Core Value of P.A.
1. Human Resource
2. Organization
3. Public Finance
4. Public Policy
โครงการ (Project)
· กิจกรรมหรืองาน
· ใช้ทรัพยากร
· หวังผลประโยชน์ตอบแทน
· หน่วยอิสระ
· มีระยะเวลา
ลักษณะของโครงการ
· Relevance สอดคล้อง วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์
· Objective วุตถุประสงค์ชัดเจนหรือไม่
· Scope of Operation ขอบเขตดำเนินการ พื้นที่เท่าไหร่ จำนวนคน
· System Oriented พิจารณาตัวระบบ มองภาพรวมได้
· Development ยึดหลักการพัฒนา ด้านการเปลี่ยนแปลง ในทางที่ดีขึ้น ดีกว่าเดิน
Project Cycle
1. IDENTIFICATION
2. PREPARATION AND ANALYSIS
3. APPRAISAL AND APPROVAL
4. IMPLEMENTATION
5. EVALUATION AND MONITORING
- หาความต้องการประชาชน เช่น รัฐบาลทักษิณ
- Project Preparation จัดทำ
- Project Analysis วิเคราะห์
- Project Implementation เสนอโครงการเพื่ออนุมัติ ดำเนินโครงการ
- Project Evaluation ประเมินผล balance scorecard 4 มิติ
การจัดทำโครงการ
1. เป็นขั้นตอนแรก จัดทำ ต้องเริ่มต้นที่ดี
2. สะท้อนทิศทาง ของการดำเนินโครงการ
3. ประเมินและอนุมัติ ง่ายขึ้นสะดวกขึ้น
4. มี 2 รูปแบบ ดังนี้
รูปแบบ
1. Conventional or Descriptive ดั้งเดิม
2. Logical Framework (L / F) ตารางสมเหตุสมผล หรือตารางเหตุผลสัมพันธ์
1. การจัดทำโครงการแบบพรรณนา (ดั้งเดิม)
• เป็นหัวข้อ
• ระบุรายละเอียดพอควร
• ใช้ภาษาให้เหมาะสม ทางวิชาการ
รูปแบบ Conventional
1. ชื่อ
2. หลักการและเหตุผล
- ปัญหา คือ สภาพการณ์ที่เบี่ยงเบนไปจากสภาพที่พึงปรารถนา อาชีพมั่นคง คนรอบข้างบังคับ มีจิตสาธารณะ
ประเภทของปัญหา
ปัญหาป้องกัน ปัญหาขัดข้อง ปัญหาเรื้อรัง
ชนชั้นล่าง รากหญ้า
3. ปัญหาเรื้อรัง
- เกิดขึ้นจนเป็นปกติ
- มีการยอมรับ
- ความต้องการ
1. ลักษณะ (ชัดแจ้งแก้ง่าย ,ซ่อนเร้นแก้ยาก)
2. ความต้องการขั้นพื้นฐาน (basic need) ต้องตอบสนองให้ได้
3. Wants and Needs
4. ด้านการปกครอง (ความปลอดภัย และความสะดวกสบาย)
3. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย คือผลของการดำเนินโครงการที่ต้องการในอนาคต เป็น Outputs มิใช่ Outcomes
ลักษณะ SMART
1. S = Specific
2. M = Measurable วัดได้ เชิงปริมาณ
3. A = Achievable สำเร็จได้ ไม่ยากจนเกินไปและไม่ง่ายจนเกินไป
4. R = Result or Reasonable มีเหตุมีผล เหมาะสม
5. T = Time กรอบของเวลา สิ้นสุดเมื่อไหร่
ข้อจำกัด
1. มีหลายหน้า
2. ข้อจำกัดของผู้บริหาร
3. ความสัมพันธ์เชิงเหตุผล
4. ระยะเวลา
5. แผนปฏิบัติการ
6. งบประมาณ
7. ผู้รับผิดชอบ
8. ประโยชน์ที่ได้รับ
9. เงื่อนไขข้อจำกัด เป็นเครื่องเตือนในความสำเร็จ
Logical Framework (L / F) ตารางสมเหตุสมผล หรือตารางเหตุผลสัมพันธ์
1. เป็นตาราง 4 x 5
2. ความสัมพันธ์เชิงเหตุผล
3. การควบคุม
ข้อจำกัด
1. ต้องใช้ทั้งนักวิชาการและผู้ปฏิบัติ
