วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2554

การวางแผนกลยุทธ์และการวัดผลองค์การแบบสมดุล (ต่อ PA710) อ.สมชัย

SWOT เป็นคำย่อมาจากคำว่า Strengths, Weaknesses, Opportunities, and Threats โดย
Strengths คือ จุดแข็ง หมายถึง ความสามารถและสถานการณ์ภายในองค์กรที่เป็นบวก ซึ่งองค์กรนำมาใช้เป็นประโยชน์ในการทำงานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ หรือหมายถึง การดำเนินงานภายในที่องค์กรทำได้ดี
Weaknesses คือ จุดอ่อน หมายถึง สถานการณ์ภายในองค์กรที่เป็นลบและด้อยความสามารถ ซึ่งองค์กรไม่สามารถนำมาใช้เป็นประโยชน์ในการทำงานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ หรือหมายถึง การดำเนินงานภายในที่องค์กรทำได้ไม่ดี
Opportunities คือ โอกาส หมายถึง ปัจจัยและสถานการณ์ภายนอกที่เอื้ออำนวยให้การทำงานขององค์กรบรรลุวัตถุประสงค์ หรือหมายถึง สภาพแวดล้อมภายนอกที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินการขององค์กร
Threats คืออุปสรรค หมายถึง ปัจจัยและสถานการณ์ภายนอกที่ขัดขวางการทำงานขององค์กรไม่ให้บรรลุวัตถุประสงค์ หรือหมายถึงสภาพแวดล้อมภายนอกที่เป็นปัญหาต่อองค์กร

เครื่องมือที่ใช้ในการทำ SWOT
1.           4 M ,4P Value chain Analysis
2.               Five Forces  Model  เหมาะกับเอกชน
3.               Stakeholder Analysis  เหมาะกับราชการ
4.       General /Specific Environment Analysis
มุมมองเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมที่ล้อมรอบองค์การ
·       สิ่งแวดล้อมทั่วไป (General Environment)เป็นสิ่งแวดล้อมที่องค์การทุกองค์การมีเหมือนกัน ได้รับอิทธิพล ผลกระทบเท่าเทียมกัน ไม่มีความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างองค์การ ได้รับผลกระทบเท่าเทียมกัน
·       สิ่งแวดล้อมเฉพาะ (Specific Environment)เป็นสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกันไปในแต่ละองค์การ แต่ละองค์การจะมีสิ่งแวดล้อมนี้ไม่เหมือนกัน หากเข้าใจลักษณะที่แตกต่าง จะสามารถหาวิธีการรับมือที่เหมาะสมได้
สิ่งแวดล้อมทั่วไป (General Environment)(Environment)
·       Politics การเมือง
·       Economics เศรษฐกิจ
·       Social สังคม
·       Culture วัฒนธรรม
·       Demographics ลักษณะประชากร
·       Technology เทคโนโลยี
สิ่งแวดล้อมเฉพาะ Specific EnvironmentSpecific Environment
·       Customers ลูกค้า
·       Competitors คู่แข่ง
·       Suppliers คู่ค้า
·       Regulatory group หน่วยกำกับ ควบคุม
มี 5 องค์ประกอบ
1.             Industry Competitors  (คู่แข่งในอุตสาหกรรม) Current Rivalry
2.             New Entrants คู่แข่งเข้ามาใหม่
3.             Suppliers คนส่งของ ส่งวัตถุดิบ ให้กับเรา
4.             Buyers ผู้ซื้อ รู้มาก รู้เยอะ (เป็นภัยคุกคาม) รู้น้อย โง่ (เป็นโอกาส)
5.               Substitutes  การทดแทน ชดเชย (ใช้ของคนอื่นได้ เป็นภัยคุกคาม) (ถ้ามีของเราคนเดียว เป็นโอกาส)
ผู้มีส่วนได้เสียองค์กร  ORGANIZATIONAL STAKEHOLDERS  เราทำกระทบเขา  เขาทำกระทบเรา
1.       ลูกค้า Customers
2.       กลุ่มสังคมและการเมือง Social and Political
3.       คู่แข่ง competition
4.       การค้าและอุตสาหกรรม trade and Industry Associations
5.       รัฐบาล Governments
6.       สื่อ Media
7.       คู่ค้า Suppliers
8.       Communities ชุมชน
9.       Shareholders ผู้ถือหุ้น
10.   Unions  สหภาพแรงงาน
11.   Employees พนักงาน
(เหมาะสมกับหน่วยงานราชการ)
Strength & Weakness
·       การวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งองค์การ
·       มองจาก องค์ประกอบของการจัดการ
·       Man ความรู้ ทักษะ ทัศนคติ
·       Money ความเพียงพอ สภาพคล่อง
·       Material ความเพียงพอ ความทันสมัย คุณภาพ
·       Management วิสัยทัศน์ ความเป็นผู้นำ การประสานงาน ระบบงาน ระเบียบ กฎเกณฑ์ปฏิบัติ
·       พิจารณาจุดอ่อนจุดแข็งของ Output
·       Price  การตั้งราคา
·       Place  สถานที่ ช่องทางการจำหน่าย( ใช้ประเมินส่วนราชการได้)
·       Product ตัวผลิตภัณฑ์ คุณภาพ การบรรจุภัณฑ์
·       Promotion  การส่งเสริมการขาย
TOWS Matrix
1.    SO  ภายในจุดแข็ง  ภายนอกเป็นโอกาส
2.    ST ภายในเข้มแข็งภายนอกเป็นปัญหามาก  กลยุทธ์ต้องหลบ
3.    WO ภายในไม่เก่ง ภายนอกเป็นโอกาส กลยุทธ์สู้
4.    WT ภายในอ่อนแอ ภายนอกภัยคุกคามมาก
สถานการณ์
·       SO : use its strengths to take advantage of opportunities คือ ใช้จุดแข็งช่วงชิงโอกาส
·       ST : consider a strength to avoid threat คือ พิจารณาความแข็งแรงเพื่อหลีกเลี่ยงภัยคุกคาม
·       WO : take advantage of opportunities by overcoming weaknesses คือ  ใช้ประโยชน์จากโอกาสโดยการเอาชนะจุดอ่อน
·       WT : defensive and act to minimize weaknesses and avoid threats การป้องกันและการกระทำเพื่อลดจุดอ่อนและหลีกเลี่ยงภัยคุกคาม สถานการณ์ต้องพลิกตั้งตัวใหม่ (Turn around)

