้งบประมาณขาดดุล ซึ่งก็คงจะไม่ผิดอะไรมากนักถ้าประเทศเราเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่เป็นความหมายที่ค่อนข้างจะแคบ เพราะที่จริงแล้ว ต้องเข้าใจถึงลักษณะของรายจ่ายประเภทต่าง ๆ ของภาครัฐ ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
1) เป็นรายจ่ายเพื่อประโยชน์ในปัจจุบัน เช่น การซื้อปากกาดินสอมาให้ข้าราชการใช้เซ็นเอกสาร การจ่ายเงินเดือนข้าราชการตอบแทนการที่ข้าราชการให้บริการประชาชนในแต่ละเดือน รายจ่ายกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นการจ่ายเพื่อให้กลไกของรัฐที่มีอยู่สามารถทำงานต่อไปได้
2) รายจ่ายกลุ่มที่สองเป็นรายจ่ายด้านการลงทุน เช่น การสร้างถนนหนทาง ท่าเรือ สนามบิน และโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ การลงทุนเหล่านี้ให้ผลตอบแทนกลับมา ในรูปของการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะยาว เมื่อเศรษฐกิจขยายตัว รายได้ของประชาชนและธุรกิจมีมากขึ้น รัฐก็สามารถจัดเก็บภาษีได้ขึ้นตามไปด้วย หากผลตอบแทนที่ได้จากโครงการลงทุนมีมากกว่าต้นทุนที่ลงไป ก็ถือว่ารายจ่ายด้านการลงทุนนั้นๆ คุ้มค่า
3) รายจ่ายประเภทที่สาม คือ การถ่ายโอนเงินโดยมิได้รับผลตอบแทนกลับคืนมา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรายจ่ายด้านสังคม เช่น การให้เงินช่วยเหลือผู้สูงอายุ การให้เงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย เป็นต้นหากมองในเชิงเศรษฐศาสตร์แล้ว
รายจ่ายประเภทสุดท้าย เป็นการโอนเงินจากผู้เสียภาษีไปให้กับคนอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งนโยบายในเชิงเงินโอนเหล่านี้เป็นความพยายามของรัฐที่จะลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจระหว่างคนกลุ่มต่าง ๆ หรือบรรเทาผลกระทบจากเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน
ด้วยเหตุนี้เอง การจะประเมินว่านโยบายที่เข้ากลุ่มรายจ่ายประเภทที่สามนี้ได้ผลมากน้อยแค่ไหนจึงเป็นเรื่องที่ซับซ้อน เพราะจะคิดแต่ตัวเงินเพียงอย่างเดียวไม่ได้ ผลตอบแทนในเชิงสังคมและจิตวิทยาซึ่งไม่สามารถตีค่าออกมาเป็นเงินได้ก็ต้องนำมารวมไว้ด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม การจะจำแนกรายจ่ายของรัฐบาลว่าอยู่ในกลุ่มไหนนั้นจะต้องทำทั้งก่อนและหลังการจ่ายเงิน เพราะโครงการต่างๆ ส่วนใหญ่ก็จะจัดขึ้นมาเพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์ด้านการลงทุนเป็นหลัก แต่พอเอาเข้าจริง คนใช้เงินกลับเอาไปใช้ซื้อข้าวของเครื่องใช้สำนักงานเพื่อประโยชน์ในปัจจุบันเสียหมด ยกตัวอย่างเช่น กองทุนหมูบ้าน ถ้าเอาไปใช้แก้ปัญหาการขาดเงินทุน ช่วยให้คนในหมู่บ้านมีเงินทุนหมุนเวียนลงทุน ยกระดับความเป็นอยู่ของตัวเองได้ในระยะยาว ก็ถือว่าโครงการนี้ประสบผลสำเร็จ หากเอาเงินไปใช้สุรุ่ยสุร่าย แบ่งกันในบรรดาเครือญาติของผู้ใหญ่บ้านเพื่อนำไปใช้จ่ายหรือซื้อของที่ไม่ก่อรายได้ เช่น ทีวี พัดลม ตู้เย็น โทรศัพท์มือถือ หรือยานพาหนะ ก็มีหวังแต่จะสูญเงินเปล่า
ในความเป็นจริงแล้ว แต่ละหมู่บ้านมีวิธีการบริหารจัดการเงินไม่เหมือนกัน บางหมู่บ้านก็บริหารดี บางหมู่บ้านก็ทรงตัว บางหมู่บ้านบริหารไม่เป็น ดังนั้น การจะเหมารวมว่านโยบายกองทุนหมู่บ้านหรือนโยบายประชานิยมอื่นๆ คุ้มค่าแค่ไหน ต้องดูกันให้ตลอดรอดฝั่ง เริ่มตั้งแต่วัตถุประสงค์ วิธีการบริหารจัดการ และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งประเมินโดยใช้หลักวิชาการ ปราศจากการแทรกแซงทางการเมือง หากผลปรากฏออกมาว่าโดยรวมแล้วผลเสียมากว่าผลได้ นโยบายประชานิยมนั้นก็ถือว่าไม่คุ้มค่า และถ้ารัฐยังดื้อดึงคิดทำต่อไป จะเป็นการสูญเงินรัฐโดยใช่เหตุ
การใช้จ่ายเงินจำนวนมหาศาล โดยไม่ได้รับผลตอบแทนกลับคืนมาเท่าที่ควร แบบนี้ ถือเป็นการตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ นี่แหละคือสิ่งที่เรียกว่า การขาดวินัยทางการคลัง ในทางตรงกันข้าม ถ้าโครงการประชานิยมนั้นก่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรม เห็นผลเต็มเม็ดเต็มหน่วย ช่วยให้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนดีขึ้น คุ้มกับเงินที่ลงทุนไป เป็นโครงการซึ่งน่าจะทำต่อ แต่รัฐกลับตัดสินใจเลิกเสียดื้อๆ แบบนี้ก็เข้าข่ายถือว่าขาดวินัยทางการคลังเช่นกัน
การขาดวินัยทางการคลังส่งผลต่อระดับหนี้สาธารณะ ทำให้ความน่าเชื่อถือในการชำระหนี้ของรัฐบาล และการลงทุนในประเทศลดลง
กล่าวอีกนัยหนึ่ง วินัยทางการคลัง คือการที่รัฐสามารถรักษาดุลยภาพระหว่างรายได้กับรายจ่ายหรือ ดุลการคลังเอาไว้ได้ ซึ่งจะทำให้รัฐมีเสถียรภาพทางการคลัง มีความน่าเชื่อถือทั้งทางกลไกและกระบวนการทางการคลัง โดยจะต้องประกอบไปด้วยในด้านรายได้ รายจ่าย และการเงินการบัญชี โดยการดำเนินการดังกล่าวจะต้องเป็นไปด้วยความรับผิดชอบ โปร่งใส และตรวจสอบได้ ซึ่งเป็นหลักการที่สำคัญและเป็นที่ยอมรับทั่วไป ประกอบด้วยหลักสำคัญ 3 ด้าน ดังนี้1) ด้านรายได้
- มีระบบการประมาณการร้ายได้และการจัดเก็บที่น่าเชื่อถือ
- ตัวเลขที่ประมาณการและตัวเลขจริงต้องใกล้เคียงกัน
- มีวิธีการและกระบวนการในการจัดเก็บรายได้ที่มีประสิทธิภาพ2) ด้านรายจ่าย
- ควบคุมการใช้จ่ายในกรอบของงบประมาณที่กำหนด
- มีการประมาณการรายจ่ายครอบคลุมทุกประเภท
- ต้องน่าเชื่อถือ
- การบริหาร การเบิกจ่าย การก่อหนี้ผูกพัน ต้องสอดคล้องกัน3) ด้านการเงินการบัญชี
- ดูแลการรับ การจ่ายเงิน การก่อหนี้ผูกพัน
- ต้องมีการปฏิบัติตามระเบียบ กฎเกณฑ์ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
- ป้องกันและควบคุมไม่ให้เกิดการคอรัปชั่น
- ต้องดำเนินการด้วยความรับผิดชอบ โปร่งใส และตรวจสอบได้
4. ระบบการตรวจสอบองค์กรอิสระสำคัญอย่างไร
องค์กรอิสระ เป็นกลไกตามรัฐธรรมนูญมีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐเพื่อรักษาประโยชน์ของแผ่นดิน คุ้มครองสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคล หรือประชาชนและเพื่อให้การปฏิรูปทางการเมืองเป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ โดยมีหน่วยธุรการที่เป็นอิสระในการบริหารงานบุคคล งบประมาณและการดำเนินการอื่น
องค์กรอิสระ หมายถึง องค์กรของรัฐที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการเกี่ยวกับภารกิจของรัฐตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและกฎหมาย โดยเป็นองค์กรของรัฐที่มีสถานะพิเศษ ซึ่งได้รับหลักประกันให้สามารถปฏิบัติภารกิจหน้าที่ได้โดยอิสระ ปลอดพ้นจากการแทรกแซงขององค์กรของรัฐอื่นหรือสถาบันการเมืองอื่น รวมทั้งอยู่เหนือกระแสและการกดดันใดๆ ที่เกิดขึ้นภายในสังคมในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง
ในระบบบริหารการคลังสาธารณะที่มีความโปร่งใสและมีความยั่งยืน นั้น จำเป็นต้องมีองค์กรอิสระทำหน้าที่ในการตรวจสอบและรับรองความถูกต้องและน่าเชื่อถือได้ของระบบข้อมูลและรายงานทางการเงินขององค์กรภาครัฐ และเพื่อป้องกันปัญญาด้านการเงินการคลังขององค์การรัฐที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่ ปัญหาการรั่วไหลของการใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดิน ปัญหาการทำงบประมาณแบบขาดดุล (มาอย่างต่อเนื่องหลายปีในอดีต) ปัญหาการใช้จ่ายงบกลางแบบหมกเม็ดและสุรุ่ยสุร่าย หรือเมื่อเร็วๆ นี้ได้แก่ ปัญหาการขาดสภาพคล่องอันเนื่องมาจากการมีเงินคงคลังที่ร่อยหรอ เป็นต้น โดยองค์กรตรวจสอบอิสระดังกล่าว จะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้1) จะต้องได้รับการแต่งตั้งจากสถาบันนิติบัญญัติ เพื่อให้ทำหน้าที่ตรวจสอบและรับรองความถูกต้องและความน่าเชื่อถือได้ของระบบข้อมูลทางการเงินขององค์กรภาครัฐ และจัดทำรายงานผลการตรวจสอบต่อสถาบันนิติบัญญัติตามกำหนดเวลา ซึ่งต้องมีความเป็นอิสระ ทั้งในแง่ของการบังคับบัญชาสั่งการ การายงาน งบประมาณ และอัตรากำลัง
2) การตรวจสอบดังกล่าว จะต้องครอบคลุมประเด็นนโยบายการคลัง งบประมาณ สมมุติฐานการประมาณการ วัตถุประสงค์ และเป้าหมายในระดับมหภาค ด้านรายได้ รายรับ และรายจ่ายในระดับมหภาค และระดับแผนงาน งาน กิจกรรม และหน่วยงาน
5. ยกตัวอย่างกรณีศึกษาอื่นที่ท่านประสบ แล้วเขียนกรณีศึกษา ประกอบด้วย ข้อเท็จจริง และสรุปความเห็น โดยอิงหลักบรรทัดฐานทางการคลัง มาด้วย เลียนกรณีศึกษาในเอกสารคำบรรยาย
ขอยกตัวอย่าง กรณีศึกษา “โครงการพัฒนาชุดข้อมูลพื้นฐานเชิงพื้นที่ด้านเส้นทางคมนาคม (Transport Fundamental Geographic Data Set : Transport FGDS)”
ข้อเท็จจิรง
หน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม ได้เริ่มนำเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ (GIS) เข้ามาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานและการให้บริการประชาชนอย่างแพร่หลาย โดยมีการจัดทำข้อมูลเชิงพื้นที่ขึ้นใช้งานตามภารกิจของแต่ละหน่วยงาน ซึ่งมีข้อมูลส่วนหนึ่งที่แต่ละหน่วยงานงานจัดทำขึ้น มีความซ้ำซ้อนกัน อาทิ เขตการปกครอง เส้นทางและสิ่งอำนวยความสะดวกด้านคมนาคม ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ รวมทั้งข้อมูลสถานที่สำคัญ นอกจากนั้น ในการจัดทำข้อมูลเชิงพื้นที่ดังกล่าว แต่ละหน่วยงานจัดทำขึ้นตามความต้องการของแต่ละหน่วยงานโดยไม่มีมาตรฐานกลางร่วมกันในการจัดทำ ทำให้เกิดปัญหาในการใช้งานข้อมูลร่วมกันระหว่างหน่วยงาน
