วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

PA716 นโยบายสาธารณะและการจัดการสาธารณะ Policy & Public Manegement(อ.บุญเกียรติ)

Thomas R Dye       นโยบายสาธารณะคือสิ่งที่รัฐบาลเลือกจะกระทำหรือไม่กระทำ
(มีผลต่อคนจำนวนมากด้วย)                 
Ira Sharkansky       นโยบายสาธารณะคือกิจกรรมที่กระทำโดยรัฐบาล ซึ่งครอบคลุมกิจกรรมทั้งหมดของรัฐบาล โดยครอบคลุมประเด็นสำคัญอย่างน้อย 4 ประการ
                             1.ขอบข่ายการบริหารสาธารณะด้านต่างๆ
                             2.กฎหมายและข้อบังคับต่างๆ
                             3.งานรัฐพิธี ราชพิธี และเหตุการณ์สำคัญต่างๆ
                             4.การควบคุมกำหนดนโยบายสาธารณะและกระบวนการทางการเมืองอื่นๆ
David Easton         การจัดสรรผลประโยชน์หรือคุณค่าแก่  สังคม กระทำโดยผู้มีอำนาจสั่งการ  สิ่งที่รัฐบาลตัดสินใจ  กระทำหรือไม่กระทำเป็นผลมาจากการจัดสรรค่านิยมของสังคม(ค่านิยมของสังคมคือสิ่งที่สังคมยอมรับและปฏิบัติตาม)
James Anderson    คือแนวทางการปฏิบัติของรัฐที่มีวัตถุประสงค์ในการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้อง
                             - มีวัตถุประสงค์
                             - มีแนวทางปฏิบัติ
                             - การปฏิบัติต้องเกิดขึ้นจริง
                             - การปฏิบัติจะเป็นเชิงบวกหรือลบก็ได้
สรุปความหมายนโยบายสาธารณะ
1. เป็นกิจกรรมที่รัฐบาลเลือกที่จะกระทำหรือไม่กระทำ
2. มีการใช้อำนาจรัฐในการจัดสรรกิจกรรมเพื่อสนองตอบต่อสังคม
3. ผู้มีอำนาจในการกำหนดนโยบายสาธารณะได้แก่ผู้นำทางการเมืองฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ  ตุลาการ  พรรคการเมือง ข้าราชการ
4. เป็นกิจกรรมที่มีแบบแผน ระบบและกระบวนการที่ชัดเจน
5. เป็นกิจกรรมที่รัฐบาลเลือกที่จะกระทำต้องมีเป้าหมาย วัตถุประสงค์หรือจุดหมายเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนจำนวนมาก
          6. เป็นกิจกรรมที่ต้องกระทำให้ปรากฏเป็นจริง
          7. เป็นกิจกรรมที่เลือกกระทำและมีผลลัพธ์ในการแก้ไขปัญหาที่สำคัญของสังคม
          8. เป็นการตัดสินใจจะกระทำเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนจำนวนมาก
          9. เป็นกิจกรรมที่ครอบคลุมทั้งกิจกรรมภายในประเทศและระหว่างประเทศ
          10.เป็นกิจกรรมที่ชอบด้วยกฎหมาย
การกำหนดนโยบายสาธารณะ
·       รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
·       นโยบายของคณะรัฐมนตรี
·       แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
·       การบริหารราชการส่วนกลาง
·       การบริหารราชการส่วนภูมิภาค
·       การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
·       ภาคประชาชน
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
·       แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ หมวดที่ 5 มาตรา 75 -87
          - แนวนโยบายด้านความมั่นคง
          - แนวนโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดิน
          - แนวนโยบายด้านศาสนา สังคม การสาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรม
          - แนวนโยบายด้านกฎหมายและการยุติธรรม
          - แนวนโยบายด้านการต่างประเทศ
          - แนวนโยบายด้านเศรษฐกิจ
          - แนวนโยบายด้านที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
          - แนวนโยบายด้านวิทยาศาสตร์ ทรัพย์สินทางปัญญาและพลังงาน
          - แนวนโยบายด้านการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
·       นโยบายของคณะรัฐมนตรี
- มาตรา 176 คณะรัฐมนตรีจะเข้าบริหารราชการแผ่นดินต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภาและชี้แจงการดำเนินตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ  โดยไม่มีการลงมติความไว้วางใจ
·       แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับ 11
ความเป็นมาการพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๑๐ (.. ๒๕๐๔๒๕๕๔)
การจัดทาแผนพัฒนาประเทศของไทยนับตั้งแต่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑ จนถึงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๐
มีพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่องภายใต้สถานการณ์ เงื่อนไข และการเปลี่ยนแปลงในมิติต่างๆ ทั้งภายในและ
ภายนอกประเทศ แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๘ (.. ๒๕๔๐-๒๕๔๔) เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของการวางแผนพัฒนา
ประเทศที่เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนของสังคมได้มีส่วนร่วมในการจัดทาแผนมากขึ้น มีการปรับแนวคิดการ
พัฒนาใหม่จากที่เน้นการเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นเป้าหมายสุดท้ายของการพัฒนามาสู่การ
พัฒนาแบบองค์รวม ที่มีคนหรือประชาชนเป็นศูนย์กลาง และเน้นกระบวนการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม
แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ ได้ยึดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญานาทาง มุ่งพัฒนาสู่ความสมดุลและ
ยั่งยืน เน้นการสร้างภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจและสังคม เพื่อแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างที่ทาให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ
ในปี ๒๕๔๐ ในระยะของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๐ (.. ๒๕๕๐-๒๕๕๔) ประเทศไทยยังคงเผชิญกับการ
เปลี่ยนแปลงที่สำคัญในหลายบริบท ทั้งที่เป็นโอกาสและข้อจากัดต่อการพัฒนาประเทศ จึงต้องมีการเตรียม
ความพร้อมของคนและระบบให้มีภูมิคุ้มกันอย่างต่อเนื่อง พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบที่อาจ
เกิดขึ้น มุ่งการพัฒนาสู่สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน โดยยังคงอัญเชิญปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็น
แนวปฏิบัติในการพัฒนาแบบบูรณาการเป็นองค์รวมที่มีคนเป็นศูนย์กลางการพัฒนาต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ
ฉบับที่ ๘ และแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙
วิสัยทัศน์
สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ด้วยความเสมอภาค เป็นธรรม และมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง
พันธกิจ
) สร้างสังคมเป็นธรรมและเป็นสังคมที่มีคุณภาพ ทุกคนมีความมั่นคงในชีวิต ได้รับการคุ้มครองทางสังคมที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม มีโอกาสเข้าถึงทรัพยากรและกระบวนการยุติธรรมอย่างเสมอภาค ทุกภาคส่วนได้รับการเสริมพลังให้สามารถมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนา ภายใต้ระบบบริหารจัดการภาครัฐที่โปร่งใส เป็นธรรม
) พัฒนาคุณภาพคนไทยให้มีคุณธรรม เรียนรู้ตลอดชีวิต มีทักษะและการดารงชีวิตอย่างเหมาะสมในแต่ละช่วงวัย สถาบันทางสังคมและชุมชนท้องถิ่นมีความเข้มแข็ง สามารถปรับตัวรู้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลง
) พัฒนาฐานการผลิตและบริการให้เข้มแข็งและมีคุณภาพบนฐานความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ และภูมิปัญญา สร้างความมั่นคงด้านอาหารและพลังงาน ปรับโครงสร้างการผลิตและการบริโภคให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม
) สร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชน รวมทั้งสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติทางธรรมชาติ
วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
วัตถุประสงค์
) เพื่อเสริมสร้างสังคมที่เป็นธรรมและเป็นสังคมสันติสุข
) เพื่อพัฒนาคนไทยทุกกลุ่มวัยอย่างเป็นองค์รวมทั้งทางกาย ใจ สติปัญญา อารมณ์คุณธรรม จริยธรรม และสถาบันทางสังคมมีบทบาทหลักในการพัฒนาคนให้มีคุณภาพ
) เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างมีเสถียรภาพ คุณภาพ และยั่งยืน มีความเชื่อมโยงกับเครือข่ายการผลิตสินค้าและบริการบนฐานปัญญา นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ในภูมิภาคอาเซียน มีความมั่นคงทางอาหารและพลังงาน การผลิตและการบริโภคเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นาไปสู่การเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ
) เพื่อบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เพียงพอต่อการรักษาสมดุลของระบบนิเวศ และเป็นฐานที่มั่นคงของการพัฒนาประเทศ
เป้าหมายหลัก
) ความอยู่เย็นเป็นสุขและความสงบสุขของสังคมไทยเพิ่มขึ้น ความเหลื่อมล้าในสังคมลดลง สัดส่วนผู้อยู่ใต้เส้นความยากจนลดลง และดัชนีภาพลักษณ์การคอร์รัปชั่นไม่ต่ำกว่า ๕.๐ คะแนน
) คนไทยมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง มีสุขภาวะดีขึ้น มีคุณธรรม จริยธรรม และสถาบันทางสังคมมีความเข้มแข็งมากขึ้น
) เศรษฐกิจเติบโตในอัตราที่เหมาะสมตามศักยภาพของประเทศ ให้ความสำคัญกับการเพิ่มผลิตภาพรวมไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๓.๐ ต่อปี เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ให้มีไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๔๐.
) คุณภาพสิ่งแวดล้อมอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เพิ่มประสิทธิภาพการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมทั้งเพิ่มพื้นที่ป่าไม้เพื่อรักษาสมดุลของระบบนิเวศ
ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่สาคัญในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๑ มีดังนี้
๑ ยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมในสังคม
๒ ยุทธศาสตร์การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน
๓ ยุทธศาสตร์ความเข้มแข็งภาคเกษตร ความมั่นคงของอาหารและพลังงาน
๔ ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสู่การเติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน
๕ ยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม
๖ ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
ขั้นตอนการก่อตัวนโยบาย Policy Formation
เกิดจาก ปัญหาและประเด็น
1.       เริ่มต้นสถานการณ์ที่ทำให้เกิดนโยบาย (Public Issue/Problem)
2.       สำรวจ ตระหนัก และระบุปัญหาสาธารณะ (Problem Identification)
3.       การกลั่นกรองปัญหาสาธารณะ (Problem Selection)
4.       การจัดระเบียบวาระนโยบาย (Policy Agenda)
5.       การกำหนดวัตถุประสงค์นโยบาย (Policy Objective) 
การวิเคราะห์ลักษณะสภาพปัญหา
          - ครอบคลุมประเด็นปัญหาของนโยบาย
          - สอดคล้องกับค่านิยมของสังคม
          - มีความชัดเจนและเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ
          - สมเหตุสมผล
          - สอดคล้องกับทรัพยากรที่ใช้
          - สอดคล้องทางการเมือง
          - กำหนดกรอบเวลาที่เหมาะสม

