วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การเตรียมตัวสอบประมวลฉบับย่อ


การสอบประมวลความรู้
การสอบแบ่งออกเป็ น 3 กลุ่มวิชา คือ
1. นโยบายสาธารณะ
2. องค์การสาธารณะ
3. ทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐ
กลุ่มนโยบายสาธารณะ
1.PA 704 การกำหนดและการวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ
2.PA 715 การนำนโยบายไปปฏิบัติและประเมินผลนโยบาย
3.PA 716 สัมมนานโยบายและการจัดการสาธารณะ
กลุ่มองค์การสาธารณะ
1.PA 709 องค์การและนวัตกรรมในองค์การ
2.PA 710 การบริหารเชิงกลยุทธ์
กลุ่มทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐ
1.PA 711 การจัดการทรัพยากรมนุษย์ร่วมสมัย
2.PA 712 การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐ
กลุ่มวิชาวิชาพื้นฐานประกอบการทำคำตอบทุกกลุ่มวิชา
1.PA 701 ขอบข่ายและแนวคิดเชิงทฤษฏีรัฐประศาสนศาสตร์
2.PA703 ระบบการเมืองและระบบราชการไทย
3.PA 717 เศรษฐกิจ การเมือง และการบริหาร

ความหมายของ นโยบายสาธารณะ 
Thomas R. Dye
นโยบายสาธารณะคือ สิ่งที่รัฐบาลเลือกที่จะกระทำหรือไม่กระทำ สิ่งที่รัฐบาลเลือกที่จะกระทำ
จึงครอบคลุมกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งหมดของรัฐบาลทั้งกิจกรรมที่เป็นกิจวัตร และกิจกรรมที่เกิดขึ้นในบาง
โอกาส ในส่วนของการเลือกที่จะไม่กระทำนั้น Dye ก็ถือว่าเป็นนโยบายสาธารณะเช่นเดียวกัน อาทิเช่น
การที่รัฐบาลบางประเทศยกเลิกนโยบายการเกณฑ์ทหาร นั่นคือ รัฐบาลเลือกที่จะไม่บังคับให้ชายฉกรรจ์
ทุกคนต้องเป็นทหารรับใช้ชาติ แต่เปลี่ยนเป็นการรับตามความสมัครใจ
David Easton
นโยบายสาธารณะ คือ การจัดสรรผลประโยชน์หรือคุณค่าแก่สังคม ซึ่งกิจกรรมของระบบ
การเมืองนี้จะกระทำโดยบุคคลผู้มีอำนาจสั่งการ ซึ่งสิ่งที่รัฐบาลตัดสินใจที่จะกระทำหรือไม่กระทำเป็นผล
มาจากการจัดสรรค่านิยมของสังคมทั้งนี้ Easton ได้ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ตัดสินใจ
นโยบายกับประชาชนในสังคมว่า การตัดสินในนโยบายใด ๆ ของรัฐบาลจะต้อคำนึงถึงค่านิยมและระบบ
ความเชื่อของประชาชนในสังคมเป็นสำคัญ
James Anderson
นโยบายสาธารณะ คือแนวทางการปฎิบัติของรัฐที่มีวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างและติดตามด้วยผู้กระทำหรือการปฏิบัติ ซึ่งอาจจะปฏิบัติโดยคน ๆ เดียวหรือคณะบุคคลก็ได้ ในการที่จะแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้อง มีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ
1. ต้องมีวัตถุประสงค์
2. เป็นแนวทางปฏิบัติ
3. การปฏิบัติจะต้องเกิดขึ้นจริง
4. การปฏิบัติจะเป็นไปในเชิงบวก หรือ เชิงลบก็ได้
ความสำคัญของนโยบายสาธารณะ
เป็นแนวทางที่จะทำให้สังคมโดยรวมมีความสงบสุข ประเทศชาติมีความเจริญก้าวหน้า เศรษฐกิจเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ ประชาชนมีคุณภาพที่ดีมีความสุข คุ้มครองสิทธิประโยชน์ สร้างความเสมอภาคและความเป็นธรรมในสังคม
1. ความสำคัญต่อประชาชน
1.1 ปัญหาข้อขัดข้อง
1.2 ปัญหาป้องกนั
1.3 ปัญหาเชิงพัฒนา
2. ความสำคัญต่อนักการเมือง
3. ความสำคัญต่อนักบริหาร
4.ความสำคัญต่อผู้มีส่วนได้เสีย

ตัวแสดงในกระบวนนโยบายสาธารณะ
1) ตัวแสดงในภาครัฐ
2) ตัวแสดงในภาคสังคม
3) ตัวแสดงในระบบระหว่างประเทศ
1. ตัวแสดงในภาครัฐ
1.1 เจ้าหน้าที่ภาครัฐที่มาจากการเลือกตั้ง
แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ฝ่ายบริหาร และสมาชิกฝ่ายนิติบัญญัติ
- ฝ่ายบริหารหรือคณะรัฐมนตรี โดยอำนาจของกลุ่มนี้จะมาจากบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญอำนาจในการกำหนดนโยบายและนำเอานโยบายไปปฏิบัติถือเป็นอำนาจของฝ่ายบริหาร นอกจากนี้แล้วฝ่ายบริหารยังเป็นผู้ที่ควบคุมเหนือทรัพยากรต่าง ๆ ที่มีส่วนช่วยในการเสริมอำนาจในตำแหน่งของกลุ่มนี้
- ฝ่ายนิติบัญญัติ ถือได้ว่าเป็นตัวแทนของประชาชนในการเข้าไปทำหน้าที่แทนในงานนิติบัญญัติแต่เมื่อพิจารณาในการทำหน้าที่แล้วฝ่ายนิติบัญญัติมีหน้าที่สำคัญในการตรวจสอบรัฐบาลมากกว่าที่จะเข้าไปมีส่วนในการกำหนดและนำนโยบายไปปฏิบัติ นิติบัญญัติเป็นเสมือนเวทีสำคัญที่เปิ ดโอกาสให้ปัญหาสังคม
ต่าง ๆ กลายเป็นประเด็นที่สังคมโดยรวมให้ความสนใจและให้มีการเรียกร้องนโยบายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ
ปัญหานั้น ๆ ฝ่ ายนิติยังมีโอกาสในการเสนอความเห็นผ่านการอภิปรายในขั้นตอนการลงมติรับรองร่างพระราชบัญญัติต่าง ๆ เพื่อออกเป็นนโยบาย และงบประมาณของรัฐบาลเพื่อสนับสนุนการลงมือปฏิบัติ
นโยบายดังกล่าว สมาชิกฝ่ ายนิติบัญญัติอาจจะยกประเด็นปัญหาและนำการอภิปรายปัญหาของการนำนโยบายไปปฏิบัติและเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงได้
1.2 เจ้าหน้าที่ที่ได้รับแต่งตั้ง
เจ้าหน้าที่ที่ได้รับการแต่งตั้งให้เข้าไปเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันนโยบายสาธารณะและการบริหารเราจะ
หมายถึงระบบราชการซึ่งจะทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยให้กับฝ่ายบริหารในการปฏิบัติงาน
- ระบบราชการมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายและยังรวมถึงการให้อำนาจกับข้าราชการเป็นรายบุคคลในการพิจารณา และตัดสินใจในนามของรัฐ
- ระบบราชการมีความสามารถในการเข้าถึงทรัพยากรสำหรับการดำเนินงานวัตถุประสงค์ขององค์กร หรือแม้กระทั่งวัตถุประสงค์ส่วนบุคคล โดยเฉพาะทรัพยากรทางการคลังและงบประมาณ
- ระบบราชการสามารถเข้าถึงข้อมูลปริมาณมากมายในแง่มุมที่แตกต่างหลากหลาย
- บางครั้งนโยบายบางอย่างจะต้องถูกพิจารณาอย่างลับ ๆ ระบบราชการปฏิเสธการเข้ามีส่วนร่วมของตัวแสดงอื่น ๆ ในการพิจารณาและคัดค้านนโยบายหรือแฟนปฏิบัติงาน
2. ตัวแสดงในภาคสังคม
2.1 กลุ่มผลประโยชน์
แม้ว่าตัวแสดงในภาครัฐ หรือที่เรียกว่าชนชั้นนำทางนโยบายจะมีบทบาทสำคัญในกระบวนการนโยบาย แต่ก็มิได้หมายความว่า กระบวนการนโยบายจะสามารถเป็นอิสระและหลีกเลี่ยงอิทธิพลและผลประโยชน์ของสังคมไปได้ เพราะในทุก ๆ สังคมจะมีกลุ่มที่ต้องการจะเข้า
