วันเสาร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ขบวนการการจัดการ (Management Process)

ขบวนการการจัดการ
ลัทธิการจัดการ  (Managerialism)
การบริหารรัฐกิจมีการพัฒนาอย่างมาในยุค 1970s และ1980s เครื่องมือใหม่การประเมินโครงการและการวิเคราะห์นโยบายโดยการวัดผลเชิงปริมาณเพื่อสร้างประสิทธิภาพและอัตถประโยชน์ของโครงการสาธารณะ ขบวนการควบคุมและตรวจสอบการใช้เงินถูกนำมาใช้ ในการบริหารจัดการแผนใหม่นี้การวางแผนเชิงกลยุทธ์ (strategic planning) การควบคุมภายใน และความรับผิดชอบเชิงจริยธรรมเป็นส่วนสำคัญที่เพิ่มเข้ามา
การปฏิวัติไปสู่การจัดการแบบใหม่ (ยุคโลกาภิวัตน์)
                ลัทธิการจัดการยุคใหม่คือการให้สิทธิการจัดการโดยให้ผู้บริหารองค์กรให้มีอิสระในการทำงานคล่องตัวเพิ่มขึ้นเพื่อให้งานบรรลุเป้าหมายที่วางไว้
การบริหารองค์กรสาธารณะแผนใหม่
1.                 เน้นการควบคุมต้นทุนโดยการวัดผลงานของบุคคลากร
2.                 ลดปัญหาการสุญเสียโดยการนำเทคโนโลยีเข้ามาลดต้นทุนการใช้แรงงานจากคน
3.                 การบริหารจัดการยุคใหม่ยังพยายามใช้การทำสัญญาจ้างเอกชนเข้ามาทำงานในหน่วยงานราชการเพิ่มมากขึ้น
(เป็นการลดต้นทุนในการผลิต)
ขบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์  (Strategic Management Process)
การจัดการเชิงกลยุทธ์เป็นการเชื่อมโยงการจัดวางแผนและดำเนินการตามแผน และการจัดการองค์กร ตามยุทธศาสตร์อย่างต่อเนื่อง เพื่อแปลงการจัดทำแผนไปสู่การปฏิบัติที่มุ่งสู่ผลสำเร็จ
การจัดการเชิงกลยุทธ์คืออะไร?
กลยุทธ์เป็นศาสตร์เก่าแก่ในการนำทัพเข้าสู่สนามรบ กลยุทธ์ในการบริหารจัดการองค์กรเป็นการจัดหาและจัดการทรัพยากรขององค์กรให้บรรลุตามนโยบายที่กำหนดไว้ กลอุบาย (Tactics) เป็นส่วนหนึ่งในการปฏิบัติการขับเคลื่อนกลยุทธ์ให้ไปสู่ความสำเร็จ การจัดการเชิงกลยุทธ์เป็นวิธีการแผนใหม่ที่ทำการประยุกต์ศาสตร์โบราณมาใช้การองค์กรธุรกิจ และองค์กรของรัฐในปัจจุบัน มันเป็นขบวนการคัดเลือกอย่างระมัดระวังในการวางนโยบาย การพัฒนาขีดความสามารถ และการวิเคราะห์สถานการณ์โดยรอบโดยผู้บริหารองค์กรเพื่อเน้นการใช้พลังผลักดันการปฏิบัติงานไปสู่ความสำเร็จ
(เนื่องจากทรัพยากร(คน เงิน วัสดุอุปกรณ์ที่ดินและการบริหารจัดการ)ที่มีอยู่อย่างจำกัด
จุดมุ่งหมายหลัก   การจัดการเชิงกลยุทธ์เป็นการพัฒนาองค์กรตามสัญญาประชาคมที่องค์กรให้ไว้  ตาม
1.               พันธะกิจ (mission)
2.               วิสัยทัศน์ (vision) ขององค์กร
(ความสำเร็จเกิดจากจินตนาการ แห่งความเป็นจริง
ขบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์
                    ริเริ่มและสร้างการยอมรับขบวนการจัดทำแผน
                    ชี้ชัดถึงอำนาจหน้าที่ขององค์กร
                    ทำความเข้าใจในพันธะกิจและคุณค่าขององค์กร
                    ประเมินบรรยากาศภายในและภายนอกองค์กรเพื่อแยกแยะจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและภาวะคุกคาม (SWOT)
                    ชี้ชัดประเด็นปัญหาที่องค์กรเผชิญอยู่
                    กำหนดยุทธศาสตร์เพื่อจัดการ
                    กำหนดวิสัยทัศน์ขององค์กรที่มีประสิทธิภาพ
                    พัฒนาขบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพ
SWOT
                    ทีมงานควรศึกษาบรรยากาศภายในและภายนอกองค์กรเพื่อแยกแยะโอกาสและความท้าทายที่องค์กรเผชิญอยู่
                    สำรวจบรรยากาศภายในองค์กรเพื่อทราบถึงจุดแข็งและจุดอ่อน ; องค์กรมักจะไม่สามารถควบคุมความเป็นไปภายนอกองค์กร
                    โอกาสและความท้าทายมักเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับความเป็นไปในอนาคตมากกว่าปัจจุบันในขณะที่จุดแข็งและจุดอ่อนเกี่ยวข้องกับความเป็นไปปัจจุบันมากกว่าอนาคต
