วันศุกร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

Subprime mortgage financial crisis (ซับพราม ไครสิส)

Subprime mortgage financial crisis
                หมายถึง การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของทรัพย์สินรอการขาย โดยเฉพาะภาคอสังหาริมทรัพย์ในอเมริกา ทั้งนี้เนื่องจากสถาบันการเงินได้นำเอาสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่คุณภาพลูกหนี้ต่ำกว่ามาตราฐานไปเป็นหลักประกัน ดังนั้นเมื่อมีปัญหาลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ ให้ทำให้เกิดปัญหาหนี้เสียและมีการบังคับขายหลักประกัน ซึ่งส่งผลให้ราคาประเมินของอสังหาริมทรัพย์ด้อยค่าลงและส่งผลกระทบต่อสถาบันการเงิน กองทุน และตลาดหุ้น เพราะเมื่อมีการ นำเงินออกจากระบบเช่น การไถ่ถอนเงินออกจากกองทุนจะทำให้เกิดปัญหาสภาพคล่องติดตามมาเป็นลูกโซ่
ซับพราม คริสิส ( Subprime Crisis )                ความจริงเป็นปัญหาของตลาดหุ้นสหรัฐโน่น เป็นปัญหาเงินกู้สำหรับการซื้อบ้านและอสังหาริมทรัพย์แต่พอเอาเข้าจริงก็กระทบกับตลาดหุ้นไทย ในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา นักลงทุนต่างชาติเทขายหุ้นตลาดไทยจำนวนมาก ทำให้ตลาดหุ้นตก ตลาดหุ้นของไทยก็พลอยตกไปด้วย
แต่นักลงทุนไทยถือเป็นโอกาสที่นักลงทุนต่างชาติเทขายจึงเข้าไปช้อนซื้อเอาไว้ และก่อนลงประชามติ หนี่งวันตลาดหลักทรัพย์ไทยกระเตื้องมาเล็กน้อยในขณะที่ตลาดทั่วเอเซียร่วงกันเป็นแถว และคาดว่าตลาดไทยน่าจะสดใสกว่าเดิมหลังผลประชามติผ่านความเห็นชอบ
                แต่อย่างไรก็ตาม ภาวะวิกฤติ Subprime นั้นเป็นเหตุการณ์ที่น่าสนใจและจับตามองเป็นอย่างมาก จะเป็นเหมือนวิกฤตต้มยำกุ้งเมื่อปี 2540 หรือไม่ ? ( หรือก่อนนั้น ) ที่ไทยต้องปล่อยค่าเงินบาทเป็นระบบลอยตัว เป็นสิ่งที่น่าติดตาม
                เมื่อวิเคราะห์ถึงเศรษฐศาสตร์ บ้านเรา ก็อดนึกถึง อ. บัณฑิตย์ ไม่ได้ สมัยก่อนตอนเรียนสังคมจะชอบเรียนวิชาเศรษฐศาสตร์มาก วันนี้ประเด็นนี้มาฝากเพื่อน ๆ ที่สนใจ ลองอ่านกันนะคับ
Subprime แยกออกเป็นสองคำ
                Sub = ต่ำกว่า
                Prime = มาจาก Prime Rate คือดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดี
                ดังนั้น Subprime Loan ก็คือเงินกู้ที่สถาบันการเงินปล่อยกู้แก่ผู้กู้ที่มีความเสี่ยงสูง และมักจะถูกปฎิเสธการให้กู้เงินจากสถาบันการเงินหลัก เช่น ธนาคารพานิชย์ เงินกู้นี้อาจจะรวมถึงบัตรเครดิต เงินกู้ซื้อบ้าน และอื่นๆ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้น ณ ขณะนี้เกิดจาก เงินกู้สำหรับการซื้อบ้านและอสังหาริมทรัพเพื่อเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
                Subprime คือ รูปแบบสินเชื่อในประเทศสหรัฐอเมริกา ที่มีการให้ความสำคัญกับเรื่อง Rating หรือ Credit ของผู้ขอสินเชื่อค่อนข้างมาก จึงมีการแบ่งระดับของ Rating เป็น Prime Rate และ Subprime ซึ่งมี Rating ในระดับต่ำกว่า มีเงื่อนไขด้อยกว่า Prime Rate เช่น การที่ต้องเสียอัตราดอกเบี้ยสูงกว่า หรือมีเงื่อนไขของวงเงินในการผ่อนชำระที่เข้มงวดกว่า Prime Rate เพราะสินเชื่อแบบ Subprime มีโอกาสสูงที่จะกลายเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL)
                Subprime Loan มีมูลค่า 6 แสนล้านเหรียญสหรัฐในปี 2006 คิดเป็น 1 ใน 5 ของ
ยอดเงินกู้เพื่อซื้อบ้านทั้งหมดของสหรัฐ