ความเข้าใจเรื่องชาติพันธุ์
          กลุ่มชาติพันธุ์ หมายถึงกลุ่มคนที่ยึดโยงกันอยู่ด้วยสายสัมพันธ์ทางภาษา สีผิว  ศาสนา วรรณะ ตลอดจนภูมิวัฒนธรรมอื่นๆ  ความขัดแย้งเชิงชาติพันธุ์เป็นปรากฏการณ์ที่ปะทุอยู่ทั่วไปในโลก
          การฟื้นคืนของสายสัมพันธ์ทางชาติพันธุ์ เป็นการฟื้นคืนความภูมิใจในกลุ่มชาติพันธุ์ของตน  และเชื่อมโยงกับอดีตที่เคยมีการฟื้นคืนเกิดขึ้นเป็นระยะๆ   รวมทั้งเป็นการท้าทายการจัดรูปสังคมการเมืองที่เน้นเรื่องความเป็นชาติ   อึดอัดกับความแตกต่างที่มีฐานอยู่ในลักษณะทางชาติพันธุ์
(ชัยวัฒน์   สถาอานันท์   ในอาวุธมีชีวิต? : แนวคิดเชิงวิพากษ์ว่าด้วยความรุนแรง , หน้า 11 17) 
ชาติพันธุ์มลายู : ปัญหาเดิมที่ยังดำรงอยู่
ปี 2466 เจ้าพระยายมราช(ปั้น สุขุม) รายงานการตรวจราชการมณฑลปัตตานี ตอนหนึ่งว่า “...ดูเหมือนบางทีจะเปนที่เข้าใจกันว่า เปนการจำเปนที่ต้องใช้กำลังเข้าดึงรั้ง หรือพยายามเหยียดแขก เปนคนไทยอย่างแรงด้วย ซึ่งเปนการเข้าใจผิดและจะทำให้บังเกิดผลสมประสงค์หาได้ไม่.....สิ่งเหล่านี้เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างเชื้อชาติในมณฑลปัตตานีเกิดขึ้นอย่างเด่นชัด และรุนแรงถึงขั้นปะทะกัน เพราะผู้มีเชื้อชาติมลายูต่างเกิดความรู้สึกกลัวว่าจะถูกไทยกลืนชาติ
เบเนดิคท์ แอนเดอร์สัน (วารสารฟ้าเดียวกัน 2 (3) ปี 2547) ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับปัญหาขาดการยอมรับด้านชาติพันธุ์มลายูของประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ อย่างน่าสนใจว่า“...กรณีจังหวัดชายแดนภาคใต้ ......ทำให้คนที่มองดูจากภายนอกงงมากเลยว่า มีอิสลามที่กรุงเทพฯ มีอิสลามที่เชียงใหม่ มีอิสลามทั่วประเทศ ถ้าอันนี้เป็นปัญหาของอิสลาม ทำไมถึงเกิดเรื่องขึ้นที่สามจังหวัดเท่านั้น อธิบายไม่ได้ เมื่อรัฐบาลไม่ยอมรับความเป็นมลายู ไม่ยอมรับภาษามลายู คนที่นั่นจึงต้องใช้อาวุธอิสลาม..."
นิธิ  เอียวศรีวงศ์  กล่าวในการเปิดประเด็นหนังสือความเป็นมาของทฤษฎีแบ่งแยกดินแดน : ความจริงและมายาคติ เมื่อ 26 กุมภาพันธ์  2550 ที่ มอ.ปัตตานี ความตอนหนึ่งว่า“....ต้องยอมรับอัตลักษณ์มลายู  ปัญหาศาสนาอิสลามไม่ใช่ปัญหาใหญ่ของสังคมไทย ที่มีปัญหาคือ ความเป็นมลายู แต่แยกไม่ออกจากศาสนา  ต้องซ่อนการต่อสู้ ต่อรองมากับอิสลาม  ในความเป็นมลายูทั้งหมด  ภาษาเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด.... 
Policy Formulation การกำหนดนโยบาย

1. ปัจจัยนำเข้า  รู้ที่มาของปัญหา
2. ต้องรู้ใครเป็นผู้มีอำนาจกำหนดนโยบาย 
ผู้มีบทบาทในการกำหนดนโยบาย
·        ฝ่ายบริหาร
·        ฝ่ายนิติบัญญัติ
·        ฝ่ายตุลาการ
·        องค์กรอิสระต่างๆ
             การกำหนดนโยบายสาธารณะถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นซึ่งจะก่อให้เกิดพฤติกรรมการเมืองและการบริหารอื่นๆตามมา
             การกำหนดนโยบายสาธารณะในปัจจุบันมิใช่เป็นภารกิจผูกขาดที่เป็นของรัฐโดยเฉพาะ
การตัดสินนโยบาย Policy Decision 
·        ประสิทธิผล (effectiveness) ความสามารถในการบรรลุเป้าหมายของทางเลือก
·        ประสิทธิภาพ (efficiency) ความสามารถในผลิตผลผลิตโดยเปรียบเทียบจากต้นทุน ( 4m)
·        ความพอเพียง (adequacy) ความสามารถของการดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายภายใต้เงื่อนไขของทรัพยากรที่มีอยู่
·        ความเป็นธรรม (equity) การกระจายตัวของผลการดำเนินการตามทางเลือก ข้อสอบออกตรงนี้
1.       มีหลายแบบคือ(Jeremy  Bentham   เห็นว่า  การกระทำที่ดีที่สุด  คือ  การกระทำที่ก่อให้เกิดความสุขมากที่สุดของคนจำนวนมากที่สุด  หรือที่เรียกว่า  หลักอรรถประโยชน์นิยม (Utilitarianism)  ดังนั้น  นโยบายใดก็แล้วแต่ที่ก่อให้เกิดประโยชน์หรือความสุขแก่คนส่วนใหญ่มากที่สุด  ก็ถือว่าเป็นนโยบายที่ดีและควรนำไปปฏิบัติเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน  เช่น กรณี การสร้าง ฟรัสเวย์ แก้ไขปัญหาน้ำท่วม

