วันเสาร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

Theory and concept of Fiscal and Public Finance 2

ทฤษฏีและแนวคิด ด้านการเงินการคลังสาธารณะ(Theory and concept of  Fiscal and Public Finance)เป็นส่วนหนึ่งของการบรรยายหัวข้อ ขอบข่ายและแนวคิดเชิงทฤษฏี รัฐประศาสนศาสตร์
หัวข้อ การบรรยาย
Ø ความหมายของการคลังสาธารณะ
Ø บรรทัดฐานการบริหารงานคลัง
Ø กรณีตัวอย่าง บรรทัดฐานการคลัง
Ø หน้าที่ของรัฐ
Ø  ในการจัดบริการสาธารณะ
Ø  ในการสร้างความเท่าเทียมกันและความเป็นธรรมในสังคม
Ø  ในการสนับสนุนเป้าหมายทางเศรษฐกิจ
Ø หลักการบริหารรายจ่ายภาครัฐ
Ø รายได้ของรัฐบาล
Ø หลักการจัดเก็บภาษีที่ดี
Ø คำถามท้ายหัวข้อการบรรยาย
การคลังสาธารณะ  ความหมาย
                                บทบาทและหน้าที่ของรัฐในการกำหนดรายรับ-รายจ่าย ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการของรัฐเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย  การศึกษา
                                ใช้หลักการทั้ง Positivism Approach และ Normativism Approach
แนวคิด Â การบริหารงานคลัง
Ø  ธรรมาภิบาล
Ø  วินัยทางการคลัง
Ø  ความโปร่งใส
Ø  ความรับผิดชอบต่อสาธารณะ
Ø  ประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากร
ระดับ4แนวคิด
Ø  ระดับสูงสุด   Â ธรรมาภิบาล
Ø   ระดับกลาง   Â วินัยทางการคลัง
Ø   ระดับล่างสุด หรือ ระดับปฏิบัติการ
Ä
หน้าที่และรายจ่ายของรัฐ
ธรรมาภิบาลหรือธรรมรัฐ
v  รัฐที่ดีควรมีลักษณะความเป็น Participatory Democracy มากกว่า Authoritarian
v  การเป็น Good Governance ในทางการคลัง และ ต้องได้รับการยินยอมจากประชาชนผู้เสียภาษี
วินัยทางการคลัง
Ø  การรักษาดุลยภาพระหว่างรายได้กับรายจ่าย หรือดุลทางการคลังเอาไว้ได้
Ø  ความได้รับความเชื่อถือในกระบวนการทางการคลังจากประชาชน ในด้านรายได้ รายจ่าย และการเงินการบัญชี
องค์ประกอบ È
วินัยทางการคลัง
ด้านรายได้
v    มีระบบการประมาณการรายได้และการ    จัดเก็บที่น่าเชื่อถือ
v    ตัวเลขที่ประมาณการและตัวเลขจริงต้อง  ใกล้เคียงกัน
v    มีวิธีการและกระบวนการในการจัดเก็บ  รายได้ที่มีประสิทธิภาพ
ด้านรายจ่าย
Ø  ควบคุมการใช้จ่ายในกรอบของงบประมาณที่กำหนด
Ø  มีการประมาณการรายจ่ายครอบคลุมทุกประเภท
Ø  ต้องน่าเชื่อถือ
Ø  การบริหาร การเบิกจ่าย การก่อหนี้ผูกพัน ต้องสอดคล้องกัน
ด้านการเงินการบัญชี
v  ดูแลการรับ การจ่ายเงิน การก่อหนี้ผูกพัน
v  ต้องมีการปฏิบัติตามระเบียบ กฎเกณฑ์ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
v  ป้องกันและควบคุมไม่ให้เกิดการคอรัปชั่น
