วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

แนวสอบประมวล องค์การสาธารณะ


องค์การสาธารณะ
พาราไดม์ที่ 1 : การแยกการบริหารกับการเมืองออกจากกันเป็นสองส่วน
เป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาวิชาบริหารรัฐกิจ เป็นแนวความคิดแยกการบริหารกับการเมืองออกจากกันเป็นสองส่วน เป็นแนวคิดของนักรัฐศาสตร์
Wilson เป็นต้นกำเนิดแนวคิด การแยกการบริหารกับการเมืองออกจากกันเป็นสองส่วน
Goodnow กล่าวว่า รัฐบาลมีหน้าที่แตกต่างกัน 2 ประการ
- การเมือง เป็นเรื่องของการกำหนดนโยบาย การแสดงออกซึ่งเจตนารมณ์ของรัฐ
- การบริหาร นำนโยบายต่าง ๆ เหล่านั้นไปปฏิบัติ
Leonard D. White ชี้ให้เห็นว่า การเมืองไม่ควรจะเข้ามาแทรกแซงการบริหาร
การศึกษาเรื่องการบริหารรัฐกิจควรจะเป็นการศึกษาในแบบวิทยาศาสตร์ ศึกษาจาก ความจริงปลอด
จาก ค่านิยมส่วนการศึกษาเกี่ยวกับเร่องการกำหนดนโยบายสาธารณะและปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นเรื่องของนักรัฐศาสตร์ การบริหารรัฐกิจถือเป็นสาขาหนึ่งของวิชารัฐศาสตร์
พาราไดม์ที่ 2 : หลักการบริหาร
มองว่าการบริหารรัฐกิจเป็นเรื่องของหลักต่าง ๆ ของการบริหารที่มีลักษณะเป็นวิทยาศาสตร์ หน้าที่ของ
การบริหารคือ ประหยัด และ ประสิทธิภาพ แนวความคิดนี้มุ่งศึกษาก็คือ ความรู้ความชำนาญเกี่ยวกับหลักเกณฑ์
ต่าง ๆ ของการบริหาร
Gulick ได้เสนอหลักการบริหาร POSDCORB
Taylor แสงหาวิธีการทำงานที่ดีที่สุด one best way ให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและมีปริมาณสูงสุด โดย
ใช้ปัจจัยการผลิตน้อยที่สุด (เน้นเงิน เน้นงาน)
ต่อมาพาราไดม์นี้ได้รับการโจมตีจากนักวิชาการสมัยต่อมาว่า การเมืองไม่สามารถแยกออกจากกันได้ และ
หลักการบริหารไม่สอดคล้องตามหลักของเหตุผล ไม่สามารถใช้ได้ในทางปฏิบัติ เป็นแค่ภาษิตการบริหารเท่านั้น
พาราไดม์ที่ 3 : การบริหารรัฐกิจคือรัฐศาสตร์
การบริหารเป็นส่วนหนึ่งของการเมือง เกิดขึ้นจากการโต้แย้งพาราไดม์ที่ 1 กับ 2
- การบริหารไม่สามารถแยกออกจากการเมืองได้การบริหารต้องศึกษาไปพร้อมกับการเมือง
- หลักต่าง ๆ ของการบริหารมีข้อขัดแย้งกันเสมอ จึงไม่ใช่หลักการ
ช่วงพาราไดม์ที่ 3 พยายามเชื่อมโยงความคิดระหว่างวิชาการบริหารรัฐกิจกับรัฐศาสตร์ขึ้นใหม่ แต่ผลที่เกิด
กลับกลายเป็นทำให้ความเป็นสาขาวิชาห่างไกลกันออกไป
มีการละเลยการบริหาร ทำให้บทความทางการบริหารน้อยลง ให้ส่งผลนักวิชาการรัฐกิจบางกลุ่มไม่พอใจ/
น้อยใจในสถานภาพแบบนั้น รู้สึกเป็นพลเมืองชั้นสองในคณะรัฐศาสตร์ ทำให้เกิดพาราไดม์ที่ 4
Elton Mayo -- Human Relation (พฤติกรรมกลุ่ม)
Maslow -- ลำดับขั้นความต้องการ
McGregor -- ทฤษฎี X Y
Herberg -- ทฤษฎีสองปัจจัย
พาราไดม์ที่ 4 : การบริหารรัฐกิจคือวิทยาการบริหาร เป็นการศึกษา 2 ส่วน คือ
- ทฤษฎีองค์การ ศึกษาเกี่ยวกับองค์การ, คน เพื่อที่จะช่วยให้เข้าใจพฤติกรรมองค์การได้ดีขึ้น
- วิทยาการจัดการ ศึกษาเกี่ยวกับเทคนิคเชิงปริมาณ คณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ มาใช้ในการบริหารให้มี
ประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น และเพื่อที่จะใช้วัดประสิทธิผลของการดำเนินงานได้อย่างถูกต้อง
จุดอ่อนของพาราไดม์ที่ 4 นักวิชาการมองว่าไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริงของการบริหารรัฐกิจ เพราะเป็นการ
บริหารทั่วไปที่ใช้ได้ทั้งการบริหารรัฐกิจและธุรกิจ ในความเป็นจริงการบริหารรัฐกิจจะมีธรรมชาติที่แตกต่างอย่าง
สำคัญจากธุรกิจ เพราะฉะนั้นเกณฑ์การประเมินจะแตกต่างกัน เนื่องจากการบริหารรัฐกิจมุ่งเน้นการตอบสนองความองการของประชาชน เป็นการเมืองสูง มีกฎระเบียบมาก เปลี่ยนแปลงไปตามนโยบาย ในขณะที่ธุรกิจมุ่งเน้นกำไร
Herbert Simon เสนอแนวคิดของการตัดสินใจอย่างมีเหตุผลภายใต้กรอบจำกัด (Bounded Rationality)
Barnard การบังคับบัญชาเป็นสิ่งที่สำคัญ แต่อำนาจหน้าที่ที่แท้จริง ขึ้นอยู่กับการยินยอมของผู้รับคำสั่งจะยอมรับคำสั่งนั้น ๆ
พาราไดม์ที่ 5 : การบริหารรัฐกิจคือการบริหารรัฐกิจ
นำเอาความรู้ในวิชาการต่าง ๆ มาปรับใช้ร่วมกัน ในการบริหารงานของรัฐ เรียกว่า สหวิทยาการ มาใช้
แก้ปัญหาของสังคม ความสัมพันธ์ทางการบริหารระหว่างรัฐกับเอกชน เป็นเขตแดนร่วมกันระหว่างเทคโนโลยี
และสังคม สนใจมากขึ้นในเรื่องของนโยบาย เศรษฐศาสตร์การเมือง กระบวนการกำหนดและวิเคราะห์นโยบาย
สาธารณะ การวัดผลของนโยบาย
----------------------------------------------------
ทฤษฎีองค์การ Orgaization Theory
ทฤษฎีองค์การอาจแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มทฤษฎีด้วยกันคือ
1. กลุ่มทฤษฎีดั้งเดิม (Classical theory)
2. กลุ่มทฤษฎีสมัยใหม่ (Neo-Classical theory)
3. กลุ่มทฤษฎีสมัยปัจจุบัน (Modern theory)
เพิ่มเติม
ยุค Classical อยู่ในพาราไดม์ที่ 1 กับ 2
ยุค Neo-Classical กับกลุ่มทฤษฎีทรัพยากรมนุษย์ อยู่ในพาราไดม์ที่ 3 กับ 4
ยุค Modern อยู่ในพาราไดม์ที่ 5


1. กลุ่มทฤษฎีดั้งเดิม Classic
ทฤษฎีนี้มีหลักการว่า " คนเป็ นเครื่องมือที่ทำให้องค์การไปสู่จุดหมายปลายทางได้" เป็นยุคอุตสาหกรรม
ผลผลิตสูง รวดเร็ว มนุษย์เสมือนเครื่องจักรกล กรอบและโครงสร้างปราศจากความยืดหยุ่น รายละเอียดต่อไปนี้
1.1 การจัดองค์การแบบราชการ (Bureaucracy)
