วันพุธที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2562

ระบบสารสนเทศ อปท.


ระบบสารสนเทศที่ใช้ในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นส่วนราชการในสังกัดกระทรวงมหาดไทย มีภารกิจในความรับผิดชอบ คือ การส่งเสริมและสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความเข้มแข็ง มีศักยภาพในการให้บริการสาธารณะ โดยการพัฒนาและให้คำปรึกษาแนะนำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในด้านการบริหารงานบุคคล การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น การเงิน การคลัง และการบริหารจัดการ ให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องภารกิจหน้าที่ด้านการปกครองส่วนท้องถิ่น แต่เดิมอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักบริหารราชการส่วนท้องถิ่น (สน.บท.) สังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ต่อมาภารกิจในเรื่องดังกล่าวได้เพิ่มพูนมากขึ้นเป็นลำดับ สืบเนื่องมาจากการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้ท้องถิ่นมีความเป็นอิสระ สอดคล้องตามเจตนารมณ์และบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ดังนั้น เพื่อให้การส่งเสริมและสนับสนุนการทำงานของท้องถิ่นเป็นไปอย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นที่จะต้องยกฐานะของสำนักให้เป็นส่วนราชการระดับกรม ซึ่งในปี พ.ศ. 2545 สำนักบริหารราชการส่วนท้องถิ่นจึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทยอำนาจและหน้าที่ของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นไปตามกฏกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2551 ซึ่งกำหนดไว้ดังนี้
1. ดำเนินการพัฒนาระบบ รูปแบบ และโครงสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2. ส่งเสริมและสนับสนุนในการจัดทำ ประสาน และบูรณาการแผนพัฒนาท้องถิ่นและวางระบบในการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาท้องถิ่น
3. ดำเนินการจัดทำ แก้ไข ปรับปรุงกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งให้คำปรึกษา แนะนำ และกำกับดูแลการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
4. กำหนดแนวทางและจัดทำมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ ตามกฎหมายว่าด้วยการบริการงานบุคคลส่วนท้องถิ่น
5. ส่งเสริม สนับสนุน และประสานการดำเนินงานด้านการเงิน การคลัง การงบประมาณ การพัสดุ การจัดเก็บรายได้ และการประกอบกิจการพาณิชย์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งวางระบบตรวจสอบระบบการเงิน การบัญชี และการพัสดุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
6. ส่งเสริม สนับสนุน และประสานการจัดการบริการสาธารณะและการศึกษาในอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
7. กำหนดแนวทาง วางระบบ และสร้างตัวชี้วัดเพื่อเป็นมาตรฐานการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตลอดจนกำกับดูแลให้เป็นไปตามมาตรฐาน
8. ส่งเสริมภาคประชาชนให้มีส่วนร่วมในการบริหารงานและตรวจสอบการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
9. พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
10. พัฒนาบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและของกรม
11. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรมหรือตามที่กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น แบ่งส่วนราชการออกเป็น 2 ส่วน คือ ราชการบริหารส่วนกลาง และราชการบริหารส่วนภูมิภาค ดังต่อไปนี้
ก.       ราชการบริหารส่วนกลาง
1. สำนักงานเลขานุการกรม :
Office of the Secretary
2. กองการเจ้าหน้าที่ :
Division of Personnel
3. กองคลัง :
Division of Finance
4. กองกฎหมายและระเบียบท้องถิ่น :
Division of Local Legal Affairs
5. กองตรวจสอบระบบการเงินบัญชีท้องถิ่น :
Division of Local Audit
6. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศท้องถิ่น :
Local Information Technology Centre
7. สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น :
Local Personnel Development Institution
8. สำนักบริหารการคลังท้องถิ่น :
Bureau of Local Finance
9. สำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น :
Bureau of Local Personnel System Development
10. สำนักพัฒนาและส่งเสริมการบริหารงานท้องถิ่น (นโยบายและแผน) :
Bureau of Local Administrative Development ( Policy and Planning )

ข. ราชการบริหารส่วนภูมิภาค
            1. สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัด (75 จังหวัด) : Provincial Office for Local Administration
ระบบข้อมูลสารสนเทศขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ปัจจุบันองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ได้เข้ามามีบทบาทในวิถีชีวิตของประชาชนทั่วไป อำนาจจากรัฐบาลกลางได้ถ่ายโอนไปยังท้องถิ่น ตั้งแต่การปกครอง การศึกษา การสาธารณสุข สาธารณูปโภค รวมถึงการให้บริการในรูปแบบต่างๆ อย่างไรก็ตามประชาชนทั่วไปยังสับสนในบทบาทหน้าที่ของ อปท. รวมทั้งองค์กรที่สังกัดใน อปท. ก็ยังไม่สามารถนำเสนอข้อมูลบริการ รวมถึงการสื่อสารไปยังประชาชนที่อยู่ภายใต้การปกครองหรือประชาชนทั่วไป ขาดข้อมูลที่จะเปรียบเทียบสมรรถนะ (Benchmarking) และระดับของการให้บริการประชาชน
ปัจจุบันได้มีการจัดเก็บข้อมูลโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) การจัดทำข้อมูลมีการดำเนินงานในสองรูปแบบหลัก คือ
1) หน่วยงานแต่ละหน่วยต่างจัดเก็บข้อมูลภายในพื้นที่ ขอบเขตหน้าที่รับผิดชอบ และแสดงผลลัพธ์ผ่านเว็บไซต์ของตน ปัญหาที่พบคือคุณภาพของข้อมูล เว็บไซต์จะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับศักยภาพของหน่วยงาน และรสนิยมในการพัฒนาเว็บไซต์ ส่วนใหญ่ขาดความสมบูรณ์ ไม่สวยงาม ข้อมูลไม่เป็นปัจจุบัน ขาดความเชื่อมโยงข้อมูลไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ส่งผลต่อจำนวนผู้เยี่ยมชม และการใช้ประโยชน์จากข้อมูลและเว็บไซต์
2) การจัดเก็บข้อมูลโดยการพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ อปท. ของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (www.thailocaladmin.go.th/index.jsp ) ระบบที่พัฒนามีความสมบูรณ์ แต่ข้อบกพร่องจะเหมือนระบบสารสนเทศทั่วไปคือ หน่วยงานแต่ละแห่งไม่นำข้อมูลเข้า ทำให้ผลลัพธ์ที่ได้จากระบบขาดความสมบูรณ์ และไม่ทันสมัย เช่น แสดงสารสนเทศในปี พ.ศ. 2547 เป็นต้น นอกจากนี้ยังไม่ได้นำข้อมูลที่ได้รับไปวิเคราะห์ หรือสังเคราะห์ เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ต่อ ในระยะเวลาที่ผ่านมีผู้ทำการศึกษาในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จำนวนมาก รายงาน ผลงานวิจัย รวมทั้งองค์ความรู้ยังไม่ได้ถูกจัดเก็บเป็นระบบ นอกจากนี้ความต่างของหน่วยงานต่างๆ น่าจะนำมาเสนอในรูปของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์โดยรวม รวมทั้งเป็นการสนับสนุนการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ เช่น หน่วยงานขนาดเล็ก หรือหน่วยงานที่ยังมีการบริหารจัดการไม่เต็มประสิทธิภาพ สามารถนำแนวปฏิบัติที่ดี (Good Practice) ของหน่วยงานที่ประสบความสำเร็จมาประยุกต์ใช้กับหน่วยงานของตน โดยสรุปอาจกล่าวได้ว่าการจัดเก็บข้อมูลของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เป็นการจัดเก็บแบบรายหน่วยงาน ขาดการบูรณาการเพื่อการใช้ประโยชน์ร่วมกันหรือเพื่อใช้เปรียบเทียบกัน เป็นการจัดทำเว็บไซต์เพื่อการนำเสนอและประชาสัมพันธ์ (Web Presence) มากกว่าการกำหนดเป้าหมายเพื่อการทำธุรกรรม หรือ การใช้บริการกับประชาชนผู้ใช้บริการ รวมทั้งการจัดเก็บองค์ความรู้ของชุมชนท้องถิ่น
ดังนั้น ระบบสารสนเทศองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อทำการบูรณาการสารสนเทศที่หน่วยงานต่างๆได้พัฒนาขึ้น แต่ยังไม่ได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์เต็มประสิทธิภาพ นำข้อมูลมาวิเคราะห์สังเคราะห์ เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะ (
Benchmarking) ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นำแนวปฏิบัติที่ดีขององค์กรที่ประสบความสำเร็จมาเป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อการพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีศักยภาพเพิ่มขึ้นและสร้าง มาตรฐานที่ดีโดยเฉพาะการใบริการกับประชาชนและท้องถิ่น
