วันพุธที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

แนวสอบประมวล การบริหารทรัพยากรมนุษย์


ทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐ 
Human  Resource  (ทรัพยากรมนุษย์) มีความหมายอย่างกว้างๆ คือ  ผลรวมของความรู้  ความชำนาญ  ความถนัดของประชากรทั้งหมดในประเทศ  จึงกล่าวได้ว่า  ทรัพยากรมนุษย์ คือ  ผลรวมทั้งปริมาณและคุณภาพ  ทั้งนี้  ผลรวมด้านปริมาณ  คือ จำนวนและการกระจายของประชากรและกำลังงาน  ส่วนผลรวมด้านคุณภาพ  คือ  ความรู้  ความชำนาญ  ความถนัด  คุณค่า  และแรงจูงใจ
                แนวความคิดที่เน้น คน (ทรัพยากรมนุษย์)  เป็นศูนย์กลางของการพัฒนา  คือ  คนเป็นผู้บริหารจัดการ  ปัจจัยที่เกี่ยวข้องแบบองค์รวม  ได้แก่  ครอบครัว  ชุมชน  สังคม  เศรษฐกิจ  การเมือง  และทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
Human  Resource  Development (HRD) (การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์)  เป็นกระบวนการเพิ่มความรู้  ความชำนาญ  และความสามารถโดยรวมของประชากรในสังคม  ดังนั้น  การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  จึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ทรัพยากรมนุษย์เพียงพอใจแง่ปริมาณ  และเป็นมนุษย์ที่มีคุณภาพ  และมีบทบาทสร้างสรรค์ความเจริญทั้งด้านเศรษฐกิจ  สังคม  และการเมือง  อย่างสมดุล
                กระบวนการเพิ่มความรู้  ความชำนาญและความสามารถโดยรวมของประชาชนในสังคม
สามารถพิจารณาในด้านต่างๆ ได้ดังนี้
1. เศรษฐกิจ อธิบายการลงทุนด้านการศึกษา  อนามัย ฯลฯ  เปรียบเทียบกับรายได้และผลต่อสังคม
2.ด้านการเมือง ทำให้เกิดวุฒิภาวะทางการเมืองในฐานะพลเมืองในระบบประชาธิปไตย
3.ด้านสังคมและวัฒนธรรม นำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น  รวมทั้งการพัฒนา ด้านจิตใจ คุณธรรมและวัฒนธรรม
Human  Capital (ทุนมนุษย์)  หมายถึง  กิจกรรมต่างๆ หรือพฤติกรรมต่างๆ  ซึ่งจะมีผลต่อระดับรายได้ที่เป็นเงิน หรือ ผลทางจิตวิทยาในอนาคต  โดยผ่านการเพิ่มพูนในตัวบุคคล (ความรู้ความชำนาญ)
กิจกรรมด้านการลงทุน เพื่อเพิ่มปริมาณทุนมนุษย์
-                   การศึกษา
-                   การฝึกอบรม
-                   การปรับปรุงสุขภาพอนามัย
-                   การจัดสรรเวลา 
การใช้ทุนมนุษย์
-                   การแสวงหางานของแรงงาน
-                   การโยกย้ายถิ่นของแรงงาน 
Human  Resource  Management (HRM) (การบริหารทรัพยากรมนุษย์)     (3 R’s)  คือ  กิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ การบริหารงานทั่วไปในองค์กร  -  การวางแผน  การบัญชีการเงิน  การจัดการคุณภาพ  สาธารณูปโภค  ให้บุคลากรในองค์การนั้นๆ สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  เต็มความรู้ความสามารถของแต่ละบุคคลให้มากที่สุด  ขณะเดียวกันก็เพิ่มความรู้ความสามารถให้กับบุคลากรนั้นๆ เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจและความก้าวหน้า  และการให้บุคลากรอยู่ในองค์กรได้ตลอด  คือการใช้คนให้ถูกวิธี  ให้เหมาะกับงาน  รักษาคนดีให้อยู่ในองค์การได้นาน  โดยมี 3 ขั้นตอน ที่สำคัญ  คือ
1. (Recruit) การได้มาซึ่งทรัพยากรมนุษย์  มีกิจกรรมสำคัญ 4 อย่างคือ  การวางแผน  การสรรหา  การคัดเลือก  การปฐมนิเทศ
2. (Retention) การรักษาและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  มีกิจกรรม 6 อย่างคือ  การวัดเพื่อประเมินผลงาน  การอบรมและการพัฒนา  การวินัยและการรักษาวินัย  การบริหารค่าตอบแทน  การสอนงานและการให้คำแนะแนว  สุขภาพและความปลอดภัย
3. (Retire) การพ้นจากองค์การหรือการทำงาน  มีกิจกรรม 3 อย่างคือ  การสัมภาษณ์เมื่อพ้นองค์การ  การช่วยหางานใหม่  การวางแผนเกษียณอายุ
กระบวนการบริหารทรัพยากรบุคคล
1.  วางแผนกำลังคน
-  กำหนดตำแหน่ง และ อัตราเงินเดือน 
-  การสรรหาเลือกสรร
2.  การบรรจุแต่งตั้ง
-  การทดลองปฏิบัติราชการ
-  การฝึกอบรม
3.  การเลื่อนตำแหน่ง
-  การประเมินผลการปฏิบัติงาน
4.  การพ้นจากราชการ
-  สวัสดิการ
-  การพัฒนาบุคคล
-  การเลื่อนขั้นเงินเดือน
Competency (สมรรถนะ)  หมายถึง  คุณลักษณะเชิงพฤติกรรมที่เป็นผลมาจากความรู้ ทักษะ / ความสามารถ  ตลอดจนทัศนคติที่จำเป็นในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล  และคุณลักษณะอื่น  ทำให้บุคคลสามารถสร้างผลงานได้โดดเด่นกว่าเพื่อนร่วมงานคนอื่นๆ  ผลงานนั้นวัดได้ โดยใช้ KPI 
พฤติกรรมของผู้ที่มีผลการปฏิบัติงานยอดเยี่ยมในงานหนึ่งๆ ประกอบด้วย สมรรถนะได้ดังนี้
1.       การมุ่งผลสัมฤทธิ์  หมายถึง  ความมุ่งมั่นการปฏิบัติงานให้ดีตลอดจนการสร้างสรรค์พัฒนาผลงาน
2.       การบริการที่ดี  หมายถึง  ความตั้งใจและพยายามบริการเพื่อสนองความต้องการผู้ใช้บริการ
3.       การสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ  หมายถึง  ขวนขวาย  สนใจใฝ่รู้  พัฒนาศักยภาพ  ความรู้ความสามารถของตน  เพื่อมาปรับปรุงให้เข้ากับงาน
4.       จริยธรรม  หมายถึง  การครองตนและประพฤติปฏิบัติถูกต้องเหมาะสมตามหลักกฎหมายและคุณธรรมจริยธรรม  ตลอดจนหลักแนวทางในวิชาชีพของตน
5.       ความร่วมแรงร่วมใจ  หมายถึง  ความตั้งใจที่จะทำงานร่วมกับผู้อื่น
6.       ความสามารถในเชิงคิดวิเคราะห์  หมายถึง  ความสามารถด้านการคิด  แยกแยะภายใต้สถานการณ์เพื่อประกอบกับองค์ความรู้
7.       ความสามารถในเชิงจัดการ หมายถึง  ความสามารถในการจัดการโดยมีความตั้งใจทำให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธผล
8.       ความสามารถในการปฏิบัติงานร่วมกับบุคคลและกลุ่มบุคคล  หมายถึง  ความสามารถในการรับรู้และเข้าใจถึงความต้องการของบุคคล  ติดต่อกับบุคคลได้ทุกระดับ 
9.       คุณลักษณะเฉพาะบุคคลที่สำคัญต่อผลสำเร็จของงาน  หมายถึง  ลักษณะเฉพาะบุคคล
10.ความสามารถเพื่อสนองตอบปัจจัยความเปลี่ยนแปลงและสนับสนุนการเปลี่ยนแปลง  หมายถึง  ความสามารถในการจัดสรร  ตอบสนอง  และให้การสนับสนุนในการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อองค์กร และบุคคล
Competency (สมรรถนะ)  หลักของข้าราชการ 5 ด้าน