แมค วีเบอร์ ( Max Weber) ได้เน้นให้เห็นถึงการจัดโครงการที่เป็นระเบียบ สาระสำคัญที่ แมค วีเบอร์ ได้เน้นก็คือ องค์การแบบราชการในอุดมคตินั้น จะต้องประกอบด้วย
1) การแบ่งงาน โดยให้แต่ละคนปฏิบัติงานในสาขาที่ตนมีความชำนาญ
2) ยึดถือกฎเกณฑ์ระเบียบวินัยโดยเคร่งครัด เพื่อที่จะให้ได้มาตรฐานของงานเท่าเทียมกัน การยึดถือ
กฎเกณฑ์นี้จะช่วยขจัดพฤติกรรมที่บุคคลแตกต่างกันสามารถมาประสานงานกันได้
3) ลำดับชั้นการบังคับบัญชาต้องชัดเจน โดยผู้บังคับบัญชามอบหมายอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ
ลดหลั่นกันลงไป
4) บุคคลในองค์การต้องไม่คำนึงถึงความสัมพันธ์ส่วนบุคคล โดยพยายามทำงานให้ดีที่สุดเพื่อเป้ าหมาย
ขององค์การ
5) การคัดเลือกบุคคล การว่าจ้าง ให้ขึ้นอยู่กับความสามารถ และการเลื่อนตำแหน่งให้คำนึงถึงการประสบ
ความสำเร็จในการงานและอาวุโสด้วย
จุดอ่อนขององค์การแบบราชการ ก็คือ การเน้นที่องค์การโดยละเลยการพิจารณาถึงปัญหาของคน และเชื่อ
ว่าการที่มีโครงสร้างที่รัดกุมแน่นอนจะช่วยให้บุคคลปรับพฤติกรรมให้เป็นไปตามความต้องการขององค์การได้
1.2 การจัดองค์การแบบวิทยาศาสตร์ ( Scientific Management)
เฟรดเดอริค เทย์เล่อร์ ( Frederic Taylor) ใช้หลักเหตุผลทางวิทยาศาสตร์มาใช้เพื่อแสวงหาวิธีการ
ทำงานที่ดีที่สุด one best way ให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและมีปริมาณสูงสุด โดยใช้ปัจจัยการผลิตน้อยที่สุด
สาระสำคัญ - แสงหาวิธีทำงานที่ดีที่สุด
- สรรหาคน และ แบ่งงาน ทำงานตามความชำนาญ
- เงินเป็นแรงจูงใจ
การจัดการแบบวิทยาศาสตร์ จะทำงานตามโครงสร้างที่กำหนด จึงเกิดความซ้ำซากจำเจ เบื่อหน่าย อีกทั้
ค่าตอบแทนเป็นตัวเงิน โดยไม่คำนึงถึงสภาพจิตใจ
1.3 การจัดองค์การแบบหลักการบริหาร (Administrative Management)
มีแนวคิดว่าองค์การจะต้องวางหลักเกณฑ์ในการบริหาร เพื่อคอยบังคับบัญชาผู้ปฏิบัติงานทุกระดับ ให้
ปฏิบัติงานตามกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่วางไว้
Henri Fayol องค์ประกอบสำคัญในการบริหาร “POCCC”
P = Planning การวางแผน » การพยากรณ์ถึงเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นเพื่อการตัดสินใจในอนาคต
O = Organizing การจัดการองค์กร » กำหนดโครงสร้างหน่วยงาน และระหน้าที่ผสมผสานระหว่างคน
วัตถุ และเงิน
C = Commanding การบังคับบัญชา » มีการติดต่อสื่อสาร 2 ทาง แสดงความคิดเห็นได้
C = Coordinating การประสานงาน » การติดต่อสื่อสารระหว่างกันเพื่อทำให้งานสำเร็จ
C = Controlling การควบคุม » การติดตามการดำเนินงานให้บรรลุตามวัตถุประสงค์
Gulick หลักการบริหาร POSDCORB
Planning กำหนดแนวทางและวิธีการต่าง ๆ ในการทำกิจการนั้น ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์
Organizing กำหนดโครงสร้าง อำนาจหน้าที่ ของหน่วยงาน
Staffing การจัดหาและฝึกอบรม รักษาไว้ซึ่งสภาพการทำงานให้เป็นที่น่าพอใจ
Directing วินิจฉัยสั่งการในรูปของ ระเบียบ คำสั่ง
Coordinating การประสานส่วนต่าง ๆ ของงานเข้าด้วยกัน
Reporting รายงานผลให้ผู้เกี่ยวข้องได้ทราบถึงการดำเนินงานเป็นอย่างไรบ้าง ก้าวหน้าไปแค่ไหน
Budgeting วางแผน ตรวจสอบ ควบคุมทางการเงิน
หันมาสนใจเกี่ยวกับปัจจัยมนุษย์มากกว่าตัวองค์การ ทฤษฎีนี้มีหลักการว่า "คนเป็ นปัจจัยสำคัญและมี
อิทธิพลต่อการเพิ่มผลผลิตขององค์การ" ศึกษาทางพฤติกรรมศาสตร์ แนวความคิดด้านมนุษยสัมพันธ์ เน้นให้เห็น
ถึงความสำคัญของคนที่ทำหน้าร่วมกันในองค์การ มีเป้ าหมายร่วมกัน สนใจความต้องการของสมาชิกในองค์การ
การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
Elton Mayo การบริหารที่มีประสิทธิภาพนั้น ไม่ใช่การบริหารที่เชื่อว่าคนเปรียบเสมือนเครื่องจักร
และเงินเป็นแรงจูงใจในการทำงานเพียงอย่างเดียว (ขวัญของคนงานมีความสำคัญต่อการเพิ่มการผลิต มนุษย์เป็น
องค์ประกอบสำคัญในการบริหาร)
2.2 แนวความคิดการจัดการเชิงพฤติกรรมศาสตร์
Maslow ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ
บุคคลได้รับการกระตุ้นโดยความต้องการ และจะกระทำเพื่อให้ได้รับการตอบสนองความต้องการ
ตามลำดับขั้น เมื่อความต้องการในระดับต่ำสุดได้รับการตอบสนองและมีความพอใจแล้ว ความต้องการในระดับสู
ขึ้นไปอีกก็จะมีความสำคัญขึ้นมา เป็นตัวกระตุ้นทางพฤติกรรมของคน
1. ความต้องการทางกายภาพ = ปัจจัย 4
2. ความต้องการความปลอดภัย = ต้องการที่จะเป็นอิสระจากอันตรายทางกาย ความกลัวต่อการสูญเสียงาน ทรัพย์สิน
3. ความต้องการทางสังคม = ต้องการยอมรับจากบุคคลอื่น
4. ความต้องการยกย่องชื่อเสียง = ความพึงพอใจในอำนาจ ความเชื่อมั่นในตนเอง
5. ความต้องการความสมหวังและความสำเร็จของชีวิต = งานที่ท้าท้ายส่งเสริมความก้าวหน้า งานที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์

2. กล่มุ ทฤษฎีสมัยใหม่ (Neo-Classical theory)
McGregor ทฤษฎี X Y เป็นลักษณะทางธรรมชาติของมนุษย์
ทฤษฎี X
ทฤษฎี Y
- มนุษย์ส่วนใหญ่เกียจคร้าน
- ชอบหลบหลีกงานเมื่อมีโอกาส
- ชอบทำตามที่สั่ง ใช้วิธีควบคุมงาน
- ชอบปัดความรับผิดชอบ
- ชอบความมั่นคงอบอุ่นปลอดภัย
- ขาดความริเริ่ม
- มนุษย์ส่วนใหญ่ขยัน รักงาน
- พยายามเรียนรู้และปรับปรุงงาน
- มีวินัยในตนเอง
- ใฝ่หาความรับผิดชอบ
- หวังรางวัลหรือสิ่งตอบแทนเมื่อองค์กรประสบผลสำเร็จ
- มีความริเริ่มสร้างสรรค์
Frederick Herzberg (ทฤษฎีสองปัจจัย) การจูงใจในการทำงาน