กลุ่มนโยบายสาธารณะ 4
ไปมีอิทธิพลต่อการกระทำของรัฐบาลเพื่อให้บรรลุตามพึงพอใจของกลุ่มตนอยู่เสมอ นั่นก็คือกลุ่มผลประโยชน์ โดยการแสดงออกซึ่งความต้องการและเสนนอทางเลือกสำหรับการดำเนินนโยบายสาธารณะ
2.2 กลุ่มผู้นำทางศาสนา
เป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลมากในประเทศกำลังพัฒนาและสามารถเข้าไปมีอิทธิพลอย่างมากต่อทางเลือกของนโยบาย
2.3 กองทัพ
ในประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่จะพบว่ากองทัพเป็ นกลุ่มที่มีอิทธิพลสูงมาก และเนื่องจากกองทัพมีความสำคัญทางการเมืองในการจัดตั้งและการอยู่รอดของรัฐบาล กองทัพจึงมีอิทธิพลต่อการจัดสรรทรัพยากร และในบางครั้งก็แสดงบทบาทในการเป็นกลุ่มยับยั้งนโยบายบางอย่างด้วย
2.4 สถาบันวิจัย
ความสนใจของนักวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาต่อปัญหาสาธารณะมักจะเป็นความสนใจในเชิงทฤษฎีและปรัชญา
2.5 สื่อสารมวลชน
สื่อสารมวลชนถือได้ว่าเป็นตัวเชื่อมระหว่างรัฐกับสังคม ในกรณีของประเทศกำลังพัฒนารัฐบาลมักมีสื่อโทรทัศน์และวิทยุเป็นของตนเอง ซึ่งสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการโฆษณาชวนเชื่อเพื่อสร้างการสนับสนุนให้แก่รัฐบาล หรืออาจใช้ในการโจมตีสื่อสารมวลชนที่เสนอแนวคิดที่คัดค้านรัฐบาล
3. ตัวแสดงในระบบระหว่างประเทศ
ประเทศยังถูกกำหนดขึ้นจากสถาบันระหว่างประเทศ โดยเฉพาะในภาคของนโยบายที่เกี่ยวข้องกับ
ภาคระหว่างประเทศหรือมีธรรมชาติของนโยบายที่ต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์ในเชิงระหว่างประเทศเช่น การค้าและการป้องกันประเทศ
ตัวแบบทางการเมืองในการศึกษานโยบายสาธารณะ
นโยบายสาธารณะเกิดขึ้นได้อย่างไรบ้าง
1. ตัวแบบเชิงสถาบัน Institutionalism Model
นโยบายสาธารณะและรัฐบาลเป็นสิ่งที่มีความสัมพันธ์กันมาก เพราะนโยบายสาธารณะเป็นสิ่งที่กำหนดขึ้น ลงมือปฏิบัติ และบังคับใช้โดยสถาบันที่มีอำนาจซึ่งก็คือ รัฐบาล
(รูปหาเองนะ)
Thomas R. Dye กล่าวว่านโยบายสาธารณะเป็นผลผลิตของโครงสร้างสถาบันการปกครองและสถาบันนี้เองที่ทำให้นโยบายสาธารณะมีลักษณะที่โดดเด่นและแตกต่างจากนโยบายประเภทอื่น ๆ ดังนี้
- ความชอบธรรม นโยบายของรัฐบาลจะได้รับการพิจารณาเป็นข้อบังคับในทางกฎหมาย ซึ่งจะแตกต่างจากนโยบายของกลุ่มทางสังคมอื่น ๆ
- ความเป็นสากล นโยบายของรัฐบาลมีความเป็นสากล เพราะมีนโยบายสาธารณะเท่านั้นที่สามารถบังคับใช้ต่อทุกคนในสังคม
- การบังคับ นโยบายของรัฐบาลผูกขาดการบังคับในสังคม ในขณะกลุ่มทางสังคมอื่น ๆ ลงโทษในในลักษณะที่จำกัดต่อบุคคลที่ละเมิดต่อนโยบายกลุ่ม
ตัวแบบนี้เป็นการอธิบายสถาบันเฉพาะเจาะจง ซึ่งได้แก่โครงสร้างขององค์การ หน้าที่และการทำหน้าที่โครงสร้างหลายแบบอาจอำนวยความสะดวกต่อนโยบายบางประเภท แต่ขณะเดียวก็อาจเป็นอุปสรรคต่อนโยบายบางประเภทได้
2. ตัวแบบเชิงกระบวนการ Process Model
ตัวแบบเชิงกระบวนการเป็นผลลัพธ์มาจากความพยายามในการจัดกลุ่มกิจกรรมทางการเมือง ซึ่งได้ผลลัพธ์ออกมาก็คือกระบวนการนโยบายมีขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้
- การระบุปัญหา การเรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง
- การสร้างระเบียบวาระ กำหนดว่าจะให้มีการตัดสินใจประเด็นอะไรบ้าง
- การสร้างข้อเสนอนโยบาย การพัฒนาข้อเสนอนโยบายเพื่อแก้ไขประเด็นและปัญหา
- การให้อำนาจกับนโยบาย การเลือกข้อสนับสนุนทางการเมือง และกำหนดออกมาเป็นกฎหมาย
- การลงมือปฏิบัตินโยบาย การนำนโยบายไปสู่ขั้นตอนการปฏิบัติ ไปสู่แผนงานหรือโครงการที่  เป็นรูปธรรม
- การประเมินผลนโยบาย การเปรียบเทียบผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริงจากการนำนโยบายไปปฏิบัติกับวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งขึ้นไว้ และเสนอและการเปลี่ยนแปลงและการปรับเปลี่ยน
ตัวแบบนี้เน้นการทำความเข้าใจพัฒนาการ การปฏิบัติใช้ และการเปลี่ยนแปลงของนโยบาย ไม่ได้ให้ความสนใจกับเนื้อหาของนโยบายสาธารณะเท่าที่ควร ส่วนจุดเด่น คือ เป็นการแก้จุดอ่อนของตัวแบบสถาบันที่ให้ความสนใจเฉพาะโครงสร้างแต่เพียงอย่างเดียว โดยหันมาสนใจกระบวนการและพฤติกรรมของนโยบาย
3. ตัวแบบกล่มุ Group Model
โดยที่ปัจเจกชนที่มีผลประโยชน์ร่วมกันจะรวมตัวกันเป็นกลุ่มเพื่อกดดันและเรียกร้องรัฐบาลทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ การเมือง เป็นการต่อสู้แข่งขันระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ในสังคม เพื่อที่จะมีอิทธิพลเหนือการกำหนดนโยบายสาธารณะ นโยบายสาธารณะส่วนใหญ่จะมีลักษณะที่เป็นไปตามทิศทางของกลุ่มที่มีอิทธิพลมากในขณะนั้น
สรุปตามแนวคิดของกลุ่มนี้ การเมืองเป็ นเรื่องของการต่อรองระหว่างกลุ่มต่าง ๆ รัฐและรัฐบาลไม่มีบทบาท แต่จะเป็นเพียงผู้รับนโยบายนั้น ๆ ไปปฏิบัติ ตัวแบบนี้จึงถูกวิจารณ์ว่า มองข้ามความสำคัญของรัฐบาลและมองข้ามความสำคัญของปัจเจกชน และผลประโยชน์ของส่วนร่วม
4. ตัวแบบชนชั้นนำ Elite Model
ตัวแบบนี้มีพื้นฐานความเชื่อที่ว่า นโยบายสาธารณะคือ ผลสะท้อนจากความต้องการหรือค่านิยมของชนชั้นผู้นำที่เป็นผู้ปกครอง แทนที่จะเป็นผลจากการสะท้อนความต้องการของประชาชน
(รูปหาเองนะ)
ทฤษฎีชนชั้นนำ
- สังคมที่มีการจัดแบ่ง คนส่วนน้อยจะเป็นกลุ่มที่มีอำนาจและเป็นผู้กำหนด/แจกแจงคุณค่าให้แก่สังคม
- ชนชั้นนำเป็นคนส่วนน้อยที่เป็นชนชั้นสูงในทางสังคมและเศรษฐกิจ
- การเปลี่ยนแปลงจากกลุ่มที่มิได้เป็นชนชั้นนำไปสู่การเป็นชนชั้นนำจะเป็นไปอย่างช้ามาก
- ชนชั้นนำที่มีความตื่นตัวจะเป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลต่อมวลชนที่เฉื่อยชา และไม่สนใจเกี่ยวกับนโยบาย
- นโยบายสาธารณะมิได้สะท้อนถึงความต้องการของมวลชน แต่เป็นผลจากค่านิยมของชนชั้นนำ โดยที่ข้าราชการ/เจ้าหน้าที่ของรัฐ จะเป็นผู้ที่ดำเนินนโยบายสาธารณะ จึงมีลักษณะการพัฒนาจากบนลงล่าง คือ จากกลุ่มผู้นำไปสู่ประชาชนตลอดเวลา