1.             การมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Achievement  Motivation)
2.             บริการที่ดี (Service)
3.             การสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ (Expertise)
4.             จริยธรรม (Integrity)
5.             ความร่วมแรงร่วมใจ (Teamwork)
Core Competency (ความสามารถหลัก)  คือการถามว่าอะไรเป็นจุดแข็งที่เป็นเสมือนปัจจัยนำเข้าที่จะผลักดัน วิสัยทัศน์  พันธะกิจ และเป้าหมายขององค์กรให้สำเร็จ  เพราะข้อมูลต่างๆ เหล่านี้จะเป็นเข็มทิศชี้นำทางว่าควรกำหนดความสามารถหลักอย่างไร  มี 7 ตัว
S – Self  Learning  การเรียนรู้ด้วยตนเอง
E – Efficiency    ประสิทธิภาพ
R – Responsibility  ความรับผิดชอบ
V – Vision  Focus  มุ่งสู่เป้าหมาย
I – Initiative  นวัตกรรม
C – Customer  Service  การให้บริการลูกค้า
E – Ethics and                    จรรยาบรรณและความซื่อสัตย์
Job  Competency  (ความสามารถในงาน) 
-         ความสามารถที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการงาน  เช่น  ผู้บริหารควรมีความสามารถในด้านการบริหารจัดการงาน  3 ด้าน  คือ  คิดเชิงกลยุทธ์, การวางแผน, การมีวิสัยทัศน์
-         ความสามารถที่เกี่ยวข้องกับงานด้านเทคนิค  กำหนดขึ้นตามความรับผิดชอบและลักษณะงานที่แตกต่างกันไป
วิธีการกำหนด Job  Competency  ต้องถูกกำหนดขึ้นจากขอบเขตงานหรือลักษณะงานที่รับผิดชอบตามตำแหน่ง  โดยต้องวิเคราะห์จาก  ความรู้  ทักษะ  และคุณลักษณะพิเศษส่วนบุคคลของแต่ละบุคคล  เช่น  ความซื่อสัตย์  ความน่าเชื่อถือ
                เมื่อได้ Job และ Core แล้ว  การนำมาประยุกต์ใช้ในด้านการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในแง่ต่างๆ
1.   การสรรหาและการคัดเลือก โดยการสัมภาษณ์  ในการตั้งคำถามโดยเน้นให้ผู้สมัครเล่าเหตุการณ์  การกระทำ  ผลลัพธ์  ที่เกิดขึ้นบนพื้นฐานที่ถูกคัดเลือก
2.   การฝึกอบรมและการพัฒนา เป็นการประเมินหาช่องว่างความสามารถ  หาจุดแข็ง จุดอ่อนของพนักงาน  เพื่อหาวิธีการและแนวทาง  เพื่อเสริมจุดแข็งและพัฒนาจุดอ่อน
3.   การจูงใจและการรักษาพนักงาน การนำเอาความสามารถของตัวพนักงานมาใช้ในการจูงใจและรักษาพนักงานในองค์การ  โดยให้พนักงานรู้สึกรัก  ผูกพัน  ทุ่มเท  มุ่งมั่นในการทำงานในองค์การโดยมีปัจจัย
ปัจจัยที่มิใช่ตัวเงิน
-  การจัดทำผังความก้าวหน้าในสายอาชีพ  เช่น  เลื่อน  โอนย้าย  เปลี่ยนงาน
-   จัดทำแผนทดแทน  เป็นการหาผู้สืบทอดตำแหน่งเพื่อพัฒนาความสามารถของบุคคล
-   บริหารคนดีมีฝืมือ  โดยการกำหนดพนักงานคนไหนมีความรับผิดชอบพอที่จะเป็น Talent  ขององค์การ
ปัจจัยที่เป็นตัวเงิน -  ปรับเงินเดือน, การให้โบนัส  ฯลฯ
4.  การใช้คนให้เกิดประโยชน์ การเลือกใช้คนให้ถูกต้อง  เหมาะสมกับงานและเวลา  เหมาะสมกับความสามารถในตำแหน่งงานที่ทำ 
องค์ความรู้เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  ยุคโลกาภิวัตน์ 

การพัฒนาองค์การให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้  LO และการจัดการความรู้ KM
การจัดการความรู้ (Knowledge  Management : KM)
หมายถึง  การจัดการที่มีกระบวนการและเป็นระบบตั้งแต่การประมวลข้อมูล  สารสนเทศ  ความคิด  ตลอดจนประสบการณ์ของบุคคลเพื่อสร้างความรู้ มีผลกระทบต่อความรู้ที่เกิดขึ้นในองค์การ  คือ  การเปลี่ยนแปลง และจะต้องมีการจัดเก็บในลักษณะที่ผู้ใช้เข้าถึงได้อย่างสะดวก  เพื่อนำความรู้ไปใช้งานหรือเกิดการถ่ายทอดความรู้และแพร่ไปทั้งองค์การ  ซึ่งการนำ  KM มาประยุกต์ใช้กับองค์การเพื่อให้แรงขับเคลื่อนองค์การไปสู่การเป็น  องค์การแห่งการเรียนรู้  (LO)
                องค์ประกอบที่สำคัญของการจัดการความรู้  ได้แก่  คน  เทคโนโลยี  และกระบวนความรู้
องค์ประกอบทั้ง 3 ต้องเชื่อมโยงและบูรณาการกัน
-   คน  : องค์ประกอบสำคัญที่สุด  เป็นแหล่งความรู้และเป็นผู้นำความรู้ไปใช้
-   เทคโนโลยี : เป็นเครื่องมือเพื่อให้คนสามารถค้นหา  จัดเก็บ  แลกเปลี่ยน  รวมทั้งนำความรู้ให้ใช้ได้ง่ายและรวดเร็ว
-   กระบวนการความรู้ : เป็นการบริหารจัดการเพื่อนำความรู้จากแหล่งความรู้ไปให้ผู้ใช้
ปัจจัยที่เอื้อให้การจัดการความรู้ประสบความสำเร็จ
1.  ภาวะผู้นำและกลยุทธ์
                -  ผู้บริหารเข้าใจและคำนึงถึงประโยชน์  เพื่อสื่อสารผลักดันให้จัดการความรู้
                -  ทิศทางและกลยุทธ์ที่ชัดเจน  ว่าจัดการความรู้เพื่ออะไร
2.  วัฒนธรรมขององค์การ
                วัฒนธรรมการแลกเปลี่ยนความรู้  ประสบการณ์  ต้องได้รับการสนับสนุน
3.  เทคโนโลยีสารสนเทศทางด้านการจัดการความรู้
                ค้นหา  นำความรู้ไปใช้  วิเคราะห์ข้อมูล  จัดเก็บข้อมูล
4.  การวัดผล
                เพื่อทราบสถานะองค์การ  สามารถทบทวน  ประเมินผล  ปรับปรุง
5.  โครงสร้างพื้นฐาน
                โครงสร้างหรือระบบรองรับบุคลากรให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้กัน  เช่น  สถานที่  เครื่องมืออุปกรณ์  โครงสร้างระบบงาน
                ทั้ง 5 ประการ  หากบริหารอย่างเป็นระบบ  ไปในทิศทางเดียวกัน  สอดคล้องเชื่อมโยงกัน  การจัดการความรู้ก็จะประสบความสำเร็จ
LEARNING  ORGANIZATION  องค์การแห่งการเรียนรู้



LEARNING  MODEL  แห่งการเรียนรู้

       องค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning  Organization : LO)
เป็นองค์การที่มีการสร้างช่องทางให้เกิดการถ่ายทอดความรู้ซึ่งกันและกัน  ภายในระหว่างบุคลากร  ควบคู่ไปกับการรับความรู้จากภายนอก  เป้าประสงค์สำคัญ  คือ  เอื้อให้เกิดโอกาสในการหาแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด  เพื่อนำไปสู่การพัฒนาและสร้างเป็นฐานความรู้ที่เข้มแข็งขององค์การ  เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา
Peter  Senge  เสนอแนวคิดในการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้  ซึ่งมีกรอบ 5 ประการ  คือ
1.  Personal  Mastery  (ความรอบรู้แห่งตน)  มีความรับผิดชอบ  มีจิตสำนึก  มีความกระตือรือร้น  สนใจ  ใฝ่รู้  ปรารถนาที่จะเรียนรู้
