อ.เน้นการหลั่งไหล ของวัฒนธรรม ค่านิยม สู่สังคมห่างไกลได้รวดเร็วขึ้น เนื่องจากการพัฒนาในทุกด้าน แม้กระทั่งการศึกษาก็ไม่ได้ช่วยให้ค่านิยมแบบดั่งเดิมคงอยู่ต่อไปได้ ผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียของนโยบายสาธารณะ จะต้องให้ความสำคัญกับบุคคลเหล่านี้
การทำนโยบายสาธารณะจะต้องทราบและวิเคราะห์ความต้องการของผู้มีส่วนได้เสีย (Need Assessment)เช่นกรณีการจัดทำแผนจะทราบความต้องการของประชาชน นักธุรกิจ ข้าราชการ เกษตรกร เป็นต้นในท้องถิ่นนั้นๆ ให้สอดคล้องกับพันธกิจ เราเรียกว่า หลักธรรมาภิบาลของการมีส่วนร่วม
การร่างนโยบายไม่ควรเป็นแบบ Top Down ควรเป็นแบบบูรณาการจากหน่วยงานจัดทำแผน Value Chain ผ่านผู้บริหารในการกำหนดนโยบายทำแผนบูรณาการ จากหน่วยงานต่างๆ
นโยบายของทางราชการถูกแปลงเป็น แผนบริหารราชการแผ่นดิน ได้เป็น ยุทธศาสตร์ (Strategy) ได้การทำ swot เพื่อไปกำหนดแผนยุทธศาสตร์ด้านต่างๆ
การที่เราโฟกัสไปที่กลุ่มเป้าหมายโดยเฉพาะ(Niche Market) เช่น ชาวนา อุตสาหกรรม
วิสัยทัศน์ พันธกิจ จะเป็นตัวกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ เพื่อนำไปสู่เป้าหมาย และโครงการ (Strategies)
กระบวนการบริหารแผนงานโครงการ
Sevice delivery
Workflow คือเวลาทำงานเท่ากับเท่าไหร่ ทำให้รู้ปริมาณงาน ทำให้รู้ค่าของเงินเดือน (Value for money)
· เวลาทำงาน + ปริมาณงาน = ต้นทุนกิจกรรม
สรุป ผลผลิต ต้องมากกว่าต้นทุน (เวลาและทรัพยากรที่ใช้ไป)
Strategic Control (วอร์ลูม) ของ Strategy Formulation เพื่อวิเคราะห์ จุดอ่อนจุดแข็ง
การแปลงนโยบายไปสู่ยุทธศาสตร์
n เมื่อได้รับนโยบายจากรัฐบาล ส่วนราชการจะต้องนำนโยบายมาวิเคราะห์เพื่อดูว่าอยู่ในพันธกิจ (Mandate) ของส่วนราชการในเรื่องใด ก่อนที่จะนำพันธกิจมากำหนดเป็นประเด็นยุทธศาสตร์ที่จะต้องตอบสนองรัฐบาล
n ส่วนราชการมอบหมายหน่วยงานในสังกัดให้นำเอาประเด็นยุทธศาสตร์ของส่วนราชการไปแปลงเป็นประเด็นยุทธศาสตร์ในระดับกรม
n กรมจะต้องแปลงยุทธศาสตร์ระดับกระทรวงให้เป็นประเด็นยุทธศาสตร์ระดับกรม โดยพิจารณาจากพันธกิจ และวิสัยทัศน์ของกรม
n จากประเด็นยุทธศาสตร์ กรมจะต้องกำหนดเป้าประสงค์ ตัวชี้วัดความสำเร็จ และกลยุทธ์ที่จะต้องใช้ดำเนินการให้บรรลุเป้าประสงค์และได้ตัวชี้วัดตามที่กำหนดไว้
n จากกลยุทธ์ที่กำหนด กรมจะต้องกำหนดโครงการเพื่อตอบสนองแต่ละกลยุทธ์ที่วางไว้
n แต่ละโครงการจะมีเป้าหมายที่แน่นอนในการส่งมอบผลผลิตตามตัวชี้วัดที่กำหนดไว้
กระบวนที่กล่าวข้างต้น คือ การนำนโยบายไปปฏิบัติ POLICY IMPLEMENTATION ความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมาย หรือ คุณภาพการบริการ เพื่อก่อให้เกิดการยอมรับเสียภาษี
ประสิทธิภาพของงาน (Effectiveness) = คุณภาพ + ปริมาณงาน
