วันเสาร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์(PA702)อ.วิโรจน์ ก่อสกุล

ความหมายของการวิจัย
การวิจัย (Research) หมายถึง กระบวนการศึกษาค้นคว้าหาข้อเท็จจริง หรือปรากฏการณ์ธรรมชาติอย่างมีระเบียบวิธี และมีจุดมุ่งหมายที่แน่นอน เพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ ข้อเท็จจริงที่เชื่อถือได้ และมีขั้นตอนการศึกษาค้นคว้าด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์
ขั้นตอนวิธีการแก้ไขปัญหาตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์ แบ่งได้เป็น 5 ขั้นตอน ได้แก่
1. ขั้นกำหนดปัญหา (Problem) เป็นการรวบรวมข้อมูลของปัญหา และกำหนดปัญหาหรือคำตอบที่ต้องการทราบขึ้นมา
2. ขั้นตั้งสมมติฐาน (Hypothesis) เป็นขั้นตอนการทดลองคิดหาคำตอบของปัญหาโดยวิธีการอนุมาน (วิธีการอนุมาน เป็นการคาดคะเนสมหลักเหตุผล โดยหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่างข้อเท็จจริงหลักกับข้อเท็จจริงย่อย แล้วสืบหาข้อเท็จจริงย่อยมาเสริมข้อเท็จจริงหลัก เป็นการมองจากข้อเท็จจริงใหญ่สู่ข้อเท็จจริงย่อย แล้วทำการสรุป เช่น นกทุกชนิดมีปีก นกเอี้ยงเป็นนกชนิดหนึ่ง สรุปว่านกเอี้ยงมีปีก)
3. ขั้นการรวบรวมข้อมูล (Gathering Data) เป็นขั้นการออกแบบการวิจัยและการรวบรวมข้อมูลจากตัวอย่างประชากรที่ต้องการศึกษา
4. ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis) เป็นวิธีการนำข้อมูลที่ได้มาประมวลผลและวิเคราะห์ เพื่อทดสอบสมมติฐานที่ตั้งไว้ เป็นการใช้เหตุผลแบบอุปมาน (วิธีการอุปมาน เป็นการวิเคราะห์ข้อเท็จจรองย่อยที่รวบรวมได้ เพื่อนำไปสู่ข้อสรุปหลัก เช่น จากการสังเกตพบว่า นกแต่ละชนิดมีปีก สรุปว่านกทุกชนิดมีปีก)
5. ขั้นสรุป (Conclusion) สรุปความรู้ที่ได้จากการวิเคราะห์มาเขยนรายาน สรุปผลการศึกษาที่คนพบ
ลักษณะของการวิจัย  การวิจัยที่ดี ควรมีลักษณะที่สำคัญ ดังนี้
1. การวิจัยเป็นการค้นคว้าที่ต้องอาศัยความรู้ ความชำนาญ และความมีระบบ
2. การวิจัยเป็นงานที่มีเหตุผลและมีเป้าหมาย
3. การวิจัยต้องมีเครื่องมือ หรือเทคนิคในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่มีความเที่ยงตรงและเชื่อถือได้
4. การวิจัยต้องมีการรวบรวมข้อมูลใหม่ และได้ความรู้ใหม่ กรณีใช้ข้อมูลเดิมจุดประสงค์การศึกษาจะต้องแตกต่างไปจากเดิม ความรู้ที่ได้อาจเป็นความรู้เดิมได้ในกรณีที่มุ่งวิจัยเพื่อตรวจสอบซ้ำ
5. การวิจัยมักเป็นการศึกษาค้นคว้าที่มุ่งหาข้อเท็จจริง เพื่อใช้อธิบายปรากฏการณ์หรือกฎเกณฑ์ ทฤษฎี หรือตรวจสอบทฤษฎี หรือพยากรณ์ปรากฏการณ์ต่าง ๆ หรือเพื่อวางนัยทั่วไปหรือเพื่อแก้ปัญหา
6. การวิจัยต้องอาศัยความเพียรพยายาม ความซื่อสัตย์ กล้าหาญ บางครั้งจะต้องเฝ้าติดตามผล บันทึกผลอย่างละเอียด ใช้เวลานาน บางครั้งผลการวิจัยขัดแย้งกับความเชื่อของบุคคลอื่นอาจได้รับการโจมตีหรือไม่ยอมรับได้ ผู้วิจัยจะต้องมีความกล้าหาญที่จะเสนอผลการวิจัยตามความจริงที่ค้นพบ
7. การวิจัยจะต้องมีการบันทึก และเขียนรายงานการวิจัยอย่างระมัดระวัง
ประโยชน์ของการวิจัย
1. ช่วยให้ได้ความรู้ใหม่ การวิจัยเกิดการพัฒนาความรู้ทางด้านวิชาการ เกิดการค้นคว้าความรู้ใหม่ทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติ
2. ช่วยพิสูจน์และตรวจสอบความถูกต้องของกฎเกณฑ์ หลักการ และทฤษฎีต่าง ๆ