2.  Mental  Mastery  (แบบจำลองความคิด)  มีจิตสำนึก  มีสติ  มีความคิดอ่าน  มุ่งหวังที่จะปรับปรุงการปฏิบัติงาน
3. Team  Learning (การเรียนรู้เป็นทีม)  เป็นรากฐานของการพัฒนาไปสู่องค์การสมัยใหม่
4. Shared  Vision  (การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน)  เกิดจากการกระตุ้นของผู้นำ
5.  Systems  Thinking  (การคิดอย่างเป็นระบบ)  คิดทำความเข้าใจในสิ่งที่เกิดขึ้น  เชื่อมโยงเรื่องต่างๆ อย่างเป็นระบบ
ลักษณะขององค์การแห่งการเรียนรู้
องค์การที่มีการเรียนรู้จะมีลักษณะเป็นพลวัตร  โดยมีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา  สมาชิกขวนขวายหาความรู้อย่างต่อเนื่อง  มีการเผยแพร่แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน  เพื่อพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
องค์การแห่งการเรียนรู้  มีลักษณะดังนี้
1.  มีโครงสร้างเหมาะสม               ยืดหยุ่น  คล่องตัว  สายการบังคับบัญชาไม่มากเกินไป
2.  มีวัฒนธรรมในการเรียนรู้           สมาชิกสนใจใฝ่รู้ตลอดเวลา  ผู้บริหารสนับสนุน
3.  มีการกระจายอำนาจ  สมาชิกมีอิสระการปฏิบัติงาน  ตัดสินใจ  แก้ไขปัญหา
4.  มีการตรวจสอบการเปลี่ยนแปลง  เพื่อปรับองค์การให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง
5.  มีเทคโนโลยีสนับสนุน
6.  มุ่งเน้นคุณภาพในการให้บริการ
7.  เรียนรู้อย่างมีกลยุทธ์
8.  มีวิสัยทัศน์ร่วมกัน  ในการผลักดันให้การปฏิบัติงานมุ่งสู่เป้าหมาย
Balance  Scorecard
Balanced  Scorecard  (BSC)  ลิขิตสมดุล (เป็นตัวชี้วัดทั้งองค์การ และกระจายความสำคัญของปัญหาในการวัดผลการดำเนินงานโดยใช้  4  ด้าน ไม่ Fix ว่าจะต้องเท่ากันทุกด้านแต่ให้ 4 ด้านรวมกันเป็น 100%)
เป็นเทคนิคการติดตามผล (Monitoring) และการประเมินผล (Evaluation)  โดยจะเป็นเกณฑ์  และตัวชี้วัดในการวัดผลดำเนินงานในมุมมอง 4 ด้าน  ได้แก่
1. มุมมองด้านนวัตกรรมและการเรียนรู้  หรือ ด้านการเรียนรู้และการเจริญเติบโต
พิจารณาจากค่านิยมของหน่วยงานในการพัฒนาและสร้างสรรค์บริการใหม่ๆ รวมถึงการปรับปรุงกระบวนการทำงานให้ดีขึ้น 
2.  มุมมองของกระบวนการดำเนินงานภายในองค์การ
หน่วยงานให้ความสำคัญกับกระบวนการใดในการสร้างความพอใจให้กับลูกค้า  ซึ่งจะพิจารณาจากตัวแปรต่างๆ ได้แก่
-  วงจรเวลา
-  คุณภาพ
-  ทักษะของผู้ปฏิบัติ
-   ผลิตภาพ
3. มุมมองของลูกค้าของหน่วยงาน
-   ระยะเวลาในการให้บริการ (Time)
-   คุณภาพของสินค้าและบริการ (Quality)
-   ผลการปฏิบัติงาน (Performance)
-   การบริการ (Service)
4. มุมมองทางด้านผลตอบแทนทางการเงิน
เป็นเรื่องเกี่ยวกับผลตอบแทนทางการเงินและความสามารถในการบริหารงบประมาณ  โดยพิจารณาว่า   แผนงาน  ผลงาน  และผลลัพธ์ที่ได้บรรลุเป้าหมายเพียงใด
ประโยชน์ของ BALANCED  SCORECARD
1.  การแปลวิสัยทัศน์ ;  เพื่อการปฏิบัติงานที่เป็นรูปธรรม
2.  การติดต่อสื่อสารและเชื่อมความเข้าใจ ; ช่วยผู้บริหารในการสื่อสารและสร้างความเข้าใจในกลยุทธ์
3.  การวางแผนการดำเนินงาน ; องค์การสามารถบูรณาการแผนกลยุทธ์และแผนทางการเงินเข้าด้วยกัน
4. ข้อมูลย้อนกลับและการเรียนรู้ ; เกิดการเรียนรู้เชิงกลยุทธ์ว่าองค์การสามารถบรรลุเป้าหมายในปัจจุบันและความต้องการเชิงกลยุทธ์ในระดับที่สมดุลกัน
Human  Resource  Competency (HRC) (การบริหารสมรรถนะทรัพยากรมนุษย์)
1.  ต้องรู้และเข้าใจในงานองค์กร
2.  ต้องสร้างความเชื่อมั่น  เชื่อถือ  และซื่อสัตย์
3.  ต้องรู้และเข้าใจในคนขององค์การ
Human  Resource  Planning : HRP (การวางแผนทรัพยากรมนุษย์)  หมายถึง (Walker) กระบวนการวิเคราะห์ความต้องการกำลังคนขององค์การ  ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง  รวมถึงกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
ประโยชน์ของการวางแผนทรัพยากรมนุษย์
1.  ปรับปรุงการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรมนุษย์ของหน่วยงาน
2.  ทรัพยากรมนุษย์ทำงานมุ่งไปสู่เป้าหมายของหน่วยงาน
3.  สร้างความรอบคอบเกี่ยวกับกำลังคนได้ล่วงหน้า
4.  พยากรณ์ปัญหาเกี่ยวกับกำลังคนได้ล่วงหน้า  (งานล้นคน-คนล้นงาน)
5.  เตรียมมาตรการรับมือปัญหากำลังคนได้แต่เนิ่นๆ
6.  นำไปสู่การพัฒนา- การเกลี่ยอัตรากำลังให้เหมาะสม
Human  Resource  Scorecard เป็นตัวชี้วัดทรัพยากรมนุษย์  โดยใช้ ความรู้  ความสามารถ  ทักษะ  การทำงาน  ประสบการณ์  คุณลักษณะของแต่ละบุคคล  มาวัด
ลักษณะ ผู้นำ  CEO
1.  ซื่อสัตย์  และมีจรรยาบรรณ
2.  มีความรู้สึกที่มั่นคงในตนเอง
3.  ควบคุมอารมณ์ตัวเองได้
4.  อดทนเสมอ
5.  พัฒนาตัวเองอย่างสม่ำเสมอ
6.  มีสติมาก่อนวาจา  คิดก่อนทำ
7.  เป็นนักสร้างโอกาส
8.  ขอให้ถ่อมตัวเสมอ
9.  ต้องมีความกล้า
10.  ต้องมีอารมณ์ขัน
11.  เป็นคนละเอียด  รอบคอบ
12.  มีความสามารถ
13.  สนับสนุนเพื่อนร่วมงาน
14.  พร้อมยอมรับความผิดพลาด
15.  เป็นคนตรงไปตรงมา
16.  เป็นสุภาพชน
17.  ขอให้ถามเสนอ
18.  มีความยืดหยุ่น
9.  มีน้ำใจนักกีฬา
20.  มีทักษะในการพูด
 Senior  Executive  Service : SES (การจัดระบบนักบริหารระดับสูง)
                หมายถึง  เป็นระบบที่เชื่อว่านักบริหารระดับสูงเป็นตัวขับเคลื่อนตัวหนึ่งในการปฏิรูประบบราชการ  จำเป็นต้องมีการสร้างและพัฒนานักบริหารระดับสูงในภาครัฐ
วัตถุประสงค์
                เพื่อสร้างและพัฒนาผู้นำยุคใหม่ที่มีความรู้ความสามารถและปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  มีเจ้าหน้าที่เพียงพอสำหรับการปรับเปลี่ยนระบบราชการ  รวมทั้งทำให้ระบบการแต่งตั้งมีความโปร่งใสและเป็นธรรม
หลักการและเหตุผล                          
SES -  เน้นให้เป็นนักบริหารมืออาชีพ พัฒนาก่อนเข้าสู่ระบบ - พัฒนาภายหลังเข้าสู่ระบบ
การพัฒนาก่อนเข้าสู่ระบบ  คือการคัดเลือก  การทดสอบ  การขึ้นบัญชีนักบริหารระดับสูง  ปรับปรุงหลักสูตร  วิธีการฝึกอบรมและการประเมินผลให้เข้ม
                การพัฒนาภายหลังเข้าสู่ระบบ  โดยยึดหลักสมรรถนะหลักของการบริหารเป็นสำคัญ  แบ่งเป็นการฝึกอบรมและการพัฒนาตนเอง  มีหลักสูตรสำหรับนักบริหารแต่ละกลุ่มให้ต่อเนื่องทั้งในแง่ของระยะเวลา  และการพัฒนาสมรรถนะหลักของแต่ละกลุ่มที่มีระดับความลึกแตกต่างกัน