ผลลัพธ์ + ผลผลิต
คุณภาพบริการ = Customer Satisfaction
ประสิทธิภาพ(กระบวนงาน)
1. สามารถตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการได้
2. ใช้งบประมาณอย่างคุมค่าหรือไม่ Value for money
3. มีความเท่าเทียมกันหรือไม่ Equality
4. มีความโปร่งใสตรวจสอบได้ Transparency
5. เปิดโอกาสให้เข้าถึงบริการ เท่าเทียมกันหรือไม่ Equity
6. ความถูกต้องตามหลักยุติธรรม (Rule of Law)
(Good governance )
การเชื่อมความสัมพันธ์
การกำหนดตัวชี้วัดเชิงประสิทธิผลชัดเจน เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ , จำนวนเอกสารสิทธิ์ที่ดิน
การกำหนดผลลัพธ์ (เชิงคุณภาพ) ที่ชัดเจน
การประเมินผล (Evaluation)
เป็นกระบวนการตัดสินคุณค่าการดำเนินงานว่า มีประสิทธิผล คือ เกิดผลตามที่กำหนดไว้ในวัตถุประสงค์ หรือ เกิดผลผลิตตามที่คาดหวังหรือไม่: มีประสิทธิภาพ คือ การดำเนินงานมีความเหมาะสมกับต้นทุนที่ใช้หรือไม่ มีความคุ้มค่าหรือไม่ : เกิดผลกระทบ (Impact) มากน้อยเพียงใด สามารถตอบสนองเป้าประสงค์ของประเด็นยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้มากน้อยเพียง : มีปัญหาอุปสรรคอะไรบ้างในขณะที่ดำเนินโครงการ : ข้อเสนอแนะเพื่อให้การดำเนินงานดีขึ้น
การประเมินนโยบาย หมายถึง
การประเมินนโยบาย คือ ขั้นตอนหนึ่งในกระบวนการนโยบาย ซึ่งจะให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินการตามนโยบาย หรือ ผลการดำเนินการตามนโยบายว่า ตอบสนองความต้องการ หรือ มีคุณค่าหรือไม่เพียงใด
ความสัมพันธ์ระหว่าง นโยบาย แผนงานและโครงการ
ความสัมพันธ์ด้านโครงสร้าง
- นโยบายใดจะสามารถปฏิบัติได้ จำเป็นต้องมีแผนงานและโครงการเป็นตัวรองรับ ตัวแผนงานจะเป็นตัวเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างนโยบายกับการนำไปปฏิบัติให้เห็นเป็นรูปธรรม และ เมื่อมีแผนงานก็ต้องมีกิจกรรมและการดำเนินการตามกิจกรรมที่กำหนดขึ้น ซึ่งส่วนมากต้องอาศัย งบประมาณ กำลังคน และเครื่องมือในการดำเนินการ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ในวัตถุประสงค์ นโยบายที่ดีต้องมีแผนงานและโครงการที่สอดรับกันรองรับ นโยบายจึงจะบรรลุเป้าหมายและเกิดเป็นผลงานที่ชัดเจน
ความสัมพันธ์ด้านวัตถุประสงค์และผลงาน
- ตามปกติเมื่อนโยบายถูกแปลงเป็นแผนงานและโครงการ จะมีการกำหนดวัตถุประสงค์หลักและวัตถุประสงค์รองในแต่ละแผนงาน และโครงการด้วย เพื่อให้ผู้ปฏิบัติมีทิศทางของการปฏิบัติตามนโยบายที่ชัดเจน สิ่งที่ถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งคือ วัตถุประสงค์ทั้งระดับแผนงานและโครงการต้องมีความสอดคล้องและสนับสนุนซึ่งกันและกัน
ความสัมพันธ์ด้านการบริหาร