หลักการและเหตุผล
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีภารกิจในการดำเนินการด้านการบริการประชาชน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การส่งเสริมคุณภาพชีวิต การจัดระเบียบชุมชนและสังคม การพาณิชยกรรม การท่องเที่ยว การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ด้านศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น การนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาเพิ่ม ประสิทธิภาพการทำงานตามภารกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความจำเป็นอย่าง ยิ่ง ทำให้เกิดบูรณาการและเอกภาพในระบบข้อมูล การวางแผน การประสานงาน การจัดสรรงบประมาณ ลดความซ้ำซ้อนในการปฏิบัติงาน รวมทั้งทำให้การบริการประชาชนดีขึ้น ซึ่งจะสร้างคุณค่าแก่ประชาชนในด้านความสะดวก รวดเร็วในการใช้บริการ รวมถึงความ โปร่งใส ตรวจสอบได้ อันจะสนับสนุนบรรยากาศที่เอื้อต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของท้อง ถิ่นเนื่องจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีอยู่ประมาณ 7,855 แห่ง ตั้งอยู่ทั้งในเขตเมืองและเขตชนบท ความแตกต่างด้านสภาพแวดล้อมทำให้การจัดทำแผนงานโครงการต่าง ๆ มีความหลากหลาย ทำให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นมีหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางในการประสานงาน ระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ซึ่งจำเป็นที่จะต้องกำกับดูแลและส่งเสริมให้ท้องถิ่นมีการจัดทำโครงการอย่าง เป็นระบบและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ จังหวัด และท้องถิ่นนั้น ทำให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นมีความคิดที่จะพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการ จัดทำแผนงาน งบประมาณ และการติดตามประเมินผล ให้เข้ากับยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งระบบงานนี้จะเป็นระบบที่ช่วยให้กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถ ทราบถึงแผนงานโครงการใช้จ่ายงบประมาณในโครงการต่าง ๆ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้อย่างาสะดวกรวดเร็วและทันเหตุการณ์
วัตถุประสงค์ของโครงการ
การจัดทำโครงการสารสนเทศการบริหารจัดการเพื่อการวางแผน และประเมินผลการใช้จ่ายงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมี วัตถุประสงค์หลักดังนี้
1. เพื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีเครื่องมือช่วยในการจัดทำแผนงานโครงการของท้องถิ่น
2. เพื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีเครื่องมือช่วยในการติดตามประเมินผลของการทำโครงการในท้องถิ่น
3. เพื่อให้ผู้บริหารสามารถเรียกดูรายละเอียดของการทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ ได้ด้วยความสะดวก รวดเร็ว ทันเหตุการณ์
4. เพื่อให้การประสานงานระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กับกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
5. เพื่อให้ข้อมูลการจัดทำรายงานความคืบหน้าของการใช้งบประมาณประจำปีขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นของแต่ละที่ทำได้อย่างสะดวก  รวดเร็ว และถูกต้อง
6. เพื่อให้ทราบถึงความก้าวหน้าในการดำเนินงานโครงการต่าง ๆ ที่อยู่ในแผนการใช้งบประมาณประจำปีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของแต่ละที่ ว่าอยู่ในขั้นตอนใด มีการเบิกจ่ายเงินไปแล้วเท่าไร
7. เพื่อให้การใช้งานระบบสารสนเทศขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและกรมส่งเสริม การปกครองส่วนท้องถิ่น ก่อให้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพสูงสุด
8. เพื่อให้เจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สามารถทำการส่งข้อมูลรายงานต่าง ๆ ให้กับกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
ขอบเขตการดำเนินงาน
ระบบสารสนเทศองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เพื่อการเรียนรู้ร่วมกันจะพัฒนาขึ้นโดยมีเป้าหมายหลักเพื่อ
1 จัดทำฐานข้อมูล ประกอบด้วยข้อมูลพื้นฐาน และดัชนีชี้วัดที่สำคัญ เพื่อให้ผู้ใช้ประโยชน์สามารถเข้าถึงสารสนเทศและบริการของ อปท.