จากปัญหาดังกล่าวข้างต้น ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม (ศูนย์ไอซีที) พิจารณาแล้วเห็นควรบูรณาการข้อมูลเชิงพื้นที่ด้านเส้นทางคมนาคมกลางขึ้น เพื่อลดความซ้ำซ้อน ประหยัดทั้งระยะเวลาและงบประมาณในการจัดพัฒนาในภาพรวมของกระทรวงคมนาคม และในภาพรวมของประเทศ โดยหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐและภาคการศึกษาของรัฐภายนอกสามารถนำชุดข้อมูลดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ร่วมกันได้อย่างกว้างขวาง จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาชุดข้อมูล Transport FGDS ขึ้นในปีงบประมาณ 2549 ประกอบด้วยการจัดหาและพัฒนา 1) ชั้นข้อมูลแผนที่พื้นฐานเชิงพื้นที่ (Base map) จำนวน 10 ชั้นข้อมูล ได้แก่ เขตการปกครอง เส้นทางถนน ทางแยก ทางด่วน/ทางยกระดับ เส้นทางรถไฟ เส้นทางรถไฟฟ้า เส้นทางน้ำ จุดที่ตั้งสถานีขนส่งสินค้าและผู้โดยสาร จุดที่ตั้งสถานที่สำคัญ และเขตรับผิดชอบของตำรวจนครบาล และ 2) ข้อมูลแผนที่เฉพาะเชิงพื้นที่ จำนวน 4 ชั้นข้อมูล ได้แก่ เส้นทางหลวงแผ่นดินที่เชื่อมโยงกับเส้นทางหลวงชนบท ตอนควบคุมเส้นทางหลวง จุดที่ตั้งหลักกิโลเมตรบนทางหลวง และเส้นทางบริเวณที่ห้ามเลี้ยวรถ (Turn table)
กระทรวงคมนาคม ได้พิจารณาและอนุมัติให้ผ่านงบประมาณเพื่อดำเนินการโครงการพัฒนาชุดข้อมูลพื้นฐานเชิงพื้นที่ด้านเส้นทางคมนาคม ของกระทรวงคมนาคม ซึ่งเสนอโดยศูนย์ไอซีที โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อบูรณาการข้อมูลพื้นฐานเชิงพื้นที่ด้านโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการขนส่งของกระทรวงคมนาคมที่กระจัดกระจายอยู่ตามหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม ให้รวมเป็นชุดข้อมูลพื้นฐานเชิงพื้นที่กลางด้านคมนาคมของกระทรวงคมนาคม และเพื่อให้ทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐอื่นภายนอก ตลอดจนประชาชนทั่วไปสามารถนำชุดข้อมูลดังกล่าวไปใช้ในการปฏิบัติงานตามภารกิจของแต่ละหน่วยงานได้อย่างเป็นเอกภาพ และเป็นไปในทิศทางและแนวทางเดียวกันทั้งองค์กร
สำนักงบประมาณ สภาผู้แทนราษฎร และคณะกรรมาธิการงบประมาณ ได้ให้ความเห็นชอบและอนุมัติให้สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคมดำเนินโครงการดังกล่าวในปีงบประมาณ 2549
สรุปความเห็น
การพิจารณาบรรทัดฐานทางการคลัง จะพิจารณาจากบรรทัดฐานทั้ง 3 ระดับ ดังนี้1. ในระดับสูงหรือระดับธรรมาภิบาล ซึ่งเป็นการพิจารณาด้วยฐานของสิ่งที่รัฐทำนั้นว่าเป็นไปเพื่อประโยชน์ของประชาชนหรือไม่ ประชาชนหรือตัวแทน ของประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดหรือไม่ ซึ่งพบว่ามีหลักการตามหลัก ธรรมาภิบาล ดังนี้
1.1) ในด้านการตอบสนองความต้องการของหน่วยงานภาครัฐ ทั้งหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมและหน่วยงานภาครัฐอื่นภายนอก ตลอดจนภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป กล่าวคือ โครงการดังกล่าวจัดทำชุดข้อมูลพื้นฐานเชิงพื้นที่กลางด้านคมนาคมขึ้นในลักษณะการบูรณาการข้อมูลจากแหล่งต่างๆ โดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายกับหน่วยงานภาครัฐหรือประชาชนกลุ่มใด แต่ยังเป็นประโยชน์ทั้งกับภาครัฐในการนำไปใช้ปฏิบัติงานตามภารกิจของแต่ละหน่วยงาน และเป็นประโยชน์ต่อประชาชนในด้านการค้นหาสถานที่และเส้นทางที่เหมาะสมในการเดินทาง
1.2) ในด้านของรัฐในการจัดทำโครงการ เป็นโครงการที่พิจารณากลั่นกรองทั้งจากคณะทำงานด้าน GIS ของกระทรวงคมนาคม คณะกรรมการ CIO ของกระทรวงคมนาคม ซึ่งประกอบด้วยผู้บริหารระดับสูงด้านไอซีทีของทุกหน่วยงานในสังกัด และผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงคมนาคม รวมทั้ง ผ่านการพิจารณาความเหมาะสมจากสำนักงบประมาณ สภาผู้แทนราษฎร และคณะกรรมาธิการงบประมาณ โดยมีแผนการดำเนินงานที่ชัดเจน และมีศูนย์ไอซีที รับผิดชอบดำเนินโครงการ2. ในระดับกลางหรือวินัยทางการคลัง ซึ่งต้องคำนึงถึงดุลยภาพทางการคลังระหว่างรายได้และรายจ่าย รวมทั้งจะต้องประกอบไปด้วยความรับผิดชอบ โปร่งใส ตรวจสอบได้ พบว่า
2.1) ในเรื่องหลักการรักษาดุลยภาพทางการคลัง พบว่ามีการจัดทำโครงการโดยใช้งบประมาณที่มีอยู่และได้รับอนุมัติอย่างคุ้มค่า ซึ่งใช้งบประมาณไม่มากนัก และได้ผลคุ้มค่ามาก กล่าวคือ รัฐไม่เกิดการสูญเสียด้านงบประมาณและระยะเวลาในการพัฒนาข้อมูลเชิงที่มีความซ้ำซ้อนในแต่ละหน่วยงาน เป็นต้น
2.2) ในเรื่องหลักความรับผิดชอบ โครงการดังกล่าวมีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบกันอย่างชัดเจน เช่น ศูนย์ไอซีที มีหน้าที่บริหารจัดการและควบคุมการบูรณาการข้อมูลเชิงพื้นที่ตามโครงการให้มีความครบถ้วน ถูกต้อง และแล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนดไว้อย่างเหมาะสม ส่วนหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม รับผิดชอบในการจัดส่งข้อมูลเชิงพื้นที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงานให้ศูนย์ไอซีที เพื่อบูรณาการร่วมกัน นอกจากนั้น ศูนย์ไอซีที ยังได้ประสานงานขออนุเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่จากหน่วยงานภาครัฐอื่นภายนอก เพื่อนำข้อมูลมาบูรณาการร่วมกันให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
2.3) ในเรื่องหลักความโปร่งใส โครงการดังกล่าวสามารถตรวจสอบได้ โดยได้มีการรายงานผลการดำเนินการให้ผู้บริหารทราบเป็นระยะ อีกทั้งมีตัวชี้วัดผลโครงการให้ตรวจสอบด้วยว่าโครงการดังกล่าวดำเนินการไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลหรือไม่ เพียงใด
3) ในระดับปฏิบัติการบรรทัดฐานทางการคลังว่าด้วยหน้าที่และรายจ่ายของรัฐ พบว่าโครงการดังกล่าวปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ทั้งในเรื่องขั้นตอน วิธีการ งบประมาณ โดยบรรลุวัตถุประสงค์เป็นอย่างมาก ทำให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม หน่วยงานภาครัฐและภาคการศึกษาอื่นภายนอกทั่วประเทศ ได้นำชุดข้อมูลดังกล่าวไปใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างคุ้มค่า เหมาะสม และเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง รวมทั้ง ประชาชนทั่วไป ได้ใช้ประโยชน์จากบริการที่พัฒนาขึ้นจากชุดข้อมูลดังกล่าวได้อย่างกว้างขวางผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
6. หลักการของ Wicksell ในเรื่องการบริหารงานคลังของรัฐเป็นอย่างไร อธิบาย ท่านเห็นด้วยหรือไม่ ทำได้หรือไม่ในกรณีของประเทศไทย เพราะเหตุใด จะแก้ไขได้อย่างไร
Knut Wicksell ได้แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของสำนึกคิดทางเลือกสาธารณะที่มีต่อการบริหารงานคลังและการงบประมาณภาครัฐที่เสนอให้รัฐมุ่งคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดที่ประชาชนจะได้รับจากการดำเนินกิจกรรมต่างๆ มากกว่าเพื่อประโยชน์ของรัฐเอง ทั้งนี้ Wicksell มองว่า ปัจเจกบุคคลเป็นผู้ที่มีเหตุผล เขาควรเป็นผู้กำหนดว่ารัฐบาลควรทำหน้าที่อะไรภายใต้จำนวนเงินที่ปัจเจกบุคคลเหล่านั้นยินดีที่จะเสียภาษีให้แก่รัฐเพื่อให้สามารถดำเนินกิจกรรมเหล่านั้นได้ และรัฐไม่ควรจะดำเนินการใดๆ ที่พลเมืองส่วนใหญ่ไม่สนับสนุน หรือไม่ยินดีจ่ายภาษีสนับสนุนรัฐบาลเพื่อการดำเนินกิจกรรมนั้น ๆ
ดังนั้น เมื่อตั้งต้นด้วยแนวคิดที่ว่าพลเมืองเป็นผู้ที่มีความสำคัญสูงสุดในระบบการเมืองการปกครองในยุคปัจจุบัน ระบบงบประมาณภาครัฐในแนวใหม่จึงควรมุ่งต่อการตอบสนองความต้องการของประชาชนเหล่านั้น โดยการพัฒนากลไกการจัดสรรงบประมาณที่สามารถนำไปสู่การดำเนินงานของภาครัฐที่สอดคล้องกับความต้องการของพลเมือง มีกลไกการดำเนินงานที่สามารถนำไปสู่การผลิตหรือการส่งมอบบริการที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพและโปร่งใส ตรวจสอบได้ และมีระบบข้อมูลรายงานผลการผลิตและต้นทุนการดำเนินงานที่ถูกต้อง นอกจากนี้ แนวคิดดังกล่าวยังนำไปสู่การออกแบบระบบและวิธีการบริหารจัดการแบบใหม่เพื่อเป็นหลักประกันว่าผลประโยชน์ของพลเมืองจะได้รับการคุ้มครอง เช่น การใช้การบริหารภายใต้สัญญา (Contractual management) การแยกหน่วยงานกำหนดนโยบายออกจากหน่วยงานที่นำนโยบายไปปฏิบัติ การบริหารงานภายใต้ระบบกิจกรรม (Activity-based management) ฯลฯ เป็นต้น ทั้งนี้ก็เพื่อทำให้งบประมาณภาครัฐเป็นเรื่องของพลเมืองนั่นเอง
Wicksell เป็นนักคิดชาวอิตาลีมีหลักการเกี่ยวกับหน้าที่และรายจ่ายของรัฐว่าจะต้องมากจากการออกเสียงลงคะแนนของสมาชิดในสังคม ซึ่งเป็นความต้องการและเจตจำนงร่วมกันของสังคม โดยมีการโหวต 2 ครั้ง ซึ่งในครั้งแรกเป็นการเลือกตัวแทนในสังคม โดยมุ่งหวังว่าจะได้คนดีเข้าไปเป็นผู้แทนของตน และในครั้งที่สองเป็นการโหวตว่าสังคมต้องการอะไร โดยยินดีจ่ายเพื่อกิจกรรมนั้น ๆ มุ่งคํานึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของสังคมมากกว่าของรัฐเอง รัฐบาลควรทำหน้าที่ภายใต้จํานวนเงินที่สังคมยินดีที่จะเสียภาษีให้แก่รัฐเพื่อให้สามารถดําเนินกิจกรรมเหล่านั้นได้ และรัฐไม่ควรจะดําเนินการใดๆ ที่พลเมืองส่วนใหญ่ไม่สนับสนุน หรือไม่ยินดีจ่ายภาษีสนับสนุนรัฐบาลเพื่อการดําเนินกิจกรรมนั้น ๆ