- นโยบายจะบรรลุผล ต้องมีกระบวนการบริหารแผนงานและโครงการที่ดี ปรากฏในรูปของการวางระบบงานที่ชัดเจน จัดเตรียมบุคลากรให้เหมาะสม ดูความสอดคล้องของเวลาที่มีและปริมาณแผนงาน/โครงการที่ต้องดำเนินการ รวมตลอดจนการจัดเตรียมทรัพยากรสำหรับการดำเนินการตามแผนด้วย
ประเภทของการประเมินผลนโยบาย
- การประเมินผลโดยอาศัยหลักเกณฑ์ทางการเมือง ผู้ประเมินมักเป็นนักการเมืองที่กำหนดนโยบาย และผู้ที่ได้รับมอบให้นำนโยบายไปปฏิบัติ
- การประเมินผลโดยอาศัยคนกลางภายนอก ส่วนมากจะว่าจ้างนักวิชาการเป็นผู้ติดตามและประเมินผลนโยบาย การ
ประเมินแบบนี้ต้องคำนึงถึงหลักดังนี้
หลักของการประเมินผลนโยบาย
- การมีเป้าหมายของการดำเนินนโยบายที่ชัดเจน
- การจัดลำดับความสำเร็จของโครงการเชิงปริมาณ
- ประกอบด้วยข้อสรุปที่เชื่อมโยงเป้าหมายของผู้กำหนดนโยบาย และผลสำเร็จของโครงการที่ชัดเจน
- ความยั่งยืน (Sustainability)
ประเภทของการประเมินผลนโยบาย
ฮาวเร็ตและราเมศ (Howlett และ Ramesh) ได้แบ่งประเภทการประเมินผลนโยบายเป็น 3 ประเภท
- การประเมินโดยฝ่ายตุลาการ
- การประเมินด้านการบริหาร
- การประเมินโดยประชาชนและระบบย่อยทางการเมือง
การประเมินด้านการบริหาร
เน้นการประเมินด้านการบริหารงานตามแผนงาน/โครงการ เป็นการประเมินเชิงระบบ ซึ่งมักจะประกอบด้วยการประเมินปัจจัยนำเข้า ผลผลิต ความพอเพียงของผลงานหรือประสิทธิผล การประเมินประสิทธิภาพ และ การประเมินกระบวนการดำเนินการ
การประเมินโดยฝ่ายตุลาการ
เป็นการประเมินที่เน้นเรื่องความถูกต้องของข้อกฎหมายที่มีความสัมพันธ์กับนโยบายสาธารณะที่เกิดขึ้น เช่น การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ที่มีการกำหนดกฎหมายกำกับ ต้องดูว่า นโยบายการแปรรูปฯดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ มีกฎกระทรวงรองรับนโยบายหรือไม่ ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ (เช่น นโยบายการปราบผู้มีอิทธิพล อาจจะขัดกับสิทธิขั้นพื้นฐานของบุคคลที่รัฐธรรมนูญรองรับก็ได้)
การประเมินโดยประชาชนและระบบย่อยทางการเมือง
เน้นการประเมินทัศนคติของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการใช้นโยบายของรัฐ ตัวอย่างเช่น การประเมินความพึงพอใจของประชาชนต่อการนำนโยบายสามสิบบาทรักษาทุกโรค เป็นต้น คือการสำรวจทัศนคติ
ขั้นตอนการประเมิน
กาว (Gow) ได้สรุปขั้นตอนการประเมินผลเป็น 4 ขั้นตอนคือ
- การกำหนดเป้าหมายและหลักเกณฑ์การประเมินที่ชัดเจน
- พัฒนาตัวแบบการวิจัยประเมินผลที่เหมาะสมกับเป้าหมายและเกณฑ์ดังกล่าว
- สร้างมาตรวัด และเก็บรวบรวมข้อมูล
- การวิเคราะห์ข้อมูล
Course / benefit ratio
B C rtio < 1 ขาดทุน
B C rtio > 1 ต้องมากกว่า 1
Economic Internal Rate of Return (EIRR)
ถ้าการมีต้นทุนมากกว่า 1 ควรทำ ถ้าน้อยกว่ายกเลิก
