วันอาทิตย์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2555

แนวตอบกลุ่มนโยบายสาธารณะ


สรุปกลุ่มนโยบายสาธารณะ

1.กระบวนการและแนวความคิดทฤษฏีนโยบายสาธารณะ
1.  ความหมายของนโยบายสาธารณะ
1.1 Thomas R. Dye               นโยบายสาธารณะคือ สิ่งที่รัฐบาลเลือกที่จะกระทำหรือไม่กระทำ สิ่งที่รัฐบาลเลือกที่จะกระทำ จึงครอบคลุมกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งหมดของรัฐบาลทั้งกิจกรรมที่เป็นกิจวัตร   และกิจกรรมที่เกิดขึ้นในบางโอกาส ในส่วนของการเลือกที่จะไม่กระทำนั้น Dye ก็ถือว่าเป็นนโยบายสาธารณะเช่นเดียวกัน เช่น รัฐบาลเลือกที่จะกระทำนโยบายกองทุนหมู่บ้าน หรือนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค เป็นต้น ส่วนนโยบายที่รัฐบาลเลือกที่ไม่กระทำ เช่น นโยบายลดภาระค่าครองชีพของประชาชน

1.2 David Eastonนโยบายสาธารณะ คือ การจัดสรรผลประโยชน์หรือคุณค่าแก่สังคม   ซึ่งกิจกรรมของระบบการเมืองนี้จะกระทำโดยบุคคลผู้มีอำนาจสั่งการ ซึ่งสิ่งที่รัฐบาลตัดสินใจที่จะกระทำหรือไม่กระทำเป็นผลมาจากการจัดสรรค่านิยมของสังคม ทั้งนี้ Easton ได้ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ตัดสินใจนโยบายกับประชาชนในสังคมว่า การตัดสินในนโยบายใด ๆ ของรัฐบาลจะต้องคำนึงถึงค่านิยมและระบบความเชื่อของประชาชนในสังคมเป็นสำคัญ เช่น นโยบายการศึกษา การสาธารณสุข ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคฯลฯ

1.3 James Andersonนโยบายสาธารณะ คือ แนวทางการปฏิบัติของรัฐที่มีวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างและติดตามด้วยผู้กระทำ หรือการปฏิบัติ ซึ่งอาจจะปฏิบัติโดยคน ๆ เดียว หรือคณะบุคคลก็ได้ ในการที่จะแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้อง มีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ

1.3.1                        ต้องมีวัตถุประสงค์

1.3.2                        เป็นแนวทางปฏิบัติ

1.3.3                        การปฏิบัติจะต้องเกิดขึ้นจริง

1.3.4                        การปฏิบัติจะเป็นไปในเชิงบวก หรือ เชิงลบก็ได้

1.4 Ira Sharkansky นโยบายสาธารณะ หมายถึง กิจกรรมที่กระทำโดยรัฐบาล    ซึ่งครอบคลุมกิจกรรมทั้งหมดของรัฐบาล       อาทิเช่น การจัดการศึกษา การจัดสวัสดิการ และการก่อสร้างทางหลวงโดยรัฐ รวมทั้งข้อกำหนดและระเบียบในการควบคุมและกำกับการดำเนินกิจกรรมของปัจเจกบุคคลและนิติบุคคลทั้งมวล ตลอดจนการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐ อาทิเช่น การรักษาความสงบเรียบร้อยของตำรวจ การตรวจสอบราคาสินค้า การควบคุมการจำหน่ายยาและอาหาร เป็นต้น

1.5 Carl J. Friedrich    นโยบายสาธารณะ หมายถึง ชุดของข้อเสนอเกี่ยวกับการกระทำของบุคคล กลุ่มบุคคล หรือรัฐบาล ภายใต้สิ่งแวดล้อมที่ประกอบไปด้วยปัญหา อุปสรรค (Obstacles) และโอกาส (opportunity) ซึ่งนโยบายถูกนำเสนอเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาของประชาชนโดยมุ่งที่จะกระทำให้บรรลุเป้าหมาย หรือกระทำให้วัตถุประสงค์ปรากฏเป็นจริง   นอกจากนี้ นโยบายสาธารณะจะต้องประกอบด้วยแนวความคิดที่สำคัญเกี่ยวกับเป้าประสงค์ (goal) วัตถุประสงค์ (objective) หรือจุดมุ่งหมาย (purpose) ของสิ่งที่รัฐกระทำ

2. องค์ประกอบที่สำคัญของนโยบายสาธารณะ

2.1 เป็นกิจกรรมที่รัฐบาลเลือกที่จะกระทำ หรือไม่กระทำ

2.2 เป็นการใช้อำนาจหน้าที่ของรัฐในการจัดสรรกิจกรรมเพื่อตอบสนองค่านิยมของสังคม

2.3 ผู้มีอำนาจในการกำหนดนโยบายสาธารณะได้แก่ ผู้นำทางการเมือง  ฝ่ายบริหาร   ฝ่ายนิติบัญญัติ    ฝ่ายตุลาการ   พรรคการเมือง    สถาบันราชการ    ข้าราชการระดับสูง และประมุขของประเทศ

2.4 กิจกรรมที่รัฐบาลเลือกที่จะกระทำต้องเป็นชุดของการกระทำที่มีแบบแผน  ระบบ   และกระบวนการอย่างชัดเจนเป็นการกระทำที่มีการสานต่ออย่างสม่ำเสมอ และต่อเนื่อง

2.5 กิจกรรมที่รัฐบาลเลือกที่จะกระทำต้องมีเป้าหมาย วัตถุประสงค์   หรือจุดมุ่งหมายเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนจำนวนมาก

                2.6 เป็นกิจกรรมที่ต้องกระทำให้ปรากฏเป็นจริง   มิใช่เป็นเพียงการแสดงเจตนารมณ์ หรือความตั้งใจที่จะกระทำด้วยคำพูดเท่านั้น

                2.7 กิจกรรมที่เลือกกระทำต้องมีผลลัพธ์ในการแก้ไขปัญหาที่สำคัญของสังคม   ทั้งปัญหาความขัดแย้ง   หรือความร่วมมือของประชาชน

                2.8 เป็นการตัดสินใจที่จะกระทำเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนจำนวนมาก มิใช่การตัดสินเพื่อประโยชน์เฉพาะบุคคล   และเป็นชุดของการตัดสินใจที่เป็นระบบ มิใช่เป็นการตัดสินใจแบบเอกเทศ

                2.9 เป็นการเลือกทางเลือกที่จะกระทำ โดยพิจารณาจากผลการวิเคราะห์ทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดทั้งทางการเมือง  เศรษฐกิจ     และสังคม

                2.10 เป็นกิจกรรมที่เกิดจากการต่อรอง หรือประนีประนอมระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้อง

                2.11 เป็นกิจกรรมที่ครอบคลุมทั้งกิจกรรมภายในประเทศและระหว่างประเทศ

                2.12 กิจกรรมที่รัฐบาลเลือกที่จะกระทำหรือไม่กระทำอาจก่อให้เกิดผลทั้งทางบวกและทางลบต่อสังคม

                2.13 เป็นกิจกรรมที่ชอบด้วยกฎหมาย

                2. ความสำคัญของนโยบายสาธารณะ

                2.1 ประการที่หนึ่ง ต่อประชาชน เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาของประชาชน ดังนี้

2.1.1 ปัญหาขัดข้อง หรือปัญหาเชิงแก้ไขปรับปรุง (Summative Problem) คือ ปัญหาเกิดขั้นแล้ว ณ จุดใดจุดหนึ่งในอดีตและปัจจุบันยังเป็นปัญหาอยู่ ถ้าไม่แก้ไขจะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต เป็นปัญหาเรื้อรัง ซึ่งปัญหาเหล่านี้ต้องรีบแก้ไขทันที เช่น นโยบายการแก้ไขปัญหาความยากจน แก้ไขราคาพืชผลการเกษตร

2.1.2 ปัญหาเชิงป้องกัน (Preventive Problem) เป็นปัญหาที่เป็นจริง (เกิดขึ้นจริง) จะต่ำกว่าสิ่งที่คาดหวัง และคาดว่าจะเกิดปัญหาในอนาคตได้ ถ้าไม่ป้องกันไว้ก่อน การป้องกันเพื่อไม่ให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย เช่น ไข้หวัดนก, ไข้หวัดใหญ่ 2009, คลื่นยักษ์สึนามิ

2.1.3 ปัญหาเชิงพัฒนา (Development Problem) เป็นสภาพที่เกิดขึ้นจริงในปัจจุบันจึงไม่เป็นปัญหา แต่อาจเป็นปัญหาในระยะต่อไป ถ้ายังปฏิบัติงานเช่นเดิม สิ่งที่เป็นจริงจะต่ำกว่าสิ่งที่คาดหวัง หรือปัจจุบันไม่มีปัญหา แต่เราต้องพัฒนาไม่เช่นนั้นจะไม่เกิดการสร้างสรรค์ หรือทันเหตุการณ์กับสิ่งที่เกิดในอนาคต หรือปัจจุบันมีหรือดีอยู่แล้ว พัฒนาให้ดียิ่งขึ้นในอนาคต ซึ่งเป็นการมองปัญหาเชิงวิสัยทัศน์ เช่น นโยบายเปิดการเสรี (FTA), ระบบการขนส่งมวลชน, ความมั่นคงของชาติ

นโยบายสาธารณะเป็นผลผลิตทางการเมืองเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน ดังนั้นประชาชนสามารถแสดงออกซึ่งความต้องการของพวกเขา ผ่านกลไกทางการเมืองต่างๆ เช่น ระบบราชการ พรรคการเมือง นักการเมือง    ความต้องการดังกล่าวจะถูกนำเข้าสู่ระบบการเมืองไปเป็นนโยบายสาธารณะ เมื่อมีการนำนโยบายไปปฏิบัติและได้ผลตามเป้าประสงค์ ก็จะทำให้ประชาชนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

2.2 ประการที่สอง ต่อผู้กำหนดนโยบาย

                รัฐบาลที่สามารถกำหนดนโยบายให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน    และสามารถนำนโยบายไปปฏิบัติจนประสบความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล จะได้รับความเชื่อถือและความนิยมจากประชาชน ส่งผลให้รัฐบาลดังกล่าวมีโอกาสในการดำรงอำนาจในการบริหารประเทศยาวนานขึ้น

                2.3 ประการที่สาม ในฐานะที่เป็นเครื่องมือในการบริหารประเทศของรัฐบาล ประกอบด้วย

                2.3.1 เป็นเครื่องมือสำคัญในการกำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศ

                2.3.2 เป็นเครื่องมือของรัฐบาลในการตอบสนองความต้องการของประชาชน

                2.3.3 เป็นเครื่องมือของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาที่สำคัญของประชาชน

                2.3.4 เป็นการใช้อำนาจของรัฐบาลเพื่อจัดสรรค่านิยมทางสังคม

                2.3.5 เป็นเครื่องมือของรัฐบาลในการเสริมสร้างความเป็นธรรมในสังคม

                2.3.6 เป็นเครื่องมือของรัฐบาลในการเสริมสร้างความเสมอภาคในโอกาสแก่ประชาชน

                3. ตัวแสดงในกระบวนการนโยบายสาธารณะ

ตัวแสดงในกระบวนนโยบายสาธารณะ ประกอบด้วย

3.1  เจ้าหน้าที่ภาครัฐที่มาจากการเลือกตั้ง  แบ่งออกเป็น 2 ส่วน  ฝ่ายบริหาร  และสมาชิกฝ่ายนิติบัญญัติ คือ

3.1.1 ฝ่ายบริหารหรือคณะรัฐมนตรี โดยอำนาจของกลุ่มนี้จะมาจากบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ อำนาจในการกำหนดนโยบายและนำเอานโยบายไปปฏิบัติ ถือเป็นอำนาจของฝ่ายบริหาร ฝ่ายบริหารมีหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมาย และรับผิดชอบในการบริหารและปกครองประเทศ ใช้อำนาจทางนโยบายโดยมติคณะรัฐมนตรี ซึ่งประกอบไปด้วย นายกรัฐมนตรี 1 + รัฐมนตรี 35 คน

3.1.2 ฝ่ายนิติบัญญัติ คือ สมาชิกรัฐสภา (สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร / สมาชิกวุฒิสภา) ถือได้ว่าเป็นตัวแทนของประชาชนในการเข้าไปทำหน้าที่แทนในงานนิติบัญญัติ แต่เมื่อพิจารณาในการทำหน้าที่แล้วฝ่ายนิติบัญญัติ มีหน้าที่สำคัญในการตรวจสอบรัฐบาลมากกว่าที่จะเข้าไปมีส่วนในการกำหนดและนำนโยบายไปปฏิบัติ ฝ่ายนิติบัญญัติเป็นเสมือนเวทีสำคัญที่เปิดโอกาสให้ปัญหาสังคมต่าง ๆ กลายเป็นประเด็นที่สังคมโดยรวมให้ความสนใจและให้มีการเรียกร้องนโยบายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหานั้น ๆ ฝ่ายนิติบัญญัติ ยังมีโอกาสในการเสนอความเห็นผ่านการอภิปรายในขั้นตอนการลงมติรับรองร่างพระราชบัญญัติต่าง ๆ เพื่อออกเป็นนโยบาย และงบประมาณของรัฐบาลเพื่อสนับสนุนการลงมือปฏิบัตินโยบายดังกล่าว สมาชิกฝ่ายนิติบัญญัติอาจจะยกประเด็นปัญหาและนำการอภิปรายปัญหาของการนำนโยบายไปปฏิบัติและเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงได้ (ส..แบ่งเขต 375+..ปาร์ตี้ลิสต์ 125)

3.2  เจ้าหน้าที่ที่ได้รับแต่งตั้ง เจ้าหน้าที่ที่ได้รับการแต่งตั้งให้เข้าไปเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันนโยบายสาธารณะและการบริหาร เราจะหมายถึง  ระบบราชการ ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยให้กับฝ่ายบริหารในการปฏิบัติงานเพราะเหตุผล ดังนี้

3.2.1 ระบบราชการ มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายและยังรวมถึงการให้อำนาจกับข้าราชการเป็นรายบุคคลในการพิจารณา  และตัดสินใจในนามของรัฐ

3.2.2 ระบบราชการมีความสามารถในการเข้าถึงทรัพยากรสำหรับการดำเนินงานวัตถุประสงค์ขององค์กร  หรือแม้กระทั่งวัตถุประสงค์ส่วนบุคคล  โดยเฉพาะทรัพยากรทางการคลังและงบประมาณ

3.2.3 ระบบราชการสามารถเข้าถึงข้อมูลปริมาณมากมายในแง่มุมที่แตกต่างหลากหลาย

3.2.4 บางครั้งนโยบายบางอย่างจะต้องถูกพิจารณาอย่างลับ ๆ ระบบราชการปฏิเสธการเข้ามีส่วนร่วมของตัวแสดงอื่น ๆ ในการพิจารณาและคัดค้านนโยบาย หรือแผนปฏิบัติงาน

                ระบบราชการ ถือเป็นตัวแสดงที่สำคัญที่เป็นศูนย์กลางใน Policy Subsystem ความได้เปรียบของระบบราชการมาจากเหตุผลที่สำคัญคือ ระบบราชการประกอบไปด้วยบุคคลที่เป็นผู้เชี่ยวชาญจำนวนมากซึ่งมีทั้งเวลาที่ทุ่มเทให้กับการทำงานและมีความชำนาญเฉพาะอย่างมาก ในการเข้าจัดการกับนโยบาย                สาธารณะของรัฐบาล

3.2  ตัวแสดงในภาคสังคม

3.2.1  กลุ่มผลประโยชน์/กลุ่มผู้มีอิทธิพล แม้ว่าตัวแสดงในภาครัฐ  หรือที่เรียกว่า  ชนชั้นนำทางนโยบาย จะมีบทบาทสำคัญในกระบวนการนโยบาย แต่ก็มิได้หมายความว่า กระบวนการนโยบายจะสามารถเป็นอิสระและหลีกเลี่ยงอิทธิพลและผลประโยชน์ของสังคมไปได้ เพราะในทุก ๆ สังคมจะมีกลุ่มที่ต้องการจะเข้าไปมีอิทธิพลต่อการกระทำของรัฐบาลเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามความพึงพอใจของกลุ่มตนอยู่เสมอ นั่นก็คือ กลุ่มผลประโยชน์ โดยการแสดงออกซึ่งความต้องการและเสนอทางเลือกสำหรับการดำเนินนโยบายสาธารณะ เช่น สมาคมหอการค้าแห่งประเทศไทย, สมาคมธนาคารไทย, สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นต้น 

3.2.2  กลุ่มผู้นำทางศาสนา เป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลมากในประเทศกำลังพัฒนาและสามารถเข้าไปมีอิทธิพลอย่างมากต่อทางเลือกของนโยบาย เช่นนโยบายการคุมกำเนิด, นโยบายสิทธิสตรี

3.2.3  สถาบันวิจัย (Think Tank) ความสนใจของนักวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาต่อปัญหาสาธารณะมักจะเป็นความสนใจในเชิงทฤษฎีและปรัชญา เช่น Thailand Development Research Institute (TDRI), สถาบันวิจัยของมหาวิทยาลัยต่างๆ, สภาวิจัยแห่งชาติแห่งชาติ

3.2.4  สื่อสารมวลชน สื่อสารมวลชนถือได้ว่าเป็นตัวเชื่อมระหว่างรัฐกับสังคม  ในกรณีของประเทศกำลังพัฒนา  รัฐบาลมักมีสื่อโทรทัศน์และวิทยุเป็นของตนเอง  ซึ่งสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการโฆษณาชวนเชื่อเพื่อสร้างการสนับสนุนให้แก่รัฐบาล หรืออาจใช้ในการโจมตีสื่อสารมวลชนที่เสนอแนวคิดที่คัดค้านรัฐบาล

3.2.4 องค์การนอกภาครัฐหรือองค์การพัฒนาเอกชน (Non Governmental Organizations: NGOs) คือ องค์กรที่ไม่ใช่ภาคราชการ และไม่ใช่ภาคธุรกิจที่แสวงหากำไร ก่อตั้งและดำเนินการโดยกลุ่มบุคคล ที่มีความมุ่งมั่นในอันที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาสังคม โดยเฉพาะปัญหาด้านคุณภาพชีวิตของกลุ่มบุคคลผู้ด้อยโอกาสและประชาชนผู้ทุกข์ยาก อันเกิดจากผลกระทบของการพัฒนาเป็นองค์กร ซึ่งถือได้ว่าเป็นองค์กรที่มีบทบาทในการกำหนดนโยบายสาธารณะยุคใหม่ ข้อแตกต่างระหว่างองค์กรพัฒนาเอกชนหรือ NGOs กับกลุ่มผลประโยชน์ คือ NGOs จะไม่มีผลประโยชน์เกี่ยวพันกับผู้ปฏิบัติงาน หากแต่ดำเนินการตามแนวคิดและอุดมการณ์ของกลุ่มตน เช่นกลุ่ม Green Peace ที่มีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์ธรรมชาติและสภาพแวดล้อม NGOs จึงมีอิทธิพลต่อการจัดสรรทรัพยากรและในบางครั้งก็แสดงบทบาทในการเป็นกลุ่มยับยั้งนโยบายบางอย่างด้วย

3.2.5 ประชาสังคม (Civil Society) หมายถึง การรวมตัวกันของประชาชนที่มีจิตสำนึกสาธารณะ (Public Consciousness) ร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาของส่วนรวม ไม่ว่าจะมีชื่อเรียกว่าอะไร เช่นกลุ่ม กองทุน ชมรม สหกรณ์ สถาบัน มูลนิธิ องค์กร เครือข่าย ชุมชนเข้มแข็ง ชุมชนพอเพียง ฯลฯ และมาจากทุกภาคส่วนในสังคมที่ไม่ใช่ภาครัฐ เพื่อก่อให้เกิดความเข้มแข็ง ร่วมกันรับรู้ปัญหา ร่วมกันคิด ร่วมกันตัดสินใจ ร่วมกันทำ ร่วมกันเรียนรู้ ร่วมกันแก้ปัญหา โดยมีวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และผลประโยชน์ร่วมกัน อีกทั้งยังมีความสัมพันธ์โยงใยกันเป็นเครือข่าย เช่น กลุ่มสัจจะออมทรัพย์ เครือข่ายลุ่มนํ้าต่างๆ สมัชชาคนจน ฯลฯ

ดังนั้น ตัวแสดงในภาคสังคมมีความสัมพันธ์กับกระบวนการนโยบายสาธารณะในทุกขั้นตอนของวงจรนโยบายสาธารณะ เริ่มตั้งแต่

1. การก่อตัวนโยบาย (Policy formation) ร่วมเป็นผู้เสนอ ผู้เรียกร้อง ผู้ผลักดัน ผู้สนับสนุน ในประเด็นของปัญหาที่เกิดขึ้นกับสังคม ชุมชน หรือพื้นที่

2. การกำหนดนโยบาย (Policy formulation) ร่วมเสนอทางเลือกที่หลากหลายที่ตรงกับความต้องการของส่วนรวม และร่วมประเมินว่าทางเลือกใดเป็นไปได้มากที่สุด

3. การตัดสินใจนโยบาย (Policy decision) ร่วมกันเลือกนโยบายที่เหมาะสมที่สุดที่สามารถสนองตอบความต้องการและแก้ไขปัญหาของส่วนรวมได้

4. การนำนโยบายไปปฏิบัติ (Policy implementation) ให้ความร่วมมือ สนับสนุน และปฏิบัติตามนโยบายที่ได้เลือกสรร เห็นพ้อง และมีประโยชน์ร่วมกัน

5. การประเมินผลนโยบาย (Policy evaluation) หลังจากได้มีการดำเนินนโยบายไปแล้วในระยะหนึ่ง ก็จะเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลย้อนกลับ เพื่อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหา ปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นกว่าเดิม

                3.3  ตัวแสดงในระบบระหว่างประเทศ

                ประเทศยังถูกกำหนดขึ้นจากสถาบันระหว่างประเทศ  โดยเฉพาะในส่วนของนโยบายสาธารณะที่เกี่ยวข้องกับภาคระหว่างประเทศ หรือมีธรรมชาติของนโยบายที่ต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์ในเชิงระหว่างประเทศ เช่น  นโยบายทางการค้า การสาธารณสุข วัฒนธรรม และการป้องกันประเทศ  เช่น  UN, UNESCO, WTO, IMF, ASIAN, EU, WHO, OPEC, AEC และองค์การระหว่างประเทศอื่นๆ

4. ตัวแบบการกำหนดนโยบายสาธารณะ

1.ตัวแบบเชิงสถาบัน  (Institutionalism Model)

นโยบายสาธารณะและรัฐบาลเป็นสิ่งที่มีความสัมพันธ์กันมาก   เพราะนโยบายสาธารณะเป็นสิ่งที่กำหนดขึ้น  ลงมือปฏิบัติ  และบังคับใช้โดยสถาบันที่มีอำนาจซึ่งก็คือ  รัฐบาล