รัฐบาลที่ดี  คือรัฐบาลของประชาชนที่ทำให้ประชาชนมีความสุขมากที่สุด  เข้าใจความต้องการของประชาชนดีที่สุด สนองความต้องการของประชาชนที่ดีที่สุด  ก่อให้เกิดความสุขมากที่สุดกับประชาชนส่วนใหญ่
2.       Pareto กล่าวว่า ถ้าการดำเนินนโยบายทำให้คนในสังคมทุกๆคนดีขึ้นหรือทำให้คนอย่างน้อย 1 คน ดีขึ้นโดยที่ไม่มีใครแย่ลง จะเลือกดำเนินนโยบาย ดังกล่าว มีแต่คนได้กับเท่าเดิม ไม่มีคนเสีย เช่น เช็คช่วยชาติ
ž          3.  John Rawls    เสนอหลักการสำคัญของความเป็นธรรม 2 ประการ 
              ประการแรก  เห็นว่าบุคคลแต่ละคนควรมีสิทธิและเสรีภาพเท่าเทียมกัน
              ประการที่สอง  เห็นว่า  ปัญหาความไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจและสังคมควรได้รับการแก้ไขโดยมุ่งเน้นไปยังผู้ที่ทุกข์ยากที่สุดหรืออยู่ในระดับล่างสุดของสังคมก่อน  นั่นคือ รัฐควรจัดสรรสิ่งที่มีคุณค่าทางสังคมอย่างเท่าเทียมกันและรัฐควรมีนโยบายสาธารณะด้านการกระจายรายได้โดยมุ่งช่วยเหลือคนที่ยากจนที่สุดและอยู่ในฐานะที่เสียเปรียบที่สุดในสังคมก่อน
S T E P
S = Social and culture
T = technology
E = Economy
P = Political
·        การตอบสนอง (responsiveness) ความสามารถในการเติมเต็มความต้องการของประชาชนกลุ่มต่างๆ
·        ความเหมาะสม (appropriateness) การพิจารณาเชิงคุณค่าและความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ 
ในการตัดสินใจโดยยึดหลักเหตุผล
ผู้กำหนดนโยบายจะต้องพิจารณาปัจจัยดังต่อไปนี้
·        จะต้องเข้าใจคุณค่าที่พึงปรารถนาของสังคมทั้งหมด
·         จะต้องเข้าใจทางเลือกนโยบายที่เป็นไปได้ทั้งหมด
·         จะต้องเข้าใจผลลัพธ์ทั้งหมดของทางเลือกนโยบาย แต่ละทางเลือก
·         สามารถคำนวณสัดส่วนระหว่างผลประโยชน์และต้นทุนของทางเลือกนโยบายแต่ละทางเลือกได้
·         ผู้ตัดสินใจนโยบายจะต้องพิจารณาเลือกทางเลือกนโยบายที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
การนำนโยบายไปปฏิบัติ Policy Implementation
1.       Thomas R.Dye ความต่อเนื่องของกระบวนการนโยบายสาธารณะมิได้สิ้นสุดที่การผ่านกฎหมายโดยสภานิติบัญญัติ  แต่อยู่ที่การนำนโยบายไปปฏิบัติจากที่ทำงานของผู้นำประเทศไปสู่ระบบราชการ สู่หน่วยงานต่างๆ
2.       Lester E. Anderson
          - ฝ่ายนิติบัญญัติผ่านกฎหมายที่ให้อำนาจรัฐ
          - หน่วยงานของรัฐดำเนินการออกระเบียบบริหารและสร้างระเบียบแบบแผน
          - หน่วยงานของรัฐสร้างความเหมาะสมในเรื่องทรัพยากร ทุน และบุคลากร
          - รัฐติดตามการปฏิบัติในการดำเนินนโยบาย
          - เมื่อดำเนินนโยบายได้ระยะหนึ่ง ฝ่ายบริหารจะร่างนโยบายใหม่เพื่อแก้ไขความผิดพลาดและความไม่สำเร็จของนโยบาย
ผู้เกี่ยวข้องในการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ
·        ฝ่ายนิติบัญญัติ
·        ฝ่ายบริหารหรือระบบราชการ
·        กลุ่มกดดัน
·        องค์กรชุมชนหรือภาคประชาสังคม
การนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติสู่ความเป็นจริง
จะต้องมี
-          แผน  ประกอบด้วย  แผนงาน  โครงการ กิจกรรม

ปัจจัยความสำเร็จ/ล้มเหลวในการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ
·        ลักษณะของนโยบาย
·        วัตถุประสงค์ของนโยบาย
·        ความเป็นไปได้ทางการเมือง
·        ความเป็นไปได้ทางเทคนิค
·        ความเพียงพอของทรัพยากร
·        ลักษณะของหน่วยงานที่นำนโยบายไปปฏิบัติ
·        ทัศนคติของผู้นำนโยบายไปปฏิบัติ
·        ความสัมพันธ์ระหว่างกลไกต่างๆที่นำนโยบายไปปฏิบัติ(ระหว่างหน่วยงาน)
การประเมินผลนโยบาย Policy Evaluation
  1. Thomas R. Dye การเรียนรู้เกี่ยวกับผลที่เกิดขึ้นของนโยบายสาธารณะ การประเมินประสิทธิผลทุกด้านของนโยบายสาธารณะ
  2. James E. Anderson เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการประมาณการ การประเมินค่าของนโยบาย การนำนโยบายไปปฏิบัติ การบรรลุเป้าหมายและผลที่เกิดขึ้นอื่นๆนอกจากนั้น  ยังรวมถึงการจำแนกปัจจัยต่างๆที่มีส่วนทำให้นโยบายสาธารณะสำเร็จหรือล้มเหลว
เกณฑ์ในการประเมินผลนโยบายสาธารณะ
·        ประสิทธิผล
·        ประสิทธิภาพ
·        ความพอเพียง
·        ความเป็นธรรม
·        การตอบสนองความต้องการ
·        ความเหมาะสม

ชนิดของเกณฑ์
ตัวชี้วัด
ประสิทธิผล
บรรลุผลตามเป้าประสงค์หรือไม่
ประสิทธิภาพ
ต้องใช้ความสามารถเท่าใดเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์
ความพอเพียง
ต้องใช้ทรัพยากรเท่าใดจึงจะได้ผลลัพธ์ตรงตามวัตถุประสงค์
ความเป็นธรรม
ผลที่ได้รับกระจายอย่างเป็นธรรมหรือไม่
การตอบสนองความต้องการ
ผลลัพธ์สร้างความพึงพอใจให้กับกลุ่มต่างๆได้หรือไม่
ความเหมาะสม
ผลลัพธ์ที่ต้องการมีคุณค่าจริงหรือไม่

การประเมินผลโดยใช้ตัวแบบCIPP Model (ใช้ตัวแบบเชิงระบบมาเป็นแนวทาง)

ประเด็น
หัวข้อ
เรื่องที่ประเมิน
ผลการประเมิน
CONTEXT
วัตถุประสงค์/บริบท
INPUT
PEOPLE
ENVIRONMENT
MONEY
EQUIPMENT
MATERIAL
PROCESS
PROCEDURE
ACTION/PLAN
ขั้นตอนการทำงาน เร็วช้า การมีส่วนร่วม
การปฏิบัติ ประเมินแผนงาน
PRODUCT
OUTPUT
OUTCOME
IMPACT

ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับคำกล่าวนี้
นายแพทย์ ประเวศ วะสี กล่าวว่า ประเทศไทยเป็น โรคพร่องนโยบายอย่างรุนแรง (Serve policy deficiency disease) โรคนี้ทำให้ประเทศไทยป่วย การเยียวยาความเจ็บป่วยของประเทศอย่างหนึ่งคือ กระบวนการนโยบายสาธารณะ
ตัวแบบเพื่อการวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ
ตัวแบบหมายถึงกรอบการวิเคราะห์อย่างง่ายเพื่อทำความเข้าใจต่อการศึกษานโยบายสาธารณะโดยใช้แบบจำลองในการวิเคราะห์
·        ตัวแบบสถาบัน
·        ตัวแบบชนชั้นนำ
·        ตัวแบบกลุ่ม
·        ตัวแบบเชิงกระบวนการ
·        ตัวแบบระบบ
·        ตัวแบบเหตุและผล
·        ตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป


อำนาจอธิปไตย ประกอบด้วย 3 ฝ่ายคือ
1.       อำนาจนิติบัญญัติ (พ.ร.บ.)
2.       อำนาจบริหาร (พรก. พระราชกำหนด คำสั่งกระทรวง มติคณะรัฐมนตรี
3.       อำนาจตุลาการ
ชั้นกฎหมายไทย
1.       รัฐธรรมนูญ
2.       พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
3.       พ.ร.บ.(ผ่านรัฐสภา) พระราชกำหนด(รัฐบาล)
4.       พระราชกฤษฎีกา (กฎหมายลูก)
5.       กฎกระทรวง(ผ่านคณะรัฐมนตรี)
การออกกฎหมาย สามารถเสนอโดย
1.       ครม.
2.       สส. 20 คนขึ้นไป
3.       ประชาชน  20,000 คน
ผ่านส.ส. มี 3 วาระ(หลักการ แปรญัตติ อนุมัติ) แล้วผ่าน สว. 3 วาระ และพระมหากษัตริย์ลงปรมาภิไธย
การสั่งการณ์แบบ TOP DOWN โดยคนกลุ่มเล็กคือคนชั้นนำผู้มีอิทธิพล เพื่อสนองตอบต่อค่านิยมผลประโยชน์ของชนชั้นนำ 
ตัวแบบกลุ่ม Group Model
ตัวแบบหลักเหตุผล (Rational Model)
                    ตัวแบบเหตุผล คือ ตัวแบบในการวิเคราะห์นโยบายสาธารณะในฐานะที่เป็นผลประโยชน์สูงสุดทางสังคม
                    นโยบายที่ยึดหลักเหตุผล คือ นโยบายที่มุ่งผลประโยชน์สูงสุดทางสังคม ดังนั้นรัฐบาลควรยกเลิกหรือ หลีกเลี่ยงการใช้นโยบายที่มีต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายสูงกว่าค่าตอบแทน
ลักษณะสำคัญของผลประโยชน์สูงสุดทางสังคม ได้แก่
   1. จะไม่มีการใช้นโยบายที่ต้นทุนสูงกว่าผลประโยชน์
   2. ในระหว่างทางเลือกนโยบายทั้งหมดที่มีอยู่ ผู้ตัดสินใจนโยบาย    ควรเลือกนโยบายที่ให้ผลประโยชน์ตอบแทนต่อต้นทุนสูงสุด    ภายใต้กรอบความคิดของตัวแบบหลักเหตุผล นโยบายสาธารณะ    จะมีลักษณะของหลักการเหตุผลก็ต่อเมื่อ ความแตกต่างระหว่าง    คุณค่าที่บรรลุและคุณค่าที่ต้องเสียไป มีค่าเป็นบวก และมีค่า มากกว่าทางเลือกนโยบายอื่น
ในการเลือกนโยบายโดยยึดหลักเหตุผล ผู้กำหนดนโยบายจะต้องพิจารณาปัจจัยดังต่อไปนี้
1. จะต้องเข้าใจคุณค่าที่พึงปรารถนาของสังคมทั้งหมด
2. จะต้องเข้าใจทางเลือกนโยบายที่เป็นไปได้ทั้งหมด
3. จะต้องเข้าใจผลลัพธ์ทั้งหมดของทางเลือกนโยบาย แต่ละทางเลือก
4. สามารถคำนวณสัดส่วนระหว่างผลประโยชน์และต้นทุนของทางเลือกนโยบายแต่ละทางเลือกได้
5. ผู้ตัดสินใจนโยบายจะต้องพิจารณาเลือกทางเลือกนโยบายที่มีประสิทธิภาพสูงสุด


 ตัวแสดงในกระบวนนโยบายสาธารณะ
1) ตัวแสดงในภาครัฐ
2) ตัวแสดงในภาคสังคม
3) ตัวแสดงในระบบระหว่างประเทศ
1. ตัวแสดงในภาครัฐ
1.1 เจ้าหน้าที่ภาครัฐที่มาจากการเลือกตั้งแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ฝ่ายบริหาร และสมาชิกฝ่ายนิติบัญญัติ
- ฝ่ายบริหารหรือคณะรัฐมนตรี โดยอำนาจของกลุ่มนี้จะมาจากบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญอำนาจในการกำหนดนโยบายและนำเอานโยบายไปปฏิบัติถือเป็นอำนาจของฝ่ายบริหาร นอกจากนี้แล้วฝ่ายบริหารยังเป็นผู้ที่ควบคุมเหนือทรัพยากรต่าง ๆ ที่มีส่วนช่วยในการเสริมอำนาจในตำแหน่งของกลุ่มนี้
- ฝ่ายนิติบัญญัติ ถือได้ว่าเป็นตัวแทนของประชาชนในการเข้าไปทำหน้าที่แทนในงานนิติบัญญัติแต่เมื่อพิจารณาในการทำหน้าที่แล้วฝ่ายนิติบัญญัติมีหน้าที่สำคัญในการตรวจสอบรัฐบาลมากกว่าที่จะเข้าไปมีส่วนในการกำหนดและนำนโยบายไปปฏิบัติ นิติบัญญัติเป็นเสมือนเวทีสำคัญที่เปิดโอกาสให้ปัญหาสังคมต่าง ๆ กลายเป็นประเด็นที่สังคมโดยรวมให้ความสนใจและให้มีการเรียกร้องนโยบายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหานั้น ๆ ฝ่ายนิติยังมีโอกาสในการเสนอความเห็นผ่านการอภิปรายในขั้นตอนการลงมติรับรองร่างพระราชบัญญัติต่าง ๆ เพื่อออกเป็นนโยบาย และงบประมาณของรัฐบาลเพื่อสนับสนุนการลงมือปฏิบัตินโยบายดังกล่าว สมาชิกฝ่ายนิติบัญญัติอาจจะยกประเด็นปัญหาและนำการอภิปรายปัญหาของการนำนโยบายไปปฏิบัติและเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงได้
1.2 เจ้าหน้าที่ที่ได้รับแต่งตั้ง
เจ้าหน้าที่ที่ได้รับการแต่งตั้งให้เข้าไปเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันนโยบายสาธารณะและการบริหารเราจะ หมายถึง ระบบราชการ ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยให้กับฝ่ายบริหารในการปฏิบัติงาน
- ระบบราชการมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายและยังรวมถึงการให้อำนาจกับข้าราชการเป็นรายบุคคลในการพิจารณา และตัดสินใจในนามของรัฐ
- ระบบราชการมีความสามารถในการเข้าถึงทรัพยากรสำหรับการดำเนินงานวัตถุประสงค์ขององค์กร หรือแม้กระทั่งวัตถุประสงค์ส่วนบุคคล โดยเฉพาะทรัพยากรทางการคลังและงบประมาณ
- ระบบราชการสามารถเข้าถึงข้อมูลปริมาณมากมายในแง่มุมที่แตกต่างหลากหลาย
- บางครั้งนโยบายบางอย่างจะต้องถูกพิจารณาอย่างลับ ๆ ระบบราชการปฏิเสธการเข้ามีส่วนร่วมของตัวแสดงอื่น ๆ ในการพิจารณาและคัดค้านนโยบายหรือแฟนปฏิบัติงาน
2. ตัวแสดงในภาคสังคม
2.1 กลุ่มผลประโยชน์ Interest Group
แม้ว่าตัวแสดงในภาครัฐ หรือที่เรียกว่า ชนชั้นนำทางนโยบายจะมีบทบาทสำคัญในกระบวนการนโยบาย แต่ก็มิได้หมายความว่า กระบวนการนโยบายจะสามารถเป็นอิสระและหลีกเลี่ยงอิทธิพลและผลประโยชน์ของสังคมไปได้ เพราะในทุก ๆ สังคมจะมีกลุ่มที่ต้องการจะเข้าไปมีอิทธิพลต่อการกระทำของรัฐบาลเพื่อให้บรรลุตามพึงพอใจของกลุ่มตนอยู่เสมอ นั่นก็คือกลุ่มผลประโยชน์ โดยการแสดงออกซึ่งความต้องการและเสนนอทางเลือกสำหรับการดำเนินนโยบายสาธารณะ
กลุ่มผลประโยชน์ Interest Group เป็นการรวมตัวของกลุ่มชนที่มีผลประโยชน์ได้ยึดถือเอาแนวอาชีพเดียวกันเป็นหลัก  เมื่อรวมตัวกันดำเนินไปด้วยดี มีการจัดการที่ดี มีประสิทธิภาพ ก็จะสามารถสร้างพลังเป็นกลุ่มอิทธิพล Influence Group และอำนาจ Power เหนือรัฐบาล


