วันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2559

การแก้ไขปัญหาภัยแล้งอย่างยั่งยืน


บริบทของภัยแล้ง

ภัยแล้งเป็นภัยธรรมชาติอย่างหนึ่งที่เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะนำความเสียหายทางเศรษฐกิจและสังคมมาสู่ประเทศชาติ
และประชาชนเป็นอย่างมาก ทั้งทางด้านการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค และด้านการเกษตรที่ต้องต้อง
พึ่งพาธรรมชาติประเทศไทยเป็นประเทศที่ส่งออกสินค้าเกษตรและผลิตภัณท์แปรรูปทางการเกษตรที่สำคัญในตลาดโลก
      แต่ในช่วงที่ผ่านมาผลผลิตสินค้าเกษตรของประเทศลดลง เช่น ในปีที่ผ่านมา (2548) การผลิตภาคเกษตรได้รับผลกระทบจากหลายปัจจัย ทําให้เกิดปัญหา Supply Shock ในภาคเกษตร โดยบางปัจจัยเป็นผลสืบเนื่องมาตั้งแต่ปลายปี 2547 อาทิ ปัญหาภัยแล้งที่ค่อนข้างรุนแรง ธรณีพิบัติภัย (สึนามิ) และราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ซึ่งอาจกล่าวได้
ว่าภัยแล้งมีผลกระทบโดยตรงต่อการลดลงของผลผลิตทางด้านการเกษตร และมีผลกระทบทางอ้อม ได้แก่การทิ้งร้างที่ดินทำกิน การอพยพละทิ้งที่อยู่อาศัยไปหางานทำในเมือง ซึ่งได้ก่อให้เกิดปัญหาทั้งทางด้านเศรษฐกิจ
สังคม และวัฒนธรรม ตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
 
   นิยามภัยแล้ง
 
        มีการให้คำจำกัดความของภัยแล้งไว้มากมายแต่โดยรวมแล้วมีความหมายใกล้เคียงกัน ซึ่งหมายถึงภัย
ธรรมชาติอันเกิดจากการมีฝนตกน้อยหรือฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาลทำให้เกิดสภาวะการขาดแคลนน้ำในพื้น
ที่ใดพื้นที่หนึ่งทั้งด้านน้ำอุปโภคบริโภคและน้ำเพื่อการเกษตรซึ่งเป็นสาเหตุให้พืชพรรณต่างๆได้รับผลกระทบ
ทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโตผลผลิตไม่สมบูรณ์เกิดความเสียหายทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม
 
   ภัยแล้งในประเทศไทย
 
        สำหรับภัยแล้งในประเทศไทยส่วนใหญ่เกิดจากฝนแล้งและทิ้งช่วงซึ่งฝนแล้งเป็นภาวะปริมาณฝนตก
น้อยกว่าปกติหรือฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาลโดยแต่ละปีจะเกิดขึ้นได้ 2 ช่วงได้แก่ช่วงฤดูหนาวต่อเนื่อง
ถึงฤดูร้อน ซึ่งจะเริ่มจากครึ่งหลังของเดือนตุลาคมเป็นต้นไป บริเวณประเทศไทยตอนบน   (ภาคเหนือ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออก) จะมีปริมาณฝนลดลงเป็นลำดับ ยกเว้นภาคใต้
จนกว่าจะย่างเข้าสู่ฤดูฝนในช่วงกลางเดือนพฤษภาคมของปีถัดไปซึ่งภัยแล้งลักษณะนี้จะเกิดขึ้นเป็น,
ประจำทุกปี และมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงขึ้นเป็นลำดับ ส่วนภัยแล้งอีกช่วงหนึ่งมักเกิดขึ้นในช่วง
กลางฤดูฝน คือ ประมาณปลายเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคม จะมีฝนทิ้งช่วง ซึ่งอาจเกิดขึ้นเฉพาะท้องถิ่น
หรือบางบริเวณ แต่บางครั้งก็อาจครอบคลุมพื้นที่กว้างเกือบทั่วประเทศไทย
 
