แนวคิด/ทฤษฎีใด ที่สามารถพัฒนาประเทศไทยให้ยั่งยืนมั่นคงได้ ?
แนวคำตอบ คือทฤษฎีเศรษกิจพอเพียง ( ให้เปรียบเทียบเศรษกิจพอเพียงกับNPM )
สรุป
แนวคำตอบ คือทฤษฎีเศรษกิจพอเพียง ( ให้เปรียบเทียบเศรษกิจพอเพียงกับNPM )
สรุป
จะเห็นได้จาก รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มีมาตราที่สอดคล้องกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงคือ
มาตรา ๘๓ รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการดำเนินการตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
มาตรา ๗๘ รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดิน ดังต่อไปนี้
(๑) บริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปเพื่อการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ และความมั่นคงของประเทศอย่างยั่งยืน โดยต้องส่งเสริมการดำเนินการตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติในภาพรวมเป็นสำคัญ
(๒) จัดระบบการบริหารราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ให้มีขอบเขต อำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบที่ชัดเจนเหมาะสมแก่การพัฒนาประเทศ และสนับสนุนให้จังหวัดมีแผนและงบประมาณเพื่อพัฒนาจังหวัด เพื่อประโยชน์ของประชาชนในพื้นที่
หลักเศรษฐกิจพอเพียง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้พระราชทานมาโดยตลอดนับแต่เสด็จขึ้นครองราชย์ โดยทรงมุ่งเน้น “ทางสายกลาง” สำหรับการดำเนินวิถีชีวิตคนไทยในทุกระดับชั้น ตามหลักการแห่งปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้นจะเห็นได้ว่ามีความสอดคล้องกับกลยุทธ์ทางธุรกิจ ที่มุ่งเน้นเรื่องของพัฒนาที่สมดุลเพื่อตอบรับกับโลกาภิวัฒน์และป้องกันถึงผลกระทบที่มาจากภายในและภายนอกที่เกิดขึ้น
หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้น ประกอบด้วยสามองค์ประกอบและสองเงื่อนไข
สามองค์ประกอบได้แก่
1. ความพอประมาณ
2. ความมีเหตุมีผล
3. และต้องการมีระบบภูมิคุ้มกันในตนเองดี
(ซึ่งเป็นความสามารถในการเผชิญกับผลกระทบจากปัจจัยภายในและภายนอก)
สองเงื่อนไข ที่จะทำให้ความพอเพียงประสบความสำเร็จ คือ
1. เงื่อนไขทางความรู้และเงื่อนไขคุณธรรม -- เงื่อนไขทางความรู้ได้แก่ การวางแผนที่ละเอียดรอบครอบ การใช้ความรู้อย่างระมัดระวัง และการนำแผนไปปฏิบัติ
2. เงื่อนไขคุณธรรมได้แก่ความซื่อสัตย์และคุณธรรมในตนเองพร้อมทั้งมีชีวิตที่มีความเพียรพยายามไม่เบียดเบียนผู้อื่นมีความเมตตากรุณาต่อผู้อื่น
ดังนั้นหากนำมาเปรียบเทียบกับหลักการบริหารงานรภาครัฐแนวใหม่ (NPM ; New Public Management) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ คือ
1. การปรับให้เข้า สู่ระบบ การตลาด (marketization)
2. การแข่งขันและประสิทธิภาพ
3. การปรับเปลี่ยนการทำงานให้มีความทันสมัย (managerialization)
4. ผลสัมฤทธิ์ คุณภาพ ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ความคุ้มค่าเงิน
โดยมีปรัชญาการบริหารภาครัฐของไทยในศตวรรษใหม่:แนวโน้ม ทิศทาง และความจำเป็นที่ต้องเปลี่ยนแปลง ดังนี้คือ
1. การกระจายอำนาจทางการบริหาร
2. การแปรสภาพกิจกรรมของรัฐเป็นกิจกรรมเอกชน
3. การนำระบบการประเมินผลแบบเปิดไปใช้ในหน่วยงานของรัฐ
4. การปฏิรูปกฎหมายและระเบียบที่ล้าหลัง
5. การปฏิรูประบบงบประมาณของไทย
6. ปรัชญาการบริหารภาครัฐจะต้องทำลายการผูกขาดของรัฐ
