วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555

วิเคราะห์นโยบายเรียนฟรี ของรัฐบาล



Thanks: Ro ฝากรูป>                      สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  กระทรวงศึกษาธิการ ( 2552 : 1 ) กล่าวว่าด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พ.ศ.  2550   มาตรา  49  ได้บัญญัติไว้ว่า   “ บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปี  รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย”   ประกอบกับคำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีได้กำหนดเป็นนโยบายเร่งด่วนเพื่อลดภาระค่าครองชีพของประชาชน และให้ทุกคนได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี ตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย อย่างมีคุณภาพ  ทั้งระดับสำนักงานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา  ได้ใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงาน
นโยบายเรียนฟรี ใช่ว่าเป็นเรื่องใหม่ เพราะที่ผ่านมา หลายรัฐบาลก็ได้พยายามชูนโยบายประชานิยมเหล่านี้ เพื่อหวังเอาใจบรรดาพ่อแม่ ผู้ปกครอง ผู้เขียนมีความเห็นเกี่ยวกับนโยบายเรียนฟรี 15 ปี ของรัฐบาลอภิสิทธิ์ 1 ว่า ถือเป็นเรื่องที่ดีสำหรับวงการศึกษาไทย แต่ต้องไม่ลืมว่า ยังมีกลุ่มพ่อแม่ผู้ปกครองที่แบ่งเป็นหลายกลุ่ม หลายอาชีพ โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีฐานะดี ก็จะไม่สนใจหรือเดือดร้อนในเรื่องเรียนฟรี หรือไม่ฟรีอยู่แล้ว แต่จะเน้นหาโรงเรียนที่มีคุณภาพและชื่อเสียงให้แก่บุตรหลานเป็นหลัก ในขณะที่กลุ่มผู้ปกครองที่มีฐานะยากจน กลุ่มนี้ต่างหากที่ควรจะได้รับสิทธิ์นี้อย่างเต็มที่ เพื่อให้เด็กได้เรียนหนังสือและรัฐควรทุ่มงบประมาณลงไปให้เข้าถึง คำว่า “เรียนฟรี”จึงจะเกิดประโยชน์สูงสุดและคุ้มค่า
อย่างไรก็ตาม หากรัฐบาลมุ่งมั่นจะทำเพื่อประชาชนอย่างแท้จริงแล้ว ก็คงต้องให้โอกาสได้พิสูจน์ และ อยากเสนอแนะให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการด้านการศึกษา ที่มีคุณวุฒิ มีความรู้ เชี่ยวชาญด้านการศึกษา เพื่อร่วมหารือและแก้ไขปัญหา ไม่ว่าจะเป็น เรื่องระบบคุณภาพการศึกษา ระบบการสอบเข้าระดับมัธยม รวมถึงระบบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย ให้มีความชัดเจน โปร่งใส ยุติธรรมแก่นักเรียนด้วย  