v  ต้องดำเนินการด้วยความรับผิดชอบ โปร่งใส และตรวจสอบได้
เกณฑ์มาตรฐานการบริหารการคลังภาครัฐÄ
v  กำหนดบทบาทและความรับผิดชอบขององค์กรภาครัฐให้ชัดเจน
v  การเปิดเผยข้อมูลทางการคลังต่อสาธารณชน
v  การมีระบบงบประมาณแบบเปิด
v  การมีระบบการตรวจสอบโดยองค์กรอิสระจากภาคนอก
บทบาทและความรับผิดชอบขององค์กรภาครัฐ È
v  ขอบเขตความรับผิดชอบในระบบเศรษฐกิจ สังคมต้องชัดเจน
v  สาธารณชนมีความเข้าใจอย่างถูกต้อง
v  ต้องเปิดเผย การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
v  มีระเบียบวิธีการที่ชัดเจน ไม่เลือกปฏิบัติ
v  จัดแบ่งภารกิจภายในภาครัฐบาล  ระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการให้ชัดเจน
v  ต้องมีกลไก และขั้นตอนการประสานงานและการบริหารกิจกรรมทั้งในและนอกระบบงบประมาณ ที่ชัดเจน
v  มีหลักกฎหมายและแบบแผนการเนินงานที่ชัดเจน
v  ยึดหลักกฎหมายที่ครอบคลุม และดำเนินการโดยชอบ
v  จัดเก็บภาษี ค่าธรรมเนียม ค่าบริหารโดยมีกฎหมายรองรับ และเข้าใจง่าย
v  เปิดโอกาสให้พนักงานรัฐใช้ดุลพินิจน้อยที่สุด
v  มีจริยธรรมและวินัยของผู้ปฏิบัติงานในภาครัฐชัดเจน และเผยแพร่ให้สาธารณชนทราบ และเข้าใจทั่วถึง
การเปิดเผยข้อมูลการคลังต่อสาธารณชน È
v  เอกสารงบประมาณประจำปีจะต้องครอบคลุมการดำเนินงานของรัฐในทุกด้าน
v  ต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับรายรับ รายจ่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกระดับ
v  มีงบแสดงฐานะทางการคลังของรัฐในภาพรวม
v  ต้องแสดงข้อมูลทางการคลังของปีที่ผ่านมา 2 ปี และแผนการคลัง รวม 5 ปี
v  ต้องจัดทำรายงานเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางการเงินการคลัง การยกเว้นลดหย่อนภาษี
v  ให้ใช้มาตรการทางการคลังเป็นสิ่งจูงใจ
v  ต้องรายงานแสดงภาระผูกพันหนี้สิน ทรัพย์สินขององค์กรภาครัฐ
v  ต้องจัดทำรายงานและเผยแพร่ข้อมูลภายใต้เงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายกำหนด
v  ต้องแจ้งกำหนดการรายงานให้สาธารณชนทราบล่วงหน้า
การมีระบบงบประมาณแบบเปิด È
กำหนดนโยบายการคลังของรัฐ
v ระบุวัตถุประสงค์และจุดมุ่งหมายระยะยาว
v จำแนกรายจ่ายเป็นภาระผูกพัน กับที่ริเริ่มขึ้น   ใหม่ออกจากกัน
v ระบุประเด็นที่อาจมีการเปลี่ยนแปลง และส่งผล  กระทบต่อระบบเศรษฐกิจการคลังของรัฐบาล ทั้งด้านรายได้และรายจ่าย
ประมาณการรายได้ รายจ่าย ของรัฐ
v  แสดงรายละเอียดที่เพียงพอ เพื่อการวิเคราะห์ ตรวจสอบ   มีความชัดเจนโปร่งใส และเปรียบเทียบกับนานาประเทศได้
v  แสดงแหล่งที่มาของรายได้ และรายรับ (รวมเงินกู้)    รายจ่าย
v  แสดงวงเงินงบประมาณ จำแนกตามวัตถุประสงค์    เป้าหมาย  แผนงานและกิจกรรมตัวชี้วัดผลสำเร็จ