1. ฐานคติสำคัญของตัวแบบสถาบัน

1.1 นโยบายสาธารณะ คือ  ผลผลิตของสถาบันทางการเมือง

1.2 กิจกรรมทางการเมืองล้วนมี ศูนย์กลางอยู่ที่สถาบันทางการเมืองทั้งสิ้น

1.3 สถาบันทางการเมืองที่สำคัญ ได้แก่

1.3.1.สถาบันนิติบัญญัติ

1.3.2.สถาบันบริหาร

1.3.3 สถาบันตุลาการ

1.3.4 สถาบันการปกครองท้องถิ่น

1.3.5 สถาบันพรรคการเมือง

นโยบายสาธารณะและรัฐบาลเป็นสิ่งที่มีความสัมพันธ์กันมาก   เพราะนโยบายสาธารณะเป็นสิ่งที่กำหนดขึ้น  ลงมือปฏิบัติ  และบังคับใช้โดยสถาบันที่มีอำนาจซึ่งก็คือ  รัฐบาล
2. คุณสมบัติที่สำคัญของตัวแบบสถาบัน
Thomas R. Dye กล่าวว่านโยบายสาธารณะเป็นผลผลิตของโครงสร้างสถาบันการปกครองและสถาบันนี้เองที่ทำให้นโยบายสาธารณะมีลักษณะที่โดดเด่นและแตกต่างจากนโยบายประเภทอื่นๆ ดังนี้
2.1 ความชอบธรรม (Legitimacy)   นโยบายของรัฐบาลจะได้รับการพิจารณาเป็นข้อบังคับในทางกฎหมาย   ซึ่งจะแตกต่างจากนโยบายของกลุ่มทางสังคมอื่น ๆ
2.2  ความเป็นสากล (Universality)    นโยบายของรัฐบาลมีความเป็นสากล เพราะมีนโยบายสาธารณะเท่านั้นที่สามารถบังคับใช้ต่อทุกคนในสังคม
                2.3 การบังคับ (Coercion)  นโยบายของรัฐบาลผูกขาดการบังคับในสังคม ในขณะกลุ่มทางสังคมอื่น ๆ ลงโทษในในลักษณะที่จำกัดต่อบุคคลที่ละเมิดต่อนโยบายกลุ่ม
                2.4 สถาบันราชการมีบทบาทในการกำหนดแบบแผน (Patterns)   โครงสร้าง (Structure)        และพฤติกรรม (Behaviors) ของปัจเจกบุคคล และกลุ่มบุคคล
ตัวแบบสถาบัน เป็นการอธิบายสถาบันเฉพาะเจาะจง  ซึ่งได้แก่โครงสร้างขององค์การ  หน้าที่และการทำหน้าที่   โครงสร้างหลายแบบอาจอำนวยความสะดวกต่อนโยบายบางประเภท  แต่ขณะเดียวก็อาจเป็นอุปสรรคต่อนโยบายบางประเภทได้
3. กรณีศึกษานโยบายแบบตัวแบบเชิงสถาบัน
3.1 นโยบายที่เป็นผลผลิตของสถาบันนิติบัญญัติ  ได้แก่  พระราชบัญญัติทั้งหมด
3.2 นโยบายที่เป็นผลผลิตของสถาบันบริหารคือ มติคณะรัฐมนตรี      ได้แก่     นโยบายการปฏิรูประบบราชการ นโยบายการเงินการคลัง  และนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยว 
3.3.นโยบายที่เป็นผลผลิตของสถาบันตุลาการ ได้แก่  คำพิพากษาศาลฎีกา   เป็นต้น
2.  ตัวแบบเชิงกระบวนการ  (Process Model)
1. ฐานคติสำคัญของตัวแบบกระบวนการ
1.1 นโยบายสาธารณะคือ ผลลัพธ์ของกิจกรรมทางการเมือง
1.2 กระบวนการและพฤติกรรมทางการเมืองคือ  ศูนย์กลางของการศึกษานโยบายสาธารณะ
2. กระบวนการนโยบายสาธารณะของตัวแบบเชิงกระบวนการ เป็นผลลัพธ์มาจากความพยายามในการจัดกลุ่มกิจกรรมทางการเมือง  ซึ่งได้ผลลัพธ์ออกมา  ก็คือ  กระบวนการนโยบาย มีขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้
2.1 การระบุปัญหา คือ การเรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง
2.2 การสร้างระเบียบวาระ คือ กำหนดว่าจะให้มีการตัดสินใจประเด็นอะไรบ้าง
2.3 การสร้างข้อเสนอนโยบาย คือ การพัฒนาข้อเสนอนโยบายเพื่อแก้ไขประเด็นและปัญหา
2.4 การให้อำนาจกับนโยบาย คือ การเลือกข้อสนับสนุนทางการเมือง  และกำหนดออกมาเป็นกฎหมาย
2.5 การลงมือปฏิบัตินโยบาย คือ การนำนโยบายไปสู่ขั้นตอนการปฏิบัติ  ไปสู่แผนงานหรือโครงการที่เป็นรูปธรรม
2.6 การประเมินผลนโยบาย คือ การเปรียบเทียบผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริงจากการนำนโยบายไปปฏิบัติกับวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งขึ้นไว้   และเสนอแนะการเปลี่ยนแปลงและการปรับเปลี่ยนนโยบาย
3. การจำแนกลักษณะปัญหาสาธารณะ (Problem Identification) โดยการวิเคราะห์จำแนกลักษณะต่างของปัญหาสาธารณะ ดังนี้
3.1 ปัญหาความยากจน
3.2 ปัญหาการไร้ที่ดินทำกิน
3.3 ปัญหาชุมชนแออัด
3..4 ปัญหาการว่างงาน
                3.5 ปัญหายาเสพติด
ตัวแบบเชิงกระบวนการนี้ เน้นการทำความเข้าใจพัฒนาการ การปฏิบัติใช้  และการเปลี่ยนแปลงของนโยบาย  ไม่ได้ให้ความสนใจกับเนื้อหาของนโยบายสาธารณะเท่าที่ควร  ส่วนจุดเด่น  คือ  เป็นการแก้จุดอ่อนของตัวแบบเชิงสถาบันที่ให้ความสนใจเฉพาะโครงสร้างแต่เพียงอย่างเดียว  โดยหันมาสนใจกระบวนการและพฤติกรรมของนโยบาย
                4. กรณีศึกษานโยบายสาธารณะของตัวแบบกระบวนการ
 4.1 นโยบายสาธารณะทุกนโยบายสามารถวิเคราะห์ได้ด้วยตัวแบบกระบวนการ
3.  ตัวแบบกลุ่ม  (Group Model)
ประชาชนที่มีผลประโยชน์ร่วมกันจะรวมตัวกันเป็นกลุ่มเพื่อกดดันและเรียกร้องรัฐบาลทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ    การเมืองเป็นการต่อสู้แข่งขันระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ในสังคม  เพื่อที่จะมีอิทธิพลเหนือการกำหนดนโยบายสาธารณะ   นโยบายสาธารณะส่วนใหญ่จะมีลักษณะที่เป็นไปตามทิศทางของกลุ่มที่มีอิทธิพลมากในขณะนั้น จุดที่กลุ่มผลประโยชน์ตกลงกันได้จึงกำหนดเป็นนโยบายสาธารณะ เรียกว่า จุดดุลยภาพ (Equilibrium point)
3.1 แนวความคิดสำคัญของตัวแบบดุลยภาพระหว่างกลุ่ม
3.1.1 นโยบายสาธารณะคือ ผลของความสมดุลของการ ต่อสู้ระหว่างกลุ่ม
3.1.2 ความสมดุลเกิดขึ้นจากอิทธิพลระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ที่ตกลงประนีประนอมกัน
3.1.3 การเปลี่ยนแปลงอิทธิพลของกลุ่มผลประโยชน์ จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนโยบายสาธารณะ ที่เกี่ยวข้อง
3.1.4 นโยบายจะถูกเปลี่ยนทิศทางไปสู่กลุ่มผลประโยชน์ที่มีอิทธิพลมากกว่า ส่วนกลุ่มที่มีอิทธิพลน้อยกว่าจะเป็นผู้สูญเสียประโยชน์
3.1.5 นโยบายสาธารณะแท้จริงก็คือความสมดุลที่เกิดจากข้อตกลงระหว่างกลุ่มที่ต่อสู้กัน ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง
3.1.6 โดยมีฝ่ายบริหาร และฝ่ายนิติบัญญัติทำหน้าที่เป็นกรรมการในการต่อสู้ระหว่างกลุ่ม   โดยกำหนดเงื่อนไขทั้งของผู้แพ้และผู้ชนะไว้ในรูปของกฎหมาย มติคณะรัฐมนตรี
3.2 ปัจจัยที่มีผลต่ออิทธิพลของกลุ่ม
3.2.1 จำนวนสมาชิกของกลุ่ม
3.2.2 ความมั่นคงของกลุ่ม
3.2.3 ความแข็งแกร่งขององค์การ
3.2.4 ภาวะผู้นำของกลุ่ม
3.2.5 โอกาสในการเข้าถึงผู้ตัดสินใจ
3.2.6 ความสามัคคีภายในกลุ่ม
ตัวแบบกลุ่ม (Group Model)
4.  ตัวแบบชนชั้นนำ  (Elite Model)
ตัวแบบนี้มีพื้นฐานความเชื่อที่ว่า  นโยบายสาธารณะคือ  ผลสะท้อนจากความต้องการหรือค่านิยมของชนชั้นผู้นำที่เป็นผู้ปกครอง  คุณลักษณะของตัวแบบชนชั้นนำ เป็นคนส่วนน้อยของสังคม เป็นผู้มีอำนาจในสังคม อาจมีอภิสิทธิ์สูงในสังคม มีอิทธิพลเหนือบุคคลส่วนใหญ่ในสังคม เป็นผู้ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้มีฐานะสูงในสังคม  แทนที่จะเป็นผลจากการสะท้อนความต้องการของประชาชน
4.1 หลักการของตัวแบบชนชั้นนำ
4.1.1 ให้ความสำคัญกับบทบาทหรืออิทธิพลของชนชั้นนำ หรือชนชั้นปกครองที่มีอำนาจในการตัดสินใจนโยบายสาธารณะอย่างเด็ดขาด
4.1.2 ชนชั้นปกครองจะยึดถือความพึงพอใจ (Preferences) หรือค่านิยม (Values) ของตนเองเป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจนโยบาย
4.1.3 ถือว่าประชาชนส่วนใหญ่ไม่สนใจกิจกรรมทางการเมืองและไม่ได้รับข้อมูลดีพอเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ
4.1.4 ชนชั้นนำมีบทบาทในการกำหนดความคิดเห็นของประชาชนมากกว่าการที่ประชาชนจะกำหนดความคิดเห็นของชนชั้นนำ หรือชนชั้นปกครอง
4.1.5 นโยบายสาธารณะเป็นสิ่งที่สะท้อนความพึงพอใจ หรือค่านิยมส่วนตัวของชนชั้นนำ หรือผู้ปกครองโดยตรง
4.1.6 ข้าราชการทำหน้าที่เพียงนำนโยบายที่กำหนดโดยชนชั้นนำ ไปสู่ประชาชนเท่านั้น
4.1.7 ทิศทางของการกำหนดนโยบายสาธารณะ จึงเป็นทิศทางแบบแนวดิ่ง (Vertical) จากชนชั้นปกครองสู่ประชาชน
ตัวแบบชนชั้นนำนี้มีพื้นฐานความเชื่อที่ว่า  นโยบายสาธารณะ คือ  ผลสะท้อนจากความต้องการหรือค่านิยมของชนชั้นผู้นำที่เป็นผู้ปกครอง  แทนที่จะเป็นผลจากการสะท้อนความต้องการของประชาชน
แม้ว่านโยบายสาธารณะจะไม่ได้สะท้อนความต้องการที่แท้จริงของประชาชนมากเท่า ความต้องการและค่านิยมของชนชั้นนำ   แต่ก็มิได้หมายความว่า  นโยบายสาธารณะจะสวนทางกับค่านิยมของมวลชน หรือประชาชนทั้งหมด   ค่านิยมของชนชั้นนำอาจจะสะท้อนความต้องการจริงของประชาชน  อาจจะผูกพันลึกซึ้งกับความเป็นความตายของมวลชนส่วนใหญ่   แต่กลุ่มผู้นำจะถือว่าความรับผิดชอบในความสุขของประชาชนนั้นอยู่ที่กลุ่มผู้นำ  ไม่ได้อยู่ที่ประชาชน
จุดเด่นของตัวแบบนี้สะท้อนให้เห็นถึง สภาพความเป็นจริงของสังคมในระบอบประชาธิปไตยที่เชื่อถือกันว่า  เป็นการปกครองของประชาชน  โดยประชาชน  และเพื่อประชาชน  แต่ขณะเดียวกันก็มีจุดด้อยคือ  การละเลยความสำคัญของการมีส่วนร่วมในกระบวนการกำหนดนโยบายของกลุ่มอื่น ๆ ที่เป็นตัวแสดงของนโยบายที่สำคัญเช่น ข้าราชการและประชาชน
นโยบายสาธารณะของตัวแบบชนชั้นนำ นโยบายประชานิยมทั้งหลาย, รัฐธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน,นโยบายการเปิดเสรีทางการเงิน,นโยบายการค้าเสรี
5.  ตัวแบบเชิงระบบ  (System  Model)
ตัวแบบระบบมีความเชื่อพื้นฐานที่สำคัญ คือ  นโยบายสาธารณะเป็นการตอบสนองระบบการเมืองที่มีต่อแรงกดดันต่าง ๆ ที่มาจากสภาพแวดล้อมที่ล้อมรอบระบบการเมืองนั้น
5.1 กระบวนการในการกำหนดนโยบายสาธารณะตามตัวแบบระบบ
5.1.1 ระบบการเมือง (Political System) หมายถึง กลุ่มของสถาบันและกระบวนการต่าง ๆ ที่มีปฏิสัมพันธ์ต่อกันที่ทำหน้าที่ในการแจกจ่ายคุณค่าทางสังคมตามอำนาจที่ได้รับมอบหมาย
5.1.2 ปัจจัยนำเข้า (Inputs) ซึ่งประกอบไปด้วย ข้อเรียกร้อง ซึ่งอาจเป็นไปได้ทั้งจากระดับปัจเจกบุคคล หรือระดับกลุ่ม และการสนับสนุน ซึ่งก็เป็นไปได้ทั้งระดับปัจเจกบุคคลและระดับกลุ่มที่แสดงออกมาในรูปของการเลือกตั้ง การเชื่อฟังกฎหมาย การจ่ายภาษี และการยอมรับในการตัดสินใจนโยบาย โดยข้อเรียกร้องและการสนับสนุนนั้น เป็นแรงกดดันที่สำคัญมาจากสภาพแวดล้อม (Environment) ทั้งภายในและภายนอก ที่เข้าไปสู่ระบบการเมือง ระบบการเมืองจะทำการรับเอาความต้องการที่แตกต่างหลากหลายเข้ามา และทำการเปลี่ยนให้ออกมาเป็นปัจจัยนำออก (Outputs)
5.1.3 ปัจจัยนำออก/ผลผลิต (Outputs) คือ การตัดสินใจที่ได้มาซึ่ง นโยบายสาธารณะ (Public Policy) และบริการสาธารณะ (Public Service) ซึ่งปัจจัยนำออกนี้นั้นอาจส่งผลให้เกิดผลกระทบในเชิงการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม และอาจเพิ่มการเรียกร้องให้มากขึ้น
 5.1.4 ผลลัพธ์ (Outcome) และ ผลกระทบ (Impact) เป็นผลที่เกิดต่อจากผลผลิตปัจจัยนำออก (Output) คือนโยบาย ซึ่งการวัดระดับความสำเร็จและความล้มเหลวของผลลัพธ์ของนโยบาย เป็นการพิจารณาถึงการให้ประโยชน์แก่กลุ่มเป้าหมายหรือผู้ได้รับผลประโยชน์ของนโยบาย อันจะก่อให้เกิดกระบวนการของทฤษฏีระบบอีก
5.1.5 ขบวนการป้อนกลับ/ผลสะท้อนกลับ (Feedback) คือ ผลจากการนำนโยบายไปปฏิบัติ เพื่อนำเอาข้อเรียกร้องนั้น ๆ เข้าสู่ระบบการเมืองอีกครั้งหนึ่ง กล่าวคือ รัฐบาลต้องทบทวนนโยบายอีกครั้งหนึ่ง ผลการทบทวนจะมี 2 ทางเลือก คือ การยุตินโยบายนั้น หรือการดำเนินนโยบายนั้นต่อไปโดยมีการปรับปรุงแก้ไขหากผลลัพธ์นโยบายไม่ตรงกับเป้าหมายที่คาดหวัง
6.  ตัวแบบทางเลือกสาธารณะ (Public Choice Approach)
                ตัวแบบนี้เป็นการศึกษาการตัดสินใจ  มีสมมติฐานเบื้องต้นว่า  ตัวแสดงการเมือง  อันได้แก่  ผู้ลงคะแนนเสียง  ผู้เสียภาษี  ผู้สมัครรับเลือกตั้ง  ฝ่ายนิติบัญญัติ  ข้าราชการ  กลุ่มผลประโยชน์  พรรคการเมือง  และรัฐบาล  ต่างก็พยายามแสวงหาหนทางที่จะเพิ่มผลประโยชน์ของตนในทางการเมือง  ทุกคนต้องการได้รับอรรถประโยชน์สูงสุด  แต่กระนั้นก็ดี  ด้วยแรงขับเคลื่อนที่ประกอบไปด้วยความเห็นแก่ตัวของกลุ่ม  ก็ยังสามารถส่งผลต่อการตัดสินใจเพื่อส่วนรวมได้
                ตัวแบบทางเลือกสาธารณะนี้  มองเห็นการเมือง ก็คือ  การที่บุคคลทั้งหลายเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์พิเศษ  โดยผ่านนโยบายสาธารณะ  ในทางทฤษฎีแล้ว  เป้าหมายที่เป็นเหตุเป็นผลในเชิงการเมืองของกลุ่มผลประโยชน์และเจ้าหน้าที่ของรัฐในการใช้ทรัพยากรของรัฐ เพื่อช่วยเหลือกลุ่มผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่ทรงพลัง   อาจส่งผลให้เกิดความไร้เหตุผลทางเศรษฐกิจ  และสิ่งนี้เองก่อให้เกิดเป็นความไร้ประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ  ในประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลาย   ตัวแบบทางเลือกสาธารณะนี้ สามารถนำมาตอบคำถามที่ว่า  ทำไมคนที่มีเหตุมีผลจึงยอมปรับใช้นโยบายสาธารณะที่ให้ผลลัพธ์ที่เป็นผลเสียต่อสังคมโดยรวมที่เขาปกครองอยู่
7. ตัวแบบยึดหลักเหตุผล  (Rational Model)
1. ฐานคติที่สำคัญของตัวแบบเหตุผล ในการเลือกนโยบายโดยยึดหลักเหตุผล ผู้กำหนดนโยบายจะต้องพิจารณาปัจจัยต่างๆ ดังต่อไปนี้
1.1 จะต้องเข้าใจคุณค่าที่พึงปรารถนาของสังคมทั้งหมด
1.2 จะต้องเข้าใจทางเลือกนโยบายที่เป็นไปได้ทั้งหมด
1.3 จะต้องเข้าใจผลลัพธ์ทั้งหมดของทางเลือกนโยบาย แต่ละทางเลือก
1.4 สามารถคำนวณสัดส่วนระหว่างผลประโยชน์และต้นทุนของทางเลือกนโยบายแต่ละทางเลือกได้ ผู้ตัดสินใจนโยบายจะต้องพิจารณาเลือกทางเลือกนโยบายที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
2. กระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะตามตัวแบบเหตุผล
นโยบายสาธารณะจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสังคมส่วนรวม  โดยรัฐบาลจะเลือกนโยบายที่ให้ผลตอบแทนมากกว่าค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียไป ต้องมีกระบวนการ ดังนี้
2.1 วัตถุประสงค์ต้องเป็นที่ชัดเจนเป็นไปได้ และวัดผลได้
2.2 ค่านิยมและทรัพยากรอื่น ๆ ที่จะทำให้ดำเนินการไปสู่เป้าหมาย
2.3 ทางเลือกที่ดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย
2.4 วิเคราะห์ทางเลือกแต่ละทางเชื่อมโยงกับวัตถุประสงค์ และเหมาะสมกับทรัพยากรที่มีอยู่หรือไม่
2.5 ทางเลือกที่ดีที่สุด เพื่อเลือกในการกำหนดนโยบาย
2.6 นำทางเลือกไปปฏิบัติให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล เป็นประโยชน์ต่อสังคม
ตัวแบบเหตุผล คือ ตัวแบบในการวิเคราะห์นโยบายสาธารณะในฐานะที่เป็นผลประโยชน์สูงสุดทางสังคม
นโยบายที่ยึดหลักเหตุผล คือ นโยบายที่มุ่งผลประโยชน์สูงสุดทางสังคม ดังนั้นรัฐบาลควรยกเลิกหรือ หลีกเลี่ยงการใช้นโยบายที่มีต้นทุน หรือค่าใช้จ่ายสูงกว่าค่าตอบแทน
นโยบายสาธารณะของตัวแบบเหตุผล เช่น โครงการสนามบินสุวรรณภูมิ, โครงการท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง
8. ตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป   (Incremental Model)
                1. ฐานคติที่สำคัญของตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป
                1.1 ลักษณะแบบอนุรักษ์นิยม
                1.2 ผู้กำหนดนโยบายยอมรับความชอบธรรมของนโยบายสาธารณะที่มีมาก่อน
                1.3 กรณีมีการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่และเงินลงทุนสูง ผู้กำหนดนโยบายอาจจะปฏิเสธโครงการใหม่ได้
                1.4 แนวความคิดการเปลี่ยนแปลงเพียงบางส่วนนี้เหมาะสมทางการเมืองเป็นอย่างยิ่ง เพราะไม่ถูกต่อต้านจากประชาชน กลุ่มผลประโยชน์
                1.5 กรณีที่ไม่มีข้อตกลงเกี่ยวกับเป้าประสงค์ของสังคม จะเป็นการง่ายสำหรับรัฐบาลในสังคมแบบพหุนิยม ที่จะดำเนินโครงการที่มีอยู่เดิมมากกว่าการเข้าไปเกี่ยวข้องกับแผนงานใหม่ๆ
เป็นนโยบายที่กำหนดขึ้นต่อเนื่องจากกิจกรรมต่าง ๆ ในอดีตของรัฐบาล  โดยมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิ่มเติมเพียงเล็กน้อยแบบค่อยเป็นค่อยไป  นโยบายนี้กำหนดขึ้นโดยมีข้อจำกัดในเรื่อง  เวลา  ความรู้ความสามารถ  ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ และข้อจำกัดในเรื่องของการเมือง  เช่น  โครงการเก่าลงทุนไปเป็นจำนวนมากจึงยากที่จะเปลี่ยนแปลงโครงการเหล่านี้
                นโยบายสาธารณะแบบตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป มีลักษณะของการกระทำกิจกรรมของรัฐบาลที่ต่อเนื่องมาจากอดีตโดยมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเพียงบางส่วน หรือเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
`         2. ความเหมาะสมของตัวแบบการเปลี่ยนแปลงจากเดิมบางส่วนขึ้นอยู่กับเงื่อนไข ดังนี้
                2.1 ผลของนโยบายที่มีอยู่เป็นที่พอใจของผู้กำหนดนโยบายและประชาชน จึงจะทำให้การเปลี่ยนแปลงบางส่วนเป็นที่ยอมรับขอประชาชน
                2.2 ลักษณะของนโยบายต้องมีความต่อเนื่องสูงและสอดคล้องกับธรรมชาติของปัญหานโยบายที่ปรากฏอยู่
                2.3 ลักษณะของนโยบายต้องมีความต่อเนื่องสูงในการจัดการกับปัญหาที่ปรากฏอยู่
                3. คุณลักษณะด้อยของตัวแบบการเปลี่ยนแปลงจากเดิมบางส่วน คือ
                3.1 การส่งเสริมให้เกิดความเฉื่อยชา  (Pro - inertia) ในการกำหนดนโยบายสาธารณะ
                3.2 การต่อต้านนวัตกรรม (Anti - innovation) ไม่ยอมรับแนวคิดใหม่ๆหรือเทคนิคและเครื่องมือทางการบริหารนำมาประยุกต์ใช้ในการกำหนดนโยบายสาธารณะ
ตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป   เหมาะที่ใช้อธิบายในการกำหนดนโยบายสาธารณะของไทย  เนื่องจากนโยบายสาธารณะของไทยที่ผ่านมามีลักษณะความต่อเนื่องของกิจกรรมต่าง ๆ ในอดีตของรัฐ  โดยมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป  โดยใช้นโยบายเดิมเป็นหลัก   แล้วแก้ไขดัดแปลงเพิ่มเติมเพียงเล็กน้อย   โดยมีเหตุผลเพื่อลดปัญหาการขัดแย้งและเสริมสร้างเสถียรภาพทางการเมือง   เพราะการตกลงในส่วนที่เปลี่ยนแปลงเล็กน้อยย่อมง่ายกว่าการเปลี่ยนแปลงทั้งหมด
                4. กรณีศึกษานโยบายสาธารณะของตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป
                4.1 นโยบายเกี่ยวกับการบริหารองค์การต่างๆ ของภาครัฐ, นโยบายทางด้านการคลัง
                4.2 นโยบายเกี่ยวกับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี
                4.3 นโยบายเงินผัน ในสมัยรัฐบาลคึกฤทธิ์   เป็นเร่งรัดพัฒนาชนบท ในสมัยรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์    เป็นกองทุนหมู่บ้าน ในสมัยรัฐบาลไทยรักไทย
                4.4 โครงการ SML ของไทยรักไทยและพลังประชาชน เป็นกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง ของรัฐบาลประชาธิปัตย์
                4.5 นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค ในสมัยรัฐบาลไทยรักไทย     เป็นนโยบายรักษาฟรี ในสมัยรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ และเป็นนโยบายโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ของรัฐบาลประชาธิปัตย์
                4.6 นโยบาย SML ในสมัยรัฐบาลพลังประชาชน เป็นกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง ในสมัยรัฐบาลประชาธิปัตย์
                4.7 งบผู้ว่า ซีอีโอ ในสมัยรัฐบาลไทยรักไทย, พลังประชาชน เป็น งบบูรณาการจังหวัด ในสมัยรัฐบาลประชาธิปัตย์
                4.8 นโยบายเรียนฟรี 12 ปี ในสมัยรัฐบาลไทยรักไทย, พลังประชาชน เป็น นโยบายเรียนดี เรียนฟรี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ ในสมัยรัฐบาลประชาธิปัตย์
                9. ตัวแบบทฤษฎีเกม   (Game Theory Model)
                เป็นนโยบายที่กำหนดขึ้นในสถานการณ์ที่คับขัน ในกรณีที่มีผู้มีส่วนร่วมอยู่ในสถานการณ์ตั้งแต่ 2 ฝ่ายขึ้นไป โดยแต่ละฝ่ายมีทางเลือกของตน และผลลัพธ์ของแต่ละทางเลือกจะขึ้นอยู่กับทางเลือกที่แต่ละฝ่ายตัดสินใจเลือก ตัวแบบนี้ถูกนำไปประยุกต์ใช้ในการตัดสินใจกำหนดนโยบายสาธารณะในสถานการณ์ที่ไม่มี ทางเลือกที่ดีที่สุดอย่างเป็นอิสระ ที่ผู้ตัดสินใจกำหนดนโยบายจะเลือกได้ เนื่องจากผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ขึ้นอยู่กับว่าฝ่ายอื่นๆ ผู้มีส่วนร่วมอยู่ในสถานการณ์นั้น ตัดสินใจเลือกทางเลือกอะไร
                แนวคิดที่สำคัญที่สำคัญที่สุดในตัวแบบทฤษฏีเกม คือ กลยุทธ์ หมายถึง การตัดสินใจอย่างมีเหตุผล ในการเลือกทางเลือกใดทางเลือกหนึ่งจากชุดของทางเลือกต่างๆ ที่มีอยู่โดยคาดการณ์ว่าฝ่ายอื่นที่เป็นคู่แข่งขันจะเลือกทางเลือกอะไร จึงจะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งหมายถึง กลยุทธ์ที่จะทำให้ผลประโยชน์ขั้นต่ำสุดที่จะได้รับ อยู่ในระดับมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ (Maximize the minimum gain) หรือความสูญเสียขั้นสูงสุดที่จะต้องสูญเสียอยู่ในระดับน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ (Maximize the minimum loss)
ตัวแบบทฤษฎีเกมนี้ มีการนำไปใช้ในการตัดสินใจในนโยบายการต่างประเทศ เช่น นโยบายเกี่ยวกับสงครามและสันติภาพ นโยบายป้องกันประเทศ เช่น จะส่งทหารไปร่วมรบในอิรักดีหรือไม่ จะส่งผลต่อประเทศชาติอย่างไร การวิเคราะห์ในกรอบนี้จะต้องมีผู้เกี่ยวข้องสองฝ่าย สถานการณ์ กลยุทธ์การตัดสินใจที่แต่ละกลยุทธ์จะให้ผลไม่เท่ากันเพราะเราควบคุมสถานการณ์ไม่ได้
10. ตัวแบบการวางแผนกลยุทธ์   (Strategic Planning Model)
                ตัวแบบนี้ขึ้นมาโดยนำจุดดีจุดแข็งของตัวแบบเหตุผลและตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป มารวมเข้าด้วยกัน โดยใช้หลักการการบริหารเชิงกลยุทธ์โดยการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของนโยบายมาเป็นตัวแบบที่กำหนดโดยผู้บริหาร เพื่อให้การนำนโยบายไปปฏิบัติบรรลุเป้าหมายได้อย่างรวดเร็ว
                11. ตัวแบบระบบราชการ  ( Bureaucratic Model)
                Max Weber เจ้าของทฤษฏีระบบราชการ เชื่อว่าอำนาจขององค์การมิได้อยู่ที่หัวหน้าองค์การ หรือบุคคลหนึ่งบุคคลใด อำนาจที่แท้จริงกระจายอยู่ทั่วทั้งองค์การ กล่าวคือ สมาชิกทุกคนมีอำนาจในการใช้วิจารณญาณ   โดยสามารถใช้วิจารณญาณในการปฏิบัติหน้าที่ของตนเอง   โดยผู้บังคับบัญชาไม่อาจจะควบคุมได้
                11.1 คุณลักษณะของระบบราชการ  ตามทัศนะของ Max Weber
11.1.1 มีสายการบังคับบัญชา
11.1.2 โดยเลือกคนที่มีคุณวุฒิ  ความรู้ ความสามารถ  และความชำนาญงาน 
11.1.3 มีกฎ  ระเบียบ  ข้อบังคับในการปฏิบัติงาน
11.1.4 โดยคำนึงถึงเหตุผลขององค์การโดยรวม  ไม่คำนึงถึงความสัมพันธ์ส่วนบุคคล
11.1.5 มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย
12. ตัวแบบการกำหนดนโยบายและการนำนโยบายไปปฏิบัติจะมี 2 กลุ่ม คือ
12.1 กลุ่มที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการกำหนดนโยบายและการนำนโยบายไปปฏิบัติ โดยพยายามจะพรรณนา หรือบรรยาย และอธิบายนโยบายมากกว่าเสนอมาตรการที่ดีกว่า มีดังนี้
12.1.1 ตัวแบบชนชั้นนำ (Elite Model)              
12.1.2 ตัวแบบกลุ่ม (Group Model)
12.1.3 ตัวแบบระบบ (System Model)
12.1.4 ตัวแบบสถาบัน (Institutionalism Model)
ตัวแบบกลุ่มนี้ สามารถใช้วิเคราะห์นโยบายในทุกขั้นตอน โดยเฉพาะการกำหนดนโยบายและการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ  โดยใช้ตัวแบบกลุ่มนี้ เป็นแนวทางบรรยายและอธิบายในสถานะที่มุ่งให้ทราบว่าใคร หรือตัวแปรใด ทำอะไร  เมื่อไร  อย่างไร  โดยมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นในสถานะใด  ที่เมื่อรวมกันแล้วส่งผลกระทบต่อนโยบายอย่างไร
12.2 กลุ่มที่ให้ความสำคัญกับผลผลิต หรือปัจจัยนำออกและผลกระทบของนโยบายสาธารณะ โดยเฉพาะความพยายามเสนอมาตรการที่ดีกว่าในการปรับปรุงเนื้อหาของนโยบายสาธารณะ มีดังนี้
12.2.1 ตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป (Incremental Model)
12.2.2 ตัวแบบเหตุผล (Rational Model)
12.2.3 ตัวแบบทฤษฎีเกม (Game Theory Model)
ตัวแบบกลุ่มนี้  สามารถวิเคราะห์นโยบายให้ความสำคัญในเรื่องของการเสนอ  หรือ  หามาตรการที่ดีกว่าในการกำหนดนโยบายและการนำนโยบายไปปฏิบัติ
5. การวิเคราะห์นโยบาย
สาระสำคัญของการวิเคราะห์นโยบายอาจกล่าวโดยสรุปได้ ดังต่อไปนี้  (Dunn, 1994:83-84)
                1. การวิเคราะห์นโยบายเป็นสังคมศาสตร์ประยุกต์ ที่อาศัยองค์ความรู้จากสาชาวิชาต่างๆ เพื่อวัตถุประสงค์ในการพรรณนา (Descriptive) ประเมินผล (Evaluation) และกำหนดคุณค่า (Normative) ของนโยบายที่พึงปรารถนา การวิเคราะห์นโยบายมิได้ใช้เฉพาะความรู้จากสาขาสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์เท่านั้น แต่ยังอาศัยความรู้จากรัฐประศาสนศาสตร์ นิติศาสตร์ ปรัชญา จริยธรรม รวมทั้งความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ระบบ (System analysis) และคณิตศาสตร์ประยุกต์อีกด้วย
                2. เป็นที่คาดหวังกันว่า นักวิเคราะห์นโยบายจะต้องนำเสนอ (Produce) และแปลงเปลี่ยน (transform) ระบบข้อมูล (Information) เกี่ยวกับค่านิยม (Values) ความจริง (Facts) และการกระทำ (Actions) ให้เป็นที่ประจักษ์ชัดแก่ผู้ตัดสินนโยบาย ลักษณะระบบข้อมูลดังกล่าวจะเกี่ยวข้องกับแนวทางการวิเคราะห์ 3 แนวทาง คือ แนวทางเชิงประจักษ์ (Empirical) แนวทางเชิงประเมิน (Evaluative) และแนวทางเชิงปทัสถาน (Normative)
                3. ข้อเสนอแนะจากการวิเคราะห์นโยบายเกิดจากกระบวนการที่ยึดหลักเหตุผล (Rational process) โดยนักวิเคราะห์จะแสวงหาข้อมูลและเหตุผล เพื่อนำไปสู่ข้อสรุปกับทางเลือกในการแก้ไขปัญหาของประชาชน การผลักดันนโยบายจะต้องไม่นำพาซึ่งความสับสนเกี่ยวกับอารมณ์ความต้องการ (Emotional appears) อุดมการณ์ส่วนตน (Ideological platforms) หรือกิจกรรมทางการเมืองที่เกี่ยวข้อง
                4. ขั้นตอนทั่วไปของการแก้ปัญหาของมนุษย์ (Human problems) ได้แก่ การพรรณนา การทำนาย การประเมินผล และการเสนอแนะ เป็นต้น อาจจะปรากฏในลักษณะของการเปรียบเทียบ หรือลักษณะตรงกันข้าม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของเวลาที่นำมาใช้ และชนิดของคำถามว่าเป็นคำถามเชิงประจักษ์ เชิงประเมิน หรือเชิงปทัสถาน ขั้นตอนทั่วไปในการนำเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาเหล่านี้จะสอดคล้องกับการวิเคราะห์นโยบายต่างๆ ได้แก่ การกำกับ (Monitoring) การพยากรณ์ (Forecasting) การประเมินผล (Evaluation) และการเสนอแนะ (Recommendation) นอกจากนี้นักวิเคราะห์ต้องตระหนักไว้ด้วยว่า เป็นการยากที่จะใช้ระเบียบวิธีการวิเคราะห์เพียงวิธีเดียวในการวิเคราะห์โครงสร้างของปัญหานโยบายปัญหาหนึ่ง ทั้งนี้เพราะการวิเคราะห์โครงสร้างปัญหา (Policy structure) ต้องอาศัยระเบียบวิธีหลายวิธี (Metamethod)
                5. ระเบียบวิธีการวิเคราะห์นโยบายมีลักษณะความสัมพันธ์แบบลำดับชั้น (Hierarchically related) และพึ่งพาซึ่งกันและกัน (Interdependent) บางระเบียบวิธีการวิเคราะห์ อาทิเช่น การกำกับ อาจใช้กระบวนการของตนเอง ในขณะที่ระเบียบวิธีอื่นๆ อาทิเช่น การประเมินผล อาจต้องใช้ระเบียบวิธีอื่นๆ ที่เกิดขึ้นก่อนหน้าการประเมินด้วย ส่วนการเสนอแนะอาจใช้ทั้งระเบียบวิธีเกี่ยวกับการกำกับ การประเมินผล และการพยากรณ์ร่วมกัน ทั้งนี้เพราะการเสนอแนะ คือ สิ่งที่เกิดจากการผสมผสานระหว่าง ความจริง (Factual) และค่านิยมที่เกี่ยวข้อง
                6. ความรู้เกี่ยวกับอะไร (What) เป็นเรื่องของความจริง (Facts) ส่วนความรู้เกี่ยวกับอะไรเป็นสิ่งที่ถูกต้อง (right) เป็นเรื่องของค่านิยม (Values) และความรู้เกี่ยวกับเรื่องจะทำอะไร เป็นเรื่องของการกระทำ (Actions) สิ่งเหล่านี้ต้องการระเบียบวิจัยหลากหลายร่วมกันในการแสวงหาคำตอบเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาของสังคม การกำหนดนโยบายในอนาคต (Policy features) การนำนโยบายไปปฏิบัติ (Policy action) ผลลัพธ์นโยบาย (Policy outcomes) และระดับความสำเร็จของนโยบาย (Policy performance)
                7. การแสวงหา นักวิเคราะห์นโยบายนั้น มิใช่แต่เพียงการนำเสนอข้อมูลที่ค้นพบ แต่จะต้องแปลงเปลี่ยน (Transform) ข้อมูลให้เป็นส่วนหนึ่งของความรู้เกี่ยวกับการแสวงหานโยบายที่พึงปรารถนาด้วย ข้อถกเถียง (Arguments) เกี่ยวกับนโยบายสะท้อนให้เข้าใจถึงเหตุผลว่า ทำไมประชาชนในแต่ละชุมชน จึงมีความแตกต่างกันเกี่ยวกับทางเลือกนโยบายที่รัฐบาลนำไปปฏิบัติ ซึ่งจะเป็นพาหะสำคัญในการอภิปรายเกี่ยวกับประเด็นสาธารณะ (Public issues)
                8. การวิเคราะห์นโยบายเป็นกระบวนการรับรู้ (Cognitive process) ที่สำคัญ ในขณะที่การกำหนดนโยบาย (Policy – making) เป็นกระบวนการทางการเมือง ดังนั้นนอกจากปัจจัยทางด้านระเบียบวิธีการวิจัย (Methodology) ที่มีผลต่อการวิเคราะห์นโยบายแล้ว ปัจจัยอื่นๆ ทางการเมืองอีกหลายประการ จะถูกนำมาใช้ประโยชน์ในกระบวนกำหนดนโยบายด้วย สำหรับนักวิเคราะห์นโยบายนั้น แท้ที่จริงก็คือ ผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders) ที่รวมอยู่ในระหว่างผู้มีส่วนร่วมได้เสียอื่นๆ ในระบบนโยบายด้วยเช่นกัน
                9. ประเด็นของนโยบายสาธารณะที่ปรากฏในสังคม เป็นผลมาจากนิยามความขัดแย้งที่ต่างกันของปัญหานโยบาย และการนิยามนโยบายถูกกำหนดโดยแบบแผนของความเกี่ยวพันกันระหว่างผู้มีส่วนได้เสียที่มีความต้องการแตกต่างกัน และการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมนโยบายร่วมกัน
                10. การวิเคราะห์นโยบายในฐานะที่เป็นกระบวนการแสวงหาทางเลือกนโยบายที่เหมาะสม มีความเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ประการ ได้แก่ ระเบียบวิธีการวิเคราะห์นโยบาย (Policy- analytic methods) องค์ประกอบของข้อมูลนโยบาย (Policy – Informational components) และการแปลงเปลี่ยนระบบข้อมูลนโยบาย (Policy – Informational transformations) ทั้งระเบียบวิธีการวิเคราะห์ และระบบข้อมูลต่างมีความสัมพันธ์แบบพึ่งพาซึ่งกันและกัน
                11. การวิเคราะห์นโยบายสามารถจำแนกได้ 3 รูปแบบ คือ การวิเคราะห์หลังการนำไปปฏิบัติ (Retrospective) การวิเคราะห์ก่อนนำไปปฏิบัติ (Prospective) และการวิเคราะห์แบบบูรณาการ (Integrated) สิ่งที่แตกต่างกันระหว่างรูปแบบดังกล่าว ช่วยให้นักวิเคราะห์เข้าใจประเด็นสำคัญของการวิเคราะห์นโยบาย ที่ยังไม่สามารถหาข้อแก้ไขได้ อาทิเช่น ความสำคัญของเวลา ความสัมพันธ์ระหว่างทฤษฏีการตัดสินใจเชิงประจักษ์และเชิงปทัสถาน บทบาทของทฤษฏีและการปฏิบัติ และความหมายของแก้ไขปัญหา เป็นต้น
                12. กรอบการวิเคราะห์นโยบายเชิงบูรณาการ จะบอกให้ทราบว่าจะต้องใช้ระเบียบวิธีอะไรในการวิเคราะห์นโยบาย ซึ่งเป็นวิถี (Means) สำคัญในการกำหนดมาตรฐาน กฎ และขั้นตอนในการวิเคราะห์นโยบาย นอกจากนี้กรอบการวิเคราะห์เชิงบูรณาการ ยังทำหน้าที่เป็นเครื่องมือในการสังเคราะห์ (Synthesizing) ฐานคติที่ตรงกันข้ามกัน และเป็นแนวทางในการวิเคราะห์นโยบายที่ใช้ในปัจจุบันนี้
                จากสาระสำคัญโดยสรุปของการวิเคราะห์นโยบาย ดังได้กล่าวข้างต้น แสดงให้เห็นว่า การวิเคราะห์มีความสำคัญทั้งในเชิงวิชาการ และการประยุกต์ใช้ ซึ่งผู้สนใจสามารถจะเลือกใช้ให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ และความต้องการของตนในแต่ละกรณี โดยจะต้องเข้าใจพื้นฐานเบื้องต้นของการวิเคราะห์นโยบายให้ชัดเจนว่า การวิเคราะห์นโยบายเป็นสหวิทยาการ ดังนั้นความรอบรู้เกี่ยวกับสาขาวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหานโยบาย จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับนักวิเคราะห์นโยบายเป็นอย่างยิ่ง
การวิเคราะห์นโยบายสาธารณะต้องอาศัยข่าวสาร 3 ระดับ คือ
1. ด้านความเป็นจริงของนโยบาย (Facts) ต้องรู้ข้อเท็จจริง และสามารถเข้าถึงข้อมูลที่แท้จริง เป็นข้อมูลที่แสดงปรากฏการณ์ สถานการณ์ เหตุการณ์ หรือ ความเป็นจริงทางธรรมชาติ ทางสังคม การพิจารณาจากเหตุการณ์/สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในสังคม ดูว่าปัญหาเกิดขึ้นกับใคร เช่น ในชุมชนเมืองต้องมีปัญหาขยะจำนวนมหาศาล ปัญหาโสเภณีเด็ก ผู้ทำหน้าที่วิเคราะห์นโยบายจะต้องทำความเข้าใจปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมและปัญหาเหล่านั้นต้องถูกนำไปแก้ไขโดยการกำหนดนโยบายสาธารณะขึ้นมา
2. ด้านคุณค่าของนโยบาย (Values) ให้ความสำคัญกับ ความชอบ ค่านิยมของคน/กลุ่มที่แตกต่างกัน  ค่านิยมของชาวบ้าน ค่านิยมของนายทุนต่างกัน การวิเคราะห์นโยบายจึงต้องคำนึงถึงค่านิยมของคนส่วนใหญ่ของสังคม ค่านิยม เป็นการพิจารณาเชื่อมโยงกับข้อเท็จจริงที่ปรากฏว่าปัญหานั้นเกิดจากค่านิยม ความเชื่อ รสนิยม วัฒนธรรม เช่น ปัญหาขยะในชุมชนเกิดจากค่านิยมของคนในชุมชนเมืองที่รักความสะดวกสบายจึงเลือกใช้โฟมและถุงพลาสติกที่สุดท้ายก่อให้เกิดขยะจำนวนมหาศาล หรือปัญหาโสเภณีเด็กเกิดจากค่านิยมของเด็กวัยรุ่นที่ชอบความสะดวกสบาย ชอบใช้ของฟุ่มเฟือย ราคาแพง ค่านิยม ความชอบ ความเชื่อบางเรื่องขนบธรรมเนียมประเพณีบางอย่างมีผลโดยตรงต่อความสำเร็จหรือล้มเหลวในการดำเนินงาน ดังนั้นการปฏิบัติใด ๆ ที่ขัดแย้งกับค่านิยมความเชื่อของชาวบ้าน โอกาสที่จะประสบความสำเร็จย่อมมีน้อยลง ดังนั้นข้อมูลที่เป็นค่านิยมจะมองข้ามไปไม่ได้
3. ด้านการกระทำ (Action) เกี่ยวกับพฤติกรรมของคน กลุ่มชน องค์กรที่มีต่อนโยบาย การปฏิบัติต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์ของสังคมโดยส่วนรวม การปฏิบัติ จากข้อเท็จจริงและค่านิยมนำไปสู่การปฏิบัติคือการแก้ไขปัญหาเหล่านั้น จากปัญหาขยะในชุมชนการปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาคือ รณรงค์ให้ประชาชนหิ้วถุงผ้าไปจ่ายตลาด นำปิ่นโตไปซื้ออาหาร รวมทั้งมาตรการอื่น ๆ เพื่อทำให้ขยะโฟมและถุงพลาสติกลดน้อยลง
6.  กระบวนการการกำหนดนโยบายสาธารณะหรือวงจรการกำหนดนโยบายสาธารณะ
กระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะ หรือ วงจรนโยบายสาธารณะ (Public Policy Cycle) มีกระบวนการ/วงจรสำคัญ 5 ขั้นตอน คือ
6.1 การก่อตัวนโยบาย (Policy formation) คือ การวิเคราะห์ว่าการก่อตัวนโยบาย เกิดอะไรขึ้นบ้าง
6.2 การกำหนดนโยบาย (Policy formulation) คือ การวิเคราะห์ว่าการกำหนดนโยบายมีแนวทางอย่างไรบ้าง
6.3 การตัดสินนโยบาย (Policy decision) คือ การวิเคราะห์ว่าการตัดสินนโยบาย จะเลือกแนวทางใดดี
6.4 การนำนโยบายไปปฏิบัติ (Policy implementation) คือ การวิเคราะห์ว่าการนำนโยบายไปปฏิบัติ จะนำแนวทางที่ได้ไปดำเนินการอย่างไร
6.5 การประเมินผลนโยบาย (Policy evaluation) คือ การวิเคราะห์ว่า การดำเนินการตามแนวทางได้ผลหรือไม่
1.  การก่อตัวนโยบาย (Policy formation) 
เป็นขั้นตอนแรกของกระบวนการนโยบาย เพื่อพิจารณา ศึกษา และวิเคราะห์ ลักษณะสภาพของปัญหา ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง เกิดกับใคร เกิดที่ไหน และเกิดอย่างไร ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเริ่มจากปัญหาของปัจเจกชนก่อน เมื่อปัจเจกชนประสบปัญหาเหมือนๆกัน ก็จะกลายเป็นปัญหาของสังคมส่วนใหญ่ รวมทั้งต้องการความแร่งด่วนในการแก้ไขปัญหาแค่ไหน  และประชาชนในสังคมต้องการให้แก้ไขปัญหานั้นอย่างไร   ถ้าไม่แก้ไขจะเกิดผลอย่างไร   และถ้ารัฐบาลเข้าไปแก้ไขใครจะเป็นผู้ได้และเสียประโยชน์   ผลกระทบที่เกิดจากการแก้ไขตรงตามที่คาดหวังหรือไม่   ใครเป็นผู้รับผิดชอบในการนำไปปฏิบัติ ต้องใช้ทรัพยากรอะไรบ้าง การระบุปัญหาที่ชัดเจนจะเป็นพื้นฐานในการกำหนดวัตถุประสงค์ในการแก้ไขปัญหาให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา สภาพปัญหาสังคมจนเกิดเป็นประเด็นสาธารณะ (Public Issue) หรือปัญหาสาธารณะ (Public Problem)
1. ประเด็นสาธารณะ (Public Issue) หมายถึง สิ่งที่เป็นประเด็นถกเถียงกันของสังคม แต่ยังไม่เป็นประเด็นปัญหา เช่น การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ควรทำหรือไม่ เป็นต้น
2. ปัญหาสาธารณะ (Public Problem) หมายถึง สิ่งที่เป็นปัญหาของสังคม ซึ่งอาจมาจากประเด็นปัญหาหนึ่งปัญหาใดดังต่อไปนี้
2.1 ปัญหาขัดข้อง (Summative Problem) เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในอดีต ปัจจุบันยังปรากฏอยู่ และจะสืบเนื่องต่อไปในอนาคต เป็นปัญหาของความแตกต่างระหว่างสิ่งที่พอใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น เช่น ปัญหาความยากจน ปัญหายาเสพติด ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนใต้ ปัญหาแรงงานต่างด้าว
2.2 ปัญหาป้องกัน (Preventive Problem) เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจริงและเป็นปัญหาที่มีสิ่งบอกเหตุว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตอีกหากไม่รีบทำการป้องกัน เป็นปัญหาของความแตกต่างระหว่างสิ่งที่ต้องการและสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เช่น ปัญหาเรื่องนํ้า ปัญหาภัยแล้ง ปัญหายุงลาย ปัญหาไข้หวัดนก ปัญหาไข้หวัด 2009 ปัญหาคลื่นยักษ์สึนามิ
2.3 ปัญหาพัฒนา (Development Problem) หรือเรียกว่า ปัญหาวิสัยทัศน์ คือ ปัจจุบันไม่เป็นปัญหา แต่ในอนาคตอาจเป็นปัญหาได้ถ้ายังมีการปฏิบัติเช่นเดิม เป็นปัญหาที่ไม่ต้องการให้เกิดขึ้น แต่เกิดขึ้นเป็นปกติวิสัยและมีการยอมรับจากสังคมว่าเป็นปัญหา เป็นปัญหาของความแตกต่างระหว่างสิ่งที่ต้องการหรือความพอใจเดิมกับสิ่งที่ต้องการให้เกิดหรือความพอใจใหม่ในปัจจุบัน เช่น ปัญหาคอรัปชั่น ปัญหาการเปิดการค้าเสรี (FTA)  
                3. ปัญหาสาธารณะจะกลายเป็นประเด็นเชิงนโยบายหรือเข้าสู่วาระและได้รับความสนใจจากผู้กำหนดนโยบายสาธารณะ   มักจะต้องมีคุณลักษณะของปัญหา คือ เป็นวิกฤต มีการแตกตัวขยายวงกว้าง กระเทือนความรู้สึก กระทบสภาพแวดล้อม และร่วมสมัย ดังนี้
                3.1 เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือเกิดขึ้นจากความรุนแรงทางการเมือง เช่น ปัญหาน้ำท่วม ปัญหาภัยแล้ง
                3.2 มีการแตกตัวและขยายวงกว้างออกไป เช่น ปัญหาของความเป็นเมือง
                3.3 มีความกระเทือนต่อความรู้สึกและเป็นที่สนใจของสื่อมวลชนทั่วไป เช่น ปัญหาอาชญากรรม ปัญหาแรงงานเด็ก
3.4 มีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม เช่น ปัญหามลภาวะเป็นพิษ
3.5 มีลักษณะท้าทายต่ออำนาจและความชอบธรรมของรัฐ เช่น ปัญหาการแบ่งแยกดินแดน
3.6 เป็นเรื่องร่วมสมัย เช่น ปัญหาการจราจร ปัญหาโรคเอดส์
4. การกำหนดวัตถุประสงค์ของนโยบาย
เมื่อทราบลักษณะปัญหานโยบายที่ชัดเจนแล้ว  จะต้องกำหนดเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ในการแก้ไขปัญหาให้ชัดเจน เพราะการกำหนดวัตถุประสงค์ที่ดี การปฏิบัติจะสะดวกมากขึ้น ดังนี้
4.1 การกำหนดวัตถุประสงค์ของนโยบาย ทำให้ทราบถึงลำดับความสำคัญของนโยบายที่ต้องจัดทำ   และการเลือกใช้นโยบายให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
4.2 วัตถุประสงค์ของนโยบายมีความสำคัญ ในฐานะที่เป็นปัจจัยกำหนดทิศทางของทางเลือกนโยบายที่จะนำไปปฏิบัติให้ประสบผลสำเร็จ
4.3 วัตถุประสงค์เป็นเกณฑ์ในการประเมินผลสำเร็จของนโยบาย ที่จะนำไปปฏิบัติว่าเป็นตามวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้มากน้อยเพียงใด
5. คุณลักษณะของวัตถุประสงค์ของนโยบาย มีดังนี้
5.1 ความครอบคลุมประเด็นปัญหานโยบาย
5.2 ความสอดคล้องกับค่านิยมของสังคม
5.3 ความชัดเจนและความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ
5.4 ความสมเหตุสมผล
5.5 มีความสอดคล้องกับทรัพยากรที่จำเป็นต้องใช้
5.6 มีความสอดคล้องทางการเมือง
5.7 การกำหนดกรอบเวลาที่เหมาะสม
2. การกำหนดนโยบาย (Policy Formulation) การวิเคราะห์ว่าการกำหนดนโยบายมีแนวทางอย่างไรบ้างโดยมีขั้นตอนการกำหนดนโยบาย (Policy Formulation) ดังนี้
2.1 การพัฒนาทางเลือกของนโยบาย (Policy Alternative)
2.2 การประเมินทางเลือกของนโยบาย (Alternative Assessment)
2.3 การตัดสินใจทางเลือกเพื่อกำหนดเป็นนโยบาย (Policy Decision)
2.4 การประกาศใช้เป็นนโยบาย
2.1 กระบวนการพิจารณาปัญหาเพื่อนำเข้าสู่กระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะ

2.1.1 ปัญหาทั่วไป (Problem)   เป็นทั้งปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมที่เกิดขึ้นและมีผลกระทบต่อบุคคล หรือกลุ่มบุคคล หรือต่อสังคมส่วนรวม  เช่น  ปัญหาโสเภณี  ยาเสพติด  โรคเอดส์  ปัญหาทั่วไปอาจจะเพิ่มความสำคัญและพัฒนาเป็นปัญหาของสังคมต่อไป

2.1.2 ปัญหาของสังคม (Social Problem) คือ ปัญหาที่เกิดในสังคมและมีผลกระทบต่อประชาชนจำนวนมาก แต่ประชาชนบางกลุ่มเท่านั้นที่จะเข้าร่วมแก้ปัญหาอย่างจริงจัง รวมกลุ่มจึงอาจจะเกิดขึ้นเพียงระยะสั้น ๆ

                2.1.3 ประเด็นปัญหาของสังคม (Policy Issue) ได้รับความสนใจและร่วมมือโดยกลุ่มต่าง ๆ ในสังคม มีการตกลงร่วมมือเพื่อวัตถุประสงค์ร่วมกันและผลักดันประเด็นปัญหาของสังคมเพื่อเป็นข้อเสนอของสังคมส่วนรวมต่อไป

                2.1.4 ข้อเสนอของสังคม/ระเบียบวาระของสังคม (Public Agenda)  เป็นการประมวลข้อเสนอของสังคมเข้าด้วยกัน  ข้อเสนอของสังคมจะทวีเพิ่มขึ้นเป็นข้อเสนอของรัฐขึ้นอยู่กับ  ผู้นำการเมือง  วิกฤตการณ์ของปัญหา  การเดินขบวนประท้วง  สื่อสารมวลชนและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับปัญหานั้นๆ

                2.1.5 ข้อเสนอแนะของรัฐบาล/ระเบียบวาระของรัฐบาล (Official Agenda)  เป็นข้อเสนอระดับหนึ่งก่อนที่นำไปสู่การกำหนดนโยบายของรัฐ  ในกระบวนการนี้ข้าราชการไทยจะมีบทบาทสูงในการพิจารณาข้อเสนอเพื่อกำหนดเป็นนโยบาย  โดยผ่านกระบวนการและขั้นตอนทางรัฐสภา  และระบบราชการ ในบางประเทศระบบตุลาการอาจมีบทบาทในกระบวนการนี้

                2.1.6 นโยบาย/นโยบายสาธารณะ (Public Policy) เป็นผลผลิตจากระบบการเมืองที่กำหนดแนวทางและวัตถุประสงค์ซึ่งอาจจะส่งผลในการแก้ปัญหา หรืออาจไม่ช่วยแก้ปัญหา

                2.2 แนวทางการวิเคราะห์การกำหนดนโยบาย  มี 3 แนวทาง คือ

                2.2.1  แนวทางเชิงประจักษ์   เป็นแนวทางที่มุ่งหาข้อเท็จจริง  โดยตั้งคำถามว่า  มีอะไรปรากฏอยู่บ้าง เพื่อการอธิบายว่าอะไรคือปัญหา

                2.2.2  แนวทางเชิงประเมิน  เป็นแนวทางที่อธิบายถึง  คุณค่า  หรือค่านิยม  ของสังคมที่มีต่อปัญหานโยบาย  ตั้งคำถามว่า ปัญหานโยบายดังกล่าวมีคุณค่าอะไร

                2.2.3  แนวทางเชิงปทัสถาน  เป็นแนวทางที่มุ่งเสนอทางเลือกเพื่อการแก้ไขปัญหาในอนาคต   ตั้งคำถามว่า   ควรจะทำอะไรให้เรียบร้อย   

                2.3 หลักเกณฑ์เชิงปทัสถานที่ใช้ในการพิจารณาว่าทางเลือกใด เป็นทางเลือกที่ดีในการกำหนดนโยบาย  มีอยู่หลายหลักเกณฑ์ ดังนี้

                2.3.1 แนวความคิดของ Jeremy Bent ham (1748-1832) หลักอรรถประโยชน์ (Utilitarianism) อธิบายว่า คนชอบความสุข ความสุขเป็นสิ่งที่มีคุณค่าสูงสุด ทั้งในเชิงจิตวิทยาและจริยธรรม ในเชิงจิตวิทยา สิ่งจูงใจที่สำคัญของมนุษย์ คือ 1. ความต้องการที่จะได้รับความสุข 2. ความต้องการที่จะหลีกเลี่ยงความทุกข์ ในเชิงจริยธรรม อธิบายว่า การกระทำใดก็ตามที่เป็นสิ่งจำเป็นในเชิงคุณธรรม การกระทำนั้นเป็นสิ่งที่ควรกระทำ โดยให้เลือก ทางเลือกที่ก่อให้เกิดหน่วยของความสุขมากที่สุด ดังนั้นผู้กำหนดนโยบาย ต้องเลือก ทางเลือกที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมมากที่สุด โดยไม่คำนึงว่าใครจะเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์

                2.3.2 แนวคิดของ Vilfredo Pareto (1848-1923) คือ ทางเลือกใดที่ทำให้คนอย่างน้อยที่สุดหนึ่งคนรู้สึกดีขึ้นกว่าเดิม โดยไม่ทำให้ใครรู้สึกแย่ลงกว่าเดิม ทางเลือกนั้นเป็นทางเลือกที่ควรเลือก การประเมินความสุขของคนจากความรู้สึกพึงพอใจ Pareto วัดคุณค่าของนโยบายหนึ่ง โดยดูจากความรู้สึกพึงพอใจของคนตามหลักของ Pareto รัฐบาลจะต้องเปิดโอกาสให้คนที่รู้สึกแย่ลงกว่าเดิม   สามารถคัดค้าน (Veto) ได้ เมื่อมีการคัดค้าน อาจทำให้ 1.ทางเลือกนั้นถูกยกเลิกไปเลย หรือ 2.ทางเลือกนั้นถูกเลือก แต่มี การชดเชย ให้แก่คนที่รู้สึกว่าตนได้รับผลเสียหายจากทางเลือกนั้น

                2.3.3  แนวความคิดของ John Raw บิดาแห่งทฤษฏีความยุติธรรม คือ สิ่งที่มีคุณค่าทั้งหลายในสังคมควรถูกแบ่ง หรือจัดสรรให้ทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน แต่ถ้าไม่สามารถจัดสรรให้เท่าเทียมกัน การจัดสรรที่ไม่เท่าเทียมกันนั้น ต้องให้ทุกคนได้ประโยชน์ และความแตกต่างที่ไม่เท่าเทียมกันนั้น ควรจะมีช่องว่าง หรือความแตกต่างกันให้น้อยที่สุด เพื่อความยุติธรรม

2.4 การกำหนดทางเลือกนโยบาย ในการกำหนดทางเลือกนโยบายสิ่งที่ต้องพิจารณา คือ

2.4.1 ลักษณะของทางเลือกนโยบาย ทางเลือกนโยบายที่ดี ควรมีลักษณะสองประการต่อไปนี้

(ก) สร้างสรรค์ (Creativity) นำสิ่งใหม่ไปกระทำให้ปรากฏเป็นจริง

(ข) เป็นนวัตกรรม (Innovation) เป็นการนำสิ่งใหม่ไปสู่การใช้ประโยชน์

เช่น การสร้างดาวเทียมเป็นการสร้างสรรค์ การนำดาวเทียมไปใช้ประโยชน์ในการสื่อสารโทรคมนาคม ถือเป็นนวัตกรรม การจะก่อให้เกิดทางเลือกนโยบายที่ Creativity และ Innovation คน ๆ เดียวอาจคิดไม่ได้ ต้องจัดสัมมนาระดมสมองเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหา

2.4.2 การพิจารณาทางเลือกนโยบาย ต้องพิจารณาว่า

(ก) ทางเลือกใดควรกระทำ ทางเลือกใดไม่ควรกระทำ เช่น ปัญหาคนว่างงาน รัฐบาลกำลังตัดสินใจว่าจะมีนโยบายสงเคราะห์คนว่างงานดีหรือไม่ หรือปล่อยให้ดิ้นรนกันเอง เพราะถ้ารัฐบาลมีนโยบายสงเคราะห์อาจทำให้คนว่างงานไม่ดิ้นรนขวนขวาย เพราะถือว่าอย่างไรเสียรัฐบาลก็ต้องอุ้ม หรือปัญหาการขาดแคลนแรงงาน งานบางชนิดคนไทยไม่อยากทำ รัฐบาลจะตัดสินใจยอมรับแรงงานต่างด้าวที่หลบหนีเข้าเมืองหรือไม่ ถ้ายอมรับให้มีแรงงานต่างด้าวก็ต้องมีนโยบายให้แรงงานต่างด้าวจดทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และแรงงานต่างด้าวจะนำมาซึ่งปัญหาอื่น ๆ อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาสาธารณสุข การแย่งงานคนไทย ปัญหาอาชญากรรม ปัญหายาเสพติด ฯลฯ ควรจะมีมาตรการแก้ไขอย่างไร เพื่ป้องกันปัญหาดังกล่าว

(ข) การนำเสนอทางเลือกที่เหมาะสม ผู้ทำหน้าที่วิเคราะห์นโยบายควรพิจารณาด้วยว่าท่ามกลางทางเลือกทั้งหลายที่นำเสนอไว้นั้น ทางเลือกใดเหมาะสมมากน้อยกว่ากันอย่างไร เป็นการคาดคะเนผลของแต่ละทางเลือก เป็นข้อมูลสำหรับผู้ทำหน้าที่ตัดสินใจเพื่อตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง

2.4.3 การกลั่นกรองและตรวจสอบทางเลือกนโยบายที่ได้นำเสนอไว้แล้ว เพื่อให้เกิดความเข้าใจในทางเลือกนั้น ดังนี้

(ก) ทางเลือกที่นำเสนอนั้นมีความเป็นไปได้จริง ไม่เพ้อฝัน ลงมือปฏิบัติได้

(ข) มีความเหมาะสมสอดคล้องกับทรัพยากรที่มีอยู่ สอดคล้องกับค่านิยมของคนในสังคม อย่างกฎหมายทำแท้ง, จดทะเบียนโสเภณี, บ่อนการพนัน กฎหมายไม่ผ่านเพราะค่านิยมของคนไทยยังรับไม่ได้

(ค) ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญของนโยบาย

กระบวนการในการกลั่นกรองนี้เรียกรวม ๆ ว่า กระบวนการประเมินผลทางเลือกนโยบาย เพื่อจะดูจุดอ่อนจุดแข็งของแต่ละทางเลือก

3. หากพิจารณาปัญหาเพื่อนำเข้าสู่กระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะในกรอบการวิเคราะห์ตามตัวแบบ  เชิงระบบ  หรือ  ทฤษฎีระบบ  ของ  David  Easton  จะได้ปัจจัยนำเข้า  ระบบการเมือง  ปัจจัยนำออกตามแผนภาพ  ดังนี้


3.1 ปัจจัยนำเข้า (Input)   ได้แก่  ปัญหาทั่วไป  ปัญหาสังคม  ประเด็นปัญหาสังคม  และข้อเสนอของสังคม  ในสภาวการณ์ที่สภาพการเมืองมีบทบาทสูง  ปัจจัยนำเข้าอาจมาจากการที่พรรคการเมืองต่าง ๆ ได้นำเสนอนโยบายไว้ในการหาเสียง  เช่น  พรรคไทยรักไทยได้เสนอนโยบายโครงการพักชำระหนี้และลดภาระหนี้ให้แก่เกษตรรายย่อยไว้ในการหาเสียง  และในที่สุดก็กลายเป็นคำมั่นในการที่ต้องกำหนดเป็นนโยบายสาธารณะ  เมื่อพรรคไทยรักไทยเข้ามาเป็นรัฐบาลบริหารประเทศ   

                3.2 ระบบการเมือง (Political process) คือ ข้อเสนอข้อรัฐบาล ซึ่งปัจจุบันรัฐบาลได้เสนอนบายต่าง ๆ มากมาย เช่น นโยบายกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคต และนโยบายจัดสรรงบประมาณตามขนาดประชากร ให้กับหมู่บ้านและชุมชน

                3.3 ปัจจัยนำออก (Output) คือ นโยบาย ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของกฎหมายต่าง ๆ คือ พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา มติคณะรัฐมนตรี และประกาศ คำสั่งกระทรวง เป็นต้น

                3.4 ขณะเดียวกันก็จะมีการป้อนกลับ (Feedback) สู่ระบบการเมือง โดยมีสภาพแวดล้อม (Environments) ทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง เป็นปัจจัยเป็นปัจจัยสำคัญที่มีส่วนกำหนด เปลี่ยนแปลง และควบคุมนโยบาย 

                4. กระบวนการในการกำหนดนโยบายสาธารณะตามตัวแบบระบบ

4.1 ระบบการเมือง (Political System) หมายถึง กลุ่มของสถาบันและกระบวนการต่าง ๆ ที่มีปฏิสัมพันธ์ต่อกันที่ทำหน้าที่ในการแจกจ่ายคุณค่าทางสังคมตามอำนาจที่ได้รับมอบหมาย

4.2 ปัจจัยนำเข้า (Inputs) ซึ่งประกอบไปด้วย ข้อเรียกร้อง ซึ่งอาจเป็นไปได้ทั้งจากระดับปัจเจกบุคคล หรือระดับกลุ่ม และการสนับสนุน ซึ่งก็เป็นไปได้ทั้งระดับปัจเจกบุคคลและระดับกลุ่มที่แสดงออกมาในรูปของการเลือกตั้ง การเชื่อฟังกฎหมาย การจ่ายภาษี และการยอมรับในการตัดสินใจนโยบาย โดยข้อเรียกร้องและการสนับสนุนนั้น เป็นแรงกดดันที่สำคัญมากจาก สภาพแวดล้อม (Environment) ทั้งภายในและภายนอก ที่เข้าไปสู่ระบบการเมือง ระบบการเมืองจะทำการรับเอาความต้องการที่แตกต่างหลากหลายเข้ามา และทำการเปลี่ยนให้ออกมาเป็นปัจจัยนำออก (Outputs)

4.3 ปัจจัยนำออก/ผลผลิต (Outputs) คือ การตัดสินใจที่ได้มาซึ่ง นโยบายสาธารณะ และบริการสาธารณะ ซึ่งปัจจัยนำออกนี้นั้นอาจส่งผลให้เกิดผลกระทบในเชิงการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม และอาจเพิ่มการเรียกร้องให้มากขึ้น

4.4 ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลกระทบ (Impact) เป็นผลที่เกิดต่อจากผลผลิต (Output) ซึ่งการวัดระดับความสำเร็จและความล้มเหลวของผลลัพธ์ของนโยบาย เป็นการพิจารณาถึงการให้ประโยชน์แก่กลุ่มเป้าหมายหรือผู้ได้รับผลประโยชน์ของนโยบาย อันจะก่อให้เกิด

4.5 ขบวนการป้อนกลับ/ผลสะท้อนกลับ (Feedback) คือ ผลจากการนำนโยบายไปปฏิบัติ เพื่อนำเอาข้อเรียกร้องนั้น ๆ เข้าสู่ระบบการเมืองอีกครั้งหนึ่ง กล่าวคือ รัฐบาลต้องทบทวนนโยบายอีกครั้งหนึ่ง ผลการทบทวนจะมี 2 ทางเลือก คือ ยุตินโยบายนั้นหรือดำเนินนโยบายนั้นต่อไปโดยมีการปรับปรุงแก้ไขหากผลลัพธ์นโยบายไม่ตรงกับเป้าหมายที่คาดหวัง

3. การตัดสินนโยบาย (policy decision) คือ การเลือกแนวทางหรือแนวนโยบายที่เหมาะสมที่สุด ที่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้ตามต้องการ หรืออาจรวมถึงนโยบายเทคนิคและกลยุทธ์ต่างๆ ที่สามารถแก้ไขปัญหาได้เป็นอย่างดี หลักจริยธรรม หรือคุณธรรมมีความสำคัญต่อค่านิยมที่เป็นรากฐานสำคัญการพิจารณาทางเลือกนโยบาย หรือการตัดสินนโยบาย โดยยึดหลักการ ดังนี้

3.1 ประสิทธิผล (Effectiveness) ความสามารถในการบรรลุเป้าหมายของทางเลือกนั้น

3.2 ประสิทธิภาพ (Efficiency) ความสามารถในการผลิต โดยเปรียบเทียบจากต้นทุน หรือการใช้ทรัพยกรทางการบริหารอย่างคุ้มค่า

3.3 ความเป็นธรรม (Equity) การกระจายตัวของผลการดำเนินการตามทางเลือกอย่างทั่วถึง

3.4 ความพอเพียง (Adequacy) ความสามารถของการดำเนินการให้บรรลุเป้าหมาย ภายใต้เงื่อนไขของทรัพยากรที่มีอยู่

3.5 ความเหมาะสม (Appropriateness) การพิจารณาเชิงคุณค่าและความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ

3.6 การตอบสนอง (Responsiveness) ความสามารถในการเติมเต็มความต้องการของประชาชนกลุ่มต่าง ๆ

ในขณะเดียวกันต้องใช้เทคนิคและกลยุทธ์ในการตัดสินใจเลือกนโยบาย

1.การต่อรอง  คือ ปรับเป้าหมายที่ไม่สอดคล้องกันให้ยอมรับร่วมกัน  โดยการเจรจา  แลกเปลี่ยน  ให้รางวัล   และการประนีประนอม

2.การโน้มน้าว  คือ การความพยายามทำให้เชื่อหรือยอมรับ  และสนับสนุนด้วยความเต็มใจ

3. การสั่งการ   คือ การใช้อำนาจที่เหนือกว่าในการบังคับการตัดสินใจ

4.เสียงข้างมาก   คือ การอาศัยการลงมติโดยใช้ความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่

5.ฉันทามติ   คือ การยอมรับร่วมกัน   โดยปราศจากข้อโต้แย้ง

4. การนำนโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation)       กลไกที่จะนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติให้ประสบผลสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ประกอบไปด้วย

                1. การใช้ตัวแบบการนำนโยบายไปปฏิบัติ (ตัวแบบเหตุผล, การจัดการ, พัฒนาองค์การ และการเมือง)

                1.1 ตัวแบบที่ยึดหลักเหตุผล (Rational Model)

                เป็นการนำนโยบายไปปฏิบัติที่เน้นการสร้างประสิทธิภาพในการวางแผนและการควบคุม เป็นเรื่องของการใช้เหตุผลมาทำการศึกษาปัญหาของการนำนโยบายไปปฏิบัติ องค์การที่จะทำหน้าที่ในฐานะที่เป็น “Rational Value Maximizes” ซึ่งมีพฤติกรรมที่เน้นวัตถุประสงค์เป็นแนวทาง (Goal directed Behavior) เพื่อให้องค์การนั้นๆ สามารถสร้างผลงานให้ใกล้เคียงกับเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์หลักมากที่สุด โดยนัยดังกล่าวตัวแบบนี้จึงยึดฐานคติ (Assumptions) ที่ว่า โครงการที่ประสบความสำเร็จจะต้องมีการกำหนดวัตถุประสงค์และภารกิจที่ชัดเจนหน่วยงานย่อยต่างๆ ขององค์การ มีระบบวัดผลการปฏิบัติงานตลอดจนระบบการให้คุณและให้โทษ เงื่อนไขข้างต้นนี้ถือว่า เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ เพราะการมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนย่อมทำให้ผู้ปฏิบัติเข้าใจว่าสิ่งใดเป็นเป้าหมาย หรือผลลัพธ์ที่ผู้กำหนดนโยบายต้องการ

1.2 ตัวแบบด้านการจัดการ (Management Model) ตัวแบบนี้ จะให้ความสำคัญในเรื่องสมรรถนะขององค์กรเป็นหลัก โดยถือว่าความสำเร็จหรือความล้มเหลวของการนำนโยบาย แผนงาน หรือโครงการไปปฏิบัติว่าขีดความสามารถที่จะปฏิบัติงานอย่างสอดคล้องกับความคาดหวังของหน่วยงานเพียงใด องค์การจำเป็นต้องมีโครงสร้างองค์กรที่เหมาะสม มีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถทั้งทางด้านการบริหารและทางเทคนิคอย่างเพียงพอ มีการวางแผน เตรียมการ หรือมีความพร้อมเป็นอย่างดีทั้งทางด้านวัสดุ อุปกรณ์ สถานที่ เครื่องมือ เครื่องใช้และงบประมาณ ตัวแบบนี้มีความพยายามที่จะปรึกษาหาทางแก้ไขปัญหาอุปสรรคของการปฏิบัติงานตามแผนงานและนโยบายในอดีต เช่น การแก้ไขปัญหาการขาดแคลนงบประมาณ การขาดแคลนบุคลาการที่มีความรู้ความสามารถ ความล่าช้าในการสรรหาบุคลากร ความล่าช้าในการจัดตั้งระบบงาน การแก้ไขปัญหาการประสานงาน                        

1.3 ตัวแบบด้านการพัฒนาองค์กร (Organization Development Model)

 ตัวแบบนี้จะเน้นการมีส่วนร่วมในการทำงาน การนำนโยบายไปปฏิบัติให้บังเกิดความผูกพัน โดยวิธีการให้สมาชิกในองค์กรมีส่วนร่วม เพื่อให้เกิดการยอมรับตลอดจนการสร้างทีมงานมากกว่า การมุ่งใช้การควบคุม หรือใช้อำนาจทางรูปนัยของผู้บังคับบัญชา ทั้งนี้การแยกว่า นโยบายเป็นเรื่องที่ควรมาจากระดับสูง และการปฏิบัติตามนโยบายเป็นเรื่องที่ผู้ที่อยู่ในระดับล่างเป็นเรื่องที่ขัดกับสภาพความเป็นจริง การทำให้ผู้ปฏิบัติตระหนักในความสำคัญของนโยบาย และเห็นความสำคัญของนโยบาย ก็คือความสำเร็จของผู้ปฏิบัติและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกคน จึงส่งผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายไปปฏิบัติมากกว่ากลยุทธ์อื่น

1.4 ตัวแบบทางการเมือง (Political Model)

ตัวแบบนี้เชื่อว่าความสำเร็จของการนำนโยบายไปปฏิบัติเกิดจากความสามารถของผู้เล่น (Players) หรือบุคคลที่เป็นตัวแทนขององค์กร กลุ่ม หรือสถาบัน และความสัมพันธ์กับปัจจัยภายนอกองค์กร การนำนโยบายไปปฏิบัติเป็นเรื่องการเผชิญหน้า การบริหารความขัดแย้ง การแสวงหา การสนับสนุน การโฆษณาชวนเชื่อ ความสำเร็จของการนำนโยบายไปปฏิบัตินั้น ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับความสามารถในการเจรจา สถานะ อำนาจ และทรัพยากรที่มีอยู่ในหน่วยงาน การสนับสนุนจากนักการเมือง สื่อมวลชน กลุ่มอิทธิพล และกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ จะเป็นเครื่องมือต่อรองของบุคคลที่เป็นตัวแทนขององค์กร

2. สรุปความสัมพันธ์ของ 4 ตัวแบบของการนำนโยบายไปปฏิบัติ ดังนี้

2.1 ตัวแบบยึดหลักเหตุผล เชื่อว่าประสิทธิภาพในการวางแผนและการควบคุมเป็นเงื่อนไขที่สำคัญต่อความสำเร็จของการนำนโยบายไปปฏิบัติ

2.2 ตัวแบบการจัดการ ให้น้ำหนักไปที่สมรรถนะขององค์การหลัก หน่วยงานที่รับผิดชอบในการนำนโยบายไปปฏิบัติเป็นตัวแปรหลักในการอธิบายความสำเร็จ และหรือความล้มเหลวของการนำนโยบายไปปฏิบัติ

2.3 ตัวแบบการพัฒนาองค์การ ให้ความสำคัญกับภาวะผู้นำและพฤติกรรมความร่วมมือของผู้ปฏิบัติหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับนโยบาย เป็นเงื่อนไขที่สำคัญตอความสำเร็จของการนำนโยบายไปปฏิบัติ

 2.4 ตัวแบบทางการเมือง ได้ให้นำหนักไปที่เงื่อนไขทางการเมืองและความสามารถในการบริหารสภาพแวดล้อมภายนอกเป็นตัวแปรหลักในการอธิบายความสำเร็จ และหรือความล้มเหลวของการนำนโยบายไปปฏิบัติ

3. เงื่อนไขที่มีความสำคัญ หรือมีอิทธิพลต่อตัวแบบทั้ง 4 ตัวแบบดังกล่าว

3.1 ประสิทธิภาพในการวางแผนและการควบคุม

3.2 สมรรถนะขององค์การ

3.3 ภาวะผู้นำและพฤติกรรมความร่วมมือของผู้ปฏิบัติงาน

3.4 การเมืองและความสามารถในการบริหารสภาพแวดล้อมภายนอก

เงื่อนไขทั้ง 4 ประการข้างต้นมีอิทธิพลต่อกันและกัน ไม่สามารถแยกออกจากกันได้โดยเด็ดขาด ในภาพรวมจึงกล่าวได้ว่าความสำเร็จ และหรือความล้มเหลวของการนำนโยบายไปปฏิบัติขึ้นอยู่กับเงื่อนไขทั้ง 4 ประการดังกล่าว

1.ประสิทธิภาพในการวางแผนและการควบคุม จะมีมากหรือน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับนโยบายนั้นได้มีการกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ชัดเจน วัดได้ เป็นจริงได้เพียงใด มีการมอบหมายงานและกำหนดมาตรฐานในการทำงานให้แก่หน่วยย่อยต่างๆ ขององค์การ มีระบบวัดผลการปฏิบัติงาน ตลอดจนมีระบบการให้คุณ ให้โทษที่มีความเป็นธรรมเพียงใด

2. สมรรถนะขององค์การ หรือหน่วยงานที่รับผิดชอบในการนำนโยบายไปปฏิบัติจะมีมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับความแข็งแกร่งของโครงสร้างขององค์การทั้งภายใน และภายนอก จำนวน คุณภาพของบุคลากร และการนำไปใช้ประโยชน์ ความเพียงพอและประสิทธิภาพในการจัดสรรงบประมาณ ความเพียงพอ ความทันสมัย และความพร้อมทางด้านวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ ตลอดจนทำเลที่ตั้ง และความพร้อมของอาคาร สถานที่