   สาเหตุการเกิดภัยแล้ง
 
        จากการพัฒนาประเทศทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ทำให้มีการขยายพื้นที่เกษตรกรรม อุตสาหกรรม
และที่อยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องและเป็นเหตุให้พื้นที่ป่าไม้ลดลงก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ
และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการกระทำของมนุษย์ที่มีส่วนก่อให้เกิดความรุนแรงของการขาดแคลนน้ำซึ่งเป็น
        สำหรับภัยแล้งทางด้านการเกษตรมีสาเหตุและปัจจัยสำคัญอยู่ 2 สาเหตุ คือ สาเหตุจากธรรมชาติเช่น
ฝนทิ้งช่วงปริมาณน้ำฝนน้อย ดินมีความสามารถในการเก็บกักความชื้นต่ำ ปริมาณน้ำใต้ดินมีน้อยเป็นต้น
และสาเหตุจากการกระทำของมนุษย์ เช่น การตัดไม้ทำลายป่าการใช้ประโยชน์จากน้ำทำให้ปริมาณน้ำใน
อ่างเก็บน้ำลดลง ระบบการเพาะปลูก ความถี่ของการเพาะปลูก เป็นต้น
 
   ภัยแล้งทางการเกษตรของประเทศไทย
 
        สามารถแบ่งออกเป็นภัยแล้งที่เกิดขึ้นในสภาพพื้นที่เกษตรน้ำฝนและที่เกิดขึ้นในพื้นที่เกษตรชลประทาน
ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
             1. ภัยแล้งที่เกิดขึ้นในพื้นที่เกษตรน้ำฝน เป็นสภาวะที่เกิดจากการขาดแคลนน้ำสำหรับการเพาะปลูก
ในช่วงฤดูฝนหรือช่วงฤดูแล้งมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืชในช่วงระยะเวลาต่างๆ เป็นผลให้พืชชะงัก
การเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง ซึ่งจะมีผลกระทบต่อเกษตรกรและเศรษฐกิจของชาติโดยรวม
             2. ภัยแล้งที่เกิดขึ้นในพื้นที่เกษตรชลประทาน ถึงแม้ว่าจะเป็นพื้นที่ส่งน้ำสำหรับการเพาะปลูกแต่สภาวะ
ที่เกิดการขาดแคลนน้ำสำหรับการเพาะปลูกในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งของช่วงการเพาะปลูกพืชสามารถเกิดขึ้น
ได้เช่นกันเช่นปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำมีน้อย หรือสัดส่วนการใช้น้ำด้านอื่นเพิ่มมากขึ้น ซึ่งมีผลกระทบให้การ
เจริญเติบโตของพืชชะงักทำให้ผลผลิตพืชลดลงหรือตายไปในที่สุด กระทบต่อเกษตรกรโดยตรงและเศรษฐกิจของชาติโดยรวม
 
   ผลกระทบจากภัยแล้ง
 
        ภัยแล้งสร้างความเสียหายและผลกระทบในด้านต่างๆ ดังนี้
             1. ผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม การเกิดภัยแล้งอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ทำให้แหล่งน้ำตามธรรมชาติตื้นเขิน ระดับน้ำใต้ดินเปลี่ยนแปลง พื้นที่ที่เคยอุดมสมบูรณ์เกิดความแห้งแล้ง เกิดการกัดเซาะของหน้าดิน และการทิ้งร้างไม่ได้ใช้ประโยชน์ของที่ดิน
             2. ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ ทำให้ผลผลิตด้านเกษตรกรรม และอตุสาหกรรมลดลง รวมทั้งกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ เช่น ผลผลิตทางการเกษตรคุณภาพต่ำ ทำให้ราคาผลผลิตลดลง เกิดความยากจน และเกิดการสูญเสียจากการทิ้งร้างที่ดิน
             3. ผลกระทบทางด้านสังคม เกิดการละทิ้งถิ่นฐานเข้ามาทำงานในเมืองใหญ่ เกิดผลกระทบในด้านสุขภาพอนามัย การจัดการคุณภาพชีวิตลดลง และเกิดความขัดแย้งในการใช้น้ำ
มาตรการและแนวทางการจัดการพื้นที่ประสบภัยแล้ง
 