ความสุขจากการทำงานนั้น เกิดมาจากความพึงพอใจ หรือไม่พึงพอใจในงานที่ทำ โดยความพึงพอใจหรือความไม่พึงพอใจในงานที่ทำนั้น ไม่ได้มาจากกลุ่มเดียวกัน แต่มีสาเหตุมาจากปัจจัยสองกลุ่ม คือ ปัจจัยจูงใจ (เป็นปัจจัยสนองตอบความต้องการภายในของบุคคล) และ ปัจจัยสุขอนามัย (เป็นปัจจัยภายนอกตัวบุคคล)
Motivator Factors (ปัจจัยจูงใจ) Hygiene Factors (ปัจจัยสุขอนามัย)
ความสำเร็จของงาน นโยบายและการบริหารงานการได้รับการยกย่องชมเชย จากผู้ร่วมงาน เทคนิคและการควบคุมงาน การบังคับบัญชาลักษณะของงาน ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานความรับผิดชอบ สภาพการทำงาน (แสง เสียง เครื่องมือ)โอกาสก้าวหน้า เงินเดือนและผลประโยชน์เกื้อกูล ความมั่นคงการเติบโตของแต่ละบุคคล สถานภาพในการทำงาน (เป็นที่ยอมรับของสังคม)
Herbert Simon เสนอแนวคิดของการใช้เหตุผลที่จำกัด ซึ่งเป็นการตัดสินใจที่อาจจะไม่ได้ผลที่ดีที่สุด
แต่ทำให้เกิดความพึงพอใจสูงสุด และมีความเป็นไปได้ (การตัดสินใจภายใต้ข้อจำกัด Bounded
Rationality 1. ข้อจำกัดทางทักษะ ความชำนาญ นิสัย 2. ข้อจำกัดเกี่ยวกับค่านิยม 3. ข้อจำกัดความรู้ข้อมูลข่าวสาร)
- การกลั่นกรองเรื่องราวต่าง ๆ (รวบรามข้อมูล สภาพแวดล้อมที่ต้องพิจารณาในการตัดสินใจ)
- การคิดค้นและพัฒนา (วิเคราะห์หนทางต่าง ๆ ที่จะสามารถดำเนินการได้กับปัญหานั้น ๆ วางแผน
กลยุทธ์ เพื่อแก้ไขปัญหา)
- การตัดสินใจเลือกทางเลือก (พิจารณาทางเลือกที่ดีที่สุด พอใจที่สุด หรือให้ผลตอบแทนมากที่สุด)
Barnard การบังคับบัญชาเป็นสิ่งที่สำคัญ แต่อำนาจหน้าที่ที่แท้จริง ขึ้นอยู่กับการยินยอมของผู้รับคำสั่งจะยอมรับคำสั่งนั้น ๆ และการสื่อสารภายในองค์การ มีส่วนเกี่ยวข้อง 3 อย่าง สิ่งแวดล้อม , ปัจเจคบุคคล ,แรงจูงใจ
3. กลุ่มทฤษฎีสมัยปัจจุบัน (Modern theory)
เน้นที่ การวิเคราะห์องค์การในเชิงระบบคือ คำนึงถึงองค์ประกอบภายในองค์กรทุกส่วน แก่ตัวป้ อนกระบวนการ ผลผลิต ผลกระทบ และสิ่งแวดล้อม ( Input process Output Feedback and Environment )การจัดการงานมีประสิทธิภาพเหมาะสมกับสถานการณ์ พยายามปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้เพราะนักทฤษฏีปัจจุบันได้มององค์การในลักษณะกระบวนการทางด้านโครงสร้างที่บุคคลต่าง ๆ จะต้องเกี่ยวพันซึ่งกันและกันเพื่อบรรลุเป้ าหมายตามที่ต้องการ
ทฤษฎีระบบเปิด
Katz and Kahn ระบบจะมีปฏิสัมพันธ์กัน ถ้าระบบใดเปลี่ยนแปลงจะทำให้ระบบอื่น ๆ เปลี่ยนแปลง
ด้วย โดยมีสภาพแวดล้อมเป็นปัจจัย องค์กรในแนวความคิดนี้ต้องมีการปรับตัวตลอดเวลา เพราะตัวแปรต่าง ๆ มีลักษณะเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ  In put - Process - Output Feedback - Environment
1. In put
- คน MAN
- เงิน MONEY
- วัตถุดิบ MATERIAL
- วิธีการ Method
2. ORGANAZTION AND MANAGEMENT
โครงสร้างและการบริหาร
3. OUT PUT
                - PUBLIC POLICY(นโยบายสาธารณะ)
- PUBLIC SERVICE(บริการสาธารณะ)
- PRODUCTS (ผลผลิต)
FEED BACK
-    Enviroment (สิ่งแวดล้อม)
4M(Man Money Material Method)
6M (Machine Market)
7M (Morale (ขวัญและกำลังใจ)
8M (Message (ข่าวสาร)
การบริหาร POLC
POCCC (ทฤษฎีของ Fayol)
POSDCORB (ทฤษฎีของ Gulick)
 ความหมายขององค์การ
Max Weber องค์การ หมายถึง หน่วยงานซึ่งมีการรวมกลุ่มเพื่อร่วมกันดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ อันไปสู่
การบรรลุเป้ าหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง
นวัตกรรมองค์การ
หมายถึง ผลิตภัณฑ์ กระบวนการในองค์กร เป็นของใหม่ที่เกิดขึ้นในองค์การ เป็นการเกิดขึ้นด้วยความ
ตั้งใจ ไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงที่เป็นงานประจำ องค์กรได้รับประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลง และมีผลกระทบต่อ
สาธารณะ
องค์กรในปัจจุบันต้องปรับตัวให้ทันต่อโลกในยุคโลกาภิวัฒน์และเพื่อให้องค์กรอยู่รอด ในการปรับตัวขององค์กรย่อมเกิดผลกระทบต่อองค์กร ไม่ว่าจะเป็นภาคเอกชนหรือภาครัฐ จึงจำเป็นต้องใช้กลยุทธในการวางแผนปฏิบัติ การประเมินปัญหาและอุปสรรค
การบริหารนวัตกรรมขององค์กร เริ่มจากการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในการทำงานผ่าน คน โครงสร้าง
วัฒนธรรม สภาพแวดล้อมในการทำงาน
องค์กรเชิงนวัตกรรมมีลักษณะสำคัญคือ
- ผู้นำความสามารถและมีวิสัยทัศน์ มีพลังในการเปลี่ยนแปลงองค์การให้รอดพ้นการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผล
กระทบต่อองค์กร และมีคุณธรรม
- โครงสร้างการบริหารที่เหมาะสม
- มีบุคลากร และ ทีมงาน ที่มีคุณภาพ
- มีการพัฒนาบุคลากรเชิงกลยุทธ์
- มีระบบการสื่อสารแบบหลายทางทั้งภายในภายนอกองค์กร
- มีกิจกรรมการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง
- เป็นองค์กรคุณภาพทั้งภายในและภายนอก (องค์กรยั่งยืน) มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล
- เป็นองค์กรเปิ ดต่อความคิดสร้างสรรค์
- เป็นองค์กรการเรียนรู้
Leadership ผู้นำแห่งนวัตกรรม
1. Vision กำหนดวิสัยทัศน์
Vsion มาจาก       1. Data ข้อมูล
2. Information ข่าวสาร
3. Knowledge ความรู้
4. Wissom ปัญญา (ผู้นำต้องใช้ ความรู้ + ปัญญา)
2. Strategy วางยุทธศาสตร์ และแปลงไปจัดการ ไปเป็นแผนปฏิบัติการ
3. Inspire กระตุ้นให้คนในองค์การเกิดพลัง
4. Motivate เป็นขวัญและกำลังใจ คนในองค์การต้องเชื่อนำด้วยใจ