2 สนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนโดยการใช้แนวคิดการพัฒนาเว็บในลักษณะ Web 2.0 ซึ่งเน้นการมีส่วนร่วมและการมีปฏิสัมพันธ์ ผ่านเครือข่ายทางสังคมต่างๆ
3 จัดเก็บ รวบรวมองค์ความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)
4 นำข้อมูลที่ได้จากฐานข้อมูลมาใช้เปรียบเทียบสมรรถนะ (Benchmark) เพื่อเพิ่มศักยภาพและจัดลำดับของหน่วยงาน อปท. และการผนึกกำลัง (Synergy) ของ อปท.

จากการศึกษาระบบสารสนเทศที่มีอยู่ในประเทศไทย และระบบสารสนเทศของรัฐบาลในต่างประเทศสามารถแบ่งประเด็นหลักในการพัฒนา เว็บไซต์และระบบสารสนเทศองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เพื่อการเรียนรู้ร่วมกันได้เป็น 9 ด้าน ดังนี้
ก. ราชการบริหารส่วนกลาง
1. สำนักงานเลขานุการกรม :
Office of the Secretary
2. กองการเจ้าหน้าที่ :
Division of Personnel
3. กองคลัง :
Division of Finance
4. กองกฎหมายและระเบียบท้องถิ่น :
Division of Local Legal Affairs
5. กองตรวจสอบระบบการเงินบัญชีท้องถิ่น :
Division of Local Audit
6. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศท้องถิ่น :
Local Information Technology Centre
7. สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น :
Local Personnel Development Institution
8. สำนักบริหารการคลังท้องถิ่น :
Bureau of Local Finance
9. สำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น :
Bureau of Local Personnel System Development
10. สำนักพัฒนาและส่งเสริมการบริหารงานท้องถิ่น (นโยบายและแผน) :
Bureau of Local Administrative Development ( Policy and Planning )
ข. ราชการบริหารส่วนภูมิภาค
1. สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัด (75 จังหวัด) :
Provincial Office for Local Administration
ระบบข้อมูลสารสนเทศขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ปัจจุบันองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ได้เข้ามามีบทบาทในวิถีชีวิตของประชาชนทั่วไป อำนาจจากรัฐบาลกลางได้ถ่ายโอนไปยังท้องถิ่น ตั้งแต่การปกครอง การศึกษา การสาธารณสุข สาธารณูปโภค รวมถึงการให้บริการในรูปแบบต่างๆ อย่างไรก็ตามประชาชนทั่วไปยังสับสนในบทบาทหน้าที่ของ อปท. รวมทั้งองค์กรที่สังกัดใน อปท. ก็ยังไม่สามารถนำเสนอข้อมูลบริการ รวมถึงการสื่อสารไปยังประชาชนที่อยู่ภายใต้การปกครองหรือประชาชนทั่วไป ขาดข้อมูลที่จะเปรียบเทียบสมรรถนะ (
Benchmarking) และระดับของการให้บริการประชาชน
ปัจจุบันได้มีการจัดเก็บข้อมูลโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) การจัดทำข้อมูลมีการดำเนินงานในสองรูปแบบหลัก คือ
1) หน่วยงานแต่ละหน่วยต่างจัดเก็บข้อมูลภายในพื้นที่ ขอบเขตหน้าที่รับผิดชอบ และแสดงผลลัพธ์ผ่านเว็บไซต์ของตน ปัญหาที่พบคือคุณภาพของข้อมูล เว็บไซต์จะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับศักยภาพของหน่วยงาน และรสนิยมในการพัฒนาเว็บไซต์ ส่วนใหญ่ขาดความสมบูรณ์ ไม่สวยงาม ข้อมูลไม่เป็นปัจจุบัน ขาดความเชื่อมโยงข้อมูลไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ส่งผลต่อจำนวนผู้เยี่ยมชม และการใช้ประโยชน์จากข้อมูลและเว็บไซต์
2) การจัดเก็บข้อมูลโดยการพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ อปท. ของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (www.thailocaladmin.go.th/index.jsp ) ระบบที่พัฒนามีความสมบูรณ์ แต่ข้อบกพร่องจะเหมือนระบบสารสนเทศทั่วไปคือ หน่วยงานแต่ละแห่งไม่นำข้อมูลเข้า ทำให้ผลลัพธ์ที่ได้จากระบบขาดความสมบูรณ์ และไม่ทันสมัย เช่น แสดงสารสนเทศในปี พ.