วันเสาร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2554

PA710 การบริหารเชิงกลยุทธ์ ผศ.วิชัย

การบริหารเชิงกลยุทธ์ (Strategic Administration)
การบริหารเชิงกลยุทธ์ หมายถึง กระบวนการต่อเนื่องในการกำหนดภารกิจและเป้าประสงค์ขององค์การ ภายใต้บริบทของสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ  โดยรวมถึง
-        การกำหนดกลวิธีที่เหมาะสม
-        การปฏิบัติตามกลวิธีที่กำหนดไว้
-        การใช้อำนาจหน้าที่ในการควบคุมกลยุทธ์
เพื่อทำให้มั่นใจถึงความสำเร็จตามเป้าประสงค์ที่กำหนดไว้
กระบวนการบริหารเชิงกลยุทธ์    มี 5 ขั้นตอน
1.      การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม
2.      การจัดวางทิศทางองค์การ
-      องค์การภาครัฐ  พิจารณาภารกิจ(เหตุผลในการมีองค์กร)และเป้าประสงค์(ประโยชน์ที่ได้รับจากองค์การ)
-      องค์การภาคธุรกิจเอกชน พิจารณากำหนดวิสัยทัศน์Vision (จุดหมายปลายทางที่องค์กรต้องการไปให้ถึง) ภารกิจ mission และวัตถุประสงค์(objective)
3.      การกำหนดกลยุทธ์  เป็นการพิจารณาออกแบบและเลือกกลยุทธ์ที่เหมาะสมและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง
4.      การปฏิบัติงานตามกลยุทธ์ คำนึงถึง โครงสร้างและวัฒนธรรมองค์การ
5.      การควบคุมเชิงกลยุทธ์
ลำดับชั้นของกลยุทธ์ในภาคธุรกิจเอกชน
1.      กลยุทธ์ระดับองค์การ  หมายถึงกลยุทธ์ที่ตอบสนองวัตถุประสงค์หลัก ในภาพรวมขององค์การ เช่น
-      การครอบครองตลาด Market Share
-      ความสามารถในการแสวงหากำไร Profitability
-      การเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์หรือบริการ Growth
-      มูลค่าหุ้น Value Share
2.      กลยุทธ์ระดับกิจการ หมายถึงกลยุทธ์ที่ตอบสนองวัตถุประสงค์หลักของภารกิจ ในแต่ละประเภทของผลิตภัณฑ์หรือบริการ เช่น
-      รอบเวลาที่ได้รับบริการ Cycle time
-      การได้รับบริการ Service
-      ราคาหรือค่าใช้จ่ายในการขอรับบริการ Price/cost
3.      กลยุทธ์ ระดับหน้าที่ หมายถึง กลยุทธ์ที่ตอบสนองวัตถุประสงค์หลักของหน้าที่ ที่จะต้องปฏิบัติในกระบวนการทำงานในแต่ละภารกิจ  ได้แก่
-      รอบเวลาของการให้บริการ
-      คุณภาพของการให้บริการ Quality
-      การเพิ่มผลผลิต  Productivity
-      ต้นทุนต่อหน่วย  Unit Cost
ลำดับชั้นของกลยุทธ์ในองค์การภาครัฐบาล  (แผนพัฒนาเศรษฐกิจ ฉ. 10 เน้นคน ฉ.11  เน้นเศรษฐกิจ )
1.      กลยุทธ์ระดับนโยบาย เป็นกลยุทธ์ที่ตอบสนองแผนงานขององค์การ Program Objective
2.      กลยุทธ์ระดับโครงการ Project Purpose เป็นกลยุทธ์ที่ตอบสนองวัตถุประสงค์ของโครงการ
3.      กลยุทธ์ระดับกิจกรรม (Activity) เป็นกลยุทธ์ ที่ตอบสนองผลผลิตหลัก ซึ่งเกิดจากกระบวนการทำงาน
ที่มาของแผนงานในองค์การภาครัฐบาล
          1. นโยบายของรัฐบาลที่กำหนดโดยฝ่ายการเมือง  เช่น พระราชบัญญัติงบประมาณประจำปี มติคณะรัฐมนตรี
          2. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
          3. พระราชบัญญัติ และพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การ
ความแตกต่างของภาคธุรกิจเอกชนและภาครัฐบาล