        การป้องกันและการจัดการกับปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปีจะช่วยลดความเสียหายและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งมาตรการและแนวทางการจัดการพื้นที่ประสบภัยแล้งสามารถแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ
ระยะสั้น จะดำเนินการในฤดูแล้งหรือช่วงที่เกิดภัยแล้งขึ้นเป็นการเฝ้าระวังและติดตามและเตือนภัยล่วงหน้าบริเวณพื้นที่ที่ประสบภัยแล้งส่วนใน ระยะยาว นั้นเป็นการเสนอแนะแนวทางการป้องกันและการจัดการฟื้นฟูพื้นที่ที่ประสบภัยแล้งให้สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์

ระยะสั้น
             1. การเตือนภัยแล้งในช่วงฤดูแล้ง ผ่านทาเว็บไซต์ http://www.ldd.go.th/web_irw/index.htm
             2. เฝ้าระวังพื้นที่ที่ประสบภัยแล้งซ้ำซากเป็นพิเศษ
             3. รายงานสรุปพื้นที่ที่คาดว่าจะประสบภัยแล้งหรือเสียหายเพื่อประเมินความเสียหายและให้การช่วยเหลือ
                 เบื้องต้น

ระยะยาว
             1.ฟื้นฟูพื้นที่ที่ประสบปัญหาภัยแล้งโดยการส่งเสริมการอนุรักษ์ดินและน้ำเพิ่มการปกคลุมดินโดยการปลูก
                พืชคลุมดินหรือพืชปุ๋ยสด และการปลูกหญ้าแฝกเพื่อลดการชะล้างพังทลายของดิน
             2.การพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กในไร่นาโดยเฉพาะในพื้นที่นอกเขตชลประทานเพื่อให้เกษตรกรใช้เก็บกัก
                น้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งและเป็นการช่วยเพิ่มระดับน้ำใต้ดินด้วย
             3.เพิ่มอินทรีย์วัตถุในดินเพื่อเป็นการเพิ่มช่องว่างในดินทำให้ดินสามารถเก็บกักน้ำไว้ได้ และเพิ่มความอุดม
                สมบูรณ์ของดิน โดยใช้สารเร่งพ.ด ต่างๆ
             4.การเตือนภัยล่วงหน้าก่อนที่จะมีการเพาะปลูกพืชเพื่อให้เกษตรกรได้มีการวางแผนให้สอดคล้องกับ
                ปริมาณน้ำต้นทุนที่มีอยู่
             5.การจัดระบบการปลูกพืชที่เหมาะสม เช่นการปลูกพืชอายุสั้นใช้น้ำน้อย และคัดเลือกพันธุ์พืชที่ทนแล้ง
                เหมาะสมกับท้องถิ่น
             6.การรักษาฟื้นฟูพื้นที่ป่าโดยเฉพาะพื้นที่ป่าต้นน้ำลำธารรวมทั้งการปลูกไม้ยืนต้นเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับ
               พื้นที่
(ที่มา กลุ่มวางแผนการจัดการที่ดินในพื้นที่เสี่ยงภัยทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์)


การแก้ไขปัญหาภัยแล้งอย่างยั่งยืน
ดาวน์โหลด : http://library2.parliament.go.th/giventake/content_nrcinf/nrc2557-article43.pdf
(ขอขอบคุณ สิตาวีร์ ธีรวิรุฬห์ วิทยากรช านาญการพิเศษ กลุ่มงานบริการวิชาการ 3 ส านักวิชาการ
สำนังานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น