2. ต้นทุนสูง
3. เหมาะกับโครงการขนาดใหญ่
การวิเคราะห์โครงการ (Project Analysis)
เป็นวิธีการที่ต้องการให้มีการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัด อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยต้องศึกษาและวัดผลประโยชน์ตอบแทน(Benefits - B) และ ค่าใช้จ่าย (Costs - C) ที่เกิดขึ้น อันเนื่องจากการดำเนินตามโครงการ เพื่อตัดสินใจเลือกโครงการ
Goodman และ Love
1. ด้านเทคนิค
2. ด้านการบริหาร
3. ด้านสภาพแวดล้อม
4. ด้านสังคมและการเมือง
5. ด้านเศรษฐกิจ
6. ด้านการเงิน
ด้านการตลาด (ระบบราชการไทยขาดด้านนี้มาก)
1. Market Size ขนาดของตลาด จำนวนคน กลุ่มเป้าหมาย มากก็ขายได้สูง
2. Market Growth (Trend) แนวทางการเจริญเติบโตของตลาด
3. Market Share ส่วนแบ่งการตลาด ถ้ามีมากโอกาสกำไรสูง
ด้านเทคนิค
1. เทคโนโลยี (ถ้าสูงทุนสูง ถ้าต่ำทุนสูงระบบราชการ)
2. ความรู้ (know how) ภูมิปัญญา
3. Machine
ด้านการบริหาร ประกอบด้วย
1. บุคลากร
2. ผู้บริหาร
3. โครงสร้าง แนวดิ่งหรือแนวนอน ชั้นบังคับบัญชา
4. ภารกิจ
5. วัฒนธรรม
ด้านสภาพแวดล้อม
1. ภูมิอากาศ
2. ภูมิประเทศ
3. ต่างประเทศ
ด้านสังคม
- สถาบันทางสังคม
- วัฒนธรรม
- ค่านิยม ความเชื่อ
- ปัญหาสังคม
ด้านการเมือง
- สถาบันทางการเมือง อ่อนแอ ไม่มีเสถียรภาพ
- วัฒนธรรมทางการเมือง ไม่เข้มแข็ง ต้องสร้าง คับแคบ ไพร่ฟ้า
- ผู้นำ
- นโยบาย
ด้านเศรษฐกิจ
1. ราคาสินค้า สูงหรือต่ำ
2. อัตราการว่างงาน ปี 41 มากสุด
3. รายได้
4. การลงทุน
- Investment การลงทุน (Labor Intensive ,Tecnology)
- Employment การจ้างงาน
Semi Skill มีทักษะน้อย
Un Skill แรงงานไร้ฝีมือ
- Income รายได้
- Consumption/Saving บริโภค ออม
ด้านการเงิน
1. ผลประโยชน์ตอบแทน สะท้อนให้เห็นถึง
ความสามารถในการหารายได้
ความสามารถในการทำกำไร
การคืนเงินกู้
2. ค่าใช้จ่าย
แหล่งเงินทุน ค่าของเงินด้วย ไทยใช้แบบลอยตัว
อัตราดอกเบี้ย
ประเภทของ Benefits (ประโยชน์ที่ได้รับ)
1. Forward Benefits ไปข้างหน้า กรณี ข้าว สามารถทำเป็นผลผลิตอะไรได้บ้าง เช่นทำแป้ง อาหารสัตว์ โรงสี
2. Backward Benefits ไปข้างหลัง กรณี ข้าว ถ้ามองไปข้างหลัง ได้แก่ ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง
ประเภทของ Costs
1. Directs Costs เกิดขึ้นโดยตรงจากต้นทุนในการดำเนินโครงการ
2. Indirect Costs ทางอ้อมเป็นผลที่เกิดขึ้นมาในทางลบ เช่น ยาฆ่าแมลง
เกณฑ์การตัดสินใจเพื่อการลงทุน
1. ไม่ต้องปรับค่าของเวลา
1.1 Ranking by Inspection
1.2 Payback Period ค่าใช้จ่ายในการลงทุน / ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ยต่อปี
1.3 อัตราผลตอบแทนต่อการลงทุน (ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ยจากการดำเนินงาน / ค่าลงทุน) x 100
2. การปรับค่าของเวลา
2.1 มูลค่าปัจจุบัน y = y0 / (1+r)n
2.2 เกณฑ์