ข้าพเจ้าเห็นด้วยตามหลักการดังกล่าว เนื่องจากเป็นแสดงออกถึงความเป็นประชาธิปไตยในสังคมนั้น ๆ อีกทั้งเป็นการเลือกคนดีให้ทำหน้าที่แทนคนในสังคม
แต่ในกรณีของประเทศไทยข้าพเจ้าคิดว่ายังไม่สามารถนำแนวคิดดังกล่าวมาใช้อย่างเต็มรูปแบบได้ เนื่องจากหลักการดังกล่าวไม่เหมาะกับชุมชนขนาดใหญ่ ที่ประชากรที่มีความหลากหลายทั้งสถานะ ความเป็นอยู่ เชื้อชาติ ศาสนา และลักษณะของภูมิประเทศที่แตกต่างกัน
หลักการดังกล่าวสามารถแก้ไขได้ กล่าวคือ จะต้องนำไปใช้ในสังคมที่เล็กกว่าระดับประเทศ หรือหากใช้หลักการดังกล่าวในระดับประเทศจะต้องแบ่งกิจกรรมให้เหมาะสมกับสังคมนั้น ๆ
7. รัฐจะสามารถสร้างความเป็นธรรมให้เกิดแก่สังคมได้อย่างไร อธิบาย
รัฐสามารถสร้างความเป็นธรรมให้เกิดแก่สังคมได้ ดังนี้1) รัฐจะต้องกระจายรายได้ที่เหมาะสมให้กับทุกส่วนภูมิภาคของประเทศ เพื่อให้ประชาชนมีความสามารถในการเป็นเจ้าของสินค้าและบริโภคได้
2) รัฐต้องสร้างหลักประกันให้เกิดความเท่าเทียมกันของประชาชน
3) ต้องเข้าไปดูแลระบบตลาดให้สามารถทำงานได้ แต่ไม่ใช่การเข้าไปผลิตแข่งขันกับเอกชนในระบบตลาด โดยระบบตลาดที่รัฐเข้าไปดูแล เพื่อให้ตลาดสามารถดำเนินการให้ใกล้เคียงกับการเป็นตลาดแข่งขันสมบูรณ์มากที่สุด เพื่อส่งผลให้ประชาชนมีความอยู่ดีกินดีทางเศรษฐกิจ
4) ต้องกำจัดความยากจน ซึ่งเป็นฐานะในเรื่องจำเป็นทั้งในด้านจริยธรรมและสิ่งแวดล้อม
5) กำหนดกฎเกณฑ์ในการดำเนินการให้อยู่ภายในกรอบ ไม่เกิดความผูกขาด รวมทั้งไม่ให้เกิดการกำหนดราคาที่ไม่เป็นธรรม
6) ให้การรับรองสิทธิเสรีภาพในความเท่าเทียมกัน ทั้งทางเพศอันเป็นพื้นฐานเบื้องต้นของการพัฒนาอย่างยั่งยืน และทำให้เกิดการเข้าถึงทางเศรษฐกิจ ดำเนินการทางการสาธารณะสุขและทางการศึกษาอย่าง
7) คุ้มครองสิทธิทุกคนโดยปราศจากการแบ่งแยก ทั้งสิทธิทางสภาพแวดล้อมและสังคม ศักดิ์ศรี สุขภาพ8) แทรกแซง โดยเครื่องมือในการแทรกแซงซึ่งขึ้นอยู่กับสถานการณ์และความเหมาะสม ทั้งมาตรการทางกฎหมาย มาตรการทางการคลัง มาตรการทางการเงิน เป็นต้น
9) ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจเพื่อให้เกิดความเติบโตในระดับที่เหมาะสม และมีดุลยภาพ
8. การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจด้วยการบริหารการคลังของรัฐทำได้อย่างไร ปัญหาและอุปสรรคคืออย่างไร ท่านมีความเห็นเพื่อปรับปรุงอย่างไร อธิบาย
การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจด้วยการบริหารทางการคลังของรัฐ ทำได้โดยการเข้าไปรักษาระดับของเศรษฐกิจไม่ให้เกิดความผันผวนมากกว่าที่ควรจะเป็น กล่าวคือเศรษฐกิจมีทั้งวงจรการขึ้นลง กล่าวอีกนัยหนึ่งคือการเข้าไปแทรกแซงการทำงานของระบบตลาดเสรีโดยรัฐบาล ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวรัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก แต่หากปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติอาจก่อให้เกิดความเสียหายได้ เช่น การใช้นโยบายการเงินการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เป็นกลยุทธ์ที่จำเป็นสำหรับการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ อันประกอบไปด้วย การที่ระบบเศรษฐกิจมีการจ้างงานเต็มที่ มีอัตราการขยายตัวที่สูง และมีเสถียรภาพของระดับราคา เพื่อเป้าหมายสำคัญทั้งสามนี้ รัฐบาลไม่สามารถให้ระบบตลาดเสรีทำงานเองได้
ปัญหาและอุปสรรคในการแทรกแซง กล่าวคือ ประชาชนอาจเห็นว่าการแทรกแซงเป็นสิ่งที่รัฐทำเพื่อผลประโยชน์ ดังนั้นต้องแทรกแซงโดยถูกกฎหมาย กล่าวคือ1) การแทรกแซงโดยคำร้องขอจากรัฐบาลที่ชอบด้วยกฎหมาย
2) การแทรกแซงโดยอาศัยสิทธิจากสนธิสัญญา
3) การแทรกแซงเพื่อพิทักษ์คนชาติ
4) การแทรกแซงเพื่อมนุษยธรรม
ทั้งนี้ ปัญหาดังกล่าว มีวิธีการแก้ไข คือ ต้องเป็นการแทรกแซงโดยการใช้สนธิสัญญาและคำร้องขออย่างเป็นทางการจากรัฐบาลที่ชอบด้วยกฎหมาย นอกจากนี้การใช้เครื่องมือนโยบายก็ต้องเปลี่ยนแปลงไปด้วย โดยหันมาใช้นโยบายแบบผสมผสาน ระหว่างนโยบายการเงิน และนโยบายการคลังมากขึ้น
9. อธิบายหลักการหารายได้ของรัฐ เพื่อการบริหารการคลัง มีกี่วิธี สำคัญอย่างไร
รายได้ของรัฐบาล คือเงินภาษีอากรที่รัฐบาลเก็บจากราษฎร กำไรจากรัฐวิสาหกิจ ค่าธรรมเนียม และรายได้เบ็ดเตล็ดอื่น ๆ รวมเป็นรายได้ของรัฐบาล โดยมีหลักการหารายได้ของรัฐ ดังนี้1) รายได้จากการเก็บภาษีอากร (Taxation and Revenue) เป็นภาษีที่บังคับเรียกเก็บจากประชาชนทุกคนภายในประเทศและเป็นรายได้ที่สูงสุดของรายได้ของรัฐ2) รายได้จากการขายสินค้าและบริการ (Sale of the paper and services) ได้แก่ สลากกินแบ่งรัฐบาล พันธบัตร แสตมป์ อากร กำไรจากรัฐวิสาหกิจ ค่าธรรมเนียมต่างๆ เป็นต้น3) รายได้จากการกู้เงิน (Borrowing) เป็นเงินที่รัฐบาลจำเป็นต้องกู้มาใช้จ่ายในกิจการบางประเภทที่ให้ผลประโยชน์ในระยะยาว4) รายได้จากการพิมพ์ธนบัตร (Printing of paper money) เป็นการจัดพิมพ์ธนบัตรเพื่อหารายได้เหมือนการกู้5) รายได้จากการช่วยเหลือของรัฐบาลกลางหรือรัฐบาลต่างประเทศ
โดยหลักดังกล่าวมีความสำคัญกับรัฐ ในการหารายได้ให้กับประเทศเพื่อบริหารงานการคลัง เพื่อที่จะนำรายได้มาใช้จ่ายในการบริหารและพัฒนาประเทศชาติต่อไป
10. หลักการเก็บภาษีที่ดีเป็นอย่างไร อธิบาย
หลักการเก็บภาษีที่ดี ประกอบด้วย1) หลักการทำรายได้ คือ รัฐควรเก็บภาษีเพื่อหารายได้ โดยไม่ควรเก็บภาษีเล็ก ๆ น้อยๆ ควรเก็บประเภทที่ทำรายได้ได้ดี เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีการค้า (Vat) ภาษีทรัพย์สิน ภาษีสรรพสามิต เป็นต้น2) หลักความยุติธรรมหรือความเป็นธรรม คือคนที่มีความสารถมากในการเสียภาษีมาก ก็ต้องเสียภาษีมาก คนที่มีความสามารถน้อยน้อย ก็เสียน้อยหรือไม่ต้องเสีย รัฐควรต้องแจกแจงออกมาให้ชัดเจน
3) หลักความแน่นอน คือผู้เสียภาษีอากรทุกคนควรได้รับเกี่ยวกับเวลาของการชำระภาษี วิธีการชำระภาษี จำนวนภาษีที่ต้องชำระ และสถานที่ชำระภาษี
4) หลักความเป็นกลาง เช่นในยามภาวะเศรษฐกิจรุ่งเรือง รายได้ด้านภาษีอากรก็ควรจะเพิ่มขึ้นโดยอัตโนมัติ และในยามภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ก็ควรจะต้องลดลงเหมือนกัน
5) หลักประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษี คือ การเก็บภาษีมีต้นทุนน้อยสุด จัดเก็บภาษีได้ตามเป้าหมายและสม่ำเสมอ สามารถประมาณการล่วงหน้าได้แน่นอน ผู้เสียภาษีสามารถเสียภาษีได้ง่าย ประเมินภาษีได้อย่างชัดเจน การคำนึงถึงเรื่องการลดภาระ และการอำนวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษี โดยไม่ผลักดันภาระค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดเก็บให้แก่ผู้เสียภาษีมากเกินไป
11. การบริหารภาษีตามหลัก Benefit principle เป็นอย่างไร อธิบายและยกตัวอย่าง
การบริหารภาษีตามหลัก Benefit principle เป็นหลักการเก็บภาษีโดยมีเงื่อนไขเป็นผลประโยชน์ที่ได้รับ เป็นภาษีที่เรียกเก็บตามกฎหมายเฉพาะจากคนบางกลุ่มที่เกี่ยวข้องโดยตรงในแง่ผู้รับผลประโยชน์หรือเป็นผู้ทำให้เกิดภาระขึ้น) เช่น การเก็บภาษีบำบัดน้ำเสียที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เก็บตามหลักการประโยชน์ที่ได้รับ (Benefit principle) เนื่องจากรัฐต้องใช้งบประมาณปีหนึ่งๆ จำนวนมาก เพื่อก่อสร้างและซ่อมแซมระบบนิเวศน์น้ำ จึงต้องเก็บภาษี
12. หลักการเก็บภาษีที่ต้องอาศัยการยอมรับ หรือ Willingness เป็นอย่างไร อธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
หลักการเก็บภาษีที่ต้องอาศัยการยอมรับหรือ Willingness เป็นกลไกที่จะให้ประชาชนได้แสดงออกซึ่งการยอมรับหรือเห็นชอบที่รัฐบาลจะเก็บภาษีจากใคร เท่าใด โดยใช้กระบวนการประชาธิปไตย ในหลักการพื้นฐานคือ รัฐบาลให้รัฐสภาซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่ในการออกกฎหมายเพื่อกำหนดหลักการว่าด้วยการเก็บภาษี สถาบันนี้เป็นสถาบันประชาชนซึ่งมีผู้แทนประกอบด้วย สส. และ สว. โดยมีรัฐบาลเป็นผู้บริหารจัดการ แล้วให้สภาเห็นชอบและถือว่าประชาชนเห็นชอบ จากนั้นจึงดำเนินการเก็บตามที่ได้รับอนุมัติมา หากการเก็บภาษีไม่ได้รับการยอมรับจากประชาชน ทำให้เกิดเหตุการณ์ (Tax revolt) ได้ ยกตัวอย่างเช่น การเก็บภาษีตามประมวลกฎหมายรัษฏากร เป็นต้น
13. การต่อต้านการเสียภาษี (Tax revolt) เคยเกิดขึ้นหรือไม่ เพราะเหตุใด อธิบาย ในกรณีประเทศไทย ยกตัวอย่างเรื่องใดจะทำให้เกิดความไม่พอใจจนถึงกับเกิดการต่อต้านการเสียภาษี อภิปราย
การต่อต้านการเสียภาษี (Tax revolt) เคยเกิดขึ้นด้วยสาเหตุดังนี้1) ความไม่พอใจที่คนกลุ่มน้อยเป็นผู้เสียภาษีรายใหญ่ โดยเห็นว่ารัฐนำเงินภาษีที่เก็บจากพวกตนไปประกอบกิจกรรมสาธารณะที่พวกเขาเหล่านั้นเห็นว่าไม่เป็นประโยชน์มากขึ้นเรื่อย ๆ
2) รัฐบาลบริหารรายจ่ายผิดพลาด เช่น การบริหารหนี้มากเกินไป ก่อหนี้สาธารณะมากเกินกว่าที่จะชำระได้ รัฐจึงพยายามเก็บภาษีมากขึ้นท่ามกลางความไม่พอใจของประชาชน