3. ภาวะผู้นำและพฤติกรรมความร่วมมือของผู้ปฏิบัติงาน จะมีมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับการใช้ภาวะผู้นำที่เหมาะสม การสร้างการจูงใจเชิงบวก การสร้างการมีส่วนร่วม การทำให้เกิดความผูกพันและการยอมรับของสมาชิกโครงการ และการทำงานเป็นทีม ตลอดจนการใช้มาตรการที่เหมาะสมเพื่อให้ผู้อื่นร่วมมือและทำตาม ทำตามได้สำเร็จ และเพื่อให้ผู้ที่ตั้งใจไม่ร่วมมือไม่สามารถทำความเสียหายให้กับโครงการได้

4. การเมืองและความสามารถในการบริหารสภาพแวดล้อมภายนอก จะมีผลต่อความสำเร็จ หรือความล้มเหลวของการนำนโยบายไปปฏิบัติเพียงใด ขึ้นอยู่กับ

4.1 ระดับของความสนับสนุน ต่อต้าน หรือขัดแย้งของฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องเช่นฝ่ายการเมือง สื่อสารมวลชน สถาบันหรือองค์การระหว่างประเทศ ภาคเอกชน กลุ่มอิทธิพล และกลุ่มผลประโยชน์ องค์การสาธารณะประโยชน์ ชุมชนและประชนชนท้องถิ่น บุคคลสำคัญ

4.2 จำนวนหน่วยงานและระดับความจำเป็นที่หน่วยงานที่รับผิดชอบในการนำนโยบายไปปฏิบัติจะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องหรือทำงานร่วมกัน

4.3 ความสามารถในการเจรจาต่อรองกับสภาพแวดล้อมภายนอก ซึ่งขึ้นอยู่กับบุคลิกภาพ บารมี ความรู้ความสามารถของผู้นำ สถานะอำนาจและทรัพยากรของหน่วยงาน

4. การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม

 2.  กลุ่มผู้นำนโยบายไปปฏิบัติ นโยบายจะประสบความสำเร็จต้องให้ความสำคัญกับกลุ่มผู้นำนโยบายปฏิบัติ ซึ่งประกอบไปด้วย ดังนี้

2.1 ฝ่ายการเมือง คือ คณะรัฐมนตรี รัฐมนตรี เป็นผู้ดำเนินการกำหนดขอบเขตการนำนโยบายไปปฏิบัติ   โดยออกกฎหมาย มติคณะรัฐมนตรี ออกกฎกระทรวง ออกระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ และหลังจากนำนโยบายไปปฏิบัติแล้ว   อาจจะเข้ามาพิจารณาปรับปรุงนโยบาย หรือพิจารณาว่าควรยุตินโยบาย หรือควรสนับสนุนต่อไป   และคอยกำกับดูแล ตรวจสอบการนำนโยบายไปปฏิบัติให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล

                2.2 พนักงานเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือ เจ้าหน้าที่ที่ได้รับการแต่งตั้ง ข้าราชการ เป็นกลไกที่สำคัญในการนำนโยบายไปปฏิบัติ  

2.3 กลุ่มผู้มีอิทธิพล และกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ      

2.4 ภาคประชาชน องค์กรชุมชน หรือภาคประชาสังคม

 3. การแปลงนโยบาย นโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเป็นกรอบการพัฒนาในระดับ

มหภาค การพัฒนาจะดำเนินการไปได้ด้วยดี จะต้องมีการแปลงนโยบายให้เล็กลง เพื่อการนำนโยบายไปปฏิบัติจะสามารถดำเนินการได้อย่างสะดวก รวดเร็วยิ่งขึ้น ตามแผนภาพ ดังนี้

3.1 นโยบาย (Policy) คือ กรอบและเครื่องชี้นำแนวปฏิบัติ เป็นแนวทางในการปฏิบัติหรือตัดสินใจเพื่อให้การดำเนินการต่าง ๆ บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยปกติแล้วนโยบายจะถูกประกาศใช้เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้การบริหารจัดการเป็นไปอย่าง มีระบบและเป็นทางการ นโยบายมีหลายระดับแต่ละระดับจะมีขอบเขตครอบคลุมเป้าหมายผู้ที่เกี่ยวข้องกับการนำนโยบายไปปฏิบัติ ผู้ที่ได้รับผลจากการปฏิบัติ และความชัดเจนของนโยบาย นอกจากนั้น นโยบายในระดับต่าง ๆ ต้องมีความเกี่ยวเนื่องและสอดคล้องกัน

3.2 แผน (Plan) หมายถึง วิธีการกระทำที่กำหนดไว้ล่วงหน้า มีลักษณะสำคัญคือ จะต้องเกี่ยวกับอนาคต เกี่ยวกับการกระทำ มีวัตถุประสงค์ รวมทั้งเกี่ยวข้องกับองค์การและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน แผนอาจมีลายลักษณ์อักษรหรือไม่มีลายลักษณ์อักษรก็ได้โดยปกติในการนำแผนไปปฏิบัติจะอยู่ในรูปของโครงการ ซึ่งเป็นส่วนย่อยของแผน

3.3 แผนงาน (Program) หมายถึง กลุ่มของโครงการตั้งแต่สองโครงการขึ้นไปที่มุ่งบรรลุวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน

3.4 ยุทธศาสตร์ (Strategy) หมายถึง การวางแผนงานสู่การปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมาย หรือ แผนการปฏิบัติที่รวบรวมความพยายามทั้งหลายเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์

3.5 โครงการ (Project) คือ กิจกรรมหรืองานที่เกี่ยวข้องกับการใช้ทรัพยากรมนุษย์เพื่อหวังประโยชน์ตอบแทน โดยจะต้องป็นหน่วยอิสระหนึ่งที่สามารถทำการวิเคราะห์ วางแผน และนำไปปฏิบัติ พร้อมทั้งมีลักษณะแจ้งชัดถึงจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุด โดยแผนสำหรับกิจการต่างๆต้องระบุวัตถุประสงค์ตามระยะเวลาที่กำหนด

3.6 กิจกรรม (Activity) หมายถึง รายละเอียดของเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ที่เป็นส่วนย่อยของโครงการ เป็นการดำเนินงาน หรือปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง

3.7 งาน (Task) คือ สิ่งที่ต้องทำ ในโครงการหนึ่ง ๆ อาจจะมีขั้นตอนการทำงานที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับความยากง่าย และโครงการสั้นหรือยาว นอกจากนั้นงานในแต่ละขั้นตอนต้องมีความสัมพันธ์กับงานอื่น

4. ปัจจัยความสำเร็จ / ล้มเหลวในการนำนโยบายไปปฏิบัติ ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ส่งผลความสำเร็จและความล้มเหลวต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติ มีดังนี้

                4.1 ลักษณะของนโยบาย     

4.2 วัตถุประสงค์ของนโยบาย

                4.3 ความเป็นไปได้ทางการเมือง         

4.4 ความเป็นไปได้ทางเทคนิคหรือทฤษฎี

4.5 ความเพียงพอของทรัพยากรทางการบริหาร เช่น บุคลากร เงิน เครื่องจักร อุปกรณ์ ข้อมูลข่าวสาร เวลา   เทคโนโลยี

4.6 ลักษณะของหน่วยงานที่นำนโยบายไปปฏิบัติ

                4.7 ทัศนคติของผู้นำนโยบายไปปฏิบัติ

                4.8 ความสัมพันธ์ระหว่างกลไกต่าง ๆ ที่นำนโยบายไปปฏิบัติ

5. สิ่งที่มีผลต่อความสำเร็จ หรือล้มเหลวของการนำนโยบายไปปฏิบัติ

5.1 ปัจจัยภายใน ประกอบไปด้วย

                5.1.1 การติดต่อสื่อสาร (Communication) คือ ต้องถ่ายทอดการสื่อสารให้ตรงช่อง (Transmission) มีความชัดเจน (Clarity)    มีความคงเส้นคงวาในแต่ละครั้ง ของการสื่อสาร (Consistency)   และตรงจังหวะเวลา (Timing)

                5.1.2 Resource มีการจัดสรรทรัพยากรอย่างเพียงพอ

                5.1.3 Staff มีพนักงานเจ้าหน้าที่มีความรู้ความสามารถ และมีจำนวนเพียงพอ

                5.1.4 Information มีระบบข้อมูลให้สำหรับการปฏิบัติให้ประสบความสำเร็จ

                5.1.5 Authority มีอำนาจหน้าที่ในการนำนโยบายไปปฏิบัติ                            

5.1.6 Time ให้เวลากับกลุ่มเป้าหมายในการเตรียมตัว

                5.1.7 ต้องคำนึงถึงเรื่องอุปนิสัยของผู้ปฏิบัติงาน

                5.1.8โครงสร้างของระบบราชการ ซึ่งหมายถึง ระเบียบปฏิบัติ

                5.1.9 ต้องมีระบบการติดตามการดำเนินงาน ควรมีอยู่ในทุกขั้นตอน

5.2 ปัจจัยภายนอก ประกอบไปด้วย

                5.2.1 ความชัดเจนในวัตถุประสงค์ของนโยบาย หรือโครงการ

5.2.2 การสนับสนุนด้านงบประมาณ และทรัพยากร

                5.2.3 การมีส่วนร่วมของบุคลากร และผู้รับบริการ

                5.2.4 ต้องได้รับการยอมรับของผู้รับบริการ

                5.2.5 มีการประสานงาน และการติดต่อสื่อสาร

                5.2.6 มีการเผยแพร่ และประชาสัมพันธ์

                2.7 ได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

5.3 ปัจจัยที่อยู่นอกเหนือการควบคุม ประกอบไปด้วย

                5.3.1 การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง                    

5.3.2 ความผันผวนทางเศรษฐกิจ

                5.3.3 ความไม่แน่นอนทางธรรมชาติ                  

5.3.4 ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

5.  การประเมินผลนโยบาย (Policy evaluation)

การประเมินผลนโยบาย (Policy evaluation) คือ การหาคำตอบว่า การดำเนินการตามแนวทางได้ผลหรือไม่ การประเมินผลนโยบายเพื่อทราบกระบวนการต่างๆ ของนโยบาย ดังนี้

1. การศึกษาการดำเนินงานของโครงการ

2. การประเมินผลสิ่งแวดล้อมของการนำนโยบายไปปฏิบัติ

3. การประเมินผลทรัพยากร

4. การประเมินผลกระบวนการนำนโยบายไปปฏิบัติ

5. การประเมินผลผลิตของนโยบาย

6. การประเมินผลลัพธ์และผลกระทบของนโยบาย

                7. การให้ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุง หรือเปลี่ยนแปลงนโยบาย

เพื่อให้ทราบผลว่าการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติเป็นไปตามเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์หรือไม่   ในกรณีที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมายจะได้มีการปรับ  แผน / แผนงาน / โครงการ  ให้บรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์มากขึ้น   เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้รู้ว่า  แผน / แผนงาน / โครงการ นั้นควรจะดำเนินการต่อไปหรือยุตินโยบาย

                1.วัตถุประสงค์ของการประเมินผลโครงการ

มักจะมีคำถามอยู่ตลอดเวลาว่า ประเมินผลเพื่ออะไร หรือ  ประเมินผลไปทำไม   ปฏิบัติงานตามโครงการแล้วไม่มีการประเมินผลไม่ได้หรือ ตอบได้เลยว่าการบริหารแนวใหม่ หรือการบริหารในระบบเปิด (Open System) นั้นถือว่าการประเมินผลเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากซึ่งจุดมุ่งหมายของการประเมินผลโครงการมีดังนี้

1.1 เพื่อสนับสนุนหรือยกเลิก   การประเมินผลจะเป็นเครื่องมือช่วยตัดสินใจว่าควรจะยกเลิกโครงการหรือสนับสนุนให้มีการขยายผลต่อไป โดยเฉพาะการมีโครงการใหม่ ๆ ยังมิได้จัดทำในรูปของโครงการทดลองซึ่งมีโอกาสจะผิดพลาดหรือล้มเหลวได้ง่าย   ความล้มเหลวของโครงการจึงมิใช่ความล้มเหลวของผู้บริหารเสมอไป   ดังนั้นถ้าเราประเมินผลแล้วโครงการนั้นสำเร็จตามที่กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายไว้ก็ควรดำเนินการต่อไป   แต่ถ้าประเมินผลแล้วโครงการนั้นมีปัญหาหรือมีผลกระทบเชิงลบมากกว่า เราก็ควรยกเลิกไป

1.2 เพื่อทราบถึงความก้าวหน้า ของการปฏิบัติงานตามโครงการ ว่าเป็นไปตามที่กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมาย หรือกฎเกณฑ์ หรือมาตรฐานที่กำหนดไว้เพียงใด

1.3 เพื่อปรับปรุงงาน   ถ้าเรานำโครงการไปปฏิบัติแล้ว พบว่าบางโครงการไม่ได้เสียทั้งหมด  แต่ก็ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ทุกข้อ เราควรนำโครงการนั้นมาปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น   โดยพิจารณาว่าโครงการนั้นบกพร่องในเรื่องใด  เช่น   ขาดความร่วมมือของประชาชน   ขัดต่อค่านิยมของประชาชน    ขาดการประชาสัมพันธ์   หรือสมรรถนะขององค์การที่รับผิดชอบต่ำ   เมื่อเราทราบผลของการประเมินผล เราก็จะได้ปรับปรุงแก้ไขให้ตรงประเด็น

1.4 เพื่อศึกษาทางเลือก  โดยปกติในการนำโครงการไปปฏิบัตินั้น ผู้บริหารโครงการจะพยายามแสวงหาทางเลือกที่ดีที่สุด จากทางเลือกอย่างน้อย 2 ทางเลือก   ดังนั้นการประเมินผลจะเป็นการเปรียบเทียบทางเลือกก่อนที่จะตัดสินใจเลือกทางเลือกใดปฏิบัติ ทั้งนี้เพื่อลดความเสี่ยงให้น้อยลง

1.5 เพื่อขยายผล  ในการนำโครงการไปปฏิบัติ   ถ้าเราไม่มีการติดตามและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง เราอาจจะไม่ทราบถึงความสำเร็จของโครงการ   แต่ถ้าเราประเมินผลโครงการเป็นระยะ สม่ำเสมอ  ผลปรากฏว่าโครงการนั้นบรรลุผลสำเร็จตามที่กำหนดวัตถุประสงค์ เราก็ควรจะขยายผลโครงการนั้นต่อไป    แต่การขยายผลนั้นมิได้หมายความว่าจะขยายไปได้ทุกพื้นที่    การขยายผลต้องคำนึงถึงมิติของประชากร   เวลา   สถานที่ สถานการณ์ต่าง ๆ เช่น โครงการปลูกพืชเมืองหนาวจะประสบความสำเร็จดีในพื้นที่ภาคเหนือ   แต่ถ้าขยายผลไปยังภูมิภาคอื่นอาจจะไม่ได้ผลดีเสมอไป เพราะต้องคำนึงถึงลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ เชื้อชาติ ค่านิยม ฯลฯ  ดังนั้นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ  สิ่งที่นำไปในพื้นที่หนึ่งอาจได้ผลดี แต่นำไปขยายผลในพื้นที่หนึ่งอาจไม่ได้ผล หรือ สิ่งที่เคยทำได้ผลดีในช่วงเวลาหนึ่ง อาจจะไม่ได้ผลดีในอีกช่วงเวลาหนึ่ง

2. ประเภทของการประเมินโครงการ

การแบ่งประเภทการประเมินโครงการคงมิใช่เป็นการกำหนดเกณฑ์เด็ดขาด แต่จำเป็นต้องอาศัยเกณฑ์หลายชนิดมาจำแนกประเภท เช่น ใช้เวลา วัตถุประสงค์ วิธีการ และรูปแบบการประเมินมาบ่งบอกถึงประเภทของการประเมิน ซึ่งในที่นี้อาจจำแนกการประเมินโครงการออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้

2.1 การประเมินโครงการก่อนดำเนินการ (Preliminary Evaluation) เป็นการศึกษาประเมินความเป็นไปได้ (Feasibility Study) ก่อนที่เริ่มโครงการใด ๆ โดยอาจทำการศึกษาถึงประสิทธิภาพของปัจจัยป้อนเข้า ความเหมาะสมของกระบวนการที่คาดว่าจะนำมาใช้ในการบริหารจัดการโครงการ ปัญหา อุปสรรค ความเสี่ยงของโครงการ ตลอดจนผลลัพธ์ หรือประสิทธิผลที่คาดว่าจะได้รับ ในขณะเดียวกันก็อาจจะศึกษาปลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในด้านต่าง ๆ เช่น

2.1.1 การประเมินผลกระทบด้านสังคม (Social Impact Assessment-SIA)

2.1.2 การประเมินผลกระทบด้านนิเวศน์ (Ecological Impact Assessment-EIA)

2.1.3 การประเมินผลกระทบด้านการเมือง (Political Impact Assessment-PIA)

2.1.4 การประเมินผลกระทบด้านเทคโนโลยี (Technological Impact Assessment-TIA)

2.1.5 การประเมินผลกระทบด้านประชากร (Population Impact Assessment-PIA)

2.1.6 การประเมินผลกระทบด้านนโยบาย (Policy Impact Assessment-POIA)

2.1.7 การประเมินผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ (Economic Impact Assessment)

การประเมินโครงการก่อนการดำเนินการนี้มีประโยชน์สำหรับนักลงทุน เพื่อศึกษาดูว่าก่อนลงมือโครงการใด ๆ นั้น จะเกิดความคุ้มค่าแก่การลงทุน (Cost effectiveness) หรือจะเกิดผลกระทบต่อระบบสิ่งแวดล้อมทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ประชากร เทคโนโลยี และระดับนโยบายหรือไม่ หากได้ทำการศึกษารอบคอบแล้วอาจจะได้ผลการคาดการณ์ล่วงหน้าว่า จะได้เกิดประโยชน์หรือโทษอย่างไร ปัญหา อุปสรรค เป็นอย่างไร เพื่อผู้เป็นเจ้าของโครงการจะได้ตัดสินล่วงหน้าว่าจะเลิกล้มโครงการหรือปรับปรุงองค์ประกอบ และกระบวนการบริหารจัดการโครงการเพียงใด เพื่อให้เกิดผลดี

2.2 การประเมินระหว่างดำเนินการโครงการ (Formative evaluation) เป็นการประเมินผลเพื่อการปรับปรุงเป็นสำคัญซึ่งมักจะใช้ประเมินผลระหว่างแผนหรือระหว่างพัฒนาโครงการ ผลที่ได้จาก Formative evaluation นั้น จะช่วยตั้งวัตถุประสงค์ของโครงการให้เป็นไปตามเป้าหมายที่แท้จริง นอกจากนั้น Formative evaluation อาจใช้ในระหว่างดำเนินโครงการ จะช่วยตรวจสอบว่า โครงการได้ดำเนินไปตามแผนของโครงการอย่างไร อาจเรียกชื่อเฉพาะว่า Implementation evaluation หรือ Formative evaluation อาจตรวจสอบความก้าวหน้าของโครงการว่าดำเนินได้ผลเพียงไร เรียกว่า Progress evaluation โดยทั่วไปแล้ว Formative evaluation อาจใช้ประเมินสิ่งต่อไปนี้

2.2.1 ทบทวนแผนของโครงการ

2.2.2 การสร้างแผนของโครงการ

2.2.3 การพัฒนาแบบสอบถาม (Questionnaire) หรือรายการ (Check list) สำหรับรวบรวมข้อมูลตามเรื่องที่ต้องการ

2.2.4 การคัดเลือกวิธีการวัดผลที่เหมาะสม

2.2.5 การกำหนดตารางเวลาการประเมินผลให้สอดคล้องกับการดำเนินโครงการ

2.2.6 การเตรียมข้อมูลที่จะเป็นข่าวสารสำหรับการรายงานและเสนอแนะสำหรับการตัดสินเกี่ยวกับการดำเนินโครงการ

2.2.7. การแนะนำแนวทางปรับปรุง การแก้ปัญหา และการเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติของโครงการ

2.3 การประเมินเมื่อสิ้นสุดโครงการหรือประเมินผลผลิต (Summative Evaluation) เป็นการประเมินผลรวมสรุป มักจะใช้ประเมินหลังสิ้นสุดโครงการ สำหรับโครงการที่มีการดำเนินระยะยาวก็อาจใช้ Summative Evaluation ในการสรุปย่อความระยะยาวต่าง ๆ ข้อมูลที่ได้จากระยะต่าง ๆ จะช่วยให้มีการประเมินสรุปรวมนั้น ส่วนใหญ่จะรวบรวมจากผลของ Formative evaluation เป็น Summative Evaluation ซึ่งผลสรุปที่ได้จะนำสู่การรายงายว่า โครงการได้บรรลุเป้าหมาย (Goals) หรือไม่อย่างไร ตลอดจนการรายงานถึงสถานภาพของโครงการว่าประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวเพียงไร มีปัญหาหรืออุปสรรคใดที่ต้องแก้ไขปรับปรุงข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้ผู้บริหารโครงการสามารถนำไปสู่การตัดสินว่า โครงการนั้นควรดำเนินการต่อหรือยกเลิก

2.4 การประเมินประสิทธิภาพ การประเมินโครงการโดยทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทยที่ผ่านมา ยังจำกัดอยู่ตาเพียงการประเมินผลผลิต โดยมุ่งที่จะทราบความสำเร็จหรือความล้มเหลวของโครงการเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อประกอบการตัดสินใจของผู้ให้บริการหรือผู้ให้ทุนในการยุติหรือขยายโครงการ แต่ในปัจจุบันนักประเมินและผู้บริหารโครงการ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการประเมินประสิทธิภาพของโครงการด้วย โดยถือว่าเป็นประเภทของการประเมินที่จำเป็นสำหรับโครงการบริการทั่วไป เพราะจะช่วยเสริมให้โครงการเหล่านั้น สามารถดำเนินการอย่างสอดคล้องกับสภาวการณ์ของสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โครงการที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาท้องถิ่น หรือโครงการที่เป็นตัวกำหนดเกณฑ์สำคัญสำหรับประกันโครงการขนาดใหญ่ระดับชาติ ที่จะไม่ต้องสูญเสียทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดโดยไม่จำเป็น การดำเนินโครงการบริการสังคมนั้น จะไม่มุ่งแต่เพียงความสำเร็จของโครงการเท่านั้น แต่จะต้องให้คุ้มค่าในเชิงของประสิทธิภาพด้วย โดยปกติการประเมินประสิทธิภาพของโครงการมักจะเริ่มจากคำถามต่าง ๆ กัน เช่น

2.4.1 ความสำเร็จของโครงการนั้น ๆ เมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายแล้วมีความเหมาะสมหรือไม่

2.4.2 ผลผลิตของโครงการเกิดจากปัจจัยที่ลงทุนไปใช่หรือไม่

2.4.3 โครงการนี้มีผลผลิตสูงกว่าโครงการอื่น ๆ เมื่อลงทุนเท่ากันหรือไม่ และเพราะเหตุใด

3. แนวคิดการประเมินผลโครงการของ Daniel L. Stufflebeam ตามตัวแบบ CIPP Model ได้กำหนดประเด็นการประเมินออกเป็น 4 ประเภท ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

3.1 การประเมินสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation: C)

เป็นการประเมินก่อนการดำเนินการโครงการ เพื่อพิจารณาหลักการและเหตุผล ความจำเป็นที่ต้องดำเนินโครงการ ประเด็นปัญหา และความเหมาะสมของเป้าหมายโครงการ

3.2 การประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation: I)

เป็นการประเมินเพื่อพิจารณาถึงความเป็นไปได้ของโครงการ ความเหมาะสม และความพอเพียงของทรัพยากรที่จะใช้ในการดำเนินโครงการ เช่น  งบประมาณ  บุคลากร  วัสดุอุปกรณ์  เวลา ฯลฯ  รวมทั้งเทคโนโลยีและแผนการดำเนินงาน

3.3 การประเมินกระบวนการ (Process Evaluation: P)

เป็นการประเมินเพื่อหาข้อบกพร่องของการดำเนินโครงการ ที่จะใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนา แก้ไข ปรับปรุง ให้การดำเนินการช่วงต่อไปมีประสิทธิภาพมากขึ้น และเป็นการตรวจสอบกิจกรรม เวลา ทรัพยากรที่ใช้ในโครงการ ภาวะผู้นำ การมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการโดยมีการบันทึกไว้เป็นหลักฐานทุกขั้นตอน การประเมินกระบวนการนี้ จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการค้นหาจุดเด่น หรือจุดแข็ง (Strengths) และจุดด้อย (Weakness) ของนโยบาย / แผนงาน/โครงการ ซึ่งมักจะไม่สามารถศึกษาได้ภายหลังจากสิ้นสุดโครงการแล้ว

3.4 การประเมินผลผลิต (Product Evaluation: P)

เป็นการประเมินเพื่อเปรียบเทียบผลผลิตที่เกิดขึ้นกับวัตถุประสงค์ของโครงการ หรือมาตรฐานที่กำหนดไว้ รวมทั้งการพิจารณาในประเด็นของการยุบ  เลิก  ขยาย  หรือปรับเปลี่ยนโครงการ   แต่การประเมินผลแบบนี้มิได้ให้ความสนใจต่อเรื่องผลกระทบ (Impact) และผลลัพธ์ (Outcomes)   ของนโยบาย / แผนงาน / โครงการเท่าที่ควร

4. ประเภทของการตัดสินใจที่สอดคล้องกับประเด็นที่ประเมินตามหลักของ Daniel L. Stufflebeam มีดังนี้

4.1 การตัดสินใจเพื่อการวางแผน (Planning Decisions) เป็นการตัดสินใจที่ใช้ข้อมูลจากการประเมินสภาพแวดล้อม (Context Evaluation) ที่ได้นำไปใช้ในการกำหนดจุดประสงค์ของโครงการให้สอดคล้องกับแผนการดำเนินงาน

4.2 การตัดสินใจเพื่อกำหนดโครงสร้างของโครงการ (Structuring Decisions) เป็นการตัดสินใจที่ใช้ข้อมูลจากการประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ที่ได้นำไปใช้ในการกำหนดโครงสร้างของแผนงาน และขั้นตอนของการดำเนินการของโครงการ

4.3 การตัดสินใจเพื่อนำโครงการไปปฏิบัติ (Implementation Decisions) เป็นการตัดสินใจที่ใช้ข้อมูลจากการประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) เพื่อพิจารณาควบคุมการดำเนินการให้เป็นไปตามแผน และปรับปรุงแก้ไขการดำเนินการให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

4.4 การตัดสินใจเพื่อทบทวนโครงการ (Recycling Decisions) เช่น การตัดสินใจเพื่อใช้ข้อมูลจากการประเมินผลผลิต (Product Evaluation: P) ที่เกิดขึ้น    เพื่อพิจารณาการยุติ / ล้มเลิก หรือขยายโครงการที่จะนำไปใช้ในโอกาสต่อไป

5. ตัวแบบการประเมินโครงการของ Michael Screven จำแนกการประเมินโครงการโดยใช้ช่วงเวลาเป็นเกณฑ์มี 2 ประเภท คือ

5.1 การประเมินระหว่างโครงการ (Formative evaluation) ประเมินในขณะที่โครงการกำลังดำเนินงานอยู่โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อเสนอข้อมูลที่จำเป็นให้กับผู้บริหารได้ปรับปรุงแก้ไขโครงการให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดและวางแผนงานต่อไป

5.2 การประเมินเมื่อเสร็จสิ้นโครงการ (Summative evaluation) เป็นการประเมินภายหลังจากดำเนินงานโครงการได้สำเร็จลงแล้ว และผู้ประเมินวิเคราะห์ข้อมูลให้ผู้มีอำนาจตัดสินใจว่าโครงการนั้นมีคุณค่ามากน้อยเพียงใด สมควรที่จะดำเนินงานต่อไปหรือไม่

6. เกณฑ์และตัวชี้วัดความสำเร็จนโยบาย ขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาของสหประชาชาติ (Organization for Economic Co-operation and Development - OECD) เป็นเกณฑ์ในการประเมินผลนโยบาย มีดังนี้

6.1 เกณฑ์ประสิทธิภาพ (Efficiency)    มีตัวชี้วัด เช่น สัดส่วนของผลผลิตต่อค่าใช้จ่าย ผลิตภาพต่อหน่วยเวลา ผลิตภาพต่อกำลังคน ระยะเวลาในการให้บริการ

6.2 เกณฑ์ประสิทธิผล (Effectiveness) มีตัวชี้วัดเช่น ระดับการบรรลุเป้าหมาย ระดับการบรรลุตามเกณฑ์มาตรฐาน ระดับการมีส่วนร่วม ระดับความเสี่ยงของโครงการ

6.3 เกณฑ์ความพอเพียง (Adequacy) มีตัวชี้วัด เช่น ระดับความพอเพียงของทรัพยากร

6.4 เกณฑ์ความพึงพอใจ (Satisfaction) มีตัวชี้วัด เช่น ระดับความพึงพอใจ

6.5 เกณฑ์ความเป็นธรรม (Equity) มีตัวชี้วัดคือ การให้โอกาสกับผู้ด้อยโอกาส ความเป็นธรรมระหว่างเพศ ระหว่างกลุ่มอาชีพ ฯลฯ

6.6 เกณฑ์ความก้าวหน้า (Progress) มีตัวชี้วัด เช่น ผลผลิตเปรียบเทียบกับเป้าหมายรวม

กิจกรรมที่ทำแล้วเสร็จ ทรัพยากร และเวลาที่ใช้ไป

6.7 เกณฑ์ความยั่งยืน (Sustainability) ตัวชี้วัด เช่น ความอยู่รอดของโครงการด้านเศรษฐกิจ สมรรถนะด้านสถาบัน   ความเป็นไปได้ในด้านการขยายผลของโครงการ

6.8 เกณฑ์ความเสียหายของโครงการ (Externalities) มีตัวชี้วัด เช่น ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม   ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ ผลกระทบด้านสังคมและวัฒนธรรม เป็นต้น

7. การประเมินผลนโยบายโดยการใช้ตัวแบบการบริหารแบบสมดุล (Balanced Scorecard: BSC) ประกอบด้วย

7.1 มุมมองด้านการเงิน (Financial Perspective)

ในองค์กรด้านธุรกิจ ดัชนีแรกที่ควรคำนึงถึง คือ การจัดการด้านการเงิน  จะเป็นข้อบ่งชี้ชัดเจนว่า ธุรกิจจะดำเนินการต่อไปได้หรือไม่ การวัดผลด้านการเงิน ควรพิจารณาด้าน ต่อไปนี้ 

7.1.1 อัตราเติบโตของรายได้ วัดจากการเติบโตของยอดขาย กำไรจากลูกค้า และผลิตภัณฑ์ สัดส่วนรายได้จากลูกค้าใหม่ เป็นต้น

7.1.2 ลดต้นทุน วัดจากรายได้/พนักงาน ต้นทุนเมื่อเทียบกับคู่แข่ง อัตราการลดต้นทุน เป็นต้น

7.1.3 การใช้สินทรัพย์ ต้องคำนึงถึงการลงทุน การทำวิจัยและพัฒนา ผลตอบแทนจากการลงทุน

                7.2 มุมมองลูกค้า (Customer Perspective)

ลูกค้าเปรียบเสมือนตัวบ่งชี้ ที่สำคัญสำหรับองค์กรที่ประกอบธุรกิจ และองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร การวัดผลด้านลูกค้า  ควรพิจารณาด้าน ต่อไปนี้

7.2.1 ความพอใจของลูกค้า เป็นดัชนีที่สำคัญที่สุด เพราะหากลูกค้าเกิดความ พึงพอใจในสินค้าและบริการ ลูกค้าจะเกิดความจงรักภักดีและกลับมาใช้บริการใหม่ และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อลูกค้าเสมอ

 7.2.2 การรักษาลูกค้าเก่า ต้องมีการติดตามความต้องการของลูกค้าและประเมินผล การสั่งซื้อตลอดเวลา

7.2.3 ลูกค้าใหม่ ต้องพัฒนาสินค้าและบริการ เพื่อดึงดูดให้มีลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้น และติดตามผลอย่างต่อเนื่อง

7.2.4 ส่วนแบ่งการตลาด 

7.3 มุมมองด้านกระบวนการทำงานในองค์กร (Internal Business Process)

 ระบบการทำงานภายในองค์กรเป็นระบบที่มีความสำคัญต่อด้านการเงิน และ ลูกค้า นั่นคือ  หากองค์กรพัฒนาและมีการบริหารการทำงานภายในที่ดีจะส่งผลให้ผลิตสินค้า ได้รวดเร็ว จัดส่งสินค้าตามเวลา มีคุณภาพตรงตามความต้องการของลูกค้า  มีบริการหลัง การขาย  ส่งผลให้องค์กรมีการเติบโตทางรายได้สูงขึ้น

7.4 มุมมองการเรียนรู้และการเติบโต (Learning and Growth)

การเรียนรู้และการพัฒนาของพนักงานในองค์กร  จะเป็นดัชนีที่ส่งผลต่อ กระบวนการทำงานภายในองค์กร  หากพนักงานเกิดการเรียนรู้  มีการพัฒนาขีดความสามารถ ของการเรียนรู้ จะทำให้กระบวนการทำงานในองค์กรมีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่งผลต่อคุณภาพ สินค้า และบริการที่ดีต่อลูกค้า

 จะเห็นได้ว่าหลักการนำ Balanced Scorecard  มาเพิ่มประสิทธิภาพ ในการทำงานนั้นจะต้องให้ความสำคัญต่อดัชนีทั้ง 4 ด้านอย่างสมดุลกันซึ่งดัชนีแต่ละด้าน จะส่งผลถึงด้านอื่นๆ เชื่อมโยงกันเป็นระบบ  แต่ทั้งนี้องค์กรจะต้องกำหนดภารกิจหลักให้ชัดเจน และวิเคราะห์ดัชนีทั้ง 4 ด้าน ให้สอดคล้องกับภารกิจหลักขององค์กรนั้น นอกจากนี้ ในการ นำหลักการของ Balanced Scorecard มาปรับปรุงใช้ประสิทธิภาพการทำงานนั้น  ผู้ปฏิบัติงานทุกฝ่ายจะต้องปฏิบัติงานตามกลยุทธ์ที่วางไว้  และมีดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพ การทำงานที่เรียกว่า  Key Performance Indicator (KPI)  เพื่อให้องค์กร ดำเนินงานได้บรรลุวัตถุประสงค์  และสอดคล้องกับภารกิจขององค์กรต่อไป

                8. การประเมินผลนโยบายโดยการบริหารแบบสมดุล (Balanced Scorecard: BSC) ของภาครัฐ ประกอบด้วย 4 มุมมอง คือ