- Net Present Value หรือ NPV , NPV = B - C
- B / C Ratio
- Internal Rate of Return หรือ IRR เป็นอัตราผลตอบแทนที่ทำให้ B = C
การดำเนินโครงการ
1. การบูรณาการ ( 4 m)
2. เป็นทั้งศาสตร์คือการใช้ความรู้ และศิลป์คือการประยุกต์ใช้
3. หน้าที่ทางการบริหาร posdcorb
- POSDC
- POLE L คือ ภาวะผู้นำ e คือ การประเมินผล
การจูงใจ (Motivation)
• เต็มใจหรือสมัครใจ
• ไม้นวมและไม้แข็ง
• มี 3 ประเภท (1. ตัวเงิน ไม่ใช่ตัวเงิน เป็นคำชมเชย 2. ออกแบบงานให้น่าสนใจ 3. อาศัยสภาพแวดล้อม แสง สี เสียง อากาศ )
ภาวะผู้นำ (Leadership)
1. การนำ ต้องบอกคนได้ ใช้คนเป็น
2. ความสำเร็จ
3. มีหลายประเภท ( 1 แบบเผด็จการ Autocratic Leadership 2. แบบประชาธิปไตย Democratic L. 3. แบบเสรีนิยม Laissez faire L.)
ประเภทของผู้นำ แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
1. ผู้นำแบบอัตตาธิปไตย (Autocratic Leader) ลักษณะเผด็จการชอบสั่งการใช้อำนาจกดขี่ / ยึดถือตัวเองเป็นศูนย์กลาง /การบังคับบัญชาสั่งการจากข้างบนลงล่าง/ผู้ช่วย คือผู้ใต้บังคับบัญชา
2. ผู้นำแบบเสรี(Laissez-faire leader) ไม่ยึดกฏเกณฑ์ตายตัว ปรับเปลี่ยนได้ตามผู้ร่วมงานเสนอ /ปล่อยผู้บังคับบัญชาปฏิบัติหน้าที่ไปเรื่อยๆ /ไม่มีความคิดสร้างสรรค์งานใหม่ / ไม่มีการประเมินผลงาน
3. ผู้นำแบบประชาธิปไตย(Democratic leader) ยึดถือความคิดกลุ่มเหนือความคิดตนเอง /แบ่งงาน/มอบหมายงานเป็นระบบ/ให้คำแนะนำในการงาน/สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ร่วมงาน โดยใช้กฎเกณฑ์สร้างสรรค์งาน
ผู้นำ มีในองค์การ (บุคลิกลักษณะ +อุปนิสัย+ภาวะผู้นำ)
ผู้บริหาร เป็นผู้บังคับบัญชาของหน่วยงาน องค์การ
ผู้นำ/ผู้บริหารที่ดี ต้องฝึกพฤติกรรมแห่งการเป็นผู้นำ 10 ประการ ดังนี้
1. นักวางแผน (Planning)
2. นักจัดระเบียบ (Organizing)
3. นักประสานงาน( Coordinating)
4. นักสื่อสาร (Communicating)
5. นักมอบหมายงาน(Delegating)
6. นักตัดสินใจ(Decision-Making)
7. นักมนุษยสัมพันธ์ (Human Relation)
8. นักฝึกอบรม(Training)
9. นักจัดกระบวนการกลุ่ม
10. นักประเมินผลงาน
ปัจจัยในการสร้างความเป็นผู้นำ ขึ้นอยู่กับ 5 ปัจจัยหลัก คือ
1. ภูมิหลังและประสบการณ์ (Background and Experience) พื้นฐานครอบครัวและมวลประสบการณ์เดิมที่ผ่านมาในช่วงชีวิต
2. สติปัญญาและคุณภาพสมอง (Intellectual and mental quality) มีทักษะทางภาษา การติดต่อสื่อสาร / ความสามารถด้านการมีเหตุผล /ความจำ/ความรอบรู้
3. คุณลักษณะทางร่างกาย (Physical attributes) ผู้นำที่ร่างกายแข็งแรง จะมีจิตใจที่ดี
4. บุคลิกภาพและความสนใจ( Personality and Interests) ความสนใจ กระตือรือร้นและความเต็มใจในการปฏิบัติงาน
5. ความเชื่อมั่นในตัวเอง(Self-Confidence) ผู้นำต้องสร้างความเชื่อมั่น/มั่นใจในตัว
คุณสมบัติของผู้นำ ผู้นำ ผู้บริหารที่ดี ต้องมี คุณลักษณะพื้นฐาน 10 ประการ คือ