2.2 กลุ่มผู้นำทางศาสนา
เป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลมากในประเทศกำลังพัฒนาและสามารถเข้าไปมีอิทธิพลอย่างมากต่อทางเลือกของนโยบาย
2.3 กองทัพ
ในประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่จะพบว่ากองทัพเป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลสูงมาก และเนื่องจากกองทัพมีความสำคัญทางการเมืองในการจัดตั้งและการอยู่รอดของรัฐบาล กองทัพจึงมีอิทธิพลต่อการจัดสรรทรัพยากร และในบางครั้งก็แสดงบทบาทในการเป็นกลุ่มยับยั้งนโยบายบางอย่างด้วย
2.4 สถาบันวิจัย
ความสนใจของนักวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาต่อปัญหาสาธารณะมักจะเป็นความสนใจในเชิงทฤษฎีและปรัชญา
2.5 สื่อสารมวลชน
สื่อสารมวลชนถือได้ว่าเป็นตัวเชื่อมระหว่างรัฐกับสังคม ในกรณีของประเทศกำลังพัฒนารัฐบาลมักมีสื่อโทรทัศน์และวิทยุเป็นของตนเอง ซึ่งสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการโฆษณาชวนเชื่อเพื่อสร้างการสนับสนุนให้แก่รัฐบาล หรืออาจใช้ในการโจมตีสื่อสารมวลชนที่เสนอแนวคิดที่คัดค้านรัฐบาล
3. ตัวแสดงในระบบระหว่างประเทศ
ประเทศยังถูกกำหนดขึ้นจากสถาบันระหว่างประเทศ โดยเฉพาะในภาคของนโยบายที่เกี่ยวข้องกับภาคระหว่างประเทศหรือมีธรรมชาติของนโยบายที่ต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์ในเชิงระหว่างประเทศเช่น การค้าและการป้องกันประเทศ
UN
WTO องค์การการค้าโลก
Asian
Euro
พลเมือง แปลว่า กำลังของเมือง หมายถึง ผู้คนทั้งหมดที่อยู่ในประเทศใดประเทศหนึ่ง พลเมือง คือ ราษฎรชาวเมือง บางทีใช้ว่า ไพร่บ้านพลเมือง จำนวนผู้คนที่เป็นประชากรในประเทศหรือในเมืองหนึ่ง เป็นจำนวนพลเมืองของประเทศหรือเมืองนั้น พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายคำว่า พลเมือง ว่า ประชาชน ราษฎร ชาวประเทศŽ แต่โดยทั่วไปมักใช้ คำว่า พลเมือง หมายถึง บุคคลที่มีสิทธิตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เช่น มีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยว่า พลเมืองไทยมีสิทธิและหน้าที่เสมอกัน เช่น มีสิทธิเท่าเทียมกันในการออกเสียงเลือกบุคคลไปทำหน้าที่ทางนิติบัญญัติคนละ ๑ เสียง นอกจากสิทธิ พลเมืองทุกคนย่อมมีหน้าที่ซึ่งต้องปฏิบัติเพื่อประเทศชาติ เช่น หน้าที่ในการปกป้องชาติ หน้าที่ในการเสียภาษี เพื่อให้พลเมืองของชาติไทยรู้จักหน้าที่ของตน จึงมีวิชาหน้าที่พลเมืองสอนให้นักเรียนไทยทุกคนเรียนในโรงเรียน คนที่รู้จักสิทธิและหน้าที่ของพลเมืองและปฏิบัติตามโดยไม่ขัดขืนบิดพลิ้ว เป็นพลเมืองที่สมบูรณ์ของชาติ ส่วนคนที่ช่วยเหลือกิจการของชาติโดยไม่คิดถึงความยากลำบากใดๆ เช่น ช่วยแจ้งเบาะแสของคนร้ายให้ตำรวจทราบ ช่วยเหลือคนที่ถูกโจรทำร้าย ช่วยเหลือคนที่ได้รับเคราะห์ เป็นต้น จะเรียกว่า พลเมืองดี
ราษฎร หมายถึง พลเมืองของประเทศ ในกรณีที่เป็นผู้มีสิทธิในการปกครองประเทศ เช่น ผู้ที่ได้รับเลือกให้ทำหน้าที่นิติบัญญัติแทนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เรียกว่า ผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คำว่า ราษฎร เป็นคำที่มาจากภาษาสันสกฤตว่า ราษฎร แปลว่า แว่นแคว้น บ้านเมือง ประเทศ ตรงกับคำว่า ราฏฺฐ ในภาษาบาลี ไทยใช้คำว่า รัฐ ตามความหมายเดิม แต่ใช้คำว่า ราษฎร หมายถึง ผู้ที่อยู่ในรัฐ หรือคนในรัฐ บางครั้งใช้ ราษฎร หมายถึง คนธรรมดา คนที่ไม่มีตำแหน่ง คนที่ไม่ใช่ขุนนาง ไม่ใช่ทหาร ไม่ใช่นักบวช และเป็นคำที่ใช้แทนคำว่า ประชาชนได้ เช่น พอเกษียณอายุราชการแล้วเขาก็เป็นราษฎรเต็มขั้น ขุนนางหรือราษฎรก็ไปถวายพระพรชัยแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เหมือนกัน วันที่เสด็จพระราชดำเนินออกพระบัญชรให้ราษฎรเฝ้า ราษฎรได้ถวายบังคมชื่นชมพระบารมีทั่วหน้ากัน ราษฎรส่วนหนึ่งมีอาชีพเป็นเกษตรกร ทำไร่บ้าง ทำนาบ้าง หรือเลี้ยงสัตว์บกสัตว์น้ำต่างๆกันไป ถ้ารัฐบาลเป็นเผด็จการ ราษฎรก็ไม่มีสิทธิออกเสียงเลือกผู้บริหารประเทศ
ประชาชน แปลว่า หมู่คน พลเมือง หมายถึง สามัญชนทั่วไปที่ไม่ใช่ข้าราชการ พ่อค้า หรือนักบวช เช่น ประชาชน ใช้หมายถึง ผู้คนทั้งหมดในลักษณะที่เป็นคนทั่วไป ไม่ได้แสดงความหมายใดเป็นพิเศษ คำว่า ประชาชน อาจใช้ว่า ประชา หรือชาวประชา ในคำประพันธ์ หรือใช้ว่า ประชาราษฎร์ ประชาราษฎร์ทั้งหลาย เช่น ประชาราษฎร์ได้รับความเสียหาย จากอุทกภัยครั้งนั้นเป็นอันมาก เมื่อเกิดสงครามอาณาประชาราษฎร์ก็เดือดร้อนกันทั่วหน้า ผู้ปกครองประเทศมีหน้าที่บำบัดทุกข์บำรุงสุขให้ประชาชนราษฎร์ทั้งหลาย
Civil Society
คำว่า "ประชาสังคม" มาจากภาษาอังกฤษว่า Civil Society  มีหลายความหมาย เช่นประชาสังคม คือ พื้นที่การเมืองสาธารณะ(public sphere) ของประชาชนซึ่งกำเนิดมาจากการก่อตัวของวัฒนธรรมคนชั้นกลาง และขยายปริมณฑลไปสู่ชนชั้น กลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ ที่หลากหลาย และสนใจเข้าร่วมในพื้นที่การเมืองสาธารณะนี้ ดังนั้นประชาสังคม จึงเป็นพื้นที่ที่เกิดกิจกรรม มิได้หมายถึงประชาชนทั้งหมด หรือสังคมทั้งหมด ที่ไม่ได้มีการเคลื่อนไหวทางการเมืองสาธารณะ
ประชาสังคม  หมายถึง ภาคส่วนต่างๆ ในสังคมที่มิใช่ภาครัฐหรือราชการ ไม่มีอำนาจรัฐเข้ามาเกี่ยวข้อง
โลกาภิวัตน์ มักเขียนผิดเป็น โลกาภิวัฒน์) หรือ โลกานุวัตร (อังกฤษ: globalization)[1] คือ ผลจากการพัฒนาการติดต่อสื่อสาร การคมนาคมขนส่ง และเทคโนโลยีสารสนเทศ อันแสดงให้เห็นถึงการเจริญเติบโตของความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง เทคโนโลยี และวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงระหว่างปัจเจกบุคคล ชุมชน หน่วยธุรกิจ และรัฐบาล ทั่วทั้งโลก
โลกาภิวัตน์ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 หมายถึง "การแพร่กระจายไปทั่วโลก; การที่ประชาคมโลกไม่ว่าจะอยู่ ณ จุดใด สามารถรับรู้ สัมพันธ์ หรือรับผลกระทบจากสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วกว้างขวาง ซึ่งเนื่องมาจากการพัฒนาระบบสารสนเทศเป็นต้น" โลกาภิวัตน์ เป็นคำศัพท์เฉพาะที่บัญญัติขึ้นเพื่อตอบสนองปรากฏการณ์ของสังคมโลกที่เหตุการณ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในส่วนหนึ่งของโลก ส่งผลกระทบอันรวดเร็วและสำคัญต่อส่วนอื่นๆของโลก
globalization
โลกาภิวัตน์ หมายถึงกระบวนการที่ประชากรของโลกถูกหลอมรวมกลายเป็นสังคมเดี่ยว กระบวนการนี้เกิดจากแรงของอิทธิพลร่วมทางเศรษฐกิจ เทคโนโลยีและสังคม-วัฒนธรรมและการเมือง