แม้ว่านโยบายสาธารณะจะไม่ได้สะท้อนความต้องการที่แท้จริงของประชาชนมากเท่าความต้องการและค่านิยมของชนชั้นนำ แต่ก็มิได้หมายความว่า นโยบายสาธารณะจะสวนทางกับค่านิยมของมวลชนหรือประชาชนทั้งหมด ค่านิยมของชนชั้นนำอาจจะสะท้อนความต้องการจริงของประชาชน อาจจะผูกพันลึกซึ้งกับความเป็นความตายของมวลชนส่วนใหญ่ แต่กลุ่มผู้นำจะถือว่าความรับผิดชอบในความสุขของประชาชนนั้นอยู่ที่กลุ่มผู้นำ ไม่ได้อยู่ที่ประชาชน
จุดเด่นของตัวแบบนี้สะท้อนให้เห็นถึงสภาพความเป็นจริงของสังคมในระบอบประชาธิปไตยที่เชื่อถือกันว่าเป็นการปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน แต่ขณะเดียวกันก็มีจุดด้อยคือ การละเลยความสำคัญของการมีส่วนร่วมในกระบวนการกำหนดนโยบายของกลุ่มอื่น ๆ ที่เป็นตัวแสดงของนโยบายที่สำคัญเช่น ข้าราชการ และ ประชาชน
5. ตัวแบบระบบ System Model
ตัวแบบระบบมีความเชื่อพื้นฐานที่สำคัญ คือ นโยบายสาธารณะการตอบสนองระบบการเมืองที่มีต่อแรงกดดันต่าง ๆ ที่มาจากสภาพแวดล้อมที่ล้อมรอบระบบการเมืองนั้นตามตัวแบบระบบที่เสนอโดย David Easton จะประกอบด้วย
18
ตัวแบบเชิงระบบ (System Model)
(รูปหาเองนะ)
ระบบการเมือง หมายถึง กลุ่มของสถาบันและกระบวนการต่าง ๆ ที่มีปฏิสัมพันธ์ต่อกันที่ทำหน้าที่ในการแจกจ่ายคุณค่าทางสังคมตามอำนาจที่ได้รับมอบหมาย
ปัจจัยนำเข้า INPUT ซึ่งประกอบไปด้วย ข้อเรียกร้อง ซึ่งอาจเป็นไปได้ทั้งจากระดับปัจเจกบุคคลหรือระดับกลุ่ม และการสนับสนุน ซึ่งก็เป็นไปได้ทั้งระดับปัจเจกบุคคลและระดับกลุ่มที่แสดงออกมาในรูปของการเลือกตั้งการเชื่อฟังกฎหมาย การจ่ายภาษี และการยอมรับในการตัดสินใจนโยบาย โดยข้อเรียกร้องและการสนับสนุนนั้นเป็นแรงกดดันที่สำคัญมากจาก สภาพแวดล้อม ทั้งภายในและภายนอก ที่เข้าไปสู่ระบบการเมือง ระบบการเมืองจะทำการรับเอาความต้องการที่แตกต่างหลากหลายเข้ามา และทำการเปลี่ยนให้ออกมาเป็น ปัจจัยนำออก OUTPUTSซึ่งก็คือการตัดสินใจและนโยบายสาธารณะ ซึ่งปัจจัยนำออกนี้นั้นอาจส่งผลให้เกิดผลกระทบในเชิงการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม และอาจเพิ่มการเรียกร้องให้มากขึ้น ดังนั้นจึงต้องมี ขบวนการป้ อนกลับ FEEDBACK เพื่อนำเอาข้อเรียกร้องนั้น ๆ เข้าสู่ระบบการเมืองอีกครั้งหนึ่ง
จุดเด่นของตัวแบบระบบ คือ การมองการกำหนดนโยบายค่อนข้างเป็นระบบ คือ มองนโยบายสาธารณะเป็นสิ่งที่ระบบการเมืองผลิตขึ้น และที่สำคัญยังให้ความสำคัญกับสภาพแวดล้อมของระบบการเมืองว่าจะเอื้ออำนวยหรือเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานของระบบให้มีประสิทธิภาพหรือไม่เพียงใด
จุดด้อย คือ ความไม่ชัดเจนของกระบวนการภายในของสิ่งที่เรียกว่าระบบการเมือง
6. ตัวแบบทางเลือกสาธารณะ Public Choice Approach
ตัวแบบนี้เป็นการศึกษาการตัดสินใจ มีสมมติฐานเบื้องต้นว่า ตัวแสดงการเมือง อันได้แก่ ผู้ลง คะแนนเสียง ผู้เสียภาษี ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ฝ่ ายนิติบัญญัติ ข้าราชการ กลุ่มผลประโยชน์ พรรคการเมือง รัฐบาล ต่างก็พยายามแสวงหาหนทางที่จะเพิ่มผลประโยชน์ของตนในการเมือง ทุกคนต้องการได้รับอรรถประโยชน์สูงสุด แต่กระนั้นก็ดี ด้วยแรงขับเคลื่อนที่ประกอบไปด้วยความเห็นแก่ตัว ก็ยังสามารถส่งผลต่อการตัดสินใจเพื่อส่วนรวมได้
เมื่อนำแนวคิดนี้มาอธิบายการเมืองและการกำหนดนโยบายสาธารณะ ตัวแบบนี้อธิบายว่า สังคมการเมืองประกอบไปด้วยปัจเจกชนที่มีความเห็นแก่ตัว ที่มีการรวมกันเป็นกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ โดยกลุ่มเหล่านี้มีการจัดตั้งทีดีและเป็นกลุ่มที่จัดตั้งขึ้นโดยบุคคลที่ต้องการเข้าถึงทรัพยากร เช่น อำนาจ ผลประโยชน์ สัมปทาน และการได้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ตัวแบบนี้ มองเห็นการเมืองก็คือ การที่บุคคลทั้งหลายเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์พิเศษ โดยผ่านนโยบายสาธารณะ ในทางทฤษฎีแล้ว เป้ าหมายที่เป็นเหตุเป็นผลในเชิงการเมืองของกลุ่มผลประโยชน์และเจ้าหน้าที่ของรัฐในการใช้ทรัพยากรของรัฐเพื่อช่วยเหลือกลุ่มผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่ทรงพลัง อาจส่งผลให้เกิดความไร้เหตุผลทางเศรษฐกิจ และสิ่งนี้เองก่อให้เกิดเป็นความไร้ประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ ในประเทศกำลังทั้งหลาย ตัวแบบนี้สามารถนำมาตอบคำถามที่ว่าทำไมคนที่มีเหตุมีผลจึงยอมปรับใช้นโยบายสาธารณะที่ให้ผลลัพธ์ที่เป็นผลเสียต่อสังคมโดยรวมที่เขาปกครองอยู่
7. ตัวแบบเหตุผล Ration Model
นโยบายสาธารณะจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสังคมส่วนรวม โดยรัฐบาลจะเลือกนโยบายที่ให้
ผลตอบแทนมากกว่าค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียไป
- วัตถุประสงค์ที่ชัดเจนเป็นไปได้ และวัดผลได้
- ค่านิยมและทรัพยากรอื่น ๆ ที่จะทำให้ดำเนินการไปสู่เป้าหมาย
- ทางเลือกดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย
- วิเคราะห์ทางเลือกแต่ละทางเชื่อมโยงกับวัตถุประสงค์ และเหมาะสมกับทรัพยากรที่มีอยู่หรือไม่
- ทางเลือกที่เลือกนโยบาย
- นำทางเลือกไปปฏิบัติ
8. ตัวแบบทฤษฎีเกมส์ Game Theory Model
เป็นนโยบายที่กำหนดขึ้นในสถานการณ์ที่คับขัน กำหนดจากฝ่ ายที่กำหนดเป้ าหมายได้ดีและมี
ความสามารถในการตัดสินใจที่ดีมีเหตุผล ทฤษฎีนี้มีการนำไปใช้ในการตัดสินใจเกี่ยวกับสงครามและสันติภาพ
9. ตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป Incremental Model
เป็นนโยบายที่กำหนดขึ้นต่อเนื่องจากกิจกรรมต่าง ๆ ในอดีตของรัฐบาล โดยมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิ่มเติมเพียงเล็กน้องแบบค่อยเป็นค่อยไป นโยบายนี้กำหนดขึ้นโดยมีข้อจำกัดในเรื่อง เวลา ความรู้ความสามารถ ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ และข้อจำกัดในเรื่องของการเมือง เช่น โครงการเก่าลงทุนไปเป็นจำนวนมากจึงยากที่จะเปลี่ยนแปลงโครงการเหล่านี้
10. ตัวแบบการวางแผนกลยุทธ์ Strategic Planning Model
ตัวแบบนี้ขึ้นมาโดยนำจุดดีจุดแข็งของตัวแบบเหตุผลและตัวแบบค่อยเป็นค่อยไปมารวมเข้าด้วยกัน เป็นตัวแบบที่กำหนดโดยผู้บริหาร