5. Evaluation & Monitoring ติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล
การปฏิรูประบบราชการไทย ที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบันมีเป้ าหมายเชิงนวัตกรรมคือ พยายามเปลี่ยนแปลง
โครงสร้าง และกลยุทธ์การบริหารองค์กรราชการในเชิงการบริหารธุรกิจ มีการสร้างธรรมาภิบาลเป็นวัฒนธรรม
องค์กรราชการตัวใหม่
การบริหารเชิงกลยุทธ์ Strategic Management
กระบวนการวางแผนดำเนินการ โดยใช้กลวิธีต่าง ๆ อย่างมีชั้นเชิง สำหรับปฏิบัติงาน / ควบคุม เพื่อให้
องค์การบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
กลยุทธ์ Strategic กลวิธีที่เลือกใช้อย่างมีชั้นเชิง เพื่อทำให้บรรลุเป้ าหมาย
การบริหาร Management - กระบวนการวางแผน Planning
- การจัดองค์การ Organizing
- การจัดบุคลากร (จัดคนเข้าทำงาน) Staffing เพื่อให้บรรลุ
- การสั่งการ Directing เป้ าหมาย
- การควบคุม Controlling
กระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์ เป็นเครื่องมือของผู้บริหารระดับสูงในการกำหนดทิศทาง และผลการ
ปฏิบัติงานขององค์การ
กระบวนการบริหารเชิงกลยุทธ์
ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม
1 สิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ PEST
2 สิ่งแวดล้อมภายในองค์การ SWOT Analysis , 7S Analysis
1 สิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ “PEST”
P- Political Influence อิทธิพลทางการเมือง
E- Economic Influence อิทธิพลทางเศรษฐกิจ
S- Social Influence อิทธิพลทางสังคม วัฒนธรรม
T- Technological Influence อิทธิพลทางเทคโนโลยี
2 สิ่งแวดล้อมภายในองค์การ
“SWOT Analysis” มองจากองค์ประกอบการจัดการ 4M มองจาก Output คือ 4P
S- Strength จุดแข็ง
W- Weakness จุดอ่อน
O- Opportunity โอกาส (โอกาสที่ทำให้สำเร็จตามเป้ าหมาย)
T- Threat อุปสรรค
การวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง มองจากการจัดการ คือ 4M ถ้ามองจา output คือ 4P
 “7S Analysis”
Strategy - กลยุทธ์
ประกอบด้วยวัตถุประสงค์ขององค์กร และทางเลือกสำหรับการบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวขององค์กร
Structure - โครงสร้าง
โครงสร้างองค์กร, ระดับขั้นการบังคับบัญชาและการติดต่อประสานงาน, รวมถึงการจัดแบ่งเป็นหน่วยงาน เพื่อการดำเนินกิจการงานต่าง ๆ ขึ้นมา
Systems - ระบบ
กระบวนการปฏิบัติงานหลักและรองที่องค์กรกำหนดขึ้นมาเพื่อกระทำกิจกรรมต่างๆอาทิ ระบบการผลิต,
การวางแผนวัตถุดิบ, ระบบการรับและการจัดการกับคำสั่งซื้อของลูกค้า
Style - รูปแบบการบริหาร
เป็นสิ่งที่ไม่ได้ตราขึ้นไว้เป็นลายลักษณ์อักษร แต่สามารถที่จะพิสูจน์ได้ว่าฝ่ายบริหารได้ให้ความสำคัญแก่
เรื่องใดเป็นสำคัญ, ระดับความสำคัญของประเด็นต่างๆ, พฤติกรรมที่ผู้บังคับบัญชาแสดงออกกับ
ผู้ใต้บังคับบัญชาคือสิ่งที่มองเห็นได้ และเป็นสิ่งที่สามารถบอกได้ดีว่าที่นั่นมีรูปแบบการบริหารอย่างไร
Staff – ทีมงาน
ตัวทรัพยากรบุคคล ตั้งแต่การวางแผนกำลังแรงงาน, การสรรหา, การฝึกอบรม และทักษะเฉพาะด้านต่างๆ
ในการดำเนินงานของทรัพยากรบุคคลแต่ละตำแหน่ง
Shared Values - ค่านิยมร่วม
สิ่งที่เป็นพื้นฐานที่ทำให้มีและทำให้องค์กรดำรงคงอยู่รวมถึงความเชื่อและความคาดหวังที่พนักงานมีต่อ
องค์กร
Skills - ทักษะ
สมรรถภาพของหน่วยธุรกิจที่ไม่เหมือนหรือเหนือกว่าองค์กรอื่นๆ
ขั้นตอนที่ 2 การกำหนดทิศทางขององค์การ
1 วิสัยทัศน์ VISION การมองเห็นว่าอนาคตธุรกิจจะเป็นอย่างไร
2 ภารกิจ MISSION ภาระหน้าที่ขององค์การว่าจะทำอะไรบ้าง
- ภารกิจหลัก - ภารกิจรอง
3. วัตถุประสงค์ Objectives
4. กำหนดยุทธศาสตร์ เป้ าหมาย
ขั้นตอนที่ 3 การกำหนดกลยุทธ์
- การกำหนดกลยุทธ์ Strategy
การเลือกกลยุทธ์ที่เหมาะสมกับทรัพยากรและความสามารถขององค์กร และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง
ที่จะทำให้ภารกิจและวิสัยทัศน์ขององค์การบรรลุเป้ าหมาย จากการวิเคราะห์ทางเลือกด้วยเทคนิคต่างๆ เช่น
SWOT Analysis (จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส ภัยคุกคาม)
TOWS Matrix ( SO, WO, ST, WT)
Balanced Scorecard (มุมมองด้านการเงิน, ลูกค้า, กระบวนการภายในธุรกิจ, การเรียนรู้และการ
เติบโต)
- การกำหนดแผนปฏิบัติงาน Action Plan
เมื่อกำหนดกลยุทธ์แล้ว ต้องกำหนดขอบเขตความรับผิดชอบและหน้าที่ของแต่ละหน่วยงานให้เหมาะสม
ชัดเจน แล้วจึงให้แต่ละหน่วยจัดทำแผนการปฏิบัติงาน ภายใต้กรอบแนวทางการปฏิบัติที่องค์กรกำหนด
ขั้นตอนที่ 4 การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ
ดำเนินการตามกลยุทธ์ที่วางไว้โดยมีการจัดรูปองค์การ กำหนดแผนประจำปี กำหนดนโยบาย จูงใจ
บุคลากรที่รับผิดชอบ การจัดสรรทรัพยากร การสร้างวัฒนธรรมการทำงานที่เน้นการทำงานตามกลยุทธ์ การกำหนด
โครงสร้างองค์การที่มีประสิทธิผล การพัฒนาและการใช้ระบบการจัดการข้อมูล โดยใช้เครื่องมือ BSC
(Balanced Scorecard) และ TQM (Total Quality Management) การบริหารคุณภาพ
ขั้นตอนที่ 5 การควบคุม
เป็นการติดตามการตรวจสอบ เป็นกระบวนการพิจารณาว่ากลยุทธ์ได้บรรลุเป้ าหมายและวัตถุประสงค์
หรือไม่ เป็นการตรวจสอบแผนกลยุทธ์และการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ให้เหมาะสม