ภาคธุรกิจเอกชน 
ภาครัฐบาล 
1. วัตถุประสงค์ เน้นการแสวงหากำไร และเน้นตัวชี้วัดการทำกำไร
1. เป้าประสงค์ เน้นทั้งเศรษฐกิจ  สังคม และการเมือง  จึงมีตัวชี้วัด   ที่หลากหลาย
2. ยึดถือกฎเกณฑ์ และระเบียบปฏิบัติขององค์การอย่างยืดหยุ่น
2. ยึดถือกฎเกณฑ์และระเบียบปฏิบัติขององค์การอย่างเคร่งครัด
3. ไม่มีอิทธิพลแทรกแซงทางการเมืองในการจัดทำแผน
3. มีอิทธิพลแทรกแซงทางการเมืองอย่างมาก
4. ผู้มีส่วนได้เสีย คือ นายจ้าง  ลูกจ้าง ลูกค้า ผู้ให้สินเชื่อ  ผู้ถือหุ้น
4. มีผู้ตรวจสอบ จากหน่วยงานของรัฐ   นักการเมือง  สื่อมวลชน  องค์การ   เอกชน  ประชาชน

ปัญหาในการจัดการเชิงกลยุทธ์
1. ข้อสมมติฐานเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอนาคต นั้นไม่เป็นจริงใช้เทคนิควิเคราะห์ทางสถิติไม่ถูกต้อง
 หรือตัวแปรไม่ครบถ้วน
          2. มีการแยกกลุ่มผู้จัดทำแผน กลุ่มผู้วางแผน และกลุ่มผู้ปฏิบัติเป็นคนละกลุ่มกันทำให้ไม่สามารถ
 เชื่อมโยงความคิดกันได้
3. มีการแยกข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Data) และข้อมูลเชิงคุณลักษณะ (Qualitative Data)ออกจากกันทำให้การวิเคราะห์ไม่ครบถ้วนเชื่อมต่อกัน
          4.มักนำความรู้สึกและสัญชาติญาณมาใช้ในการกำหนดกลยุทธ์มากกว่าการกำหนดระเบียบวิธีการที่เป็นรูปธรรม
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม
-        การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก
-        การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมเชิงปฏิบัติการ
-        การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในองค์การ
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ เป็นการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก ที่มีผลกระทบต่อองค์การในระยะยาว  ได้แก่
1.  ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ
-        อัตราเงินเฟ้อ
-        อัตราดอกเบี้ย
-        อัตราภาษี
-        อัตราการว่างงาน
2.  ปัจจัยด้านเทคโนโลยี
-        การผลิตคิดค้นทางเทคโนโลยีต่างๆ
-        เครื่องจักรกลทางอุตสาหกรรม
-        เครื่องคอมพิวเตอร์
-        เทคโนโลยีสารสนเทศ
3.  ปัจจัยด้านการเมืองและกฎหมาย
-        นโยบายของรัฐบาล
-        เสถียรภาพของรัฐบาล
-        การแก้ไขกฎหมาย
-        การปรับปรุงระเบียบปฏิบัติงานต่างๆ
4.  ปัจจัยด้านสังคม
-        โครงสร้างทางเพศ และอายุ
-        ระดับการศึกษา
-        ค่านิยม
-        พฤติกรรมการบริโภค อุปโภค
แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
            1.  ผู้บริโภคให้ความเอาใจใส่ในสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
            2.  ตลาดผู้สูงอายุขยายตัวมากขึ้น
            3.  ลูกค้าต้องการสินค้าและบริการที่สามารถตอบสนองความต้องการเฉพาะตัว  เฉพาะกลุ่มมากขึ้น
            4.  เทคโนโลยีทำให้รูปแบบการดำเนินชีวิตเปลี่ยนแปลงไป
            5.  ครัวเรือนเดี่ยวมีมากขึ้น
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมเชิงปฏิบัติการในภาครัฐบาล
     ในองค์การภาครัฐบาล สภาพแวดล้อมเชิงปฏิบัติการมาจากองค์ประกอบสำคัญ  5  ประการ  ได้แก่
            1.  สภาพปัญหาของสาขาการพัฒนา หรือภาคบริการ (การศึกษา การอนามัย)
            2.  ผู้รับผลประโยชน์และผู้รับบริการ  พิจารณาจากลักษณะของกลุ่มเป้าหมาย
            3.  ความต้องการของสังคมต่อการได้รับบริการ โดยวิเคราะห์ ปัจจัยที่เอื้อและเป็นอุปสรรคทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม  และเทคโนโลยี
4.  ความพร้อมของภาครัฐในการให้บริการ ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ
            5.  กลุ่มบุคคลผู้มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ เกี่ยวกับการให้บริการ รวมทั้งผู้สนับสนุนและคัดค้าน
การดำเนินการตามแผนงาน
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมเชิงปฏิบัติการในภาคเอกชน มีเครื่องมือในการวิเคราะห์ที่สำคัญคือ
1.    การวิเคราะห์แรงผลักดันทั้ง 5
2.    การวิเคราะห์วงจรอุตสาหกรรม
3.    การวิเคราะห์แผนที่กลุ่มธุรกิจ
การวิเคราะห์แรงผลักดันทั้ง  5 (Five Forces  Model)
                เป็นการวิเคราะห์แรงผลักดันที่สำคัญ  5  ประการ  ซึ่งมีผลต่อความสามารถในการทำกำไรของผู้ประกอบการ  ได้แก่
            1  การเข้ามาของคู่แข่งรายใหม่
            2  การแข่งขันในอุตสาหกรรม
            3  การคุกคามจากสินค้าทดแทน
            4  อำนาจต่อรองของผู้ซื้อ
            5  อำนาจต่อรองของผู้ขาย