11. ตัวแบบระบบราชการ Bureaucratic Model
ของ MAX WEBER เชื่อว่าอำนาจขององค์การมิได้อยู่ที่หัวหน้าองค์การหรือบุคคลหนึ่งบุคคลใด อำนาจที่แท้จริงกระจายอยู่ทั่งองค์การ กล่าวคือ สมาชิกทุกคนมีอำนาจในการใช้วิจารณญาณ โดยสามารถใช้วิจารณญาณในการปฏิบัติหน้าที่ของตนเอง โดยผู้บังคับบัญชาไม่อาจจะควบคุมได้
ลักษณะของระบบราชการ ตามทัศนะของ MAX WEBER
1. สายการบังคับบัญชา
2. เลือกคนที่มีคุณวุฒิ ความสามารถ ความชำนาญ โดยการสอบ
3. มีกฎ ระเบียบ ข้อบังคับในการปฏิบัติงาน
4. คำนึงถึงเหตุผล ไม่คำนึงถึงความสัมพันธ์
5. มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย
ตัวแบบการกำหนดนโยบายและการนำนโยบายไปปฏิบัติของไทย
ตัวแบบจะมี 2 กล่มุ
กลุ่มแรก กลุ่มที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการกำหนดนโยบายและการนำนโยบายไปปฏิบัติ
โดยพยายามจะพรรณนาหรือบรรยายและอธิบายนโยบายมากกว่าเสนอมาตรการที่ดีกว่าเช่น
- ตัวแบบชนชั้นนำ Elite Model
- ตัวแบบกลุ่ม Group Model
- ตัวแบบระบบ System Model
- ตัวแบบสถาบัน Institutionalism Model
ตัวแบบนี้สามารถใช้วิเคราะห์นโยบายในทุกขั้นตอน (โดยเฉพาะการกำหนดนโยบายและการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ) โดยใช้ตัวแบบในกลุ่มเป็นแนวทางบรรยายและอธิบายในสถานะที่มุ่งให้ทราบว่าใครหรือตัวแปรใดทำอะไร เมื่อไร อย่างไร โดยมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นในสถานะใด ที่เมื่อรวมกันแล้วส่งผลกระทบต่อนโยบายอย่างไร
กลุ่มสอง กลุ่มที่ให้ความสำคัญกับผลผลิตหรือปัจจัยนำออกและผลกระทบของนโยบายสาธารณะ
โดยเฉพาะความพยายาม เสนอมาตราที่ดีกว่าในการปรับปรุงเนื้อหาของนโยบายสาธารณะ
- ตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป Incremental Model
- ตัวแบบเหตุผล Ration Model
- ตัวแบบทฤษฎีเกม Game Theory Model
ตัวแบบกลุ่มนี้ สามารถวิเคราะห์นโยบายให้ความสำคัญในเรื่องของการเสนอ หรือ หามาตรการที่ดีกว่าในการกำหนดนโยบายและการนำนโยบายไปปฏิบัติ
ตัวแบบค่อยเป็ นค่อยไป เหมาะที่ใช้อธิบายในการกำหนดนโยบายของไทย เนื่องจากนโยบายของไทยที่ผ่านมามีลักษณะความต่อเนื่องของกิจกรรมต่าง ๆ ในอดีตของรัฐ โดยมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไปโดยใช้นโยบายเดิมเป็นหลัก แล้วแก้ไขดัดแปลงเพิ่มเติมเพียงเล็กน้อย โดยมีเหตุผล เพื่อลดปัญหาการขัดแย้งและเสริมสร้างเสถียรภาพทางการเมือง เพราะการตกลงในส่วนที่เปลี่ยนแปลงเล็กน้อยย่อมง่ายกว่าการเปลี่ยนแปลงทั้งหมด
เครื่องมือทางนโยบาย
บางครั้งเรียกว่าเครื่องมือสำหรับการปกครอง หมายถึงเครื่องมือหรือวิถีทาง ที่รัฐบาลใช้ในการลงมือปฏิบัตินโยบาย เพราะในกระบวนการนโยบาย รัฐบาลไม่เพียงแต่เป็นผู้ที่ทำการตัดสินใจนโยบายเท่านั้น หากแต่ยังเป็นผู้ที่ลงมือปฏิบัติการตัดสินใจนโยบายนั้น ๆ ผ่านกระบวนการต่าง ๆ
- เครื่องมือที่เป็นกฎระเบียบของรัฐบาล
กฎระเบียบเป็นสิ่งที่รัฐบาลกำหนด กลุ่มเป้ าหมายของกฎระเบียบต้องให้การยอมรับกฎระเบียบ
และเมื่อกลุ่มดังกล่าวไม่สามารถทำตามกฎระเบียบได้ก็จะได้รับการลงโทษ กฎระเบียบอาจจะเป็นกฎหมาย
ก็ได้ หรือกฎระเบียบอาจเป็นกฎกระทรวง หรือข้อกำหนดของหน่วยงานฝ่ายบริหารก็ได้
ข้อดี ความประหยัดจากการใช้เครื่องมือเมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องมืออื่น ๆ ที่อาจต้องมีค่าใช้จ่าย แต่การใช้กฎระเบียบเป็นเครื่องมือไม่จำเป็นต้องมีข้อมูลมากนักก็สามารถ SET มาตราฐานขึ้นและสามารถปรับใช้ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
ข้อเสีย การใช้กฎระเบียบก่อให้เกิดความไม่ยืดหยุ่นและทำให้ขาดการพิจารณาสถานการณ์ของแต่ละบุคคลซึ่งอาจจะแตกต่างกันไปในการปรับใช้กฎนั้น ๆ และบางครั้งกฎระเบียบมีความกำกวมไม่ชัดเจน แม้ว่าการใช้เครื่องมือนี้มีความประหยัด หากแต่การบังคับใช้โดยหน่วยงานที่ควบคุมกฎระเบียบอาจมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก เช่น ค่าใช้จ่ายในการให้ข้อมูลประชาสัมพันธ์
- เครื่องมือที่มิได้เป็นกฎระเบียบของรัฐบาล
ครอบครัวและชุมชน องค์กรอาสาสมัคร
คาดว่าน่าจะออกสอบ
นโยบายสาธารณะ เป็นความต้องการของภาครัฐที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหาและการเปลี่ยนแปลงในทางที่จะเกิดประโยชน์ต่อประชาชน สนองความต้องการของประชาชนและแก้ปัญหาให้แก่ประชาชนได้
โดยทั่วไป นโยบายสาธารณะจะเกี่ยวข้องกับกระบวนการทั้งทางการเมืองและสังคมอย่างกว้างขวาง เพราะนโยบายสาธารณะมีรากฐานมาจากสภาพปัญหาของสังคม และเป็ นปัญหาที่ประชาชนคาดหวังว่ารัฐจะต้องรับผิดชอบในการแก้ไข โดยนำปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้เข้าสู่กระบวนการทางการเมือง ซึ่งเกี่ยวข้องกับปฏิบัติสัมพันธ์ระหว่าง ประชาชน พรรคการเมือง รัฐสภา ตุลาการ ระบบราชการ ระบบบริหาร และราชการส่วนท้องถิ่นขณะเดียวกันจะต้องพิจารณาว่าบุคคลหรือองค์การที่เกี่ยวข้องมีบทบาทหรือมีส่วนร่วมต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะอย่างไร
นโยบายที่ดีคือ นโยบายที่เกิดประโยชน์ต่อประชาชนโดยร่วม โดยเฉพาะจะต้องมีกลไปบริหารของภาครัฐที่ดี (good governance) หรือสังคมแบบประชาธรรมหรือธรรมรัฐ โดยประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายดังนั้นกระบวนการดังกล่าวอาจจะเกิดขึ้นจากการผลักดับของสังคมเมื่อเกิดปัญหาเพื่อให้รัฐเห็นความสำคัญและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นต่อประชาชน
การบริหารภาครัฐที่ดี good governance
1. มีความโปร่งใส               2. มีความชอบธรรม
3. กระจายอำนาจ                4. มีประสิทธิภาพในการบริหารงาน
5. มีความรับผิดชอบสูง     6. มีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน
วงจรนโยบายสาธารณะ (Public Policy Cycle)
1. การก่อตัวนโยบาย (Policy formation) เกิดอะไรขึ้นบ้าง
2. การกำหนดนโยบาย (Policy formulation) มีแนวทางอย่างไรบ้าง
3. การตัดสินนโยบาย (Policy decision) จะเลือกแนวทางใดดี
4. การนำนโยบายไปปฏิบัติ (Policy implementation) จะนำแนวทางที่ได้ไปดำเนินการอย่างไร