                8.1 มิติที่ 1: มิติด้านประสิทธิผลตามแผนยุทธศาสตร์ โดยกำหนดให้ส่วนราชการแสดงผลงานที่บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมาย ตามที่ได้รับงบประมาณมาดำเนินการ เพื่อให้เกิดประโยชน์สุขต่อประชาชน ตามแผนยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด/จังหวัด กล่าวคือ ในยุทธศาสตร์นั้น ส่วนราชการ/จังหวัดต้องเน้นว่าต้องการที่จะบรรลุวัตถุประสงค์อะไร เช่น ต้องการให้ความยากจนลดลงเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ หรือต้องการทำให้จังหวัดเศรษฐกิจดีขึ้นกี่เปอร์เซ็นต์ ผลสำเร็จตามแผนปฏิบัติราชการ ผลสำเร็จตามพันธกิจของส่วน ราชการระดับกรม หรือเทียบเท่า เป็นต้น

                8.2 มิติที่ 2: มิติด้านคุณภาพการให้บริการ โดยกำหนดให้ส่วนราชการแสดงการให้ความสำคัญกับผู้รับบริการในการให้บริการที่มีคุณภาพ สร้างความพึงพอใจแก่ผู้รับบริการ รวมทั้งเรื่องของความโปร่งใสในการทำงานด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน

                8.3 มิติที่ 3: มิติด้านประสิทธิภาพของการปฏิบัติราชการ โดยกำหนดให้ส่วนราชการแสดงความสามารถในการปฏิบัติราชการ เช่น การบริหารงบประมาณ การลดค่าใช้จ่าย และการลดระยะเวลาการให้บริการ ประสิทธิภาพของการใช้พลังงาน ให้บริการการจัดทำต้นทุนต่อหน่วย เป็นต้น 

                8.4 มิติที่ 4: มิติด้านการพัฒนาองค์กร   โดยกำหนดให้ส่วนราชการแสดงความสามารถในการเตรียมพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงขององค์กร เช่น การพัฒนาระบบฐานข้อมูล การบริหารคนและความรู้ในองค์กร   การจัดการความรู้ การจัดการทุนด้านมนุษย์   การจัดการสารสนเทศ การพัฒนากฎหมาย การบริหารจัดการองค์กร

                9. กลยุทธ์การประเมินผลนโยบาย การประเมินผลนโยบายแบบใหม่ ต้องส่งเสริมการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน และใช้นวัตกรรมทางการบริหารมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ดังนี้

                9.1 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน

                9.2 การพัฒนาระบบข้อมูลเพื่อการประเมินผล

                9.3 สร้างความโปร่งใส และการตรวจสอบสาธารณะ

                9.4 พัฒนาระบบการสื่อสารแบบสองทาง (Two-ways communication)

                9.5การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการประเมินผล

                9.6 ส่งเสริมการประชาสัมพันธ์เชิงรุก

                9.7 การพัฒนาระบบสิ่งจูงใจและรางวัลตอบแทนทางสังคม

                9.8 สนับสนุนให้มีการวิจัยเชิงสถาบัน (Institutional Research)

                10. การประเมินผลมุ่งที่ ผลลัพธ์บั้นปลาย (Ultimate outcomes) ผู้ประเมินต้องสามารถเปรียบเทียบ ลำดับขั้นของผลลัพธ์ ว่าสิ่งใดที่มีความสำคัญกว่ากัน โดยยึดหลักการ ดังนี้

                   10.1 ผลประโยชน์สาธารณะ

                   10.2 การตอบสนองความพึงพอใจ

                   10.3 คุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน

                   10.4 สิทธิเสรีภาพ

                   10.5 ความเสมอภาค

                   10.6 ความเป็นธรรม

6. โลกาภิวัตน์ หรือ โลกานุวัตร (Globalization)  

1.ความหมายของโลกาภิวัตน์ หรือ โลกานุวัตร (Globalization)  

1.1 โลกาภิวัตน์ หรือ โลกานุวัตร (Globalization)  คือ ผลจากการพัฒนาการติดต่อสื่อสาร การคมนาคมขนส่ง และเทคโนโลยีสารสนเทศ อันแสดงให้เห็นถึงการเจริญเติบโตของความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง เทคโนโลยี และวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงระหว่างปัจเจกบุคคล ชุมชน หน่วยธุรกิจ และรัฐบาล ทั่วทั้งโลก

1.2 โลกาภิวัตน์ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 หมายถึง การแพร่กระจายไปทั่วโลก การที่ประชาคมโลกไม่ว่าจะอยู่ ณ จุดใด สามารถรับรู้ สัมพันธ์ หรือรับผลกระทบจากสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วกว้างขวาง ซึ่งเนื่องมาจากการพัฒนาระบบสารสนเทศเป็นต้น โลกาภิวัตน์ เป็นคำศัพท์เฉพาะที่บัญญัติขึ้นเพื่อตอบสนองปรากฏการณ์ของสังคมโลกที่เหตุการณ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในส่วนหนึ่งของโลก ส่งผลกระทบอันรวดเร็วและสำคัญต่อส่วนอื่นๆของโลก

1.3 โลกาภิวัตน์ (Globalization) หมายถึง กระบวนการที่ประชากรของโลกถูกหลอมรวมกลายเป็นสังคมเดี่ยว กระบวนการนี้เกิดจากแรงของอิทธิพลร่วมทางเศรษฐกิจ เทคโนโลยีและสังคม-วัฒนธรรมและการเมือง

1.4 โลกาภิวัตน์ (Globalization) หมายถึง ปรากฏการณ์ที่หลอมรวมความสัมพันธ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ที่เกิดขึ้นในทุกมุมส่วนของโลก ให้มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและใกล้ชิดกันมากขึ้นตามแบบอย่างโลกตะวันตก อย่างที่ไม่เคยปรากฏขึ้นมาก่อน เหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในพื้นที่ห่างไกลและข้ามพรมแดนรัฐ สามารถถูกรับรู้ได้ทันที ทำให้โลกมีลักษณะเป็นหมู่บ้านโลก โดยมีเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นตัวช่วยสนับสนุน

2. กระบวนการโลกาภิวัตน์

กระบวนการโลกาภิวัตน์มีมาเป็นเวลาช้านานแล้ว นับเนื่องจากลัทธิอาณานิคม (Colonialism) แผ่ขยาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งอังกฤษและยุโรปตะวันตกใช้แสนยานุภาพทางทหารที่เหนือกว่าเข้ายึดครองประเทศต่างๆ ในทวีปเอเชีย แอฟริกา และอเมริกา เพื่อแสวงหาแหล่งผลิตอาหาร วัตถุดิบ หรือทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งแรงงานทาสจากอาณานิคม และเพื่อเป็นตลาดระบายสินค้าอุตสาหกรรมจากประเทศแม่ ซึ่งมีลักษณะเป็นจักรวรรดินิยม (imperialism) ที่มาพร้อมกับการถ่ายทอดแนวความคิด ความเชื่อ และ วัฒนธรรมตะวันตกไปสู่ดินแดนอื่น

ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง การเชื่อมโยงโลกโดยอาศัยการล่าอาณานิคมได้คลายความสำคัญลงไปเรื่อยๆ พร้อมกันกับที่เริ่มมีการเชื่อมโยงส่วนต่างๆ ของระบบเศรษฐกิจโลกเข้าด้วยกัน ในช่วงนี้ วาทกรรมการพัฒนา (Development) ตามแบบตะวันตก โดยเฉพาะจากสหรัฐอเมริกา ที่ขึ้นมามีอิทธิพลอย่างสูงทั้งที่เป็นแนวคิด ความเชื่อ และทฤษฎี ได้ถูกตีแผ่ขยายไปทั่วโลก เช่น ทฤษฎีความทันสมัย (modernization) จนถึงอุดมการณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับอุดมการณ์เสรีนิยมใหม่ (Neo-liberalism) หรือที่รู้จักกันในนาม ฉันทามติวอชิงตัน (Washington Consensus) ซึ่งนำเสนอถึงรูปแบบ นโยบายสำหรับการปฏิรูประบบเศรษฐกิจในประเทศกำลังพัฒนา และประเทศด้อยพัฒนาทั่วๆ ไป นโยบายที่สำคัญๆ เช่น การเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ (Liberalization) การลดการควบคุมและการกำกับโดยภาครัฐ (Deregulation) การถ่ายโอนการผลิตไปสู่ภาคเอกชน (Privatization) การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ (Stabilization) เป็นต้น ส่งผลให้บทบาทของบรรษัทข้ามชาติ (Multinational Corporations - MNC) ของมหาอำนาจต่างๆ เช่น Microsoft, McDonald's, GM ฯลฯ เริ่มมีบทบาทและอิทธิพลต่อระบบเศรษฐกิจโลกในเวลาต่อมา จากความหมายของโลกาภิวัตน์ก่อให้เกิดการเชื่อมโยงประสานใน 3 ด้านด้วยกัน คือ

2.1 กระตุ้นให้เกิดการเชื่อมโยงประสานกันทางเศรษฐกิจระหว่างนานาประเทศ คือ ส่งผลให้มีการไหลเวียนของสินค้า บริการ เงินทุน ผู้คน และทรัพยากรที่ข้ามพ้นกำแพงรัฐชาติ การปฏิสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ เชื่อมโยงกันจนเป็นอาณาบริเวณที่กว้างขวาง โดยโลกเศรษฐกิจจะไม่มีพรมแดนในลักษณะที่สอดคล้องกับการแบ่งเขตเกี่ยวข้องกับดินแดนหรืออาณาเขต ซึ่งเป็นเรื่องของรัฐ (State) แต่เป็นเขตแดนทางเศรษฐกิจ และรูปแบบการผลิตแบบห่วงโซ่ข้ามชาติก็เป็นที่แพร่หลาย เมื่อสินค้าชิ้นเดียว แต่มีส่วนประกอบต่างๆ ที่ถูกผลิตขึ้นในหลายๆ ประเทศ บางครั้งก็รู้จักกันในนาม 'Mcdonaldization' จุดประสงค์หลักสำคัญเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน ตัวอย่างเช่น อุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ของ บริษัทโตโยต้า ใช้เทคโนโลยีและการพัฒนาจากประเทศญี่ปุ่น อาศัยการชิ้นส่วนเช่น ล้อ ตัวถัง จากประเทศจีน แต่กลับนำไปประกอบเป็นตัวรถยนต์ในประเทศไทยแทน เป็นต้น

2.2 กระตุ้นให้เกิดการเชื่อมโยงประสานทางแนวความคิด ความเชื่อ และอุดมการณ์ อาทิ ความเป็นประชาธิปไตย (Democratization หรือ กระบวนการทำให้เป็นประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน (Human right) การจัดการปกครองที่ดี (Good Governance) การค้าเสรี (Free Trade) ตลอดจน วัฒนธรรมความทันสมัยแบบตะวันตก เป็นต้น ในฐานะอุดมการณ์หลักแห่งยุคสมัยที่ถูกแผ่ขยายไปทั่วโลก ซึ่งผู้คนโดยทั่วไปเรียกกันอย่างเต็มปากเต็มคำว่า "ยุคโลกาภิวัตน์"โดยคิดและอุดมการณ์เหล่านี้ มีผลอย่างมากต่อการจัดการปกครองทางการเมืองและสังคมของประเทศต่างๆทั่วโลกในปัจจุบัน

2.3 กระตุ้นให้เกิดการเชื่อมโยงประสานโลกให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

นับตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1990 ในปี 1989-1991 จากการล่มสลายของระบบสังคมนิยมในสหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกาได้เข้ามาจัดระเบียบโลก (The New World Order) หลังยุคสงครามเย็นสิ้นสุด โดยสหรัฐอเมริกามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาและริเริ่มเทคโนโลยีสารสนเทศใหม่ๆ พร้อมกันกับเผยแพร่เทคโนโลยีออกไปโดยรวดเร็วไปพร้อมกับวัฒนธรรมแบบอเมริกัน เช่น โทรทัศน์ผ่านดาวเทียมที่สามารถรายงานข่าวสาร สาระจากพื้นที่หนึ่งของโลก ให้กระจายไปทั่วโลกได้ทันที่ ผ่าน CNN, BBC อินเตอร์เน็ตที่ถ่ายทอดความคิด ความเชื่อผ่านทางเว็บไซด์ต่างๆร่วมถึงการเผยแพร่วัฒนธรรมอเมริกันผ่านสื่อ เช่น ในรูปแบบภาพยนตร์ผ่าน Hollywood ในรูปแบบแฟชั่น ดนตรีเพลงผ่าน โทรทัศน์ช่อง MTV เป็นต้น โลกาภิวัตน์ได้เชื่อมโยงหลอมรวมความสัมพันธ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ของโลกให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และเนื่องจากความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) ได้มีส่วนทำลายพรมแดนระหว่างรัฐ ที่เป็นอุปสรรคขว้างกั้น ในความหมายเดิมลงไปอย่างสิ้นเชิง โลกในปัจจุบันจึงเปรียบเหมือนถูกย่อทางด้านกาล (Time) เทศะ (Space) และถูกผนวกรวมความคิด ความเชื่อ ให้เป็นไปในแนวทางที่สอดคล้องกันมากขึ้น จนทำให้สังคมโลกเล็กลงจนมีขนาดไม่ใหญ่ไปกว่าหมู่บ้าน ซึ่งใครหลายคนเรียกลักษณะเช่นนี้ว่าเป็น "หมู่บ้านโลก" (Global Village) เหตุผลทั้งหมดที่กล่าวมานั้น คือ โลกาภิวัตน์ (Globalization)

กระแสโลกาภิวัตน์เป็นกระบวนการที่ประชาคมโลกทั้งหมดไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ และเป็นเรื่องที่สังคมไทยต้องให้ความสำคัญและศึกษา เพื่อให้รู้เท่าทัน เนื่องจากเหตุผลหลายประการ ดังนี้

1. ประการแรก โลกาภิวัตน์ หรือการเชื่อมโยงกันในลักษณะพึ่งพาและแข่งขันของรัฐ ชุมชน ระบบเศรษฐกิจทั่วโลก ได้กลายเป็นกระแสหลักในการผลักดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในโลก โดยมีการปฏิวัติเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นกลไกเร่งการเปลี่ยนแปลงให้รวดเร็ว รุนแรง และกว้างขวางทุกทิศทาง ที่ผ่านมากระแสโลกาภิวัตน์ได้ก่อให้เกิดระเบียบใหม่ของโลกในหลายๆ ด้าน ทั้งที่มีผลกระทบในทางบวก และทางลบต่อไทย ที่สำคัญได้แก่

1.1 กระแสเสรีนิยมประชาธิปไตย (democratization)

1.2 กระแสการเปิดการค้าและการลงทุนเสรี (economic liberalization)

1.3 กระแสส่งเสริมสิทธิมนุษยชน และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

1.4 การให้ความสำคัญต่อความมั่นคงในความหมายใหม่ ซึ่งเน้นมนุษย์เป็นศูนย์กลาง ของการพัฒนาทั้งหลาย เป็นความมั่นคงของมนุษย์ (human security)

1.5 การขยายตัวของปัญหาข้ามชาติ อาทิ ยาเสพติด แรงงานต่างด้าว การค้ามนุษย์ โรคเอดส์ และ อาชญากรรมข้ามชาติ

1.6 การมีบทบาทมากขึ้นของตัวแสดงต่างๆ ที่ไม่ใช่รัฐ (non-state actors) เช่น บรรษัทข้ามชาติ องค์กร NGOs หรือ Credit Rating Agencies ตัวแสดงเหล่านี้ กำลังมีบทบาทแข่งขันกับรัฐมากขึ้น ในกระบวนการนโยบาย และการกำหนดโครงสร้างเศรษฐกิจ การเมืองและกระแสวัฒนธรรมทั่วโลก

2. ประการที่สอง กระแสโลกาภิวัตน์ ทำให้การกำหนดนโยบายภายในประเทศ ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นนโยบายเศรษฐกิจ การค้า แรงงาน สิ่งแวดล้อม หรือสิทธิมนุษยชน  ต้องคำนึงถึงความเชื่อมโยงกับกระแสเศรษฐกิจการเมืองของโลก ตลอดจนค่านิยมระหว่างประเทศต่างๆ เพิ่มมากขึ้นในระดับที่ไม่เคยเป็นมาก่อน อีกนัยหนึ่งคือ รัฐไม่สามารถมีอิสระอย่างเต็มที่ในการกำหนดนโยบายภายในประเทศอีกต่อไป ท่าทีและนโยบายภายในประเทศที่ขาดความเชื่อมโยงกับกระแสโลกาภิวัตน์ อาจส่งผลกระทบ กลับมายังประเทศ ในรูปของการถูกตัดสิทธิทางการค้าและภาษี หรือในรูปของการที่นักลงทุนต่างชาติย้ายฐานการลงทุนหนี ตลอดจนการถูกกดดันทางการเมืองในเวทีระหว่างประเทศต่างๆ

ประเทศไทยก็ได้เคยมีบทเรียนจากการการขาดความรู้เท่าทันกระแสโลกาภิวัตน์มาแล้ว ในรูปของการเกิดวิกฤติเศรษฐกิจปี 40 ซึ่งเป็นผลจากการที่นักลงทุนต่างชาติถอนเงินออกจากระบบการเงินในประเทศอย่างฉับพลัน ซึ่งในช่วงก่อนเกิดวิกฤต หากประเทศไทยเข้าใจอย่างถ่องแท้เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของทุนเสรีมากพอ ไทยก็อาจจะมีการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสร้างวินัยทางการเงินได้ก่อนที่จะเกิดการถอนเงินออกจากระบบการเงินในประเทศ

3. ประการที่สาม ระเบียบเศรษฐกิจใหม่ของโลกยุคโลกาภิวัตน์ ซึ่งเน้น Washington Consensus หรือ การเปิดเสรีด้านการค้า การลงทุน เป็นระเบียบที่กระทบปากท้องของประชาชน ในประเทศโดยตรง เพราะเป็นแนวโน้มที่ทำให้การแข่งขันทางเศรษฐกิจทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น และ ทำให้ผู้ประกอบการเกษตรกรรมภายในประเทศที่ยังขาดความพร้อม และยังไม่สามารถพัฒนาผลผลิตของตนให้เทียบเคียงกับมาตรฐานสากล อาจต้องสูญเสียกิจการ เพราะต้องเผชิญกับการแข่งขันจากสินค้า และบริการประเภทเดียวกันจากทั่วโลก ประเด็นพิจารณาที่สำคัญก็คือ ประเทศกำลังพัฒนารวมทั้งประเทศไทยจะต้องคอยติดตามกระแสการแข่งขัน เพื่อพิจารณามาตรการรองรับให้ภาคธุรกิจ และภาคเกษตรต่างๆ ภายในประเทศ มีความเข้มแข็ง และสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก

4. ประการที่สี่ ในกระบวนการที่โลกมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันมากขึ้นนี้ การที่ประเทศใดประเทศหนึ่งจะมีความได้เปรียบในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ กลายเป็นเรื่องที่ขึ้นอยู่กับความรวดเร็ว ในการรวบรวม การเข้าถึง และการตีความ ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่มีอยู่มากมายทั่วโลก ดังนั้น ประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทยจึงจำเป็นต้องให้ความสนใจ ติดตาม รู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ซึ่งเกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจและการเมืองโลก

5. ประการที่ห้า กระบวนการโลกาภิวัตน์และการเปิดเสรีด้านเศรษฐกิจมีผลกระทบโดยตรงต่อชุมชนท้องถิ่น จึงมีความจำเป็นที่สังคมไทยจะต้องสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ชุมชนท้องถิ่น เพื่อลดผลกระทบจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลก รวมทั้งสร้างขีดความสามารถของชุมชน ท้องถิ่นในการรับประโยชน์จากกระบวนการโลกาภิวัตน์ โดยเสริมสร้าง ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้มีรากฐานมั่นคงในชุมชน

ประเด็นที่สำคัญมากในการที่จะช่วยให้เรารู้เท่าทันกระแสโลกาภิวัตน์ ก็คือ เราจะต้องเสริมสร้างศักยภาพของตัวเราเอง หรือที่เรียกว่า Capacity building ในหลายๆ ด้าน สังคมไทยต้องปรับไปสู่สังคมแห่งความรู้ (knowledge based society) และลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงแหล่งข้อมูลข่าวสารและความรู้ (digital divide) เพราะในปัจจุบันความรู้ คือ พลังอำนาจแห่งชาติอย่างแท้จริง นอกจากความรู้ซึ่งเป็นฐานที่สำคัญแล้ว เรายังต้องมีกลไกหรือเครื่องมือในการเผชิญกับกระแสโลกาภิวัตน์ เครื่องมือหนึ่งที่ผมเห็นว่าสำคัญมากคือ การดำเนินนโยบายด้านการต่างประเทศของไทย

เมื่อโลกก้าวสู่ศตวรรษที่ 21 ศตวรรษแห่งการเชื่อมโยงประเทศต่างๆ ให้ใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น หรือประเทศต่างๆ ได้ก้าวสู่ระบบหนึ่งเดียวกัน ตามที่เรียกว่า โลกาภิวัตน์ (Globalization) นับได้ว่าเป็นกระแสหลักของโลกแห่งยุคปัจจุบัน ในฐานะเป็นตัวจักรขับเคลื่อนโลกใบนี้ภายใต้เงื่อนไขเดียวกัน ประเทศไทยเป็นส่วนหนึ่งของสังคมโลกซึ่งเต็มไปด้วยกระแสแห่งการพลวัตอย่างสูง และรวดเร็วทั้งในด้านสภาพแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม การเมือง ซึ่งไม่เคยเป็นมาก่อน การไหลบ่าของกระแสโลกาภิวัตน์นี้ ได้เร่งให้ประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายหันมาเปิดนโยบายทางเศรษฐกิจแบบเสรี และดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจภายใต้กฎกติกาอันเป็นสากล โดยมีเป้าหมายเดียวกัน เพื่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ การพัฒนาประเทศตามนัยนี้ได้กลายเป็นแม่แบบแห่งการพัฒนาของสังคมโลกปัจจุบันอย่างแท้จริง ประเทศไทยในกระแสแห่งการพลวัตเช่นนี้ เราจำเป็นต้องมีการปรับตัวเพื่อรับกับเงื่อนไขใหม่ของโลกเพื่อจุดยืนที่ยั่งยืนได้

สังคมโลกปัจจุบัน กำลังอยู่ในกระแสที่เรียกว่า โลกาภิวัตน์ได้ขยายอิทธิพลในช่วง 25 ปีที่ผ่านมา โดยเริ่มจากระบบเศรษฐกิจก่อน กระแสโลกาภิวัตน์นั้นอาศัยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ การผ่อนผันกฎระเบียบการค้า การเคลื่อนย้ายตลาดการเงินได้อย่างเสรี ผลที่ตามมาก็คือ ประเทศต่างๆ ตกอยู่ในอิทธิพลโลกาภิวัตน์ทุนนิยม อนึ่งการเปลี่ยนแปลงในประชาคมโลกนั้นเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีความซับซ้อนสูง การที่ประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายยังขาดความพร้อม ยอมเผชิญกับภาวะบีบคั้นจากกระแสโลกาภิวัตน์ซึ่งนำไปสู่ภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจและสังคมได้เช่นกัน

3. ผลกระทบของโลกาภิวัตน์โลกาภิวัตน์มีผลกระทบต่อโลกในหลายแง่มุม เช่น

3.1 ระบบอุตสาหกรรม การปรากฏของตลาดการผลิตที่เกิดขึ้นทั่วโลก และช่องทางเข้าถึงผลิตภัณฑ์ต่างประเทศที่กว้างขึ้นสำหรับผู้บริโภคและบริษัท

3.2 ระบบการเงิน การปรากฏขึ้นของตลาดการเงินทั่วโลกและการเข้าถึงเงินลงทุนจากแหล่งภายนอกที่ง่ายและสะดวกขึ้นของบริษัทต่างๆ ประเทศ

3.3 ระบบเศรษฐกิจ การยอมรับตลาดร่วมของโลกบนพื้นฐานแห่งเสรีภาพในการแลกเปลี่ยนสินค้าและทุน

3.4 ระบบการเมือง ระบบการเมืองโลกาภิวัตน์ หมายถึง การสร้างสรรค์รัฐบาลโลกที่จะทำหน้าที่กำกับดูแลความสัมพันธ์ระหว่างชาติและให้หลักประกันสิทธิ์ที่เกิดจากสังคมและเศรษฐกิจของโลกาภิวัตน์

ในทางการเมือง สหรัฐอเมริกาได้รับประโยชน์จากการครองอำนาจในโลกในหมู่ชาติมหาอำนาจ ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและความมั่งคั่งของประเทศ

ด้วยอิทธิพลของโลกาภิวัตน์และจากการช่วยเหลือของสหรัฐฯ ประเทศจีนได้เจริญเติบโตอย่างมหาศาลในช่วงเพียงทศวรรษที่ผ่านมา หากจีนมีความเจริญเติบโตในอัตราตามแนวโน้มนี้ต่อไป เป็นไปได้ที่จะเกิดการเคลื่อนย้ายศูนย์อำนาจในระหว่างประเทศผู้นำภายใน 20 ปีข้างหน้า ประเทศจีนจะมีความมั่งคั่ง มีอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีที่สามรถท้าทายสหรัฐฯ ในการเป็นประเทศมหาอำนาจผู้นำได้

3.5 การข้อมูลข่าวสาร มีการเพิ่มการไหลบ่าของข้อมูลข่าวสารระหว่างพื้นที่ หรือภูมิภาคที่อยู่ห่างไกลกันมาก

3.6 ระบบวัฒนธรรม การเจริญเติบโตของการติดต่อสัมพันธ์ข้ามวัฒนธรรม เกิดมีประเภทใหม่ๆ ในด้านความสำนึกและเอกลักษณ์ เช่น โลกาภิวัตน์นิยมซึ่งครอบคลุมการแพร่กระจายทางวัฒนธรรมและการได้บริโภคผลิตภัณฑ์และความคิดจากต่างประเทศ การรับเทคโนโลยีใหม่มาใช้และการเข้าร่วมใน วัฒนธรรมโลก

3.7 ระบบนิเวศวิทยา  การปรากฏขึ้นของความท้าทายในปัญหาสภาวะแวดล้อมในระดับโลกที่ไม่สามารถแก้ปัญหาได้โดยปราศจากความร่วมระดับนานาชาติ เช่นปัญหาการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ มลภาวะทางน้ำและอากาศที่ครอบคลุมหลายเขตประเทศ การทำประมงเกินขีดความสามารถในการรองรับ การกระจายของพันธุ์พืชและสัตว์ที่ไม่พึงประสงค์ การสร้างโรงงานเป็นจำนวนมากในประเทศกำลังพัฒนาที่ก่อมลภาวะได้อย่างเสรี

3.8 ระบบสังคม  ความสำเร็จในการบอกรับข่าวสารโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายสำหรับประชาชนของทุกชาติในโลก

3.9 ระบบการขนส่ง  การลดจำนวนลงไปเรื่อยๆ ของรถยุโรปในถนนของยุโรป (อาจกล่าวได้เช่นเดียวกันสำหรับอเมริกา) และการหมดปัญหาเรื่องระยะทางที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีต่างๆ มาช่วยลดเวลาการเดินทาง

3.10 การแลกเปลี่ยนที่มากขึ้นของวัฒนธรรมสากล การขยายตัวของ อเนกวัฒนธรรมนิยมและการเข้าถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่ง่ายขึ้นสำหรับปัจเจกบุคคล เช่นการส่งออกภาพยนตร์ของฮอลลีวูดและบอลลีวูด หรืออุตสาหกรรมภาพยนตร์ของอินเดีย อย่างไรก็ดี การนำเข้าวัฒนธรรมอาจทำให้เกิดการกลืนทางวัฒนธรรมท้องถิ่นได้ง่าย มีผลให้ความหลากหลายทางวัฒนธรรมมีน้อยลงจากการผสมผสานระหว่างกันเกิดเป็นวัฒนธรรมพันธุ์ทาง หรืออาจถูกกลืนโดยการค่อยๆ รับวัฒนธรรมใหม่มาใช้โดยสิ้นเชิง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดในกรณีนี้ได้แก่การรับวัฒนธรรมตะวันตก Westernization) ของหลายประเทศเมื่อเร็วๆ นี้ แต่การรับวัฒนธรรมจีน ( Sanitizations) ได้เกิดขึ้นทั่วเอเชียมานานนับศตวรรษแล้ว การเดินทางและการท่องเที่ยวระหว่างประเทศที่มากขึ้น การเข้าเมืองที่มากขึ้น รวมทั้งการเข้าเมืองที่ผิดกฎหมาย การแพร่ขยายของสินค้าบริโภคของท้องถิ่น เช่นอุตสาหกรรมอาหาร สู่ต่างประเทศมากขึ้น การคลั่งไคล้แฟชั่นวัฒนธรรมยอดนิยมระดับโลก

3.11 ด้านเทคนิค/กฎหมาย การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของระบบการติดต่อสื่อสารระดับโลก และการเพิ่มการเคลื่อนไหลของข้อมูลข่าวสารข้ามพรมแดนที่ใช้เทคโนโลยี เช่น อินเทอร์เน็ต ดาวเทียมสื่อสาร เคเบิลใยแก้วใต้น้ำ และโทรศัพท์มือถือ การเพิ่มจำนวนของมาตรฐานที่นำออกใช้ทั่วโลก เช่น กฎหมายลิขสิทธิ์ การจดทะเบียนลิขสิทธิ์ และการตกลงทางการค้าโลก การผลักดันโดยผู้สนับสนุนให้มีศาลอาญานานาชาติ ( International criminal court) และศาลยุติธรรมนานาชาติ (International Court of Justice: ICJ)

สรุปผลกระทบของโลกาภิวัตน์ต่อสังคมโลก ผลกระทบของโลกาภิวัตน์ที่มีต่อสังคมโลกในปัจจุบัน เกิดขึ้นในด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ดังนี้

1.  ผลกระทบด้านสังคม

1.1 การครอบโลกทางวัฒนธรรม เนื่องจากระบบสื่อสารไร้พรมแดนทำให้เกิดการครอบโลกทางวัฒนธรรม อิทธิพลของวัฒนธรรม และ อำนาจของเศรษฐกิจจากประเทศที่พัฒนาแล้ว ได้ไหลบ่าเข้าสู่ประเทศอื่นอย่างรุนแรง ก่อให้เกิดกระแสวัฒนธรรมโลก (Neo – Westernization) ครอบงำทางด้านความคิด การมองโลก การแต่งกาย การบริโภคนิยมแพร่หลายเข้าครอบคลุมเหนือวัฒนธรรมชาติของประชาคมทั่วโลก ผลที่ตามมา คือ เกิดระบบผูกขาดไร้พรมแดน

1.2 หมู่บ้านโลก (Global Village) จากความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการสื่อสารและโทรคมนาคม ทำให้สังคมโลกไร้พรมแดน โลกทั้งโลกเป็นเสมือนหมู่บ้านเดียวกันสมาชิกของหมู่บ้านคนใดทำอะไรก็สามารถรับรู้ได้ทั่วกันทั่วโลกเมื่อมาอยู่ในหมู่บ้านเดียวกัน สิ่งใดที่มากระทบประเทศหนึ่งก็ย่อมกระทบไปถึงประเทศอื่นๆ ไปด้วย อย่างมิอาจหลีกเลี่ยงได้ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในส่วนใดส่วนหนึ่งของโลกสามารถรับรู้ได้อย่างฉับพลัน

1.3 การแสวงหากำไรแบบใหม่ การสื่อสารที่รวดเร็วทำให้เกิดสภาวการณ์ไร้พรมแดนของเงินตราซึ่งสามารถไหลไปกระจุกตัวทุกหนทุกแห่งในโลกได้ ทุกครั้งที่เกิดการไหลเข้าของทุนมหาศาลจากทั่วโลกไปกระจุกตัวอยู่ที่ประเทศใดประเทศหนึ่ง ก็จะก่อให้เกิดการพองตัวของทุนอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการแสวงหากำไรแบบใหม่ขึ้น

 1.4 สังคมความรู้ยุคข่าวสารข้อมูล ยุคโลกาภิวัตน์เป็นยุคแห่งข่าวสารข้อมูล เทคโนโลยีเป็นกลไกสำคัญของการครอบครองข่าวสารข้อมูล จึงได้มีการคิดค้นพัฒนาเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วมาก เทคโนโลยีที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก ได้แก่

1.4.1 การพัฒนาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มีการพัฒนาใหม่ทุก 18 เดือน ส่งผลให้คอมพิวเตอร์มีความเร็วสูงราคาถูกลง คอมพิวเตอร์จึงเข้ามีส่วนสำคัญในชีวิตประจำวันเพื่อใช้งานทั้งที่ทำงานและที่บ้าน

 1.4.2 การพัฒนาเทคโนโลยีคมนาคม เพื่อให้สามารถติดต่อถึงกันได้อย่างง่ายรวดเร็วไม่ว่าจะอยู่ส่วนใดของโลก ได้มีการพัฒนาการติดต่อสื่อสารทางโทรศัพท์ใช้สื่อสารผ่านคลื่นไมโครเวฟ ผ่านดาวเทียมสื่อสาร เกิดโทรศัพท์เคลื่อนที่ ติดต่อสื่อสารผ่านอีเมล์ด้วยคอมพิวเตอร์ สามารถส่งข้อความด้วยแฟกซ์ เทคโนโลยีสื่อสารที่ทันสมัยสามารถบริการได้กว้างขวางแต่มีราคาถูกลง โลกถูกเชื่อมต่อด้วยเทคโนโลยีคมนาคม โลกที่กว้างใหญ่ได้แคบลงเป็นหมู่บ้านโลก

1.4.3 การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถถ่ายทอดข่าวสาร ความรู้ ข้อมูล โดยผ่านอีเมล์ อินเตอร์เน็ต และเวิร์ล วาย เวป (www.) ข่าวสารความรู้ข้อมูล จึงเข้าถึงประชาชนได้ง่ายดายและเป็นจำนวนมาก ก่อให้เกิดการพัฒนาภูมิปัญญาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การกระจายความรู้ การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยให้ประชาชนมีโอกาสรับรู้และเรียนรู้มากขึ้น สังคมโลกกลายเป็นสังคมความรู้

2. ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ เศรษฐกิจโลกมีผลกระทบจากกระแสโลกาภิวัฒน์ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