แนวคิดรัฐบาลในการผลักดันให้เด็กเรียนฟรีเป็นระยะเวลา 15 ปี ในฐานะที่ผู้เขียนเป็นผู้บริหารเกี่ยวกับด้านการศึกษาของไทยในส่วนหนึ่งของจิตสำนึกก็ยังชื่นชมรัฐบาลอยู่ในระดับหนึ่งจากการที่ได้พูดคุยสัมภาษณ์กับคุณครูส่วนใหญ่ทั้งในโรงเรียนนอกโรงเรียนและระหว่างโรงเรียนเห็นด้วยเพราะจะเกิดผลดีกับเยาวชน และผู้ปกครองเองก็สามารถเลือกโรงเรียนที่มีคุณภาพให้กับบุตรหลาน โดยไม่ต้องกังวลกับปัญหาเรื่องค่าใช้จ่าย เพราะว่ารัฐบาลจะเป็นผู้รับผิดชอบ โดยเฉพาะในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ ที่ผู้ปกครองนิยมส่งบุตรหลานไปเรียนที่โรงเรียนสอนศาสนา ส่วนใหญ่ประสบปัญหาความยากจน หากมีนโยบายเรียนฟรีจะทำให้ผู้ปกครองสามารถเลือกโรงเรียนที่มีคุณภาพให้กับบุตรหลานได้ นอกจากนี้ หากมีนโยบายเรียนฟรีจะทำให้โรงเรียนต้องปรับตัวเพื่อแข่งขันกับโรงเรียนอื่นในละแวกใกล้เคียง หรือว่าในตำบลเดียวกัน เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้ปกครอง และถือว่าเป็นการยกระดับโรงเรียนให้มีคุณภาพมากขึ้น แต่นอกเหนือสิ่งอื่นใด รัฐบาลควรเร่งดำเนินการพัฒนาบุคลากร หลักสูตรการสอน และสื่อการเรียนการสอนควบคู่เพื่อให้ผลลัพธ์ทางการศึกษามีประสิทธิภาพสูงสุดโดยเร็วด้วย
ส่วนกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ให้ผู้ที่มีฐานะไม่ขอรับสิทธิจากนโยบายเรียนฟรี 15 ปีนั้นควรดำเนินการให้เป็นรูปธรรม เพราะเชื่อว่ามีผู้ไม่ต้องการรับสิทธิจากรัฐบาลจำนวนมาก หากคนเหล่านี้ต้องการสละสิทธิก็ควรมีความชัดเจนว่า เมื่อสละสิทธิแล้ว  เงินที่เหลือจะนำไปช่วยเหลือคนยากจนจริงๆ ดังนั้น กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จึงควรมีระบบ ข้อมูลที่ชัดเจน มีแบบฟอร์ม และมีการกำหนดว่าจะนำ เงินที่ได้ไปช่วยเหลือเด็กยากจนที่โรงเรียนใด นอกจากนี้ การแจกชุดนักเรียนฟรี ก็ควรให้กลุ่มแม่บ้านใน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตัดเย็บ เพื่อช่วยกระจายรายได้ หรือแม้แต่ตำราเรียนฟรี ก็ควรพิจารณาของสำนักพิมพ์เอกชน ซึ่งบางวิชามีคุณภาพและน่าอ่าน ราคาถูก แต่ในทางปฏิบัติกลับสวนทางกับนโยบาย ซึ่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ควรฟังความเห็นของคนนอกกระทรวงด้วย การที่รัฐบาลทุ่มเทงบประมาณให้กระทรวงการศึกษาธิการ นับหมื่นล้านบาท และสานต่อนโยบายเรียนฟรี 15 ปี โดยมีงบประมาณอุดหนุนเพื่อลดค่าใช้จ่ายระหว่างการศึกษานั้น นับว่าเป็นโอกาสดีของเด็กทั่วประเทศที่จะได้มีโอกาสเข้าถึงการศึกษาในระดับพื้นฐาน เพื่อต่อยอดสู่ระดับที่สูงขึ้น
              อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีการทุ่มงบประมาณมากเพียงใด หากไม่มีการพัฒนาบุคลากร หลักสูตร สื่อการเรียนการสอนก็เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง คงต้องฝากความหวังไว้ที่รัฐบาลชุดปัจจุบันว่าจะสานต่อนโยบายเหล่านี้ให้สำเร็จเป็นรูปธรรมได้มากน้อย เพียงใด และการศึกษาไทยจะพัฒนาเทียบชั้นสากลได้หรือไม่ วงการศึกษาไทยยังรอการพิสูจน์ต่อไป
   ตัวแบบสถาบัน  (Institutional  Model) : Policy  as  institutional  output.