5. การประเมินผลนโยบาย (Policy evaluation) การดำเนินการตามแนวทางได้ผลหรือไม่
(รูปหาเองนะ)
1. การก่อตัวนโยบาย (Policy formation)
การศึกษาการก่อรูปนโยบาย ต้องเริ่มต้นด้วยการวิเคราะห์ลักษณะสภาพของปัญหาสาธารณะให้ชัดเจนเพื่อให้มั่นใจว่า ปัญหาที่กำลังปรากฏอยู่นั้นเป็ นปัญหาอะไร เกิดขึ้นกับคนกลุ่มใด และมีผลกระทบต่อสังคมอย่างไร รวมทั้งต้องการความแร่งด่วนในการแก้ไขปัญหาแค่ไหน และประชาชนในสังคมต้องการให้แก้ไขปัญหานั้นอย่างไร ถ้าไม่แก้ไขจะเกิดผลอย่างไร และถ้ารัฐบาลเข้าไปแก้ไขใครจะเป็นผู้ได้และเสียประโยชน์ ผลกระทบที่เกิดจากการแก้ไขตรงตามที่คาดหวังหรือไม่ ใครเป็นผู้รับผิดชอบในการนำไปปฏิบัติต้องใช้ทรัพยากรอะไรบ้างการระบุปัญหาที่ชัดเจนจะเป็นพื้นฐานในการกำหนดวัตถุประสงค์ในการแก้ไขปัญหาให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา
ปัญหาสาธารณะจะกลายเป็นประเด็นเชิงนโยบายหรือเข้าสู่วาระและได้รับความสนใจจากผู้กำหนดนโยบายสาธารณะ มักจะต้องมีคุณลักษณะ
1. เกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือเกิดขึ้นจากความรุนแรงทางการเมือง เช่น ปัญหาน้ำท่วม ปัญหาภัยแล้ง
2. มีการแตกตัวและขยายวงกว้างออกไป เช่น ปัญหาของความเป็นเมือง
3. มีความกระเทือนต่อความรู้สึกและเป็นที่สนใจของสื่อมวลชนทั่วไป เช่น ปัญหาอาชญากรรม ปัญหาแรงงานเด็ก
4. มีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม เช่น ปัญหามลภาวะ
5. มีลักษณะท้าทายต่ออำนาจและความชอบธรรมของรัฐ เช่น ปัญหาการแบ่งแยกดินแดง
6. เป็นเรื่องร่วมสมัย เช่น ปัญหาการจราจร ปัญหาโรคเอดส์
การกำหนดวัตถุประสงค์ของนโยบาย
เมื่อทราบลักษณะปัญหานโยบายที่ชัดเจนแล้ว จะต้องกำหนดเป้ าหมายหรือวัตถุประสงค์ในการแก้ไขปัญหาให้ชัดเจน
- การกำหนดวัตถุประสงค์ของนโยบาย ทำให้ทราบถึงลำดับความสำคัญของนโยบายที่ต้องจัดทำ
และการเลือกใช้นโยบายให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
- วัตถุประสงค์ของนโยบายมีความสำคัญ ในฐานะที่เป็ นปัจจัยกำหนดทิศทางของทางเลือก
นโยบายที่จะนำไปปฏิบัติให้ประสบผลสำเร็จ
                - วัตถุประสงค์เป็นเกณฑ์ในการประเมินผลสำเร็จของนโยบาย ที่จะนำไปปฏิบัติว่าเป็น ต า ม
วัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้มากน้อยเพียงใด
คุณลักษณะของวัตถุประสงค์ของนโยบาย
1. ความครอบคลุมประเด็นปัญหานโยบาย
2. ความสอดคล้องกับค่านิยมของสังคม
3. ความชัดเจนและความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ
4. ความสมเหตุสมผล
5. มีความสอดคล้องกับทรัพยากรที่จำเป็นต้องใช้
6. มีความสอดคล้องทางการเมือง
7. การกำหนดกรอบเวลาที่เหมาะสม
หมายเหตุ หรือจะจำว่าการก่อตัวนโยบาย
เริ่มต้นสถานการณ์ที่เกิดนโยบาย ตระหนักและระบุปัญหา กลั่นกรองปัญหา จัดระเบียบวาระนโยบาย
กำหนดวัตถุประสงค์
2. การกำหนดนโยบาย (Policy formulation)
กระบวนการพิจารณาปัญหาเพื่อนำเข้าสู่กระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะ
(รูปหาเองนะ)

- ปัญหาทั่วไป เป็นทั้งปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมที่เกิดขึ้นและมีผลกระทบต่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคลหรือต่อสังคมส่วนรวม เช่น ปัญหาโสเภณี ยาเสพติด โรคเอดส์ ปัญหาทั่วไปอาจจะเพิ่มความสำคัญและพัฒนาเป็นปัญหาของสังคมต่อไป
- ปัญหาของสังคม คือ ปัญหาที่เกิดในสังคมและมีผลกระทบต่อประชาชนจำนวนมาก แต่ประชาชนบางกลุ่มเท่านั้นที่จะเข้าร่วมแก้ปัญหาอย่างจริงจัง รวมกลุ่มจึงอาจจะเกิดขึ้นเพียงระยะสั้น ๆ
- ประเด็นปัญหาของสังคม ได้รับความสนใจและร่วมมือโดยกลุ่มต่าง ๆ ในสังคม มีการตกลงร่วมมือเพื่อวัตถุประสงค์ร่วมกันและผลักดันประเด็นปัญหาของสังคมเพื่อเป็นข้อเสนอของสังคมส่วนรวมต่อไป
- ข้อเสนอของสังคม เป็นการประมวลข้อเสนอของสังคมเข้าด้วยกัน ข้อเสนอของสังคมจะทวีเพิ่มขึ้นเป็นข้อเสนอของรัฐขึ้นอยู่กับ ผู้นำการเมือง วิกฤตการณ์ของปัญหา การเดินขบวนประท้วง สื่อสารมวลชนและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับปัญหา
- ข้อเสนอแนะของรัฐบาล เป็ นข้อเสนอระดับหนึ่งก่อนที่นำไปสู่การกำหนดนโยบายของรัฐ ใน
กระบวนการนี้ข้าราชการไทยจะมีบทบาทสูงในการพิจารณาข้อเสนอเพื่อกำหนดเป็นนโยบาย โดยผ่านกระบวนการและขั้นตอนทางรัฐสภา และระบบราชการ ในบางประเทศระบบตุลาการอาจมีบทบาทในกระบวนการนี้
แนวทางการวิเคราะห์นโยบาย มี 3 แนวทาง
1. แนวทางเชิงประจักษ์ เป็นแนวทางที่มุ่งหาข้อเท็จจริง โดยตั้งคำถามว่ามีอะไรปรากฏอยู่บ้างเพื่อการอธิบายว่าอะไรคือปัญหา
2. แนวทางเชิงประเมิน อธิบายถึง คุณค่า หรือค่านิยม ของสังคมที่มีต่อปัญหานโยบาย ตั้งคำถามว่าปัญหานโยบายดังกล่าวมีคุณค่าอะไร
3. แนวทางเชิงปทัสถาน มุ่งเสนอทางเลือกเพื่อการแก้ไขปัญหาในอนาคต ตั้งคำถามว่าควรจะทำอะไร
ให้เรียบร้อยหลักเกณฑ์เชิงปทัสถานที่ใช้ในการพิจารณาว่าทางเลือกใดเป็นทางเลือกที่ดี มีอยู่หลายกลักเกณฑ์
- หลักของ เบนเธิน บอกว่าการกระทำใดก็ตามที่เป็นสิ่งจำเป็นในเชิงคุณธรรม การกระทำนั้นเป็นสิ่งที่ควรกระทำ การประเมินค่าการกระทำและนโยบายต่าง ๆ คือ การทำให้เกิดความสุข และลดความทุกข์
- หลักของ แพเรโต นโยบายหนึ่ง ๆ ดูจากความรู้สึกพึงพอใจของคน ทางเลือกใดที่ทำให้คนอย่างน้องที่สุดหนึ่งคนรู้สึกดีขึ้นกว่าเดิม โดยที่ไม่ทำให้ใครรู้สึกแย่ลงกว่าเดิม
- รอลส์ สิ่งที่มีคุณค่าทั้งหลายในสังคมควรถูกแบ่งหรือจัดสรรให้ทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน
หากพิจารณาปัญหา เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะในกรอบการวิเคราะห์เชิงระบบหรือทฤษฎีระบบของ David Easton จะได้ปัจจัยนำเข้า ระบบ ปัจจัยนำออก ดังนี้
(รูปหาเองนะ)
ปัจจัยนำเข้า ได้แก่ ปัญหาทั่วไป ปัญหาสังคม ประเด็นปัญหาสังคม และข้อเสนอของสังคม ในสภาวการณ์ที่สภาการเมืองมีบทบาทสูง ปัจจัยนำเข้าอาจมาจากการที่พรรคการเมืองต่าง ๆ ได้นำเสนอนโยบายไว้ในการหาเสีย เช่น พรรคไทยรักไทยได้เสนอนโยบายโครงการพักชำระหนี้และลดภาระหนี้ให้แก่เกษตรรายย่อยไว้ในการหาเสีย และในที่สุดก็กลายเป็นคำมั่น ในการที่ต้องกำหนดเป็นนโยบายสาธารณะ เมื่อพรรคไทยรักไทยเข้ามาเป็นรัฐบาลบริหารประเทศ
