วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554

แนวๆ ข้อสอบ PA 709 อาจารย์พีระพงศ์ ภักคีรี

1.  ความสัมพันธ์ของพลวัตร ที่เกี่ยวข้องกับ นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ (Product Innovation) นวัตกรรมกระบวนการ(Process Innovation) เป็นอย่างไร ? กระบวนการการจัดการความรู้ สามารถนำมาสร้างนวัตกรรมได้อย่างไร ?
ตอบ
1. นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ (Product Innovation)
            คือผลิตภัณฑ์ที่ถูกผลิตขึ้นในเชิงพาณิชย์ที่ได้ปรับปรุงให้ดีขึ้น หรือ เป็นสิ่งใหม่ ในตลาด นวัตกรรมนี้อาจจะเป็นของใหม่ ต่อโลก ต่อประเทศ องค์กรหรือแม้แต่ตัวเราเองนวัตกรรมผลิตภัณฑ์นั้นยังสามารถถูกแบ่งออกเป็น
        -  ผลิตภัณฑ์ที่จับต้องได้ (Tangible product) หรือ สินค้าทั่วไป (goods) เช่น รถยนต์รุ่นใหม่ , สตรอเบอรีไร้เมล็ด, High Definition TV (HDTV), Digital Video Disc (DVD), etc.
        -  ผลิตภัณฑ์ที่จับต้องไม่ได้(Intangible product) หรือ การบริการ (services) เช่น package ทัวร์อนุรักษ์ธรรมชาติ, Telephone Banking, การใช้ internet, การให้บริการที่ปรึกษาเฉพาะด้าน, กฎหมายทาง IT, etc.

      2. นวัตกรรมขบวนการ (Process Innovation)
       
