วันเสาร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

pa709 (ต่อ) ผศ.ภีรภัทร







Greenspan on competition
การแข่งขัน (Competition) คือ พี่เลี้ยงของนวัตกรรม (Innovation) และการทำร้ายที่สร้างสรรค์ (Creative destruction) เป็นกระบวนการที่ต้นทุนทางผลิตภาพที่ต่ำกว่าจะถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยกว่า
ซึ่งเป็นแรงผลักดันหลักในการสร้างความมั่งคั่งให้ระบบเศรษฐกิจ ด้วยเหตุนี้ จากมุมมองของการสร้างความมั่งคั่งแล้ว ยิ่งมีการแข่งขันมาก ยิ่งดี”



ความกดดันของสภาพแวดล้อมที่ทำให้ภาครัฐต้องปรับเปลี่ยน
สิ่งแวดล้อมทางการเมือง (political)
สิ่งแวดล้อมทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ (Socio-economic)
สิ่งแวดล้อมทางด้านเทคโนโลยี (Technological)
สิ่งแวดล้อมทางด้านวัฒนธรรม (Cultural)
                ทำให้เกิดความกดดันที่ต้องทำให้ภาครัฐต้องปรับเปลี่ยนตนเอง ให้สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชน  บริษัทห้างร้าน รวมไปถึงองค์กรทางสังคมและองค์กรอื่นของภาครัฐ


เน้นการลงทุน แต่ ผลประกอบการ อาจตกอยู่ในมือต่างชาติ ผลกระต่อสิ่งแวดล้อม สูญเสียทรัพยากรธรรมชาติ
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม  ใช้ทักษะ ความสามารถของบุคคล นวัตกรรม  สารสนเทศ  เทคโนโลยี่  ความสามารถพิเศษ (Talents) สร้างความคุ้มค่า(Value Created) ความมั่งคั่ง (Wealth) สร้างสรรค์สิ่งแวดล้อม (Constructive Environment)


บทบาทของภาครัฐที่จะเอื้ออำนวยไปสู่  Value creation economy
1 เน้นเรื่องของ regulatory framework หรือทำให้เอื้อต่อ Healthy competition
2 มีกฎระเบียบและกฎหมายที่เอื้ออำนวยความสะดวก ไม่ใช่เป็นอุปสรรค
3 รัฐทำหน้าที่เป็นผู้สนับสนุนภาคเอกชน เช่น โครงสร้างพื้นฐาน ที่จะช่วยสนับสนุนกลไกการสร้างขีดความสามารถของเอกชน เช่น นโยบายของจีน สร้างรถไฟความเร็วสูง
4 เน้นการสร้างสังคมผู้ประกอบการ รัฐต้องเข้าไปสนันสนุน


            คูปองนวัตกรรม

                รัฐนำเงินมาสนับสนุน  หน่วยงานเพื่อจ้างผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ดำเนินกิจกรรมที่มีประโยชน์ต่อสาธารณชน โดยไม่ให้ราชการดำเนินการด้านคูปอง เช่น การดำเนินงานด้าน SME เพื่อกระตุ้นให้เกิดนวัตกรรม





เดิมไทยรับจ้างผลิต ปัจจุบัน ไทยต้องมี นวัตกรรมของตนเอง  เพื่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การสร้างงาน โดยมีนวัตกรรมสนับสนุน

ภาครัฐที่เปลี่ยนแปลงไปตั้งแต่ยุค 2000
1.  Integrated service  มีการรวมบริการต่าง ๆ ของรัฐมาไว้ที่เดียวกันมากขึ้น เช่น INFOCID ของโปรตุเกสที่รวมบริการของภาครัฐ 15 ประเภทไว้ที่เดียวกัน
2.  Create a self-service government  มีการบริการตนเอง เช่น ผ่านบริการทางโทรศัพท์ คิออส อินเทอร์เน็ต
3. Deliver service electronically  อินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือสำคัญในการทำให้เกิดการบริการตนเองในภาครัฐ  เพราะง่าย เร็วและต้นทุนต่ำ เช่น การบริการเสียภาษีต่าง ๆ ของรัฐ (ภาษีรถยนต์ ภาษีรายได้)
4. Tap into the public sector มีการ outsource งานของภาครัฐออกไปให้ภาคเอกชนกระทำแทนมากขึ้น
5.Create imaginative partnerships  เกิดความสัมพันธ์รูปแบบใหม่ขึ้น คือ ความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับเอกชนในการทำงานร่วมกันจึงเกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ในการทำงาน เช่น ระบบจัดเก็บค่าปรับการจอดรถ ทำให้ภาครัฐสามารถลดความเสี่ยงและลดค่าใช้จ่ายได้ เช่น JC Decaux  บริษัทต่างชาติ ทำกับเมืองใหญ่ๆ ในด้านธุรกิจ ดูแลป้ายรถเมล์เมืองใหญ่ๆ เนื่องจากปัญหาอาชญากรรมบริเวณป้ายรถเมล์ เพราะคนยากจนอาศัยป้ายรถเมล์เป็นที่อยู่อาศัย จึงมีนโยบาย ทำป้ายโฆษณาบริเวณป้ายรถเมล์ที่มีความสว่างสวยงามจึงเป็นความร่วมมือแบบ partnerships
6. Put a new face government reinvention ลดจำนวนข้าราชการลง และให้อำนาจการตัดสินใจและการแบ่งปันความรู้กับข้าราชการเพิ่มขึ้น ทำให้รัฐสามารถลดงบประมาณได้มาก มีการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น
7.Offer around-the-clock service   การบริการแบบทุกเวลาให้กับประชาชน
8. Get more feedback  รัฐบาลในหลายประเทศพยายามรับฟังข้อมูลย้อนกลับจากประชาชนมากขึ้น เช่น people’s panel ในอังกฤษ เพื่อสอบถามเกี่ยวกับประสบการณ์ของผู้ใช้บริการภาครัฐ
9.Manage in all directions  เชื่อมต่อการจัดการในทุกทิศทาง ทั้ง horizontal และ vertical 
10.Anticipate technology’s potentials and pitfalls  รัฐบาลเริ่มมีความเข้าใจในบทบาทของอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีว่ามีความสำคัญ แต่ก็มีด้านผลเสียเช่นกัน  เช่น การละเมิดความเป็นส่วนตัวของประชาชน