Financial Internal Rate of Retune (FIRR)
อัตราผลตอบแทนทางการเงินของ
ผลตอบแทนการลงทุน (Retune to Investment)
Payback Period ห้ามเกิน 7 ปี
เกณฑ์ที่นิยมใช้ในการประเมินนโยบาย
ตัวชี้วัดในการประเมินของดันน์ Dunn
· ประสิทธิผล(Effectiveness)
· ประสิทธิภาพ (Efficiency)
· ความพอเพียง (Adequacy) มีมิติที่สำคัญ มี 4 m 1. คน 2.เงิน 3 วัสดุอุปกรณ์ 4. การบริหารจัดการ
· ความเป็นธรรม (Equity)
· การตอบสนองต่อกลุ่มเป้าหมาย (Responsiveness) อย่างแท้จริงหรือไม่
· ความเหมาะสม (Appropriateness) ในการทำเพื่อตอบสนองแผน และเป้าประสงค์ ตามความต้องการ เหมาะสมหรือไม่
เกณฑ์การประเมินที่นำเสนอโดย OEDC ของธนาคารโลก (The Five Criteria Model) Tacit Knowledge
1. ประสิทธิภาพ (Efficiency) ต้องมีแผนงานที่ชัดเจน มีแผนบริหารความเสี่ยง แผนบริหารงบประมาณที่ชัดเจน
2. ประสิทธิผล (Effectiveness)
3. ความเกี่ยวข้องระหว่างโครงการ แผนงานและนโยบาย (Relevance) เกณฑ์ประเมินต้องยึด แผนพัฒนาสังคมเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ พันธกิจขององค์กร
4. ผลกระทบ (Impact) สิ่งแวดล้อมใดบ้าง สาเหตุเกิดจาก ? กระทบต่อสังคม
5. ความยั่งยืน (Sustainability) ส่วนมากเป็นไปไหม้ฟาง ไม่มีความจริงใจ
(เกณฑ์นี้เป็นที่นิยมมากและใช้ในการสอบด้วย)
เกณฑ์ที่นำเสนอโดย Harward Business School
- Balance Scored Card หรือ BSC ซึ่งมีประเด็นที่ต้องประเมิน เมื่อนำนโยบายไปปฏิบัติ เป็นแผนงาน และโครงการ ปัจจุบันหน่วยราชการไทยจะใช้กรอบนี้เป็นแนวทางในการกำหนดตัวชี้วัดในการประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยงาน กพร. ครั้งแรกใช้ 2546
มิติที่ประเมินใน Balance Scorecard
- มิติทางด้านการเงิน (Financial Perspective)
- มิติด้านการบริหารงานภายใน (Internal Process Perspective)
- มิติด้านความพึงพอใจของลูกค้า (Customer Perspective)
- มิติด้านการส่งเสริมการเรียนรู้ภายในองค์กรและการสร้างนวัตกรรมใหม่ (Learning and Growth Perspective)
BCS(Balance Scorecard)
· ประสิทธิผล ; ผลผลิต (ระดับที่สามารถวัดได้)
1 วัตถุประสงค์ที่ต้องบรรลุ KPI
- เพื่อมาสร้างเป็นตัวชี้วัด
· ประสิทธิภาพ (ระดับที่สามารถวัดได้)
- สามารถตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการได้
- ใช้งบประมาณอย่างคุมค่าหรือไม่ Value for money
- มีความเท่าเทียมกันหรือไม่ Equality
- มีความโปร่งใสตรวจสอบได้ Transparency
- เปิดโอกาสให้เข้าถึงบริการ เท่าเทียมกันหรือไม่ Equity
- ความถูกต้องตามหลักยุติธรรม (Rule of Law)
· บริหารทรัพยากรที่ใช้ในโครงการ (ระดับที่สามารถเหมาะสม)
- งบประมาณ ( ทันเวลา โปร่งใส คุ้มค่า)
- คน คนที่ทำโครงการ (ความเท่าเทียมกัน ความรู้ความสามารถ ในการเขียนโครงการ)
