วันเสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

PA 702 ระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์ ผศ.ประภาส ปิ่นตบแต่ง

1.เรื่องที่ควรทำวิจัย
          - การบริหารและการปกครอง (Governance) ที่ก้าวพ้นการมุ่งสร้างประสิทธิภาพในการบริหารด้วยวิธีคิดเรื่องวิทยาศาสตร์การบริหารจัดการ
          - ไม่ลุ่มหลงกับการสร้างทฤษฎีหรือตัวแบบขนาดใหญ่ ที่มีลักษณะสากล (Grand Theory)
          - ออกห่างจากสำนักพฤติกรรมศาสตร์ ซึ่งพยายามหาทฤษฎีทั่วไป มาสู่ปรากฏการณ์วิทยา (Truth vs truth(s))
ปรัชญาพื้นฐานและความสำคัญของการวิจัย
ความแตกต่างของการแสวงหาความรู้ 2 แนวทาง
1.       แนวคิดแบบปฏิฐานนิยม Positivism) เป็นฐานคิดของวิจัยเชิงปริมาณ
2.       แนวคิดแบบปรากฏการณ์นิยม Phenomenology เป็นฐานคิดของการวิจัยเชิงคุณภาพ
แนวคิดแบบปฏิฐานนิยม Positivism)
-          การใช้วิธีแสวงหาความรู้แบบวิทยาศาสตร์ ธรรมชาติ มีพื้นฐานจากวิทยาศาสตร์
-          เน้นการแสวงหาความรู้เชิงประจักษ์ หรือจากพฤติกรรม
-          เน้นข้อมูลที่แจงนับได้และวัดได้ หรือวิธีการเชิงปริมาณ
การกำหนดกรอบในการศึกษาโดยอาศัยตัวแบบในการนำนโยบายไปปฏิบัติ
ตัวแปรอิสระ
ตัวแปรตาม
ผล
1.       คน
2.       เงิน
3.       วัสดุอุปกรณ์
4.       การจัดการ
ผลของการนำ
นโยบายไปปฏิบัติ
สำเร็จ
ไม่สำเร็จ
ตัวแบบในการพัฒนาองค์การ