ปฏิโลกาภิวัตน์ (Anti-globalization หรือ mundialism)


ปฏิโลกาภิวัตน์ หรือ การต่อต้านโลกาภิวัตน์ (Anti-globalization) เป็นคำปฏิเสธที่ใช้กับท่าทีทางการเมืองของบุคคลและกลุ่มที่ต่อต้านเสรีนิยมแนวใหม่ ( neoliberal) ในนามของโลกาภิวัตน์
ปฏิโลกาภิวัตน์อาจเกี่ยวข้องกับกระบวนการ หรือ การกระทำของรัฐเพื่อแสดงให้เห็นอำนาจอธิปไตย หรือ รัฐาธิปไตยและการตัดสินใจแบบประชาธิปไตยของตน ปฏิโลกาภิวัตน์ อาจเกิดขึ้นเพื่อหยุดการไหลถ่ายเทของประชากรในระดับนานชาติ สินค้า และอุดมการณ์ โดยเฉพาะที่กำหนดโดยองค์การเช่น IMF หรือ WTO ที่จะออกมาตรการลัทธิการค้าเสรีมาทะลายกฏเกณฑ์เดิมของรัฐบาลของประเทศต่างๆ และประชากร นอกจากนี้ ดังที่นักหนังสือพิมพ์แคนาดาชื่อนาโอมิ ไคลน์ อ้างเหตุผลในหนังสือของเธอชื่อ ไม่มีตรา: เล็งไปที่ยี่ห้อ” (No Logo: Taking Aim at the Brand Bullies) ซึ่งมีหัวเรื่องย่อยว่า ไม่มีที่ ไม่มีทางเลือก ไม่มีงานนักปฏิโลกาภิวัตน์อาจนำมาใช้เพื่อให้เห็นทั้งขบวนการสังคมโดดๆ หรือเป็นคำที่ครอบคลุมรวมขบวนการสังคมที่แยกกันอยู่เป็นจำนวนมาก [21] เช่น ชาตินิยมและสังคมนิยม ทั้งสองกรณีผู้เข้าร่วมยืนอยู่ในตำแหน่งของฝ่ายอำนาจการเมืองที่ไม่มีการกำกับดูแล บรรษัทข้ามชาติที่ใหญ่ ในขณะที่บรรษัทใหญ่ เหล่านั้นใช้อำนาจผ่านข้อตกลงทางการค้าที่สร้างความเสียหายแก่สิทธิ์ประชาธิปไตยบางแง่ของพลเมือง สร้างความเสียหายแก่สิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะดัชนีคุณภาพอากาศและป่าฝนเขตร้อน รวมทั้งรัฐาธิปัตย์ของรัฐบาลในการให้สิทธิ์แก่ผู้ใช้แรงงาน รวมทั้งสิทธิ์ในการตั้งสหภาพเพื่อเรียกร้องค่าจ้างให้สูงขึ้นและสภาพการทำงานที่ดีขึ้น หรือกฎหมายที่อาจทำความเสียหายกับจประเพณีของประเทศกำลังพัฒนา
ฝ่ายที่ถูกตราว่าเป็นพวกปฏิโลกาภิวัตน์มองคำที่ใช้เรียกตนว่าคลุมเครือและคลาดเคลื่อน [22][23] โพโดนิก (Podobnik) กล่าวว่า กลุ่มที่เข้าร่วมประท้วงส่วนใหญ่ ดึงโครงข่ายนานาชาติมาช่วยสนับสนุน และพวกเหล่านั้นเรียกร้องหารูปแบบของโลกาภิวัตน์ที่เกื้อหนุนเป็นตัวแทนประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชนและสมภาคนิยม" (egalitarianism)
สไตกลิตส์ โจเซฟและแอนดรู ชาร์ลตัน [24] เขียนไว้ว่า: “ขบวนการปฏิโลกาภิวัตน์ก่อตัวขึ้นเพื่อต่อต้านแง่ลบของโลกาภิวัตน์ คำว่า ปฏิโลกาภิวัตน์เป็นคำที่ไม่ตรงเนื่องจากกลุ่มเป็นตัวแทนผลประโยชน์ที่กว้าง แทนประเด็นและผู้คนจำนวนมากที่เกี่ยวข้องกับขบวนการต่อต้านโลกาภิวัตน์ที่สนับสนุนความเกี่ยวพันที่ใกล้ชิดระหว่างผู้คนและวัฒนธรรมที่หลากหลายในโลก ผ่านการเงินช่วยเหลือ การช่วยเหลือผู้อพยพ และประเด็นปัญหาด้านสภาวะแวดล้อมของโลก”
สมาชิกที่อยู่ข้างแนวคิดนี้ชอบให้เรียกพวกตนว่าเป็นพวก ขบวนการโลกยุติธรรม” (Global Justice Movement) “ขบวนการต่อต้านบรรษัท-โลกาภิวัตน์บ้าง กระบวนการแห่งกระบวนการ” (อิตาลี) บ้าง รวมทั้งขบวนการ หลังโลกาภิวัตน์”( Alter-globalization) และชื่ออื่นๆ อีกมาก
มีนักวิจารณ์วิจารณ์ช่วงกระแสโลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจเมื่อเร็วๆ นี้ที่มองว่าเป็นการทำความเสียหายแก่ดาวเคราะห์โลกในแง่ของการสร้างอันตรายที่เกิดจากความไม่ยั้งยืน รวมทั้งยังมองว่าเป็นการทำความเสียหายแก่มนุษย์ เช่นการเพิ่มความยากจน สร้างความไม่เท่าเทียม เพิ่มการสมรสกับคนต่างผิว ความอยุติธรรมและการผุกร่อนของวัฒนธรรม นักวิจารณ์ยืนยันว่าทั้งหมดเกิดจากการเปลี่ยนรูปแบบทางเศรษฐกิจที่สืบเนื่องจากโลกาภิวัตน์ พวกเขาท้าทายตัวเลข เช่น GDP ที่ใช้ชี้วัดความก้าวหน้าที่บังคับใช้โดยสถาบันเช่น ธนาคารโลก โดยให้มองมาตรการอื่นด้วย เช่น ดัชนีความสุขของโลก" ( Happy Planet Index)[25] ที่จัดทำโดย มูลนิธิเศรษฐกิจใหม่” (New Economics Foundation)[26]. ที่ชี้ให้เห็น ความมากมายของผลกระทบที่อาจทำให้สังคมแตกสลาย การล่มของประชาธิปไตย การเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมในอัตราที่รวดเร็ว การแพร่กระจายอย่างรวดเร็วของเชื้อโรค ความยากไร้และการลดคุณค่าของมนุษย์ที่เพิ่มขึ้น [27] ซึ่งนักวิจารณ์กล่าวว่าข้ออ้างนี้ไม่ใช้เป็นการเจตนา แต่เป็นตามมาที่แท้จริงของโลกาภิวัตน์