KPI (Key Performance Indicators) ตัวชี้วัดหลักของผลการดำเนินงาน เป็นเครื่องมือสำคัญที่บ่งบอกถึงข้อมูลที่แสดงสถานะที่เป็นจริงขององค์การในปัจจุบัน เพื่อประโยชน์ในการกำกับตรวจสอบการดำเนินการตามแผนที่กำหนด
องค์ประกอบของตัวชี้วัด มีดังนี้ - ชื่อตัวชี้วัด - คำจำกัดความ หรือการให้คำอธิบายความหมาย
- สูตรการคำนวณ - เป้ าหมายการวัด - เกณฑ์การประเมิน - น้ำหนักตัวชี้วัด ตัวชี้วัดทุกตัว ควรมี
การให้คำจำกัดความ หรือการอธิบายความหมายของตัวชี้วัดดังกล่าว ตัวอย่าง ร้อยละการลดลงของเรื่องร้องเรียน
ขั้นตอนที่ 6 การประเมินผล
เพื่อให้การปฏิบัติงานดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง เป็นการวัดผลการปฏิบัติงานเทียบกับเป้ าหมายที่กำหนดไว้
แล้ววิเคราะห์หาสาเหตุที่ผลการปฏิบัติต่ำหรือสูงกว่าเป้ าหมาย เพื่อเสนอทางเลือกต่อผู้บริหารในการปรับปรุ
ประสิทธิภาพของงาน เครื่องมือที่ใช้ Balance Scorecard (BSC) และ Benchmarking นำมาใช้ในการ
ประเมินผล
Balance Scorecard (BSC)
BSC เป็นระบบวัดผลการปฏิบัติงาน เป็นระบบการจัดการแบบมุ่งผลสัมฤทธ์ิของงาน ประกอบด้วยมุ่ง
มองด้านต่าง 4 ด้าน
- มุมมองด้านการเงิน - มุมมองด้านลูกค้า
- มุมมองกระบวนการภายในธุรกิจ - มุมมองการเรียนรู้และการเติบโต
BSC ไม่ใช่เครื่องมือในการประเมินผลอย่างเดียว แต่ยังเป็นเครื่องมือในการกำหนดกลยุทธ์ นำกลยุทธ์ไป
ปฏิบัติ มีรูปแบบและวิธีการที่ช่วยให้การถ่ายทอดทิศทางขององค์กร กลยุทธ์ เป้ าหมาย ลงสู่การปฏิบัติได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือสื่อสารที่ดีในการสื่อสารทั้งกลยุทธ์และผลงานสู่พนังงานทุกระดับในองค์กร
อันนำไปสู่การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
สำหรับในภาครัฐได้นำแนวคิด BSC มาปรับใช้ในการประเมินผล และการแปลงกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ
ของหน่วยงาน โดยดูจากมิติที่สำคัญ 4 ด้านคือ
มิติที่ 1 ประสิทธิผลตามแผนยุทธศาสตร์       มิติที่ 2 ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน
มิติที่ 3 คุณภาพการให้บริการ                           มิติที 4 การพัฒนาองค์กร
องค์กรไม่ว่าจะภาครัฐหรือเอกชนจะสำเร็จแต่ละมุมมองได้นั้นจะต้องเลือกใช้เครื่องมือทางการจัดการมา
สนับสนุนที่เหมาะสม เช่น
- RBM (Results Based Management) การบริหารมุ่งผลสัมฤทธ์ิ
- TQM (Total Quality Management) การบริหารคุณภาพ
- Good Governance การบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี
- KM (Knowledge Management) การจัดการความรู้
- Benchmarking มาตรฐานเปรียบเทียบ
RBM (Results Based Management) การบริหารมุ่งผลสัมฤทธ์
เป็นเครื่องมือที่ใช้ใน มุมมองทางการเงิน / ประสิทธิภาพตามแผนยุทธศาสตร์
หมายถึง การบริหารที่มุ่งเน้นสัมฤทธ์ิผลขององค์กร เป็นหลักการเปรียบเทียบผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
จริงกับเป้ าหมายที่กำหนด โดยใช้ระบบการประเมินผลงานที่อาศัยตัวชี้วัดเป็นตัวสะท้อนผลงานให้ออกมาเป็น
รูปธรรม
ผลสัมฤทธ์ิ (Results) = ผลผลิต (Output) + ผลลัพธ์ (Outcomes)
การบริหารมุ่งผลสัมฤทธ์ิอธิบายได้ว่าเป็นการจัดหาให้ได้ทรัพยากรมาอย่างประหยัด (Economy) การ
บริหารทรัพยากรมีประสิทธิภาพ (Efficiency) และได้ผลงานที่บรรลุเป้าหมายขององค์การ (Effectiveness)
การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ ได้ถูกนำมาใช้ในส่วนราชการ เป็นเครื่องมือสำหรับผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานใน
การประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างมีระบบ มีคุณธรรมและเป็นธรรม ที่อาศัยตัวชี้วัดเทียบกับเป้ าหมายที่กำหนด
กรอบการประเมินผลของส่วนราชการมี 4 ด้าน - ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องภายนอกองค์กร - องค์ประกอบภายในองค์กร
- ด้านนวัตกรรม - ด้านการเงิน
TQM (Total Quality Management) การบริหารคุณภาพ
เป็นเครื่องมือที่ใช้ใน มุมมองด้านลูกค้า / คุณภาพการให้บริการ
* TQM ต้องใช้ วงจรเดมมิ่ง (Demming Cycle) มาเป็นเครื่องมือในการดำเนินการ *
T (Total) หมายถึง ทุกคนในองค์กรจะมีส่วนร่วมในการสร้างคุณภาพ นับตั้งแต่ผู้บริหารหัวหน้างาน ผู้ปฏิบัติ
Q (Quality) หมายถึง คุณภาพของสินค้า หรือบริการ ที่สามารถสร้างความพอใจแก่ลูกค้า และตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างแท้จริง
M (Management) หมายถึง การบริหารคุณภาพที่มุ่งเสริมให้มีการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องกลุ่ม
TQM เป็นวัฒนธรรมขององค์การที่สมาชิกทุกคนให้ความสำคัญและมีส่วนร่วมในการพัฒนาการ
ดำเนินงานขององค์การอย่างต่อเนื่อง โดยนำเทคนิคต่าง ๆ มาปรับใช้ หรืออาจนำ วงจรเดมมิ่ง Deming Cycle
ปรับใช้ (PDCA)
วงจรเดมิ่ง คือ วงจรของการวางแผน - ปฏิบัติ - ตรวจสอบ - แก้ไข
Plan - Do - Check - Action
ส่วนประกอบสำคัญของ TQM
1. การให้ความสำคัญกับลูกค้า
2. การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
3. สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วม (ทีมงานเป็นกลจักรสำคัญในการผลักดันธุรกิจ)
Good Governance การบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี
เป็นเครื่องมือที่ใช้ใน มุมมองด้านกระบวนการภายใน/ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานหมายถึง กติกาหรือกฎเกณฑ์การบริหารการปกครองที่ดี เหมาะสม และเป็นธรรม ที่ใช้ในการธำรงรักษา สังคม ดังนั้นแนวทางการบริหารจัดการที่ดีประกอบด้วย
