วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2555


กรอบการตอบการกำหนดนโยบายสาธารณะที่ดี

1.ความหมายของนโยบายสาธารณะที่ดี ของนักวิชาการ 3 ท่าน
                1. แนวความคิดของ Jeremy Bent ham (1748-1832) หลักอรรถประโยชน์ (Utilitarianism) อธิบายว่า คนชอบความสุข ความสุขเป็นสิ่งที่มีคุณค่าสูงสุด ทั้งในเชิงจิตวิทยาและจริยธรรม ในเชิงจิตวิทยา สิ่งจูงใจที่สำคัญของมนุษย์ คือ 1. ความต้องการที่จะได้รับความสุข 2. ความต้องการที่จะหลีกเลี่ยงความทุกข์ ในเชิงจริยธรรม อธิบายว่า การกระทำใดก็ตามที่เป็นสิ่งจำเป็นในเชิงคุณธรรม การกระทำนั้นเป็นสิ่งที่ควรกระทำ โดยให้เลือก ทางเลือกที่ก่อให้เกิดหน่วยของความสุขมากที่สุดดังนั้นผู้กำหนดนโยบาย ต้องเลือก ทางเลือกที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมมากที่สุด โดยไม่คำนึงว่าใครจะเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์
                2. แนวคิดของ Vilfredo Pareto (1848-1923) คือ ทางเลือกใดที่ทำให้คนอย่างน้อยที่สุดหนึ่งคนรู้สึกดีขึ้นกว่าเดิม โดยไม่ทำให้ใครรู้สึกแย่ลงกว่าเดิม ทางเลือกนั้นเป็นทางเลือกที่ควรเลือกการประเมินความสุขของคนจากความรู้สึกพึงพอใจ Pareto วัดคุณค่าของนโยบายหนึ่ง โดยดูจากความรู้สึกพึงพอใจของคนตามหลักของ Pareto รัฐบาลจะต้องเปิดโอกาสให้คนที่รู้สึกแย่ลงกว่าเดิม   สามารถคัดค้าน (Veto) ได้ เมื่อมีการคัดค้าน อาจทำให้ 1.ทางเลือกนั้นถูกยกเลิกไปเลย หรือ 2.ทางเลือกนั้นถูกเลือก แต่มี การชดเชย ให้แก่คนที่รู้สึกว่าตนได้รับผลเสียหายจากทางเลือกนั้น
3.  แนวความคิดของ John Raw บิดาทฤษฏียุติธรรมคือ สิ่งที่มีคุณค่าทั้งหลายในสังคมควรถูกแบ่ง หรือจัดสรรให้ทุกคนอย่างเท่าเทียมกันแต่ถ้าไม่สามารถจัดสรรให้เท่าเทียมกัน การจัดสรรที่ไม่เท่าเทียมกันนั้น ต้องให้ทุกคนได้ประโยชน์ และความแตกต่างที่ไม่เท่าเทียมกันนั้น ควรจะมีช่องว่าง หรือความแตกต่างกันให้น้อยที่สุด เพื่อความยุติธรรม
Jeremy Bent ham  กล่าวว่า   การกำหนดนโยบายต้องใช้หลักอรรถประโยชน์สูงสุด
                Pareto                     กล่าวว่า   ทำอย่างไรที่ทำให้คนรู้สึกพอใจ มีความสุขอย่างน้อย 1 คน จึงจะกำหนดนโยบาย
                John Raw                กล่าวว่า   อะไรก็ตามที่มีคุณค่าทางสังคม ต้องจัดสรรเท่าเทียมกัน คือ หลักความยุติธรรม
สรุปได้ว่า นโยบายสาธารณะที่ดี  เป็นกิจกรรมที่รัฐบาลตัดสินใจกระทำแก่ประชาชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์และความผาสุกของประชาชนเป็นส่วนใหญ่ หรือเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาทั้งมวลของสังคมในด้านต่างๆ
2.องค์ประกอบของนโยบายสาธารณะ
องค์ประกอบนโยบายสาธารณะของแต่ละประเทศ มีองค์ประกอบที่แตกต่างกันไป ด้วยเพราะสภาพทางด้านสังคม ภูมิศาสตร์ ประเพณีวัฒนธรรม การนับถือศาสนา สิ่งแวดล้อม และบริบท แตกต่างกัน ได้สรุปองค์ประกอบนโยบายสาธารณะโดยรวมที่สำคัญ  คือ
1.เป็นกิจกรรมที่รัฐบาลเลือกที่จะกระทำหรือไม่กระทำ
2.เป็นการใช้อำนาจหน้าที่ของรัฐในการจัดสรรกิจกรรมเพื่อตอบสนองคุณค่าของสังคม
3.ผู้มีอำนาจในการกำหนดนโยบายสาธารณะ ได้แก่ ผู้นำทางการเมือง ฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายตุลาการ พรรคการเมือง สถาบันราชการ ข้าราชการ และประมุขของประเทศ