ศ. 2547 เป็นต้น นอกจากนี้ยังไม่ได้นำข้อมูลที่ได้รับไปวิเคราะห์ หรือสังเคราะห์ เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ต่อ ในระยะเวลาที่ผ่านมีผู้ทำการศึกษาในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จำนวนมาก รายงาน ผลงานวิจัย รวมทั้งองค์ความรู้ยังไม่ได้ถูกจัดเก็บเป็นระบบ นอกจากนี้ความต่างของหน่วยงานต่างๆ น่าจะนำมาเสนอในรูปของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์โดยรวม รวมทั้งเป็นการสนับสนุนการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ เช่น หน่วยงานขนาดเล็ก หรือหน่วยงานที่ยังมีการบริหารจัดการไม่เต็มประสิทธิภาพ สามารถนำแนวปฏิบัติที่ดี (Good Practice) ของหน่วยงานที่ประสบความสำเร็จมาประยุกต์ใช้กับหน่วยงานของตน โดยสรุปอาจกล่าวได้ว่าการจัดเก็บข้อมูลของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เป็นการจัดเก็บแบบรายหน่วยงาน ขาดการบูรณาการเพื่อการใช้ประโยชน์ร่วมกันหรือเพื่อใช้เปรียบเทียบกัน เป็นการจัดทำเว็บไซต์เพื่อการนำเสนอและประชาสัมพันธ์ (Web Presence) มากกว่าการกำหนดเป้าหมายเพื่อการทำธุรกรรม หรือ การใช้บริการกับประชาชนผู้ใช้บริการ รวมทั้งการจัดเก็บองค์ความรู้ของชุมชนท้องถิ่น
ดังนั้น ระบบสารสนเทศองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อทำการบูรณาการสารสนเทศที่หน่วยงานต่างๆได้พัฒนาขึ้น แต่ยังไม่ได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์เต็มประสิทธิภาพ นำข้อมูลมาวิเคราะห์สังเคราะห์ เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะ (
Benchmarking) ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นำแนวปฏิบัติที่ดีขององค์กรที่ประสบความสำเร็จมาเป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อการพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีศักยภาพเพิ่มขึ้นและสร้าง มาตรฐานที่ดีโดยเฉพาะการใบริการกับประชาชนและท้องถิ่น
หลักการและเหตุผล
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีภารกิจในการดำเนินการด้านการบริการประชาชน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การส่งเสริมคุณภาพชีวิต การจัดระเบียบชุมชนและสังคม การพาณิชยกรรม การท่องเที่ยว การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ด้านศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น การนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาเพิ่ม ประสิทธิภาพการทำงานตามภารกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความจำเป็นอย่าง ยิ่ง ทำให้เกิดบูรณาการและเอกภาพในระบบข้อมูล การวางแผน การประสานงาน การจัดสรรงบประมาณ ลดความซ้ำซ้อนในการปฏิบัติงาน รวมทั้งทำให้การบริการประชาชนดีขึ้น ซึ่งจะสร้างคุณค่าแก่ประชาชนในด้านความสะดวก รวดเร็วในการใช้บริการ รวมถึงความโปร่งใส ตรวจสอบได้ อันจะสนับสนุนบรรยากาศที่เอื้อต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของท้อง ถิ่น
เนื่องจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีอยู่ประมาณ 7
,855 แห่ง ตั้งอยู่ทั้งในเขตเมืองและเขตชนบท ความแตกต่างด้านสภาพแวดล้อมทำให้การจัดทำแผนงานโครงการต่าง ๆ มีความหลากหลาย ทำให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นมีหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางในการประสานงาน ระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ซึ่งจำเป็นที่จะต้องกำกับดูแลและส่งเสริมให้ท้องถิ่นมีการจัดทำโครงการอย่าง เป็นระบบและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ จังหวัด และท้องถิ่นนั้น ทำให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นมีความคิดที่จะพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการ จัดทำแผนงาน งบประมาณ และการติดตามประเมินผล ให้เข้ากับยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งระบบงานนี้จะเป็นระบบที่ช่วยให้กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถ ทราบถึงแผนงานโครงการใช้จ่ายงบประมาณในโครงการต่าง ๆ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้อย่างาสะดวกรวดเร็วและทันเหตุการณ์
วัตถุประสงค์ของโครงการ