3. ช่วยให้เข้าใจสถานการณ์ ปรากฏการณ์ และพฤติกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นแล้ว และพยากรณ์สถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผน อันจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาได้ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
4. ผู้บริหารสามารถใช้ผลการวิจัยประกอบการตัดสินใจแก้ไขปัญหา ทำให้ข้อผิดพลาดลดน้อยลง
5. ช่วยปรับปรุงสถานภาพความเป็นอยู่ และการดำรงชีวิตให้ดียิ่งขึ้น
การวิจัยทางเศรษฐศาสตร์ การวิจัยทางเศรษฐศาสตร์เกี่ยวข้องและครอบคลุมเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
1. เป็นการค้นคว้าหาคำตอบในปัญหาการเลือกใช้ทรัพยากร ค้นหาความจริงและหลักเกณฑ์ในการจัดสรรเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
2. การบริโภค การจำแนกแจกจ่าย การแลกเปลี่ยน การเปลี่ยนแปลงขององค์กรและกระบวนการทางเศรษฐกิจ ตลอดจนบทบาทและหน้าที่ต่าง ๆ ของมนุษย์และองค์กรทางเศรษฐกิจ
3. การศึกษาหาหลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติในการกำหนดนโยบาย การวางแผน และมาตรการต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ ตลอดจนการศึกษาวิเคราะห์ผลการดำเนินงานตามนโยบาย ตามแผนและปัญหาต่าง ๆ ในการดำเนินงาน
4. การขยายตัวขององค์กรทางเศรษฐกิจ การทำนายพฤติกรรม และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของมนุษย์และองค์กรเศรษฐกิจในด้านการผลิต การบริโภค การแลกเปลี่ยน การจำแนกแจกจ่าย และการกำหนดราคา เป็นต้น
นอกจากนี้แล้วการวิจัยทางเศรษฐศาสตร์ ผู้วิจัยควรพิจารณาถึงปัจจัยเกี่ยวข้องดังนี้
1. สถาบัน การวิจัยเศรษฐศาสตร์ผู้วิจัยจะต้องเข้าใจโครงสร้างและกระบวนการของสถาบันที่ต้องศึกษา โดยพิจารณาว่าสถาบันหรือองค์กรทางเศรษฐกิจนั้น มีองค์ประกอบอย่างไร และมีบทบาทหน้าที่อะไร ตลอดจนนโยบายของสถาบันที่ศึกษาว่ามีจุดประสงค์อะไรในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
2. กฎ ทฤษฎี และสมมติฐานทางเศรษฐศาสตร์
กฎ คือ ข้อเท็จจริงที่สามารถอธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น สามารถทดสอบได้ และเป็นจริงเสมอ
ทฤษฎี คือ แนวความคิดหรือตัวแปรหลายตัว ที่จัดไว้อย่างเป็นระบบและแสดงความสัมพันธ์กัน ระหว่างแนวคิดหรือตัวแปรเหล่านั้นว่ามีความเชื่อมโยงกันอย่างไร และสามารถนำไปใช้อธิบาย หรือคาดคะเนปรากฏการณ์ที่ศึกษาได้
สมมติฐาน คือ ข้อเท็จจริงที่ระบุถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรหรือระหว่างข้อความในเชิงที่สามารถทำการทดสอบได้ โดยทั่วไปสมมติฐานเป็นส่วนหนึ่งของทฤษฎี หากข้อข้อสมมติฐานหรือทฤษฎีที่ได้รับการทดสอบว่าเป็นจริงเสมอจึงกลายเป็นกฎ
ปัญหาของการวิจัยทางสังคมศาสตร์คือ คำอธิบายเกี่ยวกับสาเหตุและผลของการเกิดปรากฏการณ์ทางสังคม มักจะเป็นคำอธิบายในลักษณะของความน่าจะเป็นไปได้มากกว่าการกำหนดเป็นกฎตายตัว เนื่องจากศาสตร์ทางสังคมศึกษาปรากฏการณ์ทางสังคมที่มีเงื่อนไขต่าง ๆ สลับซับซ้อนมากมาย ดังนั้นคำอธิบายที่หาได้จึงอยู่ในรูปของความเป็นไปได้ในเชิงทฤษฎีมากกว่ากฎ
3. วิธีการ (Methodology) คือวิธีการทีใช้ในการวิจัยเพื่อทดสอบผลของการศึกษา ให้เป็นที่ยอมรับได้ วิธีการทดสอบจะประกอบด้วย
1.) วิธีการวิเคราะห์ โดยการตั้งสมมติฐาน และกำหนดวิธีการทดสอบสมมติฐานโดยวิธีการทางสถิติ
2.) การเก็บข้อมูล จะพิจารณาว่าจะเก็บข้อมูลอะไร จากแหล่งไหน และการวัดข้อมูลที่เก็บได้เพื่อนำมาทดสอบ
3.) การตีความหมาย ข้อมูลที่เก้บมาได้จะนำมาทดสอบแล้วจะต้องตีความหมายออกมาให้ผู้อ่านเข้าใจ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