1. การมีกฎ กติกา ระเบียบ ที่เอื้ออำนวยหรือสนับสนุนต่อการบริหารจัดการที่ดี
2. การมีผู้นำที่ดีในองค์การ
3. การมีระบบตรวจสอบภายในองค์กร
4. การมีระบบพัฒนา
การบริหารภาครัฐที่ดี good governance
1. การมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้อง
2. การมีกระบวนงานที่โปร่งใส
3. ตรวจสอบได้
4. ความชอบธรรมในการใช้อำนาจ
5. มีกฎเกณฑ์ที่ยุติธรรมและชัดเจน
6. การบริหารที่มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล คุ้มค่า (Effectiveness, Efficiency, Economy)
Benchmarking มาตรฐานเปรียบเทียบ
มาตรฐานเปรียบเทียบ เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องในการเรียนรู้ที่จะวัด ประเมินผลปฏิบัติงานขององค์การ
เมื่อเทียบกับอดีตที่ผ่านมา เทียบกับองค์กรประเภทเดียวกันหรือองค์กรต่างประเภทแล้วเป็นอย่างไร เพื่อหากิจกรรมที่ได้รับว่ามีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) แล้วนำมาสร้างความเป็นเลิศให้องค์การ
- เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เกิดการพัฒนาองค์กร
- วัดและเปรียบเทียบกับองค์กรที่ทำได้ดีกว่า เข้าไปศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีปฏิบัติงานของเขา แล้วนำผลมาเปรียบเทียบ เพื่อใช้ในการปรับปรุงองค์กร
- ส่วนใหญ่เป็นการเรียนรู้ภายนอกองค์การ
- เมื่อได้ความรู้มาแล้ว ก็จะใช้ KM มาเป็นเครื่องมือช่วยสร้างการเรียนรู้เพื่อพัฒนาองค์กร
KM (Knowledge Management) การจัดการความรู้
เป็นเครื่องมือที่ใช้ใน มุมมองด้านองค์การเรียนรู้ / การพัฒนาองค์กร
KM เป็นกระบวนการที่นำความรู้ที่มีอยู่หรือที่เรียนรู้มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร โดยผ่าน
กระบวนการต่าง ๆ
1. ค้นหา รู้ว่าองค์การมีความรู้อะไรบ้าง รู้เรา
2. การสร้างและแสวงหาความรู้ ดึงความรู้มารวบรวม และแสวงหาเพิม่ จากภายนอกองค์กร
3. การจัดความรู้เป็นระบบ สามารถค้นหาและใช้ประโยชน์ได้
4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ ให้อยู่ในรูปแบบและภาษาที่เข้าใจง่าย
5. การเข้าถึงความรู้
6. การแบ่งปันและแลกเปลี่ยนความรู้ จัดเก็บในรูปแบบเอกสาร หรือนำเทคโนโลยีมาช่วย
7. การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ
กระบวนการจัดการความรู้ เป็นเครื่องมือให้คนหลากหลายทักษะ หลากหลายวิธีคิด ทำงานร่วมกันอย่าง
สร้างสรรค์ ร่วมกันพัฒนาวิธีทำงานในรูปแบบใหม่ ๆ ทดลองการเรียนรู้ และนำเข้าความรู้จากภายนอกมาปรับใช้
อย่างเหมาะสม มี เป้ าหมาย คือ - เพื่อพัฒนางาน - เพื่อพัฒนาคน -เพื่อพัฒนา ฐานความรู้ทุนความรู้หรือทุน
ปัญญาขององค์กรจะช่วยทำให้องค์กรมีศักยภาพในการฟันฝ่าความไม่แน่นอนในอนาคตได้ดีขึ้น
องค์ประกอบ KM
- คน : แหล่งความรู้และนำไปใช้
- เทคโนโลยี : เครื่องมือ ค้นหา จัดเก็บ แลกเปลี่ยน นำความรู้ไปใช้
- กระบวนการจัดการ : วิธีการบริหารเพื่อนำความรู้ไปใช้
ปัจจัยที่ทำให้การจัดการความรู้ประสบความสำเร็จ
1. ภาวะผู้นำและกลยุทธ์
2. วัฒนธรรมองค์กร
3. เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการจัดการความรู้
4. การวัดผล ทำให้องค์กรทราบถึงสถานะปัจจุบัน เพื่อนำไปทบทวนและปรับปรุง
5. โครงสร้างพื้นฐาน องค์กรควรให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้กันอย่างสะดวก เช่น สถานที่ เครื่องมืออุปกรณ์
สรุป หากองค์กรสามารถบริหารปัจจัยทั้ง 5 ประการอย่างเป็นระบบ เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และมีความ
สอดคล้องเชื่อมโยงกันแล้ว การจัดการความรู้ก็จะไม่ใช่เรื่องยาก
LO (Learning Organization) องค์การแห่งการเรียนรู้
แนวคิดในการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ คือ การทำให้คนในองค์การเรียนรู้ปัจจัยต่าง ๆ ทั้งภายในและ
ภายนอก เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาตนเอง พัฒนาองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งต้องมีการจัดการคามรู้ควบคู่ไป
ด้วยเสมอ
LO เป็นกระบวนการบริหารรูปแบบใหม่ที่ให้ความสำคัญต่อ
- การพัฒนาความเป็นผู้นำ
- การเรียนรู้ของบุคลากรภายในองค์กร
- เน้นรูปแบบการทำงานเป็นทีม
- เสริมสร้างการเรียนรู้ร่วมกัน
- สร้างสรรค์ความคิดและความใจในการทำงานอย่างเป็นระบบ โดยประสานรับกันระหว่างหน่วยงาน
- เพื่อพัฒนาองค์กรให้เข้มแข็งและสร้างข้อได้เปรียบในการแข่งขัน
เรียนรู้เพื่อ
- เชื่อมโยงระหว่างกลยุทธ์ขององค์กรกับกระบวนการเรียนรู้
- สร้างผู้นำ
- สร้างทีมงานในการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เกิดนวัตกรรม
Learning Model
องค์ประกอบที่สำคัญซึ่งนับว่าเป็นหัวใจของการเป็น องค์กรแห่งการเรียนรู้คือ วินัย 5 ประการซึ่ง
Peter M Senge กล่าวไว้
1. บุคคลที่รอบรู้ (Personal Mastery)
หมายถึง การเรียนรู้ของบุคลากรจะเป็นจุดเริ่มต้น คนในองค์กรจะต้องให้ความสำคัญกับ การเรียนรู้
ฝึกฝน ปฏิบัติ และเรียนรู้อย่างต่อเนื่องไปตลอดชีวิต (Lifelong Learning) เพื่อเพิ่มศักยภาพของตนเองอยู่เสมอ
2. รูปแบบความคิด (Mental Model)
หมายถึง แบบแผนทางความคิด ความเชื่อ ทัศนคติ จากการสั่งสมประสบการณ์กลายเป็นกรอบความคิดที่
ทำให้บุคคลนั้น ๆ มีความสามารถในการทำความเข้าใจ วินิจฉัย ตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม คิดแบบ
