วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555

pa716 นโยบายสาธารณะ อ.บุญเกียรติ์

Thomas R Dye       นโยบายสาธารณะคือสิ่งที่รัฐบาลเลือกจะกระทำหรือไม่กระทำ                  
Ira Sharkansky       นโยบายสาธารณะคือกิจกรรมที่กระทำโดยรัฐบาล ซึ่งครอบคลุมกิจกรรมทั้งหมดของรัฐบาล โดยครอบคลุมประเด็นสำคัญอย่างน้อย 4 ประการ
                             1.ขอบข่ายการบริหารสาธารณะด้านต่างๆ
                             2.กฎหมายและข้อบังคับต่างๆ
                             3.งานรัฐพิธี ราชพิธี และเหตุการณ์สำคัญต่างๆ
                             4.การควบคุมกำหนดนโยบายสาธารณะและกระบวนการทางการเมืองอื่นๆ
David Easton         การจัดสรรผลประโยชน์หรือคุณค่าแก่  สังคม กระทำโดยผู้มีอำนาจสั่งการ  สิ่งที่รัฐบาลตัดสินใจ  กระทำหรือไม่กระทำเป็นผลมาจากการจัดสรรค่านิยมของสังคม
James Anderson    คือแนวทางการปฏิบัติของรัฐที่มีวัตถุประสงค์ในการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้อง
                             - มีวัตถุประสงค์
                             - มีแนวทางปฏิบัติ
                             - การปฏิบัติต้องเกิดขึ้นจริง
                             - การปฏิบัติจะเป็นเชิงบวกหรือลบก็ได้
สรุปความหมายนโยบายสาธารณะ
1.เป็นกิจกรรมที่รัฐบาลเลือกที่จะกระทำหรือไม่กระทำ
2.มีการใช้อำนาจรัฐในการจัดสรรกิจกรรมเพื่อสนองตอบต่อสังคม
3.ผู้มีอำนาจในการกำหนดนโยบายสาธารณะได้แก่ผู้นำทางการเมืองฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ  ตุลาการ  พรรคการเมือง ข้าราชการ
4.เป็นกิจกรรมที่มีแบบแผน ระบบและกระบวนการที่ชัดเจน
5.เป็นกิจกรรมที่รัฐบาลเลือกที่จะกระทำต้องมีเป้าหมาย วัตถุประสงค์หรือจุดหมายเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนจำนวนมาก
          6.เป็นกิจกรรมที่ต้องกระทำให้ปรากฏเป็นจริง
          7.เป็นกิจกรรมที่เลือกกระทำและมีผลลัพธ์ในการแก้ไขปัญหาที่สำคัญของสังคม
          8.เป็นการตัดสินใจจะกระทำเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนจำนวนมาก
          9.เป็นกิจกรรมที่ครอบคลุมทั้งกิจกรรมภายในประเทศและระหว่างประเทศ
          10.เป็นกิจกรรมที่ชอบด้วยกฎหมาย
การกำหนดนโยบายสาธารณะ
·       รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
·       นโยบายของคณะรัฐมนตรี
·       แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
·       การบริหารราชการส่วนกลาง
·       การบริหารราชการส่วนภูมิภาค
·       การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
·       ภาคประชาชน
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
·       แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ หมวดที่ 5 มาตรา 75 -87
          - แนวนโยบายด้านความมั่นคง
          - แนวนโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดิน
          - แนวนโยบายด้านศาสนา สังคม การสาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรม
          - แนวนโยบายด้านกฎหมายและการยุติธรรม
          - แนวนโยบายด้านการต่างประเทศ
          - แนวนโยบายด้านเศรษฐกิจ
          - แนวนโยบายด้านที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
          - แนวนโยบายด้านวิทยาศาสตร์ ทรัพย์สินทางปัญญาและพลังงาน
          - แนวนโยบายด้านการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน

·       นโยบายของคณะรัฐมนตรี
- มาตรา 176 คณะรัฐมนตรีจะเข้าบริหารราชการแผ่นดินต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภาและชี้แจงการดำเนินตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ  โดยไม่มีการลงมติความไว้วางใจ
·       แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับ 11
ความเป็นมาการพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๑๐ (.. ๒๕๐๔๒๕๕๔)
การจัดทาแผนพัฒนาประเทศของไทยนับตั้งแต่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑ จนถึงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๐
มีพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่องภายใต้สถานการณ์ เงื่อนไข และการเปลี่ยนแปลงในมิติต่างๆ ทั้งภายในและ
ภายนอกประเทศ แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๘ (.. ๒๕๔๐-๒๕๔๔) เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของการวางแผนพัฒนา
ประเทศที่เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนของสังคมได้มีส่วนร่วมในการจัดทาแผนมากขึ้น มีการปรับแนวคิดการ
พัฒนาใหม่จากที่เน้นการเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นเป้าหมายสุดท้ายของการพัฒนามาสู่การ
พัฒนาแบบองค์รวม ที่มีคนหรือประชาชนเป็นศูนย์กลาง และเน้นกระบวนการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม
แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ ได้ยึดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญานาทาง มุ่งพัฒนาสู่ความสมดุลและ
ยั่งยืน เน้นการสร้างภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจและสังคม เพื่อแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างที่ทาให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ
ในปี ๒๕๔๐ ในระยะของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๐ (.. ๒๕๕๐-๒๕๕๔) ประเทศไทยยังคงเผชิญกับการ
เปลี่ยนแปลงที่สำคัญในหลายบริบท ทั้งที่เป็นโอกาสและข้อจากัดต่อการพัฒนาประเทศ จึงต้องมีการเตรียม
ความพร้อมของคนและระบบให้มีภูมิคุ้มกันอย่างต่อเนื่อง พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบที่อาจ
เกิดขึ้น มุ่งการพัฒนาสู่สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน โดยยังคงอัญเชิญ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็น
แนวปฏิบัติในการพัฒนาแบบบูรณาการเป็นองค์รวมที่มีคนเป็นศูนย์กลางการพัฒนาต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ
ฉบับที่ ๘ และแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ 
วิสัยทัศน์
สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ด้วยความเสมอภาค เป็นธรรม และมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง

พันธกิจ
) สร้างสังคมเป็นธรรมและเป็นสังคมที่มีคุณภาพ ทุกคนมีความมั่นคงในชีวิต ได้รับการคุ้มครองทางสังคมที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม มีโอกาสเข้าถึงทรัพยากรและกระบวนการยุติธรรมอย่างเสมอภาค ทุกภาคส่วนได้รับการเสริมพลังให้สามารถมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนา ภายใต้ระบบบริหารจัดการภาครัฐที่โปร่งใส เป็นธรรม
) พัฒนาคุณภาพคนไทยให้มีคุณธรรม เรียนรู้ตลอดชีวิต มีทักษะและการดารงชีวิตอย่างเหมาะสมในแต่ละช่วงวัย สถาบันทางสังคมและชุมชนท้องถิ่นมีความเข้มแข็ง สามารถปรับตัวรู้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลง
) พัฒนาฐานการผลิตและบริการให้เข้มแข็งและมีคุณภาพบนฐานความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ และภูมิปัญญา สร้างความมั่นคงด้านอาหารและพลังงาน ปรับโครงสร้างการผลิตและการบริโภคให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม
) สร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชน รวมทั้งสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติทางธรรมชาติ
วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
วัตถุประสงค์
) เพื่อเสริมสร้างสังคมที่เป็นธรรมและเป็นสังคมสันติสุข
) เพื่อพัฒนาคนไทยทุกกลุ่มวัยอย่างเป็นองค์รวมทั้งทางกาย ใจ สติปัญญา อารมณ์คุณธรรม จริยธรรม และสถาบันทางสังคมมีบทบาทหลักในการพัฒนาคนให้มีคุณภาพ
) เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างมีเสถียรภาพ คุณภาพ และยั่งยืน มีความเชื่อมโยงกับเครือข่ายการผลิตสินค้าและบริการบนฐานปัญญา นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ในภูมิภาคอาเซียน มีความมั่นคงทางอาหารและพลังงาน การผลิตและการบริโภคเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นาไปสู่การเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ
) เพื่อบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เพียงพอต่อการรักษาสมดุลของระบบนิเวศ และเป็นฐานที่มั่นคงของการพัฒนาประเทศ
เป้าหมายหลัก
) ความอยู่เย็นเป็นสุขและความสงบสุขของสังคมไทยเพิ่มขึ้น ความเหลื่อมล้าในสังคมลดลง สัดส่วนผู้อยู่ใต้เส้นความยากจนลดลง และดัชนีภาพลักษณ์การคอร์รัปชั่นไม่ต่ำกว่า ๕.๐ คะแนน
) คนไทยมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง มีสุขภาวะดีขึ้น มีคุณธรรม จริยธรรม และสถาบันทางสังคมมีความเข้มแข็งมากขึ้น
) เศรษฐกิจเติบโตในอัตราที่เหมาะสมตามศักยภาพของประเทศ ให้ความสำคัญกับการเพิ่มผลิตภาพรวมไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๓.๐ ต่อปี เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ให้มีไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๔๐.
) คุณภาพสิ่งแวดล้อมอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เพิ่มประสิทธิภาพการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมทั้งเพิ่มพื้นที่ป่าไม้เพื่อรักษาสมดุลของระบบนิเวศ
ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่สาคัญในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๑ มีดังนี้
๑ ยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมในสังคม
๒ ยุทธศาสตร์การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่าง
๓ ยุทธศาสตร์ความเข้มแข็งภาคเกษตร ความมั่นคงของอาหารและพลังงาน
๔ ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสู่การเติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน
๕ ยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม
๖ ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น