                    องค์กรทั่วไปมักให้ความสนใจกับภาวะคุกคามมากกว่าโอกาส
การบริหารรัฐกิจ: การนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ
ความหมาย
การบริหารรัฐกิจ (Public Administration) ในความหมายที่เข้าใจอย่างง่ายคือการดำเนินกิจกรรมของรัฐบาลเพื่อจัดการบริหารกิจการสาธารณะหรือปฏิบัติงานตามนโยบายสาธารณะ
การบริหารจัดการนโยบาย: ความหมายตามลักษณะกิจกรรม
·         ทางการเมือง (Political)
·         ทางกฎหมาย (Legal)
·         ทางการจัดการ (Management)
·         ทางหน้าที่การงาน(Occupational)
ความหมายตามนัยยะทางการเมือง
การบริหารตามนโยบายเป็นสิ่งที่รัฐบาลกระทำผ่านการปฏิบัติงานของข้าราชการ กิจกรรมดังกล่าวย่อมส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของประชาชนทั้งในทางบวกและทางลบ
·         ทางบวก ได้แก่ การสร้างถนน สะพาน การเก็บขยะ เพื่อสร้างความนิยมจากประชาชน
·         ทางลบ ได้แก่การข่มเหง หรือละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานโดยซ่อนรูปในการสร้างความชอบธรรมภายใต้รูปแบบของความมั่นคงเป็นต้น
Dwight Waldo (1955)
เขานำเสนอการพิจารณาการบริหารจัดการนโยบายในแง่มุมของการปฏิบัติงานตามสภาวะแวดล้อมทางสังคม การพิจารณาในลักษณะนี้ทำให้เข้าใจถึงความแตกต่างของการแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติระหว่างสังคมที่มีวัฒนธรรมที่มีความแตกต่างกัน
                นโยบายที่ถูกวางด้วยกฎเกณฑ์เดียวกันอาจมีการนำไปปฏิบัติในลักษณะที่แตกต่างระหว่างสังคมที่มีวัฒนธรรมที่ต่างกัน
ความหมายตามนัยยะทางกฎหมาย
การบริหารจัดการตามนโยบายเป็นสิ่งที่รัฐกระทำโดยเกิดมาจากและอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมาย การบริหารรัฐกิจจึงเป็นการใช้กฎหมายในการปฏิบัติการ (Law in action) การปฏิบัตินโยบายใดๆจะทำไม่ได้หากปราศจากกฎหมายมารับรองการดำเนินการนั้น
ความหมายตามนัยยะการจัดการ
การบริหารปกครองนับเป็นสาขาหนึ่งของการจัดการโดยสำนักศึกษาการจัดการหลายแห่งแยกเป็นสาขาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน แม้ว่าการบริหารรัฐกิจตั้งอยู่บนพื้นฐานของกฎหมายมารองรับ แต่หากปราศจากแง่มุมของการบริหารจัดการอาจกล่าวได้ว่ากิจการงานบริการสาธารณะก็อาจไม่สามารถดำเนินการอย่างได้ผล
ความหมายตามนัยยะของหน้าที่การงาน
เจ้าหน้าที่ของรัฐจำนวนมากที่ขาดความใส่ใจในนโยบาย กฎหมาย และการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการองค์กร พวกเขาเน้นความสนใจแต่งานในหน้าที่ของตนเท่านั้น แพทย์ผ่าตัดจนถึงคนกวาดถนนที่สังกัดหน่วยงานของรัฐหลายคนอาจลืมใส่ใจในความเป็นพนักงานของรัฐ พวกเขาเพียงปฏิบัติงานตามหน้าที่ไปแต่ละวัน
John F. Kenndy
การบริหารปกครองเป็นการแปลงอุดมคติไปสู่การปฏิบัตินัยยะดังกล่าวเป็นไปได้เนื่องจาก
“Because that is where the power is”

สภาพปัจจุบัน                      ภารกิจ( mission)                                อนาคต                                 วิสัยทัศน์ (vision)

กลยุทธ์ (Strategy)
การบริหารเชิงกลยุทธ์
                   เป็นกระบวนการบริหารองค์การโดยรวม
                   เป็นการบริหารที่มุ่งเน้นการสร้างอนาคตขององค์การในระยะยาว
                   เป็นการบริหารที่ต้องตรวจสอบ วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน  และภายนอกองค์การอยู่ตลอดเวลา
                   เป็นการบริหารที่จะต้องมี หรือสร้างกลยุทธ์หรือยุทธศาสตร์ขององค์การ เพื่อให้องค์การประสบความสำเร็จได้ในระยะยาว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น