ประเภทของการวิจัย
1. การจำแนกตามเหตุผลของการวิจัย แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ
1.) การวิจัยเบื้องต้น (Basic or Pure Research) เป็นการวิจัยที่มุ่งหาข้อทเจจริงหรือความสัมพันธ์ระหว่างข้อเท็จจริงเพื่อนำไปใช้ทดสอบหรือสร้างทฤษฎีอธิบายปรากฏการณ์ เป็นการวิจัยเพื่อเพิ่มพูนความรู้โดยไม่มีวัตถุประสงค์จะนำผลการวิจัยไปใช้
2.) การวิจัยประยุกต์ (Applied Research) เป็นการวิจัยที่มุ่งหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน เพื่อแก้ปัญหาหรือเพื่อการตัดสินใจ เช่น การวิจัยทางด้านเศรษฐกิจและสังคม
3.) การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) เป็นการวิจัยที่มุ่งหาทางออกในการแก้ไขปัญหาอย่างรีบด่วนหรือปัจจุบันทันที เช่น การวิจัยเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม
2. จำแนกตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1.) การวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) เป็นการวิจัยเพื่อค้นหาข้อเท็จจริงใหม่ ๆ ในสภาพปัจจุบัน ว่าปรากฏการณ์นั้นเป็นอย่างไร เกิดขึ้นบ่อยเพียงใด มีลักษณะที่สำคัญอย่างไร เช่น การวิจัยเรื่องการวิเคราะห์อุปสงค์การบริโภคเนื้อสุกรในประเทศไทย
2.) การวิจัยเชิงอธิบาย (Explanatory Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อหาคำตอบคำอธิบายให้กับปรากฏการณ์ต่าง ๆ ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร ทำไม เช่น การศึกษาเรื่องปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
3. การจำแนกตามวิธีการศึกษา แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1.) การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เป็นการวิจัยที่ค้นหาข้อเท็จจริงโดยอาศัยข้อมูลที่เป็นเชิงปริมาณ มีตัวเลขเป็นหลักฐานยืนยันความถูกต้องของข้อค้นพบในการวิเคราะห์ข้อมูลต้องใช้วิธีการทางสถิติเข้าช่วย
2.) การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เป็นการวิจัยที่ค้นหาข้อเท็จจริงโดยอาศัยข้อมูลที่เป็นเชิงคุณภาพ การเก็บรวบรวมข้อมูลต้องการให้ได้สภาพจริงตามธรรมชาติ ตามปรกติ ดังนั้นการเก็บข้อมูลจะใช้การสังเกต การจดบันทึกราบละเอียดต่าง ๆ โดยมิได้เก็บเป็นตัวเลข แล้วนำข้อมูลมาทำการวิเคราะห์ อาจเรียกว่า การวิจัยเชิงมนุษยวิทยา
4. การแบ่งตามชนิดของข้อมูล แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1.) การวิจัยเชิงประจักษ์ (Empirical Research) เป็นการวิจัยที่ต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิในสภาพปัจจุบัน เช่น การใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ และการใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล
2.) การวิจัยเชิงวิพากษ์วิจารณ์ (Non-empirical Research) เป็นการวิจัยที่ต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่มีอยู่แล้วในเอกสาร หนังสือ ตำรา ฯลฯ มักใช้วิธีการวิพากษ์วิจารณ์แทนการใช้วิธีการทางสถิติ
5. การแบ่งตามลักษณะการเก็บข้อมูล แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1.) การวิจัยสนาม (Field Research) เป็นการวิจัยที่ต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลจริง ใช้ข้อมูลปฐมภูมิที่ได้ในสภาวะที่ไม่มีการควบคุมเป็นการศึกษาในสภาวะธรรมชาติที่เป็นจริง ผู้วิจัยจะใช้การเก็บข้อมูลแบบสอบถาม สังเกตหรือสัมภาษณ์ก็ได้ ข้อมูลที่ได้จะมีคุณสมบัติและขอบเขตตรงกับความต้องการในการวิเคราะห์ของผู้วิจัย ข้อมูลมักมีลักษณะเป็นข้อมูลแบบเวลาเดียวกันหรือเป็นภาคตัดขวาง (Cross-section Data) ในการวิจัยทางเศรษฐศาสตร์จุลภาคมักใช้วิธีการในลักษณะนี้