การจัดทำโครงการสารสนเทศการบริหารจัดการเพื่อการวางแผน และประเมินผลการใช้จ่ายงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมี วัตถุประสงค์หลักดังนี้
1. เพื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีเครื่องมือช่วยในการจัดทำแผนงานโครงการของท้องถิ่น
2. เพื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีเครื่องมือช่วยในการติดตามประเมินผลของการทำโครงการในท้องถิ่น
3. เพื่อให้ผู้บริหารสามารถเรียกดูรายละเอียดของการทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ ได้ด้วยความสะดวก รวดเร็ว ทันเหตุการณ์
4. เพื่อให้การประสานงานระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กับกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
5. เพื่อให้ข้อมูลการจัดทำรายงานความคืบหน้าของการใช้งบประมาณประจำปีขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นของแต่ละที่ทำได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และถูกต้อง
6. เพื่อให้ทราบถึงความก้าวหน้าในการดำเนินงานโครงการต่าง ๆ ที่อยู่ในแผนการใช้งบประมาณประจำปีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของแต่ละที่ ว่าอยู่ในขั้นตอนใด มีการเบิกจ่ายเงินไปแล้วเท่าไร
7. เพื่อให้การใช้งานระบบสารสนเทศขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและกรมส่งเสริม การปกครองส่วนท้องถิ่น ก่อให้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพสูงสุด
8. เพื่อให้เจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สามารถทำการส่งข้อมูลรายงานต่าง ๆ ให้กับกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
ขอบเขตการดำเนินงาน
ระบบสารสนเทศองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เพื่อการเรียนรู้ร่วมกันจะพัฒนาขึ้นโดยมีเป้าหมายหลักเพื่อ
1 จัดทำฐานข้อมูล ประกอบด้วยข้อมูลพื้นฐาน และดัชนีชี้วัดที่สำคัญ เพื่อให้ผู้ใช้ประโยชน์สามารถเข้าถึงสารสนเทศและบริการของ อปท.
2 สนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนโดยการใช้แนวคิดการพัฒนาเว็บในลักษณะ Web 2.0 ซึ่งเน้นการมีส่วนร่วมและการมีปฏิสัมพันธ์ ผ่านเครือข่ายทางสังคมต่างๆ
3 จัดเก็บ รวบรวมองค์ความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)
4 นำข้อมูลที่ได้จากฐานข้อมูลมาใช้เปรียบเทียบสมรรถนะ (Benchmark) เพื่อเพิ่มศักยภาพและจัดลำดับของหน่วยงาน อปท. และการผนึกกำลัง (Synergy) ของ อปท.

จากการศึกษาระบบสารสนเทศที่มีอยู่ในประเทศไทย และระบบสารสนเทศของรัฐบาลในต่างประเทศสามารถแบ่งประเด็นหลักในการพัฒนา เว็บไซต์และระบบสารสนเทศองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เพื่อการเรียนรู้ร่วมกันได้เป็น 9 ด้าน ดังนี้
1) ข้อมูลสารสนเทศพื้นฐาน
2) สารสนเทศขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (e-Local Government)
3) สารสนเทศเพื่อการบริการประชาชนในภาพรวม (e-Services)
4) องค์ความรู้ของงานวิจัย รายงานผลการศึกษา แนวการปฏิบัติที่ดี (Good Practice) ที่เกี่ยวข้องกับ อปท. (Knowledge Management) เช่น ด้าน แผนงาน การจัดการ การถ่ายโอน
5) องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) เป็นเวทีสำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างนักวิจัย ผู้ปฏิบัติงาน และผู้สนใจผ่านช่องทางต่างๆ เช่น เว็บบอร์ด กระดานแลกเปลี่ยนบทเรียน สารานุกรมเสรี หรือวิกิพีเดีย และเครือข่ายสังคม (Social Network) ต่างๆ คู่คิดมิตรแท้ อปท.
6) เอกสารวิชาการ ได้แก่ รายงานการศึกษา บทความวิชาการ บทความจากหนังสือพิมพ์
7) จัดเก็บสถิติที่สำคัญ เพื่อทำการเปรียบเทียบสมรรถนะและจัดลำดับ
8) เชื่อมโยงเว็บไซต์ต่างๆ ของหน่วยงานของ อปท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
9) อื่นๆ เช่น News / ประเด็นร้อน Download สายด่วน Call Center แผนที่ ที่อยู่ ติดต่อ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น