- คนทำงาน (มีประสบการณ์ ความพอเพียง คุณวุฒิ ความรู้)
- เครื่องมือ (พอเพียง เหมาะสมกับการใช้งาน คุ้มค่า)
· Learning & Growth
- Best practice การปฏิบัติที่ดีที่สุด
- พัฒนาตนเอง
- Networking เครือข่าย
- คู่มือปฏิบัติงาน
ข้อควรพิจารณาในการประเมินผลนโยบาย
เงื่อนไขที่จะทำให้การประเมินผลนโยบาย ประสบความสำเร็จ
- ต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน
- ต้องดำเนินกิจกรรมตามแผนงาน
- มีการกำหนดเกณฑ์การวัดที่ชัดเจน (KPI)
- มีการเก็บข้อมูลเพื่อใช้ในการประเมินครบถ้วน ถูกต้อง
(The Five Criteria Model)
- Tacit Knowledge สิ่งเราปฏิบัติงาน กลายเป็นประสบการณ์ของคนรุ่นต่อไป
- Best Practice
Knowledge Manegment (KM) (กพร.นำมาใช้)
1. learn to learn(เรียนเพื่อรู้) ,
2. Learn to Chair เรียนเพื่อแชร์ข้อมูล ,
3. Learn to Connect เรียนเพื่อที่จะเอาไปบูรณาการกับคนอื่น
4. Learn to Innovate เรียนเพื่อ พัฒนาให้รู้มุมมองต่างๆ
สิ่งที่ กพร.ต้องการมากที่สุดคือ Blueprint fir Change
1. Man คน
2. IT ไอที เทคโนโลยี กระจายให้ทั่วถึงแล้วเกิด
3. Culture change วัฒนธรรมในการทำงานให้เปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น
4. Leadership Management ต้องมีภาวะผู้นำ การนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จ
5. High Performance Organization องค์การที่มีประสิทธิภาพสูง
6. Explicit Knowledge ความรู้ชัดแจ้ง
7. Synergy การรวมพลังในการทำงาน
มโนทัศน์การประเมิน
l Assessment: กระบวนการต่าง ๆ ของการสังเคราะห์ข่าวสารเกี่ยวกับบุคคลซึ่งนำไปสู่การประเมินคุณค่าตามสภาพการณ์ของบุคคลนั้น ๆ เพื่อให้สามารถอธิบายและเข้าใจบุคคลนั้น (Brown, 1983:15)
l Evaluation: กระบวนการค้นหาหรือตัดสินคุณค่าหรือจำนวนของบางสิ่งบางอย่าง โดยใช้มาตรฐานของการประเมิน รวมทั้งการตัดสินโดยอาศัยเกณฑ์ภายในและ/หรือเกณฑ์ภายนอก (Good, 1973: 220)
การประเมินผลในฐานะที่เป็นงานวิจัย
l Suchman ได้พัฒนาการประเมินให้มีความเป็นวิทยาศาสตร์มากขึ้น โดยการนำเอาระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์เข้ามาประยุกต์ใช้สำหรับการประเมินนโยบายและแผนงานทางด้านสาธารณะสุข
l แม้จะมีการนำเอาวิธีการวิจัยมาใช้ในการประเมิน แต่การวิจัยประเมินและการประเมินไม่เหมือนกัน เนื่องจากการวิจัยประเมินไม่มีการตัดสินให้คุณค่าโดยบุคคลของผู้ประเมิน
l Evaluation เป็นคำที่ใช้ในการอธิบายและตัดสินคุณสมบัติบางอย่างของบุคคลหรือกลุ่มบุคคล รวมทั้งกระบวนการและโครงการต่างๆ ว่ามีความเหมาะสม เป็นที่ยอมรับได้ในระดับสากลหรือไม่
l กระบวนการประเมินผลประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ
- การเลือกสิ่งที่ต้องการประเมิน
- การพัฒนาและการใช้กระบวนการเพื่ออธิบายสิ่งที่ต้องการประเมินนั้นอย่างถูกต้องแม่นยำ
- การสังเคราะห์หลักฐานที่เป็นผลจากกระบวนการเหล่านี้ไปสู่การตัดสินใจขั้นสุดท้าย
ประสิทธิผล คือ ความสามารถในการดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้
จำนวนค่าใช้จ่ายจากบัตรทองลดลง 10%
ปีแรกเป้าหมาย เรียกว่า Baseline
ปีที่ 2 ถึงสิ้นสุดโครงการ เรียกว่า Benchmark
การติดตามประเมินผล
· Monitor ; โครงการยังดำเนินอยู่เราติดตาม
· Input ; เพื่อดูการใช้ทรัพยากร ว่าเป็นไปตามกรอบที่วางไว้หรือไม่
· Process ; ดูแผนงานว่าเป็นไปตามกรอบที่วางไว้หรือไม่
· Output ; ดูผลงาน
· Fine Tune ; ดูปัญหาและอุปสรรค เพื่อการปรับแก้
Input ได้แก่
1. คน Man
2. เงิน Money
3. วัสดุอุปกรณ์ material
มีความเหมาะสม(Appropriate) หรือไม่ ประกอบด้วย ความพอเพียง ความครบถ้วน และประสบการณ์
Process
1. Management (การบริหารจัดการ)
· Planning Research Stockholder
การศึกษาความเป็นได้ (Flexibility)
· Doing มีการดำเนินงานตามแผนที่กำหนดไว้หรือไม่(ต้องมีขั้นตอน) Work Flow
Work Flow เครื่องมือวิเคราะห์ เรียกว่า Work Breakdown Structure
1. รู้งาน Task
2. รู้กิจกรรม Activity
3. รู้คนทำ In-charge สามารถคำนวณต้นทุนกิจกรรมได้
4. รู้งบประมาณ
5. รู้เวลา
6. รู้ว่าใช้อะไรบ้าง
Checking ; Monitor
Action ; ปรับเปลี่ยน
Output ; ผลผลิตเชิงปริมาณ (เทียบค่าเป้าหมาย)
ทั้งหมดเรียกว่า เกณฑ์การตัดสินคุณค่า เพื่อส่งให้รัฐบาลในลักษณะ Outcome(ผลลัพธ์) = ประชาชนอยู่ดีมีสุข ปลอดภัย
การสร้างกรอบการประเมิน
1 ตัวแบบการประเมิน Evaluation Model
2 ประเด็นที่ประเมิน Index
3 KPI
4 เกณฑ์ตัดสินคุณค่า
l ทฤษฎีจุดมุ่งหมายของการประเมิน
- การประเมินแบบอิงเป้าหมาย (Goal-based Evaluation)
- การประเมินแบบไม่อิงเป้าหมาย (Goal-free Evaluation)
- การประเมินก่อนดำเนินงาน (Formative Evaluation) และ การประเมินหลังเสร็จสิ้นการดำเนินงาน (Summative Evaluation)
ประเด็นยุทธศาสตร์
· พัฒนาคุณภาพชีวิต
เป้าหมาย(Goal)
· เพื่อให้ประชาชนไทยมีความสุข สุขภาพจิตสมบูรณ์ - จัดให้มีเวทีออกกำลังกาย –รณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับ
โครงการโภชนาการแก่เด็กเยาวชนและผู้สูงอายุ
วงจรทั้งหมดเรียกว่า ความสอดคล้อง (Relevancy)
โมเดลการประเมิน
l ทฤษฎีการกำหนดคุณค่า
- ทุกสิ่งมีคุณค่า คุณค่าที่มีของสิ่งต่าง ๆ ในโลกมี 2 แบบ คือ คุณค่าในตัวเอง (Internal Value)หรือคุณสมบัติของคน กับคุณค่าภายนอก (External Value)
- การที่จะประเมินคุณค่าภายในของอะไรก็ตามได้ต้องมีเกณฑ์และตัวชี้วัดที่กำหนดคุณค่าของสิ่งที่ประเมินไว้ก่อน จึงจะเทียบเคียงได้ว่ามีคุณค่าตามที่กำหนดหรือไม่ เกณฑ์ที่เปรียบเทียบเป็นเกณฑ์ Absolute