ตัวแปรอิสระ
ตัวแปรตาม
ภาวะผู้นำ
การจูงใจ/ขวัญกำลังใจ
การมีส่วนร่วม
การทำงานเป็นทีม
ผลของการนำ
นโยบายไปปฏิบัติ
มีตัวอย่างหน้า 32-35 ในหนังสือผศ.ประภาส
แนวคิดแบบปรากฏการณ์นิยม Phenomenology
1.       พื้นฐานความรู้มาจากมานุษยวิทยา
2.       พฤติกรรมมนุษย์เป็นผลมาจากที่มนุษย์ให้ความหมาย (meanings)
3.       ให้ความสำคัญแก่ข้อมูลที่เป็นความรู้สึกนึกคิด
4.       ความรู้ทางสังคมศาสตร์ คือ การศึกษาความหมายที่มนุษย์ให้ต่อสิ่งรอบตัว
5.       การศึกษาในฐานะของการเป็น “คนใน” vs การศึกษาแบบ “คนนอก” (เครื่องมือที่เป็นปรนัย)
ลักษณะของงานวิจัยเชิงคุณภาพ
-          เน้นการมองปรากฏการณ์ให้เห็นภาพรวมและบริบท
-          เป็นการศึกษาติดตามระยะยาวและเจาะลึก vs การศึกษาแบบตัดขวาง(ของวิธีการเชิงปริมาณ)
-          ศึกษาปรากฏการณ์จริง(วิธีการศึกษาที่เป็นธรรมชาติ) vs การศึกษาในห้องวิจัย
-          คำนึงถึงความเป็นมนุษย์ของผู้ถูกวิจัย vs การมองแบบวัตถุ
-          ความหมายในทัศนะของผู้ถูกศึกษา (emic view)  vs ความหมายของนักวิจัยหรือผู้ศึกษา (etic view)
-          ใช้การพรรณนาและการวิเคราะห์แบบอุปนัย Inductive vs วิธีแบบนิรนัย (Deductive)
-          (วิธีการศึกษาที่เป็นธรรมชาติ คือการเอาตนเองเป็นเครื่องมือสำคัญในการเก็บข้อมูล)
วิธีแบบนิรนัย (Deductive)หรืออนุมาน
-          เริ่มต้นจากการตั้งสมมติฐานหรือทฤษฎีที่ตั้งขึ้นหรือมีอยู่ก่อน
-          อาศัยทฤษฎีหรือสมมติฐานเป็นกรอบในการเก็บข้อมูล
-          การเก็บข้อมูลเป็นไปเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของสมมติฐาน
-          เป็นการมองจากกฎเกณฑ์ สมมติฐาน หรือทฤษฎีอันเป็นจุดเล็กไปสู่สิ่งที่กว้างออกไป คือปรากฏการณ์ที่เป็นจริง
-          มองจากช่องเล็กจากก้นกรวยที่กว้างออกไปสู่ปากกรวย
(ตัวอย่างภาพหน้า 56)
วิธีการแบบอุปนัย(อุปมาน) Inductive
-          เริ่มต้นจากปรากฏการณ์หรือข้อเท็จจริง ข้อมูล ตามที่มีอยู่หรือเป็นอยู่มาก่อน
-          รวบรวมข้อมูลจนเพียงพอแล้วจึงหาข้อสรุป สมมติฐาน หรือทฤษฎีเพื่อหาข้อสรุปทั่วไป
-          เป็นการมองจากปากกรวย คือ ข้อเท็จจริงทางสังคม มาสู่ก้นกรวยซึ่งเป็นข้อสรุปที่มีจุดเล็ก
-          มีลักษณะเป็นทฤษฎีติดดิน(Grounded Theory)
คำเรียกการวิจัยเชิงคุณภาพ
-          Qualitative Research
-          การวิจัยเกี่ยวข้องกัยคุณภาพ(ตาราชบัณฑิตสถาน)
-          การวิจัยเชิงคุณภาพ(ตามความนิยม)
-          การวิจัยเชิงคุณลักษณะ
-          Ethnographic Research การวิจัยชาติพันธุ์วรรณนา
-          Field Research การวิจัยภาคสนาม
-          Anthropological Research
-          Phenomenological Research
เมื่อใดควรใช้งานวิจัยเชิงปริมาณหรือเชิงคุณภาพ ข้อสังเกตจากประสบการณ์ทำวิจัย

1.      การวิจัยที่ต้องการพยากรณ์ ทำนาย พฤติกรรมของบุคคลในกลุ่มประชากรขนาดใหญ่ และต้องการหาข้อมูลทั่วไป จำเป็นต้องใช้ข้อมูลเชิงปริมาณ เช่นการสำรวจประชามติ การเลือกตั้ง
2.      เมื่อต้องการเข้าใจความหมายในระดับลึกซึ้งของปรากฏการณ์
3.      การวิจัยประวัติศาสตร์ที่ไม่สามารถอาศัยวิธีการศึกษาเชิงปริมาณได้ จำเป็นต้องใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ
4.      ศึกษาสังคมที่มีข้อจำกัดในการใช้ภาษา เช่น การศึกษาชนเผ่า
5.      งานศึกษาที่ไม่มีกรอบแนวคิดชี้นำมาก่อน หรือเป็นการศึกษาเพื่อสร้างข้อสรุปใหม่ๆ ในทางวิชาการ จำเป็นต้องศึกษาด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อสร้างข้อสรุปในลักษณะของทฤษฎีติดดิน (Grounded Theory)
ข้อควรระวัง
·       ต้องตระหนักว่าการวิจัยเชิงคุณภาพมีลักษณะเป็นกรณีศึกษา ไม่สามารถอนุมานไปสู่ข้อสรุปทั่วไปได้ (Overgeneralization) ตรงนี้เป็นความเชื่อมต่อระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณหากจะหาข้อสรุปทั่วไป
·       ต้องตระหนักว่า ผู้วิจัยคือ เครื่องมือศึกษา นำมาสู่ปัญหาความเอาจริงเอาจังของผู้ศึกษา
·       ปัญหาเรื่องความน่าเชื่อถือของข้อมูล นำมาสู่ปัญหาจริยธรรมของนักวิจัย     
ความเป็นมาของการวิจัยเชิงคุณภาพ
·       กำเนิด และพัฒนาการมาจากมานุษยวิทยา
·       ยุคแรกมีลักษณะเป็น Armchair Scholar
·       งานบุกเบิกของ บอนิสลอ มาลินอสกี (Bronislaw Malinoski) “Argonaut of the Western”ศึกษาภาคสนามที่หมู่เกาะโทรเบียน
·       งารนศึกษาของ แรคคริฟ-บราวน์ (A.R>Radcliffe-Brown) เรื่อง “The Andaman Islanders”
·       งานศึกษาของ Margaret Mead
งานวิจัยเชิงคุณภาพของไทย
·       ยุคบุกเบิก
·       พระยาอนุมานราชธน
·       กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
·       ยุคนักมานุษยวิทยารุ่นแรก(ทศวรรษ 1960)
·       อคิน รพีพัฒน์ ,สุเทพ สุนทรเภสัช
·       ยุคการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมช่วงต้นทศวรรษ 1980 กระแสวัฒนธรรมชุมชน กระแสชุมชนนิยม(งานเรื่องป่าชุมชน ไร่หมุนเวียนฯลฯ)
ตัวอย่างงานวิจัยเชิงคุณภาพ
·       อคิน รพีพัฒน์ ชีวิตและจุดจบของสลัมแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร
·       ศุลีมาน  นฤมล นางงานในตู้กระจก
·       ประภาส  ปิ่นตบแต่ง การเมืองบนท้องถนนฯ
ตัวอย่างหัวข้อวิจัย(อย่างง่าย)