2.1  การปฎิรูประบบเศรษฐกิจแบบเสรี  มาจากการล่มสลายของระบบคอมมิวนิสต์และกระแสโลกาภิวัตน์ ทำให้ระบบทุนนิยมโลกแผ่ขยายออกไปครอบคลุมเกือบทุกส่วนของโลก เกิดการขยายตัวของการค้าระหว่างประเทศ การเพิ่มขึ้นของทุนระหว่างประเทศ ทำให้เศรษฐกิจของภูมิภาคต่างๆ เชื่อมโยงและพึ่งพาซึ่งกันและกันมากขึ้น ประเทศต่างพากันปฎิรูปเศรษฐกิจให้เสรีเพื่อเตรียมพร้อมต่อการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจที่ทวีความรุนแรงขึ้น ประเทศสังคมนิยมที่ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบวางแผนและควบคุมที่ส่วนกลาง ได้ปฎิรูปโดยเปิดประเทศให้นักธุรกิจต่างชาติเข้ามาลงทุน นำกลไกตลาดมาประยุกต์ใช้ เช่น จีน มีนโยบายที่ทันสมัย  เวียดนามใช้นโยบายปฎิรูปแบบDoi Moi  ส่วนประเทศที่ใช้ระบบทุนนิยม ก็มีการปฎิรูปเศรษฐกิจทั้งในด้านการค้าและการเงินโดยลดข้อจำกัดต่างๆ เพื่อให้เสรียิ่งขึ้น เพื่อสร้างโอกาสในการระดมทุนการเคลื่อนย้ายทุน อันส่งผลให้ต้นทุน ในการผลิตและการประกอบการลดลง เพื่อให้สามารถแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 2.2  การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาคต่างๆ  เนื่องมาจากการแข่งขันทางการค้าที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้หลายประเทศไม่มั่นใจว่าจะมีศักยภาพเพียงพอที่จะแข่งขันในระบบการค้าเสรีบางประเทศเริ่มใช้ มาตรการปกป้องทางการค้า หลายประเทศพยายามหาแนวร่วมทางเศรษฐกิจขยายขอบเขตความร่วมมือทางเศรษฐกิจ โดยจัดตั้งกลุ่มเศรษฐกิจในภูมิภาคขึ้น เช่น ประชาคมเศรษฐกิจยุโรป ( EC )ได้กระชับความร่วมมือจัดตั้งเป็นตลาดเดียว ใน ศ.ศ. 1999 ส่วนสหรัฐอเมริกา แคนาดา และ แม็กซิโก ได้ร่วมมือทางเศรษฐกิจจัดตั้งเขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ ( NAFTA ) ในขณะที่กลุ่มประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ร่วมมือกันจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน ( AFTA ) ประชาคมอาเซียน (AEC) อีกทั้งยังมีการร่วมมือในย่านเอเชียแปซิฟิก ( APEC ) การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจเหล่านี้ อาจนำไปสู่ความตึงเครียดทางการค้าหรือสงครามการค้าได้ ถ้าหากผลประโยชน์ขัดกันจนไม่สามารถประนีประนอมได้ นอกเหนือจากการรวมกลุ่มในระดับภูมิภาคแล้ว บางประเทศยังพยายามร่วมมือในระดับเล็ก ระหว่างบนพื้นที่ของประเทศในลักษณะอนุภูมิภาค เช่น ความร่วมมือสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ ระหว่างอินโดนีเซีย มาเลเซีย และ ไทย ( Indonesia Malaysia Thailand Growth Triangle : IMTGT ) และ ความร่วมมือสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ ( Quad angle Cooperative ) ระหว่างไทย ลาว พม่า และ จีนตอนใต้ โดยแต่ละประเทศจะอาศัยความได้เปรียบเทียบของกันและกัน เพื่อเพิ่มความสามารถการแข่งขันทางเศรษฐกิจการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจโลกกำลังนำไปสู่การปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจโลก ซึ่งมี 3 ขั้ว คือ ยุโรป เอเชีย และ อเมริกา ระบบเศรษฐกิจโลก 3 เส้า ดังกล่าวกำลังก่อตัว ซึ่งจะมีการแข่งขัน และ ความร่วมมือ ดังจะเห็นได้จากการร่วมมือระหว่างเอเชีย และ ยุโรป ( Asia Europe Meeting : ASEM )

2.3  เกิดระบบเสรีด้านการเงินและการค้า  เป็นระบบเศรษฐกิจที่สินค้า และ เงินตราต่างๆ ไหลเวียนไปทั่วโลกได้อย่างเสรี โดยความเป็นสากลของทุนและเงินตรา ซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา ทำให้ทุนกลายเป็นปัจจัยการผลิตที่สามารถเคลื่อนย้ายถ่ายเทไปมาได้อย่างเสรี การเคลื่อนย้ายของทุนในระดับโลกจากจุดที่ให้ผลตอบแทนต่ำ ไปยังจุดที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า ก่อให้เกิดการเก็งกำไรขึ้นทั่วไปในระบบตลาดที่ยังไม่มีเสถียรภาพ ผู้ที่ควบคุมทุนได้จะอยู่ในฐานะที่ได้เปรียบโดยสิ้นเชิง เมื่อระบบเศรษฐกิจถูกรวมเข้าด้วยกัน ทุนสามารถไหลเวียนไปยังที่ต่างๆ ที่เปิดโอกาสให้กระจายต้นทุนออกไปสู่ภายนอกได้มากที่สุด ผลที่ตามมา คือ การโอนย้ายภาระต้นทุนจากนักลงทุนระหว่างประเทศไปยังท้องถิ่นต่างๆ ในภาวะเช่นนี้วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจจะเกิดขึ้นกับประเทศที่นำทุนเข้าจากต่างประเทศได้ในระยะเวลาไม่นานนัก

2.4  ระบบการผลิตแบบอัตโนมัติ  เป็นการเปลี่ยนแปลงด้านการผลิตสินค้า โดยการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาควบคุมการผลิตโดยมีลักษณะการใช้งานเฉพาะซึ่งใช้ระยะเวลาการผลิตสั้นกว่าสิ้นเปลืองน้อยกว่าเข้ามาแทนที่ เช่น ชิ้นส่วนรถยนต์อาจได้รับการผลิตอยู่ในหลายประเทศ แล้วนำมาประกอบเป็นรถยนต์ในประเทศที่ไม่ได้ผลิตชิ้นส่วน แล้วส่งขายไปทั่วโลก ซึ่งลักษณะการประกอบการอย่างนี้เป็นลักษณะของการเกิดบริษัทข้ามชาติ เป็นแบบฉบับธุรกิจโลกาภิวัตน์ ซึ่งมีผลทำให้ธุรกิจ การบริการหลักทรัพย์ ธนาคาร ประกันภัย ต้องปรับตัวเพื่อรองรับธุรกิจแบบโลกาภิวัตน์ด้วย การผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมจะเปลี่ยนระบบการผลิตมาเป็นการผลิตอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ระบบการเงินก็จะต้องปรับการบริการแบบเดียวกันด้วย กระแสเงินตราต่างๆ และ ธุรกรรมทางการเงินผ่านเข้าออกธนาคารตลอดเวลาในช่วงเสี้ยววินาที โดยใช้อิเล็กทรอนิกส์ คือ ความสามารถที่จะก้าวล้ำหน้า ทำให้มีผลต่อการกระจายอำนาจและผลกำไรอย่างมากมาย กระแสการแข่งขันด้านการค้าและการแสวงหาตลาดได้ดำเนินการอย่างรวดเร็ว กลายเป็นระบบเศรฐกิจแบบข้ามชาติอย่างแท้จริง

3.  ผลกระทบด้านการเมือง กระแสโลกาภิวัตน์จึงส่งผลกระทบต่อสังคมโลก อันนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ดังนี้

 3.1  ความเป็นท้องถิ่นนิยม ( Localism ) กระแสโลกาภิวัตน์ สร้างความรู้สึกชาตินิยมระดับท้องถิ่น เติบโตแทนที่อุดมการณ์ชาตินิยม รัฐชาติแตกสลายย่อยตามชาติพันธุ์และลักษณะเฉพาะเชื้อชาติและวัฒนธรรมที่เล็กกกว่าชาติ กลายเป็นกลุ่มลัทธิชาตินิยมใหม่ ( Neo – Nationalism ) ได้ก่อตัวเป็นรัฐชาติที่รากฐานแห่งความเป็นชาติหรือเผ่าพันธุ์ที่แน่นแฟ้นกลมกลืนกันยิ่งขึ้น ปัญหาความขัดแย้งทางเชื้อชาติเหล่านี้มักเชื่อมโยงกับความสำคัญของท้องถิ่น เนื่องจากสังคมยุคโลกาภิวัตน์เป็นโลกยุคข่าวสารซึ่งประชาชนในท้องถิ่นรับรู้ข้อมูลอย่างรวดเร็วได้จากสื่อมวลชน เป็นการปลูกจิตสำนึกของประชาชนในท้องถิ่นเพิ่มมากขึ้น ให้รู้จักรักษาและหวงแหนทรัพยากรภายในท้องถิ่นของตน การรับรู้ข้อมูลทำให้ทราบผลดีผลเสียที่รัฐบาลกลางดำเนินการ ยุคโลกาภิวัตน์จึงเป็นยุคแห่งการตรวจสอบ รัฐบาลกลางที่มีความแตกต่างทางเชื้อชาติจะตักตวงผลประโยชน์จากท้องถิ่น จึงมักถูกต่อต้านอย่างรุนแรง ถ้าหากเป็นเชื้อชาติเดียวกัน รัฐบาลที่ไม่คำนึงถึงความเดือดร้อนของประชาชนในท้องถิ่นก็ย่อมถูกต่อต้านอย่างรุนแรงเช่นเดียวกัน

 3.2  บทบาทของสถาบันและกลุ่มทางการเมือง  สถาบันทางการเมืองที่มีอยู่เดิม ได้แก่พรรคการเมือง รัฐบาล นิติบัญญัติ ตุลาการ แต่ในยุคโลกาภิวัตน์ได้เกิดสถาบันทางการเมืองใหม่เพิ่มขึ้นเป็นกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ กลุ่มเฉพาะกรณีเกิดขึ้นมากเช่น กลุ่มสิทธิสตรี กลุ่มองค์กรเอกชน กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ กลุ่มต่างๆ ที่เกิดขึ้นใหม่เหล่านี้เป็นเพราะชัยชนะของปัจเจกชน ทำให้แต่ละกลุ่มมีความเป็นอิสระในการเรียกร้องตามความต้องการของตน มีการเคลื่อนไหวของกลุ่มอยู่ตลอดเวลา มีการเรียกร้องให้ปฎิรูปทางการเมืองและสังคมเพื่อให้เกิดความมั่นคงทางการเมืองและมีผู้นำทางการเมืองที่มีวิสัยทัศน์ มีความรู้ ความสามารถในการแก้ไขปัญหาอย่างรวดเร็ว

สังคมโลกปัจจุบัน นอกจากรัฐชาติเป็นตัวแสดงที่สำคัญแล้ว ยังมีตัวแสดงอื่นๆ ที่มีบทบาทโดดเด่น เช่น องค์การระหว่างประเทศ บรรษัทข้ามชาติ องค์กรเอกชน ตัวแสดงเหล่านี้นับว่าจะมีบทบาทมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์การระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นองค์การรวมประเทศสมาชิกจากทั่วโลก ที่จะมาร่วมปรึกษาหารือรักษาผลประโยชน์ร่วมกัน

เช่นนโยบายการคลัง ซึ่งเป็นเครื่องมือหนึ่งของรัฐบาลจึงต้องปรับเปลี่ยนไป เพื่อให้สอดคล้องกับกระแสโลกดังกล่าว โดยเฉพาะการใช้นโยบายการคลังมาเป็นเครื่องมือในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ในกรณีที่โลกาภิวัตน์ส่งผลให้ตลาดเงินตลาดทุนผันผวนได้ง่ายขึ้น และทำให้คนตกงานมากขึ้น และในกรณีที่กระแสโลกาภิวัตน์สามารถทำให้สังคมการดำรงอยู่ของคนแบบเดิมเปลี่ยนไป และมีการทำลายสิ่งแวดล้อมข้ามชาติมากขึ้น

นโยบายการคลังจึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิตและสังคมของประชาชนให้ดียิ่งขึ้น รวมทั้งต้องเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการกระจายรายได้ของคนจนกับคนรวย จากผลกระทบของโลกาภิวัตน์ที่ยิ่งทำให้ความแตกต่างรายได้เพิ่มขึ้น โดยมีรายละเอียดดังนี้

ประการแรก ในด้านรายได้ กระแสโลกาภิวัตน์ที่ทำให้การค้าและการลงทุนระหว่างประเทศมีการเชื่อมโยงมากขึ้น จะทำให้ประเทศต่างๆ แข่งกันลดภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีศุลกากร เพื่อดึงดูดนักลงทุนจากต่างประเทศ ดังนั้น ในอนาคตรัฐบาลจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษี หรือขยายฐานภาษีเดิมให้ใหญ่ขึ้น ในขณะเดียวกัน ก็จะต้องพยายามหาภาษีประเภทใหม่ๆ เพื่อเข้ามาทดแทนรายได้ที่สูญเสียไป

ตัวอย่างฐานภาษีใหม่ๆ ที่น่าจะนำมาใช้ในยุคกระแสโลกาภิวัตน์ ได้แก่ ภาษีสิ่งแวดล้อม ภาษีการบริโภคที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือต่อสังคม ที่เรียกกันว่า ภาษีบาป (Sin tax) และภาษีมรดก เพราะนอกจากภาษีประเภทใหม่ๆ นี้ จะช่วยเพิ่มรายได้ให้กับรัฐบาลแล้ว ยังช่วยดูแลสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของคนให้ดียิ่งขึ้น รวมทั้งช่วยลดช่องว่างระหว่างคนรวยคนจน

ประการที่สอง ด้านรายจ่าย ในอนาคตภาครัฐควรจะต้องให้ความสำคัญกับการใช้จ่ายเพื่อแก้ปัญหาความยากจนและสังคมมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำให้คนยากคนจนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และต้องสร้างตาข่ายรองรับทางสังคม (Social safety net) เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโลกาภิวัตน์ เช่น การตกงาน

ในขณะที่ภารกิจของรัฐแบบเดิมๆ เช่น การจัดโครงสร้างสาธารณูปโภค เช่น ถนนหนทาง ก็ยังคงต้องดำเนินการอยู่ อย่างไรก็ตาม เพื่อให้รัฐบาลมีเงินเหลือ (Fiscal space) มาดูแลคนยากคนจนและสังคมมากขึ้น รัฐบาลควรจะให้ภาคเอกชนเข้ามาเป็นหุ้นส่วนภาครัฐในการลงทุน และดำเนินการด้านโครงสร้างสาธารณูปโภคมากขึ้น (public-private partnership)

ประการที่สาม ในเรื่องการบริหารหนี้สินทรัพย์สินของภาครัฐ คงจะมีความยากลำบากมากขึ้นในยุคที่ตลาดเงินตลาดทุนผันผวน เนื่องจากต้นทุนในการกู้เงินจะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตามตลาดการเงินโลกที่ขึ้นๆ ลงๆ ตลอดเวลา อย่างไรก็ตาม นวัตกรรมทางการเงินใหม่ๆ เช่น การแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (Securitization) และการใช้ option น่าจะสามารถนำมาใช้จัดการบริหารทรัพย์สินหนี้สินของภาครัฐให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

แม้ว่าบทบาทของนโยบายการคลังจะเพิ่มขึ้นท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์นี้ แต่ภาครัฐโดยรวมไม่จำเป็นต้องมีขนาดใหญ่ขึ้นเสมอไป เพราะรัฐบาลส่วนกลางสามารถกระจายอำนาจบางส่วนไปให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดการมากขึ้น โดยเฉพาะบริการสาธารณะขั้นพื้นฐาน ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นน่าจะรู้ความต้องการของคนในท้องถิ่นได้ดีกว่า

นอกจากนั้น ท้องถิ่นควรจะต้องมีบทบาทในเรื่องการแก้ไขปัญหาความยากจนและปัญหาสังคมมากยิ่งขึ้น เนื่องจากการเคลื่อนย้ายของคนในกระแสโลกาภิวัตน์ในอนาคต จะทำให้เกิดชุมชนเมืองใหม่ๆ เกิดขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาความแออัด ปัญหาสลัม ปัญหาสังคมในแต่ละท้องถิ่น

สิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งในการปฏิรูปนโยบายการคลังท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์ที่กล่าวมาข้างต้น จำเป็นจะต้องอยู่บนพื้นฐานของการมีคุณธรรมและมีธรรมาภิบาลที่ดี กล่าวคือ จะต้องมีกฎเกณฑ์ กฎหมาย ที่ชัดเจนและเป็นธรรม (Rule of law) มีการเปิดเผยข้อมูลการคลังที่โปร่งใส (transparency) เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลการคลังได้สะดวกขึ้น ทำให้เกิดความรับผิดรับชอบที่ชัดเจน (accountability) และจะต้องให้ประชาชนมีช่องทางในการเข้ามามีส่วนร่วม (participation) เช่น การเสนอความเห็น การไต่สวน โดยเฉพาะในกระบวนการตรวจสอบการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมากยิ่งขึ้น

4. ผลเสียของโลกาภิวัตน์

4.1 ความเหลื่อมล้ำของรายได้มีมากขึ้นทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ

4.2 ผลกระทบด้านจริยธรรมและศีลธรรม

4.3 ผลกระทบต่อความมั่นคงของมนุษย์ เป็นความมั่นคงในบริบทของการอยู่ดีกินดี การพัฒนาที่ยั่งยืน

4.4 วิกฤติด้านอัตลักษณ์และวัฒนธรรม เกิดการปะทะกันในวิถีปฏิบัติของคน ๆ ละเผ่าพันธุ์ คนละเชื้อชาติซึ่งสลายได้ด้วยความสัมพันธ์ระหว่างประเทศให้เกิดวัฒนธรรมโลก 

4.5 การถูกละเลยทอดทิ้งจากระบบสังคม

4.6 การพัฒนาไม่ยั่งยืน บริโภคและใช้ทรัพยากรอย่างไม่จำกัด

ผลลบเหล่านี้เกิดจากการแข่งขันกันมากเกินไป ถ้าใช้นโยบายต่างประเทศที่ประสานกันข้ามภูมิภาคข้ามประเทศอาจทำให้สภาวะเหล่านี้ดีขึ้น

ยุคโลกาภิวัตน์ อาจจะมิใช่ยุคที่ดีที่สุดในการพัฒนาของโลกโดยภาพรวม เพราะหากยุคนี้เป็นตัวแทนของการรวมตัวเป็นบริษัทข้ามชาติ เป็นธุรกิจขนาดใหญ่มหาศาล และเป็นยุคที่ผู้ด้อยโอกาสมิได้รับความเสมอภาคตามสิทธิของตนเองแต่เพียงลักษณะเดียวแล้ว ยุคนี้จะเป็นยุคที่ทำลายองค์กร ธุรกิจ กลุ่มงานขนาดเล็กให้สลายตัวไปได้ในไม่ช้า และส่วนเล็กๆ หลายส่วน เช่น สถาบันครอบครัว  ธุรกิจขนาดย่อม ชุมชนเล็กๆ ก็จะอยู่มิได้ไปด้วย  ซึ่งอันที่จริงในยุคนี้ต้องคำนึงถึงหน่วยย่อย ธุรกิจย่อย ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของแต่ละสังคมด้วยสิ่งเล็กๆ เหล่านั้น มีความดีงาม ความพอดี เป็นหลักแฝงอยู่ (Small is beautiful)\

โดยสรุปยุคโลกาภิวัตน์ เป็นยุคที่วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และวิธีการจัดการสมัยใหม่ โดยเฉพาะการคมนาคม ขนส่ง ติดต่อสื่อสาร เป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้สามารถดำเนินกิจการต่างๆ ได้รวดเร็ว สะดวก มีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การบริหารในยุคนี้มุ่งลดต้นทุนการผลิตเพิ่มปริมาณและคุณภาพสิ่งผลิต และการบริการที่ดี  ให้กระจายไปอย่างขว้างขวางได้ โดยใช้บุคลากรบริหาร ควบคุม ดูแล ไม่มาก อย่างไรก็ตาม เรื่องของการพัฒนาบุคลากรให้รู้เท่าทัน และสามารถใช้เครื่องมือเครื่องใช้ที่ช่วยอำนวยความสะดวกต่างๆ บนฐานของจิตใจที่เป็นไปทางสร้างสรรค์มากกว่าการเอาเปรียบ ยังเป็นเรื่องสำคัญมาก ในอนาคตที่สำคัญที่สุด นักบริหารที่เก่งจริงนั้นน่าจะได้แก่นักบริหารที่สามารถคาดการณ์ไกลได้ชัดเจน  ทำงานให้สำเร็จโดยลงทุนพอสมควรใช้   ยุทธศาสตร์และเทคโนโลยีที่เหมาะสม ทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด แต่งานนั้นให้ประโยชน์ทางสร้างสรรค์แก่องค์กรของตนเองและแก่ส่วนรวมมากที่สุด

รัฐบาลได้คิดค้นนโยบายคู่ขนาน หรือ Dual Track Policy ที่ให้ความสำคัญแก่การสร้างความเข้มแข็งแก่เศรษฐกิจภายในประเทศ ควบคู่ไปกับการคงการเปิดกว้างสู่เศรษฐกิจโลก รัฐบาลต้องแก้ไขความไม่สมดุลในอดีตที่เน้นการพึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก และละทิ้งการปูฐานทางเศรษฐกิจภายในประเทศ โดยการพัฒนาความเข้มแข็งจากภายในของสังคมและฟื้นฟูจากชนชั้นรากหญ้าขึ้นไป ด้วยเชื่อว่า เมื่อภาครากหญ้าและชุมชนชนบทมีความมั่งคั่ง การบริโภคภายในประเทศจะเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งชุมชนเหล่านี้จะต้องได้รับการฟื้นฟูความเข้มแข็ง โดยให้การสนับสนุนทางการเงินและความรู้

การให้การสนับสนุนทางการเงิน หมายถึงการให้โอกาสแก่คนยากจนในการเข้าสู่ตลาดทุน และการตระหนักถึงมูลค่าที่มีอยู่ของสินทรัพย์ทั้งที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้  ดังนั้น ระบบการเงินรายย่อย หรือ microfinance จึงเป็นหัวใจสำคัญของนโยบายคู่ขนาน  ส่วนการให้การสนับสนุนทางวิชาการ ความรู้ นั้นหมายถึงการนำความรู้ความสามารถดั้งเดิมมาใช้ร่วมกับการบริหารจัดการที่ทันสมัย การตลาด และวิธีการผลิต ซึ่งรัฐบาลได้ริเริ่มโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ หรือ OTOP เพื่อเพิ่มผลตอบแทนให้แก่ทุนทางทรัพย์สินทางปัญญา และเพื่อเพิ่มมูลค่าแก่สินค้าท้องถิ่น โดยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่ วิธีการผลิต การบริหารจัดการ และทักษะด้านการตลาดในการเชื่อมโยงสินค้าชุมชนกับตลาดโลก นอกจากนี้ OTOP ยังนำมาซึ่งความเป็นผู้นำและความภาคภูมิใจอีกด้วย

ระบบการเงินรายย่อยและแนวทางทางการตลาดเพื่อขจัดความยากจน และการพัฒนานั้นประสบความสำเร็จทั้งในทฤษฎีและปฏิบัติ ประเทศไทยได้ใช้หลักการดังกล่าวควบคู่ไปกับความเข้าใจถึงความจำเป็นและศักยภาพที่เป็นหนึ่ง และประสบความสำเร็จ บรรลุเป้าหมายโดยไม่สร้างภาระทางงบประมาณแก่รัฐบาล ทั้งนี้ ความสำเร็จส่งผลให้ไทยฟื้นตัวจากวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจและผลกระทบทางสังคมจากวิกฤติการณ์ทางการเงินของเอเชียในปี 1997 ขณะเดียวกัน รัฐบาลได้เล็งเห็นผลการดำเนินการที่สำคัญที่จะนำไปสู่เป้าหมายของรัฐบาลที่จะขจัดความยากจนให้หมดสิ้นไปก่อนสิ้นทศวรรษนี้

 นอกจากนี้ โครงการดังกล่าวยังก่อให้เกิดการเติบโตทางรายได้แก่ชนบทอย่างมหาศาล และส่งผลให้ยอดการเก็บภาษีรายได้บุคคลนอกกรุงเทพฯพุ่งสูงขึ้น ร้อยละ 10.1 ในปี 2002 และร้อยละ 11.1 ในปี 2003 ตามลำดับ ในการนี้ จากความสำเร็จดังกล่าว นโยบายคู่ขนานของไทยได้รับการยอมรับว่าเป็นแนวทางที่ประสบความสำเร็จและเป็นหนึ่งเดียว โดยทั้งประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนาต่างเห็นว่าประสบการณ์ของไทยเป็นยุทธศาสตร์เพื่อความอยู่รอดและรับมือกับโลกโลกาภิวัตน์ นอกจากนี้ ในการผลักดันนโยบายการสร้างความเข้มแข็งทางการเงินในระดับรากหญ้า รัฐบาลได้ตระหนักถึงสิ่งสำคัญประการหนึ่งคือ ท้องถิ่นชนบทของไทยและชุมชนรากหญ้าไม่เป็นเพียงแหล่งของความยากจน แต่สามารถเป็นแหล่งของความรุ่งเรืองในอนาคตได้เช่นเดียวกัน และสิ่งสำคัญที่สุด คือ การเปลี่ยนคนยากจนในชนบทที่เป็นภาระสังคม ให้เป็นกำลังการผลิตสำคัญในการส่งเสริมการเติบโตของประเทศ
นอกจากจุดมุ่งหมายหลักของโครงการรากหญ้าภายใต้นโยบายคู่ขนาน (Dual Track Policy) คือ การแก้ไขปัญหาความยากจนแล้ว นโยบายเศรษฐกิจประเทศที่อยู่บนพื้นฐานของการฟื้นชีวิตให้กับรากหญ้านั้น ยังได้เอื้อประโยชน์ในด้านอื่นๆ ดังนี้

ประการแรก   นโยบายได้ปลดปล่อยความเป็นผู้ประกอบการและทุนทางปัญญา ที่สั่งสมอยู่ในวิชาชีพในชนบทและทักษะฝีมือของชาติที่ตกทอดกันมา

ประการที่สอง   โครงการที่มีการเชื่อมโยงกันได้ส่งผลกระทบทวีคูณ โดยการผนวกเอาทักษะที่มีอยู่แล้วกับการบริการทางการเงินสมัยใหม่  สินค้า เทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งการบริหารจัดการที่ทันสมัยและความชำนาญทางการตลาด

ประการที่สาม  เศรษฐกิจของประเทศมีความยืดหยุ่นและเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น  เป็นผลจากการขยายฐานทางเศรษฐกิจให้หลากหลาย

ประการที่สี่  โอกาสทางเศรษฐกิจและการกระตุ้นรากหญ้า ทำให้เข้าถึงประชาชนทั่วประเทศจำนวนมาก มากกว่าการกระตุ้นกิจกรรมอุตสาหกรรม ที่กระจุกตัวอยู่ในพื้นที่ในเมืองเท่านั้น

ประการที่ห้า  กิจกรรมระดับรากหญ้า ยังลดการนำเข้าเทคโนโลยี วัตถุดิบและส่วนประกอบ ส่งผลกระทบเพียงเล็กน้อยต่อดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัด

ประการสุดท้าย  เศรษฐกิจระดับรากหญ้าที่มีเสถียรภาพ และสามารถเชื่อมโยงกับภาคธุรกิจที่แท้จริงอื่นๆ จะทำให้ภาครัฐได้รายได้แก่เพิ่มมากขึ้น  ซึ่งสามารถนำกลับไปสนับสนุนโครงการพัฒนาทั้งในระดับชาติและระดับชุมชน

5. โลกาภิวัตน์ โดยเฉพาะโลกาภิวัตน์เป็นกระแสโลกภายนอกที่มีความสำคัญต่อนโยบายภายในประเทศมาก เช่น

5.1 การพัฒนา หลายประเทศมีการพัฒนาแล้วปล่อยสารพิษไปทำลายก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน และสนธิสัญญาเรื่องภาวะโลกร้อน ประเทศอุตสาหกรรมไม่ยอมเซ็นสัญญา แต่กลับให้ประเทศกำลังพัฒนาเซ็นสัญญาก่อน เช่น ประเทศเกษตรกรรมถูกประเทศพัฒนาแล้วมองว่าปล่อยก๊าซมีเทนทำให้โลกร้อน ในขณะที่ประเทศตัวเองเป็นประเทศอุตสาหกรรมกลับมองว่าประเทศตัวเองไม่ได้ก่อปัญหา ปัญหานี้เป็นปัญหาของการพัฒนาในยุคโลกาภิวัตน์ที่ทุกสังคมกำลังนำมาขับเคลื่อนเป็นนโยบายที่ป้องกันหรือหามาตรการในการแก้ปัญหาโลกร้อน

5.2 การแข่งขันการค้าเสรี เช่น ปัญหาการร่างพ.ร.บ.ค้าปลีกที่เกี่ยวข้องกับกระแสทุนนิยมข้ามชาติของต่างประเทศยักษ์ใหญ่ต่าง ๆซึ่งจะส่งผลกระทบกับการค้าปลีกภายในประเทศ ดังนั้นถ้าพ.ร.บ.นี้ร่างออกมาแล้วก็จะกระทบกับทุนท้องถิ่น/ชุมชน เป็นเหตุให้คนในท้องถิ่นออกมาคัดค้าน พ.ร.บ.ฉบับนี้เพื่อให้กระบวนการร่างพ.ร.บ.ค้าปลีกนึกถึงทุนในประเทศให้มากขึ้น

5.3 การบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยา โดยกระทรวงสาธารณะสุขพยายามขับเคลื่อนอยู่ในปัจจุบัน เราต้องการซื้อยาในราคาถูกหรือจะผลิตยาเองนั้นสามารถกระทำได้ แต่เนื่องจากติดอยู่กับสิทธิบัตรยาต่างๆ ทำให้ประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายต้องลุกขึ้นต่อสู้คัดค้านกับทุนต่างชาติโดยเฉพาะอเมริกา

5.4 การทำนโยบายการค้าเสรี หรือ FTA เป็นนโยบายสาธารณะ/สภาพแวดล้อมโลกาภิวัตน์ เมื่อ WTO ขับเคลื่อนไม่สำเร็จจึงให้มีการให้เจรจาระหว่างผู้ค้า 2 ประเทศ โดยการเจรจาเป็นคู่ ๆไป ประเทศไทยได้ตกลงทำ FTA กับประเทศออสเตรเลีย จีน ญี่ปุ่น อินเดีย เห็นว่าเราผลิตสู้ประเทศเหล่านี้ไม่ได้ แต่เราสามารถซื้อสินค้าในราคาที่ถูกได้ แต่ด้อยคุณภาพดี เช่น อเมริกาตรวจพบว่ายาสีฟันของจีนมีสารปนเปื้อนที่ก่อให้เกิดมะเร็ง

จากตัวอย่างนี้ชี้ให้เห็นว่า นี่คือปัจจัยสภาพแวดล้อมโลกาภิวัตน์ที่มีผลต่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะภายในประเทศ

จะเห็นว่าทั้งผู้ได้รับผลกระทบ (Stakeholder) สภาพแวดล้อม (Environment) และนโยบาย สาธารณะ (Public Policies) มีส่วนสำคัญเกี่ยวโยงสัมพันธ์กันตลอดเวลา นโยบายอาจจะเปลี่ยนจากสภาพแวดล้อม / Stakeholder หรือนโยบายอาจจะถูกกำหนดจากสภาพแวดล้อมหรือ Stakeholder เพราะฉะนั้นทั้ง 3 ตัวนี้เป็นทั้งตัวแปรต้นและตัวแปรตาม เช่น นโยบายเป็นตัวแปรตามของสภาพแวดล้อมและ Stakeholder ในขณะเดียวกันนโยบายก็เป็นตัวแปรต้นของตัวอื่น ๆด้วย

เช่น การมีห้างสรรพสินค้าใหญ่ ๆของต่างชาติเข้ามาตั้งในต่างจังหวัด จะเห็นว่า Stakeholder นั้นตั้งรับไม่ทัน แต่อย่างไรก็ตามประชาชนก็อยากรับเพราะว่าสะดวกซื้อ แต่จะส่งผลกระทบกับร้านโชห่วยที่ต้องเปลี่ยนไปประกอบอาชีพอื่น

การทำ FTA กับจีน  ผู้ที่ได้ผลกระทบ (Stakeholder) จากนโยบายนี้ คือ ชาวไร่ในภาคเหนือ การทำ FTA ที่ผ่านมาแม้กระทั่งเราไม่รู้ว่าเราทำ FTA กับประเทศใด ประชาชนมีความรู้น้อยมาก มีเพียงข้าราชการ/นักการเมืองไม่กี่คนที่รู้  ในขณะที่ประชาชนไม่มีใครรู้ มารู้จริง ๆเมื่อมีการถกเถียงกันเมื่อทำ FTA กับญี่ปุ่น นอกนั้นประชาชนไม่รู้อะไรเลย  นี่คือนโยบายสาธารณะที่ถูกขับเคลื่อนออกมาจากเบื้องบนลงสู่เบื่องล่าง (Top Down Policy) ไม่ใช่จากเบื้องล่างสู่เบื้องบน (Bottom Up Policy) เพราะฉะนั้น Policy Stakeholder คือ ผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดและต้องขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะต่อไป ล้วนเป็นนโยบายสาธารณะที่สำคัญทั้งสิ้น แต่เราไม่ค่อยได้รับรู้เกี่ยวกับผลกระทบของนโยบายเหล่านี้ ดังนั้น เราจะต้องรู้และติดตามข่าวอยู่ตลอดเวลา ข่าวหน้าหนังสือพิมพ์ล้วนเป็นนโยบายสาธารณะทั้งสิ้น เราต้องติดตามว่าเป็นนโยบายสาธารณะอะไร สำคัญอย่างไร อยู่ในกระบวนการใด สภาพแวดล้อมเกี่ยวข้องกับนโยบายสาธารณะอย่างไร

กรณีศึกษาประเทศฝรั่งเศส 10 ปีย้อนหลังไปก่อนที่จะมีวันนี้ ได้มีการเตรียมเกษตรกรก่อนตัดสินใจทำนโยบายสาธารณะในกระแสการแข่งขันและเปิดเสรี โดยการให้ความรู้และสนับสนุนเกษตรกรทั้งประเทศ เกษตรกรทำอะไรดีก็ให้พัฒนาสิ่งนั้นให้ดีที่สุด จะเห็นว่าในปัจจุบันไม่มีใครแข่งกับประเทศเขาได้ เกษตรกรในยุโรปพร้อมที่จะแข่งขัน เพราะเขาทำดีที่สุดด้วยความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ที่ผ่านมา นี่คือการเตรียมตัวของภาครัฐที่มองการณ์ไกลของการเปลี่ยนแปลงในกระแสโลกาภิวัตน์

7. ประชาสังคม (Civil Society)

1. ความหมายของประชาสังคม (Civil Society)

คำว่า "ประชาสังคม" มาจากภาษาอังกฤษว่า Civil Society และมีผู้ใช้คำภาษาไทยเทียบเคียงกันหลายคำ อาทิ "สังคมประชาธรรม" (ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม) "สังคมราษฎร์" (เสน่ห์ จามริก) "วีถีประชา"(ชัยอนันต์ สมุทวณิช ใช้คำนี้โดยมีนัยยะของคำว่า Civic movement) "อารยสังคม" (อเนก เหล่าธรรมทัศน์) และ"สังคมเข้มแข็ง"(ธีรยุทธ บุญมี) เป็นต้น ทั้งนี้ นักวิชาการสำคัญ ๆ ของสังคมไทยได้อธิบายขยายความคำว่า "ประชาสังคม" หรือ Civil Society นี้ในบริบทเงื่อนไขที่แตกต่างกัน ดังนี้