v  แสดงดุลงบประมาณ  ดุลเงินสด และดุลบัญชีเดินสะพัด    แยกจากกัน
v  ระบุวิธีการจัดทำบัญชีเกณฑ์สิทธิ หรือเกณฑ์พึงรับพึง   จ่ายที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล
ควบคุมและกำกับดูแลการใช้จ่ายเงินงบประมาณ
v  ระบบบัญชีต้องครอบคลุม สอดคล้องกับโครงสร้างระบบงบประมาณ
v   การจัดซื้อ จัดจ้าง ต้องดำเนินตามแบบแผนมาตรฐาน
v   ระบบการตรวจสอบภายในที่เชื่อถือได้ และปรับปรุงระบบการตรวจสอบให้มีประสิทธิภาพ
การรายงาน ตรวจสอบและประเมินผล
v  ต้องครอบคลุมและสอดคล้องกับโครงสร้างและระบบงบประมาณ
v  มีการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้นจริงกับเป้าหมายที่กำหนดไว้ในแผนงบประมาณ
v  ต้องมีรายงานให้องค์กรฝ่ายนิติบัญญัติ และสาธารณชนได้ทราบอย่างเป็นระบบ
การมีระบบการตรวจสอบองค์กรอิสระภายนอก Ä
v  ต้องได้รับการแต่งตั้งจากสถาบันนิติบัญญัติ
v   ต้องมีความเป็นอิสระ
v   ต้องครอบคลุมประเด็นนโยบายการคลังงบประมาณ
กรณีศึกษาÈ
บรรทัดฐาน
งบยุงลาย
v  ข้อเท็จจริง
                สภาผู้แทนฯ พิจารณาอนุมัติให้ผ่านงบ ดำเนินการกำจัดยุงลาย เสนอโดยกรมพัฒนาชุมชน ซึ่งไม่มีรายละเอียดประกอบการพิจารณา ทั้งในเรื่องวิธีการดำเนินการ การใช้จ่ายเงิน เพียงตั้งไว้ลอย ๆ ว่า  เพื่อกำจัดยุงลาย
สรุปความเห็น
การพิจารณาบรรทัดฐาน 3 ระดับ
v  ระดับสูง: หลักธรรมาภิบาล ความชอบธรรม
Ø  ประชาชนมิได้เสนอ
Ø  ขาดการพิจารณากลั่นกรอง
v  ระดับกลาง: วินัยทางการคลัง
Ø  ไม่มีดุลยภาพ
Ø  ไม่คำนึงหลักรับผิดชอบ
Ø  ไม่โปร่งใส
v  ระดับล่าง: หลักปฏิบัติถูกต้อง
Ø  หน่วยงานขาดความรอบรู้
Ø  ขาดความเข้าใจในวัสดุที่ใช้
Ø  ขาดมาตรฐานการคลัง
องค์ประกอบ 4บรรทัดฐานทางการคลังว่าด้วยหน้าที่และรายจ่ายของรัฐ
Ø  รายได้  รายจ่าย
Ø  งบประมาณ
Ø  การเงิน การบัญชี
Ø  การรายงาน การตรวจสอบ
Ø  นโยบายการคลัง
Ø  ความสัมพันธ์ทางการคลังระหว่างรัฐบาลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
การปรับปรุงระบบงบประมาณเพื่อให้มีบรรทัดฐานทางการคลัง È
v  จัดตั้งคณะกรรมการ ตัวแทนสาธารณชนเพื่อติดตามการตั้งโครงการต่าง ๆ
v  กำหนดหลักเกณฑ์ หรือ มาตรฐานการพิจารณางบประมาณ
v  แต่งตั้งคณะที่ปรึกษาที่มีความชำนาญเฉพาะด้าน และมีความเป็นกลาง
v  ควบคุมและตรวจสอบความเข้าใจและการปฏิบัติตามบรรทัดฐาน
หน้าที่ของรัฐในการจัดบริการสาธารณะ È
v  ดูแลความปลอดภัย
v  คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม
v  ผลิตสินค้าและบริการเพื่อสนองความต้องการของสมาชิกกลุ่ม
v  เลือกจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้ได้ประโยชน์สูงสุดเพื่อสนองความต้องการของมนุษย์
