นโยบายสาธารณะที่ดี
(Healthy Public Policies)
นโยบายสาธารณะที่ดี คือนโยบายสาธารณะที่นำไปสู่ความถูกต้อง เป็นธรรม และประโยชน์สุขของมหาชนในพระปฐมบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขของมหาชนชาวสยาม” อาจเรียกว่าเป็นทิศทางของประเทศที่ใหญ่ที่สุด ที่ควรจะถอดมาเป็นนโยบายสาธารณะที่ดี และมีกระบวนการที่จะทำให้เกิดขึ้น
โดยที่พระมหากษัตริย์เป็นสัญลักษณ์ของชาติ คนในชาติทั้งหมดควรจะต้องถือเป็นหน้าที่ที่จะให้แผ่นดินนี้มีธรรมหรือความถูกต้องครอง เพื่อประโยชน์สุขของมหาชนทั้งหมด
เราไม่สามารถเบี่ยงเบนไปจากนี้ได้เลย เช่นว่า แผ่นดินจะครองด้วยอธรรมเพื่อประโยชน์สุขเฉพาะตัวหรือเฉพาะกลุ่ม ไม่ใช่ประโยชน์สุขของมหาชนทั้งหมด เพื่อให้เป็นไปตามพระบรมราชโองการ คนไทยทั้งชาติจะต้องช่วยกันดูแลไม่ให้แผ่นดินถูกครองด้วยอธรรมเพื่อประโยชน์สุขของคนบางกลุ่มบางเหล่า
แต่ในสังคมปัจจุบันที่ซับซ้อน “ความถูกต้องเป็นธรรม” และ “ประโยชน์สุข” ก็ซับซ้อนและตีความต่าง ๆ กัน ไม่ตรงไปตรงมาเหมือนเมื่อครั้งพระนเรศวรหรือพระเจ้าตากสิน การใช้ “ความเห็น”เถียงกัน หรือการลงมติด้วยเสียงข้างมาก ไม่ได้เป็นประกันว่าจะมี “ความถูกต้องเป็นธรรม” หรือ“เป็นประโยชน์สุขของมหาชน”
จำเป็นต้องมีการวิจัยสร้างความรู้ ว่ามี “ความถูกต้องเป็นธรรม” และเป็น “ประโยชน์สุขของมหาชน” หรือไม่ มากน้อยเพียงใด ความรู้ที่ได้จากการวิจัย อันประกอบด้วยข้อมูลหลักฐานและวิธีการวิเคราะห์สังเคราะห์ที่เชื่อถือได้ โปร่งใส เป็นสาธารณะที่ให้ใคร ๆ เข้ามาดูและพิสูจน์ได้ สามารถนำมาสู่การเรียนรู้ร่วมกัน และเกิดความเห็นพ้องได้
“การวิจัยนโยบาย” หรือ “การสังเคราะห์นโยบาย” อย่างมีคุณภาพ จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องทำกันให้มาก เพื่อเป็นเครื่องมือเคลื่อนสังคมไปให้ “แผ่นดินมีธรรมครอง” และเป็นไป “เพื่อประโยชน์สุขของมหาชนชาวสยาม” เนื่องจากนักวิจัยเก่ง ๆ มีน้อย และนักวิจัยนโยบายยิ่งมีน้อย จึงจำเป็นต้องส่งเสริมการสร้างนักวิจัยนโยบายให้มากโดยเร่งด่วน
กระบวนการนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม ( Participatory Public Policy Process = PPPP= P4 ) นี้ ถ้าทำให้ดีและกว้างขวาง จะเป็นกระบวนการทางปัญญา กระบวนการทางสังคม และกระบวนการทางศีลธรรม เพื่อตอบสนองพระปฐมบรมราชโองการ ให้แผ่นดินนี้มีธรรมครอง และเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของมหาชนชาวสยาม
(Healthy Public Policies)
นโยบายสาธารณะที่ดี คือนโยบายสาธารณะที่นำไปสู่ความถูกต้อง เป็นธรรม และประโยชน์สุขของมหาชนในพระปฐมบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขของมหาชนชาวสยาม” อาจเรียกว่าเป็นทิศทางของประเทศที่ใหญ่ที่สุด ที่ควรจะถอดมาเป็นนโยบายสาธารณะที่ดี และมีกระบวนการที่จะทำให้เกิดขึ้น
โดยที่พระมหากษัตริย์เป็นสัญลักษณ์ของชาติ คนในชาติทั้งหมดควรจะต้องถือเป็นหน้าที่ที่จะให้แผ่นดินนี้มีธรรมหรือความถูกต้องครอง เพื่อประโยชน์สุขของมหาชนทั้งหมด
เราไม่สามารถเบี่ยงเบนไปจากนี้ได้เลย เช่นว่า แผ่นดินจะครองด้วยอธรรมเพื่อประโยชน์สุขเฉพาะตัวหรือเฉพาะกลุ่ม ไม่ใช่ประโยชน์สุขของมหาชนทั้งหมด เพื่อให้เป็นไปตามพระบรมราชโองการ คนไทยทั้งชาติจะต้องช่วยกันดูแลไม่ให้แผ่นดินถูกครองด้วยอธรรมเพื่อประโยชน์สุขของคนบางกลุ่มบางเหล่า
แต่ในสังคมปัจจุบันที่ซับซ้อน “ความถูกต้องเป็นธรรม” และ “ประโยชน์สุข” ก็ซับซ้อนและตีความต่าง ๆ กัน ไม่ตรงไปตรงมาเหมือนเมื่อครั้งพระนเรศวรหรือพระเจ้าตากสิน การใช้ “ความเห็น”เถียงกัน หรือการลงมติด้วยเสียงข้างมาก ไม่ได้เป็นประกันว่าจะมี “ความถูกต้องเป็นธรรม” หรือ“เป็นประโยชน์สุขของมหาชน”
จำเป็นต้องมีการวิจัยสร้างความรู้ ว่ามี “ความถูกต้องเป็นธรรม” และเป็น “ประโยชน์สุขของมหาชน” หรือไม่ มากน้อยเพียงใด ความรู้ที่ได้จากการวิจัย อันประกอบด้วยข้อมูลหลักฐานและวิธีการวิเคราะห์สังเคราะห์ที่เชื่อถือได้ โปร่งใส เป็นสาธารณะที่ให้ใคร ๆ เข้ามาดูและพิสูจน์ได้ สามารถนำมาสู่การเรียนรู้ร่วมกัน และเกิดความเห็นพ้องได้
“การวิจัยนโยบาย” หรือ “การสังเคราะห์นโยบาย” อย่างมีคุณภาพ จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องทำกันให้มาก เพื่อเป็นเครื่องมือเคลื่อนสังคมไปให้ “แผ่นดินมีธรรมครอง” และเป็นไป “เพื่อประโยชน์สุขของมหาชนชาวสยาม” เนื่องจากนักวิจัยเก่ง ๆ มีน้อย และนักวิจัยนโยบายยิ่งมีน้อย จึงจำเป็นต้องส่งเสริมการสร้างนักวิจัยนโยบายให้มากโดยเร่งด่วน
กระบวนการนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม ( Participatory Public Policy Process = PPPP= P4 ) นี้ ถ้าทำให้ดีและกว้างขวาง จะเป็นกระบวนการทางปัญญา กระบวนการทางสังคม และกระบวนการทางศีลธรรม เพื่อตอบสนองพระปฐมบรมราชโองการ ให้แผ่นดินนี้มีธรรมครอง และเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของมหาชนชาวสยาม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น