1.1 ประเวศ วะสี (2539) ให้ความหมายว่า ประชาคม หมายถึง การที่ประชาชนจำนวนหนึ่งมีวัตถุประสงค์ร่วมกัน มีอุดมคติร่วมกัน หรือมีความเชื่อร่วมกันในบางเรื่อง มีการติดต่อสื่อสารกัน หรือมีการรวมกลุ่มกัน มีความเอื้ออาทรต่อกัน มีความรัก มีมิตรภาพ มีการเรียนรู้ร่วมกันในการปฏิบัติบางสิ่งบางอย่าง และมีการจัดการในระดับกลุ่ม  

1.2 ชัยอนันต์   สมุทรวณิช (2539) ใช้ศัพท์ว่า วิถีประชา    หมายถึง การรวมกลุ่มขององค์กรต่างๆ ในเอาตัวกิจกรรมเป็นศูนย์กลางปราศจากการจัดตั้ง   ซึ่งเน้นกระบวนการการมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมพัฒนาทุกฝ่าย   ในระดับพื้นที่อาจเป็น จังหวัด    อำเภอ   ตำบล   หมู่บ้าน หรือ พื้นที่ในเชิงเศรษฐกิจ   เช่น พื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก เป็นต้น

1.3 ธีระยุทธ   บุญมี (2536) ใช้คำว่า ประชาสังคม โดยให้ความหมายในลักษณะสังคมเข้มแข็ง หมายถึง พลังทางสังคมที่มาจากทุกส่วนอาชีพ   ทุกระดับรายได้   ทุกภูมิภาคของประเทศ   ซึ่งหากแม้นว่าสังคมโดยรวมมีความเข้มแข็ง นักธุรกิจ   พ่อค้า ประชาชน นักศึกษา และปัญญาชน ก็จะสามารถร่วมผลักดันสังคมและแก้ปัญหาต่างๆที่เป็นพื้นฐาน   สังคมก็จะสามารถเปลี่ยนแปลงได้ 

1.4 ชูชัย   ศุภวงศ์ (2540) ให้ความหมายของ  ประชาสังคม  ว่า  หมายถึง การที่ผู้คน   สังคม  สภาพการณ์  หรือสภาพปัญหาในสังคมที่สลับซับซ้อนยากแก่การแก้ไข  รวมตัวกันโดยมีวัตถุประสงค์ร่วมกันในการนำไปสู่การก่อจิตสำนึก (Civic  consciousness)  ร่วมกันเป็นกลุ่มหรือ องค์กร (Civic  group) ทั้งภาครัฐและ ภาคธุรกิจเอกชน  หรือ ภาคสังคม (ประชาชน) ในลักษณะเป็นทุนร่วมกัน  เพื่อแก้ปัญหาหรือกระทำการบางอย่าง  เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ทั้งที่ด้วยความรัก  ความสมานฉันท์เอื้ออาทรต่อกันภายในระบบการบริหารจัดการโดยมีการเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย

1.5 ประชาสังคม คือ พื้นที่การเมืองสาธารณะ(Public sphere) ของประชาชนซึ่งกำเนิดมาจากการก่อตัวของวัฒนธรรมคนชั้นกลาง และขยายปริมณฑลไปสู่ชนชั้นนำ กลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ ที่หลากหลาย และสนใจเข้าร่วมในพื้นที่การเมืองสาธารณะนี้ ดังนั้นประชาสังคม จึงเป็นพื้นที่ที่เกิดกิจกรรม มิได้หมายถึงประชาชนทั้งหมด หรือสังคมทั้งหมด ที่ไม่ได้มีการเคลื่อนไหวทางการเมืองสาธารณะ

1.6 ประชาสังคม คือ กระบวนการของประชาชนในการสร้างพื้นที่การเมืองสาธารณะของตนเองโดยไม่ตกอยู่ภายใต้พื้นที่การเมืองของรัฐ (Political society) ของทุน ดังนั้นประชาสังคมจึงต้องเป็นอิสระจากรัฐและทุน

1.7 ประชาสังคม คือ เวทีแห่งการต่อสู้ทางอุดมการณ์ของฝ่ายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทุนนิยม สังคมนิยม โดยรัฐหรือทุนที่พยายามครอบงำพื้นที่ดังกล่าว แต่ไม่สามารถครอบงำได้ทั้งหมด เวทีแห่งนี้จึงมีความหลากหลาย ซับซ้อน ทั้งขัดแย้งและร่วมมือขึ้นอยู่กับยุทธศาสตร์ การต่อสู้ของฝ่ายต่างๆ ซึ่งอาจจะใช้ความรุนแรง หรือสันติวิธีก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพของประชาสังคมนั้นๆ ประชาสังคมจึงไม่ได้มีความหมายเป็นเวทีแห่งความสมานฉันท์อย่างเดียว

จากแนวคิดประชาสังคมดังกล่าว  ข้างต้นนั้นเห็นว่า นิยามและความหมายของประชาสังคม (Civil   Society) จึงน่าจะหมายถึง   กระบวนการในการสร้างสำนึกรับผิดชอบและความร่วมมือของบุคคลและองค์กรเพื่อแก้ปัญหาและ ศีลธรรม เศรษฐกิจ สังคมและการเมือง   ตอลดถึงกรจัดสรรทรัพยากรและการบริหารชุมชนและสังคม    ซึ่งเราอาจนำมาประยุกต์ในการดึงเอาสถาบันทางพระพุทธศาสนาเข้ามาพัฒนาชุมชนอีกทางหนึ่งด้วย

จากตัวอย่างความหมาย และแนวคิดข้างต้นจะ เห็นถึงความต่าง ความเหมือน และการวางน้ำหนักในการอธิบายที่แตกต่างกันออกไป อย่างไรก็ดี จะสังเกตได้ว่าคำอธิบายจากนักคิด นักวิชาการของไทยในข้างต้น เป็นคำอธิบายที่วางอยู่บนพื้นฐานของสถานการณ์หรือ บริบทของสังคมไทยร่วมสมัย (Contemporary Situation) อีกทั้งยังมีลักษณะของความคาดหวังต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยในอนาคตทั้งสิ้น ซึ่งที่จริงปรากฏการณ์นี้ ก็ไม่ต่างไปจากประเทศในซีกโลกตะวันตกแม้แต่น้อย อย่างไรก็ดี ความเคลื่อนไหวเรื่องประชาสังคมในประเทศตะวันตกนั้น ก้าวหน้าและเป็นรูปธรรมกว่าในเมืองไทยมากนัก อีกทั้งกระแสการรื้อฟื้น "ความเป็นประชาคม" หรือ "ความเป็นชุมชน" ในความหมายใหม่นั้นดูจะเป็นทางออกที่ลงตัวสำหรับสังคมที่มีความพร้อมของ "พลเมือง" จริง ๆ

หากพิจารณาถึงความลึกซึ้ง ของแนวคิดภายใต้กระแสงการสร้างชุมชนดังกล่าว จะพบว่า ชุมชนในที่นี้ หมายถึงชุมชนแห่งสำนึก (Conscious community) ที่สมาชิกของชุมชน ต่างเป็นส่วนหนึ่งของระบบ โดยรวมที่มีความสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่น อาจจะด้วยพื้นฐานของระบบคุณค่า เก่าหรือเป้าประสงค์ใหม่ของการเข้ามาทำงานร่วม ดังนั้น คำว่า "ประชาคม" หรือ "ชุมชน" จึงอาจมีขนาดและลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ตั้งแต่บริษัทขนาดเล็ก บริษัทหนึ่ง ถนนสายหนึ่ง หมู่บ้าน ๆ หนึ่ง เมือง ๆ หนึ่ง หรือกลุ่มสนใจเรื่องๆ หนึ่ง เป็นต้น ความเป็นชุมชนจึงมีลักษณะเป็นพลวัตที่บุคคลและกลุ่มคนต่างมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมที่สนใจร่วมกัน มีความสัมพันธ์และตัดสินใจร่วมกัน โดยมีพันธะ เชื่อมโยงกับระบบใหญ่ บนพื้นฐานแห่งความเป็นอยู่ที่ดีร่วมกันและหัวใจสำคัญอันหนึ่ง ที่จะเป็นเงื่อนไขของการสร้าง ความเป็นชุมชนที่แข็งแรงก็คือ การสื่อสาร (Communication) นั่นเอง

 กระแสการรื้อฟื้นชุมชนเป็นกระแสที่เกิดขึ้นท่ามกลางวิกฤติที่โครงสร้างของรัฐชาติไม่สามารถเข้ามาจัดการได้ ในขณะเดียวกัน ความเป็นเสรีชน ก็อ่อนแอเกินไป ต่อวิกฤติที่สลับซับซ้อน การเกิดขึ้นของชุมชนไม่ใช่การสร้างให้เกิดขึ้น หากแต่เป็นเพราะความจำเป็นที่ต้องเกิดขึ้น ทั้งนี้เพื่อเข้ามา เติมเต็มช่องว่างระหว่างรัฐและพลเมือง

ดังนั้นจึงพอสรุปความหมายของ ประชาสังคม (Civil Society) มีดังนี้

1. ส่วนหนึ่งของสังคมที่ไม่ใช่ภาครัฐ ซึ่งดำเนินงานภายใต้กฎหมาย แต่ไม่ใช่ภาคธุรกิจที่มุ่งแสวงหาผลกำไร

                2. เครือข่าย กลุ่ม ชมรม สมาคม มูลนิธิ สถาบันและชุมชน ที่มีกิจกรรมหรือมีการเคลื่อนไหวอยู่ระหว่างรัฐ กับ ปัจเจกชน

                3. ทุกภาคส่วนของสังคม โดยรวมถึงภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคสังคม โดยทุกฝ่ายเข้าร่วมดำเนินกิจกรรมในลักษณะPartnership และยึดตัวกิจกรรมเป็นศูนย์กลาง

4. ประชาสังคม หมายถึง ส่วนตัวเพื่อส่วนรวม

2. การจัดกลุ่มประชาสังคม

ประชาสังคมอาจแยกเป็นกลุ่มใหญ่ได้ 2 กลุ่มดังนี้

2.1 ประชาสังคมแบบเป็นทางการ หมายถึง เครือข่าย กลุ่ม ชมรม สมาคม มูลนิธิ สถาบันและชุมชน ซึ่งมีการจดทะเบียนอย่างเป็นทางการ                    เช่น กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม กลุ่มกรีนพีช (Green peace) สมาคมชาวไร่อ้อย มูลนิธิไทยอาสาป้องกันชาติ เป็นต้น

2.2 ประชาสังคมแบบไม่เป็นทางการ หมายถึง กลุ่มคนที่มีความต้องการหรือประสบปัญหาในเรื่องเดียวกัน ออกมารวมตัวกันเพื่อเรียกร้อง                     ความเป็นธรรมเพื่อกลุ่ม เพื่อส่วนรวม ออกมาแสดงความคิดเห็นเป็นครั้งคราว เช่น ม็อบเกษตร กลุ่มนปช. (ม็อบเสื้อแดง) กลุ่มพันธมิตรฯ (เสื้อเหลือง) เป็นต้น

3. ประชาสังคมกับการกำหนดนโยบายสาธารณะ

ประชาสังคม คือ พื้นที่การเมืองสาธารณะพลเมืองสามารถนำเสียงสิทธิ์ ออกมาเพื่อปกป้อง และมีความสำคัญในการกำหนดนโยบายสาธารณะในด้านต่างๆ เช่น

3.1 การออกเสียงประชามติ (ภาคประชาชนมีส่วนร่วม) เช่น

3.1.1 ประชาชนชาวแคนาดา ส่วนใหญ่พูดภาษาอังกฤษ ยกเว้น แคว้น Quebec ที่พูดภาษาฝรั่งเศส ผลของประชามติทำให้แคว้น Quebec ยังเป็นส่วนหนึ่งของประเทศแคนาดา

3.1.2 การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญปี 50

3.2 ประชาพิจารณ์ (Public hearing)

พลเมืองเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย เพื่อสร้างกรอบนำไปต่อรองกับส่วนราชการ เช่น ปัญหามลภาวะเป็นพิษในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด การสร้างโรงงานไฟฟ้าบ่อนอก-หินกรูดทำดีหรือไม่        การทำท่อก๊าซ ไทย-มาเลย์ดีหรือไม่  ในรัฐธรรมนูญปี 50 มาตรา 67 ระบุว่าในการกระทำนโยบาย ซึ่งส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม ต้องให้ชุมชนมีสิทธิ์ในการแสดงความคิดเห็นด้วย และ

ต้องทำ EIA ย่อมาจากคำว่า Environment Impact Assessment หรือ การประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งตามพระราชบัญญัติสิ่งแวดล้อมพ.ศ. ๒๕๓๕ ระบุว่า โครงการขนาดใหญ่ใด ๆทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทางเจ้าของโครงการจะต้องทำรายงานการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม หรืออีไอเอ ให้กับเจ้าหน้าที่รัฐเป็นคนตรวจสอบว่า จะมีมาตรการในการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นอย่างไร หากอีไอเอไม่ผ่านหรือสอบตก การทำโครงการนั้นก็ยังไม่สามารถเกิดขึ้นได้

และต้องทำ HIA ย่อมากจากคำว่า Health Impact Assessment หรือ การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ หมายถึง กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันในสังคมที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อให้ทุกฝ่ายได้ร่วมกันพิจารณาถึงผลกระทบทางสุขภาพ โดยมีการประยุกต์ใช้แนวทางและเครื่องมือที่หลากหลายในการระบุ คาดการณ์ และพิจารณาถึงผลกระทบด้านสุขภาพที่อาจจะเกิดขึ้นหรือเกิดขึ้นแล้วกับประชาชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

3.3 การนำเสนอกฎหมาย

แต่เดิม คณะรัฐมนตรีและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้นำเสนอกฎหมายเท่านั้น จนกระทั่ง ในปี 2540 รัฐบอกว่า ต่อไปให้ประชาชนจำนวน 50,000 คน โดยคนเหล่านั้นต้องใช้สิทธิ์ในการลงคะแนนเลือกตั้งส.ส. ต่อมารัฐธรรมนูญปี 2550 แก้ใหม่ ใช้ประชาชนเพียง 10,000 คนเท่านั้น ก็สามารถยื่นเสนอกฎหมายได้ตามมาตรา 163 และในการชี้แจงแต่ละครั้ง ต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีโอกาสในการชี้แจงด้วย

โดยสรุปเราอาจนิยามภาคประชาสังคมว่าเป็นพื้นที่ทางสังคมที่เป็นเอกเทศจากการถูกควบคุมโดยรัฐ และเป็นอิสระจากการแทรกแสวงหาประโยชน์ที่เป็นผลกำไรส่วนตัว เป็นพื้นที่สาธารณะที่ปัจเจกบุคคลและกลุ่มต่างๆ รวมตัวกันเป็นองค์กรด้วยความสมัครใจ สามารถแสดงออกและเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมที่หลากหลาย เพื่อสร้างสรรค์สังคมส่วนรวมให้ดีขึ้น

4. ภาคประชาสังคม - การเมืองภาคประชาชน

4.1 ความหมายของการเมืองภาคประชาชน

4.1.1 คำนิยามอย่างแคบ การเมืองภาคประชาชน หมายถึง การเคลื่อนไหวอย่างมีจิตสำนึกทางการเมืองของกลุ่มประชาชนเพื่อลดฐานะครอบงำของรัฐ รวมทั้งเพื่อโอนอำนาจบางส่วนมาให้ประชาชนใช้ดูแลชีวิตตนเองโดยตรง

 4.1.2 คำนิยามอย่างกว้าง  การเมืองภาคประชาชน คือ ปฏิกิริยาโต้ตอบการใช้อำนาจของรัฐและเป็นกิจกรรมถ่วงดุลอิทธิพลการครอบงำของระบบตลาดเสรีในภาคประชาชน

 4.2 กระบวนการการเมืองภาคประชาชน 

กระบวนการใช้อำนาจโดยตรงโดยประชาชนหมู่เหล่าต่าง ๆซึ่งมากกว่าการเลือกตั้ง และไม่น้อยไปกว่าการมีส่วนร่วมกำหนดนโยบายสาธารณะตลอดจนตัดสินใจเรื่องที่ส่งผลกระทบถึงตนเองและสังคม

การเมืองภาคประชาชนเป็นส่วนหนึ่งของการเคลื่อนไหวในประชาสังคมโดยทาบเทียบกับส่วนที่เป็นรัฐ ขณะที่ประชาสังคมรวมทุกส่วนที่ไม่ใช่ภาครัฐไว้ด้วยกัน

จุดหมายของการพัฒนาการเมือง คือ ลดระดับการปกครองโดยรัฐลง (Less government) และให้สังคมดูแลตนเองมากขึ้น โดยในสถานการณ์หนึ่ง ๆ จะมุ่งแสวงหาความสมดุลลงตัวในความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคมบนพื้นฐานระดับการแทรกตัวของรัฐเข้าไปในสังคมดังที่เป็นอยู่และขีดความสามารถของประชาชนในการจัดการดูแลแก้ปัญหาของตนเองที่เป็นจริง

ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองเพื่อจำกัดขอบเขตการใช้อำนาจของรัฐ ถ่วงดุลอำนาจรัฐด้วยประชาสังคมโดยไม่ยึดอำนาจ พร้อมกันนั้นก็ถ่วงดุลอำนาจของพลังตลาด หรือทุนซึ่งสังกัดประชาสังคมไปด้วย โดยช่วงชิงกับฝ่ายทุนเพื่อลดทอนและกำกับบทบาทของรัฐ แย่งกันโอนอำนาจบางส่วนที่เคยเป็นของรัฐมาเป็นของประชาชน(แทนที่จะตกเป็นของฝ่ายทุน)  เพื่อใช้มันโดยตรงและไม่ต้องผ่านรัฐดังก่อน, ผลักดันให้รัฐใช้อำนาจที่เหลือสนองเจตนารมณ์ประชาชน (แทนที่จะสนองผลประโยชน์ของฝ่ายทุน) ดำเนินการต่อสู้ด้วยวิธีขยายสิทธิประชาธิปไตยออกไปและย้ายจุดเน้นจากการเมืองแบบเลือกตั้งผู้แทนมาเป็นการเมืองแบบมีส่วนร่วม (ขณะที่ฝ่ายทุนใช้ตลาดเสรีเป็นฐานที่มั่นสำคัญ)

พลังพลวัตใหม่ของการเมืองภาคประชาชน ได้แก่ กลุ่มธุรกิจรายย่อมและคนชั้นกลางทั่วไปในสังคมเมืองซึ่งแตกต่าง ไม่วางใจ และอาจคัดค้านหรือปฏิเสธการตัดสินใจของกลุ่มทุนใหญ่ที่อยู่บนเวทีการเมือง กับกลุ่มปัญญาชนสาธารณะ สื่อมวลชนอิสระ และกลุ่มประชาชนผู้เสียเปรียบ

บุคลิกลักษณะของการเมืองภาคประชาชน เป็นระบอบประชาธิปไตยที่มุ่งประคับประคองและประนีประนอมความแตกต่างและความไม่ลงรอยกันในกระบวนการตัดสินใจทางการเมือง หรือ ระบบเศรษฐกิจการเมืองและวัฒนธรรมเสรีประชาธิปไตยที่ประชาชนมีส่วนร่วมโดยตรง หรือที่เรียกว่าประชาธิปไตยแบบเข้มข้น (Radical Democratic Movements) ของกลุ่มย่อยที่ค่อนข้างกระจัดกระจายเป็นไปเอง โดยปราศจากศูนย์บัญชาการมุ่งใช้สิทธิทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยมาแก้ปัญหาเฉพาะเรื่องเฉพาะจุด ไม่มีกรอบอุดมการณ์ตายตัวไม่ต้องการยึดอำนาจรัฐด้วยการโค่นอำนาจรัฐเก่าแล้วจัดตั้งอำนาจรัฐใหม่เพื่อเปลี่ยนแปลงจัดระเบียบโครงสร้างสังคมใหม่หมดตามแนวคิดแบบใดแบบหนึ่ง ถือกระบวนทัศน์เอาประชาชนเป็นตัวตั้ง (people-oriented)

 ดังนั้น จึงต่างจากขบวนปฏิวัติสมัยก่อนที่เอารัฐเป็นตัวตั้ง(state-oriented) และมุ่งยึดอำนาจรัฐมาคัดแปลงสังคมให้เป็นไปตามอุดมการณ์ที่ยึดมั่น ฉะนั้น การเคลื่อนไหวของกลุ่มต่างๆ ในการเมืองภาคประชาชน จึงมีประเด็นเรียกร้องต่อสู้ที่หลากหลายมากแนวทางการเคลื่อนไหวก็ไม่เห็นพ้องต้องกันเสียทีเดียว จุดร่วมที่มีอยู่คือประเด็นปัญหาเหล่านั้นล้วนเกิดจากระบอบอำนาจรัฐรวมศูนย์ส่วนกลาง และความจำกัดจำเขี่ยไม่พอเพียงของประชาธิปไตยแบบตัวแทนในเวทีรัฐสภา มากกว่าความเป็นเอกภาพของการเมืองภาคประชาชนเอง

4.3 ทิศทางและแม่แบบการเคลื่อนไหวการเมืองภาคประชาชน การเมืองภาคประชาชน มีทิศทางการเคลื่อนไหวใหญ่ๆ 4 แบบ คือ

4.3.1 ร้องทุกข์ เรียกร้องให้รัฐแก้ปัญหาที่ไม่ได้รับการเหลียวแล เช่น กรณีแม่ใหญ่ไฮ ขันจันทา

ร่วมกับสมัชชาคนจนและเอ็นจีโอกลุ่มต่างๆ ประท้วงเขื่อนห้วยละห้าท่วมที่นาทำกินนาน 27 ปี

4.3.2 มุ่งตรวจสอบกระบวนการใช้อำนาจรัฐ เช่น กรณีเครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชนตรวจสอบทุจริตยาอื้อฉาวในกระทรวงสาธารณสุข

4.3.3 ประท้วงอำนาจรัฐและเรียกร้องให้ถ่ายโอนอำนาจที่รัฐเคยมีมาเป็นของประชาชน เช่น กรณีร่างพ.ร.บ.ป่าชุมชนฉบับประชาชน การต่อต้านโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังถ่านหินที่บ่อนอก-หินกรูด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  การคัดค้านโครงการวางท่อก๊าซไทย-มาเลเซีย ของประชาชน อำเภอจะนะ จังหวัด สงขลา  การประท้วงนโยบายแปรรูปรัฐวิสาหกิจของสหภาพแรงงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิต และสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์  ฯลฯ

4.3.4 ร่วมมือเชิงวิพากษ์ (Critical co-operation) หรือเกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์ (constructive engagement) กับรัฐ เพื่อเบียดแย่งพื้นที่ในกระบวนการใช้อำนาจมาเป็นของประชาสังคม เช่น แนวทางการเคลื่อนไหวสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขาของหมอประเวศ วะสี เป็นต้น

 นับว่าการเคลื่อนไหวการเมืองภาคประชาชน โดยการประท้วงอำนาจรัฐและเรียกร้องให้ถ่ายโอนอำนาจที่รัฐเคยมีมาเป็นของประชาชน    สอดคล้องกับแนวทางถ่ายโอนอำนาจของรัฐไปสู่สังคมมากที่สุด  อีกทั้งเป็นการช่วงชิงฐานะได้เปรียบเสียเปรียบกับพลังตลาดทุนด้วยจึงอาจถือได้ว่าเป็นแม่แบบ  (Model)  ของการเมืองภาคประชาชน

กระแสการรื้อฟื้นชุมชนเป็นกระแสที่เกิดขึ้นท่ามกลางวิกฤติที่โครงสร้างของรัฐชาติไม่สามารถเข้ามาจัดการได้ ในขณะเดียวกัน ความเป็นเสรีชน ก็อ่อนแอเกินไป ต่อวิกฤติที่สลับซับซ้อน การเกิดขึ้นของชุมชนไม่ใช่การสร้างให้เกิดขึ้น หากแต่เป็นเพราะความจำเป็นที่ต้องเกิดขึ้น ทั้งนี้เพื่อเข้ามา เติมเต็มช่องว่างระหว่างรัฐและพลเมือง

5. ประชาสังคม พลังขับเคลื่อนสังคม

การเสริมสร้างวัฒนธรรมประชาธิปไตยควบคู่กับการบริหารจัดการที่ดีเพื่อสร้างสันติสุขและความเป็นธรรมในสังคมไทย สัญญาประชาคมใหม่ : พลังขับเคลื่อนสังคมสู่สมดุล

สังคมไทยในปัจจุบันเผชิญกับปัญหาความขัดแย้งที่ขยายวงกว้างและมีความเสี่ยงที่จะนำไปสู่การใช้ความรุนแรงเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเป็นข้อจำกัดของการพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้า เป็นสังคมที่สงบสุข แนวทางที่สำนักงานฯ เสนอเพื่อลดทอนความขัดแย้งและและนำสังคมไทยสู่ความร่มเย็นเป็นสุขอย่างยั่งยืน คือการสร้างสัญญาประชาคมใหม่ร่วมกันขึ้นในสังคมไทย

 สัญญาประชาคม หมายถึง ค่านิยมที่ประชาชนตกลงร่วมกันด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนและใช้เป็นแนวปฏิบัติร่วมกันในสังคมอย่างมีพลวัตรตามการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจและสังคม โดยเน้นการดำรงชีวิตตามวัฒนธรรมอันดีของไทยตามภูมิภาคต่างๆ ยึดถือหลักคุณธรรมและความเป็นธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตรักษาสิทธิของตนเองโดยไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น ปฏิบัติหน้าที่พลเมืองให้ครบถ้วนและมีจิตสาธารณะ ยึดหลักแก้ไขความขัดแย้งในสังคมด้วยสันติวิธี เพื่อให้ประชาชนสามารถอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ปลอดภัยและมีความมั่นคงในชีวิตและทรัพย์สินจากการวิเคราะห์สถานการณ์ความสงบสุขของประเทศ ซึ่งเป็นเงื่อนไขพื้นฐานของการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนผ่านดัชนีความสงบสุข ดัชนีความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคม ดัชนีสังคมประชาธิปไตยที่มีธรรมาภิบาล และดัชนีการบริหารจัดการที่ดี เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการแก้ไขปัญหา ลดความขัดแย้ง และสร้างความสงบสุขในสังคมไทย

แนวทางที่จะลดทอนความขัดแย้งดังกล่าว ต้องอาศัยกระบวนการพัฒนาสัญญาประชาคมใหม่ ที่จะต้องมีลักษณะเป็นพลวัตรสามารถแปรเปลี่ยนตามสภาพแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคมให้เหมาะสมตามยุคสมัยและต้องเป็นที่ยอมรับร่วมกันในสังคมไทย ดังนั้นการสร้างสัญญาประชาคมใหม่จึงจำเป็นต้องใช้กระบวนการและวิธีดำเนินการที่เป็นขั้นเป็นตอน ยึดประชาชนและพื้นที่เป็นตัวตั้งเพื่อนำไปสู่การตกลงร่วมกันของทุกภาคส่วนที่จะร่วมกันสร้างสังคมให้อยู่เย็นเป็นสุขภายใต้วิถีไทยที่ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง วัฒนธรรมประชาธิปไตยและการมีธรรมาภิบาล โดยมีวัตถุประสงค์ของการสร้างสัญญาประชาคม ดังนี้

5.1 สร้างสังคมที่มีค่านิยมร่วม (Shared Value) ในเรื่องวัฒนธรรมประชาธิปไตยและวัฒนธรรมธรรมาภิบาลที่เชื่อถือและยึดมั่นในความรับผิดชอบต่อหน้าที่ความเป็นพลเมือง การไม่ละเมิดสิทธิผู้อื่น ความซื่อสัตย์สุจริต และรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขในสังคมที่มีความหลากหลาย (Plural Society) ทางวัฒนธรรม วิถีชีวิต ความเชื่อ และขนบธรรมเนียมประเพณี

5.2 ภาคีทุกภาคส่วนมีบทบาทร่วมกันขับเคลื่อนสัญญาประชาคมใหม่บนพื้นฐานของการมีส่วนร่วมของประชาชนในทุกระดับอย่างเป็นขั้นเป็นตอน เพื่อให้เกิดความคิดร่วม (Social Consensus) การยอมรับและยึดถือ (Social Commitment) เป็นแนวปฏิบัติในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยทิศทางการพัฒนาสัญญาประชาคมใหม่ประกอบด้วย 5 ประเด็น ดังนี้

5.2.1 ปรับกระบวนทัศน์ (Paradigm) การพัฒนาประเทศใหม่โดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางของการแก้ไขปัญหา ประชาชนมีบทบาทหลักทั้งการเป็นเจ้าของเรื่อง การวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา ตลอดจนหาวิธีป้องกันปัญหาและแก้ปัญหาการพัฒนา โดยมีภาครัฐเป็นผู้สนับสนุนให้การดำเนินงานของภาคประชาชนสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้

5.2.2 สร้างค่านิยมร่วม (Shared Value) ของคนในสังคมที่ยึดมั่นที่ความดี ความสุจริต ความรับผิดชอบต่อสังคม ตลอดจนการมีจิตสำนึกด้านสิทธิหน้าที่ของพลเมือง ไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น ตระหนักในคุณค่าและเคารพศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เพื่อลดความขัดแย้งในสังคม ทั้งนี้ต้องเริ่มปลูกฝังตั้งแต่เด็กด้วยกลไกในทุกส่วนของสังคม (บ้าน วัด โรงเรียน ชุมชน สังคม) โดยการอาศัยตัวแบบที่ดีจากผู้นำทางสังคม (การเมือง ศาสนา การศึกษาศิลปวัฒนธรรม ฯลฯ) และการขอความร่วมมือจากสื่อทุกรูปแบบเพื่อให้เข้าถึงคนได้มากที่สุด เช่น วิทยุชุมชน รวมทั้งจัดเวทีสาธารณะในชุมชน เป็นต้น

5.2.3 พัฒนากระบวนการสัญญาประชาคมบนพื้นฐานของการมีส่วนร่วมของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับชุมชน ท้องถิ่น จนถึงระดับประเทศ โดยดำเนินการอย่างเป็นขั้นเป็นตอนตั้งแต่การสร้างความคิดร่วม (Social Consensus) การหาข้อสรุปที่ทุกฝ่ายให้การยอมรับและยึดถือ (Social Commitment) และการนำไปสู่การปฏิบัติ (Action) โดยถ้วนหน้ากัน เพื่อสร้างความสงบสุขให้เกิดขึ้นในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดย

(ก) พัฒนากลไกในระดับภาพรวม ได้แก่ การปรับปรุงกระบวนการยุติธรรม กลไกตรวจสอบระบบให้คุณให้โทษ ระบบกฎหมาย ฯลฯ ให้เอื้อต่อการเสริมสร้างสัญญาประชาคม รวมทั้งกำหนดแนวปฏิบัติให้สอดรับกับพันธกรณี กติกาต่างๆ ที่ประเทศไทยได้ลงนามไว้กับต่างประเทศ

(ข) พัฒนากลไกในระดับชุมชน ให้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง และสร้างความสุข สงบสุขในชุมชน รวมทั้งทำงานร่วมกับชุมชนอื่นในลักษณะเครือข่าย (Networking) ให้เกิดพลังทางสังคม (Social Sanction) ในการต่อต้าน กำจัด และป้องกันผู้กระทำผิดสัญญาประชาคม และทำงานร่วมกับองค์กร/กลไกธรรมาภิบาลในระดับจังหวัด (คณะกรรมการธรรมาภิบาลในระดับจังหวัด) สถาบันการศึกษาในพื้นที่ให้มีบทบาทสำคัญในการศึกษาวิจัย พัฒนาองค์ความรู้ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง และถ่ายทอดให้ชุมชน ร่วมกับภาคีภาครัฐ และสื่อมีบทบาทสนับสนุน

5.2.4 สร้างความแข็งแกร่งของโครงสร้าง กลไกและกระบวนการบริหารจัดการของทุกภาคส่วนของสังคม บนพื้นฐานหลักธรรมาภิบาลและประชาธิปไตยที่สอดคล้องกับวิถีวัฒนธรรมการเมืองไทย ที่ยึดโยงกับแนวปฏิบัติภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และหลักคำสอนที่ทรงคุณค่าบนพื้นฐานของศาสนาที่คนไทยยึดมั่นเพื่อทำให้ภาคประชาชนเข้มแข็งและพึ่งตนเองได้ โดยวางรากฐานด้านคุณธรรมจริยธรรม และวัฒนธรรมประชาธิปไตยและธรรมาภิบาล ตั้งแต่วัยอนุบาล พัฒนาศักยภาพ ปลูกฝังค่านิยมให้กล้าทำในสิ่งที่ถูกต้อง และสามารถตรวจสอบ เพื่อป้องกันและปราบปรามการทุจริตร่วมกับภาครัฐได้อย่างมีประสิทธิภาพ สนับสนุนภาคเอกชนและองค์กรพัฒนาเอกชนให้เข้ามามีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคมให้มากขึ้น โดยการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมและสร้างผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงผ่านระบบโรงเรียนในชุมชน พัฒนาภาคราชการให้มีธรรมาภิบาล ด้วยการจัดทำข้อมูลให้มีความถูกต้องทันสมัย ทั้งในด้านการต่างประเทศ การเกษตร สิ่งแวดล้อม ส่งเสริมให้จังหวัดมีบทบาทในการเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ และการสร้างองค์ความรู้ทุกด้าน รวมทั้งให้มีระบบการประเมินตนเอง และเปิดเผยให้สาธารณชนได้รับรู้(เช่นเดียวกับองค์กรธุรกิจ) ตลอดจนเสริมสร้างภาคการเมืองให้โปร่งใสสุจริต และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนให้มีบทบาทในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำของชุมชนมากขึ้น โดยสร้างสัมมาชีพเต็มทุกพื้นที่ทั่วประเทศ เสริมสร้างความเข้มแข็งขององค์กรการเงินรูปแบบต่างๆ ในชุมชน (ธนาคารหมู่บ้าน กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต กลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์) สนับสนุนการจัดทำและพัฒนาตามแผนชุมชน สร้างความเข้มแข็งของกระบวนการการตรวจสอบภาคประชาชน ตลอดจนเพิ่มบทบาทแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำของคนในชุมชน โดยเพิ่มบทบาทคณะกรรมการหมู่บ้าน ในการพัฒนาสภาพแวดล้อมชุมชน การปลูกป่า การก่อตั้งกองทุนเงินกู้ การให้ความรู้ด้านธุรกิจแก่ประชาชน การดูแลสุขภาพอนามัยและผู้สูงอายุ การศึกษา การพัฒนาชุมชน และการพัฒนาอุตสาหกรรมบางประเภทในชุมชน

