วินัยข้าราชการ และ อปท (ใช้อันเดียวกัน)
พรบ.ข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 หมวด 6 บัญญัติให้ข้าราชการต้องรักษาวินัยโดยการกระทำหรือไม่กระทำการตามที่บัญญัติเป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติโดยเคร่งครัด อยู่เสมอตั้งแต่มาตรา 80 ถึง มาตรา 85 โดยข้าราชการต้องรักษาวินัยแบ่งเป็น 6 ประเภท ดังนี้
พรบ.ข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 หมวด 6 บัญญัติให้ข้าราชการต้องรักษาวินัยโดยการกระทำหรือไม่กระทำการตามที่บัญญัติเป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติโดยเคร่งครัด อยู่เสมอตั้งแต่มาตรา 80 ถึง มาตรา 85 โดยข้าราชการต้องรักษาวินัยแบ่งเป็น 6 ประเภท ดังนี้
1. วินัยต่อประเทศชาติ
1. ต้องสนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ (ม.81)
1. ต้องสนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ (ม.81)
2. วินัยต่อประชาชน
1. ต้องต้อนรับให้ความสะดวก ให้ความเป็นธรรมให้ความสงเคราะห์แก่ประชาชนผู้มาติดต่อราชการกับหน้าที่ของตน(ม.82(8))
2. ต้องไม่ดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่ หรือ ข่มเหงประชาชนผู้มาติดต่อราชการ ( ม.83(9))
3. หากดูหมิ่น เหยียดหยามฯ เป็นความผิดวินัยร้ายแรง (ม.85(5))
1. ต้องต้อนรับให้ความสะดวก ให้ความเป็นธรรมให้ความสงเคราะห์แก่ประชาชนผู้มาติดต่อราชการกับหน้าที่ของตน(ม.82(8))
2. ต้องไม่ดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่ หรือ ข่มเหงประชาชนผู้มาติดต่อราชการ ( ม.83(9))
3. หากดูหมิ่น เหยียดหยามฯ เป็นความผิดวินัยร้ายแรง (ม.85(5))
3. วินัยต่อผู้บังคับบัญชา
1. ต้องปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา (ม.82(4)และม.85(7))
2. ต้องไม่รายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา (ม.83(1)และม.85(7))
3. ต้องไม่กระทำข้ามผู้บังคับบัญชา (ม.83(2))
1. ต้องปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา (ม.82(4)และม.85(7))
2. ต้องไม่รายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา (ม.83(1)และม.85(7))
3. ต้องไม่กระทำข้ามผู้บังคับบัญชา (ม.83(2))
4. วินัยต่อผู้ร่วมงาน
1. ต้องไม่กลั่นแกล้ง กดขี่ ข่มเหงกัน (ม.83(7))
2. ต้องรักษาความสามัคคี (ม.82(7))
3. ต้องไม่กระทำการอันเป็นการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ (ม.83(8))
1. ต้องไม่กลั่นแกล้ง กดขี่ ข่มเหงกัน (ม.83(7))
2. ต้องรักษาความสามัคคี (ม.82(7))
3. ต้องไม่กระทำการอันเป็นการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ (ม.83(8))
5. วินัยต่อหน้าที่ราชการ
1. ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและเที่ยงธรรม(ม.82(1))
2. ต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ มติคณะรัฐมนตรีและนโยบายรัฐบาล และปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ (ม.82(2)) หากไม่ปฏิบัติมีความผิดวินัยร้ายแรง (ม.85(7))
3. ต้องตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ราชการ รักษาประโยชน์ของทางราชการ(ม.82(3))
4. ต้องอุทิศเวลาของตนให้แก่ราชการ จะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการมิได้ (83(5)) หากละทิ้งหน้าที่ราชการมีความผิดวินัยร้ายแรง(ม.85(2),(3))
5. ต้องรักษาความลับของราชการ (ม.82(6)) หากเปิดเผยความลับของทางราชการ มีความผิดวินัยร้ายแรง (ม.85(7))
6. ต้องเป็นกลางทางการเมือง (ม.82(9))
7. ต้องไม่อาศัยตำแหน่งหน้าที่หาประโยชน์ (ม.83(3))
8. ต้องไม่ประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการ (ม.83(4)) หากประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการ เป็นความผิดวินัยร้ายแรง (ม.85(7))
9. ต้องไม่กระทำการหรือยอมให้ผู้อื่นกระทำการหาผลประโยชน์อันอาจทำให้เสียความเที่ยงธรรมหรือเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่(ม.83(5))
10. ต้องไม่เป็นกรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท(ม.83(6))
11. ต้องไม่ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการเพื่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือจงใจทุจริตต่อหน้าที่ราชการ (ม.85(1))
1. ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและเที่ยงธรรม(ม.82(1))
2. ต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ มติคณะรัฐมนตรีและนโยบายรัฐบาล และปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ (ม.82(2)) หากไม่ปฏิบัติมีความผิดวินัยร้ายแรง (ม.85(7))
3. ต้องตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ราชการ รักษาประโยชน์ของทางราชการ(ม.82(3))
4. ต้องอุทิศเวลาของตนให้แก่ราชการ จะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการมิได้ (83(5)) หากละทิ้งหน้าที่ราชการมีความผิดวินัยร้ายแรง(ม.85(2),(3))
5. ต้องรักษาความลับของราชการ (ม.82(6)) หากเปิดเผยความลับของทางราชการ มีความผิดวินัยร้ายแรง (ม.85(7))
6. ต้องเป็นกลางทางการเมือง (ม.82(9))
7. ต้องไม่อาศัยตำแหน่งหน้าที่หาประโยชน์ (ม.83(3))
8. ต้องไม่ประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการ (ม.83(4)) หากประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการ เป็นความผิดวินัยร้ายแรง (ม.85(7))
9. ต้องไม่กระทำการหรือยอมให้ผู้อื่นกระทำการหาผลประโยชน์อันอาจทำให้เสียความเที่ยงธรรมหรือเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่(ม.83(5))
10. ต้องไม่เป็นกรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท(ม.83(6))
11. ต้องไม่ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการเพื่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือจงใจทุจริตต่อหน้าที่ราชการ (ม.85(1))
6. วินัยต่อตนเอง
1. ต้องรักษาชื่อเสียง เกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการตนมิให้เสื่อมเสีย (ม.82(10))
2. ต้องไม่กระทำอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง (ม.85(4))
3. ต้องไม่กระทำผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุก (ม.85(6))
1. ต้องรักษาชื่อเสียง เกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการตนมิให้เสื่อมเสีย (ม.82(10))
2. ต้องไม่กระทำอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง (ม.85(4))
3. ต้องไม่กระทำผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุก (ม.85(6))
++++++++++++++
การกระทำผิดวินัยของข้าราชการ แบ่งออกเป็น 2 อย่าง คือ
1. ทำในสิ่งที่ต้องห้าม ผิดวินัย และผิดวินัยอย่างร้ายแรง
2. ไม่ปฏิบัติในสิ่งที่ต้องปฏิบัติ ตาม พรบ.บุคคลฯ และ มาตรฐานจริยธรรมของข้าราชการและลูกจ้างฯ
การกระทำผิดวินัยของข้าราชการ แบ่งออกเป็น 2 อย่าง คือ
1. ทำในสิ่งที่ต้องห้าม ผิดวินัย และผิดวินัยอย่างร้ายแรง
2. ไม่ปฏิบัติในสิ่งที่ต้องปฏิบัติ ตาม พรบ.บุคคลฯ และ มาตรฐานจริยธรรมของข้าราชการและลูกจ้างฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น