นวัตกรรมหมายถึงอะไร ?
นวัตกรรม (innovation) คือ การผลิต การเรียนรู้ การจัดการความรู้ และการใช้ประโยชน์จากความคิดใหม่ เพื่อให้เกิดผลดีทางเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงการกำเนิดผลิตภัณฑ์ การบริการ กระบวนการผลิตใหม่ การปรับปรุงเทคโนโลยี การแพร่กระจายเทคโนโลยี และการใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์และเกิดผลพวงทางเศรษฐกิจและสังคม
ดังนั้น นวัตกรรมภายในองค์กรใดองค์กรหนึ่ง จึงควรมีคุณลักษณะดังต่อไปนี้
  • นวัตกรรม จะเป็นผลิตภัณฑ์ กระบวนการ หรือขั้นตอน ที่ จับต้องใช้ได้ภายในองค์กร สำหรับ ความคิดใหม่อาจเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของนวัตกรรม แต่ไม่อาจเรียกว่าเป็นนวัตกรรมได้
  • นวัตกรรม จะต้องมีความใหม่ในระดับกลุ่ม ฝ่าย หรือองค์กร ในขณะที่บางครั้งอาจจะ
    ไม่จำเป็นต้องใหม่ในระดับบุคคลที่สร้างนวัตกรรมนั้นๆ
  • นวัตกรรม ต้องมาจาก ความตั้งใจที่ต้องการให้เกิดขึ้น มากกว่าจะเกิดขึ้นโดยบังเอิญ
  • นวัตกรรม จะต้องไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเป็นประจำ เช่น การรับสมัครพนักงานใหม่
  • นวัตกรรม จะต้องมีเป้าหมายเพื่อสร้างผลกำไรให้แก่องค์กร หรือก่อเกิดประโยชน์ให้แก่สังคมในวงกว้าง ทั้งนี้นวัตกรรมจะไม่รวมถึงการทำลายล้าง วินาศกรรรม หรือการก่อการร้าย นวัตกรรม จะต้องส่งผลกระทบที่ดีต่อสาธารณะ การเปลี่ยนแปลงของบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่ไม่เกิดผลต่อบุคคลอื่น หรือไม่เกิดการประยุกต์ใช้ภายในองค์กร จะไม่ถือว่าเป็นนวัตกรรม
ความคิดสร้างสรรค์  คือกระบวนการพัฒนาและเรียงร้อยความคิดใหม่ๆ เพื่อนำมาแก้ไขปัญหาหรือตอบสนองความต้องการ
ประกอบด้วย
1. ทักษะ การคิด
2. แรงจูงใจ                                      ทั้งสามรวมเป็น  ความคิดสร้างสรรค์
3.  ความเชี่ยวชาญ
                               
ต่างจาก “ประดิษฐกรรม”อย่างไร
ประดิษฐกรรม Invention  เป็นการทำให้ความคิดสร้างสรรค์คหรือความคิดใหม่ๆเป็นความจริง
เช่น หมู่บ้านซิลิคอนวัลเล่ย์ บแคลิฟอร์เนีย 