4.กิจกรรมที่รัฐบาลเลือกที่จะกระทำต้องเป็นชุดของการกระทำที่มีแบบแผน ระบบ และกระบวนการอย่างชัดเจน เป็นการกระทำที่มีการสานต่ออย่างสม่ำเสมอ และต่อเนื่อง
5. กิจกรรมที่รัฐบาลเลือกที่จะกระทำต้องมีเป้าหมาย วัตถุประสงค์หรือ จุดมุ่งหมายเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนจำนวนมาก
6.เป็นกิจกรรมที่ต้องกระทำให้ปรากฏเป็นจริง มิใช่เป็นเพียงการแสดงเจตนารมณ์หรือความตั้งใจที่จะกระทำด้วยคำพูดเท่านั้น
7.กิจกรรมที่เลือกกระทำต้องมีผลลัพธ์ในการแก้ไขปัญหาที่สำคัญของสังคม ทั้งปัญหาความขัดแย้งหรือความร่วมมือของประชาชน
8.เป็นการตัดสินที่จะกระทำเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนจำนวนมาก มิใช่การตัดสินเพื่อประโยชน์เฉพาะบุคคล และเป็นชุดของการตัดสินใจที่เป็นระบบมิใช่เป็นการตัดสินใจแบบเอกเทศ
9.เป็นการเลือกทางเลือกที่จะกระทำ โดยพิจารณาจากผลการวิเคราะห์ทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม
10. เป็นกิจกรรมที่เกิดจากการต่อรองหรือประนีประนอมระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้อง
11. เป็นกิจกรรมที่ครอบคลุมทั้งกิจกรรมภายในประเทศและระหว่างประเทศ
12. กิจกรรมที่รัฐบาลเลือกที่จะกระทำหรือไม่กระทำ อาจก่อให้เกิดผลทั้งทางบวกและทางลบต่อสังคม
13. เป็นกิจกรรมที่ชอบด้วยกฎหมาย
สรุปได้ว่า องค์ประกอบที่สำคัญของนโยบายสาธารณะ คือ ต้องเป็นกิจกรรมที่รัฐบาลตัดสินใจกระทำ ต้องมีวัตถุประสงค์ เป้าหมายที่ชัดเจน ต้องมีการวางแผนการดำเนินการอย่างเป็นระบบ ต้องตอบสนองความต้องการของประชาชนส่วนมาก และต้องถูกต้องตามกฎหมาย
3.ความสำคัญของนโยบายสาธารณะ
นโยบายสาธารณะ มีความสำคัญต่อผู้กำหนดนโยบาย ต่อประชาชน อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือของรัฐบาลในการบริหารประเทศ ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้
1.ความสำคัญต่อผู้กำหนดนโยบาย รัฐบาลที่สามารถกำหนดนโยบายให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน และสามารถนำโยบายไปปฏิบัติจนประสบความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล จะได้รับความเชื่อถือและความนิยมจากประชาชน ส่งผลให้รัฐบาลดังกล่าวมีโอกาสในการดำรงอำนาจในการบริหารประเทศยาวนานขึ้o
2.ความสำคัญต่อประชาชน  เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาความเดือนร้อนของประชาชน
-ปัญหาขัดข้อง (ปัญหาเชิงแก้ไขปรับปรุง) คือ ปัญหาเกิดขั้นแล้ว ณ จุดใดจุดหนึ่งในอดีตและปัจจุบันยังเป็นปัญหาอยู่ ถ้าไม่แก้ไขจะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต เป็นปัญหาเรื้อรัง ซึ่งปัญหาเหล่านี้ต้องรีบแก้ไขทันที เช่น นโยบายการแก้ไขปัญหาความยากจน แก้ไขราคาพืชผลการเกษตร
-ปัญหาเชิงป้องกัน เป็นปัญหาที่เป็นจริง (เกิดขึ้นจริง) จะต่ำกว่าสิ่งที่คาดหวัง และคาดว่าจะเกิดปัญหาในอนาคตได้ ถ้าไม่ป้องกันไว้ก่อน การป้องกันเพื่อไม่ให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย เช่น ไข้หวัดนก, ไข้หวัดใหญ่ 2009, สึนามิ
-ปัญหาเชิงพัฒนา เป็นสภาพที่เกิดขึ้นจริงในปัจจุบันจึงไม่เป็นปัญหา แต่อาจเป็นปัญหาในระยะต่อไป ถ้ายังปฏิบัติงานเช่นเดิม สิ่งที่เป็นจริงจะต่ำกว่าสิ่งที่คาดหวัง หรือปัจจุบันไม่มีปัญหา แต่เราต้องพัฒนาไม่เช่นนั้นจะไม่เกิดการสร้างสรรค์ หรือทันเหตุการณ์กับสิ่งที่เกิดในอนาคต หรือปัจจุบันมีหรือดีอยู่แล้ว พัฒนาให้ดียิ่งขึ้นในอนาคต ซึ่งเป็นการมองปัญหาเชิงวิสัยทัศน์ เช่น นโยบายเปิดการเสรี (FTA)