Pax Britannica
คำว่า "จักรวรรดินิยม" เป็นคำศัพท์ใหม่ เกิดขึ้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ตามข้อมูลของพจนานุกรมภาษาอังกฤษฉบับออกซฟอร์ด (Oxford English Dictionary หรือ OED) ระบุว่าการใช้คำศัพท์นี้ปรากฏย้อนหลังไปถึงปี ค.ศ. 1858 โดยใช้อธิบายความหมายของสันติภาพที่อังกฤษใช้อำนาจบีบให้เกิดขึ้น (Pax Britannica) อย่างไรก็ตาม รากศัพท์ที่ทางปัญญาชนใช้กันจริงๆ นั้น สามารถสาวลึกลงไปถึงในช่วงยุคสมัยของดังเต้ (Dante) ได้เลยทีเดียว ในหนังสือ ราชาธิปไตย (Monarchia) ของเขาพรรณาถึงโลกที่มีจุดรวมศูนย์ทางการเมืองและการปกครองเป็นหนึ่งเดียวว่า "ลัทธิเหตุผลนิยม" (rationalism) ดังเต้ผู้นี้มีอิทธิพลเป็นอย่างมากต่อ จอห์น ดี (John Dee), ซึ่งต่อมาเป็นผู้รังสรรค์ประดิษฐ์คำว่า จักรวรรดินิยมอังกฤษ (British Empire) ขึ้นมาใช้ในปลายศตวรรษที่ 16 จอห์น ดี นั้นเป็นผู้ที่ ช่วยให้เกิดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศของปัญญาชนและวิทยาศาสตร์ขึ้นในอังกฤษ ส่งผลให้นักเดินทะเลชาวอังกฤษอย่างเช่น ฮัมฟรี กิลเบอร์ต (Humphrey Gilbert), มาร์ติน โฟรบิเชอร์ (Martin Frobisher) และวอลเตอร์ ราเลจห์ (Walter Raleigh) สามารถวางรากฐานสำหรับการแผ่อำนาจของจักรวรรดินาวีอังกฤษในเวลาต่อมาได้
เหตุการณ์
-          การปฏิบัติอุตสาหกรรมในอังกฤษ
-          การล่าอาณานิคม
-          ในประเทศไทยเริ่มจาก         สัญญาคอร์ฟอร์ด(ร. ๒)
สัญญาเบาร์นี(ร.๓)
                                                    สัญญาเบานิง(ร.๔)
Pax Americana 1
Pax Americana หมายถึงภาวะแห่งความเสถียรของทั่วโลกเพียงชั่วคราวหลังสงครามโลกครั้งที่สองภายใต้อิทธิพลทางการทหารและเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ส่วน pox หมายถึง "ฝี" จึงหมายถึง "ฝีอเมริกัน"
เหตุการณ์
                   การเสื่อมถอยของยุโรปภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒
                   กฎบัตรแอตแลนติก/การประชุมดัมบาตันโอกส์
      - องค์การสหประชาชาติ
                   การประชุม “เบรทตัน วูด”(Bretton Woods)
     - ธนาคารโลก
     - IMF
Pax Americana 2
                   การประชุมรอบอุรุกวัย(องค์การการค้าโลก)
                   การจัดระเบียบโลกใหม่
บริบทที่มา
          วันที่ 10 มิถุนายน 1963 ประธานาธิบดี John F. Kennedy ได้กล่าวปาฐกถาที่มหาวิทยาลัยอเมริกันในกรุงวอชิงตัน ดีซี ซึ่งเขาบอกว่าสันติภาพซึ่งสหรัฐฯประกาศว่าได้ใฝ่หานั้น "ไม่ใช่ Pax Americana ที่ถูกยัดเหยียดให้กับชาวโลกโดยกำลังทางทหาร" คำพูดของเขาคือการตอบรับการวิพากษ์วิจารณ์ต่อสหรัฐฯ โดยตำราเรียนในยุทธวิธีทางการทหารของสหภาพโซเวีตซึ่งเพิ่งถูกตีพิมพ์ไม่นานมานี้ เคนนาดี้ปฏิเสธข้อกล่าวหาที่ว่า "แก๊งค์จักรวรรดินิยม"กำลัง"เตรียมพร้อมในการทำสงครามในรูปแบบที่แตกต่างกัน" รวมไปถึง "สงครามที่ชิงเล่นงานก่อน" เขาชี้ให้เห็นว่า หนังสือเรียนของโซเวียต ได้ระบุว่า "เป้าหมายทางการเมืองของพวกจักรวรรดินิยมนั้นเคยและยังคงทำให้ยุโรปและประเทศทุนนิยมอื่นๆ ต้องตกเป็นทาสทั้งทางเศรษฐกิจและการเมือง และภายหลังจากที่ฝ่ายหลังถูกดัดแปลงให้กลายเป็นเครื่องมือรับใช้อย่างเชื่อง ๆ โดยการรวมประเทศเหล่านั้นค่ายและกลุ่มทางการเมืองกับการทหารอันหลากหลายซึ่งหันหน้าประชันกับประเทศสังคมนิยมทั้งหลาย เป้าหมายสำคัญของทั้งหมดนี้คือการก้าวสู่การเป็นเจ้าโลก " ในคำพูดของเคนนาดี้ ดูเหมือนจะบอกว่าข้อกล่าวทั้งหมดนี้ไร้สาระและดูไม่น่าเชื่อเอาเสียเลย อันเป็นงานของพวก"นักโฆษณาชวนเชื่อ"ชาวมาร์กซิสต์ ดังที่ทั้งโลกรู้กันว่า "สหรัฐฯ จะไม่เคยเริ่มต้นสงคราม"