ระบบการเมือง คือ ข้อเสนอข้อรัฐบาล ซึ่งปัจจุบันรัฐบาลได้เสนอนบายต่าง ๆ มากมาย เช่น นโยบายกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคต และนโยบายจัดสรรงบประมาณตามขนาดประชากร ให้กับหมู่บ้านและชุมชน
ปัจจัยนำออก คือ นโยบาย ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของกฎหมายต่าง ๆ คือ พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎี และประกาศ คำสั่งกระทรวง เป็นต้นขณะเดียวกันก็จะมีการป้ อนกลับสู่ระบบการเมือง โดยมีสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองเป็นปัจจัยเป็นปัจจัยสำคัญที่มีส่วนกำหนดและเปลี่ยนแปลงนโยบาย ซึ่งมีทั้งปัจจัยที่ควบคุมได้และควบคุมไม่ได้
ผู้มีบทบาทในการกำหนดนโยบายสาธารณะ
1. ฝ่ายบริหาร 2. ฝ่ายนิติบัญญัติ 3. ฝ่ายตุลาการ 4. องค์กรอิสระต่าง ๆ
 หมายเหตุ หรือจะจำว่าขั้นตอนการกำหนดนโยบาย
การพัฒนาทางเลือก การประเมินทางเลือก การตัดสินใจทางเลือกเพื่อกำหนดนโยบาย การประกาศใช้
3. การตัดสินนโยบาย (Policy decision)
การเลือกนโยบาย หมายถึง การเลือกวิถีทางหรือแนวนโยบายที่เหมาะสมที่สุด ซึ่งสามารถบรรลุ
วัตถุประสงค์ได้ตามต้องการ อาจรวมถึงนโยบายเทคนิคและกลยุทธ์ต่าง ๆ ที่สามารถแก้ไขปัญหาได้เป็นอย่างดีหลักจริยธรรมหรือคุณธรรมมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อค่านิยมที่เป็นรากฐานสำคัญในการเลือกนโยบาย
การพิจารณาทางเลือกนโยบาย
- ประสิทธิผล effectiveness ความสามารถในการบรรลุเป้าหมายของทางเลือก
- ประสิทธิภาพ effeciency ความสามารถในผลิตผลผลิตโดยเปรียบเทียบจากต้นทุน
- ความพอเพียง adequacy ความสามารถของการดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายภายใต้เงื่อนไขของ
ทรัพยากรที่มีอยู่
- ความเป็นธรรม equity การกระจายตัวของผลการดำเนินการตามทางเลือก
- การตอบสนอง reponsiveness ความสามารถในการเติมเต็มความต้องการของประชาชนกลุ่มต่าง ๆ
- ความเหมาะสม appropriateness การพิจารณาเชิงคุณค่าและความเป็นไปได้ในทาง
กลยุทธ์ในการตัดสินใจเลือกนโยบาย
* การต่อรอง ปรับเป้ าหมายที่ไม่สอดคล้องกันให้ยอมรับร่วมกัน โดยการเจรจา แลกเปลี่ยน ให้รางวัลและประนีประนอม
* การโน้มน้าว ความพยายามทำให้เชื่อหรือยอมรับ และสนับสนุนด้วยความเต็มใจ
* การสั่งการ การใช้อำนาจที่เหนือกว่าในการบังคับการตัดสินใจ
* เสียงข้างมาก การอาศัยการลงมติโดยใช้ความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่
* ฉันทามติ การยอมรับร่วมกัน โดยปราศจากข้อโต้แย้ง
4. การนำนโยบายไปปฏิบัติ (Policy implementation)
กลไกที่จะนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ
1. ฝ่ายการเมือง (รัฐสภา คณะรัฐมนตรี)
กำหนดขอบเขตการนำนโยบายไปปฏิบัติ โดยออกกฎหมาย มติครม. ออกกฎกระทรวง ออกระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ และหลังจากนำนโยบายไปปฏิบัติแล้ว อาจจะเข้ามาพิจารณาปรับปรุงนโยบาย หรือพิจารณาว่าควรยุตินโยบายหรือควรสนับสนุนต่อไป ดังนั้นฝ่ ายข้าราชการจึงต้องสร้างความสัมพันธ์อันดีกับฝ่ ายการเมือง (ฝ่ ายการเมือง มีอำนาจหน้าที่ดูแล เอาใจใส่ ติดตามผลนโยบาย)
2. ระบบราชการ
ระบบราชการมีส่วนสำคัญในการนำนโยบายไปปฏิบัติ จึงมีส่วนสำคัญ การพิจารณานโยบายปฏิบัติ
บรรลุผลหรือไม่
ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ
1. ฝ่ายนิติบัญญัติ 2. ฝ่ายบริหารหรือระบบราชการ 3. กลุ่มกดดัน 4. องค์กรชุมชนหรือภาคประชาสังคม
เมื่อกำหนดนโยบายที่ดีแล้ว ภาครัฐจะนำนโยบายไปบริหารหรือนำไปปฏิบัติเพื่อให้เกิดผลตามเป้าที่ต้องการ กระบวนการจะมี ประสิทธิผล และ ประสิทธิภาพ มากน้อยเพียงใดขึ้นกับ หรือปัจจัยความสำเร็จ / ล้มเหลวในการนำนโยบายไปปฏิบัติมีอะไรบ้าง
- ลักษณะของนโยบาย
- วัตถุประสงค์ของนโยบาย
- ความเป็นไปได้ทางการเมือง
- ความเป็นไปได้ทางเทคนิคหรือทฤษฎี
- ความเพียงพอของทรัพยากร (4MI2T) บุคลากร เงิน เครื่องจักร อุปกรณ์ ข้อมูลข่าวสาร เวลา เทคโนโลยี
- ลักษณะของหน่วยงานที่นำนโยบายไปปฏิบัติ
- ทัศนคติของผู้นำนโยบายไปปฏิบัติ
- ความสัมพันธ์ระหว่างกลไกต่าง ๆ ที่นำนโยบายไปปฏิบัติ
สิ่งที่มีผลต่อความสำเร็จหรือล้มเหลวของการนำนโยบายไปปฏิบัติ
1. ปัจจัยภายใน
1.1 Communication
- Transmission การถ่ายทอดสื่อสารให้ตรงช่องตรงคน - Clarity มีความชัดเจน
- Consistency คงเส้นคงวา ในแต่ละครั้งของการสื่อสาร - Timing ตรงจังหวะเวลา
1.2 Resource ทรัพยากร
- Staff พนักงานเจ้าหน้าที่มีความรู้ความสามารถ และมีจำนวนเพียงพอ
- Information มีข้อมูลให้สำหรับการปฏิบัติ
- Authority อำนาจหน้าที่
- Time ให้เวลากับกลุ่มเป้ าหมายในการเตรียมตัว
1.3 เรื่องอุปนิสัยของผู้ปฏิบัติ
1.4 โครงสร้างของระบบราชการ ซึ่งหมายระเบียบปฏิบัติ (Standard, Operating, rocedure)
1.5 การติดตามการดำเนินงาน ควรมีอยู่ในทุกขั้นตอน
2. ปัจจัยภายนอก (อ่านเพิ่มเติมหน้า 69)
- ความชัดเจนในวัตถุประสงค์ของนโยบายหรือโครงการ
- การสนับสนุนด้านงบประมาณ และทรัพยากร
- การมีส่วนร่วมของบุคลากร และผู้รับบริการ
- การยอมรับของผู้รับบริการ
 - การประสานงาน และการติดต่อสื่อสาร
- การเผยแพร่ และประชาสัมพันธ์
- การสนับสนุนจากภาคเอกชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3. ปัจจัยที่อยู่นอกเหนือการควบคุม
- การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง - ความผันผวนทางเศรษฐกิจ
- ความไม่แน่นอนทางธรรมชาติ - เทคโนโลยี
(รูปหาเองนะ)
 5. การประเมินผลนโยบาย (Policy evaluation)
เพื่อให้ทราบผลว่าการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติเป็นไปตามเป้ าหมายหรือวัตถุประสงค์หรือไม่ ในกรณีที่ไม่เป็นไปตามเป้ าหมายจะได้มีการปรับ แผน / แผนงาน / โครงการ ให้บรรลุเป้ าหมายหรือวัตถุประสงค์มากขึ้นเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้รู้ว่า แผน / แผนงาน / โครงการ นั้นควรจะดำเนินการต่อไปหรือยุติ
