การบริหารเชิงกลยุทธ์ หมายถึง กระบวนการต่อเนื่องในการกำหนดภารกิจและเป้าประสงค์ขององค์การ ภายใต้บริบทของสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ โดยรวมถึง
- การกำหนดกลวิธีที่เหมาะสม
- การปฏิบัติตามกลวิธีที่กำหนดไว้
- การใช้อำนาจหน้าที่ในการควบคุมกลยุทธ์
เพื่อทำให้มั่นใจถึงความสำเร็จตามเป้าประสงค์ที่กำหนดไว้
กระบวนการบริหารเชิงกลยุทธ์ มี 5 ขั้นตอน
1. การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม
2. การจัดวางทิศทางองค์การ
- องค์การภาครัฐ พิจารณาภารกิจ(เหตุผลในการมีองค์กร)และเป้าประสงค์(ประโยชน์ที่ได้รับจากองค์การ)
- องค์การภาคธุรกิจเอกชน พิจารณากำหนดวิสัยทัศน์Vision (จุดหมายปลายทางที่องค์กรต้องการไปให้ถึง) ภารกิจ mission และวัตถุประสงค์(objective)
3. การกำหนดกลยุทธ์ เป็นการพิจารณาออกแบบและเลือกกลยุทธ์ที่เหมาะสมและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง
4. การปฏิบัติงานตามกลยุทธ์ คำนึงถึง โครงสร้างและวัฒนธรรมองค์การ
5. การควบคุมเชิงกลยุทธ์
ลำดับชั้นของกลยุทธ์ในภาคธุรกิจเอกชน
1. กลยุทธ์ระดับองค์การ หมายถึงกลยุทธ์ที่ตอบสนองวัตถุประสงค์หลัก ในภาพรวมขององค์การ เช่น
- การครอบครองตลาด Market Share
- ความสามารถในการแสวงหากำไร Profitability
- การเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์หรือบริการ Growth
- มูลค่าหุ้น Value Share
2. กลยุทธ์ระดับกิจการ หมายถึงกลยุทธ์ที่ตอบสนองวัตถุประสงค์หลักของภารกิจ ในแต่ละประเภทของผลิตภัณฑ์หรือบริการ เช่น
- รอบเวลาที่ได้รับบริการ Cycle time
- การได้รับบริการ Service
- ราคาหรือค่าใช้จ่ายในการขอรับบริการ Price/cost
3. กลยุทธ์ ระดับหน้าที่ หมายถึง กลยุทธ์ที่ตอบสนองวัตถุประสงค์หลักของหน้าที่ ที่จะต้องปฏิบัติในกระบวนการทำงานในแต่ละภารกิจ ได้แก่
- รอบเวลาของการให้บริการ
- คุณภาพของการให้บริการ Quality
- การเพิ่มผลผลิต Productivity
- ต้นทุนต่อหน่วย Unit Cost
ลำดับชั้นของกลยุทธ์ในองค์การภาครัฐบาล (แผนพัฒนาเศรษฐกิจ ฉ. 10 เน้นคน ฉ.11 เน้นเศรษฐกิจ )
1. กลยุทธ์ระดับนโยบาย เป็นกลยุทธ์ที่ตอบสนองแผนงานขององค์การ Program Objective
2. กลยุทธ์ระดับโครงการ Project Purpose เป็นกลยุทธ์ที่ตอบสนองวัตถุประสงค์ของโครงการ
3. กลยุทธ์ระดับกิจกรรม (Activity) เป็นกลยุทธ์ ที่ตอบสนองผลผลิตหลัก ซึ่งเกิดจากกระบวนการทำงาน
ที่มาของแผนงานในองค์การภาครัฐบาล
1. นโยบายของรัฐบาลที่กำหนดโดยฝ่ายการเมือง เช่น พระราชบัญญัติงบประมาณประจำปี มติคณะรัฐมนตรี
2. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
3. พระราชบัญญัติ และพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การ
ความแตกต่างของภาคธุรกิจเอกชนและภาครัฐบาล
ภาคธุรกิจเอกชน | ภาครัฐบาล |
1. วัตถุประสงค์ เน้นการแสวงหากำไร และเน้นตัวชี้วัดการทำกำไร | 1. เป้าประสงค์ เน้นทั้งเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง จึงมีตัวชี้วัด ที่หลากหลาย |
2. ยึดถือกฎเกณฑ์ และระเบียบปฏิบัติขององค์การอย่างยืดหยุ่น | 2. ยึดถือกฎเกณฑ์และระเบียบปฏิบัติขององค์การอย่างเคร่งครัด |
3. ไม่มีอิทธิพลแทรกแซงทางการเมืองในการจัดทำแผน | 3. มีอิทธิพลแทรกแซงทางการเมืองอย่างมาก |