นโยบายสาธารณะเป็นผลผลิตทางการเมืองเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน ดังนั้นประชาชนสามารถแสดงออกซึ่งความต้องการของพวกเขาผ่านกลไกทางการเมืองต่าง ๆ เช่น ระบบราชการ นักการเมือง ฯลฯ ความต้องการดังกล่าวจะถูกนำเข้าสู่ระบบการเมืองไปเป็นนโยบายสาธารณะ เมื่อมีการนำนโยบายไปปฏิบัติและได้ผลตามเป้าประสงค์ ก็จะทำให้ประชาชนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
3.การเป็นเครื่องมือบริหารประเทศ สามารถสรุปได้หลายประการ เช่น
1.เป็นเครื่องมือสำคัญในการกำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศ
2.เป็นเครื่องมือของรัฐบาลในการตอบสนองความต้องการของประชาชน
3.เป็นเครื่องมือของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาที่สำคัญของประชาชน
4.เป็นการใช้อำนาจของรัฐบาลเพื่อจัดสรรสิ่งที่มีคุณค่าทางสังคม
5.เป็นเครื่องมือของรัฐบาลในการเสริมสร้างความเป็นธรรมในสังคม
6.เป็นเครื่องมือของรัฐบาลในการเสริมสร้างความเสมอภาคในโอกาสแก่ประชาชน
7.เป็นเครื่องมือของรัฐบาลในการกระจายรายได้ให้แก่ประชาชน
8.เป็นเครื่องมือของรัฐบาลในการกระจายความเจริญไปสู่ชนบท
9.เป็นเครื่องมือของรัฐบาลในการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
10. เป็นเครื่องมือของรัฐบาลในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
สรุปได้ว่าความสำคัญของนโยบายสาธารณะ ก็คือ เครื่องมือที่จะทำให้ประชาชนในประเทศมีความผาสุก และสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสมานฉันท์
4.นโยบายที่ดีควรมีลักษณะดังนี้
              1.นโยบายที่ดีจะต้องกำหนดขึ้นจากข้อมูลที่เป็นจริง มิใช่ความคิดเห็นส่วนตัวของผู้กำหนดนโยบาย แต่ทั้งนี้ความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ หรือปฏิกิริยาต่าง ๆ จาภายนอกก็ควรนำมาพิจารณาในการกำหนดนโยบายเช่นเดียวกัน กระบวนการจัดทำนโยบายต้องมีประสิทธิภาพ มีกระบวนการศึกษาปัญหาต่างๆ อย่างมีระบบ ค้นหาสาเหตุที่แท้จริง และหาหนทางการแก้ไขที่ดีที่สุด แล้วจึงนำมาออกเป็นนโยบาย
2.นโยบายที่ดีจะต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน และสามารถที่จะช่วยให้การดำเนินงานนโยบายด้วย วัตถุประสงค์ของนโยบายสาธารณะนั้น ต้องยึดถือผลประโยชน์ของประชาชนจำนวนมาก มิใช่การเพื่อประโยชน์เฉพาะบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งนโยบายที่ดีจะต้องอยู่ภายในขอบเขตที่มีวัตถุประสงค์และมีความยืดหยุ่น สามารถที่จะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้ทันต่อเหตุการณ์ใหม่ๆเสมอ นโยบายที่ดีจะต้องมุ่งสนองประโยชน์ให้กับบุคคลโดยส่วนรวม และจัดลำดับตามความสำคัญและความเป็นก่อน-หลังในการนำไปปฏิบัติให้ชัดเจน
 3.นโยบายที่ดีจะต้องได้รับการกำหนดขึ้นก่อนที่จะมีการดำเนินงาน โดยการกำหนดกลวิธีในการปฏิบัติไว้กว้าง ๆ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติสามารถพิจารณาตีความแล้วนำไปปฏิบัติตามความสามารถ สอดคล้องและเหมาะสมกับสภาวการณ์ในขณะนั้นๆ และเหมาะสมกับทรัพยากรที่มีอยู่
