วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2554

PA 702 ระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์ รศ.เฉลิมพล ศรีหงษ์

ในคำบรรยายของท่าน รศ. เฉลิมพล  ศรีหงษ์  การวิจัย  คือการเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่เราต้องการทราบ
เหตุที่มนุษย์ต้องทำวิจัย    ตามหลักวิชา  Earl  Babbie  จำแนกตามวัตถุประสงค์ได้  3  ประการ  คือ
1.เพื่อศึกษาสำรวจสิ่งใหม่ที่ยังไม่เคยมีการศึกษามาก่อน (Exploration)
2.เพื่อพรรณนาเกี่ยวกับสิ่งที่มีอยู่หรือเป็นอยู่ว่า “คืออะไร” (Description)  เป็นการวิจัยเพื่อที่จะรายงานหรือพรรณนาเกี่ยวกับสภาพที่เป็นอยู่จริงของปรากฎการณ์ที่ศึกษาว่า  คืออะไร  เช่น  การทำโพลล์ เพื่อ   รายงานแนวโน้มของการลงคะแนนว่าใครมีคะแนนนิยมเท่าไหร่  เป็นต้น
3. เพื่ออธิบายเหตุผลว่า “ทำไม”  จึงเป็นอย่างนั้น (Explanation)  เป็นการวิจัยเพื่อค้นหาความรู้และรายงาน เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่าง ๆ  ที่ศึกษา  เพื่อตอบคำถามว่าทำไมเป็นอย่างนั้น (ความสัมพันธ์   เชิงเหตุ-ผล)  เช่นการวิจัยเพื่อค้นหาความรู้และรายงานว่า  ทำไมเมืองบางเมืองจึงมีอัตราการเกิด อาชญากรรมสูงกว่าเมืองอื่น ๆ (เพื่ออธิบายความสัมพันธ์    เชิงเหตุ-ผลระหว่างสภาพแวดล้อมของเมือง   กับอัตราการเกิดอาชญากรรม)
                รูปแบบวิธีการวิจัย  (Research  Methods)  ตามที่ท่าน รศ.เฉลิมพล  ศรีหงษ์ บรรยายในห้องเรียนและคำบรรยายในหนังสือ กล่าวเป็นหลักวิชาไว้ดังนี้
 การทดลอง  (Experiments)
- เป็นการวัดผลกระทบของตัวแปรอิสระที่มีต่อตัวแปรตาม
-เป็นการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างค่าของตัวแปรตามที่วัดก่อนการทดลอง(ก่อนนำตัวแปรอิสระเข้ามาใช้เป็นตัวกระตุ้นในการทดลอง)  กับค่าของตัวแปรตามที่วัดหลังการทดลอง(หลังนำตัวแปรอิสระเข้ามาใช้เป็นตัวกระตุ้น)  หรือ  Pre test  ก่อนทดลอง  Prost test  หลังทดลอง
-แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น  2  กลุ่ม  คือกลุ่มทดลอง  (กลุ่มที่มีการนำตัวแปรอิสระเข้าไปใช้เป็นตัวกระตุ้น)  กับกลุ่มควบคุม((กลุ่มที่ไม่มีการนำตัวแปรอิสระเข้าไปใช้เป็นตัวกระตุ้น)  ตามที่อาจารย์ยกตัวอย่าง  การวิจัยเรื่องแสงสว่างมีผลต่อประสิทธิภาพการเย็บผ้าของคนงาน  ตัวแปรอิสระคือแสงสว่าง  ตัวแปรตามคือการเย็บผ้าของคนงาน  โดยแบ่งคนงานเป็น  2  กลุ่ม  กลุ่มควบคุมไม่ไปยุ่งเกี่ยว
กลุ่มทดลองนักวิจัยมีการควบคุมแสงสว่างให้มากขึ้น  และน้อยลง  เพื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่มีการทดลองว่าแสงสว่างส่งผลต่อประสิทธิภาพการเย็บผ้าหรือไม่
 การวิจัยสำรวจ  (Survey Research)
-  นักวิจัยเลือกกลุ่มตัวอย่างที่จะศึกษาจากประชากรของการวิจัย
-  เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน(standardized  questionnaire)
   วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลมี  2  วิธีใหญ่ ๆคือ
    1.แบบสอบถามที่ให้ผู้ตอบเป็นผู้อ่านคำถามและกรอกคำตอบด้วยตนเอง
    2. ให้นักสัมภาษณ์เป็นผู้ถามคำถามตามแบบสอบถามและจดบันทึกคำตอนตามคำบอกของผู้ตอบ
       ซึ่งแบ่งเป็น  สัมภาษณ์แบบเผชิญหน้า  และสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์
        การวิจัยเชิงสำรวจ  ได้แก่ การทำโพลล์เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อเรื่องใด
        เรื่องหนึ่ง  เช่น  การขายไข่ไก่แบบช่างกิโลว่าประชาชนเห็นด้วยหรือไม่
การวิจัยสนาม  (Field Research)  หรือเรียกชื่ออย่างอื่นว่าการวิจัยแบบมีส่วนร่วม(Participant  observation)
- บทบาทของนักวิจัยสนามจะมีความแตกต่างกันในแง่ของการมีส่วนร่วมในสิ่งที่นักวิจัยศึกษา  โดยอาจจะอยู่ในช่วงระหว่างเป็นผู้มีส่วนร่วมอย่างสมบูรณ์กับเป็นผู้สังเกตการณ์อย่างสมบูรณ์
-วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะกับการวิจัยสนาม  เช่น  การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง  การสุ่มตัวอย่างแบบ Snow  ball
-ในกรณีที่เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการถามคำถาม  มักใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้างคือการสัมภาษณ์โดยมีแนวทางกว้าง ๆของเรื่องที่ต้องการทราบแต่ไม่มีชุดคำถามที่เฉพาะเจาะจงแน่นอนโดยทั่ว ๆไปมักเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ
กระบวนการวิจัย
                จากคำบรรยายของ  รศ. เฉลิมพล  ศรีหงษ์  ในการทำวิจัยแต่ละโครงการนั้นมีกิจกรรมหลายอย่างที่นักวิจัยจะต้องทำอย่างต่อเนื่องเป็นกระบวนการ  ซึ่งสรุปได้ดังนี้
-                   ความสนใจ  ความคิด  และทฤษฎี
                นักวิจัยจะเริ่มจากมีความสนใจที่จะศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง  ต่อจากนั้นจึงเริ่มสืบค้นข้อมูลโดยการอ่านหนังสือและผลงานวิจัยของผู้อื่น  ที่มีเนื้อหาคล้ายคลึงหรือเกี่ยวข้องกับเรื่องที่ต้องการศึกษา  และอาจพูดคุยกับผู้อื่นเกี่ยวกับเรื่องนั้น  เพื่อให้เกิดความคิดเกี่ยวกับตัวแปรต่าง ๆ  ที่น่าจะมีส่วนเกี่ยวข้อง  รวมทั้งได้ทราบว่าทฤษฎีอะไรบ้างที่อธิบายความสัมพันธ์อย่างเป็นเหตุเป็นผลระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ระบุความหมายของแนวความคิดต่าง ๆ  และตัวแปรต่าง ๆที่จะศึกษาอย่างเฉพาะเจาะจงชัดเจนว่าคืออะไรเลือกวิธีการวิจัยที่จะใช้ในการศึกษา  ซึ่งมีหลายวิธี  ได้แก่  การทดลอง  การวิจัยสำรวจการวิจัยสนาม  การวิจัยจากข้อมูลที่มีการบันทึกไว้แล้วโดยผู้อื่น  และการวิจัยประเมินผลการกำหนดเกี่ยวกับเครื่องมือและวิธีการที่จะใช้ในการวัดข้อมูลการกำหนดว่าใครหรืออะไรคือประชาการของการวิจัย  หากมีประชากรจำนวนมากไม่สามารถเลือกได้ทั้งหมด ต้องเลือกกลุ่มตัวอย่างจากประชากรโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างเพื่อให้ได้กลุ่มตัวอย่างกลุ่มหนึ่งสำหรับใช้ในการวัดข้อมูล
-                   การวัดข้อมูล  หมายถึงการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงประจักษ์เพื่อนำไปใช้ในการวิเคราะห์และ   แปรผล
-                   การประมวลผลข้อมูล  หมายถึงการแปลงข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้  ให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสมจะนำไปใช้ในการแปลความหมายและวิเคราะห์
-                   การวิเคราะห์  หมายถึงการวิเคราะห์ข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาได้และสรุปผลการศึกษาการเขียนรายงานผลการวิจัย  เพื่อเผยแพร่ให้ผู้อื่นได้ทราบข้อค้นพบของงานวิจัย
สรุป
                                 การวิจัยถือว่าเป็นกระบวนการค้นหาข้อเท็จจริงที่มีประโยชน์ต่อมนุษย์ทั้งด้านวิชาการ  เศรษฐกิจ  สังคม และอื่น ๆอย่างมากมาย   ซึ่งหากกระบวนการวิจัยได้ทำตามหลักวิชาและสามารถยืนยันผลด้วยการพิสูจน์ให้แน่ชัดแล้ว  ย่อมมีคุณอนันต์แก่มนุษยชาติทั้งปัจจุบันและอนาคต  เช่น  การวิจัยทางการแพทย์เพื่อค้นหาวิธีการรักษาโรคมะเร็ง  เป็นต้น  ดังนั้น  รัฐบาล จึงควรสนันสนุนให้มีการวิจัย  และส่งเสริมนักวิจัย  เพื่อค้นคว้าหาสิ่งใหม่ ๆ  เพื่อประโยชน์แก่สังคมส่วนรวมและประเทศชาติต่อไป
  ให้อธิบายความหมายของคำต่อไปนี้
-Deductive  Methods
-Inductive  Methods
-Grounded  Thory
ตำเอกสารประกอบคำบรรยายของท่าน รศ.เฉลิมพล  ศรีหงษ์ อธิบายเป็นหลักวิชาดังนี้
Deductive  Methods  คือการวิจัยที่ใช้วิธีเชิงตรรกะแบบนิรนัย  เหมาะกับการวิจัยเชิงปริมาณ  จะเริ่มต้นศึกษาโดยใช้แบบแผนอย่างใดอย่างหนึ่งของความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่าง ๆตามที่คาดหวังในเชิงทฤษฎีเป็นกรอบแนวคิดในการศึกษา  จากนั้นจึงทำการสังเกตหรือวัดข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างหรือกรณีศึกษาเฉพาะ  เพื่อทดสอบว่าแบบแผนของความสัมพันธ์ตามที่คาดหวังในเชิงทฤษฎีนั้นเป็นจริงหรือไม่
                การวิจัยโดยใช้วิธีการเชิงตรรกะแบบนิรนัย  (Deductive  Methods)  จึงเป็นการเริ่มต้นจากสิ่งที่เป็นหลักทั่วไปไปสู่การศึกษาเฉพาะกรณี  มี  3  ขั้นตอนคือ
                1.ตั้งสมมุติฐาน  โดยอาศัยทฤษฎีที่เกี่ยวข้องเป็นกรอบในการเลือกระบุตัวแปรที่ต้องการศึกษาอย่างเฉพาะเจาะจง
                2. การวัดข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างหรือกรณีศึกษา
 3.  การนำข้อมูลที่วัดได้มาทดสอบสมมุติฐานที่ตั้งไว้  โดยใช้วิธีการทางสถิติเพื่อสรุปว่ายอมรับหรือปฏิเสธสมมุติฐาน