 ตัวแบบสถาบันเน้นในเรื่องกิจกรรมของสถาบันรัฐบาล  โดยเห็นว่านโยบายของรัฐเป็น กิจกรรมของสถาบันของรัฐบาล  สถาบันของรัฐจะเป็นผู้ตัดสินใจกำหนดนโยบาย  นำนโยบายไปปฏิบัติและบังคับใช้ในสังคม  กล่าวคือ กิจกรรมทางการเมืองมักจะมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่สถาบันต่าง ๆ ของรัฐ  เช่น  คณะรัฐบาล  กระทรวง  ศาล  เป็นต้น  จึงมีการนำผลประโยชน์และกิจกรรมของบุคคลกลุ่มต่าง ๆ ไปสู่สถาบันของรัฐบาล  สถาบันของรัฐบาลจะเป็นผู้กำหนดนโยบาย  เป็นผู้ปฏิบัติและเป็นผู้บังคับให้เป็นเช่นนั้น
เพราะฉะนั้น  จะเห็นว่าการกำหนดนโยบายสาธารณะ  เป็นกระบวนการทางการเมืองอย่างหนึ่ง  ที่มีสถาบันรับผิดชอบหลายฝ่าย  แต่เรามักจะพบอยู่เสมอว่า  ผู้มีอำนาจในการริเริ่มและกำหนดนโยบายที่แท้จริงนั้นคือฝ่ายบริหาร  ด้วยเหตุนี้เอง  จึงทำให้มีการส่งเสริมและสนับสนุนนโยบายบางอย่างให้เป็นผล หรือ อาจจะยับยั้ง ขัดขวางบางนโยบายด้วยก็ได้
 ตัวแบบสถาบัน (Institutional Model)    ThoMas  R. Dye  มองว่านโยบายเป็นผลผลิตของสถาบัน หมายความว่านโยบายสาธารณะถูกกำหนดขึ้นจากสถาบันหลักของรัฐ ผู้วิเคราะห์ต้องทำความเข้าใจว่าในประเทศนั้น ๆ มีสถาบันใดบ้างเป็นสถาบันหลัก สถาบันเหล่านี้มีหน้าที่อย่างไร อย่างในสหรัฐอเมริกาที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยระบบประธานาธิบดี สถาบันสำคัญมีสามฝ่ายคือฝ่ายนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ การศึกษาจากตัวแบบนี้จะดูว่าสถาบันของทั้งสามฝ่ายมีบทบาทเกี่ยวข้องกับนโยบายสาธารณะอย่างไร มีการตรวจสอบถ่วงดุลกันอย่างไร
Thomas R. Dye   กล่าวว่านโยบายสาธารณะเป็นผลผลิตของโครงสร้างสถาบันการปกครองและสถาบันนี้เองที่ทำให้นโยบายสาธารณะมีลักษณะที่โดดเด่นและแตกต่างจากนโยบายประเภทอื่น ๆ ดังนี้
1. ความชอบธรรม นโยบายของรัฐบาลจะได้รับการพิจารณาเป็นข้อบังคับในทางกฎหมาย ซึ่งจะแตกต่างจากนโยบายของกลุ่มทางสังคมอื่น ๆ
2. ความเป็นสากล นโยบายของรัฐบาลมีความเป็นสากล เพราะมีนโยบายสาธารณะเท่านั้นที่สามารถบังคับใช้ต่อทุกคนในสังคมในขอบเขตที่จำกัด
 3. การบังคับ นโยบายของรัฐบาลผูกขาดการบังคับในสังคม ในขณะกลุ่มทางสังคมอื่น ๆ ลงโทษในในลักษณะที่จำกัดต่อบุคคลที่ละเมิดต่อนโยบายกลุ่ม
ตัวแบบนี้เป็นการอธิบายสถาบันเฉพาะเจาะจง ซึ่งได้แก่โครงสร้างขององค์การ หน้าที่และการทำหน้าที่โครงสร้างหลายแบบ อาจอำนวยความสะดวกต่อนโยบายบางประเภท แต่ขณะเดียวกันก็อาจเป็นอุปสรรคต่อนโยบายบางประเภทได้