4.นโยบายที่ดีเป็นข้อความหรือถ้อยคำที่กะทัดรัด ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย และแถลงไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้สมาชิกทุกคนและทุกระดับชั้นภายในหน่วยงานสามารถเข้าใจได้อย่างขัดเจน
5.นโยบายที่ดีจะต้องเป็นจุดรวมหรือศูนย์ประชาสัมพันธ์ ของหน่วยงานต่าง ๆ ภายในองค์การกล่าวคือ หน่วยงานต่าง ๆ สามารถใช้นโยบายเป็นหลักการในการปฏิบัติ ภารกิจของตน และใช้เป็นแนวทางในการประสานสัมพันธ์กับหน่วยงานอื่น ซึ่งมีภารกิจที่แตกต่างกันออกไปได้ ขณะเดียวกันดังคำกล่าวที่ว่ามีเอกภาพทางนโยบายแต่หลากหลายการปฏิบัติ
6.นโยบายที่ดีจะต้องครอบคลุมไปถึงสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วย โดยอาศัยข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์อย่างละเอียดรอบคอบแล้ว การกำหนดนโยบายในลักษณะดังกล่าว จะช่วยให้การดำเนินงานที่เป้นอยู่ในปัจจุบัน และงานที่กำลังจะดำเนินการในระยะเวลาอันใกล้กับงานที่จะต้องดำเนินการในอนาคตมีความสอดคล้องและต่อเนื่องกัน
7.นโยบายที่ดีจะต้องสอดคล้องกับปัจจัยภายนอกองค์การ กล่าวคือจะต้องสอดคล้องกับระเบียบกฎหมายและข้อบังคับต่าง ๆ ของสังคมโดยส่วนร่วม  ไม่ขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญที่ใช้ปกครองประเทศ ตลอดจนความสนใจหรือความคิดเห็นของสาธารณชน(Public Interests)
8.นโยบายที่ดีน่าจะเกิดจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนมากที่สุด เป็นแนวทางในการจัดสรรแบ่งปันทรัพยากรที่มีอยู่ในสังคมระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ และประชาชนอย่างเป็นธรรม มีประสิทธิภาพ และยึดถือคุณธรรมในการดำเนินการ
9.นโยบายที่ดีจะต้องเปิดกว้างให้ตอบรับและตอบสนองต่อความคิดและข้อเสนอแนะดีๆ ได้อย่างไม่มีข้อจำกัด
10.ไม่บั่นทอนความมั่นคงและผลประโยชน์ของชาติ ไม่ว่าโดยทางตรงและทางอ้อม
11.นโยบายสาธารณะนั้นทำให้ประชาชนในประเทศมีความผาสุก และสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสมานฉันท์ ไม่ก่อให้เกิดการแตกแยกความสามัคคีของประชาชน
สรุปได้ว่า นโยบายที่ดีจะช่วยให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกทิศทาง ง่าย และมีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น ช่วยให้ผู้ปฏิบัติหรือผู้ใต้บังคับบัญชาสามารถกำหนดแนวปฏิบัติและตัดสินใจในภารกิจที่ตนเองรับผิดชอบ ได้ด้วยตนเอง โดยไม่จำเป็นต้องรอการวินิจฉัยสั่งการจากผู้บังคับบัญชาเสมอไป ทั้งนี้เพราะการมีความเข้าใจในนโยบายอย่างชัดเจนแล้วนั่นเอง
นโยบายสาธารณะที่ดี ต้องสามารถสนองตอบต่อความต้องการของสังคม ของประชาชน  ด้วยความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล  
และที่สำคัญกระบวนการนโยบายสาธารณะ ต้องยึดถือหลักธรรมาภิบาล  
หลักธรรมาภิบาล หมายถึง แนวทางในการจัดระเบียบเพื่อให้สังคมของประเทศทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ เอกชนและภาคประชาชน สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข และตั้งอยู่ใน ความถูกต้องเป็นธรรม ตามหลักพื้นฐานการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี หลักธรรมาภิบาล มีองค์ประกอบที่สำคัญ 6 ประการดังนี้