จุดมุ่งหมายของการประเมินผลโครงการ
มักจะมีคำถามอยู่ตลอดเวลาว่า _ ประเมินผลเพื่ออะไร_ หรือ _ประเมินผลไปทำไม ปฏิบัติงานตาม
โครงการแล้วไม่มีการประเมินผลไม่ได้หรือ ตอบได้เลยว่าการบริหารแนวใหม่หรือการบริหารในระบบเปิ ด (Open System) นั้นถือว่าการประเมินผลเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากซึ่งจุดมุ่งหมายของการประเมินผลโครงการมีดังนี้
1. เพื่อสนับสนุนหรือยกเลิก การประเมินผลจะเป็นเครื่องมือช่วยตัดสินใจว่าควรจะยกเลิกโครงการหรือสนับสนุนให้มีการขยายผลต่อไป โดยเฉพาะการมีโครงการใหม่ ๆ ยังมิได้จัดทำในรูปของโครงการทดลองซึ่งมีโอกาสจะผิดพลาดหรือล้มเหลวได้ง่าย ความล้มเหลวของโครงการจึงมิใช่ความล้มเหลวของผู้บริหารเสมอไปดังนั้นถ้าเราประเมินผลแล้วโครงการนั้นสำเร็จตามที่กำหนดวัตถุประสงค์และเป้ าหมายไว้ก็ควรดำเนินการต่อไป แต่ถ้าประเมินผลแล้วโครงการนั้นมีปัญหาหรือมีผลกระทบเชิงลบมากกว่า เราก็ควรยกเลิกไป
2. เพื่อทราบถึงความก้าวหน้าของการปฏิบัติงานตามโครงการ ว่าเป็นไปตามที่กำหนดวัตถุประสงค์และเป้ าหมาย หรือกฎเกณฑ์ หรือมาตรฐานที่กำหนดไว้เพียงใด
3. เพื่อปรับปรุงงาน ถ้าเรานำโครงการไปปฏิบัติแล้ว พบว่าบางโครงการไม่ได้เสียทั้งหมด แต่ก็ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ทุกข้อ เราควรนำโครงการนั้นมาปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น โดยพิจารณาว่าโครงการนั้นบกพร่องในเรื่องใด เช่น ขาดความร่วมมือของประชาชน ขัดต่อค่านิยมของประชาชน ขาดการประชาสัมพันธ์หรือสมรรถนะขององค์การที่รับผิดชอบต่ำ เมื่อเราทราบผลของการประเมินผล เราก็จะได้ปรับปรุงแก้ไขให้ตรงประเด็น
4. เพื่อศึกษาทางเลือก โดยปกติในการนำโครงการไปปฏิบัตินั้น ผู้บริหารโครงการจะพยายามแสวงหาทางเลือกที่ดีที่สุด จากทางเลือกอย่างน้อย 2 ทางเลือก ดังนั้นการประเมินผลจะเป็นการเปรียบเทียบทางเลือกก่อนที่จะตัดสินใจเลือกทางเลือกใดปฏิบัติ ทั้งนี้เพื่อลดความเสี่ยงให้น้อยลง
5. เพื่อขยายผล ในการนำโครงการไปปฏิบัติ ถ้าเราไม่มีการติดตามและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง เราอาจจะไม่ทราบถึงความสำเร็จของโครงการ แต่ถ้าเราประเมินผลโครงการเป็นระยะ สม่ำเสมอ ผลปรากฏว่าโครงการนั้นบรรลุผลสำเร็จตามที่กำหนดวัตถุประสงค์ เราก็ควรจะขยายผลโครงการนั้นต่อไป แต่การขยายผลนั้นมิได้หมายความว่าจะขยายไปได้ทุกพื้นที่ การขยายผลต้องคำนึงถึงมิติของประชากร เวลา สถานที่ สถานการณ์ต่าง ๆเช่น โครงการปลูกพืชเมืองหนาวจะประสบความสำเร็จดีในพื้นที่ภาคเหนือ แต่ถ้าขยายผลไปยังภูมิภาคอื่นอาจจะไม่ได้ผลดีเสมอไป เพราะต้องคำนึงถึงลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ เชื้อชาติ ค่านิยม ฯลฯ ดังนั้นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ สิ่งที่นำไปในพื้นที่หนึ่งอาจได้ผลดี แต่นำไปขยายผลในพื้นที่หนึ่งอาจไม่ได้ผล หรือ สิ่งที่เคยทำได้ผลดีในช่วงเวลาหนึ่ง อาจจะไม่ได้ผลดีในอีกช่วงเวลาหนึ่ง
ประเด็นการประเมินตามรูปแบบ CIPP Model
สตัฟเฟิ ลบีม ได้กำหนดประเด็นการประเมินออกเป็น 4 ประเภท (CIPP Model) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
1. การประเมินสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation : C)
เป็นการประเมินก่อนการดำเนินการโครงการ เพื่อพิจารณาหลักการและเหตุผล ความจำเป็นที่ต้องดำเนินโครงการ ประเด็นปัญหา และความเหมาะสมของเป้าหมายโครงการ
2. การประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation : I )
เป็นการประเมินเพื่อพิจารณาถึงความเป็นไปได้ของโครงการ ความเหมาะสม และความพอเพียงของทรัพยากรที่จะใช้ในการดำเนินโครงการ เช่น งบประมาณ บุคลากร วัสดุอุปกรณ์ เวลา ฯลฯ รวมทั้งเทคโนโลยีและแผนการดำเนินงาน
3. การประเมินกระบวนการ (Process Evaluation: P )
เป็นการประเมินเพื่อหาข้อบกพร่องของการดำเนินโครงการ ที่จะใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนา แก้ไข ปรับปรุงให้การดำเนินการช่วงต่อไปมีประสิทธิภาพมากขึ้น และเป็นการตรวจสอบกิจกรรม เวลา ทรัพยากรที่ใช้ในโครงการภาวะผู้นำ การมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการโดยมีการบันทึกไว้เป็ นหลักฐานทุกขั้นตอน การประเมินกระบวนการนี้ จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการค้นหาจุดเด่น หรือจุดแข็ง (Strengths) และจุดด้อย (Weakness)ของนโยบาย / แผนงาน/โครงการ ซึ่งมักจะไม่สามารถศึกษาได้ภายหลังจากสิ้นสุดโครงการแล้ว
4. การประเมินผลผลิต (Product Evaluation : P )
เป็นการประเมินเพื่อเปรียบเทียบผลผลิตที่เกิดขึ้นกับวัตถุประสงค์ของโครงการ หรือมาตรฐานที่กำหนดไว้รวมทั้งการพิจารณาในประเด็นของการยุบ เลิก ขยาย หรือปรับเปลี่ยนโครงการ แต่การประเมินผลแบบนี้มิได้ให้ความสนใจต่อเรื่องผลกระทบ (Impact) และผลลัพธ์ (Outcomes ) ของนโยบาย / แผนงาน / โครงการเท่าที่ควร
นอกจากนี้ สตัฟเฟิ ลบีม ได้นำเสนอประเภทของการตัดสินใจที่สอดคล้องกับประเด็นที่ประเมินดังนี้
1. การตัดสินใจเพื่อการวางแผน (Planning Decisions) เป็นการตัดสินใจที่ใช้ข้อมูลจากการประเมิน
สภาพแวดล้อมที่ได้นำไปใช้ในการ กำหนดจุดประสงค์ของโครงการให้สอดคล้องกับแผนการดำเนินงาน
2. การตัดสินใจเพื่อกำหนดโครงสร้างของโครงการ (Structuring Decisions) เป็นการตัดสินใจที่ใช้
ข้อมูลจากปัจจัยนำเข้าที่ได้นำไปใช้ในการกำหนดโครงสร้างของแผนงาน และขั้นตอนของการดำเนินการของโครงการ
3. การตัดสินใจเพื่อนำโครงการไปปฏิบัติ (Implementation Decisions) เป็นการตัดสินใจที่ใช้ข้อมูล
จากการประเมินกระบวนการ เพื่อพิจารณาควบคุมการดำเนินการให้เป็ นไปตามแผน และปรับปรุงแก้ไขการดำเนินการให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
4. การตัดสินใจเพื่อทบทวนโครงการ (Recycling Decisions) เช่น การตัดสินใจเพื่อใช้ข้อมูลจากการ