                นอกจากนี้ สมบัติ  ธำรงธัญวงศ์  (2549 : 225- 229 ) กล่าวว่า สถาบันทางการเมืองยังมีบทบาทในการกำหนดแบบแผน(Patterns) โครงสร้าง(Structures) พฤติกรรม ( Behaviors)  ของปัจเจกบุคคลและกลุ่มบุคคลและแบบแผนพฤติกรรมดังกล่าวจะดำรงอยู่อย่างมั่นคง  แบบแผนที่มั่นคงของพฤติกรรมของปัจเจกบุคคลและกลุ่มบุคคลอาจมีผลกระทบต่อเนื้อหาสาระของนโยบายสาธารณะและตัวสถาบันก็อาจถูกกำหนดโครงสร้างให้ทำหน้าที่ในการส่งเสริมให้เกิดผลลัพธ์ นโยบายที่พึงปรารถนา  และทำหน้าที่ในการขัดผลลัพธ์นโยบายอื่นๆที่ไม่พึงปรารถนา  ลักษณะดังกล่าวอาจจะก่อให้เกิดการความได้เปรียบแก่กลุ่มผลประโยชน์บางกลุ่มในสังคม  และทำให้บางกลุ่มเสียผลประโยชน์  ผลกระทบที่แตกต่างกันจะทำให้ความพอใจของปัจเจกบุคคลและกลุ่มบุคคลที่มีต่อนโยบายของรัฐบาลเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม  โครงสร้างของสถาบันทางการเมือง  การจัดระเบียบในสถาบัน  และขั้นตอนการดำเนินงานต่างๆของสถาบันทางการเมืองจะมีผลต่อเนื่องต่อการกำหนดนโยบายและ
เนื้อหาสาระของนโยบายสาธารณะ  (Anderson, 1994 : 31-32 , อ้างถึงใน สมบัติ  ธำรงธัญวงศ์ 2549 : 225 )  
  ในทัศนะของ  Carl  J.  Frieddrich (1941, อ้างถึงใน  สมบัติ  ธำรงธัญวงศ์ 2549 : 225 )
เห็นว่าตัวแบบสถาบันจะให้ความสนใจต่อการศึกษาโครงสร้างองค์การของรัฐบาล   กรรจัดระเบียบงานและหน้าที่ความรับผิดชอบที่เป็นทางการของหน่วยงานทางราชการแต่จะไม่สนใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานเหล่านนั้นจุดสนใจหลักของตัวแบบสถาบันจะเกี่ยวข้องกับอำนาจของการจัดสรรของสถาบันนิติบัญญัติ  สถาบันบริหาร  และงานที่เกี่ยวกับกฏหมายที่เป็นผลผลิตของสถาบันการเมืองเหล่านี้
                สิ่งที่จะต้องตระหนักไว้เสมอก็คือผลกระทบที่เกิดจากการดำเนินงานของสถาบันทางการเมืองที่มีต่อนโยบายสาธารณะเป็นคำถามเชิงประจักษ์ที่ต้องการการตรวจสอบนักปฏิรูปมักจะยืนยันเสมอว่าการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสถาบันสถาบันหนึ่งจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อนโยบายสาธารณะโดยไม่มีการตรวจสอบ ความสัมพันธ์ที่แท้จริงระหว่างโครงสร้างของสถาบัน
และนโยบายที่อ้างถึงแต่อย่างใด  ซึ่งเป็นการด่วนสรุปว่าการเปลี่ยนแปลงของสถาบันจะนำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงของนโยบายสาธารณะ
                สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างของสถาบันทางการเมืองและนโยบายสาธาณะตามตัวแบบสถาบันสามารถแสดงให้เห็นได้ตามแผนภาพต่อไปนี้ (Henry, 1995 : 297,อ้างถึงในสมบัติ  ธำรงธัญวงศ์ 2549 : 226 )
 จากแนวทางการดำเนินงานตามนโยบายเรียนฟรี  15  ปี  อย่างมีคุณภาพมีความเป็นมาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พ.ศ. 2550  มาตรา 49 ได้บัญญัติว่า “ บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่า  12 ปี  ที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย”  และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ.  2542  แก้ไขเพิ่มเติม  (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2545  มาตรา 10  วรรค 1 บัญญัติว่า “ การจัดการศึกษาต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการับการการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี           ที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย”  ซึ่งเป็นข้อกำหนดที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบกับคำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีได้กำหนด เป็นนโยบายเร่งด่วน  ที่จะเริ่มดำเนินการตามเจตนารมณ์ดังกล่าวในปีแรก  โดยกำหนดไว้ในข้อ 1.3   การลดภาระค่าครองชีพของประชาชน  ข้อ 1.3.1 ว่า