v  จัดเก็บภาษี
แนวคิดของ Wick Sell È
v  หน้าที่และรายจ่ายของรัฐต้องมาจากการออกเสียงลงคะแนน (vote)
v  การลงคะแนนต้องทำ 2 ครั้ง
v ครั้งแรกเพื่อเลือกตัวแทนของสังคม
v ครั้งที่สอง เพื่อให้มีการจัดกิจกรรม
v  ผลการลงคะแนน ทำให้ทราบความต้องการของสมาชิกในสังคมว่าต้องการอะไร
ข้อสังเกตการทำตามแนวคิดของ  Wick Sell È
Ø  เป็นการดำเนินการตามหลักประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม
Ø  เป็นการใช้วิธีการของประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน
Ø  ไม่ได้คำนึงถึงอำนาจต่อรองของสังคมซึ่งมีไม่เท่ากัน
Ø  ปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายและเวลาเพื่อให้ได้มาซึ่ง Majority Vote จะสูงมาก เหมาะกับชุมชนขนาดเล็กเท่านั้น
แนวคิดของรัฐชาติ È
Ø  รัฐเป็นตัวตนที่แยกออกจากสมาชิกของรัฐ
Ø  มีเจตจำนงและความต้องการเป็นของตนเอง
Ø  ผลประโยชน์ของรัฐที่ถูกอ้างว่าเป็นความต้องการโดยรวมของสมาชิกของรัฐ
Ø  รัฐทำหน้าที่เป็นผู้ผลิตสินค้าหรือบริการที่เป็นสาธารณะ ที่แตกต่างจากสินค้าหรือบริการเอกชน
คุณสมบัติของสินค้าสาธารณะ พิจารณาจาก È
Ø  ลักษณะที่แบ่งแยกไม่ได้            Non-excludability
Ø  ลักษณะที่ไม่แข่งขัน  Non- rival
หน้าที่ของรัฐในการสนับสนุนเป้าหมายทางเศรษฐกิจ È
Ø  เป็นหน้าที่ที่เกิดขึ้นในภายหลังหรือเรียกว่ายุค Neo classic
Ø  ทำให้ประชาชนอยู่ดีกินดี
-           มีระบบตลาดที่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
-           ระบบเศรษฐกิจโดยรวมมีเสถียรภาพ
-           มีความเจริญเติบโตในระดับที่เหมาะสม
Ø  ควบคุมและกำกับดูแลให้ระบบทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
-           มีการแข่งขันอย่างยุติธรรม
-           ไม่มีการเอารัดเอาเปรียบ
-           มีการใช้ทรัพยากรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
Ø  การควบคุมดูแลในลักษณะการเป็น Regulatory Body
-           กำหนดกฎเกณฑ์การดำเนินการที่อยู่ในกรอบ
-           ไม่เกิดการผูกขาด
-           ไม่ให้เกิดการกำหนดราคาที่ไม่เป็นธรรม
Ø  หน้าที่ในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
-           เพื่อตอบสนองและรองรับปัญหาที่เกิดจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
Ø  การรักษาเสถียรภาพ
-           รัฐเข้าไปรักษาระดับของเศรษฐกิจไม่ให้เกิดความผันผวนมากกว่าที่ควรจะเป็น
หลักการบริหารรายจ่ายภาครัฐ
หลักทฤษฏีงบประมาณ Ä
Ø ทฤษฏีเน้นการวางแผน
Ø ทฤษฏีเน้นการบริหาร
Ø ทฤษฏีเน้นการควบคุมและต่อรองทางการเมือง
หลักวินัยทางการคลัง Ä
เน้นการสร้างกลไกเพื่อสามารถรักษาวินัยทางการคลัง