2.) การวิจัยจากเอกสาร (Document Research) เป็นการวิจัยประเภทที่ใช้ข้อมูลจากเอกสารซึ่งเป็นข้อมูลทุติยภูมิ หรือใช้ข้อมูลปฐมภูมิที่มีผู้เรวบลรวมไว้แล้วแต่ยังไม่ได้พิมพ์เผยแพร่เป็นรายงาน ผู้วิจัยจะต้องตรวจสอบและพิจารณาถึงนิยามของตัวแปรนั้นว่าตรงกับนิยามหรือขอบเขตที่ผู้วิจัยต้องการหรือไม่
บางครั้งจะต้องมีการคำนวณค่าตัวแปรขึ้นมาใหม่จากข้อมูลที่ได้มาแล้วจึงนำมาวิเคราะห์ ข้อมูลที่ใช้มักเป็นข้อมูลอนุกรมเวลา (Time-series Data) ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของปรากฏการณ์จากเวลาหนึ่งไปยังอีกช่วงเวลาหนึ่ง หรือเพื่อดูพัฒนาการของปรากฏการณ์ งานวิจัยทางเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นการวิจัยเอกสาร
"ให้เขียนข้อเสนอการวิจัยเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยมีสาระสำคัญครบถ้วนตามแบบเสนอห้อข้อและเค้าโครงการวิจัย รวมทั้งมีการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลให้ถูกต้องตามระเบียบวิธีวิจัย"

อ่านแล้วก็น่าจะตีความได้ว่า ไม่ใช่ให้ทำงานวิจัยแบบเต็มๆ แต่เป็นการทำข้อเสนอการวิจัยแบบมีสาระสำคัญที่ครบถ้วนตามแบบเสนอหัวข้อและเค้าโครงการวิจัย จึงขอสรุปสาระสำคัญในสิ่งที่ต้องเขียนส่งอาจารย์ ดังนี้
1.      บทที่ 1 บทนำ ประกอบด้วย
1.1 ชื่อโครงการวิจัย
1.2 ชื่อผู้วิจัย
1.3 ประเภทการวิจัย (การวิจัยเชิงปริมาณ หรือเชิงคุณภาพ)
1.4 คำสำคัญของการวิจัย (Abstract)
1.5 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
-          (เกริ่นนำ 2-3 หน้าและปิดท้ายด้วย จากปัญหาดังกล่าว ต้องการอะไร ได้อะไร เป็นอย่างไร)
1.6  วัตถุประสงค์   (เพื่อศึกษา เพื่อเป็นแนวทาง เพื่อแก้ไขปัญหา)
1.7       สมมุติฐาน (ถ้ามี) ได้มาจากผลการสำรวจแนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นการคาดคะเนถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ศึกษา เช่น สมมติฐานเชิงเหตุและผล
1.8    ขอบเขตการวิจัย (ขอบเขตด้านเนื้อหา ,ขอบเขตด้านพื้นที่ ,และระยะเวลา)
1.9       ข้อตกลงเบื้องต้น (ถ้ามี)เป็นการแถลงถึงเงื่อนไขในการทำวิจัยและเงื่อนไขของผลการวิจัยที่ได้รับ ซึ่งจะเป็นสถานการณ์ ข้อเท็จจริง หรือข้อสันนิฐาน ของงานวิจัยที่กำหนดไว้ล่วงหน้าและสามารถยอมรับได้ โดยไม่ต้องพิสูจน์ เช่น การใช้ชื่อสมมติแทนชื่อจริง กรณีเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล เป็นอันตราย เกียรติยศชื่อเสียง การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ
1.10   ข้อจำกัดของการวิจัย (ถ้ามี) เป็นการระบุปัจจัยที่อาจจะมีผลทำให้งานวิจัยนั้นไม่สมบูรณ์ เช่น การกระทบถึงบุคคลที่ 3
1.11  นิยามศัพท์เฉพาะ เป็นการให้ความหมาย คำนิยาม หรือคำจำกัดความ เช่น นิยามศัพท์เฉพาะของตัวแปร สมมติฐาน (ไม่ต้องอ้างอิงว่ามาจากไหน เป็นความเข้าใจของเราเอง)
1.12 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ  เป็นการแสดงถึงความสำคัญ การมีคุณค่า ในงานวิจัยชิ้นนี้ว่าสำเร็จแล้วจะได้ประโยชน์อย่างไร ต่อใคร เขียนเป็นข้อๆ และต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัยด้วย
(วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ก็อ้างถึงเอกสารต่างๆ ที่คิดว่าจะต้องใช้อ้างถึง เช่น- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ....- พระราชบัญญัติ..... พ.ศ. ....- การบริหารจัดการ.....- การพัฒนาระบบ ....- บทบาทของผู้บริหาร.....แล้วก็อ้างถึงมาตรา หรือระเบียบ ประกาศ ข้อบังคับ หรือข้อความสำคัญที่จะเกี่ยวข้องกับหัวข้องานวิจัยมาพอสังเขปตามเอกสารที่อ้างถึงทุกฉบับ) 
2.       บทที่ 2 แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
          วิธีดำเนินการวิจัย ประกอบด้วยวิธีการ
1.       วิธีการวิจัย
2.       ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
3.       เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
4.       การเก็บรวบรวมข้อมูล
5.       การวิเคราะห์ข้อมูล
3.1  วิธีการวิจัย หรือ การออกแบบการวิจัย เป็นการเชื่อมโยงประเด็นของการวิจัย แนวความคิดในการวิจัยให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย
1.       การทดลอง Experiments
2.       การวิจัยที่มีการบันทึกไว้แล้ว Unobtrusive Research หรือ การวิจัยเอกสาร
3.       การวิจัยสำรวจ(Survey Research) มักใช้แบบสอบถาม
4.       การวิจัยสนาม (field Research) เป็นการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างหรือแบบเป็นทางการ
5.       การวิจัยประเมินผล evaluation research หรือ การประเมินผลโครงการ Program evaluation
3.2 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ที่จะใช้ในการวิจัย ที่ต้องศึกษา ที่ต้องเก็บข้อมูล เป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่มีก็ได้
1)       กลุ่มตัวอย่าง เนื่องจากประชากรขนาดใหญ่จำเป็นต้อง ใช้การสุ่มตัวอย่าง Sampling Method แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
1)       การสุ่มตัวอย่างที่คำนึงถึงความน่าจะเป็น (Probability Sampling) กรณีมีประชากรขนาดใหญ่
- การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling)
- การสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ (Systematic Sampling)
- การสุ่มตัวอย่างแบบตามลำดับชั้น/แบ่งชั้นภูมิ(Stratified Random Sampling)
- การสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Sampling)
2)       การสุ่มตัวอย่างที่ไม่คำนึงถึงความน่าจะเป็น (Non Probability Sampling) กรณีมีประชากรศึกษาน้อย
- แบบบังเอิญ (Accidental Sampling) ไม่น่าเชื่อถือ
- แบบเจาะจง (Purposive or Judgmental Sampling) ให้เลือกแบบนี้
- ตามโควต้า (Quota Sampling)
- โดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่ถูกเลือกเป็นตัวอย่าง (Snowball Sampling)
3.3   เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1)       การสัมภาษณ์ (เชิงคุณภาพ)
-          แบบมีโครงสร้างหรือแบบเป็นทางการ(Structured Interview or Formal Interview) ง่ายสุด อ.แนะนำให้ใช้
-          แบบไม่มีโครงสร้าง (Non Structured Interview or Formal Interview)
§  สัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ informal interview(เปิดกว้างไม่จำกัดคำตอบ หยืดหยุ่นมาก)
§  สัมภาษณ์แบบมีจุดสนใจเฉพาะ (focus interview)
§  การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (key informal interview)
2)       แบบสอบถาม (Questionnaire) วิจัยเชิงปริมาณ (ผู้วิจัยเก็บข้อมูลเอง , ผู้ช่วยนักวิจัย กำหนดคุณสมบัติ อบรม)
     (2.1) แบบสอบถามปลายปิด เพื่อประเมินด้านคุณลักษณะของ..(ใคร)...