1  การเข้ามาของคู่แข่งรายใหม่ ข้อจำกัด
-        การประหยัดเนื่องจากขนาด
-        ความแตกต่างในผลิตภัณฑ์
-        ความต้องการเงินลงทุน
-        ต้นทุนในการเปลี่ยนสินค้า
-        ความจงรักภักดีในตราสินค้า
-        การเข้าถึงช่องทางการจัดจำหน่าย
-        นโยบายรัฐบาล
-        ความไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยี และ สิทธิบัตร
-        ผลกระทบของประสบการณ์ในการผลิต
2  การแข่งขันในอุตสาหกรรม
-        จำนวนคู่แข่งขัน  ขนาดและศักยภาพของคู่แข่ง
-        อัตราการเติบโตของอุตสาหกรรม
-        ลักษณะของสินค้าและบริการ
-        จำนวนต้นทุนคงที่
-        อุปสรรคในการออกจากอุตสาหกรรม
3  ภาวะคุกคามจากสินค้าทดแทน
-        ระดับราคาของสินค้าทดแทน
-        ความสามารถในการตอบสนองความพึงพอใจผู้บริโภคของสินค้าทดแทน
-        ความยากง่ายในการที่ลูกค้าเปลี่ยนไปใช้สินค้าทดแทน
4  อำนาจต่อรองของผู้ซื้อ
-        ปริมาณการซื้อของผู้ซื้อ เทียบกับยอดขายทั้งหมด
-        ความสามารถของผู้ซื้อในการเป็นผู้ผลิตสินค้านั้นเอง
-        จำนวนผู้ขายสินค้า
-        ต้นทุนในการเปลี่ยนสินค้า (Switching Cost) ของผู้ซื้อ
-        ข้อมูลและการเข้าถึงแหล่งข้อมูลของผู้ซื้อในเรื่องเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ราคา และต้นทุนเพื่อการต่อรอง
5  อำนาจต่อรองของผู้ขาย
-        จำนวนผู้ขาย
-        ลักษณะเฉพาะของสินค้าและบริการ
-        การมีสินค้าทดแทนในตลาด
-        การขยายธุรกิจของผู้ขายไปสู่การผลิตสินค้าที่เคยซื้อ
ผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ ได้แก่รัฐบาล ชุมชน ท้องถิ่นเจ้าหนี้ สมาคมการค้า ผู้ถือหุ้น องค์กรเอกชน ผู้บริโภค