4. ผู้มีส่วนได้เสีย คือ นายจ้าง ลูกจ้าง ลูกค้า ผู้ให้สินเชื่อ ผู้ถือหุ้น | 4. มีผู้ตรวจสอบ จากหน่วยงานของรัฐ นักการเมือง สื่อมวลชน องค์การ เอกชน ประชาชน |
ปัญหาในการจัดการเชิงกลยุทธ์
1. ข้อสมมติฐานเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอนาคต นั้นไม่เป็นจริงใช้เทคนิควิเคราะห์ทางสถิติไม่ถูกต้อง
หรือตัวแปรไม่ครบถ้วน
2. มีการแยกกลุ่มผู้จัดทำแผน กลุ่มผู้วางแผน และกลุ่มผู้ปฏิบัติเป็นคนละกลุ่มกันทำให้ไม่สามารถ
เชื่อมโยงความคิดกันได้
3. มีการแยกข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Data) และข้อมูลเชิงคุณลักษณะ (Qualitative Data)ออกจากกันทำให้การวิเคราะห์ไม่ครบถ้วนเชื่อมต่อกัน
4.มักนำความรู้สึกและสัญชาติญาณมาใช้ในการกำหนดกลยุทธ์มากกว่าการกำหนดระเบียบวิธีการที่เป็นรูปธรรม
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม
- การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก
- การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมเชิงปฏิบัติการ
- การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในองค์การ
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ เป็นการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก ที่มีผลกระทบต่อองค์การในระยะยาว ได้แก่
1. ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ
- อัตราเงินเฟ้อ
- อัตราดอกเบี้ย
- อัตราภาษี
- อัตราการว่างงาน
2. ปัจจัยด้านเทคโนโลยี
- การผลิตคิดค้นทางเทคโนโลยีต่างๆ
- เครื่องจักรกลทางอุตสาหกรรม
- เครื่องคอมพิวเตอร์
- เทคโนโลยีสารสนเทศ
3. ปัจจัยด้านการเมืองและกฎหมาย
- นโยบายของรัฐบาล
- เสถียรภาพของรัฐบาล
- การแก้ไขกฎหมาย
- การปรับปรุงระเบียบปฏิบัติงานต่างๆ
4. ปัจจัยด้านสังคม
- โครงสร้างทางเพศ และอายุ
- ระดับการศึกษา
- ค่านิยม
- พฤติกรรมการบริโภค อุปโภค
แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
1. ผู้บริโภคให้ความเอาใจใส่ในสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
2. ตลาดผู้สูงอายุขยายตัวมากขึ้น
3. ลูกค้าต้องการสินค้าและบริการที่สามารถตอบสนองความต้องการเฉพาะตัว เฉพาะกลุ่มมากขึ้น
4. เทคโนโลยีทำให้รูปแบบการดำเนินชีวิตเปลี่ยนแปลงไป
5. ครัวเรือนเดี่ยวมีมากขึ้น
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมเชิงปฏิบัติการในภาครัฐบาล
ในองค์การภาครัฐบาล สภาพแวดล้อมเชิงปฏิบัติการมาจากองค์ประกอบสำคัญ 5 ประการ ได้แก่
1. สภาพปัญหาของสาขาการพัฒนา หรือภาคบริการ (การศึกษา การอนามัย)
2. ผู้รับผลประโยชน์และผู้รับบริการ พิจารณาจากลักษณะของกลุ่มเป้าหมาย
3. ความต้องการของสังคมต่อการได้รับบริการ โดยวิเคราะห์ ปัจจัยที่เอื้อและเป็นอุปสรรคทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และเทคโนโลยี
4. ความพร้อมของภาครัฐในการให้บริการ ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ
5. กลุ่มบุคคลผู้มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ เกี่ยวกับการให้บริการ รวมทั้งผู้สนับสนุนและคัดค้าน
การดำเนินการตามแผนงาน
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมเชิงปฏิบัติการในภาคเอกชน มีเครื่องมือในการวิเคราะห์ที่สำคัญคือ
1. การวิเคราะห์แรงผลักดันทั้ง 5
2. การวิเคราะห์วงจรอุตสาหกรรม
3. การวิเคราะห์แผนที่กลุ่มธุรกิจ
การวิเคราะห์แรงผลักดันทั้ง 5 (Five Forces Model)