                                                               Deductive  Methods 

         Inductive  Methods    คือการวิจัยที่ใช้วิธีเชิงตรรกะแบบอุปนัย  เหมาะกับการวิจัยเชิงคุณภาพ  เริ่มต้นจากข้อมูลที่สังเกตหรือวัดข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์  หรือปรกกฎการณ์ที่ต้องการศึกษาจากกรณีศึกษาหนึ่ง ๆ  เมื่อได้ข้อมูลมาแล้วก็วิเคราะห์เพื่อค้นหาแบบแผนของความสัมพันธ์ที่สามารถอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่าง ๆ ที่ศึกษานั้น  ข้อค้นพบดังกล่าวจะพัฒนาไปสู่การกำหนดเป็นหลักทั่วไปในอนาคต

                      การวิจัยโดยใช้วิธีการเชิงตรรกะแบบอุปนัย  (Inductive  Methods)  จึงเป็นการเริ่มต้นจากข้อมูลที่สังเกตหรือวัดได้จริงจากรณีศึกษา  เพื่อที่จะพัฒนาไปสู่การกำหนดเป็นหลักทั่วไป  หรือการเริ่มจากข้อเท็จจริงไปสู่ทฤษฎี  มี  3  ขั้นตอนคือ
-                   การวัดข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่ต้องการศึกษาจากกรณีศึกษาหนึ่ง ๆ
-                   การค้นหาแบบแผนความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่าง ๆ ของเหตุการณ์ที่ศึกษา
-                   การสรุปผลการศึกษา  ซึ่งถือว่าเป็นเพียงข้อสรุปชั่วคราวของเหตุการณ์ที่ศึกษา  ข้อสรุปชั่วคราวเกี่ยวกับเหตุการณ์อย่างเดียวกันจากกรณีศึกษาหลาย ๆกรณีจะพัฒนาไปสู่การกำหนดเป็นหลักทั่วไปในอนาคต
                                                Inductive  Methods  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น