         ถึงแม้จะมีการปฏิเสธอย่างแข็งขันถึงขนาดนั้น แนวคิดของ "Pax Americana"ที่ถูกยัดเยียดโดยแสนยานุภาพของสหรัฐฯ นั้นกลายเป็นรูปแบบอันน่าชื่นชอบของผู้ที่พยายามสร้างภาพให้อเมริกาดูเป็นจักรวรรดิ์ที่เปี่ยมด้วยเมตตา ดังนั้น ในหนังสือซึ่งเป็นที่อ่านกันอย่างแพร่หลายของ Ronald Steel ที่ชื่อ Pax Americana ซึ่งถูกตีพิมพ์ครั้งแรกในปี 1967 ช่วงสงครามเวียดนาม เขาได้เขียนถึง "จักรวรรดิ์นิยมที่เปี่ยมด้วยเมตตาของ Pax Americana ซึ่งมีลักษณะสำคัญคือมุ่งสู่เป้าหมายที่ดีงามไม่ใช่แรงจูงใจที่ต่ำชั้นเช่นกำไรและอิทธิพล บทหนึ่งเกี่ยวกับการช่วยเหลือต่างประเทศในฐานะ "องค์ประกอบของจักรวรรดิ์"ที่ชื่อว่า "ภาระของคนขาว"ได้กลับไประลึกถึงบทกวีอันมีชื่อของ Rudyard Kipling ที่เรียกร้องให้สหรัฐฯ แสดงบทบาทของการเป็นจักรวรรดิ์ในประเทศฟิลิปปินส์ที่ตามมาด้วยสงครามระหว่างอเมริกากับสเปนในปี 1898 มุมมองแบบจักวรรดิ์อันชัดเจนเหล่านั้นเช่นนั้นต้องมาสูญสิ้นหลังจากที่สหรัฐฯพ่ายแพ้ในสงครามเวียดนาม แต่บัดนี้มันได้ปรากฏโฉมขึ้นมาอีกครั้งในโลกหลังสงครามเย็นนั้นคือสงครามของสหรัฐฯ ในอัฟกานิสถานและอิรักและโดย "สงครามต่อต้านการก่อการร้าย"ที่นำโดยสหรัฐฯ ชั่วนิรันดร์ อีกครั้งหนึ่งที่เราจะได้ยินทางการเรียกร้องให้มีการ "ปกป้อง Pax Americana" และแม้แต่การเริ่มต้นของการเรียกร้องแบบเก่า ๆ ให้เข้ารับ "ภาระของคนขาว" (White's burden)
Current Issues  ประเด็นปัจจุบัน
1.       Tariff elimination  การขจัดภาษีศุลกากร
2.         Services liberalization การเปิดเสรีบริการ
3.       NTBs มาตรการอุปสรรคทางการค้าที่มิใช่ภาษี (Non Tariff Barriers : NTBs) เป็นมาตรการที่ทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้นในปัจจุบัน ผู้ประกอบการภาคเอกชนควรให้ความสำคัญกับมาตรการดังกล่าวที่เกิดขึ้น
ทั้งนี้ หากได้รับผลกระทบจากมาตรการ NTBs จากประเทศใดสามารถแจ้งมายังคณะกรรมการร่วม WTO หรือคณะกรรมการมาตรการที่ เป็นอุปสรรคทางการค้าที่มิใช่ภาษี สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อจะได้รวบรวมนำเสนอภาครัฐต่อไป
         บทความนี้จะประกอบด้วย ความเป็นมาของมาตรการ NTBs ตารางเปรียบเทียบ NTMs และNTBs หลักการของ GATT (ค.ศ. 1994) กับมาตรการกีดกันทางการค้า กฎเกณฑ์ทางการค้าที่เป็นมาตรการกีดกันที่มิใช่ภาษี (NTM) ภายใต้ WTO ที่สำคัญ และมาตรการที่มิใช่ภาษีของประเทศต่างๆที่มีผลกระทบต่อสินค้าไทย
(รายละเอียดเพิ่มเติ่ม)* ได้แก่1.  บรูไน * 2.  จีน *3.  สหภาพยุโรป *4.  อินโดนีเซีย * 5.  ญี่ปุ่น *6.  มาเลเซีย *7.  ฟิลิปปินส์ *8.  สิงคโปร์ *9.  เกาหลีใต้ *10.ไต้หวัน *11.สหรัฐ *
4.       Trade facilitation ความสะดวกสบายทางการค้ายุคใหม่ การอำนวยความสะดวกทางการค้า
5.       Intellectual property ทรัพย์สินทางปัญญา
6.       Elimination of subsidy การขจัดการอุดหนุน
Consensus ฉันทามติ

เขตการค้าเสรี Free trade area
ปัจจุบันมีเขตการค้าเสรี (Free Trade Area : FTA) เพิ่มขึ้นใหม่ (นอกเหนือจาก 91 ประเทศดังกล่าว)  คือ  FTA ไทย-จีน  มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2546 , FTAไทย-อินเดีย  มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2547 , FTA ไทย-ออสเตรเลีย  มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2548  และล่าสุดคือ FTA ไทย-นิวซีแลนด์  มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่  1 กรกฎาคม 2548
เขตการค้าเสรีสะท้อนแนวคิดสำคัญทางเศรษฐศาสตร์ที่ว่า "ประโยชน์จากการค้าระหว่างประเทศจะเกิดขึ้นสูงสุดเมื่อประเทศต่างๆ ผลิตสินค้าที่ตนมีต้นทุนในการผลิตต่ำที่สุดเมื่อเปรียบ เทียบกับประเทศอื่นๆ แล้วนำสินค้าเหล่านั้นมาค้าขายแลกเปลี่ยนกัน" ซึ่งในโลกแห่งความเป็นจริงนั้น ประโยชน์สูงสุดดังกล่าวจะไม่เกิดขึ้น หากยังมีการเก็บภาษีขาเข้าและมีการใช้มาตรการกีดกันทางการค้าต่างๆ ซึ่งส่งผลบิดเบือนราคาที่แท้จริงของสินค้า และทำให้การค้าขายไม่เป็นไปอย่างเสรีและมีประสิทธิภาพ
พร้อมกันนี้ FTA ถือเป็นเครื่องมือทางการค้าสำคัญที่ประเทศต่างๆ สามารถใช้เพื่อขยายโอกาสในการค้า สร้างพันธมิตรทางเศรษฐกิจ พร้อมๆ กับเพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้านราคาให้แก่สินค้าของตน เนื่องจากสินค้าที่ผลิตใน FTA จะถูกเก็บภาษีขาเข้าในอัตราที่ต่ำกว่าสินค้าที่ผลิตในประเทศอื่นๆ ที่ไม่ใช่สมาชิก FTA จึงทำให้สินค้าที่ผลิตภายในกลุ่มได้ เปรียบในด้านราคากว่าสินค้าจากประเทศนอกกลุ่ม แนวทางในการจัดทำเขตการค้าเสรี
การจัดทำเขตการค้าเสรีที่ดีควรมีรูปแบบ ดังต่อไปนี้
1.       ทำให้กรอบกว้าง (Comprehensive) เพื่อให้ได้รับประโยชน์ทั้งสองฝ่าย (Win-Win) การเจรจาทำความตกลงจัดตั้งเขตการค้าเสรีมีขอบเขตกว้างขวางครอบคลุมสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจทุกสาขา ทั้งการเปิดเสรีทางการค้า (สินค้าและบริการ) การลงทุน และการขยายความร่วมมือทั้งในสาขาที่ร่วมมือกันตลอดจนประสานแนวนโยบายและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ นับว่าเป็นการทำข้อผูกพันเพิ่มเติมจากข้อผูกพันที่แต่ละประเทศมีอยู่แล้วในฐานะสมาชิก WTO จึงเป็นข้อผูกพันใน WTO (WTO plus)
2.       ทำให้สอดคล้องกับกฎ WTO โดยที่ WTO กำหนดเงื่อนไขให้มีการเปิดเสรีโดยคลุมการค้าสินค้า/บริการ ระหว่างประเทศที่เข้าร่วมทำเขตการค้าเสรีอย่างมากพอ (Substantial) และสร้างความโปร่งใสโดยแจ้งต่อ WTO ก่อนและหลังการทำความตกลงตั้งเขตการค้าเสรี รวมทั้งเปิดให้ประเทศสมาชิกตรวจสอบความตกลง
3.       แลกเปลี่ยนผลประโยชน์ตอบแทนกัน (Reciprocity) ในกรณีที่ คู่เจรจาเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ควรเรียกร้องความยืดหยุ่นเพื่อให้มีเวลานานกว่าในการปรับตัวหรือทำข้อผูกพันในระดับที่ต่ำกว่า
4.       กำหนดกลไกและมาตรการป้องกันผลกระทบต่ออุตสาหกรรมภายใน การเจรจาจัดตั้งเขตการค้าเสรีจะรวมถึงเรื่องกฎเกณฑ์และขั้นตอนในการใช้มาตรการป้องกันผลกระทบต่ออุตสาหกรรมภายใน เช่น การเก็บภาษี การต่อต้านการทุ่มตลาด (AD) ภาษีตอบโต้การอุดหนุน (CVD) และมาตรการคุ้มกัน (Safeguards) ซึ่งใช้กฎเกณฑ์ของ WTO เป็นพื้นฐาน แต่ปรับปรุงให้ตรงตามความประสงค์ของประเทศที่ร่วมเจรจา หรือบางกรณีอาจมีการตกลงที่จะระงับการใช้มาตรการ AD,CVD ระหว่างกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น