การวิเคราะห์วงจรอุตสาหกรรม (Industry  Life Cycle)  วงจรชีวิตอุตสาหกรรม  มี  5  ขั้นตอน  คือ
            1.  ระยะเริ่มต้น
            2.  ระยะเติบโต
            3.  ระยะชะลอการเติบโต
            4.  ระยะอิ่มตัว
            5.  ระยะถดถอย
การวิเคราะห์แผนที่กลุ่มธุรกิจ
               (Strategic Group Mapping)
            เป็นการวิเคราะห์ บริษัทที่อยู่ในกลุ่มธุรกิจเดียวกันที่มีกลยุทธ์และทรัพยากรคล้ายคลึงกัน  เพื่อสร้างความเข้าใจในสถาพการแข่งขันในอุตสาหกรรม     โดยเลือกลักษณะ  2  อย่าง  ที่ทำให้เห็นความแตกต่าง      ของบริษัทเหล่านี้  เช่น ราคา   ขอบเขตการแข่งขัน  ความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ ช่องทางการจัดจำหน่ายเป็นต้น

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน
เป็นการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อนในองค์การ เพื่อให้เข้าใจถึงทรัพยากรที่มีอยู่ในองค์การ
q   องค์การมีทรัพยากรที่สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน    หรือไม่
q   คู่แข่งมีทรัพยากรนั้นหรือไม่
q   หากคู่แข่งต้องการเลียนแบบ จะมีต้นทุนเกิดขึ้นหรือไม่
q   องค์การมีการจัดการทรัพยากรนั้นอย่างมีประสิทธิภาพ    หรือไม่
แนวทางการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน ทำได้โดยการวิเคราะห์ห่วงโซ่แห่งคุณค่าและการวิเคราะห์ปัจจัยภายในตามสายงาน
การวิเคราะห์ห่วงโซ่แห่งคุณค่า (Value Chain Analysis)
เป็นการทำความเข้าใจว่า   สินค้าขององค์การมีกระบวนการอย่างไรในห่วงโซ่แห่งคุณค่า      ซึ่งก็คือ การเชื่อมโยงกิจกรรมต่างๆ ที่สร้างคุณค่าให้แก่องค์การ ตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบไปจนถึงการส่งสินค้าสู่ผู้บริโภคทั้งนี้เพื่อหาความชำนาญหลักของบริษัท
การวิเคราะห์ ห่วงโซ่แห่งคุณค่า มีขั้นตอนดังนี้
1.  การตรวจสอบห่วงโซ่แห่งคุณค่าในแต่ละขั้นจากกิจกรรมที่ทำให้เกิดสินค้าและบริการ  กิจกรรมใด
นับเป็นจุดแข็งและจุดอ่อน
            2. ตรวจสอบความเชื่อมโยงของแต่ละกิจกรรมว่าแต่ละกิจกรรมสามารถส่งมอบคุณค่าใดให้แก่กิจกรรมถัดไป และองค์การสามารถส่งมอบคุณค่าจากกิจกรรมทั้งหมดในห่วงโซ่คุณค่าให้แก่ลูกค้าได้อย่างไร
การวิเคราะห์ปัจจัยภายในตามสายงาน
            เป็นการตรวจสอบหน่วยงานต่างๆ ภายในองค์การเพื่อวิเคราะห์จุดแข็ง   และจุดอ่อน  รวมถึงการวิเคราะห์ความสามารถของทรัพยากรบุคคล   ในแต่ละหน่วยงานในการกำหนดวัตถุประสงค์  กลยุทธ์       และนโยบาย
ตลอดจนการนำวัตถุประสงค์ กลยุทธ์      และนโยบาย  ไปใช้ในการปฏิบัติงานด้วย