1.สติปัญญาเฉลียวฉลาด มีไหวพริบดี
2.มีความสามารถในการวิเคราะห์
3.วิเคราะห์เหตุการณ์ ตัดสินใจดี
4.มีความคิดริเริ่ม และเป็นผู้รอบรู้
5.เป็นที่พึ่งแก่เพื่อนร่วมงาน และเชื่อถือไว้วางใจได้
6.ตัดสินใจแน่นอน ไม่รวนเร
7.รู้จักปรับตัว ละเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม
8.จิตใจมั่นคง ไม่เอาแต่อารมณ์ของตนเป็นใหญ่
9.มีคุณลักษณะและความประพฤติส่วนตัวที่ดี
10.มีคุณลักษณะของผู้นำ
เทคนิคการสร้างเสริมความเป็นผู้นำที่ ฝึกฝนได้ มี 8 ประการ คือ
1.สำรวจตัวเอง พิจารณาข้อบกพร่อง เปรียบเทียบคุณลักษณะผู้นำที่ดี
2.ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม โดยเฉพาะด้านบริหาร และ จิตวิทยาสังคม
3.ฝึกอบรมในสถาบันปรับปรุงบุคลิกภาพ
4.พัฒนาการสนทนาโต้ตอบ ฝึกการเป็นนักฟัง /นักพูด(ถ่ายทอด)ที่ดี
5.ปรับปรังบุคลิกภาพ ภายในและภายนอก ของตนเอง
6.ทบทวนท่าที ที่ปฏิบัติต่อผู้อื่นให้สุภาพนุ่มนวล เป็นปกตินิสัย
7.ฝึกฝน สังเกตการณ์ กล้าตัดสินใจ
8.ฝึกฝนตนเองให้เป็นคนมีเหตุผล ในการทำงาน มีความสุขุมรอบคอบ
กล่าวโดยสรุป คุณลักษณะผู้นำที่ทำให้การบริหารงานประสบความสำเร็จ คือ
1.มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ สุขุมเยือกเย็น
2.มีวิสัยทัศน์ กว้างไกล
3..สามารถบริหารความขัดแย้งได้ดี
4.กล้าตัดสินใจ รวดเร็ว ถูกต้อง
5.ติดต่อสื่อสารได้ดี
6.รอบรู้ในงานที่รับผิดชอบ
7.มีความขยันขันแข็ง มานะ อดทน
8.เป็นผู้ริเริ่มสร้างสรรค์
9.สามารถทำงานเป็นทีมได้ดี
10.วินิจฉัยปัญหา คาดการณ์เหตุการณ์ได้ดี
11.มีมนุษยสัมพันธ์ ทักษะทางสังคม
12..ทำงานในสภาวะกดดัน ตึงเครียดไดดี
13.มีทัศนคติที่ดีต่อองค์การ
14.วางแผนและประสานแผนได้ดี
15.มีสัมพันธภาพที่ดีกับองค์กรอื่น
16.รู้จักใช้ข้อมูล สารสนเทศให้เกิดประโยชน์
มนุษยสัมพันธ์กับความเป็นผู้นำ บุคคลในองค์กรมี 3 บทบาท คือ
1. มนุษยสัมพันธ์กับผู้ใต้บังคับบัญชา
·กำหนดนโยบาย เป้าหมายองค์กรให้ชัดเจน ชี้แจงผู้ใต้บังคับบัญชา
·กำหนดอัตราค่าจ้างที่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง
·สั่งการให้มีความชัดเจน ไม่กำกวม
·มีความซื่อสัตย์ต่อคำสั่งที่สั่งออกไป ไม่กลับคำ ซัดทอดความผิดให้ลูกน้อง
·สอนงาน หรือ อธิบายงาน ให้ชัดเจน
·ติดต่อสื่อสารได้ชัดเจน และทั่วถึงกับลูกน้อง
·มีความยืดหยุ่นในการทำงานในเรื่องกฎเกณฑ์ ระเบียบ ตามสมควรแก่เหตุ
·ใช้วินัยควบคุมให้เสมอภาค ไม่เลือกที่รัก มักที่ชัง
2. มนุษยสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา
·ตั้งใจทำงาน รับฟังคำชี้แจงของหัวหน้าด้วยความตั้งใจ
·ไม่นินทาผู้บังคับบัญชา (ลูกน้องไม่จงรักภักดี+ไม่เคารพนับถือ)
·มีความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนางาน โดยใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ
·หลีกเลี่ยงการประจบสอพลอ