3) รัฐบาลบริหารรายได้ผิดพลาด เช่น การประเมินภาษี การออกกฎหมายเปลี่ยนแปลงวิธีการประเมินภาษีอย่างรวดเร็ว
โดยในประเทศไทยเคยมีเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น กล่าวคือ กรณีการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (vat) เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจ รัฐขาดการประชาสัมพันธ์ที่ดีเพราะประชาชนเห็นว่าเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้ว ทำไมต้องเสียภาษีการค้าอีก โดยจัดเก็บภาษีดังกล่าวร้อยละ 10 เป็นเหตุให้ประชาชนต่อต้านไม่ยอมจ่ายภาษี ต่อมาสามารถทำความเข้าใจได้ จึงปรับเป็นร้อยละ 7 ของรายได้
14. หลักการกำหนดราคาบริการสาธารณะที่เป็นธรรม ควรจะมีหลักการอย่างไร ยกตัวอย่างแนวคิดในทางเศรษฐศาสตร์ที่ท่านทราบ พร้อมทั้งเขียนรูปให้ดูเป็นตัวอย่างด้วย
หลักการกำหนดราคาบริการสาธารณะที่เป็นธรรม มีพื้นฐานโดยรัฐบาลจะหารายได้มาใช้จ่ายในการจัดบริการสาธารณะ มีการเก็บค่าบริการได้ ต้องเป็นบริการที่มีทางเลือก ไม่มีการผูกขาดการผลิตบริการ อีกทั้งไม่ส่งเสริมหรือสร้างเงื่อนไขให้เกิดการผูกขาดการผลิตบริการ เสมือนหนึ่งเป็นบริการที่สามารถจัดได้ในระบบตลาดทั่วไปเป็น Private goods หรือ Private service คือ1) เป็นบริการที่ผู้บริโภคเป็นปัจเจกชนเป็นบุคคล เป็นครัวเรือน เป็นผู้รับผลประโยชน์โดยตรง แต่รัฐสามารถกีดกันไม่ให้คนที่ไม่จ่ายหรือไม่ต้องการเข้ามาบริโภคได้ เช่น มีที่กั้นไม่ให้ผ่านถ้าไม่จ่ายเงิน
2) เป็นบริการที่คนสามารถเลือกใช้บริการหรือไม่ก็ได้ แต่มีข้อยกเว้นกรณีของบริการที่มีผลต่อความปลอดภัยต่อความสงบเรียบร้อย ความมั่นคง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แต่รัฐอาจให้มีระบบสัมปทานได้
3) การตั้งราคา รัฐบาลจะต้องตั้งราคาโดยใช้เกณฑ์ราคาในระบบตลาด คือคิดที่ Marginal cost ซึ่งประกอบด้วยราคาต้นทุนต่อหน่วย (Fixed cost) กับต้นทุนส่วนที่เพิ่มขึ้นต่อหน่วย4) การนำเอานโยบายกระจายรายได้ (Redistribution) มาใช้กับบริการทางเลือก เป็นการกำหนดราคาโดยมีเป้าหมายกระจายรายได้ คือการเพิ่มอำนาจการซื้อให้แก่ผู้ที่มีรายได้น้อย โดยการลดบริการ กำหนดราคาที่ต่ำกว่าปกติ
แนวคิดในทางเศรษฐศาสตร์
อุปสงค์ คือ จำนวนสินค้าและบริการที่ผู้ซื้อต้องการซื้อ ณ ระดับราคาต่าง ๆหรือ ณ ระดับรายได้ต่าง ๆ หรือ ณ ระดับราคาสินค้าอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยปกติจะให้ความสำคัญกับเรื่องระดับราคามากที่สุด และเมื่อราคาสินค้าเปลี่ยนแปลงไป จำนวนซื้อสินค้าและบริการชนิดนั้นก็จะเปลี่ยนแปลงในทิศทางตรงกันข้ามเสมอ ที่เป็นเช่นนี้เพราะผลของราคาซึ่งประกอบด้วยผลของการทดแทนกัน และผลของรายได้
อุปทาน คือ จำนวนสินค้าและบริการที่ผู้ขายต้องการขาย ณ ระดับราคาต่าง ๆ ซึ่งจำนวนขายจะเปลี่ยนแปลงในทางเดียวกันกับราคาที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นเส้นอุปทานซึ่งเป็นเส้นที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างราคาและจำนวนขาย จึงเป็นเส้นทอดขึ้นจากซ้ายไปขวา เส้นอุปทานสามารถเปลี่ยนแปลงไปทางซ้ายมือหรือขวามือของเส้นเดิมได้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดอุปทานอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ราคา ว่าจะเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะที่จะทำให้จำนวนขายมากขึ้นหรือน้อยลง
ราคาดุลยภาพ เป็นราคาที่ทำให้จำนวนเสนอซื้อ (อุปสงค์) เท่ากับจำนวนเสนอขาย (อุปทาน) ราคาใด ๆ ที่ต่ำกว่าราคาดุลยภาพจะทำให้เกิดอุปสงค์ส่วนเกิน และราคาใด ๆ ที่สูงกว่าราคาดุลยภาพจะทำให้เกิดอุปทานส่วนเกิน ราคาดังกล่าว จะปรับเข้าสู่ราคาดุลยภาพและราคาจะไม่เปลี่ยนแปลง นอกจากจะมีการเคลื่อนย้ายเส้นอุปสงค์ และ/หรืออุปทาน ซึ่งอาจทำให้ราคาดุลยภาพใหม่ และ/หรือปริมาณดุลยภาพใหม่สูงขึ้นหรือลดลง
โดยปกติรัฐบาลจะปล่อยให้กลไกราคาทำงานไปตามลำพัง โดยไม่เข้าไปควบคุมราคา ยกเว้นในกรณีที่จำเป็นซึ่งกลไกราคาไม่สามารถปรับตัวได้ทัน มาตรการที่ใช้รัฐบาลจะเข้าแทรกแซงกลไกของราคาในตลาด เพื่อรักษาเสถียรภาพของราคาให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมมี 2 มาตรการ คือ การกำหนดราคาขั้นต่ำ (การประกันราคา) ซึ่งจะกระทำเพื่อยกระดับราคาของสินค้าที่เป็นอยู่ให้สูงขึ้น โดยเฉพาะสินค้ารายการที่สำคัญ เป็นการช่วยเหลือผู้ผลิตหรือผู้ขาย อีกมาตรการก็คือ การกำหนดราคาขั้นสูง เป็นมาตรการที่ใช้กำหนดราคาสินค้าไม่ให้สูงเกินเพดาน จะใช้ในระหว่างเกิดขาดแคลนสินค้า ซึ่งการขาดแคลนสินค้าทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจนผู้บริโภค
นโยบายพยุงราคาหรือการประกันราคา
การพยุงราคาหรือประกันราคามีความหมายคล้ายกัน เพราะถ้าประกันราคาว่าราคาจะเป็นเท่าใดก็เท่ากับรักษาระดับราคา หรือ พยุงราคาไว้ที่ระดับราคานั้น ๆ อาจจะสูงกว่า หรือ ต่ำกว่าตลาดก็ได้ถ้าต่ำกว่ามักจะเรียกว่าราคาประกัน แต่ถ้าพูดถึงราคาพยุงโดยทั่วไปหมายถึง รักษาระดับราคาไว้สูงกว่าราคาตลาด วิธีปฏิบัติจะแตกต่างกันในแต่ละประเทศและแม้ในประเทศเดียวกัน สินค้าแต่ละชนิดที่อยู่ภายใต้โครงการพยุงราคาก็อาจจะมีวิธีปฏิบัติต่างกัน เช่น รัฐบาลอาจจะประกาศหรือ ให้ประกันว่าผู้ผลิตสินค้าชนิดที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับราคาที่กำหนดๆ ไว้โดยรัฐบาลจะซื้อเองหรือ เอาสินค้าใช้หนี้เงินกู้ ปกติราคาที่รับซื้อตามวิธีการดังกล่าว จะสูงกว่าราคาตลาด เพราะถ้าต่ำกว่าหรือเท่ากับราคาตลาดก็ไม่จำเป็นที่จะต้องมีมาตรการเข้าไปรับซื้อ ดังรูป
จากรูป กำหนดให้เส้นอุปสงค์ของสินค้าทางเกษตรอยู่ที่ D อุปทานอยู่ที่ S ระดับราคาที่ปริมาณ เสนอขายเท่ากับปริมาณความต้องการการซื้อสินค้าพอดี จะเท่ากับ OPE แต่ถ้ารัฐบาลกำหนดราคาพยุงไว้ที่ OP1 ซึ่งสูงกว่าราคาตลาด และที่ระดับราคานี้รัฐบาลต้องรับซื้อไว้เป็นจำนวน Q1 , Q2 หน่วย หรือต้องรับผลผลิตแทนเงินกู้ในอัตราที่กำหนดแล้วแต่วิธีปฏิบัติของแต่ละประเทศนั้น ๆ นั้นคือ เพื่อเป็นการรักษาระดับราคาให้อยู่ที่ OP1 รัฐบาลจะต้องเอาสินค้าออกไปจากตลาด เท่ากับ Q1 , Q2 หน่วย โดยที่ปริมาณ Q1 , Q2 จะมีมากหรือน้อยแค่ไหน จะขึ้นอยู่กับระดับราคาที่กำหนดว่าสูงกว่าราคาตลาดมากน้อยเพียงใด และขึ้นอยู่กับความยืดหยุ่นของเส้นอุปสงค์และอุปทานของสินค้าชนิดนั้น ๆ ที่มีความสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของราคา
การคลังสาธารณะ เป็นศาสตร์การคลังมุ่งเน้นศึกษาเนื้อหาสาระเกี่ยวกับหน้าที่ทางเศรษฐกิจของรัฐและมาตรการทางการคลังต่างๆ ทั้งด้านรายรับและรายจ่ายให้บรรลุผลตามเป้าหมายทางเศรษฐกิจ ส่วนความหมายทางศิลป์คือ การกำหนดนโยบายและการดำเนินการทางด้านการคลังและการเงิน การจัดหารายได้ เงินคงคลัง และการก่อหนี้ รวมถึง การใช้จ่ายของรัฐบาลซึ่งมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศเพื่อบรรลุเป้าหมายที่รัฐต้องการ
การคลังสาธารณะ เป็นบทบาทและหน้าที่ของรัฐในการจัดการกำหนดหน้าที่ว่ารัฐควรทำอะไรบ้างและมีค่าใช้จ่ายในการทำกิจกรรมนั้น ๆ เท่าใด จะหารายได้เพื่อนำมาใช้ในการจัดกิจกรรมนั้นจากไหน เป็นจำนวนเท่าใด และอย่างไร นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการออมด้วย และเนื่องจากรัฐมีองค์กรในการปกครองหลายระดับ ยังหมายความรวมไปถึงความสัมพันธ์ทางการคลังระหว่างองค์กรปกครองในแต่ละระดับด้วย ทั้งนี้การคลังสาธารณะที่ดีจะต้องดำเนินการไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
โดยมีความสำคัญ กล่าวคือ การคลังสาธารณะเป็นกระบวนการภาคเศรษฐกิจของรัฐในการกำหนดระดับค่าใช้จ่ายรวมของระบบเศรษฐกิจผ่านการใช้จ่ายในการซื้อสินค้าและบริการต่าง ๆ ซึ่งภาครัฐบาลมีอิทธิพลต่อการกำหนดค่าใช้จ่ายของภาคเศรษฐกิจอื่น ๆ เช่น ภาคครัวเรือน ภาคธุรกิจ และภาคต่างประเทศ เป็นต้น โดยการคลังสาธารณะมีบทบาททั้งทางด้านการจัดสรรทรัพยากรของรัฐ บทบาทด้านการกระจาย เช่น การกระจายความเจริญไปสู่ชนบท บทบาทด้านการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ เป็นต้น
โดยสรุปแล้ว ความสำคัญของการคลังสาธารณะ เป็นการควบคุมให้เกิดความสมดุลทางด้านการเงินในระบบเศรษฐกิจมิให้มีมากหรือต่ำเกินไป ให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมกับสถานการณ์
2. หลักของการบริหารงานคลังเป็นอย่างไร สำคัญอย่างไร