 สิ่งที่ต้องคิดต่อสำหรับการออกแบบวิจัย

                   การนิยาม และสร้างตัวชี้วัดตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม
          -ระดับการหนุนเสริม คือ ปริมาณงบประมาณและการช่วยของเจ้าหน้ารัฐที่ลงไปในชุมชน
          -ระดับความเข้มแข็งของชุมชน คือ การมีกลุ่มองค์กรเดิมที่ทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง 
          -ระดับรายได้ หมายถึง ปริมาณรายได้ที่เพิ่มขึ้นกว่าแต่เดิมมากกว่า ร้อยละ 30
                   วิธีการเก็บข้อมูล
          -จะใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณหรือเชิงคุณภาพ
          -หากเลือกวิธีการเชิงปริมาณ
          -ประชากรและกลุ่มตัวอย่างจะได้มาอย่างไร
          -การสร้างเครื่องมือ แบบสอบถาม และการทดสอบความน่าเชื่อถือ
          -การวางแผนการเก็บข้อมูล
          -การวิเคราะห์ข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์  ฯลฯ
เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพ
                   ก่อนการเก็บข้อมูล
                  การเตรียมตัวทำงานภาคสนาม
                 ทฤษฎี กรอบแนวคิดกับงานวิจัยเชิงคุณภาพ
วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ
                 การสังเกต
                 การสัมภาษณ์
                 การเก็บข้อมูลด้วยวิธีการจัดกลุ่มเสวนา
                 การใช้แหล่งข้อมูลเอกสาร
การเตรียมตัวทำงานภาคสนาม
1.การเลือกสนาม
- การเตรียมตัวเข้าสนาม, อุปกรณ์วิจัย, การแต่งกาย, อาหารการกิน ที่พัก ฯลฯ)  
2.การวางแผนการเก็บข้อมูล (การเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (key informants) สังเกต ฯลฯ)
3. การแนะนำตัวต่อชุมชน หรือหน่วยงาน/องค์กร
4.การสร้างความสัมพันธ์ผู้คนที่อยู่ในสนามหรือปรากฏการณ์ ฯลฯ  
งานวิจัยเชิงคุณภาพกับทฤษฎีและกรอบแนวคิด
งานวิจัยเชิงคุณภาพไม่จำเป็นต้องมีทฤษฎีจริงหรือ?
          -ต้องสำรวจกรอบแนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องอย่างกว้างขวางเพื่อนำมาช่วยในการตั้งคำถาม
          -ต้องใช้ทฤษฎีเป็นแผนที่ในการศึกษา โดยสร้างสมมติฐานชั่วคราว
          -ตรวจสอบข้อมูลกับกรอบแนวคิดกลับไปกลับมาระหว่างการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล
เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพ
การสังเกต