หลักการจัดสรรงบประมาณ Ä
พิจารณาลำดับความสำคัญของการใช้จ่าย
รายได้ภาครัฐ
v เป็นเครื่องมือการบริหารเศรษฐกิจมหภาค
v กระบวนการเพื่อการใช้จ่ายบริการสาธารณะ
v แหล่งของรายได้
Ø ภาษี และมิใช่ภาษี
Ø ภาษีได้แก่ ภาษีรายได้บุคคล ภาษีรายได้นิติบุคคล
Ø มิใช่ภาษี ได้แก่ ค่าธรรมเนียม สัมปทาน ค่าปรับ ใบอนุญาต
หลักการจัดเก็บภาษีที่ดี
v  หลักการทำรายได้
v  หลักการยอมรับของประชาชน
v  หลักความเป็นธรรม
v  หลักความเป็นกลาง
v  หลักประสิทธิภาพในการจัดเก็บ
หลักการทำรายได้ È
v  ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
v  ภาษีเงินได้นิติบุคคล
v  ภาษีการค้าหรือ VAT
v  ภาษีสรรพสามิต
v  ภาษีทรัพย์สิน
หลักการยอมรับของประชาชน(ผู้เสีย) Ä
v ผ่านสถาบันประชาธิปไตย เช่น ผู้แทน ส.ส.  ส.ว.
v ยึดหลักความเป็นธรรม ในการช่วยแบกรับภาษีอย่างเสมอภาค
หลักความเป็นธรรม Ä
v Ability
v คนมีความสามารถมาก เสียมากกว่าคนมีความสามารถน้อย
v การแจกแจงกลุ่มคนในสังคม และภาระของภาษี
หลักความเป็นกลาง Ä
v การเก็บภาษีต้องไม่ก่อให้เกิด Market Distortion
v ในแต่ละภาคส่วน ต้องไม่ได้รับผลกระทบ และเสียเปรียบ
หลักความเป็นกลาง Ä
v การเก็บภาษีต้องไม่ก่อให้เกิด Market Distortion
v ในแต่ละภาคส่วน ต้องไม่ได้รับผลกระทบ และเสียเปรียบ
หลักประสิทธิภาพในการจัดเก็บ Ä
v ต้นทุนการจัดเก็บต้องน้อยที่สุด
v จัดเก็บสม่ำเสมอ
v การประมาณการภาษีล่วงหน้า
v การเสียภาษีกระทำได้ง่าย
v การจัดการเก็บมีความเป็นไปได้และมีประสิทธิภาพ
กระบวนการทางการเมืองในการกำหนดนโยบายภาษีอากร ค่าธรรมเนียม ค่าบริการ การกู้เงิน เพื่อใช้ในการจัดบริการสาธารณะ
v Participatory democracy Wicksell   หลักความเต็มใจ Willingness
v Representative Democracyvote right
ปรากฏการณ์ต่อต้านการเสียภาษี (tax revolt)  Ä
v กรณีความไม่พอใจที่คนกลุ่มน้อยเป็นผู้เสียภาษีรายใหญ่
v กรณีรัฐบาลบริหารรายจ่ายผิดพลาด เช่นการบริหารหนี้มากเกินไป
v กรณีรัฐบาลบริหารรายได้ผิดพลาด เช่นการประเมินภาษี
การกำหนดราคา บริการสาธารณะ
                    เงื่อนไขคือ บริการนั้นต้องมีทางเลือกแก่ประชาชน
                    ไม่มีการผูกขาดการผลิตบริการ
                    ไม่มีการก่อเงื่อนไขการผูกขาด
                    การกำหนดราคาใช้หลักการ marginal cost price
หลักว่าด้วยการกู้เงินและการลงทุนภาครัฐ Ä
                    ลงทุนพัฒนาศักยภาพการผลิตให้มีคุณภาพและปริมาณเพียงพอ
                    การกู้เงินเพื่อทำโครงการใหญ่ ๆ ต้องไม่เพิ่มภาษีให้แก่ประชาชนในอนาคตมากเกินพอดี


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น