5.2.5 ขับเคลื่อนและวางระบบการติดตามประเมินผลในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับประเทศจนถึงระดับพื้นที่ เพื่อสนับสนุนการสร้างสัญญาประชาคมใหม่บนพื้นฐานการมีส่วนร่วม จะสามารถลดความขัดแย้งและสร้างความสงบสุขในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยพัฒนาศักยภาพของชุมชน ด้วยการสนับสนุนให้จัดทำตัวชี้วัดของตนเองและใช้ประเมินตนเองโดยมีภาครัฐให้การสนับสนุนด้านองค์ความรู้และการประยุกต์ใช้ผ่านการจัดทำคู่มือการพัฒนาตัวชี้วัดให้กับชุมชน
และพัฒนากลไกระดับประเทศ โดยการพัฒนาตัวชี้วัดผลลัพธ์ในระดับภาพรวมให้สามารถวัดผลได้อย่างเป็นรูปธรรม และสามารถนำไปสู่การปรับเปลี่ยนทิศทางการขับเคลื่อนสัญญาประชาคมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป

8. จริยธรรมในการกระบวนการนโยบายสาธารณะ

 นโยบายสาธารณะเป็นความต้องการของภาครัฐที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหาและการเปลี่ยนแปลงในทางที่จะเกิดประโยชน์ต่อประชาชน   ดังนั้นผู้ปฏิบัติงานด้านนโยบายสาธารณะจึงต้องเป็นผู้มีความรู้  ความสามารถ  รวมทั้งเป็นผู้มีจริยธรรมสูงในการปฏิบัติงานเพื่อส่วนรวม

จากการที่นักวิชาการนโยบายสาธารณะ   ได้กำหนดความหมายของนโยบายสาธารณะออกมาในลักษณะต่าง ๆ เนื่องเพราะนโยบายสาธารณะมีผลกระทบต่อประชาชนทุกสังคม   และมีบทบาทสำคัญในฐานที่เป็นเครื่องมือใช้บริหารประเทศของรัฐบาล ในด้านการกำหนดทิศทางพัฒนาประเทศ  การสนองตอบความต้องการของประชาชน  การแก้ปัญหาที่สำคัญของประชาชน  การเสริมสร้างความเป็นธรรมในสังคม  การกระจายรายได้ให้ประชาชน

ดังนั้น  การกำหนดให้นโยบายสาธารณะเป็นกิจกรรมเพื่อสนองตอบต่อค่านิยมทางสังคม  หรือ  ความต้องการของสังคม  หรือ  ปัญหาของสังคม  เป็นจริยธรรมพื้นฐานในนโยบายสาธารณะ  เพราะ  กิจกรรมใด ๆ ของรัฐจะเป็นสิ่งที่ถูกต้อง  ดีงาม  สำหรับสังคมหรือคนทั้งประเทศ  ถ้าประชาชนส่วนมากเห็นว่านโยบายสาธารณะเป็นสิ่งที่ยอมรับไปได้  แสดงว่า  นโยบายนั้นมีความชอบธรรมที่จะนำไปใช้เป็นเครื่องมือสำคัญของรัฐกำหนดทิศทางในการพัฒนาประเทศ  และสนองตอบต่อความต้องการของประชาชน  ตลอดจนเสริมสร้างความเป็นธรรมและความเสมอภาคทางสังคม

1. ความหมายของจริยธรรม

จริยธรรม  ตามความหมายของท่านพุทธทาสภิกขุ  จริยธรรมคือ  สิ่งที่พึงประพฤติ  จะต้องประพฤติ  ส่วนศีลธรรม  หมายถึง  สิ่งที่กำลังประพฤติอยู่  หรือประพฤติแล้ว

จริยธรรม  ตามความหมายของ  ทินพันธ์  นาคะตะ  เป็นเรื่องหลักแห่งความประพฤติในทางที่ชอบ  เป็นเรื่องเกี่ยวกับมาตรฐานแห่งการประพฤติปฏิบัติ

                จริยธรรมจึงเป็นเรื่องของระบบความเชื่อเกี่ยวกับสิ่งที่ถูกต้องดีงามของสังคม   ซึ่งมีส่วนกำหนดพฤติกรรมของบุคคลไม่ว่าจะเป็นประชาชนที่มีส่วนในการก่อรูปนโยบายสาธารณะ  หรือผู้กำหนดนโยบายสาธารณะ

                2. จริยธรรมกับการวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ

                นักวิเคราะห์นโยบายสาธารณะมักเริ่มต้นการวิเคราะห์นโยบายด้วยการตรวจสอบทางจริยธรรมขั้นพื้นฐาน 3 ประการ (Dunn, 1994)

2.1 ค่านิยม (Value) การแก้ไขปัญหาทางสังคมย่อมมีผลโดยตรงต่อสาธารณชน การยอมรับการแก้ไขปัญหาจะขึ้นอยู่กับค่านิยมของสาธารณชน

2.2 ความจริง (Fact) ของปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม ค่านิยมของผู้วิเคราะห์นโยบายสาธารณะอาจบิดเบือนความจริงของปัญหา เพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งได้

2.3 การกระทำ (Action) ประชาชนกลุ่มใดจะได้รับประโยชน์มากน้อยเพียงใด จากการแก้ไขปัญหาทางสังคม

3. การวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องจริยธรรมอย่างน้อย 4 ประการ (Quade, 1982:45)

3.1 ปัจจัยแห่งความสำเร็จ การวิเคราะห์นโยบายสาธารณะจะช่วยให้รู้ว่า มีปัจจัยใดบ้างที่จะส่งเสริมให้นโยบายสาธารณะประสบความสำเร็จ และมีปัจจัยใดบ้างที่เป็นอุปสรรคที่ต้องกำจัดก่อนปฏิบัติตามนโยบาย ถ้าผู้ตัดสินนโยบายรู้ล่วงหน้าว่าจะมีหลายปัจจัยที่ทำให้นโยบายประสบความล้มเหลว แต่ก็ปล่อยให้มีการทำตามนโยบายนั้น แสดงผู้ตัดสินนโยบายขาดจริยธรรมของการเป็นนักบริหาร

3.2 ทางเลือกที่เป็นไปได้ในการแก้ไขปัญหาสังคม นักวิเคราะห์นโยบายสาธารณะจะต้องวิเคราะห์ทางเลือกในนโยบายแบบเปรียบเทียบ เพื่อค้นหาแนวทางที่สามารถนำไปปฏิบัติให้ปรากฏเป็นจริงได้ และก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนและเป็นทางเลือกที่สามารถแก้ไขปัญหาสาธารณะได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล การแสวงหาทางเลือกนโยบายที่เป็นไปได้นี้ ถือเป็นการมีจริยธรรมอย่างหนึ่งของนักวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ

3.3 การตระเตรียมการแก้ไขผลกระทบของนโยบายสาธารณะ นักวิเคราะห์นโยบายสาธารณะจะช่วยประเมินผลการปฏิบัติตามนโยบายสาธารณะ เพราะไม่มีทางเลือกใดในโยบายนี้ที่ไม่มีจุดอ่อน เมื่อรู้ล่วงหน้าแล้วว่ามีจุดอ่อนที่ใด ก็ต้องตระเตรียมการแก้ไขผลกระทบแต่เบื้องต้น เพื่อทำให้ผลกระทบเกิดผลเสียน้อยที่สุด เพื่อให้สาธารณชนยอมรับนโยบายสาธารณะนั้นๆ ให้มากที่สุด การยอมรับว่านโยบายสาธารณะเป็นสิ่งที่ถูกต้องดีงามของสังคม ถือเป็นจริยธรรมสำคัญสำหรับนักบริหารมาก

3.4 ปัญหาที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขในนโยบายสาธารณะ นักวิเคราะห์นโยบายสาธารณะจะรู้ล่วงหน้าว่า จะมีปัญหาใดบ้างที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขในทางเลือกนโยบาย ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลประการใดก็ตาม ทำให้ต้องหยิกยกปัญหาทางสังคมที่ยังคั่งค้างในการปฏิบัติตามนโยบาย มาประมวลไว้ในทางเลือกนโยบายในอนาคต เพื่อที่จะแก้ไขปัญหานั้นให้ลุล่วงไป จึงเท่ากับสนองตอบต่อความต้องการของสาธารณชน ความล่าช้ายังดีกว่าการไม่ทำอะไรเลย ความตระหนักรู้รับผิดชอบต่อการแก้ไขปัญหาทางสังคม ถือเป็นจริยธรรมอย่างหนึ่งของนักวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ

4. วิเคราะห์นโยบายสาธารณะกับมิติของจริยธรรม

จริยธรรมในนโยบายสาธารณะ เป็นเรื่องเกี่ยวกับจริยธรรมในกระบวนการนโยบาย (Policy process) และการวิเคราะห์นโยบาย (policy analysis) กล่าวคือ ในการวางแผนนโยบายสาธารณะ การวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ การก่อตัวนโยบายสาธารณะ การกำหนดทางเลือกนโยบายสาธารณะ การตัดสินนโยบายสาธารณะ การปฏิบัติตามนโยบายสาธารณะ และการประเมินผลนโยบายสาธารณะ จะมีผู้เข้ามาเกี่ยวข้องหลายฝ่าย ในทางวิชาการจึงต้องสรุปจริยธรรมออกมาเป็นเรื่อง มิติโดยเฉพาะถ้าวิเคราะห์นโยบายสาธารณะแล้วจะมีมิติของจริยธรรม ดังนี้

4.1 มิติของจริยธรรมทางการเมืองในนโยบายสาธารณะ ในกระบวนการนโยบายผู้ตัดสินนโยบายในแต่ละขั้นตอนและผู้บริหารระดับบนกับระดับล่างในการกำหนดแผนกลยุทธ์ แผนบริหารและแผนปฏิบัติการต้องการมีส่วนร่วมในนโยบายสาธารณะแผนการที่กำหนดออกมา ผู้มีส่วนร่วมในการก่อรูปนโยบาย ในการกำหนดทางเลือกนโยบาย ในการตัดสินนโยบาย ในการปฏิบัติตามนโยบายและในการประเมินผลนโยบาย จะมีส่วนช่วยให้นโยบายสาธารณะประสบความสำเร็จในขั้นสุดท้าย ประชาชนก็ได้รับประโยชน์ ผู้บริหารในองค์การราชการก็ได้รับความเชื่อถือ และนักการเมืองก็ได้รับชื่อเสียง นโยบายสาธารณะใดถ้าขาดการมีส่วนร่วมทางการเมืองนี้จะปฏิบัติให้ประสบความสำเร็จได้ยากมาก หลักจริยธรรมทางการเมืองข้อนี้ มีความสำคัญมากต่อนโยบายสาธารณะมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

4.2 มิติของจริยธรรมทางเศรษฐกิจในนโยบายสาธารณะ ในการตัดสินทางเลือกนโยบายสาธารณะ ทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดคือ ทางเลือกที่แก้ปัญหาหรือตอบสนองความต้องการของประชาชนได้มากที่สุด สามารถสร้างความพึงพอใจแก่คนส่วนใหญ่ของประเทศ โดยลงทุนหรือใช้ทรัพยากรของรัฐที่น้อยที่สุดผลประโยชน์ที่สาธารณชนได้รับในปริมาณและพื้นที่ยิ่งมากเท่าใด นโยบายสาธารณะนั้นยอมมีจริยธรรมทางเศรษฐกิจมากขึ้นเท่านั้น นโยบายสาธารณะที่สะท้อนถึงผลประโยชน์ของกลุ่มบางกลุ่มที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจย่อมเป็นนโยบายสาธารณะที่ขาดจริยธรรมทางเศรษฐกิจ เมื่อผู้เกี่ยวข้องกับนโยบายสาธารณะนั้นเห็นว่า เป็นนโยบายที่ขาดจริยธรรมทางเศรษฐกิจเช่นนี้ ก็อาจจะไม่ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตามนโยบาย หรืออาจจะมีการปฏิบัติตามนโยบายนี้อย่างช้าๆ เพื่อสร้างความเสียหายให้แก่กลุ่มผู้รับผลประโยชน์ แต่เพียงกลุ่มเดียวหรือบางกลุ่ม นโยบายสาธารณะที่ขาดจริยธรรมทางเศรษฐกิจ ย่อมนำมาซึ่งการขาดจริยธรรมทางการเมืองด้วย

4.3 มิติของจริยธรรมทางสังคมในนโยบายสาธารณะ สถาบันทุกสถาบันที่เกี่ยวข้องกับนโยบายสาธารณะ ย่อมมีค่านิยมของสถาบันตนเอง ค่านิยมของสถาบันเหล่านี้ มีความสัมพันธ์กับค่านิยมของประชาชน อย่างไรก็ดี ค่านิยมของประชาชนส่วนใหญ่ มีความสำคัญกว่าค่านิยมของสถาบัน ไม่ว่าจะเป็นสถาบันนิติบัญญัติ สถาบันบริหาร สถาบันตุลาการและราชการ นโยบายสาธารณะจึงต้องสามารถตอบสนองค่านิยมของสังคมได้ แม้ว่านโยบายสาธารณะจะถูกต้องเพียงใด สำหรับสถาบันทางการเมืองและเศรษฐกิจ แต่ถ้านโยบายนั้นขัดแย้งกับค่านิยมทางสังคม นโยบายสาธารณะนั้นก็ไม่อาจจะปฏิบัติตามให้ประสบความสำเร็จได้ ค่านิยมทางสังคมจึงถือเป็นจริยธรรมทางสังคมในนโยบายสาธารณะที่สำคัญยิ่ง

นโยบายสาธารณะที่จะมีโอกาสประสบความสำเร็จได้มาก เป็นนโยบายที่สามารถสะท้อนให้เห็นถึง

(1) จริยธรรมทางการเมือง คือ การมีส่วนร่วมในกระบวนการนโยบายของผู้ที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย

(2) จริยธรรมทางเศรษฐกิจ คือ ผลประโยชน์หรือผลแห่งความสำเร็จตกอยู่กับประชาชนส่วนใหญ่ และ

(3) จริยธรรมทางสังคม คือนโยบายมีความสอดคล้องกับค่านิยมของมวลชน นโยบายสาธารณะที่ถูกต้องดีงาม จึงเป็นนโยบายสาธารณะที่มีจริยธรรมทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมอย่างแน่นอน

                เนื่องจาก  การก่อตัวนโยบาย  การกำหนดนโยบาย  การตัดสินนโยบาย  การนำนโยบายไปปฏิบัติ  การประเมินผลนโยบาย  จะมีผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่าย  ตั้งแต่  สาธารณะชน  กลุ่มผลประโยชน์  พรรคการเมือง  นักการเมือง  สมาชิกสภาผู้แทนฯ  วุฒิสมาชิก  ตุลากการ  ข้าราชการและนักวิชาการ  ซึ่งบุคคลเล่านี้จะมีมาตรฐานทางจริยธรรมแตกต่างกัน  ตามสภาพแวดล้อมของการอบรมกล่อมเกลาทางสังคม  จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมของผู้เกี่ยวข้องกับกระบวนการทางนโยบายสาธารณะ   ให้สามารถนำจริยธรรมไปพัฒนาใช้และปฏิบัติเพื่อสนองตอบต่อประชาชนและสังคมให้เกิดประโยชน์มากที่สุด

                ดังนั้นงานราชการหรืองานสาธารณะ  จะแตกต่างจากงานเอกชนหรือบริษัททั่ว ๆ ไป  เพราะงานราชการหรืองานสาธารณะจะมีผลกระทบโดยตรงต่อประชาชน  จริยธรรมจึงเป็นกลไกสำคัญในการควบคุมให้การใช้ดุลพินิจอยู่ภายใต้ประโยชน์สาธารณะ 

                คุณค่าพื้นฐานของการบริหารงานภาครัฐ  โดยคำนึงถึง  ผลประโยชน์สาธารณะ และวิธีการบริหารที่ยึดหลัก 3 ประการคือ

1. ด้านประสิทธิภาพ และ ประสิทธิผล

2. ด้านความเป็นธรรม  ชอบธรรม  เสมอภาค  โปร่งใส  และรับผิดชอบพร้อมตรวจสอบได้

3. ผลประโยชน์สาธารณะ

กล่าวโดยสรุป   นโยบายสาธารณะที่จะสนองตอบต่อความต้องการของสังคม  ด้วยความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล  จะต้องเป็นนโยบายที่สามารถสะท้อนให้เห็นถึงจริยธรรมทุกด้าน  เช่น

                1.  ด้านการเมือง คือ การมีส่วนร่วมในกระบวนการนโยบายของผู้เกี่ยวข้อง

                2.  ด้านเศรษฐกิจ คือ ผลประโยชน์หรือผลสำเร็จตกอยู่กับประชาชนส่วนใหญ่

                3.  ด้านสังคม คือ สอดคล้องกับค่านิยมของมวลชน

                นโยบายสาธารณะที่ถูกต้องดีงาม  คือ  นโยบายที่มีจริยธรรมทางการเมือง  เศรษฐกิจ  และสังคม  รวมทั้งภาคราชการและข้าราชการ  ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องสามารถนำนโยบายไปปฏิบัติต้องมีจริยธรรม

2. ความหมายของธรรมาภิบาล (Good governance)

1. ศ.นพ.ประเวศ วะสี ได้ให้คำนิยามของธรรมรัฐไว้ว่า คือ รัฐที่มีความถูกต้อง เป็นธรรม ซึ่งหมายถึง ความถูกต้องเป็นธรรมใน 3 เรื่องใหญ่ ๆ คือ

1.1 การเมืองและระบบราชการที่โปร่งใส รับผิดชอบต่อสังคม ถูกตรวจสอบได้

1.2 ภาคธุรกิจที่โปร่งใส รับผิดชอบต่อสังคม สามารถตรวจสอบได้

1.3 สังคมที่เข้มแข็ง ความเป็นประชาสังคม (Civil Society) สามารถตรวจสอบภาครัฐ และภาคธุรกิจให้ตั้งอยู่ในความถูกต้องได้ ธรรมรัฐ เป็นการยกระดับกระบวนความสัมพันธ์ ความร่วมมือของส่วนต่าง ๆ ในสังคมอันได้แก่

1.3.1 ภาครัฐ ภาคสังคมและภาคเอกชน

1.3.2 สถาบันต่าง ๆ ของประเทศ และ

1.3.3 ระดับต่าง ๆ ของประเทศ คือ ชุมชน ประชาคม ภูมิภาค และระดับชาติ ให้มีลักษณะเป็นรัฐธรรมที่มีพลัง

2. รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ ให้ความเห็นว่า โดยทั่วไป ธรรมรัฐ หมายถึง การบริหาร หรือการปกครองที่ดีและมีความเป็นธรรม

3. ดร.ธีรยุทธ บุญมี ให้ความหมายของธรรมรัฐไว้ว่า คือ กระบวนความสัมพันธ์ (Interactive Relation) ระหว่างภาครัฐ ภาคสังคม ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป ในการที่จะทำให้การบริหารราชการแผ่นดิน ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีคุณธรรม โปร่งใส ยุติธรรมและตรวจสอบได้

4. ธรรมาภิบาล (Good governance) หรือ การบริหารจัดการที่ดี เป็นแนวคิดสากลที่ได้นำมาใช้ในสังคมไทย โดยมีความหมายรวมถึง ระบบโครงสร้าง กระบวนการต่างๆ ที่วางกฎเกณฑ์ความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมของประเทศ เพื่อที่ภาคต่างๆ ของสังคมจะพัฒนาและอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ธรรมาภิบาลแบบสากลเน้นตรงกฎเกณฑ์ (Norm) ที่วางระบบ โครงสร้าง กระบวนการและความสัมพันธ์ของภาคส่วนต่างๆ 5 ภาคส่วน ที่มีบทบาทร่วมกันในการบริหารจัดการเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง โดยภาคที่เป็นหลักมี 4 ภาค คือ ภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน ภาคประชาคม ภาคประชาชนและครอบครัว สำหรับภาคต่างประเทศที่จะต้องคำนึงถึงเฉพาะเมื่อไปมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการเมืองในยุคของโลกาภิวัตน์

2. คุณลักษณะสำคัญของธรรมภิบาล มีดังนี้

2.1 เป้าหมายของธรรมาภิบาล คือ การพัฒนาและอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขของทุกภาคในสังคม กล่าวอีกนัยหนึ่ง ก็คือ ธรรมาภิบาลมีจุดมุ่งหมายในการสร้างความเป็นธรรมในการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมให้กับทุกภาคในสังคมไม่ใช่ภาคใดภาคหนึ่ง

2.2โครงสร้างและกระบวนของธรรมาภิบาล (Structure and Process) ที่จะนำไปสู่เป้าหมายความเป็นธรรมและสันติสุขได้ จะต้องเน้นโครงสร้างและกระบวนการที่วางกฎเกณฑ์ความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมของประเทศที่ทุกภาคไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน หรือภาคประชาสังคม ภาคปัจเจกชนและครอบครัว มีส่วนร่วมกันบริหารจัดการประเทศเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาไปข้างหน้า โดย

2.2.1 กฎเกณฑ์ดังกล่าวอาจจะประกอบด้วยรัฐธรรมนูญ กฎหมาย กฎ ข้อบังคับ รวมทั้งธรรมเนียมประเพณีและทางศาสนา ศีลธรรม และจริยธรรม เพราะกฎเกณฑ์ดังกล่าวจะสร้าง สิทธิและการยอมรับของแต่ละภาคส่วน และ

2.2.2 กระบวนการที่มีธรรมาภิบาลต้องมีลักษณะสำคัญ 4 ประการ คือ การมีส่วนร่วมของสาธารณชน (Public Participation) ความสุจริตและโปร่งใส (Honesty and transparency) พันธะความรับผิดชอบต่อสังคม (Accountability) และ กฎเกณฑ์ที่ยุติธรรมและชัดเจน (Fair legal framework and Predictability)

3. แนวคิดในการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี คือ การบริหาราชการแผ่นดินให้เกิดผล ดังนี้

3.1 เพื่อให้เกิดประโยชน์สุขของประชาชน

3.2 เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ

3.3 มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ

3.4 ไม่มีขั้นตอนในการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น

3.5 มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์

3.6 ประชาชนได้รับความอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองต่อความต้องการ

3.7 มีการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ

4. องค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาลที่สำคัญ 6 ประการ ดังนี้

4.1 หลักนิติธรรม (The Rule of Law) หมายถึง การปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ โดยถือว่าเป็นการปกครองภายใต้กฎหมายมิใช่ตามอำเภอใจ หรืออำนาจของ ตัวบุคคล จะต้องคำนึงถึงความเป็นธรรม และความยุติธรรม รวมทั้งมีความรัดกุมและ รวดเร็วด้วย

4.2 หลักคุณธรรม (Morality)   หมายถึง การยึดมั่นในความถูกต้อง ดีงาม การส่งเสริม ให้บุคลากรพัฒนาตนเอง ไปพร้อมกัน เพื่อให้บุคลากรมีความซื่อสัตย์ จริงใจ ขยัน อดทน มีระเบียบ วินัย ประกอบอาชีพสุจริต เป็นนิสัย ประจำชาติ

4.3 หลักความโปร่งใส (Accountability) หมายถึง ความโปร่งใส พอเทียบได้ว่ามีความหมาย ตรงข้าม หรือเกือบตรงข้าม กับการทุจริต คอร์รัปชั่น โดยที่เรื่องทุจริต คอร์รัปชั่น ให้มี ความหมายในเชิงลบ และความน่าสะพรึงกลัวแฝงอยู่ ความโปร่งใสเป็นคำศัพท์ที่ให้แง่มุมในเชิงบวก และให้ความสนใจในเชิงสงบสุข ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ได้สะดวกและเข้าใจง่าย และมีกระบวนการให้ประชาชนตรวจสอบความถูกต้องอย่างชัดเจน

 4.4 หลักการมีส่วนร่วม (Participation) หมายถึง การให้โอกาสให้บุคลากรหรือผู้มี ส่วนเกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมทางการ บริหารจัดการเกี่ยวกับการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ เช่น เป็นคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และหรือ คณะทำงานโดยให้ข้อมูล ความคิดเห็น แนะนำ ปรึกษา ร่วมวางแผนและร่วมปฏิบัติ

4.5 หลักความรับผิดชอบ (Responsibility) หมายถึง การตระหนักในสิทธิและหน้าที่ ความสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม การใส่ใจปัญหาการบริหารจัดการ การกระตือรือร้นในการแก้ปัญหา และเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง รวมทั้งความกล้าที่จะยอมรับผลดีและผลเสียจากกระทำของตนเอง

4.6 หลักความคุ้มค่า (Cost – effectiveness or Economy) หมายถึง การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีจำกัด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม โดยรณรงค์ให้บุคลากรมีความประหยัด ใช้วัสดุอุปกรณ์อย่างคุ้มค่า และรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้สมบูรณ์ยั่งยืน

5. หลักธรรมาภิบาลและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับธรรมาภิบาล

หลักธรรมาภิบาล เป็นหลักการบริหารจัดการที่ดี เพราะมีการปรับวิธีคิด วิธีการบริหารราชการของประเทศไทยใหม่ทั้งระบบ โดยกำหนดเจตนารมณ์ของแผ่นดินขึ้นมาเพื่อทุกคนทุกฝ่ายในประเทศร่วมกันคิด ร่วมกันทำ ร่วมกันจัดการ ร่วมกันรับผิดชอบ แก้ปัญหา พัฒนานำพาแผ่นดินนี้ไปสู่ความมั่นคง ความสงบ-สันติสุข มีการพัฒนาที่ยั่งยืนและก้าวไกลดังพระบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราชที่ว่า "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม" หลักธรรมาภิบาล จึงตั้งอยู่บนรากฐานของความถูกต้อง ดีงาม มั่นคง หรือธรรมาธิปไตย ที่มุ่งให้ประชาชน สังคมระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน ชุมชนต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการคิด การบริหารจัดการ การบริหารในทุกระดับ ปรับวัฒนธรรมขององค์การภาครัฐใหม่ เพราะระบบราชการที่แข็งตัวเกินไป ทำให้ไม่มีประสิทธิภาพ และขาดความชอบธรรม กฎเกณฑ์เข้มงวด ช่องทางการสื่อสารขาดตอน รัฐไม่สามารถสนองตอบความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ได้ถูกต้อง ทำให้เกิดความขัดแย้ง ช่วงชิงอำนาจและความล้มเหลวของระบบราชการและรัฐบาล จึงทำให้ความคิดเกี่ยวกับ Government เปลี่ยนไปกลับกลายมาเป็น Governance ที่ทุกภาคส่วนจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมกล่าว คือ

5.1 ภาครัฐ ต้องมีการปฏิรูปบทบาทหน้าที่ โครงสร้างและกระบวนการทำงานของหน่วยงาน/กลไกการบริหาร ให้สามารถบริหารทรัพยากรของสังคมอย่างโปร่งใส ซื่อตรง เป็นธรรม มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และมีสมรรถนะสูงในการนำบริการของรัฐที่มีคุณภาพไปสู่ประชาชนโดยจะต้องมีการเปลี่ยนทัศนคติ ค่านิยม และวิธีทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐ ให้ทำงานโดยยึดถือประชาชนเป็นศูนย์กลาง และสามารถร่วมทำงานกับภาคประชาชนและภาคเอกชนได้อย่างราบรื่นเป็นมิตร

5.2 ภาคธุรกิจเอกชน ต้องมีการปฏิรูปและกำหนดกติกาในหน่วยงานของภาคธุรกิจเอกชน เช่นบรรษัท บริษัท ห้างหุ้นส่วนฯ ให้มีกติกาการทำงานที่โปร่งใส ซื่อตรง เป็นธรรมต่อลูกค้า ความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้นและต่อสังคม รวมทั้งมีระบบติดตามตรวจสอบการให้บริการที่มีมาตรฐานเทียบเท่าระดับสากล และร่วมทำงานกับภาครัฐและภาคประชาชนได้อย่างราบรื่น เป็นมิตรและมีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน

5.3 ภาคประชาชน ต้องสร้างความตระหนักหรือสำนึกตั้งแต่ระดับปัจเจกบุคคลถึงระดับกลุ่มประชาสังคม ในเรื่องของสิทธิหน้าที่และความรับผิดชอบต่อตนเองและสาธารณะทั้งในทางเศรษฐกิจสังคม และการเมือง เพื่อเป็นพลังของประเทศที่มีคุณภาพ มีความรู้ ความเข้าใจในหลักการของการสร้างกลไกการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี หรือธรรมรัฐให้เกิดขึ้นและทำนุบำรุงรักษาให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นต่อไป

6. บทบาทของสังคมกับการสร้างธรรมาภิบาล

การส่งเสริมให้เกิดการสร้างธรรมาภิบาลนั้น  มาจากความร่วมมือของทั้งสถาบันทั้งภาครัฐ  ภาคเอกชน  และประชาสังคม บทบาทของรัฐที่สำคัญนั้น คือ รัฐเป็นผู้มีบทบาทในการวางรากฐาน  และรักษากฎระเบียบต่าง ๆ  การสร้างธรรมาภิบาลของรัฐนั้นจำเป็นต้องอาศัยระบบการจัดการภาครัฐที่มีประสิทธิภาพ  มีภาระรับผิดชอบภายใต้กฎหมาย  และนโยบายที่โปร่งใสตรวจสอบได้

ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐจะต้องมีการปฏิรูประบบราชการ  เพื่อปรับปรุงระบบการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ และรับผิดชอบภายใต้กรอบของกฎหมาย ซึ่งจุดมุ่งหมายในการสร้างธรรมาภิบาลของภาครัฐนั้น  จะต้องพยายามปฏิรูปการบริหารจัดการให้ถูกต้องตามหลักเหตุผล  และหน้าที่  มีระบบความรับผิดชอบด้านการเงินที่มีประสิทธิภาพมาใช้  และให้มีความโปร่งในการปฏิบัติงาน  ยกระดับความชำนาญของภาครัฐให้มีความทันสมัย เป็นต้น

ส่วนบทบาทขององค์การภาคเอกชนและบทบาทของประชาสังคม  ที่มีต่อการสร้างธรรมาภิบาล คือ การรวมตัวกันของสาธารณชนในการต่อต้านการทุจริตและการประพฤติมิชอบ  โดยรัฐควรมีการหามาตรการที่จะกระตุ้นให้เกิดการตระหนักถึงการทำผิดจรรยาบรรณ เป็นต้น

                7. ความสำคัญของธรรมาภิบาล

ธรรมาภิบาล เป็นหลักเกณฑ์การปกครองบ้านเมือง ตามวิถีทางธรรมาธิปไตย เป็นการปกครองบ้านเมืองที่มีความเป็นธรรม มีกฎเกณฑ์ที่ดีในการบำรุงรักษาบ้านเมือง และสังคมให้มีการพัฒนาครอบคลุมทุกภาคส่วนของสังคม รวมทั้งมีการจัดระบบองค์กรและกลไกต่าง ๆ ในส่วนราชการ องค์การของรัฐ รัฐบาล การบริหารราชการส่วนภูมิภาค และท้องถิ่น ตลอดจน องค์กรอิสระ (Independent Organization) องค์กรเอกชน กลุ่มชมรมและสมาคมต่าง ๆ ทั้งที่เป็นนิติบุคคล ภาคเอกชนและภาคประชาสังคม (Civil Society) ดังนั้น ธรรมาภิบาล จึงเป็นแนวทางในการจัดระเบียบ เพื่อให้สังคมของประเทศทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาชนของทั้งประเทศ สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข และตั้งอยู่ในความถูกต้องเป็นธรรม

ธรรมาภิบาลเป็นปัจจัยเสริมระบอบประชาธิปไตย และเศรษฐกิจเสรีนิยมให้เจริญเติบโตอย่างยั่งยืน ธรรมาภิบาลมีบทบาทความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงโดยตรงกับความเป็นประชาธิปไตย โดยมีผลการศึกษาที่บ่งชี้และยอมรับในระดับสากลว่า ประเทศที่มีการบริหารการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่มั่นคงและมีเสถียรภาพเพิ่มขึ้นจะเสริมสร้างให้ธรรมาภิบาลเพิ่มขึ้น

ทั้งนี้เนื่องจากผลการพัฒนาเศรษฐกิจที่สูงขึ้น ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและกระบวนการทางสังคม โดยการก่อให้เกิดชนชั้นกลางที่มีการศึกษาและมีอิสระทางเศรษฐกิจจำนวนมากพอที่จะเป็นฐานของประชาธิปไตย เกิดการตื่นตัวในสิทธิ หน้าที่ ในขณะเดียวกันการพัฒนาเศรษฐกิจในระบบเปิด เกิดค่านิยมใหม่ๆ และเกิดการหมุนเวียนของข่าวสารและทุนแบบเปิดจะทำให้การบริหารประเทศต้องคำนึงถึงประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ การประพฤติปฏิบัติที่ไม่ถูกต้องดีงามของผู้บริหารและผู้นำจะไม่ได้รับการยอมรับและถูกคัดค้านจากคนส่วนใหญ่ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะเป็นรากฐานให้ประชาธิปไตยยืนยาว

8. แนวทางในการปฏิบัติเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ของหลักการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี มีดังนี้

8.1 สร้างความตระหนักร่วมกันในสังคมไทย เพื่อให้เกิดกระบวนการสร้างสรรค์กลไกการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี

8.2 ออกกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายอื่นๆที่จำเป็น

8.3 เร่งรัดให้เกิดการปฏิรูปการบริหารภาครัฐและการปฏิรูปการศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม

8.4 เร่งแก้ไขปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบในภาครัฐและภาคธุรกิจเอกชน

จะเห็นได้ว่าหลักของธรรมาภิบาล มุ่งเน้นให้ทราบถึงปัจจุบันที่มีการทำงานที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ โดยมุ่งเน้นให้เกิดการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล แล้วก่อให้เกิดประโยชน์ต่อความต้องการของประชาชนสูงที่สุด และเป็นการเน้นให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการบ้านเมือง ซึ่งการที่จะทำให้หลักธรรมาภิบาล หรือหลักการบริหารจัดการบ้านเมืองเกิดผลสำเร็จได้นั้น ผู้บริหาร หรือผู้นำมีความสำคัญเป็นอย่างมากที่จะนำมายึดปฏิบัติเพื่อให้เป็นแบบอย่างแก่ประชาชน และเพื่อให้ประชาชนเกิดความเข้าใจถึงหลักธรรมาภิบาลมากขึ้น ต้องเร่งดำเนินการให้การศึกษาเพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้แก่ประชาชนอย่างต่อเนื่องต่อไป