1.  การวิเคราะห์การตลาด (Marketing)
-        การวิเคราะห์ ตำแหน่งทางการตลาด (Market Position)     โดยการตอบคำถามว่า ใครคือลูกค้าของเรา  เพื่อให้สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าของตนได้ (market segmentation)
-        การวิเคราะห์ ส่วนผสมทางการตลาด (market mix) ซึ่งได้แก่     ผลิตภัณฑ์ ราคา ช่องทางจัดจำหน่ายและการส่งเสริมการขาย   เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
-        การวิเคราะห์วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (product life cycle) ซึ่ง    แสดงความสัมพันธ์ระหว่างเวลากับมูลค่ายอดขายของผลิตภัณฑ์นั้นเพื่อการวางส่วนผสมทางการตลาดที่เหมาะสม
2. การวิเคราะห์ทางการเงิน (Financial Issues)เป็นการวิเคราะห์เพื่อการตัดสินใจ  ทางการเงินที่สำคัญ  ได้แก่
-        การตัดสินใจลงทุน  โดยดูถึงระยะเวลาคืนทุนอัตราผลตอบแทนขั้นต่ำ  จุดคุ้มทุน
-        โครงสร้างทางการเงิน  เช่น  สัดส่วนหนี้ต่อทุนการวิเคราะห์สภาพคล่องทางการเงิน  ความเสี่ยงในการก่อหนี้  ความสามารถในการทำกำไร
3. การวิจัยและพัฒนา  (Research and  Development Issues)
-        การตัดสินใจเลือกทางเลือกด้านเทคโนโลยี    ใหม่มาใช้ในองค์การ
-        การพัฒนาวิธีการในการนำเทคโนโลยี    ใหม่มาใช้ในกระบวนการผลิต
-        การจัดสรรทรัพยากรให้เหมาะสมต่อ การนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้ 
            การวิจัยและพัฒนา แบ่งออกเป็น
-      การวิจัยพื้นฐาน-เป็นการคิดค้นเทคโนโลยีใหม่   ในห้องทดลอง
-      การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์-สร้างผลิตภัณฑ์   ใหม่
-      การวิจัยและพัฒนากระบวนการ เช่น การพัฒนา   ด้านวิศวกรรม   การควบคุมคุณภาพ    การปรับปรุงเครื่องจักรเพื่อลดต้นทุนและจำนวน   ของเสีย
4. การดำเนินการ (Operation  Issues) เป็นการวิเคราะห์การดำเนินการผลิต  และการให้บริการ รวมทั้งการใช้เครื่องจักรและแรงงาน
-        กระบวนการผลิตแบบต่อเนื่อง-เน้นการผลิต    จำนวนมาก
-        กระบวนการผลิตแบบไม่ต่อเนื่อง-เน้นกลุ่ม    เป้าหมายเฉพาะ
5.  การบริหารทรัพยากรบุคคล
-        การวิเคราะห์ลักษณะงาน
-        การสรรหาและคัดเลือกพนักงาน
-        ระบบผลตอบแทน และระบบจูงใจพนักงาน
-        การประเมินผลการทำงาน
-        การอบรมและพัฒนา
-        การบริหารแรงงานสัมพันธ์

ข้อสอบออกแนวที่นำเสนอ Swot Analysis  โรงพยาบาลสุวรรณภูมิ

กรณีศึกษา
บริษัทสยามกระดาษ
Q&A
vichai_tho@hotmail.com08-9129-2929

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น