 “ .ให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี  15 ปี  โดยสนับสนุนตำราในวิชาหลักให้แก่ทุกสถานศึกษา  จัดให้มีชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียนฟรีให้ทันปีการศึกษา  2552  และสนับสนุนค่าใช้จ่ายอื่นๆเพื่อชดเชยรายการต่างๆที่สถานศึกษาเรียกเก็บจากผู้ปกครอง”  อีกทั้งนโยบายของรัฐด้านการศึกษา  ข้อ 3.1.4  กำหนดว่า “ จัดให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี  15  ปี  ตั้งแต่อนุบาลไปจนถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย  พร้อมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการให้เกิดความเสมอภาคและความเป็นธรรมในโอกาสทางการศึกษาแก่ประชาชนในกลุ่มผู้ด้อยโอกาส ทั้งผู้ยากไร้  ผู้พิการหรือผู้ทุพลภาพ   ผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก      ผู้บกพร่องทางร่างกายและสติปัญญา        และชนต่างวัฒธรรม รวมทั้งยกระดับการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กในชุมชน”           
ดังนั้นจากความเป็นมาดังกล่าวในการกำหนดนโยบายเรียนฟรี  15 ปี ที่ผู้เขียนใช้ตัวแบบของ Thomas R. Dye ด้านตัวแบบสถาบันเป็นตัวแบบวิเคราะห์ตัวแบบที่ 1 สรุปได้ว่า สถาบันที่มีบทบาทในการกำหนดนโยบายเรียนฟรี  15 ปี ก็คือกระทรวงศึกษาธิการนั่นเอง ส่วนสถาบันที่รับผิดชอบในการนำนโยบายนั้นไปปฏิบัติ ก็คือสถาบัน สำนักงานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถาบันทางการศึกษา(โรงเรียน) นั่นเอง 
ส่วนตัวแบบอีกตัวหนึ่งของ   Thomas R. Dye  ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับนโยบายเรียนฟรี  15   ปี
ที่ผู้เขียนเห็นว่ามีส่วนที่เกี่ยวข้องกัน            ที่น่าจะนำมาประกอบการวิเคราะห์เกี่ยวกับนโยบายนี้ คือ
ตัวแบบที่ 2  คือตัวแบบกระบวนการซึ่งในส่วนของรายละเอียดลักษณะของตัวแบบด้านกระบวนการมี
ลักษณะดังต่อไปนี้
 
 ตัวแบบกระบวนการ   ( Process Model)
ตัวแบบกระบวนการเป็นผลลัพธ์มาจากความพยายามในการจัดกลุ่มกิจกรรมทางการเมือง ซึ่งได้ผลลัพธ์ออกมาก็คือ “กระบวนการนโยบาย” มีขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้
กระบวนการนโยบายสาธารณะประกอบไปด้วยขั้นตอนสำคัญ 6 ขั้นตอนคือ
1. การระบุปัญหา เป็นการศึกษาว่าในขณะนี้ประชาชนประสบปัญหามีความเดือดร้อนเรื่องอะไร บางครั้งข้าราชการประจำจะทำหน้าที่ในส่วนนี้ ลงพื้นที่เพื่อดูว่าประชาชนเดือดร้อนเรื่องอะไรบ้าง