หลักของการบริหารงานคลัง คือแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับเรื่องธรรมาภิบาล วินัยทางการคลัง ความโปร่งใส ความรับผิดชอบต่อสาธารณะ และประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากร แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ ธรรมาภิบาล วินัยทางการคลัง และบรรทัดฐานทางการคลังว่าด้วยหน้าที่และรายจ่ายของรัฐ มีรายละเอียดดังนี้1) ธรรมาภิบาลหรือธรรมรัฐ เป็นบรรทัดฐานระดับสูงสุด กล่าวคือเป็นแนวคิดที่ต้องการให้รัฐเป็นรัฐที่ดี หากกล่าวถึงบุคคลหมายถึงบุคคลที่มีคุณธรรม รัฐที่ดีนั้นต้องตอบสนองความต้องการของสังคมและประชาชน กล่าวคือทำในสิ่งที่ประชาชนต้องการและยินดีที่จะสนับสนุนงบประมาณของรัฐเพื่อทำกิจกรรมนั้น ๆ ให้กับประชาชน โดยมีลักษณะเป็น Participatory Democracy มากกว่า Authoritarian โดยอยู่ในอัตราที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม ข้อเท็จจริง และเรื่องหรือกิจกรรมที่ทำ โดยที่สำคัญประชาชนต้องมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการดำเนินการ โดยรัฐจะต้องส่งเสริมให้ส่วนต่าง ๆ ของสังคม โดยหลักการนี้จะต้องได้รับความยินยอมจากประชาชนผู้เสียภาษี เพื่อให้การดำเนินกิจกรรมของรัฐเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ2) วินัยทางการคลัง คือการที่รัฐสามารถรักษาดุลยภาพระหว่างรายได้กับรายจ่ายหรือ ดุลการคลังเอาไว้ได้ ซึ่งจะทำให้รัฐมีเสถียรภาพทางการคลัง มีความน่าเชื่อถือทั้งทางกลไกและกระบวนการทางการคลัง โดยจะต้องประกอบไปด้วยในด้านรายได้ รายจ่าย และการเงินการบัญชี โดยการดำเนินการดังกล่าวจะต้องเป็นไปด้วยความรับผิดชอบ โปร่งใส และตรวจสอบได้ ซึ่งเป็นหลักการที่สำคัญและเป็นที่ยอมรับทั่วไป
3) บรรทัดฐานทางการคลังว่าด้วยหน้าที่และรายจ่ายของรัฐ เป็นบรรทัดฐานในระดับปฏิบัติการ ซึ่งหน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่รับผิดชอบเฉพาะด้านหรือที่ได้รับมอบหมายจะนำไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายและระเบียบปฏิบัติต่าง ๆ เช่น เรื่องรายได้ รายจ่าย งบประมาณ การเงิน การบัญชี การรายงาน การตรวจสอบ นโยบายการคลัง และรวมถึงความสัมพันธ์ทางการคลังระหว่างรัฐบาลกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วย
3. วินัยทางการคลังหมายความว่าอย่างไร อธิบาย
ถ้าจะตอบสั้นๆ วินัยทางการคลัง น่าจะหมายถึง การรู้จักใช้จ่ายเงินให้เหมาะสมกับสถานการณ์ รู้จักบริหารจัดการเงินให้คุ้มค่า สร้างผลตอบแทนที่เป็นกอบเป็นกำ ไม่เป็นภาระกับประชาชนและประเทศในระยะยาว
แต่ตามความหมายอื่นๆ ที่นักวิชาการได้เสนอไว้ มีดังนี้
วินัยการคลัง เป็นระเบียบแบบแผนที่ใช้กำกับการจัดการทางการเงินของประเทศ หรืออีกนัยหนึ่ง คือ แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการและผลของการบริหารจัดการทางการคลัง (ศิวัสน์ เหลืองสมบูรณ์, 2552)
หรือ อีกความหมายถึง วินัยทางการคลัง (Fiscal Discipline) คือ การดูแลให้รายจ่ายสาธารณะและข้อผูกพันทางการเงินของรัฐบาลทั้งในปัจจุบันและในอนาคตอยู่ในระดับที่สมดุลกับขีดความสามารถในการจัดหารายได้ของรัฐบาล (จรัส สุวรรณมาลา, 2546)
แต่ปกติแล้วเราก็มักคิดว่า วินัยทางการคลัง คือการที่รัฐจะต้องรัดเข็มขัด ลดรายจ่ายไม่ให้งบประมาณขาดดุล ซึ่งก็คงจะไม่ผิดอะไรมากนักถ้าประเทศเราเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่เป็นความหมายที่ค่อนข้างจะแคบ เพราะที่จริงแล้ว ต้องเข้าใจถึงลักษณะของรายจ่ายประเภทต่าง ๆ ของภาครัฐ ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
1) เป็นรายจ่ายเพื่อประโยชน์ในปัจจุบัน เช่น การซื้อปากกาดินสอมาให้ข้าราชการใช้เซ็นเอกสาร การจ่ายเงินเดือนข้าราชการตอบแทนการที่ข้าราชการให้บริการประชาชนในแต่ละเดือน รายจ่ายกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นการจ่ายเพื่อให้กลไกของรัฐที่มีอยู่สามารถทำงานต่อไปได้
2) รายจ่ายกลุ่มที่สองเป็นรายจ่ายด้านการลงทุน เช่น การสร้างถนนหนทาง ท่าเรือ สนามบิน และโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ การลงทุนเหล่านี้ให้ผลตอบแทนกลับมา ในรูปของการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะยาว เมื่อเศรษฐกิจขยายตัว รายได้ของประชาชนและธุรกิจมีมากขึ้น รัฐก็สามารถจัดเก็บภาษีได้ขึ้นตามไปด้วย หากผลตอบแทนที่ได้จากโครงการลงทุนมีมากกว่าต้นทุนที่ลงไป ก็ถือว่ารายจ่ายด้านการลงทุนนั้นๆ คุ้มค่า
3) รายจ่ายประเภทที่สาม คือ การถ่ายโอนเงินโดยมิได้รับผลตอบแทนกลับคืนมา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรายจ่ายด้านสังคม เช่น การให้เงินช่วยเหลือผู้สูงอายุ การให้เงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย เป็นต้นหากมองในเชิงเศรษฐศาสตร์แล้ว
รายจ่ายประเภทสุดท้าย เป็นการโอนเงินจากผู้เสียภาษีไปให้กับคนอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งนโยบายในเชิงเงินโอนเหล่านี้เป็นความพยายามของรัฐที่จะลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจระหว่างคนกลุ่มต่าง ๆ หรือบรรเทาผลกระทบจากเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน
ด้วยเหตุนี้เอง การจะประเมินว่านโยบายที่เข้ากลุ่มรายจ่ายประเภทที่สามนี้ได้ผลมากน้อยแค่ไหนจึงเป็นเรื่องที่ซับซ้อน เพราะจะคิดแต่ตัวเงินเพียงอย่างเดียวไม่ได้ ผลตอบแทนในเชิงสังคมและจิตวิทยาซึ่งไม่สามารถตีค่าออกมาเป็นเงินได้ก็ต้องนำมารวมไว้ด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม การจะจำแนกรายจ่ายของรัฐบาลว่าอยู่ในกลุ่มไหนนั้นจะต้องทำทั้งก่อนและหลังการจ่ายเงิน เพราะโครงการต่างๆ ส่วนใหญ่ก็จะจัดขึ้นมาเพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์ด้านการลงทุนเป็นหลัก แต่พอเอาเข้าจริง คนใช้เงินกลับเอาไปใช้ซื้อข้าวของเครื่องใช้สำนักงานเพื่อประโยชน์ในปัจจุบันเสียหมด ยกตัวอย่างเช่น กองทุนหมูบ้าน ถ้าเอาไปใช้แก้ปัญหาการขาดเงินทุน ช่วยให้คนในหมู่บ้านมีเงินทุนหมุนเวียนลงทุน ยกระดับความเป็นอยู่ของตัวเองได้ในระยะยาว ก็ถือว่าโครงการนี้ประสบผลสำเร็จ หากเอาเงินไปใช้สุรุ่ยสุร่าย แบ่งกันในบรรดาเครือญาติของผู้ใหญ่บ้านเพื่อนำไปใช้จ่ายหรือซื้อของที่ไม่ก่อรายได้ เช่น ทีวี พัดลม ตู้เย็น โทรศัพท์มือถือ หรือยานพาหนะ ก็มีหวังแต่จะสูญเงินเปล่า
ในความเป็นจริงแล้ว แต่ละหมู่บ้านมีวิธีการบริหารจัดการเงินไม่เหมือนกัน บางหมู่บ้านก็บริหารดี บางหมู่บ้านก็ทรงตัว บางหมู่บ้านบริหารไม่เป็น ดังนั้น การจะเหมารวมว่านโยบายกองทุนหมู่บ้านหรือนโยบายประชานิยมอื่นๆ คุ้มค่าแค่ไหน ต้องดูกันให้ตลอดรอดฝั่ง เริ่มตั้งแต่วัตถุประสงค์ วิธีการบริหารจัดการ และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งประเมินโดยใช้หลักวิชาการ ปราศจากการแทรกแซงทางการเมือง หากผลปรากฏออกมาว่าโดยรวมแล้วผลเสียมากว่าผลได้ นโยบายประชานิยมนั้นก็ถือว่าไม่คุ้มค่า และถ้ารัฐยังดื้อดึงคิดทำต่อไป จะเป็นการสูญเงินรัฐโดยใช่เหตุ
การใช้จ่ายเงินจำนวนมหาศาล โดยไม่ได้รับผลตอบแทนกลับคืนมาเท่าที่ควร แบบนี้ ถือเป็นการตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ นี่แหละคือสิ่งที่เรียกว่า การขาดวินัยทางการคลัง ในทางตรงกันข้าม ถ้าโครงการประชานิยมนั้นก่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรม เห็นผลเต็มเม็ดเต็มหน่วย ช่วยให้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนดีขึ้น คุ้มกับเงินที่ลงทุนไป เป็นโครงการซึ่งน่าจะทำต่อ แต่รัฐกลับตัดสินใจเลิกเสียดื้อๆ แบบนี้ก็เข้าข่ายถือว่าขาดวินัยทางการคลังเช่นกัน
การขาดวินัยทางการคลังส่งผลต่อระดับหนี้สาธารณะ ทำให้ความน่าเชื่อถือในการชำระหนี้ของรัฐบาล และการลงทุนในประเทศลดลง
กล่าวอีกนัยหนึ่ง วินัยทางการคลัง คือการที่รัฐสามารถรักษาดุลยภาพระหว่างรายได้กับรายจ่ายหรือ ดุลการคลังเอาไว้ได้ ซึ่งจะทำให้รัฐมีเสถียรภาพทางการคลัง มีความน่าเชื่อถือทั้งทางกลไกและกระบวนการทางการคลัง โดยจะต้องประกอบไปด้วยในด้านรายได้ รายจ่าย และการเงินการบัญชี โดยการดำเนินการดังกล่าวจะต้องเป็นไปด้วยความรับผิดชอบ โปร่งใส และตรวจสอบได้ ซึ่งเป็นหลักการที่สำคัญและเป็นที่ยอมรับทั่วไป ประกอบด้วยหลักสำคัญ 3 ด้าน ดังนี้1) ด้านรายได้
- มีระบบการประมาณการร้ายได้และการจัดเก็บที่น่าเชื่อถือ
- ตัวเลขที่ประมาณการและตัวเลขจริงต้องใกล้เคียงกัน
- มีวิธีการและกระบวนการในการจัดเก็บรายได้ที่มีประสิทธิภาพ2) ด้านรายจ่าย
- ควบคุมการใช้จ่ายในกรอบของงบประมาณที่กำหนด
- มีการประมาณการรายจ่ายครอบคลุมทุกประเภท
- ต้องน่าเชื่อถือ
- การบริหาร การเบิกจ่าย การก่อหนี้ผูกพัน ต้องสอดคล้องกัน3) ด้านการเงินการบัญชี
- ดูแลการรับ การจ่ายเงิน การก่อหนี้ผูกพัน
- ต้องมีการปฏิบัติตามระเบียบ กฎเกณฑ์ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
- ป้องกันและควบคุมไม่ให้เกิดการคอรัปชั่น
- ต้องดำเนินการด้วยความรับผิดชอบ โปร่งใส และตรวจสอบได้
4. ระบบการตรวจสอบองค์กรอิสระสำคัญอย่างไร
องค์กรอิสระ เป็นกลไกตามรัฐธรรมนูญมีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐเพื่อรักษาประโยชน์ของแผ่นดิน คุ้มครองสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคล หรือประชาชนและเพื่อให้การปฏิรูปทางการเมืองเป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ โดยมีหน่วยธุรการที่เป็นอิสระในการบริหารงานบุคคล งบประมาณและการดำเนินการอื่น
องค์กรอิสระ หมายถึง องค์กรของรัฐที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการเกี่ยวกับภารกิจของรัฐตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและกฎหมาย โดยเป็นองค์กรของรัฐที่มีสถานะพิเศษ ซึ่งได้รับหลักประกันให้สามารถปฏิบัติภารกิจหน้าที่ได้โดยอิสระ ปลอดพ้นจากการแทรกแซงขององค์กรของรัฐอื่นหรือสถาบันการเมืองอื่น รวมทั้งอยู่เหนือกระแสและการกดดันใดๆ ที่เกิดขึ้นภายในสังคมในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง
ในระบบบริหารการคลังสาธารณะที่มีความโปร่งใสและมีความยั่งยืน นั้น จำเป็นต้องมีองค์กรอิสระทำหน้าที่ในการตรวจสอบและรับรองความถูกต้องและน่าเชื่อถือได้ของระบบข้อมูลและรายงานทางการเงินขององค์กรภาครัฐ และเพื่อป้องกันปัญญาด้านการเงินการคลังขององค์การรัฐที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่ ปัญหาการรั่วไหลของการใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดิน ปัญหาการทำงบประมาณแบบขาดดุล (มาอย่างต่อเนื่องหลายปีในอดีต) ปัญหาการใช้จ่ายงบกลางแบบหมกเม็ดและสุรุ่ยสุร่าย หรือเมื่อเร็วๆ นี้ได้แก่ ปัญหาการขาดสภาพคล่องอันเนื่องมาจากการมีเงินคงคลังที่ร่อยหรอ เป็นต้น โดยองค์กรตรวจสอบอิสระดังกล่าว จะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้1) จะต้องได้รับการแต่งตั้งจากสถาบันนิติบัญญัติ เพื่อให้ทำหน้าที่ตรวจสอบและรับรองความถูกต้องและความน่าเชื่อถือได้ของระบบข้อมูลทางการเงินขององค์กรภาครัฐ และจัดทำรายงานผลการตรวจสอบต่อสถาบันนิติบัญญัติตามกำหนดเวลา ซึ่งต้องมีความเป็นอิสระ ทั้งในแง่ของการบังคับบัญชาสั่งการ การายงาน งบประมาณ และอัตรากำลัง
2) การตรวจสอบดังกล่าว จะต้องครอบคลุมประเด็นนโยบายการคลัง งบประมาณ สมมุติฐานการประมาณการ วัตถุประสงค์ และเป้าหมายในระดับมหภาค ด้านรายได้ รายรับ และรายจ่ายในระดับมหภาค และระดับแผนงาน งาน กิจกรรม และหน่วยงาน
5. ยกตัวอย่างกรณีศึกษาอื่นที่ท่านประสบ แล้วเขียนกรณีศึกษา ประกอบด้วย ข้อเท็จจริง และสรุปความเห็น โดยอิงหลักบรรทัดฐานทางการคลัง มาด้วย เลียนกรณีศึกษาในเอกสารคำบรรยาย
ขอยกตัวอย่าง กรณีศึกษา “โครงการพัฒนาชุดข้อมูลพื้นฐานเชิงพื้นที่ด้านเส้นทางคมนาคม (Transport Fundamental Geographic Data Set : Transport FGDS)”
ข้อเท็จจิรง
หน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม ได้เริ่มนำเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ (GIS) เข้ามาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานและการให้บริการประชาชนอย่างแพร่หลาย โดยมีการจัดทำข้อมูลเชิงพื้นที่ขึ้นใช้งานตามภารกิจของแต่ละหน่วยงาน ซึ่งมีข้อมูลส่วนหนึ่งที่แต่ละหน่วยงานงานจัดทำขึ้น มีความซ้ำซ้อนกัน อาทิ เขตการปกครอง เส้นทางและสิ่งอำนวยความสะดวกด้านคมนาคม ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ รวมทั้งข้อมูลสถานที่สำคัญ นอกจากนั้น ในการจัดทำข้อมูลเชิงพื้นที่ดังกล่าว แต่ละหน่วยงานจัดทำขึ้นตามความต้องการของแต่ละหน่วยงานโดยไม่มีมาตรฐานกลางร่วมกันในการจัดทำ ทำให้เกิดปัญหาในการใช้งานข้อมูลร่วมกันระหว่างหน่วยงาน
จากปัญหาดังกล่าวข้างต้น ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม (ศูนย์ไอซีที) พิจารณาแล้วเห็นควรบูรณาการข้อมูลเชิงพื้นที่ด้านเส้นทางคมนาคมกลางขึ้น เพื่อลดความซ้ำซ้อน ประหยัดทั้งระยะเวลาและงบประมาณในการจัดพัฒนาในภาพรวมของกระทรวงคมนาคม และในภาพรวมของประเทศ โดยหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐและภาคการศึกษาของรัฐภายนอกสามารถนำชุดข้อมูลดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ร่วมกันได้อย่างกว้างขวาง จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาชุดข้อมูล Transport FGDS ขึ้นในปีงบประมาณ 2549 ประกอบด้วยการจัดหาและพัฒนา 1) ชั้นข้อมูลแผนที่พื้นฐานเชิงพื้นที่ (Base map) จำนวน 10 ชั้นข้อมูล ได้แก่ เขตการปกครอง เส้นทางถนน ทางแยก ทางด่วน/ทางยกระดับ เส้นทางรถไฟ เส้นทางรถไฟฟ้า เส้นทางน้ำ จุดที่ตั้งสถานีขนส่งสินค้าและผู้โดยสาร จุดที่ตั้งสถานที่สำคัญ และเขตรับผิดชอบของตำรวจนครบาล และ 2) ข้อมูลแผนที่เฉพาะเชิงพื้นที่ จำนวน 4 ชั้นข้อมูล ได้แก่ เส้นทางหลวงแผ่นดินที่เชื่อมโยงกับเส้นทางหลวงชนบท ตอนควบคุมเส้นทางหลวง จุดที่ตั้งหลักกิโลเมตรบนทางหลวง และเส้นทางบริเวณที่ห้ามเลี้ยวรถ (Turn table)
กระทรวงคมนาคม ได้พิจารณาและอนุมัติให้ผ่านงบประมาณเพื่อดำเนินการโครงการพัฒนาชุดข้อมูลพื้นฐานเชิงพื้นที่ด้านเส้นทางคมนาคม ของกระทรวงคมนาคม ซึ่งเสนอโดยศูนย์ไอซีที โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อบูรณาการข้อมูลพื้นฐานเชิงพื้นที่ด้านโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการขนส่งของกระทรวงคมนาคมที่กระจัดกระจายอยู่ตามหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม ให้รวมเป็นชุดข้อมูลพื้นฐานเชิงพื้นที่กลางด้านคมนาคมของกระทรวงคมนาคม และเพื่อให้ทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐอื่นภายนอก ตลอดจนประชาชนทั่วไปสามารถนำชุดข้อมูลดังกล่าวไปใช้ในการปฏิบัติงานตามภารกิจของแต่ละหน่วยงานได้อย่างเป็นเอกภาพ และเป็นไปในทิศทางและแนวทางเดียวกันทั้งองค์กร
สำนักงบประมาณ สภาผู้แทนราษฎร และคณะกรรมาธิการงบประมาณ ได้ให้ความเห็นชอบและอนุมัติให้สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคมดำเนินโครงการดังกล่าวในปีงบประมาณ 2549
สรุปความเห็น
การพิจารณาบรรทัดฐานทางการคลัง จะพิจารณาจากบรรทัดฐานทั้ง 3 ระดับ ดังนี้1. ในระดับสูงหรือระดับธรรมาภิบาล ซึ่งเป็นการพิจารณาด้วยฐานของสิ่งที่รัฐทำนั้นว่าเป็นไปเพื่อประโยชน์ของประชาชนหรือไม่ ประชาชนหรือตัวแทน ของประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดหรือไม่ ซึ่งพบว่ามีหลักการตามหลัก ธรรมาภิบาล ดังนี้
1.1) ในด้านการตอบสนองความต้องการของหน่วยงานภาครัฐ ทั้งหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมและหน่วยงานภาครัฐอื่นภายนอก ตลอดจนภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป กล่าวคือ โครงการดังกล่าวจัดทำชุดข้อมูลพื้นฐานเชิงพื้นที่กลางด้านคมนาคมขึ้นในลักษณะการบูรณาการข้อมูลจากแหล่งต่างๆ โดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายกับหน่วยงานภาครัฐหรือประชาชนกลุ่มใด แต่ยังเป็นประโยชน์ทั้งกับภาครัฐในการนำไปใช้ปฏิบัติงานตามภารกิจของแต่ละหน่วยงาน และเป็นประโยชน์ต่อประชาชนในด้านการค้นหาสถานที่และเส้นทางที่เหมาะสมในการเดินทาง
1.2) ในด้านของรัฐในการจัดทำโครงการ เป็นโครงการที่พิจารณากลั่นกรองทั้งจากคณะทำงานด้าน GIS ของกระทรวงคมนาคม คณะกรรมการ CIO ของกระทรวงคมนาคม ซึ่งประกอบด้วยผู้บริหารระดับสูงด้านไอซีทีของทุกหน่วยงานในสังกัด และผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงคมนาคม รวมทั้ง ผ่านการพิจารณาความเหมาะสมจากสำนักงบประมาณ สภาผู้แทนราษฎร และคณะกรรมาธิการงบประมาณ โดยมีแผนการดำเนินงานที่ชัดเจน และมีศูนย์ไอซีที รับผิดชอบดำเนินโครงการ2. ในระดับกลางหรือวินัยทางการคลัง ซึ่งต้องคำนึงถึงดุลยภาพทางการคลังระหว่างรายได้และรายจ่าย รวมทั้งจะต้องประกอบไปด้วยความรับผิดชอบ โปร่งใส ตรวจสอบได้ พบว่า
2.1) ในเรื่องหลักการรักษาดุลยภาพทางการคลัง พบว่ามีการจัดทำโครงการโดยใช้งบประมาณที่มีอยู่และได้รับอนุมัติอย่างคุ้มค่า ซึ่งใช้งบประมาณไม่มากนัก และได้ผลคุ้มค่ามาก กล่าวคือ รัฐไม่เกิดการสูญเสียด้านงบประมาณและระยะเวลาในการพัฒนาข้อมูลเชิงที่มีความซ้ำซ้อนในแต่ละหน่วยงาน เป็นต้น
2.2) ในเรื่องหลักความรับผิดชอบ โครงการดังกล่าวมีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบกันอย่างชัดเจน เช่น ศูนย์ไอซีที มีหน้าที่บริหารจัดการและควบคุมการบูรณาการข้อมูลเชิงพื้นที่ตามโครงการให้มีความครบถ้วน ถูกต้อง และแล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนดไว้อย่างเหมาะสม ส่วนหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม รับผิดชอบในการจัดส่งข้อมูลเชิงพื้นที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงานให้ศูนย์ไอซีที เพื่อบูรณาการร่วมกัน นอกจากนั้น ศูนย์ไอซีที ยังได้ประสานงานขออนุเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่จากหน่วยงานภาครัฐอื่นภายนอก เพื่อนำข้อมูลมาบูรณาการร่วมกันให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
2.3) ในเรื่องหลักความโปร่งใส โครงการดังกล่าวสามารถตรวจสอบได้ โดยได้มีการรายงานผลการดำเนินการให้ผู้บริหารทราบเป็นระยะ อีกทั้งมีตัวชี้วัดผลโครงการให้ตรวจสอบด้วยว่าโครงการดังกล่าวดำเนินการไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลหรือไม่ เพียงใด
3) ในระดับปฏิบัติการบรรทัดฐานทางการคลังว่าด้วยหน้าที่และรายจ่ายของรัฐ พบว่าโครงการดังกล่าวปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ทั้งในเรื่องขั้นตอน วิธีการ งบประมาณ โดยบรรลุวัตถุประสงค์เป็นอย่างมาก ทำให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม หน่วยงานภาครัฐและภาคการศึกษาอื่นภายนอกทั่วประเทศ ได้นำชุดข้อมูลดังกล่าวไปใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างคุ้มค่า เหมาะสม และเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง รวมทั้ง ประชาชนทั่วไป ได้ใช้ประโยชน์จากบริการที่พัฒนาขึ้นจากชุดข้อมูลดังกล่าวได้อย่างกว้างขวางผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