เป็นการเปลี่ยนแนวทางหรือวิธีการผลิตสินค้าหรือการให้บริการในรูปแบบที่แตกต่างออกไปจากเดิม นวัตกรรมขบวนการแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ
           - นวัตกรรมขบวนการทางเทคโนโลยี  (Technological process Innovation)  เป็นสินค้าทุนที่ถูกใช้ในขบวนการผลิต ซึ่งหน่วยของ real capital หรือ material goods ซึ่งถูกปรับปรุงขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและทำให้สามารถเพิ่มผลผลิตได้ (productivity growth) ซึ่งก่อนหน้านั้น มันเป็นนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ เช่น หุ่นยนต์อุตสาหกรรมเป็น product innovation เมื่อ มันถูกผลิตขึ้น และเป็น process innovation เมื่อมันถูกนำไปใช้ในโรงงานผลิตรถยนต์ เป็นต้น
           - นวัตกรรมขบวนการทางองค์กร (Organisational process Innovation) เป็นขบวนการที่เพิ่มประสิทธิภาพและขีดความสามารถของการจัดการองค์กรณ์ให้สูงขึ้น  โดยใช้การลองผิดลองถูก (Trial and Error) และ การเรียนรู้จากการลองทำด้วยตนเอง (learning-by-doing) โดยไม่ได้ขึ้นอยู่กับความสามรถในการทำวิจัยและพัฒนา (R&D) เพียงอย่างเดียว เช่น Just In Time (JIT), Total Quality Management  (TQM), Lean Production  ตัวอย่างของนวัตกรรมชนิดนี้เช่น โรงพยาบาล Karolinska ในกรุงสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน สามารถลดเวลาในการรอตรวจรักษาของผู้ป่วยลงได้กว่า 75% โดยการจัดรูปแบบขององค์กรณ์ใหม่ซึ่งเน้นหนักในด้าน คุณภาพ ความรวดเร็ว และ ประสิทธิภาพ
โดยธรรมชาตินวัตกรรมผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมกระบวนการ มีความสัมพันธ์ระหว่างกันเป็นอย่างมาก เมื่ออัตราการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ลดลง อัตราการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมกระบวนการเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีการออกแบบกระบวนการผลิตให้เป็นมาตรฐาน เพื่อช่วยลดตนทุนการผลิต และผลิตครั้งละในปริมาณที่มาก
ช่วงระยะเวลาของตัวแบบพลวัตรทางนวัตกรรม  แบ่งช่วงระยะเวลาออกเป็น 3 ช่วง คือ
1) ไม่แน่นอน (Fluid)
2) ถ่ายโอน (Transitional)
3) เฉพาะเจาะจง (Specific)
ที่ซึ่งในแต่ละช่วงเวลามีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับ
1) อัตราการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรม (Rate of Innovation)
2) คุณลักษณะของผลิตภัณฑ์
3) คุณลักษณะของกระบวนการ
4) คุณลักษณะขององค์การ
ช่วงระยะเวลาไม่แน่นอน (The Fluid Phase) ความไม่แน่นอนเกิดขึ้น 2 รูปแบบ คือ
1) กลุ่มเป้าหมาย (Target Market)
2) เทคโนโลยีที่จะนำมาเสนอผู้ผลิต
เงื่อนไข
1. เป็นช่วงระยะเวลาที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง
2. ก่อให้เกิดวิวัฒนาการทางเทคโนโลยี
3. อัตราการเปลี่ยนแปลงของผลิตภัณฑ์มีอัตราการที่รวดเร็ว
4. ผลิตภัณฑ์ทางเทคโนโลยีใหม่ถูกนำเสนอแก่ตลาดในช่วงนี้มักจะมีราคาแพง
5. ยังอาจจะหามาตรฐานที่แท้จริงยังไม่ได้ แต่ผลิตภัณฑ์ทางเทคโนโลยีดังกล่าวสามารถที่จะตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในตลาดกลุ่มเป้าหมายเฉพาะหรือตลาดนิช (Niches Market)
ช่วงระยะเวลาถ่ายโอน (Transitional Phase)
เงื่อนไข
1. ผลิตภัณฑ์ได้รับการยอมรับจากตลาด
2. ผู้ประกอบการของธุรกิจมีอัตราการเจริญเติบโตที่สูงขึ้น
3. เกิดแบบผลิตภัณฑ์มาตรฐาน (Dominant Design) ขึ้น
4. การแข่งขันมุ่งเน้นไปที่การผลิตสินค้าหรือบริการที่มีลักษณะที่มีความเฉพาะที่ตรงกับความต้องการของลูกค้ามากขึ้น
5.  ลูกค้ามีความเข้าใจในสินค้าหรือบริการมากขึ้นด้วยเช่นกัน
6.  ผู้ประกอบการก็ปรับตัวเองจากการเป็นผู้ประดิษฐ์ มาเป็นผู้ผลิตที่เน้นและให้ความสำคัญกับการผลิตสินค้าในปริมาณมาก
7.  นวัตกรรมผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมกระบวนการเป็นเรื่องที่มีความสัมพันธ์และมีการเชื่อมโยงกันมากขึ้น
ช่วงระยะเวลาเฉพาะเจาะจง (Specific Phase)
เงื่อนไข
1. กระบวนการผลิตให้ความสำคัญกับคำว่า ประสิทธิภาพ (Efficiency)
2. อัตราส่วนระหว่างคุณภาพกับต้นทุนเป็นเรื่องพื้นฐานของการแข่งขัน
3. สินค้าและบริการเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในตลาด
4. ความแตกต่างของสินค้าและบริการระหว่างคู่แข่งขันนั้นมีความแตกต่างกันไม่มากนัก
5. นวัตกรรมผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมกระบวนการเป็นเรื่องเดียวกัน
6. การเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง (ผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการ) เป็นเรื่องยากมีต้นทุนสูงในการเปลี่ยนแปลง และต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายๆ ฝ่ายในการเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์ได้รับการยอมรับจากตลาด
กระบวนการการจัดการความรู้
1. Define การกำหนดองค์ความรู้ที่ต้องการ ความรู้หลักที่จำเป็นต่องานหรือกิจกรรมของกลุ่ม
2. Create การเสาะแวงหาความรู้ที่ต้องการ และการสร้างความรู้ เพื่อการนำมาใช้งาน
3. Capture การปรับปรุง ดัดแปลง หรือสร้างความรู้ขึ้นเอง บางส่วนเพื่อให้เหมาะสมต่อการใช้งาน
4. Share การแบ่งปัน การแลกเปลี่ยน การกระจาย และการถ่ายโอนความรู้
5. Use การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์การจัดเก็บ
องค์ประกอบของการการจัดการความรู้
1. คน เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุด คือเป็นทั้งแหล่งความรู้ แสวงหาความรู้ คัดเลือกความรู้ สร้างความรู้ และใช้ประโยชน์จากความรู้
2. เทคโนโลยี เป็นเครื่องมือสนับสนุนเพื่อการเสาะแสวงหาความรู้ที่ต้องการ การสร้างความรู้ เพื่อการนำมาใช้งาน และเพื่อการจัดเก็บความรู้
3. กระบวนการหรือระบบ เป็นการบริหารจัดการกับความรู้เพื่อนำความรู้ไปใช้เพื่อการสร้าง  นวัตกรรม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น