จากข้อ  1   สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร,   สมาชิกองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น, สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล,   กำนัน,  ผู้ใหญ่บ้าน,  อาสมัครสารณสุขประจำหมู่บ้านฯลฯ  ซึ่งส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับนักการเมืองซึ่งเป็นไปตามลักษณะตัวแบบที่มีการเมืองเข้ามายุ่งเกี่ยวตลอดเวลา
2. การกำหนดเป็นวาระสำหรับการตัดสินใจ ในความเป็นจริงปัญหาที่เกิดขึ้นกับประชาชนมีมากมาย เมื่อปัญหาหนึ่งได้รับการแก้ไขปัญหาหนึ่งก็เกิดขึ้นตามมา และในบรรดาปัญหาหลากหลายเหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันจำเป็นเร่งด่วนพอ ๆ กัน แต่งบประมาณในการแก้ไขปัญหามีจำกัดจึงจำเป็นต้องจัดลำดับความสำคัญของปัญหา ในขั้นนี้การเมืองก็เข้ามาเกี่ยวข้อง
จากข้อ 2   เมื่อศึกษาว่าในขณะนี้ประชาชนประสบปัญหามีความเดือดร้อนเรื่องอะไร  และในบรรดาปัญหาหลากหลายเหล่านี้ ล้วนแล้วแต่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันดังนั้นในการตัดสินใจที่จะแก้ปัญหาสิ่งใดก่อนนั้นจึงต้องมีการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องตลอดเวลาในการตัดสินใจ
3. การกำหนดข้อเสนอนโยบาย เมื่อปัญหาได้รับการยอมรับจะถูกนำมาพิจารณาว่ามีแนวทางแก้ไขปัญหาได้กี่แนวทาง เรียกว่าข้อเสนอ/ทางเลือกนโยบายที่มีอยู่หลายทางเลือก โดยหลักการแล้วจะต้องวิเคราะห์แต่ละทางเลือกว่ามีประโยชน์อย่างไร
จากข้อ  3   เมื่อมีการพิจารณาแล้วว่าน่าที่จะตัดสินใจเลือกแก้ไขปัญหาใด ก่อนดำเนินการตัดสินใจหาทางแก้ไขปัญหานั้นๆและเลือกแนวทางแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุดและต้องวิเคราะห์ทางเลือกด้วยว่าทางเลือกใดดี รวดเร็วและประหยัดแก้ไขได้ตรงจุดมากที่สุด
4.  การอนุมัตินโยบายทางเลือกจากข้อเสนอนโยบายที่ให้ประโยชน์สูงสุดจะถูกอนุมัติออกมาเป็นนโยบาย   การที่ทางเลือกและข้อเสนอใดจะได้รับเลือกย่อมมีการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง
จากข้อ 4  การที่จะตัดสินใจเลือกแนวทางใดในการแก้ปัญหาเพื่อเป็นทางเลือกที่ดีที่ สุดก็ย่อมต้องมีเสียงสนับสนุนเช่นกันและก็คงไม่พ้นการเมืองอีกเช่นกัน
5. การดำเนินนโยบาย นโยบายที่ได้รับการอนุมัติจะถูกนำไปปฏิบัติ มีส่วนราชการและข้าราชการประจำเป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งเราพบความจริงเสมอว่าในขั้นนี้หลายครั้งที่ข้าราชการการเมืองเข้ามาแทรกแซงการทำงานของข้าราชการประจำที่เรียกกันว่า “ล้วงลูก”
จากข้อ 5  เมื่อมีทางเลือกและตัดสินใจในการลงพื้นที่ปฏิบัติในการแก้ปัญหาแล้วก็ไม่พ้นที่มีหน่วยงานทางราชการทาแทรกแซงกำกับดูแลตลอด เวลาดังจะเห็นได้จากสถานการณ์ในปัจจุบัน