          -ความหมายและความสำคัญของการสังเกต
          -ประเภทของการสังเกต  (การสังเกตแบบมีส่วนร่วม  แบบไม่มีส่วนร่วม)
          -ปัญหาของการสังเกต
          -ข้อได้เปรียบและข้อเสียเปรียบของการสังเกต
          -ตัวอย่างงานศึกษาด้วยการสังเกต
การสังเกต (observation)
                   การสังเกต คือ
          การเฝ้าดูอย่างเอาใจใส่ สังเกตสิ่งที่กำหนดไว้ และพิจารณาอย่างมีระเบียบ และเป็นการเฝ้าดูแลสิ่งที่ปรากฏขึ้น เพื่อหาความสัมพันธ์ของสิ่งที่เกิดขึ้น หรือหาว่าสิ่งใดเป็นเหตุ เป็นผลของปรากฏการณ์ดังกล่าว 
ประเภทของการสังเกต
1.การสังเกตแบบมีส่วนร่วม คือ การนำตัวนักวิจัยเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของปรากการณ์ (เช่น การเข้าไปอยู่ในชุมชนที่เราศึกษา เป็นส่วนหนึ่งของขบวนการเคลื่อนไหว ฯลฯ)
2.การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม คือ นักวิจัยไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของปรากฏการณ์  (เช่น แพทย์สังเกตอาการคนไข้จากยาที่ทดลอง ฯลฯ)
สิ่งที่ต้องทำในใช้วิธีการสังเกต
                   การสำรวจกรอบแนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมากำหนดเป็นสมมติฐานชั่วคราว
                   การจดบันทึกข้อมูลภาคสนามอย่างละเอียด
                   การวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสังเกต
                   การเก็บข้อมูลด้วยการสังเกตเพิ่มเติม  หรือตรวจสอบข้อมูลด้วยวิธีการอื่น
ข้อได้เปรียบของการใช้วิธีการสังเกต
1.ได้ข้อมูลที่ผู้ถูกศึกษาไม่ได้บอกให้ฟัง
2.ได้ข้อมูลที่ผู้ถูกศึกษาไม่อยากเล่าให้ฟัง
3.ได้หลักฐานเพิ่มเติมจากการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการอื่น เช่น การสัมภาษณ์
4.ได้ข้อมูลทันทีโดยไม่ต้องผ่านการบอกเล่า
ข้อเสียเปรียบหรือควรระวัง
1.ไม่สามารถใช้ได้กับปรากฏการณ์ทางสังคมที่ไม่เกิดขึ้นในระยะเวลาที่ศึกษา (เช่น การปฏิวัติ การเลือกตั้ง พิธีบรมราชาภิเษก ฯลฯ)
2.ไม่สามารถศึกษาข้อมูลที่เป็นเรื่องต้องห้าม เช่น เรื่องส่วนตัว พิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ ฯลฯ)
3.ไม่สามารถได้ข้อมูลครบถ้วนทุกแง่มุม เพราะผู้สังเกตไม่สามารถอยู่ในทุกแง่มุมของเหตุการณ์ได้
การสัมภาษณ์
ประเภทของการสัมภาษณ์
1.การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ)
2.การสัมภาษณ์สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ :   การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ
                   การสัมภาษณ์แบบเปิดกว้างไม่จำกัดคำตอบ
                   การสัมภาษณ์แบบมีจุดความสนใจเฉพาะ หรือการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก
ผู้ให้สัมภาษณ์ (Interviewee)
                   ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) คือใคร
   -เป็นผู้ที่มีความรู้ หรือมีประสบการณ์ในเรื่องที่ศึกษา รู้เรื่องรู้ราว
   -มีความเต็มใจที่จะพูดคุยด้วย
   -ต้องมีความหลากหลายของผู้ให้ข้อมูลสำคัญ
   -เลือกอย่างเจาะจงโดยคำนึงถึงจุดมุ่งหมายของการวิจัย