คุณค่าแห่งความเชื่อและประโยชน์ที่จะได้รับ
                ทำให้ได้นักบริหารที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล  มีศักยภาพสูง  คิดใหม่  ทำใหม่  ระบบการแต่งตั้งมีความโปร่งใสและเป็นธรรม  เพื่อปรับเปลี่ยนระบบราชการให้มีประสิทธิภาพ
หลักการกำหนดค่าตอบแทนที่ได้ ของ SES
-  ทัดเทียมกับภาคเอกชน
-  สอดคล้องกับหน้าที่ความรับผิดชอบและความยากง่ายของงาน
-  สอดคล้องกับผลงาน (Performance  Based  Pay)
-  โปร่งใส  ชัดเจน  เป็นธรรม
-  อยู่ในวิสัยของงบประมาณจะรองรับได้
ประโยชน์ที่จะได้รับของการมีระบบ SES    ราชการไทยจะได้ผู้บริหารที่
-  มีคุณภาพ  มีความสามารถ  เป็นมืออาชีพ
-  มีคุณธรรม  กล้ายืนหยัดในสิ่งที่ถูกต้อง
-  ได้รับการยอมรับ
-  มีการทำงานที่ชัดเจน  วัดผลได้
ระบบ Fast  Track  หรือระบบข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูง (สายด่วนคนเก่ง)
- ความหมาย คือ  การพัฒนาข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูง
- วัตถุประสงค์ 
1.  ดึงดูดรักษาไว้  และจูงใจ
2. พัฒนาอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ
3. เตรียมผู้นำเข้าสู่ระบบนักบริหารระดับสูง  หรือผู้เชี่ยวชาญ  ผู้ทรงคุณวุฒิระดับสูง
- หลักการและเหตุผล
1. ความจำเป็นในการพัฒนาภาคราชการ  ระบบราชการ
1. สภาพแวดล้อมเปลี่ยน -  สภาพปัญหาเปลี่ยน  -  สมรรถนะเปลี่ยน
2. นโยบายรัฐบาลด้านการพัฒนาผู้นำภาคราชการ
2. ปัญหาด้านการพัฒนาผู้นำในราชการในทางปฏิบัติ
1.ขาดการพัฒนาที่ต่อเนื่อง  เป็นระบบ
2.  รูปแบบยังเน้นการเรียนรู้ภาคทฤษฎีในชั้นเรียน
3.  การขึ้นสู่ตำแหน่งระดับสูงใช้เวลานาน
กลไกของระบบบริหาร
ระบบสรรหา -  ระบบกำหนดตำแหน่ง ระบบพัฒนา ระบบประเมินผล
-                   ผลดี / ผลเสีย(ไม่มี)
ประโยชน์
ข้าราชการในระบบ
1.  ได้ทำงานที่ยากและท้าทาย
2.  มีโอกาสในการเลื่อนระดับอย่างรวดเร็ว
3.  ใช้ความสามารถที่มีอย่างเต็มศักยภาพ
4.  ได้รับการพัฒนาต่อเนื่องเป็นระบบ
ข้าราชการทั่วไป
-  ได้ศึกษารูปแบบ  วิธีคิด  วิธีการทำงาน  จากข้าราชการในระบบ
ส่วนราชการ
1.  ได้ข้าราชการที่มีคุณภาพและผลสัมฤทธิ์สูง
2.  มีระบบสนับสนุนการเตรียมข้าราชการระดับสูงในอนาคต
ราชการโดยรวม
                ยกมาตรฐานการทำงานของราชการเพื่อสนับสนุนให้การพัฒนาประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ  เพื่อส่วนรวม  สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลก  และมีความยั่งยืน
หลักการบริหารงานบุคคลภาครัฐแนวใหม่
NPM  คือ  การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์การพัฒนาระบบบริหารราชการแบบดั้งเดิม  ไปเป็นการพัฒนาระบบบริหารงานภาครัฐแนวใหม่  หมายถึง  การสร้างระบบราชการที่มีคุณลักษณะของระบบ  ในเชิงประสิทธิภาพประสิทธิผล ที่อิงหลักธรรมาภิบาล  และหลักประชาธิปไตย
หลักธรรมาภิบาล
1. การมีความชอบธรรมและความรับผิดชอบทางการเมือง
2. ความมีอิสระในการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานในหน้าที่รับผิดชอบ
3. การมีระบบกฎหมายที่มีความยุติธรรมและน่าเชื่อถือ
4. การมีพันธะความรับผิดชอบและการถูกตรวจสอบของระบบราชการ
5. การมีเสรีภาพของการแสดงออกและการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารต่อสังคม
6. ความมีประสิทธิภาพประสิทธิผลของการบริหารจัดการภาครัฐ
7. การแสวงหาความร่วมมือกับองค์การประชาสังคม
การบริหารงานบุคคลภาครัฐแนวใหม่
                บุคลากรเป็นปัจจัยหลักและเป็นกำลังสำคัญในการดำเนินงานและนำความสำเร็จมาสู่องค์การ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคลากรในภาครัฐ  ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญของความสำเร็จในการแปลงนโยบายจากรัฐไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลสัมฤทธิ์  การพัฒนาคุณภาพบุคลากรในภาครัฐ  ให้มีความรู้  ความสามารถ  ทักษะทีทันต่อสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง  จึงมีความจำเป็นเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนผู้รับบริการ  อีกทั้งเพื่อสร้างศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับนานาประเทศ  ตามการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกที่เปลี่ยนในยุคโลกาภิวัตน์
                การพัฒนาประเทศให้เจริญ  ต้องสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงของประเทศในทุกด้าน  รวมทั้งตอบสนองความต้องการของประชาชน  ซึ่งมีอยู่อย่างไม่จำกัด  ให้เกิดความพึงพอใจ  ดังนั้นภาคราชการต้องปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมและวิธีการทำงาน  ซึ่งมีผลต่อ  ระบบ  และ  ตัวบุคคล 
ในส่วนของ  ระบบ  การปรับเปลี่ยนระบบราชการ  มีสาระสำคัญ  ดังนี้
1. ปรับระบบวิธีการทำงานจากเดิมที่ใช้คนเป็นหลัก  มาเป็นการใช้ เทคโนโลยี
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์  การเชื่อมโยงระหว่างกัน  ให้บริการทางอิเล็กทรอนิคส์  เปิดบริการจุดเดียว (one stop  service)  ให้ความสะดวกสบายในการใช้บริการแก่ประชาชน  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
2. ปรับระบบวิธีการบริหารงานจากเดิมที่ต่างคนต่างทำ  เป็นแบบบูรณาการเชื่อมโยง  ทำงานเป็นทีมมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร  จะทำให้ไม่เกิดการทำงานที่ซ้ำซ้อน  มีการประสานงานที่ง่าย  และไม่สิ้นเปลืองงบประมาณ
3. ปรับเปลี่ยนการติดต่อสื่อสารสั่งการ  เป็นวงจรเครือข่ายและประสานงานในแนวราบมากขึ้น  สร้างวัฒนธรรมการทำงานแบบมีส่วนร่วม
4. เปลี่ยนการทำงานเพื่อระบบและตามระเบียบ  เป็นการทำงานเพื่อผู้รับบริการ  คือทำงานมุ่งผลสัมฤทธิ์เพื่อส่วนรวม  เคารพสิทธิหน้าที่ของประชาชน
5.       จัดขนาดองค์กรให้เหมาะสม  รัฐมีบทบาทหน้าที่เฉพาะส่วน  เปิดโอกาสให้เอกชนมีบทบาทมากขึ้น
6.       เน้นผลสำเร็จของงานเป็นเกณฑ์  มีการวัดผลงานที่มีประสิทธิภาพชัดเจน  เป็นรูปธรรม  โปร่งใส  ตรวจสอบได้  เน้นการทำงานอย่างสร้างสรรค์  มีกลไกการบริหารที่ได้มาตรฐาน  มีระบบค่าตอบแทนที่เป็นธรรมเพื่อเปิดโอกาสให้คนไทยที่มีคุณภาพและมีศักยภาพสูง  เต็มใจเข้ารับราชการเป็นอาชีพในส่วนของ ตัวบุคคล บุคคลในภาครัฐ  ถูกคาดหวังให้มีคุณลักษณะดังนี้