 นวัตกรรม = ประดิษฐกรรม + การนำไปใช้ประโยชน์
เช่น  กังหันชัยพัฒนา



Understand Innovation
Creative  = new+constructive
Competitive = strategic advantage
Value = contribute to economic & social development
Mostly(ความเสี่ยง) innovations implicit risk
It is the act that endows recourse with a new capacity create wealth

strategic advantage through innovation
Novelty in product or service offering ในการนำเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการที่แปลกใหม่
Novelty in process กระบวนการที่แปลกใหม่
Complexity  ความซับซ้อน
Extend range of competitive factors  ขยายช่วงของปัจจัยการแข่งขัน
Timing  การกำหนดเวลา
Reconfiguring the parts of the process  การกำหนดค่าใหม่ในส่วนของกระบวนการ
IP production  IP การผลิต
Platform design ออกแบบแพลตฟอร์ม
Rewriting the rule กฎการเขียนใหม่
ยกตัวอย่าง Zipcar  เป็นธุรกิจเช่ารถยนต์ ต้องเป็นสมาชิกบริษัท  เกิดขึ้นในปี 2000 ของ USA เมืองเคลมบริด
หลายคนอาจจะคุ้นหูกับ ซิปคาร์” (Zipcar) บริษัทบริการรถเช่าที่แปรแนวคิดการแชร์รถ 1 คัน ให้สามารถใช้งานได้มากขึ้น มาเป็นโอกาสทางธุรกิจ หลังจากพบว่ามีคนอีกมากที่ต้องการใช้รถ แต่ไม่มีกำลังทรัพย์มากพอ หรือยังไม่อยากซื้อ เพราะเบื่อปัญหาการจราจรติดขัด ค่าดูแลและซ่อมบำรุงที่สูง และบางคนก็ใช้งานรถยนต์เพียงไม่กี่ชั่วโมงต่อวัน
โดยซิปคาร์บริหารจัดการรถให้แก่สมาชิกทั้งในสหรัฐ แคนาดา และลอนดอน ซึ่งมีทั้งลูกค้ารายบุคคลและภาคธุรกิจ ทั้งนี้สมาชิกจะเสียค่าสมาชิก 50 ดอลลาร์ต่อปี โดยสามารถจองรถที่ต้องการไปใช้ในพื้นที่ที่ต้องการ ซึ่งสามารถเลือกใช้บริการเป็นรายชั่วโมงหรือรายวันก็ได้ และอัตราค่าบริการจะหลากหลายขึ้นอยู่กับพื้นที่ รุ่นรถที่ใช้ และเวลาที่ใช้ ซึ่งโดยเฉลี่ยค่าเช่าจะอยู่ที่ประมาณ 11.25 ดอลลาร์ต่อชั่วโมง หรือ 60 ดอลลาร์ต่อวัน
ขั้นตอนการใช้บริการก็ไม่ซับซ้อน สมาชิกสามารถจองใช้รถผ่านเว็บไซต์ หรือมือถือไอโฟน ซึ่งจะเริ่มเปิดใช้ได้ในเดือนกันยายนนี้ จากนั้นสมาชิกจะได้รับซิปการ์ด” (Zipcard) ไว้ใช้ จากนั้นข้อมูลของสมาชิกจะถูกส่งแบบไร้สายไปยังระบบคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งในรถ เพื่อควบคุมให้รถเปิดให้กับคนที่จองในเวลาที่จองเท่านั้น ซึ่งลูกค้าต้องนำ Zipcard ไปสัมผัสที่ เครื่องอ่านบนตัวรถ หรือกดปุ่มผ่าน แอปพลิเคชั่นบนไอโฟน เพื่อปลดล็อกรถยนต์ให้ใช้งานได้โดยกุญแจจะอยู่ในตัวรถ
หากน้ำมันใกล้จะหมด ผู้ใช้สามารถ เติมน้ำมันโดยใช้บัตรเครดิตของบริษัทที่จัดเตรียมไว้ในรถ และผู้ใช้จะต้องปฏิบัติตามกฎนั่นคือ ห้ามสูบบุหรี่ และทิ้งขยะในรถ ซึ่งบริษัทจะทำความสะอาดรถทุกสัปดาห์
หากลูกค้าจะต้องส่งคืนรถล่าช้าก็สามารถโทรศัพท์หรือส่งข้อความไปยังบริษัท ระบบจะต่อเวลาให้อัตโนมัติ แต่หากลืม โทร.ไปต่อเวลา จะต้องถูกปรับค่าธรรมเนียมส่งมอบรถล่าช้า 50 ดอลลาร์ต่อชั่วโมง พร้อมกับค่าบริการรายชั่วโมง  ปัจจุบันซิปคาร์มีสมาชิกประมาณ 325,000 ราย มีรายได้ต่อปี 130 ล้านดอลลาร์ และมีการเติบโต 30% ต่อปี
Defining “Newness” or “Novelty” (according to OSLO Manual)
New to the firm   ใหม่ของ บริษัท
New to the market/industry  ใหม่การตลาด / อุตสาหกรรม
New to the world  ใหม่ไปทั่วโลก
Disruptive innovation  นวัตกรรมการทำลาย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น