ขั้นตอนของการสัมภาษณ์
                   การเตรียมสัมภาษณ์
          -การวางแผนสัมภาษณ์คำถาม ข้อมูลพื้นฐานของผู้ถูกสัมภาษณ์ อุปกรณ์จดบันทึก การนัดหมาย ฯลฯ)
                   ขั้นตอนการสัมภาษณ์
          -แนะนำตัว การสร้างบรรยากาศเป็นกันเอง การบอกวัตถุประสงค์ ตรงไปตรงมากับผู้ให้สัมภาษณ์ เช่น ถ้าอัดเทปต้องบอกล่วงหน้า ฯลฯ
สิ่งที่ควรคำนึงในการสัมภาษณ์
                   ถามคำถามแบบเปิดกว้างเสมือนหนึ่งผู้วิจัยไม่มีความรู้ในเรื่องที่สัมภาษณ์
                   ทำการบ้านก่อนที่จะสัมภาษณ์ /เตรียมความพื้นฐานเกี่ยวกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ
                   การเตรียมแนวคำถามเอาไว้เพื่อเป็นแผนที่ในการซักถาม
          -แนวคำถามเหมือนแผนที่ในการขับรถ เพื่อไปถึงจุดหมาย
เทคนิคการสัมภาษณ์
          -การแนะนำตัว
          -การเลือกสถานที่สัมภาษณ์
          -การบันทึกคำตอบ
          -ภาษาที่ใช้ในการสัมภาษณ์ มนุษยสัมพันธ์
          -จรรยาบรรณในการสัมภาษณ์
          -แบบสอบถามและการตั้งคำถาม
ข้อดีข้อเสียของการสัมภาษณ์
ข้อดี
1. สามารถใช้กับคนทุกระดับการศึกษา
2.ช่วยแก้ปัญหาในการได้รับแบบสอบถามคืนน้อย
3.สามารถเข้าใจถึงความรู้สึกนึกคิด ของผู้ให้สัมภาษณ์ได้ระดับหนึ่งฯลฯ

ปัญหาในการสัมภาษณ์
1.เปลืองค่าใช้จ่ายค่อนข้างมาก
2.ความน่าเชื่อถือของข้อมูลจะขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้สัมภาษณ์ และความเต็มใจของผู้ถูกสัมภาษณ์  (เช่น กรณีการวิจัยเรื่องการขายบริการ การซื้อเสียงเลือกตั้ง การทุจริตคอรัปชัน ฯลฯ)
กลุ่มเสวนา(Focus Group)
Focus Group Check List
          -Topic
          -Discussion Guide
          -Personnel: Moderator/Note Taking/Manager
          -Site of Group Discussion
          -Tape Recorder
          -Discussion Aids (Snacks)
          -Participants
          -Gifts
Before the Session
                   Theory & Literatures
                   Discussion Guide
                   Pretest the Discussion Guide and Moderator Orientation
                   Contacting Community & Appointment
After the Session
                   Tape & Note transcripts
                   Transcripts Reading & Data Analysis
                   Changing Participants & Site
                   Individual Interview for More Information
                   Report Writing
แหล่งข้อมูลเอกสาร
                   มีเอกสารอะไรบ้างที่เกี่ยวข้อง สำคัญงานวิจัยที่ทำ
          -เอกสารชั้นต้น  (แผนงาน/โครงการ รายงานผลการดำเนินงาน   รายงานการประเมินผล ฯลฯ)
          -ข้อมูลตัวเลข สถิติที่เกี่ยวข้อง
          -งานวิจัย บทความ บทสัมภาษณ์ ฯลฯ ที่เกี่ยวข้องฯลฯ
                   ตัวอย่างการวิจัยโดยใช้แห่งเอกสาร
การตรวจสอบและการวิเคราะห์ข้อมูล
การตรวจสอบความน่าเชื่อถือของวิจัยเชิงคุณภาพ
ความแตกต่างกับงานวิจัยเชิงปริมาณ
                   งานวิจัยเชิงปริมาณใช้สถิติตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูล
          -การสุ่มตัวอย่างเพื่ออนุมานไปสู่ข้อสรุปของประชากร
          -การตรวจสอบความน่าเชื่อถือด้วยการสร้างเครื่องมือการวิจัย เช่น การวัดความตรง ความเที่ยง ฯลฯ
ความน่าเชื่อถือของงานวิจัยเชิงคุณภาพ
1.    การระบุวิธีการศึกษาอย่างละเอียดเพื่อให้เห็นถึง:
          -ที่มาของแหล่งข้อมูล/วิธีการเก็บข้อมูลที่หลากหลาย รอบด้าน
          -การอยู่ในสนามที่มีเวลายาวนานมากพอที่จะสะท้อนความเป็น คนใน
                   ดูตัวอย่าง งานวิจัยเรื่อง นางงามตู้กระจก” “ชีวิตและจุดจบสลัมแห่งหนึ่ง การเมืองบนท้องถนนฯฯลฯ 
2. การพรรณนานาข้อมูลอย่างละละเอียด ทุกแง่ทุกมุมของปรากฏการณ์ที่ศึกษา
-เพื่อทำให้ผู้อ่านเห็นถึงหลักฐาน ข้อมูล ที่ใช้ในการสร้างข้อสรุปที่มีเหตุผลสนับสนุนที่เพียงพอ
3. การตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูล : การตรวจสอบข้อมูลสามเส้า (data triangulation)
                   การตรวจสอบด้านเวลา สถานที่ และบุคคลผู้ให้ข้อมูลที่แตกต่างกัน
                   การตรวจสอบสามเส้าด้านผู้วิจัย (ตรวจสอบโดยการเปลี่ยนตัวผู้เก็บข้อมูล)
                   การตรวจสอบสามเส้าด้านวิธีการรวบรวมข้อมูล (methodological triangulation) (สัมภาษณ์ สังเกต เอกสาร ฯลฯ)

 การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูล
                   วัตถุประสงคือ การตอบโจทย์ คำถามวิจัย (วัตถุประสงค์ของการวิจัย)
                   ควรกำหนดเค้าโครงการวิเคราะห์ข้อมูล ตามวัตถุประสงค์
วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล
1.วางเค้าโครงการวิเคราะห์โดยกำหนดตามประเด็นย่อยๆ ในวัตถุประสงค์
2. การพรรณนาข้อมูลอย่างละเอียด โดยอาศัยหลักฐานจากการสัมภาษณ์ การสังเกต เอกสาร ฯลฯ
3.การสร้างข้อสรุปจากการพรรณนาข้อมูลโดยอาศัยการวิเคราะห์เชื่อมโยงตรรกะ เหตุผล และการอ้างอิงแหล่งข้อมูลที่ได้จากการศึกษา รวมทั้งอาศัยกรอบแนวคิดทฤษฎี/งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การวิเคราะห์และการนำเสนอข้อมูล(บทที่ 4)
·       วัตถุประสงค์ของการนำเสนอคือ การตอบคำถามวิจัย /วัตถุประสงค์ของงานวิจัย
·       เค้าโครงการนำเสนอข้อมูล : ควรกำหนดตามประเด็นในวัตถุประสงค์ 

วิธีการนำเสนอ
·       การพรรณนาข้อมูลอย่างละเอียดในประเด็นที่วิเคราะห์ ระบุแหล่งที่มาข้อมูล/การอ้างอิงแหล่งข้อมูล บุคคลที่ให้ข้อมูลที่หลากหลาย ฯลฯ
·       การสร้างข้อสรุปจากข้อมูล หลักฐานที่ได้จากการพรรณนาเพื่อตอบโจทย์/คำถามวิจัย
·       (ดูตัวอย่างงานวิจัยต่างๆ)  
บทที่ 5 บทสรุปและข้อเสนอแนะ

·       ทบทวนโจทย์คำถามวิจัย
·       สรุปข้อค้นพบตามวัตถุประสงค์เป็นข้อๆ หรือประเด็นๆ
·       การอภิปรายผล
·       ข้อเสนอแนะ
การอภิปรายผล
·       การวิเคราะห์ อธิบายข้อค้นพบเพื่อหาสาเหตุ ที่มาของปรากฏการณ์ที่ค้นพบ 
·       การถกเถียงข้อค้นพบกับงานวิจัยชิ้นอื่นๆ ที่ทำมาก่อนว่า มีข้อค้นพบที่เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
·       การถกเถียงในเชิงกรอบแนวคิด ทฤษฎี

ข้อเสนอแนะ
·       ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและเชิงปฏิบัติการ
·       ข้อเสนอแนะสำหรับงานวิจัยครั้งต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น