ดังนั้นแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เป็นกรอบแนวคิดที่ชี้บอกหลักการและแนวทางปฏิบัติของทฤษฎีใหม่(NPM)อันเป็นแนวทางในการปฏิบัติแก่ภาครัฐและภาคเอกชนที่ต้องการความสำเร็จอย่างยั่งยืนมีดังต่อไปนี้
1. มองการณ์ไกลในการบริหารจัดการและตัดสินใจในเชิงนโยบาย ไม่มุ่งผลในระยะสั้น แต่คิดถึงอนาคต
2. ให้คุณค่าแก่พนักงานอย่างจริงใจและพัฒนาพนักงานอย่างต่อเนื่อง หลีกเลี่ยงให้พนักงานออกแม้ในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ เพราะมนุษย์ถือเป็นต้นทุนที่สำคัญ
3. มีความจริงใจและหวังดีต่อผู้มีส่วนได้เสีย สังคมและประชาชนส่วนใหญ่ในอนาคต
4. ให้ความสำคัญต่อการพัฒนานวัตกรรมทั่วทั้งองค์กรไม่ใช้เฉพาะในผลิตภัณฑ์หรือการให้บริการ
5. นำเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพแต่ราคาไม่สูงมาใช้ รวมทั้งเทคโนโลยีในประเทศ
6. จะต้องใช้ทรัพยากรทุกอย่างให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล
7. ขยายกิจการหรือการดำเนินงานอย่างค่อยเป็นค่อยไป เมื่อพร้อมทุกด้าน
8. การแบ่งปัน รวมถึงการแบ่งปันองค์ความรู้เพื่อพัฒนาสินค้าและบริการ ให้ประโยชน์เกิดแก่ประชาชนส่วนใหญ่
9. จะต้องมีคุณธรรม อดทน ประหยัด และมีความขยันหมั่นเพียร
การนำเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นปรัชญาหลักในการจัดทำแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 นั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว อย่างไรก็ตาม ต้องเข้าใจเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียงให้ลึกซึ้ง ไม่ฉาบฉวย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต้องสร้างความเข้าใจให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำแผนฯ ว่าเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียง ไม่ใช่สุดโต่งไปทางใดทางหนึ่ง “เศรษฐกิจพอเพียงไม่เคยชี้ว่า การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจเป็นสิ่งไม่ดี ใครพูดแบบนั้น แสดงว่าเข้าใจหลักการไปคนละทาง เศรษฐกิจพอเพียง คือการสร้างความเชื่อมต่อระหว่างแนวทางการพัฒนาต่างๆ อย่างสอดคล้องและสมดุลกัน เศรษฐกิจพอเพียงจะเป็นเหมือนห่วงคล้อง ทั้งเรื่องของการแก้ไขปัญหาความยากจน หรือเรื่องอื่นๆ เข้าด้วยกัน การจัดทำแผนต่างๆ ที่มีเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นพื้นฐาน ต้องระลึกอยู่เสมอว่าในแต่ละภูมิภาค แต่ละท้องถิ่นมีความแตกต่างกัน ไม่มีแผนที่เหมาะสมกับทุกที่ภายใต้ความหวังดีของส่วนร่วม”
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นพระราชดำรัสที่พระราชทานให้ประชาชนดำเนิน ตามวิถีแห่งการดำรงชีพที่สมบูรณ์ ศานติสุข โดยมีธรรมะเป็นเครื่องกำกับ และใจตนเป็นที่สำคัญ ซึ่งที่พระองค์ทรงรับสั่งมานั้น แท้ที่จริง คือ วิถีชีวิตไทยนั่นเอง วิถีชีวิตไทยที่ยึดเส้นทางสายกลางของความพอดี เป็นการเสริมพลังให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาไปได้อย่างมั่นคงภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์ โดยให้ความสำคัญกับการสร้างฐานทางเศรษฐกิจและสังคมให้เข้ม แข็งรักษาความสมดุลของทุนและทรัพยากรในมิติต่างๆ ตลอดจนสามารถปรับตัวพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้อย่างเท่าทัน และนำไปสู่ความอยู่เย็นเป็นสุขของประชาชนชาวไทยในที่สุด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น