1. หลักนิติธรรม (The Rule of Law) หมายถึง การปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ โดยถือว่าเป็นการปกครองภายใต้กฎหมายมิใช่ตามอำเภอใจ หรืออำนาจของ ตัวบุคคล จะต้องคำนึงถึงความเป็นธรรม และความยุติธรรม รวมทั้งมีความรัดกุมและ รวดเร็วด้วย
2. หลักคุณธรรม (Morality)   หมายถึง การยึดมั่นในความถูกต้อง ดีงาม การส่งเสริม ให้บุคลากรพัฒนาตนเอง ไปพร้อมกัน เพื่อให้บุคลากรมีความซื่อสัตย์ จริงใจ ขยัน อดทน มีระเบียบ วินัย ประกอบอาชีพสุจริต เป็นนิสัย ประจำชาติ
3. หลักความโปร่งใส (Accountability) หมายถึง ความโปร่งใส พอเทียบได้ว่ามีความหมาย ตรงข้าม หรือเกือบตรงข้าม กับการทุจริต คอร์รัปชั่น โดยที่เรื่องทุจริต คอร์รัปชั่น ให้มี ความหมายในเชิงลบ และความน่าสะพรึงกลัวแฝงอยู่ ความโปร่งใสเป็นคำศัพท์ที่ให้แง่มุมในเชิงบวก และให้ความสนใจในเชิงสงบสุข ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ได้สะดวกและเข้าใจง่าย และมีกระบวนการให้ประชาชนตรวจสอบความถูกต้องอย่างชัดเจนในการนี้
4. หลักการมีส่วนร่วม (Participation) หมายถึง การให้โอกาสให้บุคลากรหรือผู้มี ส่วนเกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมทางการ บริหารจัดการเกี่ยวกับการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ เช่น เป็นคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และหรือ คณะทำงานโดยให้ข้อมูล ความคิดเห็น แนะนำ ปรึกษา ร่วมวางแผนและร่วมปฏิบัติ
5. หลักความรับผิดชอบ (Responsibility) หมายถึง การตระหนักในสิทธิและหน้าที่ ความสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม การใส่ใจปัญหาการบริหารจัดการ การกระตือรือร้นในการแก้ปัญหา และเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง รวมทั้งความกล้าที่จะยอมรับผลดีและผลเสียจากกระทำของตนเอง
6. หลักความคุ้มค่า (Cost – effectiveness or Economy) หมายถึง การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีจำกัด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม โดยรณรงค์ให้บุคลากรมีความประหยัด ใช้วัสดุอุปกรณ์อย่างคุ้มค่า และรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้สมบูรณ์ยั่งยืน และจะต้องเป็นนโยบายที่สามารถสะท้อนให้เห็นถึงจริยธรรมทุกด้าน เช่น
                1. ด้านการเมือง  คือ  การมีส่วนร่วมในกระบวนการนโยบายของผู้เกี่ยวข้อง
                2. ด้านเศรษฐกิจ  คือ  ผลประโยชน์ หรือผลสำเร็จตกอยู่กับประชาชนส่วนใหญ่
                3. ด้านสังคม  คือ  สอดคล้องกับค่านิยมของสังคม
                นโยบายสาธารณะ  เป็นความต้องการของภาครัฐที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหาและการเปลี่ยนแปลงในทางที่จะเกิดประโยชน์ต่อประชาชน   ดังนั้น  ผู้ปฏิบัติงานด้านนโยบายสาธารณะจึงต้องเป็นผู้มีความรู้  ความสามารถ  รวมทั้งเป็นผู้มีจริยธรรมสูงในการทำงาน  จากการที่นักวิชาการนโยบายสาธารณะ   ได้กำหนดความหมายของนโยบายสาธารณะออกมาในลักษณะต่าง ๆ    เนื่องเพราะนโยบายสาธารณะมีผลกระทบต่อประชาชนทุกสังคม   และมีบทบาทสำคัญในฐานะที่เป็นเครื่องมือใช้บริหารประเทศของรัฐบาลในด้าน  การกำหนดทิศทางพัฒนาประเทศ  การสนองตอบความต้องการของประชาชน  การแก้ปัญหาที่สำคัญของประชาชน  การเสริมสร้างความเป็นธรรมในสังคม  การกระจายรายได้ให้ประชาชน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น