1. เป็นบุคคลที่มีคุณภาพ  เป็นมืออาชีพ  มีความสามารถในการเรียนรู้และปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี
2. เป็นบุคคลที่มีมาตรฐานทางคุณธรรมสูง  ซื่อสัตย์สุจริต  ยุติธรรม  มีความเป็นกลาง  ปฏิบัติหน้าที่ด้วยหลักการและเหตุผลที่น่าเชื่อถือ  ทำงานมุ่งผลสัมฤทธิ์  คือ  มีศีลธรรมและจริยธรรม  เป็นที่วางใจของประชาชน
3. เป็นบุคคลที่มีทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์  ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น  เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ 
ปัญหาการบริหารงานบุคคลภาครัฐ
1.   มีหลายองค์การกลาง / มาตรฐานต่างกัน
2.   ค่าตอบแทนไม่สอดคลองกับค่าครองชีพ
3.   ใช้คนมาก / มีส่วนเกิน
4.   ยังทำงานไม่เต็มศักยภาพ
5.   ทำงานอยู่ในกระบวนทัศน์ / ค่านิยมเดิม
6.   มีปัญหาทุจริงคอรัปชั่น
7.   การพัฒนายังไม่ทั่วถึง / ตรงเป้าหมาย
8.  ไม่ได้รับความเชื่อถือ  ศรัทธาจากประชาชน
9.  ระบบคุณธรรมในการบริหารงานบุคคลถูกแทรกแซงทั้งจากภายใน / ภายนอก
Merit  System  ระบบคุณธรรม
-  เป็นระบบที่มุ่งเน้นผลงาน  performance  based
- เป็นสาเหตุสำคัญในการปฎิรูปราชการในต่างประเทศ  ทำให้แยกการเมืองออกมาจากการบริหาร politic-administration  dichotomy
หลักการที่สำคัญ
1.  ความเสมอภาคในโอกาส  equality  of  opportunity
-  โอกาส เปิดกว้าง  ให้บุคคลทั่วไปมีสิทธิ์ที่จะทำงานราชการ
-  การกำหนดคุณสมบัติของผู้ปฏิบัติงานต้องทำไว้ในลักษณะ เปิดกว้าง
โอกาส  ในการทำงานครอบคลุมตั้งแต่ : การสรรหาบุคคล ภายนอก  องค์การเข้ามาทำงาน  และการสรรหาบุคคล ภายใน องค์การในลักษณะของการย้าย- โอน เลื่อน/ลดตำแหน่ง
2.  การวัดความสามารถโดยการสอบแข่งขัน competence
3.  ความมั่นคงในตำแหน่งงาน security  of  tenure
4.  ความเป็นกลางทางการเมือง  political  neutrality
ข้อดี ข้อเสีย ของ merit  system
ข้อดี
1.  สอดคล้องกับระบบประชาธิปไตย
2.  ได้คนที่มีความรู้ความสามารถทำงาน
3.  กำลังคนมีขวัญกำลังใจดี
4.  หน่วยงานมีประสิทธิภาพสูง
5.  มีเกียรติและศักดิ์ศรี
ข้อเสีย
1.  ความล่าช้า สิ้นเปลือง
2.  เน้นเรื่องขั้นตอนตามระเบียบอย่างมาก
3.  ต้องพร้อมใจกันร่วมมือในการใช้รักษาระบบนี้
Spoils  system ระบบดั้งเดิม
เป็นระบบดั้งเดิมที่ทุกชาติเคยใช้มาก่อน  ในช่วงของการปกครองแบบรวมอำนาจ ระบบชนเผ่า  ซึ่งต้องอาศัยคนที่ไว้ใจกันมาทำงาน
ข้อดี ข้อเสีย ของ   Spoils system 
ข้อดี
1.  บริหารบุคคล กำลังคนด้วยความรวดเร็ว
2.  เปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ได้ตลอดเวลา
3.  ความเป็นพวกเดียวกันทำให้มีความขัดแย้งในองค์การน้อย
4.  เหมาะสมกับงานบางลักษณะ  เช่น  งานเกี่ยวกับความลับ-ความมั่นคงงานการเงิน
ข้อเสีย
1.  ไม่มีเครื่องรับประกันว่าหน่วยงานจะได้คนดีมีความสามารถเข้ามาทำงาน
2.  งานอาจจะขาดความต่อเนื่องถ้ามีการเปลี่ยนตัวผู้บริหาร
3.  ขวัญกำลังใจในการทำงานแปรผันตามผู้ที่จะมาเป็นนาย
4.  ข้าราชการ- นักการเมืองแลกเปลี่ยนผลประโยชน์กัน
เศรษฐกิจพอเพียง
แนวคิดเน้นคนเป็นศูนย์กลาง

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทย  ตั้งแต่ก่อนวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ  และต่อมาได้ทรงเน้นย้ำแนวทางแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น  และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
กรอบแนวคิด
                เศรษฐกิจพอเพียง  เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงชีวิตและการปฏิบัติตนของประชาชนทุกระดับตั้งแต่ครอบครัว  ชุมชน  จนถึงระดับประเทศ  ให้ดำเนินทางสายกลาง  ในทางที่ควรจะเป็น  โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย  สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลาเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์  และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา  มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยและวิกฤตเพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา
คุณลักษณะ
                เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ  โดยเน้นการปฏิบัติบนสายกลาง  และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน
คำนิยาม  ความพอเพียงประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ  พร้อมๆ กัน  ดังนี้
-  ความพอประมาณ  หมายถึง  ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น 
- ความมีเหตุผล  หมายถึง  การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น  จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ
-  การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว  หมายถึง  การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้หรือไกล
-  ความพอเพียง  หมายถึง  มีกิน  มีอยู่  ไม่ฟุ่มเฟือย  ไม่โลภ  ไม่เบียดเบียนผู้อื่น 
หลักแนวคิด
                การพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง  คือการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท  โดยคำนึงถึงความพอประมาณ  ความมีเหตุผล  การสร้างภูมิคุ้มกันตัวที่ดีในตัว  ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบและคุณธรรม  ประกอบการวางแผน  การตัดสินใจและการกระทำ
เศรษฐกิจพอเพียงกับทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ
มีอยู่ 2 แบบ  คือ  แบบพื้นฐานกับแบบก้าวหน้า  ดังนี้
ทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1 เป็นเศรษฐกิจแบบพื้นฐาน  ที่มุ่งแก้ปัญหาของเกษตรกรที่อยู่ห่างไกลแหล่งน้ำ  ต้องพึ่งน้ำฝนและประสบความเสี่ยงจาการที่น้ำไม่พอเพียง  เช่น  มีที่ดินพอเพียงที่จะขุดบ่อน้ำเพื่อแก้ปัญหาความเสี่ยงเรื่องน้ำ  สามารถทำเกษตรกรรมได้  และมีที่ดินส่วนอื่นๆ เพื่อที่จะสนองต่อความต้องการพื้นฐานของครอบครัว  รวมทั้งขายในส่วนที่เหลือเพื่อให้มีรายได้ที่จะใช้เป็นค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ไม่สามารถผลิตเองได้  ทั้งหมดนี้เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันในตัวเองให้เกิดขึ้นในระดับครอบครัว