                สมาคมสว๊อป และอนุพันธ์นานาชาติ ประมาณการณ์ไว้ว่า ในครึ่งปีแรกของ 2006
มูลค่าอนุพันธ์ที่ผูกกับตราสารหนี้ มีมูลค่าสูงถึง 26 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ
                บริษัทที่ล้มละลายไปแล้วอันเนื่องมาจากผลของ วิกฤตการณ์ที่กำลังก่อตัวได้แก่
                1) New Century Financial Corp ซึ่งเคยเป็นผู้มีมาร์เก็ตแชร์อันดับสอง ในการปล่อยเงินกู้
Subprime
                2 ) กองทุนในความดูแลของ Bear Stearns 2 กองทุน
                3 ) และล่าสุดเมื่อวันจันทร์นี้ 30 กรกฎา กองทุน Hedge fund Sowood Capital ขาดทุนมากกว่า 50% จนทำให้ต้องปิดกองทุน แล้วขายสินทรัพย์ที่เหลือให้อีก กองทุนซึ่งใหญ่กว่า
                จะเห็นว่าปัญหาเริ่มจากที่ (1) กลุ่ม subprime มีการกู้เงินจากสถาบันการเงิน และ (2) สถาบันการเงินนำพอร์ตบัญชีลูกหนี้ไปลงทุนในตลาดทุนต่อ (บัญชีลูกหนี้ในทางบัญชีถือว่าเป็นสินทรัพย์...คงใช่..เพราะมันอยู่ด้าน credit มะใช่ debit)
                ต่อมา subprime เกิดเบี้ยวหนี้ ทำให้กลายเป็นหนี้สูญ (NPL) ก็จะส่งผลต่อการลงทุนของสถาบันการเงิน และจะส่งผลกระทบต่อ (3),(4) กลุ่มทุนที่มาลงทุนในตราสารหรือกองทุนนั้นๆ
ทำให้วงจรนี้ตึงตัวและกระทบกันไปหมด  พอสถาบันการเงินขาดสภาพคล่องมันก็กลายเป็นปัญหามหภาคแล้ว ยิ่งอเมริกานับได้ว่าเป็นตลาดใหญ่ ที่สามารถกำหนดอัตราดอกเบี้ย กำหนดทิศทางเศรษฐกิจโลกได้ก็ยิ่งน่าวิตก
                ดังนั้นธนาคารกลางสหรัฐ (Federal Resreve) หรือ เฟด ต้องออกมาทำหน้าที่คือลดอัตราดอกเบี้ย เพื่อเพิ่มสภาพคล่อง นอกจากนี้แบงค์ใหญ่ๆของอเมริกา อันได้แก่ Bank of America,
JP Morgan, Citybank, วาโชเวีย และ ด๊อยแบงค์ของเยอรมัน ได้กู้ยืมเงินจากเฟดเพื่อเพิ่มสภาพคล่องเช่นกัน
จากเหตุการณ์ 2 อย่าง คือการที่เฟตลดอัตราดอกเบี้ย และการที่แบงค์ใหญ่ๆ ไปกู้เงินจากเฟด ทำให้มีผลกระทบต่อตลาดหุ้น เพราะนักลงทุนจะตีความว่า นโยบายการลดอัตราดอกเบี้ยสะท้อนให้เห็นว่าปัญหาจาก subprime มันรุนแรงและขยายวงกว้างไปสู่เศรษฐกิจทั้งระบบ (การลดอัตราดอกเบี้ยมันกระทบต่อตาสีตาสาด้วย เพราะเท่ากับลดผลตอบแทนที่จะให้แก่ผู้บริโภค อย่างเราๆ) ซึ่งเท่ากับยอมรับว่าเศรษฐกิจอ่อนแอ
                การลดอัตราดอกเบี้ยของเฟดตอนนี้ถือว่าต่ำที่สุดในรอบ 40 ปี...ซึ่งจะลดลงไปอีกเพื่อเสริมสภาพคล่องก็ทำไม่ได้แล้ว เพราะไม่มีผลต่อการลงทุน เศรษฐกิจไม่ตอบสนองต่ออัตราดอกเบี้ยแล้ว
ในทางเสดสาดเรียกภาวะนี้ว่า Liquidity Trap หรือกับดักสภาพคล่อง ... คาดว่าอีกหลายปีกว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะฟื้นตัว เพราะไม่เหลือเครื่องมือทางนโยบายอะไรจะนำมาใช้อีก
อีกอย่างสหรัฐยิ่งใหญ่นัก จะขับเคลื่อนอะไรมันก็ทำได้ช้าและยาก
                ทีนี้มาดูบ้านในประเทศไทยว่าจะได้รับผลกระทบอะไรบ้าง...
                1. อย่างแรกเลยคือค่าเงินบาทจะแข็งขึ้นไปอีก แต่จะไต่ระดับไปที่ 30 บาทรึเปล่าก็ต้องคอยติดตามกัน เพราะเรื่องนี้มันละเอียดอ่อน...
                2. การส่งออกสินค้าจะยากขึ้นเพราะของเราแพง ยิ่งมีคู่แข่งเป็นจีน เวียดนามอีก ต่างชาติก็ย่อมเมินสินค้าราคาแพงจากบ้านเราเป็นธรรมดา ...
                3. ราคาทองก็จะตก ทั้งๆ ที่ปกติทองมันมีแต่ขึ้นกับเสมอตัว .. ที่เห็นได้ชัดก็เป็นเรื่องเศรษฐกิจฝืด คนจับจ่ายใช้สอยน้อยลง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น