บูรณาการ
3. การมีวิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision)
หมายถึง การสร้างทัศนคติร่วมของคนในองค์กรให้สามารถมองเห็นภาพและมีความต้องการที่จะมุ่งไปใน
ทิศทางเดียวกัน เป็นการมองในระดับความมุ่งหวัง เปรียบเสมือนหางเสือของเรือที่ขับเคลื่อนให้เรือนั้นมุ่งสู่เป้าหมายในทิศทางที่รวดเร็ว ประหยัดและปลอดภัย
4. การเรียนรู้เป็นทีม (Team Learning)
หมายถึง การเรียนรู้ร่วมกันของสมาชิกในลักษณะกลุ่มหรือทีมงาน เป็นเป้ าหมายสำคัญที่จะต้องทำให้
เกิดขึ้น เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์กันอย่างสม่ำเสมอ เพื่อก่อให้เกิดการร่วมมือกัน
แก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
5. การคิดเชิงระบบ (System Thinking)
หมายถึง การที่คนในองค์กรมีความสามารถที่จะเชื่อมโยงสิ่งต่างๆ โดยมองเห็นภาพความสัมพันธ์กันเป็น
ระบบได้อย่างเข้าใจและมีเหตุมีผล เป็นลักษณะการมองภาพรวมหรือระบบใหญ่ ก่อนว่าจะมีเป้ าหมายในการทำงานอย่างไร แล้วจึงสามารถมองเห็นระบบย่อย ทำให้สามารถนำไปวางแผน และดำเนินการทำส่วนย่อย ๆ นั้นให้เสร็จทีละส่วน
ในการขับเคลื่อนองค์การแห่งการเรียนรู้ต้องสามารถขับเคลื่อนได้ทั้งองค์การโดยผ่านการขับเคลื่อนทางกลยุทธ์ที่มีการคิดเชิงระบบที่เชื่อมโยงสนับสนุนกันโดยอาศัยเครื่องมือต่าง ๆ ทางการบริหารและทางการพัฒนาคุณภาพมาใช้ให้ถูกต้อง ถูกที่ ถูกเวลา

ภายใต้สภาวะปัจจุบัน รัฐบาลจำเป็นต้องมีการปฏิรูปในลักษณะองค์รวมเพื่อเปลี่ยนแปลงระบบบริหาร
ภาครัฐให้ไปสู่ รูปแบบการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ ” (เฉลิม ศรีผดุง, 2548)
- ที่เน้นการทำงานโดยยึดผลลัพธ์เป็นหลัก
- มีการวัดผลลัพธ์และค่าใช้จ่ายอย่างเป็นรูปธรรม
- ให้ความรับผิดชอบต่อผู้ทำงานแทนการควบคุม
- มีความโปร่งใสในการตัดสินใจ
- วิธีทำงานมีความรวดเร็วและคล่องตัว
- เพื่อสนองตอบความต้องการของสังคม
- เป็นระบบที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง
วิธีการบริหารงานภาครัฐ
จากเดิม ที่ให้ความสำคัญต่อทรัพยากร หรือ ปัจจัยนำเข้า (input) และอาศัยกฎระเบียบเป็นเครื่องมือใน
การดำเนินงานเพื่อให้เกิดความถูกต้อง สุจริต และเป็นธรรม
แบบใหม่ หันมาเน้นถึง วัตถุประสงค์ และ สัมฤทธ์ิผลของการดำเนินงาน ทั้งในแง่ของผลผลิต(output) และ ผลลัพธ์ (outcome) และ ความคุ้มค่าของเงิน (value for money) รวมทั้งการพัฒนาคุณภาพและสร้างความพึงพอใจให้แก่ประชาชนผู้รับบริการ โดยนำเอาเทคนิควิธีการบริหารจัดการสมัยใหม่เข้ามาประยุกต์ใช้มากขึ้น
การปฏิรูประบบราชการ คือ การเปลี่ยนแปลงระบบราชการอย่างขนานใหญ่ ในทุกด้าน ตั้งแต่
- บทบาทหน้าที่                                                   - โครงสร้างหน่วยงาน
- โครงสร้างอำนาจหน้าที่                                                 - ระบบและวิธีทำงาน
- ระบบบริหารงาน                                             - กฎระเบียบ วัฒนธรรม ค่านิยม
การปฏิรูประบบราชการจะทำให้ระบบราชการเป็น    - เป็นองค์กรสมัยใหม่ มีระบบที่สร้างสรรค์
- มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ประหยัด
  (เอื้อต่อการพัฒนาประเทศ)
- สร้างความผาสุกให้แก่สังคมโดยยึดหลักธรรมาภิบาล

การบริหารภาครัฐแนวใหม่ New Public Management
เป็นแนวของการบริหารจัดการภาครัฐซึ่งจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงระบบต่าง ๆ ของภาครัฐและยุทธศาสตร์ด้านต่าง ๆ มี แนวทางในการบริหารจัดการ ดังนี้
1. ให้ความสำคัญต่อโครงสร้างและการกระจายอำนาจ
- ปรับภารกิจและโครงสร้าง เช่น การจัดโครงสร้างองค์กรแบบ TOWS matrix (SO, WO, ST,WT)
- กระจายอำนาจ ในการดำเนินงานและตัดสินใจ
2. ลดบทบาทของรัฐ
- ลดกฎระเบียบ
- ลดจำนวนข้าราชการลง นำเทคโนโลยีมาใช้ให้มากขึ้น
- แปรรูปกิจกรรมภาครัฐให้เป็นเอกชน
3. ทำให้ระบบราชการทันสมัย
- นำ IT มาใช้มากขึ้น
- ให้ความสำคัญต่อการเพิ่มผลผลิตและผลสำเร็จของงาน นำแนวคิด NPM มาใช้ การบริหารมุ่ง
   ผลสัมฤทธิ์
- ปรับปรุงการให้บริการ
- การจัดการเชิงกลยุทธ์
4. ให้ความสำคัญต่อการทำงานของข้าราชการ
4.1 การปรับปรุงระบบการบริหารงานบุคคลของภาครัฐ
- บริหารอัตรากำลัง
- การสรรหา
- การประเมิน
- การกำหนดตำแหน่ง
- ลดค่าใช้จ่าย
- เพิ่มความสามารถในการทำงาน
4.2 การประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการ
เทคนิคที่ใช้คือ KPI, BSC โดยการสร้างตัวชี้วัด กำหนดเป้ าหมาย ประเมินผลกับเป้ าหมายที่กำหนด
4.3 การเพิ่มอำนาจให้แก่ข้าราชการ
การจัดการภาครัฐสมัยใหม่ให้ความสำคัญต่อการส่งมอบบริการที่ดีให้แก่ประชาชน ดังนั้น จึงต้องเพิ่มอำนาจให้แก่ข้าราชการ ทำให้ลดขั้นตอนการทำงานให้สั้นลง เพิ่มความรวดเร็วในการให้บริการ
4.4 การกำหนดมาตรฐานจริยธรรมของข้าราชการ
เป็นข้อสอบเก่า
1. จงอธิบายศัพท์เฉพาะด้านองค์การสาธารณะ และให้วิเคราะห์ว่ามีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันหรือไม่ อย่างไร
1. BUREAUCRACY (องค์การราชการขนาดใหญ่) โดยนักทฤษฎีคือ Max Weber ได้เสนอหลักการจัดการองค์การขนาดใหญ่ เรียกว่า ระบบราชการ มีหลักสำคัญดังนี้
1.1 การแบ่งงานชัดเจน
1.2 มีกฎระเบียบและวิธีปฏิบัติงานอย่างเป็นทางการ
1.3 ปราศจากการเลือกปฏิบัติ
1.4 กำหนดลำดับชั้นของอำนาจหน้าที่อย่างชัดเจน
1.5 ความหน้าในงานเป็นไปตามระบบคุณธรรม