·สนับสนุนกิจการของผู้บังคับบัญชา เรียนนิสัยของผู้บังคับบัญชา
·ไม่ควรคล้อยตามผู้บังคับบัญชาทุกเรื่องโดยไม่มีเหตุผล
·ปกป้องไม่ให้ผู้บังคับบัญชาเสียหน้า หรืออับอาย 8.ไม่ก่อศัตรูกับเพื่อนร่วมงาน
·ไม่บ่นถึงความยากลำบากของการงานที่ได้รับมอบหมาย
·มีความจงรักภักดี ซื่อสัตย์และจริงใจต่อผู้บังคับบัญชา
3. มนุษยสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน
·จริงใจต่อเพื่อนร่วมงาน
·ให้ความช่วยเหลือเพื่อนในการงาน
·รับผิดชอบร่วมกัน ไม่ซัดทอดความผิดให้เพื่อน
·ให้เกียรติเพื่อนร่วมงาน
·ให้ความสนใจเพื่อนอย่างจริงใจ
·ยอมรับความเป็นตัวตนของเพื่อน
·เข้าใจความต้องการ และความรู้สึกของเพื่อน
·เป็นคนเสมอต้นเสมอปลาย
·สนใจในสิ่งที่เพื่อนพูด พูดในสิ่งที่เพื่อนสนใจ
·ยิ้มและมีอารมณ์ขันตามควร
·มีมารยาทที่ดี ต่อเพื่อนๆ
·ให้ความรัก ความเคารพความคิดเพื่อน
·มีคุณธรรมในการติดต่อเพื่อนๆ (เมตตา กรุณา เห็นใจ ให้ความช่วยเหลือ)
·.มีความซื่อสัตย์ต่อเพื่อน
การมีส่วนร่วม(Participation)
• Inform บอกกล่าว
• Consult ขอคำปรึกษา
• Involve ร่วมตัดสินใจ
• Collaborate ร่วมลงมือทำ
• Empower ให้อำนาจ ทรัพยากร เงินทุน ทำให้เกิดความเข้มแข็ง
ทีมงาน
• กลุ่ม ตั้งแต่สองคนขึ้นไป ไม่ใหญ่และเล็กจนเกินไป
• กิจกรรม
• เป้าหมายเดียวกัน
• ข้อดีของทีมงาน เช่น ทำให้มุมมองหลากหลายครอบคลุม หลายคนดีกว่าคนเดียว ทำให้เกิดความกล้า
ความผูกพันและการยอมรับ เช่น
• กลไกทางจิต
• ความรู้สึก
• ความรักต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
บุคลากร
1. ปริมาณ จำนวนคน ขึ้นอยู่กับงาน ต้องมีความพอดี
2. คุณภาพ
คุณภาพของบุคลากร
1. อายุ (ทั้งงานและตัว)
2. การศึกษา
3. เพศ
4. พฤติกรรม (ส่วนใหญ่ ทุจริต)
Corruption คอรัปชั่น
1. ตามน้ำหรือทวนน้ำ
2. ฉ้อราษฎร์หรือบังหลวง
ประเภทของ Corruption (Heidenheimer ไฮเดนเมอร์)
1. White Corruption คือ คนในสังคมยอมรับว่าเป็นเรื่องปกติ หรือยอมรับได้ เช่น ให้ของขวัญวันเกิด ใช้รถหลวง ใช้คน ใช้น้ำมัน
2. Gray Corruption คือ บางกลุ่มว่าใช่ บางกลุ่มว่าไม่ใช่
3. Black Corruption คือ ทุกคนคิดว่าใช่ เช่น
ประเภทของ Corruption (ดร.สมพร แสงชัย)
1. White Corruption
-ทองไหล เช่นวันเกิดนาย ไปช่วย นายรับปริญญา การดูแลคุณนาย
- เงินลอย เช่น สินน้ำใจทั้งหลาย
2. Gray Corruption
- บ้านต้องเช่า เช่น เป็นที่รู้กัน หรือเป็นธรรมเนียม เปอร์เซ็นต่าง ๆ
- ข้าวต้องซื้อ
3. Black Corruption
- ดาวไถ (ไม่สมยอม)
- ใจถึง ขับรถหลวงมาเรียน
สมการคอรัปชั่น
C = M + D - T - A
M = Monopoly ผูกขาด โอกาสคอรัปชั่นสูง กำหนดราคาเองได้
D = Discretion ดุลยพินิจ ถ้าเปิดโอกาสให้มาก คอรัปชั่นก็สูง
T = Transparency ความโปร่งใส เหมือนมองตู้ปลา
A = Accountability จิตสำนึกรับผิด เช่น พันท้านนรสิงห์
เทคนิค
1. Network analysis ระบสารสนเทศ
2. คุณภาพ เช่น TQC. 5 ส.