เป็นการวิเคราะห์แรงผลักดันที่สำคัญ 5 ประการ ซึ่งมีผลต่อความสามารถในการทำกำไรของผู้ประกอบการ ได้แก่
1 การเข้ามาของคู่แข่งรายใหม่
2 การแข่งขันในอุตสาหกรรม
3 การคุกคามจากสินค้าทดแทน
4 อำนาจต่อรองของผู้ซื้อ
5 อำนาจต่อรองของผู้ขาย
1 การเข้ามาของคู่แข่งรายใหม่ – ข้อจำกัด
- การประหยัดเนื่องจากขนาด
- ความแตกต่างในผลิตภัณฑ์
- ความต้องการเงินลงทุน
- ต้นทุนในการเปลี่ยนสินค้า
- ความจงรักภักดีในตราสินค้า
- การเข้าถึงช่องทางการจัดจำหน่าย
- นโยบายรัฐบาล
- ความไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยี และ สิทธิบัตร
- ผลกระทบของประสบการณ์ในการผลิต
2 การแข่งขันในอุตสาหกรรม
- จำนวนคู่แข่งขัน ขนาดและศักยภาพของคู่แข่ง
- อัตราการเติบโตของอุตสาหกรรม
- ลักษณะของสินค้าและบริการ
- จำนวนต้นทุนคงที่
- อุปสรรคในการออกจากอุตสาหกรรม
3 ภาวะคุกคามจากสินค้าทดแทน
- ระดับราคาของสินค้าทดแทน
- ความสามารถในการตอบสนองความพึงพอใจผู้บริโภคของสินค้าทดแทน
- ความยากง่ายในการที่ลูกค้าเปลี่ยนไปใช้สินค้าทดแทน
4 อำนาจต่อรองของผู้ซื้อ
- ปริมาณการซื้อของผู้ซื้อ เทียบกับยอดขายทั้งหมด
- ความสามารถของผู้ซื้อในการเป็นผู้ผลิตสินค้านั้นเอง
- จำนวนผู้ขายสินค้า
- ต้นทุนในการเปลี่ยนสินค้า (Switching Cost) ของผู้ซื้อ
- ข้อมูลและการเข้าถึงแหล่งข้อมูลของผู้ซื้อในเรื่องเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ราคา และต้นทุนเพื่อการต่อรอง
5 อำนาจต่อรองของผู้ขาย
- จำนวนผู้ขาย
- ลักษณะเฉพาะของสินค้าและบริการ
- การมีสินค้าทดแทนในตลาด
- การขยายธุรกิจของผู้ขายไปสู่การผลิตสินค้าที่เคยซื้อ
ผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ ได้แก่รัฐบาล ชุมชน ท้องถิ่นเจ้าหนี้ สมาคมการค้า ผู้ถือหุ้น องค์กรเอกชน ผู้บริโภค
การวิเคราะห์วงจรอุตสาหกรรม (Industry Life Cycle) วงจรชีวิตอุตสาหกรรม มี 5 ขั้นตอน คือ
1. ระยะเริ่มต้น
2. ระยะเติบโต
3. ระยะชะลอการเติบโต
4. ระยะอิ่มตัว
5. ระยะถดถอย
การวิเคราะห์แผนที่กลุ่มธุรกิจ
(Strategic Group Mapping)
เป็นการวิเคราะห์ บริษัทที่อยู่ในกลุ่มธุรกิจเดียวกันที่มีกลยุทธ์และทรัพยากรคล้ายคลึงกัน เพื่อสร้างความเข้าใจในสถาพการแข่งขันในอุตสาหกรรม โดยเลือกลักษณะ 2 อย่าง ที่ทำให้เห็นความแตกต่าง ของบริษัทเหล่านี้ เช่น ราคา ขอบเขตการแข่งขัน ความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ ช่องทางการจัดจำหน่ายเป็นต้น
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน
เป็นการวิเคราะห์จุดแข็ง – จุดอ่อนในองค์การ เพื่อให้เข้าใจถึงทรัพยากรที่มีอยู่ในองค์การ
q องค์การมีทรัพยากรที่สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน หรือไม่
q คู่แข่งมีทรัพยากรนั้นหรือไม่
q หากคู่แข่งต้องการเลียนแบบ จะมีต้นทุนเกิดขึ้นหรือไม่
q องค์การมีการจัดการทรัพยากรนั้นอย่างมีประสิทธิภาพ หรือไม่
แนวทางการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน ทำได้โดยการวิเคราะห์ห่วงโซ่แห่งคุณค่าและการวิเคราะห์ปัจจัยภายในตามสายงาน
การวิเคราะห์ห่วงโซ่แห่งคุณค่า (Value Chain Analysis)
เป็นการทำความเข้าใจว่า สินค้าขององค์การมีกระบวนการอย่างไรในห่วงโซ่แห่งคุณค่า ซึ่งก็คือ การเชื่อมโยงกิจกรรมต่างๆ ที่สร้างคุณค่าให้แก่องค์การ ตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบไปจนถึงการส่งสินค้าสู่ผู้บริโภคทั้งนี้เพื่อหาความชำนาญหลักของบริษัท