2. SCIENTIFIC MANGEMENT (การจัดการแบบวิทยาศาสตร์) โดยนักทฤษฎีคือ Frederick
Taylor ได้เสนอวิทยาการจัดการ โดยมีหลักสำคัญดังต่อไปนี้
2.1 พัฒนาศาสตร์ของงาน เพื่อหาวิธีทำงานที่ดีที่สุด (One best way)
2.2 ฝึกอบรมพนักงานที่มีความสามารถเหมาะสมกับงาน
2.3 มีการจูงใจอย่างเหมาะสม จ่ายค่าตอบแทนตามสัดส่วนของงาน แทนการจ่ายตามชั่วโมงการ
ทำงาน
3. EFFICIENCY AND ECONOMY (ประสิทธิภาพและประหยัด)
Efficiency (ประสิทธิภาพ) หมายถึง การทำงานที่ได้ผลลัพธ์ออกมามากกว่าหรือเท่ากับทรัพยากรที่ใช้ไป
Effectiveness (ประสิทธิผล) หมายถึง การทำงานบรรลุเป้ าหมายที่องค์การกำหนดไว้
Economy (ประหยัด) คือ การใช้ต้นทุนหรือวัตถุดิบในการผลิตที่คุ้มค่าเมื่อเทียบกับผลผลิตที่ออกมา
ดังนั้น ประสิทธิภาพและประหยัด คือ การปฏิบัติงานเพื่อให้ได้ผลงานเป็นที่พอใจ ภายใต้การใช้ทรัพยากร
หรือปัจจัยนำเข้าและสิ่งของต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างคุ้มค่า
4. HUMAN RELATIONS (มนุษย์สัมพันธ์) เป็นกลุ่มแนวคิดหนึ่ง โดยกลุ่มแนวคิดมนุษยสัมพันธ์มี
ฐานความเชื่อ ดังนี้
4.1 ต้องการให้ความสำคัญคนในองค์การ
4.2 องค์การจะเติบโตได้ก็เพราะมนุษย์
4.3 องค์การต้องตอบสนองความต้องการของมนุษย์
ให้ความสำคัญกับทรัพยากรมนุษย์ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญในการขับเคลื่อนองค์กร โดยมีนักทฤษฎีที่เสนอ
แนวทางต่าง ๆ เช่น
- Elton Mayo พฤติกรรมมนุษย์ในการทำงานมิได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยทางเศรษฐกิจหรือการเงิน
เพียงอย่างเดียว แต่เกิดจากค่านิยม ความเชื่อและอารมณ์
- Barnard มองว่าองค์การเป็นระบบของการร่วมแรงร่วมใจกันอย่างมีสติอันแรงกล้าตั้งแต่ 2 คน
ขึ้นไป และผู้บริหารต้องคำนึงถึงทั้งงานที่จะต้องทำและความต้องการของคนที่จะเป็นผู้ทำงานด้วยโดยการ
โน้มน้าวจิตใจ 2 ประการคือ 1) การโน้มน้าวจิตใจเฉพาะเจาะจง เช่น เงิน เกียรติยศ ความภูมิใจ 2) การ
โน้มน้าวจิตใจทั่วไป
- McGregor ทฤษฎี X Y (X ร้าย, Y ดี)
- Bennis จัดโครงสร้างองค์การให้เป็นแบบคล่องตัว (แย้ง Weber)
5. BOUNDED RATIONALITY (การตัดสินใจอย่างมีเหตุผลภายใต้กรอบจำกัด) ซึ่งนักทฤษฎีคือ
Herber A. Simon ได้กล่าวว่าทฤษฏีการบริหารคือ ทฤษฎีของความมีเหตุผล ภายใต้ข้อจำกัด ได้แก่ ทักษะ ความชำนาญ ค่านิยม ความรู้ ตลอดจนข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นการตัดสินใจจึงไม่สามารถตัดสินใจให้ดีที่สุดได้แต่เป็นการตัดสินใจตามความพอใจในขณะนั้น ภายใต้กรอบจำกัดที่มีอยู่
6. INOVATION (นวัตกรรม) หมายถึง ผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการในองค์การ เป็นของใหม่ที่เกิดขึ้น
ในองค์กร เป็นการเกิดขึ้นด้วยความตั้งใจ ไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงที่เป็นงานประจำ องค์กรได้รับประโยชน์จากการ
เปลี่ยนแปลงและมีผลกระทบต่อสาธารณะ เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพ
และประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วยประหยัดเวลา และแรงงานได้ด้วย
ทอมัส ฮิวช์ (Thomas Hughes) ได้ให้ความหมายของ นวัตกรรมว่าเป็นการนำวิธีการใหม่ ๆ มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ แล้ว เริ่มตั้งแต่การคิดค้น (Invention)
การพัฒนา (Development) ซึ่งอาจจะเป็นไปในรูปของ โครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project) แล้วจึง
นำไปปฏิบัติจริง ซึ่งมีความแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา
7. ENVIEONMENT (สภาพแวดล้อม) ปัจจุบันเนื่องจากเป็นโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงและเทคโนโลยี
หรือ โลกาภิวัฒน์ (Globalization) โดยที่การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เกิดจากสภาพแวดล้อมทั้งภายนอกและภายใน
องค์การเอง กล่าวคือ
สภาพแวดล้อมทั่วไป หรือ STEP
P = Politics นโยบาย กฎเกณฑ์
E = Economics เศรษฐกิจระดับมหภาค
S = Sociocultural สังคม และ วัฒนธรรม
T = Technology วิทยาการ
สภาพแวดล้อมของงาน : ใช้ Five forces model
- คู่แข่งรายใหม่ - การแข่งขันในกิจการ
- ผู้จัดหา - ลูกค้า
- ผลิตภัณฑ์ทดแทน
ทั้งเจ็ดหัวข้อที่ได้อธิบายความหมายมานั้น ล้วนมีความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกัน เพราะองค์การราชการ
ขนาดใหญ่จะดำเนินกิจกรรมไปไม่ได้หากไม่มีแนวคิดมนุษยสัมพันธ์ เป้ าประสงค์ขององค์การราชการขนาดใหญ่ ก็คือผลประโยชน์สาธารณะที่มีต่อประชาชน ภายใต้หลักประสิทธิภาพและประหยัด จึงต้องมีการนำหลักการจัดการแบบวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ เช่น การฝึกอบรมข้าราชการที่มีความสามารถและเหมาะสมกับงานให้เป็นผู้ชำนาญการเฉพาะทาง เป็นต้น พร้อม ๆ กับการส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุต่อเป้ าประสงค์ที่ตั้งไว้
อย่างไรก็ตาม บางครั้งการดำเนินกิจกรรมขององค์การราชการขนาดใหญ่อาจประสบกับปัญหาอุปสรรคได้เช่นกัน เพราะบางครั้งการตัดสินใจแม้จะเป็นการตัดสินใจอย่างมีเหนุผล แต่ก็เป็นการตัดสินใจภายใต้กรอบจำกัด
อีกทั้งสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ก็เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่มีผลต่อการบรรลุเป้าประสงค์
ขององค์การฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น