ประเมินผลผลิต ( Output ) ที่เกิดขึ้น เพื่อพิจารณาการยุติ / ล้มเลิก หรือขยายโครงการที่จะนำไปใช้ในโอกาส
ต่อไป
เกณฑ์และตัวชี้วัดความสำเร็จ
1. เกณฑ์ประสิทธิภาพ (Efficiency) มีตัวชี้วัด เช่น สัดส่วนของผลผลิตต่อค่าใช้จ่าย ผลิตภาพต่อหน่วยเวลา ผลิตภาพต่อกำลังคน ระยะเวลาในการให้บริการผู้ป่ วย
2. เกณฑ์ประสิทธิผล (Effectiveness) มีตัวชี้วัดเช่น ระดับการบรรลุเป้ าหมาย ระดับการบรรลุตามเกณฑ์มาตรฐาน ระดับการมีส่วนร่วม ระดับความเสี่ยงของโครงการ
3. เกณฑ์ความพอเพียง (Adequacy) มีตัวชี้วัด เช่น ระดับความพอเพียงของทรัพยากร
4. เกณฑ์ความพึงพอใจ (Satisfaction) มีตัวชี้วัด เช่น ระดับความพึงพอใจ
5. เกณฑ์ความเป็นธรรม (Equity) มีตัวชี้วัดคือ การให้โอกาสกับผู้ด้อยโอกาส ความเป็นธรรมระหว่างเพศระหว่างกลุ่มอาชีพ ฯลฯ
6. เกณฑ์ความก้าวหน้า (Progress) มีตัวชี้วัด เช่น ผลผลิตเปรียบเทียบกับเป้ าหมายรวม
กิจกรรมที่ทำแล้วเสร็จ ทรัพยากร และเวลาที่ใช้ไป
7. เกณฑ์ความยั่งยืน ( Sustainability ) ตัวชี้วัด เช่น ความอยู่รอดของโครงการด้านเศรษฐกิจ สมรรถนะด้านสถาบัน ความเป็นไปได้ในด้านการขยายผลของโครงการ
8. เกณฑ์ความเสียหายของโครงการ ( Externalities ) มีตัวชี้วัด เช่น ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม
ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ ผลกระทบด้านสังคมและวัฒนธรรม เป็นต้น
การยุติหรือล้มเลิกนโยบาย
การยุตินโยบาย เป็ นกระบวนการทางนโยบายสุดท้ายในวงจรทางนโยบาย จะเกิดขึ้นเมื่อนโยบายไม่ประสบความสำเร็จ กล่าวคือ ไม่มีประสิทธิผล ไม่มีประสิทธิภาพหรือไม่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในสังคม ตามที่นโยบายกำหนดไว้ ผลจากการประเมินดังกล่าวจะนำไปปรับปรุงหรือแก้ไขเพื่อเพิ่มประสิทธิผลและประสิทธิภาพในกรณีที่มีการแก้ไขปรับปรุงแต่ยังไม่ประสบความสำเร็จตามเป้ าหมายที่ตั้งไว้ ผู้รับผิดชอบต่อนโยบายดังกล่าวอาจ
ตัดสินใจยุตินโยบาย แต่เป็นกระบวนการที่ขึ้นยากด้วยเหตุผลหลายประการ ทั้งทางการเมืองและกฎหมาย
---------------------------------------------------------
จริยธรรมนโยบายสาธารณะ
นโยบายสาธารณะ เป็นความต้องการของภาครัฐที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหาและการเปลี่ยนแปลงในทางที่จะเกิดประโยชน์ต่อประชาชน ดังนั้น ผู้ปฏิบัติงานด้านนโยบายสาธารณะจึงต้องเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ รวมทั้งเป็นผู้มีจริยธรรมสูงในการทำงานจากการที่นักวิชาการนโยบายสาธารณะ ได้กำหนดความหมายของนโยบายสาธารณะออกมาในลักษณะต่าง ๆ เนื่องเพราะนโยบายสาธารณะมีผลกระทบต่อประชาชนทุกสังคม และมีบทบาทสำคัญในฐานที่เป็นเครื่องมือใช้บริหารประเทศของรัฐบาลในด้าน การกำหนดทิศทางพัฒนาประเทศ การสนองตอบความต้องการของประชาชนการแก้ปัญหาที่สำคัญของประชาชน การเสริมสร้างความเป็นธรรมในสังคม การกระจายรายได้ให้ประชาชนดังนั้น การกำหนดให้นโยบายสาธารณะเป็นกิจกรรมเพื่อสนองตอบต่อค่านิยมทางสังคม หรือ ความต้องการของสังคม หรือ ปัญหาของสังคม เป็นจริยธรรมพื้นฐานในนโยบายสาธารณะ เพราะ กิจกรรมใด ๆ ของรัฐจะเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ดีงาม สำหรับสังคมหรือคนทั้งประเทศ ถ้าประชาชนส่วนมากเห็นว่านโยบายสาธารณะเป็นสิ่งที่
ยอมรับไปได้ แสดงว่า นโยบายนั้นมีความชอบธรรมที่จะนำไปใช้เป็นเครืองมือสำคัญของรัฐกำหนดทิศทางในการพัฒนาประเทศ และสนองตอบต่อความต้องการของประชาชน ตลอดจนเสริมสร้างความเป็นธรรมและความเสมอภาคทางสังคม
จริยธรรม ตามความหมายของท่านพุทธทาสภิกขุ จริยธรรมคือ สิ่งที่พึงประพฤติ จะต้องประพฤติ ส่วนศีลธรรม หมายถึง สิ่งที่กำลังประพฤติอยู่ หรือประพฤติแล้ว
จริยธรรม ตามความหมายของ ทินพันธ์ นาคะตะ เป็นเรื่องหลักแห่งความประพฤติในทางที่ชอบ เป็นเรื่องเกี่ยวกับมาตรฐานแห่งการประพฤติปฏิบัติ
จริยธรรมจึงเป็นเรื่องของระบบความเชื่อเกี่ยวกับสิ่งที่ถูกต้องดีงามของสังคม ซึ่งมีส่วนกำหนดพฤติกรรมของบุคคลไม่ว่าจะเป็นประชาชนที่มีส่วนในการก่อรูปนโยบายสาธารณะ หรือผู้กำหนดนโยบาย
เนื่องจาก การก่อรูปนโยบาย การกำหนดนโยบาย การตัดสินนโยบาย การนำนโยบายไปปฏิบัติ การ
ประเมินผลนโยบาย จะมีผู้เกี่ยงข้องหลายฝ่าย ตั้งแต่ สาธารณะชน กลุ่มผลประโยชน์ พรรคการเมือง นักการเมืองสมาชิกสภาผู้แทนฯ วุฒิสมาชิก ตุลากการ ข้าราชการและนักวิชาการ ซึ่งบุคคลเล่านี้จะมีมาตรฐานทางจริยธรรมแตกต่างกัน ตามสภาพแวดล้อมของการอบรมกล่อมเกลาทางสังคม จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมของผู้เกี่ยวข้องกับกระบวนการทางนโยบายสาธารณะ ให้สามารถนำจริยธรรมไปพัฒนาใช้และปฏิบัติเพื่อสนองตอบต่อประชาชนและสังคมให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
ดังนั้นงานราชการหรืองานสาธารณะ จะแตกต่างจากงานเอกชนหรือบริษัททั่ว ๆ ไป เพราะงานราชการหรืองานสาธารณะจะมีผลกระทบโดยตรงต่อประชาชน จริยธรรมจึงเป็นกลไกสำคัญในการควบคุมให้การใช้ดุลพิจอยู่ภายใต้ประโยชน์สาธารณะคุณค่าพื้นฐานของการบริหารงานภาครัฐ โดยคำนึงถึงผลประโยชน์สาธารณะและวิธีการบริหารที่ยึดหลัก 3 ประการคือ
1. ด้านประสิทธิภาพ และ ประสิทธิผล
2. ด้านความเป็นธรรม ชอบธรรม เสมอภาค โปร่งใส และรับผิดชอบพร้อมตรวจสอบได้
3. ผลประโยชน์สาธารณะ
กล่าวโดยสรุป นโยบายสาธารณะที่จะสนองตอบต่อความต้องการของสังคม ด้วยความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล จะต้องเป็นนโยบายที่สามารถสะท้อนให้เห็นถึงจริยธรรมทุกด้าน เช่น
- ด้านการเมือง คือ การมีส่วนร่วมในกระบวนการนโยบายของผู้เกี่ยวข้อง
- ด้านเศรษฐกิจ คือ ผลประโยชน์หรือผลสำเร็จตกอยู่กับประชาชนส่วนใหญ่
- ด้านสังคม คือ สอดคล้องกับค่านิยมของมวลชน
นโยบายสาธารณะที่ถูกต้องดีงาม คือ นโยบายที่มีจริยธรรมทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม รวมทั้งภาคราชการและข้าราชการ ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องสามารถนำนโยบายไปปฏิบัติด้วยความมีจริยธรรม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น