3. การมีส่วนร่วม เช่น SS. ระบบให้ข้อแนะนำ
การประเมินผลโครงการ (Project Evaluation)
เป็นกิจกรรมเกี่ยวกับการตรวจ วัด และวิเคราะห์เทคนิค กระบวนการและผลการปฏิบัติ โดยเปรียบเทียบกับวัตถุประสงค์
ประเภทการประเมินผล
1. จุดมุ่งหมาย
– Formative Evaluation
– Summative Evaluation
2. CIPP Model
– Context
– Input
– Process
– Product
3. การเรียนรู้
– Reaction
– Learning
– Behavior
– Results
กระบวนการ
1. ศึกษาวัตถุประสงค์
2. แปลงวัตถุประสงค์
3. รวบรวมข้อมูล
4. เปรียบเทียบ
5. สรุปผลเสนอแนะ
การนำการประเมินผลไปใช้ในทางที่ผิด
• แบบตบตา
• แบบผักชีโรยหน้า
• แบบระเบิดใต้น้ำ
• แบบวางท่า
• แบบผัดวันประกันพรุ่ง
• แบบแทนที่
Project Management (A.C. Hagensick)
1. Policy Oriented
2. Fact Oriented
3. System Oriented
4. Client Oriented
5. Comparison Oriented
สุดท้ายและท้ายสุด
จบแล้ว
อ่านให้เข้าใจ
ตอบแบบมีการวางแผน
โชคดีทุกคน
คำถาม ข้อที่ 1 ท่านคิดว่า ปัญหาไหนแก้ยากที่สุด เพราะอะไร ?
ตอบ ปัญหาเรื้อรังแก้ยากมากที่สุด เพราะว่า ?
คำถาม ข้อที่ 2 มีหรือไม่ เมื่อมีการลงทุนแล้วไม่มีการจ้างงาน จงยกตัวอย่าง ?
คำถาม ; วันที่ 26 มิ.ย. 54
ข้อที่ 1 เรื่องการอ่านพิเศษการทำ IS ของอาจารย์ ที่ปรึกษานำเงินมาให้อาจารย์ผ่านเลขา เป็นค่าตรวจเป็นกรณีพิเศษ เป็นการคอรัปชั่นแบบไหน
ตอบ Gray Corruption แบบบ้านต้องเช่า เช่น เป็นที่รู้กัน หรือเป็นธรรมเนียม เปอร์เซ็นต่าง ๆ
ข้อที่ 2. ภรรยาท้องและฝากท้องที่คลินิก และต่อมาฝากพิเศษ และคลอด ต่อมา 1 เดือนมาตรวจร่างกายหลังคลอด โดยจ่ายให้แพทย์ผ่านพยาบาล 5,000.- เป็นกรณีพิเศษ จัดเป็นการคอรัปชั่นแบบไหน
ตอบ White Corruption แบบเงินลอย เช่น สินน้ำใจทั้งหลาย
ข้อที่ 3 ทั้งสองข้อมีพฤติกรรมแตกต่างกันอย่างไร ในประเภทของ Corruption (ดร.สมพร แสงชัย)
ตอบ