แต่อย่างไรก็ตาม  ทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1 ก็จำเป็นที่เกษตรกรจะต้องได้รับความช่วยเหลือจากชุมชนราชการ  มูลนิธิ  และภาคเอกชน  ตามความเหมาะสม
ทฤษฏีใหม่ขั้นที่ 2  เป็นเศรษฐกิจแบบก้าวหน้า  เป็นเรื่องของการสนับสนุนให้เกษตรกรรมรวมพลังกันในรูปกลุ่มหรือสหกรณ์  หรือการที่ธุรกิจต่างๆ รวมตัวกันในลักษณะเครือข่ายวิสาหกิจ
ทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 3 เป็นเศรษฐกิจแบบก้าวหน้า  เป็นการส่งเสริมให้ชุมชนหรือเครือข่ายวิสาหกิจสร้างความร่วมมือกับองค์กรอื่นๆ ในประเทศ เช่น บริษัทขนาดใหญ่  ธนาคาร  สถาบันวิจัย  เป็นต้น
การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในลักษณะเช่นนี้จะเป็นประโยชน์ในการสืบทอดภูมิปัญญา  แลกเปลี่ยนความรู้  เทคโนโลยี  และบทเรียนจากการพัฒนา  หรือร่วมกันพัฒนาตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง  ทำให้ประเทศอันเป็นสังคมใหญ่ดำเนินชีวิตอย่างพอเพียง  กลายเป็นเครือข่ายชุมชนพอเพียงที่เชื่อมโยงกันด้วยหลัก  ไม่เบียดเบียน  แบ่งปัน  และช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้ในที่สุด
หลักการพึ่งตนเอง  สามารถยึดหลักความพอดีได้ 5 ประการ  คือ
1. ความพอดีด้านจิตใจ  เข้มแข็ง  พึ่งตนเองได้  มีจิตสำนึกดี  เอื้ออาทร
2. ความพอดีด้านสังคม  ช่วยเหลือกันและกัน  ผนึกกำลังให้ชุมชนเข้มแข็ง  มีกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากฐานรากที่มั่นคงและแข็งแรง
3.  ความพอดีด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  รู้จักใช้อย่างฉลาดและรอบคอบ
4. ความพอดีด้านเทคโนโลยี  รู้จักใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสมกับความต้องการและควรพัฒนาเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาชาวบ้านของเรา  และสอดคล้องเป็นประโยชน์ต่อสภาพแวดล้อม
5. ความพอดีด้านเศรษฐกิจ  เพิ่มรายได้  ลดรายจ่าย  ดำรงชีวิตอย่างพอควร  พออยู่  พอกิน  สมควรตามอัตภาพและฐานะของตน
การปฏิบัติตนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
1. ยึดความประหยัด
2. ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้อง  สุจริต
3. ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันกันในทางการค้าขายประกอบอาชีพแบบต่อสู้กันอย่างรุนแรง
4.  ไม่หยุดนิ่งที่จะหาทางในชีวิตหลุดพ้นจากความทุกข์ยาก  ขวนขวายใฝ่หาความรู้ให้เกิดมีรายได้เพิ่มพูน
5.   ปฏิบัติตนในแนวทางที่ดี  ลดละสิ่งยั่วกิเลสให้หมดสิ้นไป
การพัฒนาแบบยั่งยืน  (ของพระธรรมปิฏก)  เป็นการพัฒนาที่เป็นบูรณาการ  คือการทำให้เกิดเป็นองค์รวม  หมายความว่า  องค์ประกอบทั้งหลายที่เกี่ยวข้องจะต้องมาประสานกันครบองค์  และมีลักษณะอีกอย่างหนึ่งคือ  มีดุลยภาพ  โดย  แยกเป็น 3 ด้าน  คือ  ด้านเศรษฐกิจ  นิเวศวิทยา  มนุษย์  และต้องเน้นที่ตัวมนุษย์เข้ามาเป็นปัจจัยสำคัญในการบูรณาการ
แนวคิดที่เน้นคนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา  เป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน
พัฒนาคนให้   1. มีสุขภาพดี   2.  สติปัญญาดี   3.  สังคมดี   4.  อารมณ์แจ่มใส  5. มีจริยธรรม  6. ปฏิบัติตามหลักศาสนา
ทำให้  1.  ครอบครัว  ชุมชน สังคมดี  2.  ทำให้เศรษฐกิจดี  3.  ทำให้การเมืองดี  4.  ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไม่ถูกทำลาย
ทุนมนุษย์ (Human  Capital)  หมายถึง  ทักษะ  และความสามารถต่างๆ ที่อยู่ในตัวบุคคล หรือกำลังงาน  ซึ่งส่วนหนึ่งมาจาก การปรับปรุงสุขภาพและโภชนาการ  การศึกษา  การฝึกอบรม
ชุมชนเข้มแข็ง
การดำรงชีวิตอย่างพอเพียง  เน้นการพึ่งตนเองให้มากที่สุด
                เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจรากฐานให้เข้มแข็ง  เพื่อสร้างศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถให้พึ่งตนเองได้  ส่งเสริมการรวมกลุ่มเป็นองค์กรชุมชน  เป็นเครือข่ายองค์กรชุมชนที่เข้มแข็ง  ผ่านกระบวนการเรียนรู้  ร่วมคิด  ร่วมทำ  ร่วมแก้ไขปัญหา  ควบคู่ไปกับการสร้างความมั่นคงด้านอาชีพและเพิ่มรายได้ด้วยการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน สนับสนุนการรวมกลุ่มอาชีพ  ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและเทคโนโลยีที่เหมาะสม  สร้างผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ  เชื่อมโยงสู่ตลาดทั้งภายในและภายนอกประเทศ
                เพิ่มศักยภาพของคนและชุมชนให้เข้มแข็ง  มีความพร้อมในการเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนา  เศรษฐกิจ สังคม  การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ  การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน  ความเข้มแข็งของชุมชน  เป็นรากฐานสำคัญในการลดผลกระทบตามเศรษฐกิจและสังคม  และช่วยสร้างกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืนในอนาคต
องค์ประกอบของชุมชนเข้มแข็ง
1. การรวมตัวกันเป็นองค์กรชุมชน
2. มีเป้าหมายร่วมกัน
3.  รักท้องถิ่น  รักชุมชน
4. ใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ
5. เรียนรู้เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย  และติดต่อสื่อสารกัน
6.  ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ  ร่วมทำ  ร่วมรับผิดชอบ  ร่วมแก้ปัญหา
7.  จัดทำกิจกรรมสาธารณะของชุมชนอย่างต่อเนื่อง
8.  จัดการบริหารกลุ่มที่หลากหลายและเครือข่าย
9.  เสริมสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงของชุมชนสืบต่อกันมา
ลักษณะของชุมชนเข้มแข็ง
1. สมาชิกเชื่อมั่นศักยภาพตนและชุมชน
2. พร้อมที่จะร่วมจัดการปัญหาของตนและชุมชน
3. มีกระบวนการชุมชนที่เคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง
4.  ร่วมคิด  ตัดสินใจ  ดำเนินงาน  ติดตาม  และประเมินผล
5.  เรียนรู้ผ่านการเข้าร่วมในกระบวนการ
6. มีแผนการพัฒนาทุกๆ ด้าน
7. พึ่งพาภายนอก  เพื่อให้ชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้
8.  มีเครือข่ายความร่วมมือกับภาคีการพัฒนา