- การประเมินคุณค่าภายนอกของอะไรก็ตาม ต้องสัมพันธ์กับบริบทภายนอกซึ่งมีส่วนในการให้ค่าของสิ่งที่ทำการประเมิน คุณค่าแบบนี้เป็นเรื่องความรู้สึกมากกว่ามีเกณฑ์มาตรฐาน ส่วนมากวัดในรูปผลกระทบ เกณฑ์ที่เปรียบเทียบเป็นเกณฑ์สัมพัทธ์ (Relative)
เกณฑ์ตัดสินคุณค่า
- การประเมินผลจำเป็นต้องมีการกำหนดเกณฑ์ตัดสินคุณค่าดีหรือไม่ดีที่ชัดเจน ผู้ประเมินจึงต้องกำหนดเกณฑ์ตัดสินคุณค่า โดยปกติเกณฑ์ตัดสินคุณค่ามี 2 แบบ คือ เกณฑ์เทียบกับสิ่งที่มีอยู่เดิม เราเรียกว่า Benchmark กับการสร้างเกณฑ์ขึ้นมาใหม่ เรา เรียกว่า Baseline
- เกณฑ์ที่มีการเทียบเคียงเป็นเกณฑ์สัมพัทธ์ (Relative) ส่วนเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นใหม่ เป็นเกณฑ์สมบูรณ์ เรียกว่า (Absolute)
เกณฑ์ตัดสินคุณค่าที่นิยมใช้ในส่วนราชการไทย
- เกณฑ์ที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีทั้ง 2 แบบ ถ้ามีเกณฑ์เดิมอยู่แล้ว ส่วนราชการต้องกำหนด Benchmark แต่ถ้าเป็นเรื่องที่ดำเนินการใหม่ ส่วนราชการต้องกำหนดเป็น Baseline
- การตัดสินคุณค่าจะเทียบเคียงกับ 2 เกณฑ์ แล้วกำหนดเป็นระดับความสามารถที่ดำเนินการได้ ปกติ TRIS กำหนดระดับความสามารถที่ดำเนินการได้เป็น 5 ระดับ
เกณฑ์-ผลลัพธ์ (Achievement Criteria)
TRIS = Thailand Rating information system
1 = ดีเยี่ยม
2 = ดีมาก
3 = ดี
4 = พอใช้
5 = ต้องปรับปรุง
ระดับความสามารถที่ปฏิบัติได้
ระดับที่สามารถดำเนินการได้ 5 ระดับ ได้แก่
ดำเนินการได้มากกว่าร้อยละ 80- ขึ้นไป = ดีเยี่ยม
ดำเนินการได้ระหว่าง ร้อยละ 60-79 = ดีมาก
ดำเนินการได้ระหว่าง ร้อยละ 40-59 = ดี
ดำเนินการได้ระหว่าง ร้อยละ 20-49 = พอใช้
ดำเนินการได้น้อยกว่า ร้อยละ 20 = ต้องปรับปรุง
ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการประเมินนโยบาย
ด้านผู้ประเมิน
l ผู้ประเมินขาดความรู้ ความเข้าใจในเรื่องที่ประเมิน ในทฤษฎีการประเมิน
l ผู้ประเมินขาดความเข้าใจในวัตถุประสงค์ของนโยบายที่ถูกต้อง (
l ผู้ประเมินวิเคราะห์ขอบเขต กรอบแนวคิด และตัวชี้วัดในการประเมินบกพร่อง
l ผู้ประเมินออกแบบกระบวนการในการประเมินบกพร่อง
l ผู้ประเมินขาดทักษะในการวิเคราะห์และเลือกใช้ข้อมูล
l ผู้ประเมินเลือกใช้ข้อมูลในการรายงานผลโดยมีอคติ
การแทรกแซงทางการเมือง
l การเมืองแทรกแซงการประเมิน เมื่อมีการคาดการณ์ว่าการประเมินจะทำให้เสียดุลของอำนาจทางการเมือง
l การแทรกแซงทางการเมืองมักทำให้เกิด “การประเมินเทียม” (Pseudo-evaluation) เป็นการประเมินเพื่อสร้างภาพ หรือการประเมินเพื่อบิดเบือนข้อมูลให้เป็นประโยชน์ต่อฝ่ายการเมือง
l พฤติกรรมการแทรกแซงทางการเมืองเกี่ยวกับการประเมิน
