2. ต้องรู้ใครเป็นผู้มีอำนาจกำหนดนโยบาย
ผู้มีบทบาทในการกำหนดนโยบาย
· ฝ่ายบริหาร
· ฝ่ายนิติบัญญัติ
· ฝ่ายตุลาการ
· องค์กรอิสระต่างๆ
การกำหนดนโยบายสาธารณะถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นซึ่งจะก่อให้เกิดพฤติกรรมการเมืองและการบริหารอื่นๆตามมา
การกำหนดนโยบายสาธารณะในปัจจุบันมิใช่เป็นภารกิจผูกขาดที่เป็นของรัฐโดยเฉพาะ
· ประสิทธิผล (effectiveness) ความสามารถในการบรรลุเป้าหมายของทางเลือก
· ประสิทธิภาพ (efficiency) ความสามารถในผลิตผลผลิตโดยเปรียบเทียบจากต้นทุน ( 4m)
· ความพอเพียง (adequacy) ความสามารถของการดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายภายใต้เงื่อนไขของทรัพยากรที่มีอยู่
· ความเป็นธรรม (equity) การกระจายตัวของผลการดำเนินการตามทางเลือก
ข้อสอบออกตรงนี้ และ ทฤษฎีระบบด้วย
1. ปัญหาอะไรเร่งด่วนสำคัญที่สุด ทำไมจึงคิดเช่นนั้น ?
2. ถ้า นศ. มีส่วนในการตัดสินใจในการกำหนดนโยบายสาธารณะ
- จะแก้ปัญหาด้วยนโยบายอะไร ?
- นโยบายที่กำหนดขึ้นมีวัตถุประสงค์อะไร ?
- และจะประเมินนโยบายนั้นด้วยตัวชี้วัดอะไร ?
1. มีหลายแบบคือ(Jeremy Bentham) เห็นว่า การกระทำที่ดีที่สุด คือ การกระทำที่ก่อให้เกิดความสุขมากที่สุดของคนจำนวนมากที่สุด หรือที่เรียกว่า หลักอรรถประโยชน์นิยม (Utilitarianism) ดังนั้น นโยบายใดก็แล้วแต่ที่ก่อให้เกิดประโยชน์หรือความสุขแก่คนส่วนใหญ่มากที่สุด ก็ถือว่าเป็นนโยบายที่ดีและควรนำไปปฏิบัติเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน เช่น กรณี การสร้าง ฟรัสเวย์ แก้ไขปัญหาน้ำท่วม 30 บาทรักษาทุกโรค
รัฐบาลที่ดี คือรัฐบาลของประชาชนที่ทำให้ประชาชนมีความสุขมากที่สุด เข้าใจความต้องการของประชาชนดีที่สุด สนองความต้องการของประชาชนที่ดีที่สุด ก่อให้เกิดความสุขมากที่สุดกับประชาชนส่วนใหญ่
2. Pareto กล่าวว่า ถ้าการดำเนินนโยบายทำให้คนในสังคมทุกๆคนดีขึ้นหรือทำให้คนอย่างน้อย 1 คน ดีขึ้นโดยที่ไม่มีใครแย่ลง จะเลือกดำเนินนโยบาย ดังกล่าว มีแต่คนได้กับเท่าเดิม ไม่มีคนเสีย เช่น เช็คช่วยชาติ (อย่างน้อย 1 คนดีขึ้น แต่ต้องไม่มีใครแย่ลง หรือ ได้เท่าเดิมแต่ไม่มีคนเสีย)
ให้คนเสียประโยชน์ มีสิทธิ์คัดค้านได้ มี 2 แนวทาง
1. ผลยกเลิกก็จบ
2. ถ้าทำต่อรัฐต้องชดเชย)
3. John Rawls เสนอหลักการสำคัญของความเป็นธรรม 2 ประการ
ประการแรก เห็นว่าบุคคลแต่ละคนควรมีสิทธิและเสรีภาพเท่าเทียมกัน
ประการที่สอง เห็นว่า ปัญหาความไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจและสังคมควรได้รับการแก้ไขโดยมุ่งเน้นไปยังผู้ที่ทุกข์ยากที่สุด(คนได้รับความเดือนร้อน)หรืออยู่ในระดับล่างสุดของสังคมก่อน นั่นคือ รัฐควรจัดสรรสิ่งที่มีคุณค่าทางสังคมอย่างเท่าเทียมกันและรัฐควรมีนโยบายสาธารณะด้านการกระจายรายได้โดยมุ่งช่วยเหลือคนที่ยากจนทุกข์ยากที่สุดและอยู่ในฐานะที่เสียเปรียบที่สุดในสังคมก่อน
S T E P
S = Social and culture สังคมและวัฒนธรรม
T = technology เทคโนโลยี
E = Economy เศรษฐกิจ
P = Political การเมือง
· การตอบสนอง (responsiveness) ความสามารถในการเติมเต็มความต้องการของประชาชนกลุ่มต่างๆ
· ความเหมาะสม (appropriateness) การพิจารณาเชิงคุณค่าและความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ
ผู้กำหนดนโยบายจะต้องพิจารณาปัจจัยดังต่อไปนี้
· จะต้องเข้าใจคุณค่าที่พึงปรารถนาของสังคมทั้งหมด
· จะต้องเข้าใจทางเลือกนโยบายที่เป็นไปได้ทั้งหมด
· จะต้องเข้าใจผลลัพธ์ทั้งหมดของทางเลือกนโยบาย แต่ละทางเลือก
· สามารถคำนวณสัดส่วนระหว่างผลประโยชน์และต้นทุนของทางเลือกนโยบายแต่ละทางเลือกได้
· ผู้ตัดสินใจนโยบายจะต้องพิจารณาเลือกทางเลือกนโยบายที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
การนำนโยบายไปปฏิบัติ Policy Implementation
1. Thomas R.Dye ความต่อเนื่องของกระบวนการนโยบายสาธารณะมิได้สิ้นสุดที่การผ่านกฎหมายโดยสภานิติบัญญัติ แต่อยู่ที่การนำนโยบายไปปฏิบัติจากที่ทำงานของผู้นำประเทศไปสู่ระบบราชการ สู่หน่วยงานต่างๆ
2. Lester E. Anderson
- ฝ่ายนิติบัญญัติผ่านกฎหมายที่ให้อำนาจรัฐ
- หน่วยงานของรัฐดำเนินการออกระเบียบบริหารและสร้างระเบียบแบบแผน
- หน่วยงานของรัฐสร้างความเหมาะสมในเรื่องทรัพยากร ทุน และบุคลากร
- รัฐติดตามการปฏิบัติในการดำเนินนโยบาย
- เมื่อดำเนินนโยบายได้ระยะหนึ่ง ฝ่ายบริหารจะร่างนโยบายใหม่เพื่อแก้ไขความผิดพลาดและความไม่สำเร็จของนโยบาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น