ทำอย่างไรชุมชนจะเข้มแข็ง  (ศ.นพ.ประเวศ  วะสี)
1. กำหนดพื้นที่ที่ถือเป็นชุมชน
2. วางแผนในชุมชนว่าอะไรคือ สิ่งที่ดีของชุมชน
3.  ส่งเสริม แลกเปลี่ยน เรียนรู้ เครือข่าย
4. พัฒนานโยบายสนับสนุนชุมชน
5. มีเวทีชุมชนส่งเสริมชุมชนให้เข้มแข็ง
แผนพัฒนาฯ ฉบับ 1 – 10
สรุปแผนพัฒน ฯ
แผน 1- 7  : เน้นความเจริญเติบโตด้านเศรษฐกิจและสังคม
ผลดี :  มีความเจริญด้านเศรษฐกิจสูง  ความเป็นอยู่ของประชาชนดีขึ้น  โครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณูปโภคเจริญขึ้น  แต่กระจุกตัวอยู่ที่ส่วนกลางเท่านั้น
ปัญหา
เศรษฐกิจ          : เจริญเติบโตในเมืองเท่านั้น  ชนบทยังไม่เจริญ  ความเป็นอยู่และรายได้แตกต่างกัน 
คนชนบทยังยากจน  มีหนี้สิน  การพัฒนาไม่ได้ขยายตัวไปสู่ชนบท
สังคม                :   วัตถุนิยม  ขาดการอบรมและขาดการพึ่งตนเอง  ละทิ้งภูมิลำเนาไปรับจ้างในเมือง 
ถูกกดขี่ทั้งแรงงานและค่าจ้าง  ปัญหายาเสพติด  อาชญากรรม
การเมือง           รวมศูนย์อำนาจบริหารอยู่ในส่วนกลาง  มีการทุจริต คอรัปชั่นในระบบราชการและเอกชน
วัฒนธรรม       : เสื่อมสลายของวัฒนธรรมไทย  นิยมตะวันตก  ขาดศีลธรรม  จริยธรรมในสังคม 
ภูมิปัญญาชาวบ้านถูกละเลย  มีการถ่ายทอดสู่คนรุ่นใหม่น้อย
ทรัพยากรธรรมชาติ  :        มีการแย่งชิงทรัพยากร  ทรัพยากรธรรมชาติถูกใช้อย่างไม่ระมัดระวัง
(เน้นภาคอุตสาหกรรมและการส่งออก)  เกิดปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติ 
เกิดมลพิษด้านสิ่งแวดล้อม
เทคโนโลยี        : พึ่งพาเทคโนโลยี  เงินลงทุนและตลาดต่างประเทศ  ทำให้เกิดปัญหาหนี้สิน 
ประชาชนพึ่งตนเองไม่ได้
การศึกษา          :   การศึกษาสูงขึ้น  แต่ขาดคุณภาพในการศึกษา  มีการแข่งกันเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง 
คนอ่อนแอว่าจึงถูกเอารัดเอาเปรียบ
ปัญหาเชิงโครงสร้าง  เศรษฐกิจ  สังคม  สิ่งแวดล้อม  และบริหารจัดการ  ที่ไม่เป็นธรรมและไม่สมดุล  ทำให้เกิดปัญหาขัดข้องในสังคม  ไม่สามารถปรับตัวให้รองรับและเผชิญกับกระแสโลกาภิวัตน์และสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงได้
แผน 8  เน้นความเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจและสังคมต่อเนื่องจากแผน 7  โดยปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์การพัฒนาเพิ่มขึ้น  โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาคน  ทั้งในฐานะ
                เป็นผู้มีส่วนสำคัญในการพัฒนาด้านอื่นๆ และผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการพัฒนา  เป็นการพัฒนาแบบองค์รวม  คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา  โดยบูรณาการทุกด้านให้เชื่อมโยงกัน  ใช้การพัฒนาเศรษฐกิจ  เป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน
                แต่ภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ  ปี 2540 – 2541  ต้องปรับแผนใหม่  โดยให้ความสำคัญกับการฟื้นฟูเศรษฐกิจ  ทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวและการแก้ไขปัญหาสถาบันการเงิน
ปัญหา 
-  การพัฒนาขาดความสมดุล
-   เศรษฐกิจขยายตัวเชิงปริมาณมากกว่าคุณภาพ
-   ใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง
-    พึ่งพาเศรษฐกิจ  วัตถุดิบ  และเงินทุนจากต่างประเทศ
-   มีปัญหาด้านการปรับตัวกระแสสังคมของประเทศไทย
แผน 9 เน้นการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคมเช่นเดิม(การพัฒนาอย่างยั่งยืน)  เพื่อให้มีความเข้มแข็ง  มีภูมิคุ้มกันตัวกระแสการเปลี่ยนแปลงให้สามารถพึ่งตนเอง
                ให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่สมดุล  ทั้งด้านตัวคน  สังคม  เศรษฐกิจ  ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม  เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน  โดยยึดแนวคิดการพัฒนาแบบองค์รวมที่มี คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา  เหมือนแผน 8  โดยได้นำ  หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  เป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาและบริหารประเทศ
วัตถุประสงค์หลัก 4 ประการ  คือ
1. ฟื้นฟูเศรษฐกิจให้มีเสถียรภาพและภูมิคุ้มกัน
-   แข่งขันและก้าวทันเศรษฐกิจโลก
2. พัฒนาประเทศให้เข้มแข็ง  ยั่งยืน  พึ่งตนเองได้
-  คน  การศึกษา  สุขภาพ  ความเข้มแข็งชุมชน  ดูแลจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
3 การบริหารจัดการที่ดี
- ประสิทธิภาพ  โปร่งใส  ตรวจสอบได้  การมีส่วนร่วม
4.  แก้ปัญหาความยากจน  และการพึ่งพาตนเอง
-  สร้างอาชีพ  เสริมรายได้  ยกระดับคุณภาพชีวิต
-  มาตรการทางเศรษฐกิจที่เอื้ออาทรคนจน
-  ลดสัดส่วนคนยากจน 
ปัญหา 
- การบริหารจัดการภาครัฐในเรื่องความโปร่งใส
-  ปัญหาการคอรัปชั่น
-  การพัฒนาคุณภาพคน
-   ปัญหาความยากจนในชนบท
-  ความแตกต่างของรายได้ประชากร
แผน 10  (2550 – 2554) ยุทธศาสตร์
1.  พัฒนาคนและสังคมไทยสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้
- พัฒนาคนให้มีคุณธรรม  มีภูมิคุ้มกัน  พร้อมเผชิญปัญหาการเปลี่ยนแปลง
1.พัฒนาเด็ก + เยาวชน
2.สร้างกำลังคนให้เป็นเลิศ
3.การจัดการองค์ความรู้
-   สร้างสุขภาพ  จิตใจ  สติปัญญา
-   การจัดการองค์ความรู้
-   ให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติ
2.  การสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคมให้เป็นรากฐานที่มั่นคงของประเทศ
-    เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
-   สร้างความมั่นคงเศรษฐกิจชุมชน
-  เสริมสร้างศักยภาพชุมชนให้อยู่ร่วมกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างเกื้อกูลกัน
3.  การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้สมดุลและยั่งยืน
พัฒนาเศรษฐกิจบนฐานการผลิตที่แข็งแกร่ง  แล้วได้เปรียบของประเทศไทย : ทุนเศรษฐกิจ  ทุนสังคม  ทุนทางวัฒนธรรม  ภูมิปัญญา  ทุนทรัพยากร  การสื่อสารโทรคมนาคม  ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- การบริหารเศรษฐกิจส่วนรวม
- การปรับโครงสร้างการผลิต
- พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