6. การประเมินผลนโยบาย เมื่อดำเนินนโยบายแล้วเสร็จต้องประเมินผลนโยบายเพื่อจะรับทราบว่าการดำเนินนโยบายดังกล่าวบรรลุวัตถุประสงค์มากน้อยเพียงใด ข้อมูลที่ได้จากการประเมินผลจะนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการตัดสินใจต่อไปว่านโยบายนั้น ๆ ควรได้รับการดำเนินการอย่างต่อเนื่องต่อไป ควรปรับปรุงแก้ไขอย่างไร หรือควรยุติแล้วกำหนดนโยบายอื่นออกมาก ขั้นนี้การเมืองก็เข้าไปเกี่ยวข้องแทรกแซง เช่น ให้ประเมินผลออกมาในทางบวกว่าประชาชนพึงพอใจมากที่สุด
จากข้อ  6   ประเมินผลเพื่อที่ตัดสินใจว่าการดำเนินนโยบายนั้นบรรลุวัตถุประสงค์มากน้อยเพียงใดเพื่อที่จะประกอบการตัดสินใจว่าควรจะดำเนินโครงการนี้ต่อไป หรือไม่อย่างไรและเพื่อเป็นการประกอบการตัดสินใจว่า ควรจะมีการปรับปรุงแก้ไข หรือควรยุติโครงการนั้นไปเลยพร้อมทั้งเทียบเคียงในการตัดสินใจต่อการดำเนินงานในโครงการอื่นๆว่าควรจะดำเนินการต่อไปอีกหรือไม่
จากเหตุผลของตัวแบบด้านกระบวนการทั้ง 6 ข้อ นี้เองจึงเป็นสาเหตุที่  Thomas R. Dye  มองว่านโยบายตัวแบบด้านกระบวนการเป็นกิจกรรมทางการเมือง ในกระบวนการนโยบายทุกขั้นตอน มีการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเสมอ   นอกเหนือจากตัวแบบด้านสถาบันและตัวแบบด้านกระบวนการแล้วผู้เขียนยังมองว่าควรจะมีตัวแบบอีกตัวเพื่อช่วยในการวิเคราะห์นโยบายเรียนฟรี 15  ปีนั่นก็คือตัวแบบ  แบบเหตุผล  ( Ration Model )
 
ตัวแบบเหตุผล  ( Ration Model )  ว่า นโยบายสาธารณะเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงผลประโยชน์สูงสุดต่อสังคมส่วนรวม นโยบายสาธารณะใด ๆ ก็ตามที่ถูกกำหนดขึ้นมาต้องเป็นนโยบายที่ก่อให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดในทุก ๆ ด้านไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และเกิดประโยชน์ต่อทุกฝ่ายทุกกลุ่มในสังคม ค่านิยมและทรัพยากรอื่น ๆ ที่จะทำให้ดำเนินการไปสู่เป้าหมายในกระบวนการตัดสินใจต้องกำหนดเป้าหมายที่สมบูรณ์ในการดำเนินงาน ต้องรู้ว่าประชาชนมีปัญหาอะไรบ้างต้องรู้ครบทุกปัญหา การแก้ไขปัญหาเหล่านั้นมีเป้าหมายอย่างไรบ้าง และต้องให้ค่าน้ำหนักเพื่อจะทราบว่าปัญหาใดมีความสำคัญมากน้อยกว่ากันอย่างไร ขั้นตอนนี้ถือเป็นความยากที่จะรู้ปัญหาของประชาชนทุกปัญหา ยิ่งการให้ค่าน้ำหนักยิ่งยากที่จะบอกว่าปัญหาใดสำคัญกว่ากัน ปัญหาหนึ่ง ๆ จะสำคัญแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่
 
ในขั้นตอนตัดสินใจกำหนดนโยบายตามตัวแบบมีเหตุมีผลต้องผ่านขั้นตอนอย่างละเอียด ดังนี้
1.วัตถุประสงค์ที่ชัดเจนเป็นไปได้ และวัดผลได้ผู้ตัดสินใจต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากรทั้งหมด ต้องรู้ว่ามีทรัพยากรทั้งหมดมีจำนวนเท่าไหร่ เป็นประเภทใดบ้าง ต้องมีข้อมูลครบถ้วนทุกประเภท อย่างนักศึกษาตัดสินใจซื้อรถยนต์สักคันเบื้องต้นต้องรู้ว่าตัวเองมีเงินเท่าไหร่ รวมเงินบำรุงรักษารถยนต์ตลอดอายุการใช้งานด้วย มีข้อมูลรถยนต์ที่ต้องการจะซื้อตามที่ต้องการ หาข้อมูลให้ครบทุกยี่ห้อ