- เลือกมอง (eye-wash) เลือกเฉพาะโครงการที่ประสบความสำเร็จ
- สร้างม่านบังตา (white-wash) ปกปิดความล้มเหลวโดยหลีกเลี่ยงการประเมินอย่างตรงไปตรงมา มีการใช้ข้อมูลที่ผิวเผิน หรือ เลือกใช้นักประเมินที่ขาดความชำนาญ
l พฤติกรรมการแทรกแซงทางการเมืองเกี่ยวกับการประเมิน
- เลือกมอง (eye-wash) เลือกเฉพาะโครงการที่ประสบความสำเร็จ
- สร้างม่านบังตา (white-wash) ปกปิดความล้มเหลวโดยหลีกเลี่ยงการประเมินอย่างตรงไปตรงมา มีการใช้ข้อมูลที่ผิวเผิน หรือ เลือกใช้นักประเมินที่ขาดความชำนาญ
ปัจจัยอื่น ๆ
l ระยะเวลาการประเมินไม่เหมาะสม
l งบประมาณที่ใช้ในการประเมินไม่เหมาะสม
l ทัศนคติของผู้บริหารระดับสูงในระดับปฏิบัติการต่อการประเมิน
l ค่านิยมของหน่วยงานที่มีต่อการประเมิน
l วัฒนธรรมองค์กรที่แตกต่างกัน
l อิทธิพลการแทรกแซงทางการเมือง
แผนภูมิแสดงความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างของนโยบาย
การประเมินเชิงอภิมาน(Meta Analysis)
การประเมินเชิงอภิมาน หมายถึง การประเมินที่มุ่งประเมินงานประเมิน เพื่อตัดสินคุณค่า และความสำคัญของงานประเมินด้วยวิธีการประเมินเชิงวิจารณ์อย่างสมบูรณ์
วัตถุประสงค์ของการประเมินแบบอภิมาน
- เพื่อประเมินว่าโครงการประเมินนั้นบรรลุเป้าหมายของการประเมินที่กำหนดไว้มากน้อยเพียงใด
- เพื่อประเมินว่าโครงการประเมินนั้นมีผลหรือผลกระทบต่อกลุ่มเป้าหมายอย่างไร
- เพื่อประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลของโครงการประเมิน
- เพื่อนำเสนอข้อมูลสารสนเทศสำหรับการปรับปรุงโครงการประเมินให้ดียิ่งขึ้น
มิติ บทบาทของการประเมินอภิมาน มีสองประเภท
- การประเมินอภิมานแบบก้าวหน้า เป็นการประเมินในส่วนของการวางแผนงานการประเมินในช่วงที่กำลังดำเนินการประเมิน ช่วยให้นักประเมินวางแผน ทำการประเมินปรับปรุง ตีความ และรายงานสิ่งที่เกี่ยวกับการประเมิน จุดมุ่งหมายเพื่อเป็นเครื่องมือสำหรับปรับปรุงการออกแบบการประเมินและการนำไปสู่การปฏิบัติระหว่างที่กำลังดำเนินการประเมิน
- การประเมินอภิมานผลสรุป เป็นการประเมินหลังสิ้นสุดการประเมิน ช่วยให้คนประเมินเห็นจุดอ่อน จุดแข็ง ของการประเมิน ช่วยให้ตัดสินคุณภาพและความคุ้มค่าตามมาตรฐานของการปฏิบัติงานด้านการประเมินทั้งหมด
ประเภทของการประเมินอภิมาน
มิติ ช่วงเวลาของการดำเนินงาน แบ่งเป็น 2 ประเภท
- ex-ante meta-evaluation
- ex-post facto meta-evaluation
มิติ หน่วยงานหรือบุคคลที่รับผิดชอบในการประเมินอภิมาน
- การประเมินภายใน
- การประเมินภายนอก
แนวทางการสอบย่อย (นักศึกษา 2 คนช่วยกันออกแบบประเมินโครงการที่ท่านเลือกมา (โดยใช้หลักที่อาจารย์สอนในห้องเรียนว่าเน้นเรื่องอะไร ให้ตอบโดยใช้เกณฑ์ BSC และ KPI )
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น