4.  สร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรและคุณภาพสิ่งแวดล้อม
5.  การเสริมสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการประเทศสู่ความยั่งยืน
-  ปรับระบบบริหารจัดการให้สอดคล้องธรรมาภิบาล
-  กระจายทรัพยากร
-  กระจายอำนาจ
-  เสริมสร้างความเข้มแข็งภาคประชาชน + ภาคธุรกิจ 
ปัญหา  :
1. การพัฒนามุ่งการเติบโตทางเศรษฐกิจในเชิงปริมาณมากกว่าเชิงคุณภาพ (ประสิทธิภาพการผลิตอยู่ในระดับต่ำต้องพึ่งพา  วัตถุดิบ  ทุน  เทคโนโลยี  พลังงานจากต่างประเทศ)
2. ใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสิ้นเปลือง
3.  การพัฒนาคนไม่สามารถเสริมสร้างสุขภาพทางกาย ใจ  และสติปัญญา  ได้ทั่วถึงและทันต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง
4. โครงสร้างและระบบการบริหารจัดการ  รวมศูนย์อยู่ที่ส่วนกลาง (ชนบทยังไม่ได้รับการส่งเสริมพัฒนาให้เข้มแข็ง)
5. เกิดความเหลือมล้ำของรายได้ระหว่างชนบทกับเมือง
นอกจากนี้  ประเทศไทยยังต้องเผชิญกับบริบทการเปลี่ยนแปลงในหลายด้านที่สำคัญ  คือ
1. การรวมตัวของกลุ่มเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงในตลาดการเงินของโลก
- การเปิดรับการลงทุนจากต่างประเทศ
-  ข้อตกลงพันธกรณีระหว่างประเทศ
-  การเคลื่อนย้ายทุน  สินค้า  และบริการ
2. การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด
3. การเปลี่ยนแปลงด้านสังคม
- ประชากรเปลี่ยนแปลงเป็นสังคมผู้สูงอายุมากขึ้น  ซึ่งมีผล  ต้องวางแผนการออมและด้านสาธารณสุข
4. การเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อม
-   อุณหภูมิโลกร้อนขึ้น
-   การแปรปรวนของสภาพภูมิประเทศ (เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและพัฒนาพลังงานทางเลือก)
5.การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภค
-  กระแสนิยมการบริโภคเลียนแบบตะวันตก  เร่งให้ใช้ทรัพยากรธรรมชาติมากขึ้นและไม่เหมาะสม
6.  กระแสการผลักดันประชาธิปไตยและธรรมาภิบาล
-  ให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างธรรมาภิบาลและประชาธิปไตยในการบริหารจัดการประเทศทั้งทาเศรษฐกิจ  สังคมและการเมือง
ประเทศไทย  เตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง
-   พัฒนาที่ยั่งยืนตามหลักปรัชญาพอเพียง  เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันครอบครัว ชุมชน ประเทศ
-  ความรอบรู้  คุณธรรม  ความเพียร
-   ความพอประมาณ  ความมีเหตุผล  มีระบบภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจ  สังคม และการเมือง
ข้อคิดของ ดร. ป๋วย อึ้งภากรณ์ เกี่ยวกับ  คุณภาพแห่งชีวิต 
บทสรุปของบทความ
                ในวันที่ยังเป็นเด็กเล็กๆ นั้น  สุขภาพและสวัสดิการของแม่และเด็กมีความสำคัญมาก  เริ่มตั้งแต่ตอนที่อยู่ในครรภ์ทีเดียว  ถ้าแม่ได้รับอาหารและโภชนาการที่ดี  เด็กที่คลอดออกมาจะสมบูรณ์  น้ำนมแม่ก็สมบูรณ์  สุขภาพและอนามัยของแม่และเด็กก็สมบูรณ์ด้วย  ดังนั้น  สุขภาพอนามัย  อาหารโภชนาการของแม่และเด็กในตอนเยาว์วัยต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่ง
                เด็กๆ ต้องได้รับความอบอุ่นจากครอบครัว  โดยเฉพาะพ่อ-แม่  ไม่มีปัญหาครอบครัว คือ  การแตกแยกและหย่าร้าง  ซึ่งจะกระทบต่ออารมณ์และสภาพจิตของเด็ก  เมื่อเป็นผู้ใหญ่อาจเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีปัญหาแก่สังคมด้  เพื่อเป็นการควบคุมขนาดของครอบครัวควรมีการวางแผนครอบครัว  มีลูกให้สมฐานะ  คือ ในครอบครัวจะต้องมีแต่ความรัก  ความเห็นใจ  และความอบอุ่น
                ในวัยที่ควรจะได้รับการศึกษา  ควรจะมีโอกาสได้ศึกษาให้สูงที่สุดเพื่อให้มีความรู้ในการประกอบอาชีพ  และได้ศึกษาและรู้คุณธรรมแห่งชีวิต  และเมื่อจบการศึกษาแล้วก็ให้มีงานทำที่เหมาะสมกับความรู้ความสามารถ  จะได้ทำประโยชน์ให้แก่สังคมและประเทศ  สรุปแล้วในวัยเรียนควรได้รับการศึกษาเพื่อการงานอาชีพ  และคุณธรรม  ตามระดับภูมิปัญญาและความสามารถ
                บ้านเมืองที่พำนักอาศัย   มีกฎ  การดำเนินชีวิตใต้กรอบกฎหมายที่ให้ความยุติธรรมอย่างเสมอภาค  และต้องมีความสัมพันธ์กับโลกภายนอก  ติดต่อค้าขาย  เป็นแหล่งเงินทุน  และได้รับความรู้ เทคโนโลยี  และความคิดอ่านของต่างประเทศด้วย
                ในฐานะที่เป็นมนุษย์ก็ให้มีเวลาพักผ่อนและเพลิดเพลินกับครอบครัว  มีสวนสาธารณะที่เขียวชอุ่ม  ได้ชื่นชมศิลปะ  วัฒนธรรม  ดนตรี  นาฏศิลป์  ดนตรี  และขอให้มีโอกาสมีบทบาทและส่วนร่วมในสังคมรอบตัวไม่ว่าด้านเศรษฐกิจ  สังคม  และการเมือง
ประเทศชาติควรมีระบบสหกรณ์  การประกันสังคม  และรัฐสวัสดิการที่มีคุณภาพ  เพื่อจะได้ปกป้องดูแลเวลาแก่เฒ่า  เจ็บไข้ได้ป่วย  ให้สุขอนามัยดี  และรักษาฟรีอย่างมีคุณภาพ
                เมื่อจะตายขออย่าได้ทำพิธีให้วุ่นวาย  ขอให้เผาอย่าฝัง  จะได้มีที่ดินไว้อาศัยและให้ลูกหลานไว้ทำกินในอนาคต 
                นี่แหละคือ  ความหมายแห่งชีวิตของทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพและมีคุณธรรม  และนี่แหละคือ  การพัฒนาที่จะควรให้เกิดขึ้นตั้งแต่เกิดจนตาย  เพื่อประโยชน์และความสุขของมวลมนุษย์ทุกคนในสังคม 
มีสาระสำคัญ 
คุณภาพแห่งชีวิต คือ ปฏิทินแห่งความหวังจากครรภ์ถึงเชิงตะกอนชี้ให้เห็นถึงคุณภาพชีวิต  ตั้งแต่อยู่ในครรภ์  - ถึงตาย  รวมทั้งสังคมและสิ่งแวดล้อมของมนุษย์  ที่พึงประสงค์
ดังนั้น  สถาบันที่จะดูแลและเกี่ยวข้องกับกิจกรรมในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  คือบ้าน + ตนเอง + โรงเรียน + วัด + และรัฐบาล  - นำไปสู่เรื่องราวการพัฒนามนุษย์  ดังนี้
1. สถาบันครอบครัวดูแลตั้งแต่แรกเกิด
2. การศึกษา ตั้งแต่วัยทารก วัยชรา  เป็นการเรียนรู้  ตลอดชีวิต  Formal , Informal , Non-formal
3. การฝึกอบรม
4. ดูแลสุขอนามัยและโภชนาการ
5. การอพยพ  ในลักษณะของการเพิ่มคุณภาพทรัพยากรมนุษย์
6. ข่าวสารเกี่ยวกับตลาดแรงงาน
7. ประสบการณ์ในการทำงาน
8. สภาวะแวดล้อม  - อากาศ ,น้ำ , เสียง ฯลฯ ล้วนมีผลต่อชีวิต  ความเป็นอยู่ และสุขอนามัยและคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น