2.ค่านิยมและทรัพยากรอื่น ๆ ที่จะทำให้ดำเนินการไปสู่เป้าหมายในกระบวนการตัดสินใจต้องกำหนดเป้าหมายที่สมบูรณ์ในการดำเนินงาน ต้องรู้ว่าประชาชนมีปัญหาอะไรบ้างต้องรู้ครบทุกปัญหา การแก้ไขปัญหาเหล่านั้นมีเป้าหมายอย่างไรบ้าง และต้องให้ค่าน้ำหนักเพื่อจะทราบว่าปัญหาใดมีความสำคัญมากน้อยกว่ากันอย่างไร ขั้นตอนนี้ถือเป็นความยากที่จะรู้ปัญหาของประชาชนทุกปัญหา ยิ่งการให้ค่าน้ำหนักยิ่งยากที่จะบอกว่าปัญหาใดสำคัญกว่ากัน ปัญหาหนึ่ง ๆ จะสำคัญแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่
3. กำหนดค่านิยมและทรัพยากรอื่น ๆ ให้ครบพร้อมให้ค่าน้ำหนัก เช่น ความเชื่อ วัฒนธรรม การให้ค่าน้ำหนักคือการจัดลำดับความสำคัญเพื่อจะดูว่าอะไรสำคัญมากน้อยกว่ากัน
4. เตรียมทางเลือกในการแก้ไขปัญหาให้ครบทุกทางเลือก
5. คาดคะเนผลที่จะเกิดขึ้น ค่าใช้จ่ายที่จะใช้ในแต่ละทางเลือก
6. คำนวณผลสุดท้ายของแต่ละทางเลือก
7. เปรียบเทียบผลของแต่ละทางเลือก เลือกทางเลือกที่เกิดผลประโยชน์สูงสุด ทางเลือกนี้จะถูกนำไปกำหนดเป็นนโยบายสาธารณะ
แต่ในทางปฏิบัติจริงการดำเนินการในลักษณะเหล่านี้ต้องใช้เวลานานมาก แค่เราจะซื้อรถยนต์สักคันคงไม่คิดมากขนาดนี้ เรามักจะมีตัวเลือกอยู่ในใจอยู่แล้วแค่หาข้อมูลมาประกอบเพื่อบ่งชี้ว่าเราได้เลือกแล้ว หรือการดำเนินงานในส่วนราชการ เช่น คัดเลือกบุคลากรไปดูงานต่างประเทศ ถ้าใช้ Rational Model ก็ต้องมีเกณฑ์คุณสมบัติ ดูว่าผู้ที่เข้าเกณฑ์เหล่านี้มีใครบ้างให้มาสอบแข่งขันกันเพื่อหา The Best ที่จะได้รับทุน แต่ในความเป็นจริงไม่ได้ทำแบบนี้ การตัดสินใจตามตัวแบบมีเหตุมีผลทำได้ยาก เสียเวลา เสียค่าใช้จ่าย บางครั้งผู้วิเคราะห์อาจไม่มีความรู้เพียงพอในการวิเคราะห์ แต่ถ้าทำได้จะดีมากเพราะทุกอย่างได้ผ่านการกลั่นกรอง วิเคราะห์ พิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วนแล้ว
 
บทสรุป   สำหรับนโยบายสาธารณะตามความหมายของ  Thomas R. Dye  คือ  สิ่งที่รัฐบาลเลือกที่จะกระทำหรือไม่กระทำ สิ่งที่รัฐบาลเลือกที่จะกระทำ จึงครอบคลุมกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งหมดของรัฐบาลทั้งกิจกรรมที่เป็นกิจวัตร และกิจกรรมที่เกิดขึ้นในบางโอกาส ในส่วนของการเลือกที่จะไม่กระทำนั้น Thomas R. Dye    ก็ถือว่าเป็นนโยบายสาธารณะเช่นเดียวกัน เช่นการที่รัฐบาลบางประเทศยกเลิกนโยบายการเกณฑ์ทหาร นั่นคือ รัฐบาลเลือกที่จะไม่บังคับให้ชายฉกรรจ์
ทุกคนต้องเป็นทหารรับใช้ชาติ แต่เปลี่ยนเป็นการรับตามความสมัครใจ
                ถึงอย่างไรก็ตามเมื่อมีปรากฏการณ์ใดๆที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องใหม่หรือมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นดังเช่นนโยบายเรียนฟรี 15 ปี ที่เป็นบทวิเคราะห์ดังกล่าวโดยที่ผู้เขียนมองว่าเป็นสัจธรรมที่เกิดขึ้นบนโลกใบนี้อย่างแน่นอนคือมีผลทั้งทางบวกและทางลบที่ต้องมีผลกระทบทั้งในระยะสั้นและระยะยาวรวมทั้งมีการส่งผลกระทบในด้านอื่นๆด้วยดังที่จะกล่าวต่อไปนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น