การวิเคราะห์ ห่วงโซ่แห่งคุณค่า มีขั้นตอนดังนี้
1. การตรวจสอบห่วงโซ่แห่งคุณค่าในแต่ละขั้นจากกิจกรรมที่ทำให้เกิดสินค้าและบริการ กิจกรรมใด
นับเป็นจุดแข็งและจุดอ่อน
2. ตรวจสอบความเชื่อมโยงของแต่ละกิจกรรมว่าแต่ละกิจกรรมสามารถส่งมอบคุณค่าใดให้แก่กิจกรรมถัดไป และองค์การสามารถส่งมอบคุณค่าจากกิจกรรมทั้งหมดในห่วงโซ่คุณค่าให้แก่ลูกค้าได้อย่างไร
การวิเคราะห์ปัจจัยภายในตามสายงาน
เป็นการตรวจสอบหน่วยงานต่างๆ ภายในองค์การเพื่อวิเคราะห์จุดแข็ง และจุดอ่อน รวมถึงการวิเคราะห์ความสามารถของทรัพยากรบุคคล ในแต่ละหน่วยงานในการกำหนดวัตถุประสงค์ กลยุทธ์ และนโยบาย
ตลอดจนการนำวัตถุประสงค์ กลยุทธ์ และนโยบาย ไปใช้ในการปฏิบัติงานด้วย
1. การวิเคราะห์การตลาด (Marketing)
- การวิเคราะห์ ตำแหน่งทางการตลาด (Market Position) โดยการตอบคำถามว่า ใครคือลูกค้าของเรา เพื่อให้สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าของตนได้ (market segmentation)
- การวิเคราะห์ ส่วนผสมทางการตลาด (market mix) ซึ่งได้แก่ ผลิตภัณฑ์ ราคา ช่องทางจัดจำหน่ายและการส่งเสริมการขาย เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
- การวิเคราะห์วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (product life cycle) ซึ่ง แสดงความสัมพันธ์ระหว่างเวลากับมูลค่ายอดขายของผลิตภัณฑ์นั้นเพื่อการวางส่วนผสมทางการตลาดที่เหมาะสม
2. การวิเคราะห์ทางการเงิน (Financial Issues)เป็นการวิเคราะห์เพื่อการตัดสินใจ ทางการเงินที่สำคัญ ได้แก่
- การตัดสินใจลงทุน โดยดูถึงระยะเวลาคืนทุนอัตราผลตอบแทนขั้นต่ำ จุดคุ้มทุน
- โครงสร้างทางการเงิน เช่น สัดส่วนหนี้ต่อทุนการวิเคราะห์สภาพคล่องทางการเงิน ความเสี่ยงในการก่อหนี้ ความสามารถในการทำกำไร
3. การวิจัยและพัฒนา (Research and Development Issues)
- การตัดสินใจเลือกทางเลือกด้านเทคโนโลยี ใหม่มาใช้ในองค์การ
- การพัฒนาวิธีการในการนำเทคโนโลยี ใหม่มาใช้ในกระบวนการผลิต
- การจัดสรรทรัพยากรให้เหมาะสมต่อ การนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้
การวิจัยและพัฒนา แบ่งออกเป็น
- การวิจัยพื้นฐาน-เป็นการคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ ในห้องทดลอง
- การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์-สร้างผลิตภัณฑ์ ใหม่
- การวิจัยและพัฒนากระบวนการ เช่น การพัฒนา ด้านวิศวกรรม การควบคุมคุณภาพ การปรับปรุงเครื่องจักรเพื่อลดต้นทุนและจำนวน ของเสีย
4. การดำเนินการ (Operation Issues) เป็นการวิเคราะห์การดำเนินการผลิต และการให้บริการ รวมทั้งการใช้เครื่องจักรและแรงงาน
- กระบวนการผลิตแบบต่อเนื่อง-เน้นการผลิต จำนวนมาก
- กระบวนการผลิตแบบไม่ต่อเนื่อง-เน้นกลุ่ม เป้าหมายเฉพาะ
5. การบริหารทรัพยากรบุคคล
- การวิเคราะห์ลักษณะงาน
- การสรรหาและคัดเลือกพนักงาน
- ระบบผลตอบแทน และระบบจูงใจพนักงาน
- การประเมินผลการทำงาน
- การอบรมและพัฒนา
- การบริหารแรงงานสัมพันธ์
ข้อสอบออกแนวที่นำเสนอ Swot Analysis โรงพยาบาลสุวรรณภูมิ
กรณีศึกษา
บริษัทสยามกระดาษ
Q&A
vichai_tho@hotmail.com08-9129-2929
vichai_tho@hotmail.com08-9129-2929
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น