6. หลักการของ Wicksell ในเรื่องการบริหารงานคลังของรัฐเป็นอย่างไร อธิบาย ท่านเห็นด้วยหรือไม่ ทำได้หรือไม่ในกรณีของประเทศไทย เพราะเหตุใด จะแก้ไขได้อย่างไร
Knut Wicksell ได้แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของสำนึกคิดทางเลือกสาธารณะที่มีต่อการบริหารงานคลังและการงบประมาณภาครัฐที่เสนอให้รัฐมุ่งคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดที่ประชาชนจะได้รับจากการดำเนินกิจกรรมต่างๆ มากกว่าเพื่อประโยชน์ของรัฐเอง ทั้งนี้ Wicksell มองว่า ปัจเจกบุคคลเป็นผู้ที่มีเหตุผล เขาควรเป็นผู้กำหนดว่ารัฐบาลควรทำหน้าที่อะไรภายใต้จำนวนเงินที่ปัจเจกบุคคลเหล่านั้นยินดีที่จะเสียภาษีให้แก่รัฐเพื่อให้สามารถดำเนินกิจกรรมเหล่านั้นได้ และรัฐไม่ควรจะดำเนินการใดๆ ที่พลเมืองส่วนใหญ่ไม่สนับสนุน หรือไม่ยินดีจ่ายภาษีสนับสนุนรัฐบาลเพื่อการดำเนินกิจกรรมนั้น ๆ
ดังนั้น เมื่อตั้งต้นด้วยแนวคิดที่ว่าพลเมืองเป็นผู้ที่มีความสำคัญสูงสุดในระบบการเมืองการปกครองในยุคปัจจุบัน ระบบงบประมาณภาครัฐในแนวใหม่จึงควรมุ่งต่อการตอบสนองความต้องการของประชาชนเหล่านั้น โดยการพัฒนากลไกการจัดสรรงบประมาณที่สามารถนำไปสู่การดำเนินงานของภาครัฐที่สอดคล้องกับความต้องการของพลเมือง มีกลไกการดำเนินงานที่สามารถนำไปสู่การผลิตหรือการส่งมอบบริการที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพและโปร่งใส ตรวจสอบได้ และมีระบบข้อมูลรายงานผลการผลิตและต้นทุนการดำเนินงานที่ถูกต้อง นอกจากนี้ แนวคิดดังกล่าวยังนำไปสู่การออกแบบระบบและวิธีการบริหารจัดการแบบใหม่เพื่อเป็นหลักประกันว่าผลประโยชน์ของพลเมืองจะได้รับการคุ้มครอง เช่น การใช้การบริหารภายใต้สัญญา (Contractual management) การแยกหน่วยงานกำหนดนโยบายออกจากหน่วยงานที่นำนโยบายไปปฏิบัติ การบริหารงานภายใต้ระบบกิจกรรม (Activity-based management) ฯลฯ เป็นต้น ทั้งนี้ก็เพื่อทำให้งบประมาณภาครัฐเป็นเรื่องของพลเมืองนั่นเอง
Wicksell เป็นนักคิดชาวอิตาลีมีหลักการเกี่ยวกับหน้าที่และรายจ่ายของรัฐว่าจะต้องมากจากการออกเสียงลงคะแนนของสมาชิดในสังคม ซึ่งเป็นความต้องการและเจตจำนงร่วมกันของสังคม โดยมีการโหวต 2 ครั้ง ซึ่งในครั้งแรกเป็นการเลือกตัวแทนในสังคม โดยมุ่งหวังว่าจะได้คนดีเข้าไปเป็นผู้แทนของตน และในครั้งที่สองเป็นการโหวตว่าสังคมต้องการอะไร โดยยินดีจ่ายเพื่อกิจกรรมนั้น ๆ มุ่งคํานึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของสังคมมากกว่าของรัฐเอง รัฐบาลควรทำหน้าที่ภายใต้จํานวนเงินที่สังคมยินดีที่จะเสียภาษีให้แก่รัฐเพื่อให้สามารถดําเนินกิจกรรมเหล่านั้นได้ และรัฐไม่ควรจะดําเนินการใดๆ ที่พลเมืองส่วนใหญ่ไม่สนับสนุน หรือไม่ยินดีจ่ายภาษีสนับสนุนรัฐบาลเพื่อการดําเนินกิจกรรมนั้น ๆ
ข้าพเจ้าเห็นด้วยตามหลักการดังกล่าว เนื่องจากเป็นแสดงออกถึงความเป็นประชาธิปไตยในสังคมนั้น ๆ อีกทั้งเป็นการเลือกคนดีให้ทำหน้าที่แทนคนในสังคม
แต่ในกรณีของประเทศไทยข้าพเจ้าคิดว่ายังไม่สามารถนำแนวคิดดังกล่าวมาใช้อย่างเต็มรูปแบบได้ เนื่องจากหลักการดังกล่าวไม่เหมาะกับชุมชนขนาดใหญ่ ที่ประชากรที่มีความหลากหลายทั้งสถานะ ความเป็นอยู่ เชื้อชาติ ศาสนา และลักษณะของภูมิประเทศที่แตกต่างกัน
หลักการดังกล่าวสามารถแก้ไขได้ กล่าวคือ จะต้องนำไปใช้ในสังคมที่เล็กกว่าระดับประเทศ หรือหากใช้หลักการดังกล่าวในระดับประเทศจะต้องแบ่งกิจกรรมให้เหมาะสมกับสังคมนั้น ๆ
7. รัฐจะสามารถสร้างความเป็นธรรมให้เกิดแก่สังคมได้อย่างไร อธิบาย
รัฐสามารถสร้างความเป็นธรรมให้เกิดแก่สังคมได้ ดังนี้1) รัฐจะต้องกระจายรายได้ที่เหมาะสมให้กับทุกส่วนภูมิภาคของประเทศ เพื่อให้ประชาชนมีความสามารถในการเป็นเจ้าของสินค้าและบริโภคได้
2) รัฐต้องสร้างหลักประกันให้เกิดความเท่าเทียมกันของประชาชน
3) ต้องเข้าไปดูแลระบบตลาดให้สามารถทำงานได้ แต่ไม่ใช่การเข้าไปผลิตแข่งขันกับเอกชนในระบบตลาด โดยระบบตลาดที่รัฐเข้าไปดูแล เพื่อให้ตลาดสามารถดำเนินการให้ใกล้เคียงกับการเป็นตลาดแข่งขันสมบูรณ์มากที่สุด เพื่อส่งผลให้ประชาชนมีความอยู่ดีกินดีทางเศรษฐกิจ
4) ต้องกำจัดความยากจน ซึ่งเป็นฐานะในเรื่องจำเป็นทั้งในด้านจริยธรรมและสิ่งแวดล้อม
5) กำหนดกฎเกณฑ์ในการดำเนินการให้อยู่ภายในกรอบ ไม่เกิดความผูกขาด รวมทั้งไม่ให้เกิดการกำหนดราคาที่ไม่เป็นธรรม
6) ให้การรับรองสิทธิเสรีภาพในความเท่าเทียมกัน ทั้งทางเพศอันเป็นพื้นฐานเบื้องต้นของการพัฒนาอย่างยั่งยืน และทำให้เกิดการเข้าถึงทางเศรษฐกิจ ดำเนินการทางการสาธารณะสุขและทางการศึกษาอย่าง
7) คุ้มครองสิทธิทุกคนโดยปราศจากการแบ่งแยก ทั้งสิทธิทางสภาพแวดล้อมและสังคม ศักดิ์ศรี สุขภาพ8) แทรกแซง โดยเครื่องมือในการแทรกแซงซึ่งขึ้นอยู่กับสถานการณ์และความเหมาะสม ทั้งมาตรการทางกฎหมาย มาตรการทางการคลัง มาตรการทางการเงิน เป็นต้น
9) ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจเพื่อให้เกิดความเติบโตในระดับที่เหมาะสม และมีดุลยภาพ
8. การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจด้วยการบริหารการคลังของรัฐทำได้อย่างไร ปัญหาและอุปสรรคคืออย่างไร ท่านมีความเห็นเพื่อปรับปรุงอย่างไร อธิบาย
การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจด้วยการบริหารทางการคลังของรัฐ ทำได้โดยการเข้าไปรักษาระดับของเศรษฐกิจไม่ให้เกิดความผันผวนมากกว่าที่ควรจะเป็น กล่าวคือเศรษฐกิจมีทั้งวงจรการขึ้นลง กล่าวอีกนัยหนึ่งคือการเข้าไปแทรกแซงการทำงานของระบบตลาดเสรีโดยรัฐบาล ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวรัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก แต่หากปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติอาจก่อให้เกิดความเสียหายได้ เช่น การใช้นโยบายการเงินการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เป็นกลยุทธ์ที่จำเป็นสำหรับการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ อันประกอบไปด้วย การที่ระบบเศรษฐกิจมีการจ้างงานเต็มที่ มีอัตราการขยายตัวที่สูง และมีเสถียรภาพของระดับราคา เพื่อเป้าหมายสำคัญทั้งสามนี้ รัฐบาลไม่สามารถให้ระบบตลาดเสรีทำงานเองได้
ปัญหาและอุปสรรคในการแทรกแซง กล่าวคือ ประชาชนอาจเห็นว่าการแทรกแซงเป็นสิ่งที่รัฐทำเพื่อผลประโยชน์ ดังนั้นต้องแทรกแซงโดยถูกกฎหมาย กล่าวคือ1) การแทรกแซงโดยคำร้องขอจากรัฐบาลที่ชอบด้วยกฎหมาย
2) การแทรกแซงโดยอาศัยสิทธิจากสนธิสัญญา
3) การแทรกแซงเพื่อพิทักษ์คนชาติ
4) การแทรกแซงเพื่อมนุษยธรรม
ทั้งนี้ ปัญหาดังกล่าว มีวิธีการแก้ไข คือ ต้องเป็นการแทรกแซงโดยการใช้สนธิสัญญาและคำร้องขออย่างเป็นทางการจากรัฐบาลที่ชอบด้วยกฎหมาย นอกจากนี้การใช้เครื่องมือนโยบายก็ต้องเปลี่ยนแปลงไปด้วย โดยหันมาใช้นโยบายแบบผสมผสาน ระหว่างนโยบายการเงิน และนโยบายการคลังมากขึ้น
9. อธิบายหลักการหารายได้ของรัฐ เพื่อการบริหารการคลัง มีกี่วิธี สำคัญอย่างไร
รายได้ของรัฐบาล คือเงินภาษีอากรที่รัฐบาลเก็บจากราษฎร กำไรจากรัฐวิสาหกิจ ค่าธรรมเนียม และรายได้เบ็ดเตล็ดอื่น ๆ รวมเป็นรายได้ของรัฐบาล โดยมีหลักการหารายได้ของรัฐ ดังนี้1) รายได้จากการเก็บภาษีอากร (Taxation and Revenue) เป็นภาษีที่บังคับเรียกเก็บจากประชาชนทุกคนภายในประเทศและเป็นรายได้ที่สูงสุดของรายได้ของรัฐ2) รายได้จากการขายสินค้าและบริการ (Sale of the paper and services) ได้แก่ สลากกินแบ่งรัฐบาล พันธบัตร แสตมป์ อากร กำไรจากรัฐวิสาหกิจ ค่าธรรมเนียมต่างๆ เป็นต้น3) รายได้จากการกู้เงิน (Borrowing) เป็นเงินที่รัฐบาลจำเป็นต้องกู้มาใช้จ่ายในกิจการบางประเภทที่ให้ผลประโยชน์ในระยะยาว4) รายได้จากการพิมพ์ธนบัตร (Printing of paper money) เป็นการจัดพิมพ์ธนบัตรเพื่อหารายได้เหมือนการกู้5) รายได้จากการช่วยเหลือของรัฐบาลกลางหรือรัฐบาลต่างประเทศ
โดยหลักดังกล่าวมีความสำคัญกับรัฐ ในการหารายได้ให้กับประเทศเพื่อบริหารงานการคลัง เพื่อที่จะนำรายได้มาใช้จ่ายในการบริหารและพัฒนาประเทศชาติต่อไป
10. หลักการเก็บภาษีที่ดีเป็นอย่างไร อธิบาย
หลักการเก็บภาษีที่ดี ประกอบด้วย1) หลักการทำรายได้ คือ รัฐควรเก็บภาษีเพื่อหารายได้ โดยไม่ควรเก็บภาษีเล็ก ๆ น้อยๆ ควรเก็บประเภทที่ทำรายได้ได้ดี เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีการค้า (Vat) ภาษีทรัพย์สิน ภาษีสรรพสามิต เป็นต้น2) หลักความยุติธรรมหรือความเป็นธรรม คือคนที่มีความสารถมากในการเสียภาษีมาก ก็ต้องเสียภาษีมาก คนที่มีความสามารถน้อยน้อย ก็เสียน้อยหรือไม่ต้องเสีย รัฐควรต้องแจกแจงออกมาให้ชัดเจน
3) หลักความแน่นอน คือผู้เสียภาษีอากรทุกคนควรได้รับเกี่ยวกับเวลาของการชำระภาษี วิธีการชำระภาษี จำนวนภาษีที่ต้องชำระ และสถานที่ชำระภาษี
4) หลักความเป็นกลาง เช่นในยามภาวะเศรษฐกิจรุ่งเรือง รายได้ด้านภาษีอากรก็ควรจะเพิ่มขึ้นโดยอัตโนมัติ และในยามภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ก็ควรจะต้องลดลงเหมือนกัน
5) หลักประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษี คือ การเก็บภาษีมีต้นทุนน้อยสุด จัดเก็บภาษีได้ตามเป้าหมายและสม่ำเสมอ สามารถประมาณการล่วงหน้าได้แน่นอน ผู้เสียภาษีสามารถเสียภาษีได้ง่าย ประเมินภาษีได้อย่างชัดเจน การคำนึงถึงเรื่องการลดภาระ และการอำนวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษี โดยไม่ผลักดันภาระค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดเก็บให้แก่ผู้เสียภาษีมากเกินไป
11. การบริหารภาษีตามหลัก Benefit principle เป็นอย่างไร อธิบายและยกตัวอย่าง
การบริหารภาษีตามหลัก Benefit principle เป็นหลักการเก็บภาษีโดยมีเงื่อนไขเป็นผลประโยชน์ที่ได้รับ เป็นภาษีที่เรียกเก็บตามกฎหมายเฉพาะจากคนบางกลุ่มที่เกี่ยวข้องโดยตรงในแง่ผู้รับผลประโยชน์หรือเป็นผู้ทำให้เกิดภาระขึ้น) เช่น การเก็บภาษีบำบัดน้ำเสียที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เก็บตามหลักการประโยชน์ที่ได้รับ (Benefit principle) เนื่องจากรัฐต้องใช้งบประมาณปีหนึ่งๆ จำนวนมาก เพื่อก่อสร้างและซ่อมแซมระบบนิเวศน์น้ำ จึงต้องเก็บภาษี
12. หลักการเก็บภาษีที่ต้องอาศัยการยอมรับ หรือ Willingness เป็นอย่างไร อธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
หลักการเก็บภาษีที่ต้องอาศัยการยอมรับหรือ Willingness เป็นกลไกที่จะให้ประชาชนได้แสดงออกซึ่งการยอมรับหรือเห็นชอบที่รัฐบาลจะเก็บภาษีจากใคร เท่าใด โดยใช้กระบวนการประชาธิปไตย ในหลักการพื้นฐานคือ รัฐบาลให้รัฐสภาซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่ในการออกกฎหมายเพื่อกำหนดหลักการว่าด้วยการเก็บภาษี สถาบันนี้เป็นสถาบันประชาชนซึ่งมีผู้แทนประกอบด้วย สส. และ สว. โดยมีรัฐบาลเป็นผู้บริหารจัดการ แล้วให้สภาเห็นชอบและถือว่าประชาชนเห็นชอบ จากนั้นจึงดำเนินการเก็บตามที่ได้รับอนุมัติมา หากการเก็บภาษีไม่ได้รับการยอมรับจากประชาชน ทำให้เกิดเหตุการณ์ (Tax revolt) ได้ ยกตัวอย่างเช่น การเก็บภาษีตามประมวลกฎหมายรัษฏากร เป็นต้น
13. การต่อต้านการเสียภาษี (Tax revolt) เคยเกิดขึ้นหรือไม่ เพราะเหตุใด อธิบาย ในกรณีประเทศไทย ยกตัวอย่างเรื่องใดจะทำให้เกิดความไม่พอใจจนถึงกับเกิดการต่อต้านการเสียภาษี อภิปราย
การต่อต้านการเสียภาษี (Tax revolt) เคยเกิดขึ้นด้วยสาเหตุดังนี้1) ความไม่พอใจที่คนกลุ่มน้อยเป็นผู้เสียภาษีรายใหญ่ โดยเห็นว่ารัฐนำเงินภาษีที่เก็บจากพวกตนไปประกอบกิจกรรมสาธารณะที่พวกเขาเหล่านั้นเห็นว่าไม่เป็นประโยชน์มากขึ้นเรื่อย ๆ
2) รัฐบาลบริหารรายจ่ายผิดพลาด เช่น การบริหารหนี้มากเกินไป ก่อหนี้สาธารณะมากเกินกว่าที่จะชำระได้ รัฐจึงพยายามเก็บภาษีมากขึ้นท่ามกลางความไม่พอใจของประชาชน
3) รัฐบาลบริหารรายได้ผิดพลาด เช่น การประเมินภาษี การออกกฎหมายเปลี่ยนแปลงวิธีการประเมินภาษีอย่างรวดเร็ว
โดยในประเทศไทยเคยมีเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น กล่าวคือ กรณีการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (vat) เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจ รัฐขาดการประชาสัมพันธ์ที่ดีเพราะประชาชนเห็นว่าเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้ว ทำไมต้องเสียภาษีการค้าอีก โดยจัดเก็บภาษีดังกล่าวร้อยละ 10 เป็นเหตุให้ประชาชนต่อต้านไม่ยอมจ่ายภาษี ต่อมาสามารถทำความเข้าใจได้ จึงปรับเป็นร้อยละ 7 ของรายได้
14. หลักการกำหนดราคาบริการสาธารณะที่เป็นธรรม ควรจะมีหลักการอย่างไร ยกตัวอย่างแนวคิดในทางเศรษฐศาสตร์ที่ท่านทราบ พร้อมทั้งเขียนรูปให้ดูเป็นตัวอย่างด้วย
หลักการกำหนดราคาบริการสาธารณะที่เป็นธรรม มีพื้นฐานโดยรัฐบาลจะหารายได้มาใช้จ่ายในการจัดบริการสาธารณะ มีการเก็บค่าบริการได้ ต้องเป็นบริการที่มีทางเลือก ไม่มีการผูกขาดการผลิตบริการ อีกทั้งไม่ส่งเสริมหรือสร้างเงื่อนไขให้เกิดการผูกขาดการผลิตบริการ เสมือนหนึ่งเป็นบริการที่สามารถจัดได้ในระบบตลาดทั่วไปเป็น Private goods หรือ Private service คือ1) เป็นบริการที่ผู้บริโภคเป็นปัจเจกชนเป็นบุคคล เป็นครัวเรือน เป็นผู้รับผลประโยชน์โดยตรง แต่รัฐสามารถกีดกันไม่ให้คนที่ไม่จ่ายหรือไม่ต้องการเข้ามาบริโภคได้ เช่น มีที่กั้นไม่ให้ผ่านถ้าไม่จ่ายเงิน
2) เป็นบริการที่คนสามารถเลือกใช้บริการหรือไม่ก็ได้ แต่มีข้อยกเว้นกรณีของบริการที่มีผลต่อความปลอดภัยต่อความสงบเรียบร้อย ความมั่นคง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แต่รัฐอาจให้มีระบบสัมปทานได้
3) การตั้งราคา รัฐบาลจะต้องตั้งราคาโดยใช้เกณฑ์ราคาในระบบตลาด คือคิดที่ Marginal cost ซึ่งประกอบด้วยราคาต้นทุนต่อหน่วย (Fixed cost) กับต้นทุนส่วนที่เพิ่มขึ้นต่อหน่วย4) การนำเอานโยบายกระจายรายได้ (Redistribution) มาใช้กับบริการทางเลือก เป็นการกำหนดราคาโดยมีเป้าหมายกระจายรายได้ คือการเพิ่มอำนาจการซื้อให้แก่ผู้ที่มีรายได้น้อย โดยการลดบริการ กำหนดราคาที่ต่ำกว่าปกติ
แนวคิดในทางเศรษฐศาสตร์
อุปสงค์ คือ จำนวนสินค้าและบริการที่ผู้ซื้อต้องการซื้อ ณ ระดับราคาต่าง ๆหรือ ณ ระดับรายได้ต่าง ๆ หรือ ณ ระดับราคาสินค้าอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยปกติจะให้ความสำคัญกับเรื่องระดับราคามากที่สุด และเมื่อราคาสินค้าเปลี่ยนแปลงไป จำนวนซื้อสินค้าและบริการชนิดนั้นก็จะเปลี่ยนแปลงในทิศทางตรงกันข้ามเสมอ ที่เป็นเช่นนี้เพราะผลของราคาซึ่งประกอบด้วยผลของการทดแทนกัน และผลของรายได้
อุปทาน คือ จำนวนสินค้าและบริการที่ผู้ขายต้องการขาย ณ ระดับราคาต่าง ๆ ซึ่งจำนวนขายจะเปลี่ยนแปลงในทางเดียวกันกับราคาที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นเส้นอุปทานซึ่งเป็นเส้นที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างราคาและจำนวนขาย จึงเป็นเส้นทอดขึ้นจากซ้ายไปขวา เส้นอุปทานสามารถเปลี่ยนแปลงไปทางซ้ายมือหรือขวามือของเส้นเดิมได้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดอุปทานอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ราคา ว่าจะเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะที่จะทำให้จำนวนขายมากขึ้นหรือน้อยลง
ราคาดุลยภาพ เป็นราคาที่ทำให้จำนวนเสนอซื้อ (อุปสงค์) เท่ากับจำนวนเสนอขาย (อุปทาน) ราคาใด ๆ ที่ต่ำกว่าราคาดุลยภาพจะทำให้เกิดอุปสงค์ส่วนเกิน และราคาใด ๆ ที่สูงกว่าราคาดุลยภาพจะทำให้เกิดอุปทานส่วนเกิน ราคาดังกล่าว จะปรับเข้าสู่ราคาดุลยภาพและราคาจะไม่เปลี่ยนแปลง นอกจากจะมีการเคลื่อนย้ายเส้นอุปสงค์ และ/หรืออุปทาน ซึ่งอาจทำให้ราคาดุลยภาพใหม่ และ/หรือปริมาณดุลยภาพใหม่สูงขึ้นหรือลดลง
โดยปกติรัฐบาลจะปล่อยให้กลไกราคาทำงานไปตามลำพัง โดยไม่เข้าไปควบคุมราคา ยกเว้นในกรณีที่จำเป็นซึ่งกลไกราคาไม่สามารถปรับตัวได้ทัน มาตรการที่ใช้รัฐบาลจะเข้าแทรกแซงกลไกของราคาในตลาด เพื่อรักษาเสถียรภาพของราคาให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมมี 2 มาตรการ คือ การกำหนดราคาขั้นต่ำ (การประกันราคา) ซึ่งจะกระทำเพื่อยกระดับราคาของสินค้าที่เป็นอยู่ให้สูงขึ้น โดยเฉพาะสินค้ารายการที่สำคัญ เป็นการช่วยเหลือผู้ผลิตหรือผู้ขาย อีกมาตรการก็คือ การกำหนดราคาขั้นสูง เป็นมาตรการที่ใช้กำหนดราคาสินค้าไม่ให้สูงเกินเพดาน จะใช้ในระหว่างเกิดขาดแคลนสินค้า ซึ่งการขาดแคลนสินค้าทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจนผู้บริโภค
นโยบายพยุงราคาหรือการประกันราคา
การพยุงราคาหรือประกันราคามีความหมายคล้ายกัน เพราะถ้าประกันราคาว่าราคาจะเป็นเท่าใดก็เท่ากับรักษาระดับราคา หรือ พยุงราคาไว้ที่ระดับราคานั้น ๆ อาจจะสูงกว่า หรือ ต่ำกว่าตลาดก็ได้ถ้าต่ำกว่ามักจะเรียกว่าราคาประกัน แต่ถ้าพูดถึงราคาพยุงโดยทั่วไปหมายถึง รักษาระดับราคาไว้สูงกว่าราคาตลาด วิธีปฏิบัติจะแตกต่างกันในแต่ละประเทศและแม้ในประเทศเดียวกัน สินค้าแต่ละชนิดที่อยู่ภายใต้โครงการพยุงราคาก็อาจจะมีวิธีปฏิบัติต่างกัน เช่น รัฐบาลอาจจะประกาศหรือ ให้ประกันว่าผู้ผลิตสินค้าชนิดที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับราคาที่กำหนดๆ ไว้โดยรัฐบาลจะซื้อเองหรือ เอาสินค้าใช้หนี้เงินกู้ ปกติราคาที่รับซื้อตามวิธีการดังกล่าว จะสูงกว่าราคาตลาด เพราะถ้าต่ำกว่าหรือเท่ากับราคาตลาดก็ไม่จำเป็นที่จะต้องมีมาตรการเข้าไปรับซื้อ ดังรูป
จากรูป กำหนดให้เส้นอุปสงค์ของสินค้าทางเกษตรอยู่ที่ D อุปทานอยู่ที่ S ระดับราคาที่ปริมาณ เสนอขายเท่ากับปริมาณความต้องการการซื้อสินค้าพอดี จะเท่ากับ OPE แต่ถ้ารัฐบาลกำหนดราคาพยุงไว้ที่ OP1 ซึ่งสูงกว่าราคาตลาด และที่ระดับราคานี้รัฐบาลต้องรับซื้อไว้เป็นจำนวน Q1 , Q2 หน่วย หรือต้องรับผลผลิตแทนเงินกู้ในอัตราที่กำหนดแล้วแต่วิธีปฏิบัติของแต่ละประเทศนั้น ๆ นั้นคือ เพื่อเป็นการรักษาระดับราคาให้อยู่ที่ OP1 รัฐบาลจะต้องเอาสินค้าออกไปจากตลาด เท่ากับ Q1 , Q2 หน่วย โดยที่ปริมาณ Q1 , Q2 จะมีมากหรือน้อยแค่ไหน จะขึ้นอยู่กับระดับราคาที่กำหนดว่าสูงกว่าราคาตลาดมากน้อยเพียงใด และขึ้นอยู่กับความยืดหยุ่นของเส้นอุปสงค์และอุปทานของสินค้าชนิดนั้น ๆ ที่มีความสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของราคา
เรียนเพื่อนๆ
ตอบลบแนวทางที่ให้ไว้ เป็นตัวอย่างเท่านั้น ให้ความเห็นส่วนตัวมากๆหน่อย หรือหาเพิ่มเติมก็จะดีมากๆ
จาก พี่เอ...