วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ตารางเปรียบเทียบกระบวนทัศน์ระบบราชการแบบเก่า และกระบวนทัศน์ระบบราชการแบบใหม่
กระบวนทัศน์ระบบราชการแบบเก่า
(Bureaucratic Paradigm)
กระบวนทัศน์ระบบราชการแบบใหม่
(Post-Bureaucratic Paradigm)
1.   คำนึงถึงประโยชน์สาธารณะ (Public Interest)
1.   ให้ประชาชนได้รับสิ่งที่มีคุณค่า (Results Citizens Value)
2.   ให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพ (Efficiency)
2.   ให้ความสำคัญกับคุณภาพและสิ่งที่มีคุณค่า (Quality and value)
3.   มุ่งเน้นการบริหารแบบนายสั่ง (Administration)
3.   เน้นการเพิ่มผลผลิตหรือมุ่งเน้นงาน (Production)
4.   เน้นการควบคุมสั่งการ (Control)
4.   การยึดมั่นในปทัสถาน (Winning adherence to norms)
5.   กำหนดโครงสร้างอำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบไว้อย่างชัดเจน (Specify Functions, Authority and Structure)
5.   กำหนดภารกิจที่ชัดเจน ปรับปรุงบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า และเน้นผลลัพธ์ (Identify Mission, Services, Customers, And Outcomes)
6.   คำนึงถึงต้นทุน (Justify costs)
6.      การส่งมอบสิ่งที่มีคุณค่า (Deliver Value)
7.   ตระหนักถึงความรับผิดชอบ (Enforce Responsibility)
7.   การสร้างระบบตรวจสอบและ เสริมสร้างความสัมพันธ์ในการทำงานที่แข็งแกร่ง (Build Accountability, Strengthen Working Relationship
8.   การปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ และ กระบวนการทำงาน (Follow rules and procedures)
8.   สร้างความเข้าใจในปทัสถาน หาวิธีการ แก้ปัญหาและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Understand and Apply norms, Identity and Solve Problems, Continuously  Improve Processes)
9.   การปฏิบัติตามระบบการบริหาร (Operate Administrative)
9.   การแยกการบริการออกจากการควบคุม, การสร้างปทัสถาน, การเพิ่มทางเลือกให้กับลูกค้า, สร้างความร่วมมือ, การให้สิ่งจูงใจ, การวัดผลงานและวิเคราะห์ผลลัพธ์, การรับฟังผลสะท้อนกลับจากผู้รับบริการ เพื่อปรับปรุงการบริการให้มีคุณภาพสูง (Separate Service From Control, Build Support for Norm, Expand Customer Choice, Encourage Collective Action, Provide Incentives, Measure and  Analyze Results, Enrich Feedback)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น