     (2.2) แบบสอบถามปลายเปิดสำหรับ.(ใคร).เพื่อประเมินด้าน(อะไร)ของ(ใคร)
3) แบบสังเกต (Observation)
                 (3.1) การสังเกตแบบมีส่วนร่วม participant observation ทำตัวให้เหมือนผู้ถูกศึกษา
                 (3.2) การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม Non participant observation
3.4 วิธีการเก็บและรวบรวมข้อมูล บอกแค่ว่าใช้วิธีการอะไร เช่น การวิจัยเชิงคุณภาพ
- ข้อมูลทุติยภูมิคือ ข้อมูลจากเอกสารต่างๆ สื่ออิเลคทรอนิกส์ วิทยานิพนธ์
- ข้อมูลปฐมภูมิ คือ ข้อมูลจากแบบสอบถามโดยตรง
                        ตัวอย่างการเก็บรวบรวมข้อมูล
- การวิจัยเชิงเอกสาร Documentary research ข้อมูลจากเอกสารต่างๆ สื่ออิเลคทรอนิกส์ วิทยานิพนธ์
- การวิจัยภาคสนาม field research การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกต่อกลุ่มเป้าหมาย
3.5 การวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผลการวิจัย
    การวิเคราะห์ข้อมูลคือ การจัดระเบียบข้อมูล เพื่อสรุปผลการศึกษา
-          การวิจัยเชิงปริมาณ  ใช้สถิติและวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล ก็บอกสั้นว่าใช้วิธีการอะไร เครื่องมือใด สถิติอะไรวิเคราะห์ เช่น - หาค่าเฉลี่ย ( X bar) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( S.D) และ Chi-Square test
-          ถ้าวิจัยเชิงคุณภาพ จะเป็นการตีความและวิเคราะห์เชิงบรรยาย เช่น ใช้วิเคราะห์เนื้อหา content analysis มีความเป็นระบบ สภาพวัตถุวิสัย และอิงกรอบแนวคิดทฤษฎี
-          การตีความ สร้างข้อสรุปแบบอุปมัย Induction) จากปรากฏการณ์ที่มองเห็น เช่น พิธีกรรม การทำมาหากิน ความเป็นอยู่ในสังคม ฯลฯ
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย
1.       สถิติเชิงพรรณนา descriptive statistics
2.      สถิติเชิงทดสอบ testing statistics ใช้ chi-square test ในการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตาม
ภาคผนวก
ü การอ้างอิง
-          จากเว็บไซด์ (จากเนื้อหา ............................................(กระทรวงการคลัง,กรมศุลกากร,2548)
-          จากหนังสือหรือวารสาร (วิโรจน์  ก่อสกุล (2553,หน้า 7) กล่าวว่า ................................................)กรณีไม่ปรากฏปีที่พิมพ์ (“ม.ป.ป.”หรือ “n.d”) เช่น ชลิดา  ศรมณี (ม.ป.ป., หน้า 25) อธิบายว่า................. หรือ ไม่มีชื่อผู้แต่ง เช่น การคุ้มครองผู้บริโภค.(2552,กรกฎาคม 10). ไทยรัฐ , หน้า 2. เป็นต้น
-          การอ้างอิงจากวิทยานิพนธ์ เช่น ธวัช  เสรีทัศน์ (2543) ศึกษา............................................................. พบว่า.....................................................................
-          การเขียนอ้างอิงข้อมูลทุติยภูมิ เช่น Babbie (อ้างถึงในเฉลิมพล  ศรีหงส์, ม.ป.ป.,หน้า 2 ) กล่าวว่า.........................................
-          การอ้างอิงเอกสารที่เป็นการติดต่อส่วนบุคคลหรือสัมภาษณ์ เช่น (วิโรจน์  ก่อสกุล,การสัมภาษณ์ส่วนบุคคล,15 ธันวาคม 2552) หรือ วิโรจน์  ก่อสกุล (การสัมภาษณ์ส่วนบุคคล,15 ธันวาคม 2552)
ü บรรณานุกรม(bibliography)
ตัวอย่าง......

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น