จุดแข็ง Strength
S1 : มีอาจารย์เก่ง
S2 : ที่ตั้งใจกลางเมือง
S3 :มีงบประมาณเป็นของตนเองS4 :บุคลากรสายสนับสนุนมีคุณภาพ

จุดอ่อน Weakness
W1 :เทคโนโลยียังไม่ทันสมัย
W2: อาจารย์ไม่อุทิศตัวให้องค์การW3 :ติดยึดระเบียบราชการ
W4 :การบริหารภายในไม่มีประสิทธิภาพ

โอกาส Opportunities
O1 : ทุนวิจัยจากภายนอก
O2 : นโยบายรัฐสนับสนุน
O3 : ได้นักศึกษาเก่ง
O4 : ศิษย์เก่ามีฐานะทางสังคมและ เศรษฐกิจดี
O5 : ต่างประเทศร่วมมือ
O6 : ประชาชนต้องการการศึกษา

ภาวะคุกคาม Threats
T1 : การแข่งขันจากมหาวิทยาลัยอื่น
T2 : การเข้ามาของ ม.ต่างประเทศ
T3 : ภาวะเศรษฐกิจ
T4 :นโยบายการให้มหาวิทยาลัยออกนอกระบบราชการ

 SO เปิดหลักสูตรใหม่ในสาขาที่เป็นจุดแข็งที่ท่าพระจันทร์
(S1,S2 ,O6)
-ขยายวิทยาเขตใหม่ๆ(S3,O4)

ST -เปิดหลักสูตรเลี้ยงตนเอง ( S1,T3)
-เปิดหลักสูตรที่ถนัดและไม่เหมือนชาวบ้าน ( S1,T1)

WO - สร้างหลักสูตรความร่วมมือ กับต่างประเทศ ( W2,O5)
- ร่วมมือกับศิษย์เก่าพัฒนามหาวิทยาลัย ( W1,O4)

WT - พัฒนาเทคโนโลยี (W1,T4)(T4)
-ส่งเสริมสวัสดิการอาจารย์ ( W2,T1)
- ปรับปรุงกลไกการบริหาร((W3,T4)
Balance Scorecard
การวัดผลการดำเนินงานอย่างสมดุล

1.       เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวัดผลการปฏิบัติงานที่ต่างไปจากวิธีการในอดีตที่เน้นเพียงแค่ Financial measure
2.       เน้นมุมมองสร้างความสมดุลในการวัด 4 ด้าน คือ การเงิน ลูกค้า กระบวนการจัดการภายในองค์การ และกระบวนการเรียนรู้
3.       เน้นความสมดุลระหว่างวัตถุประสงค์ระยะสั้นกับวัตถุประสงค์ระยะยาว ระหว่าง lag indicators (ตัวชี้เป็นผลResults)กับ lead indicators(ตัวชี้วัดเป็นเหตุEnablers) และระหว่าง external กับ internal performance perspectives
4.       ความสัมพันธ์กับลูกค้าที่ดี จนกลายเป็นความชื่นชม หลงใหลต่อสินค้าและบริการขององค์การ
5.       ความสามารถในการริเริ่ม คิดค้นสิ่งใหม่ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า
6.       ความสามารถในการผลิตสินค้าหรือบริการที่ดีมีคุณภาพ โดยใช้ต้นทุนต่ำและในเวลาอันรวดเร็ว
7.       ความสามารถในการใช้ศักยภาพ ความรู้ความสามารถของพนักงานที่มีอยู่ในเกิดประโยชน์สูงสุด และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องไม่มีที่สิ้นสุด
8.       ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศข่าวสารข้อมูล ให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า

4 มิติ กับความสัมพันธ์ในเชิงเหตุผล
Vision Mission Strategy
·          Financial  (Return on Investment) ผลตอบแทนการลงทุน ที่ดี
·          Customer  (Customer Loyalty) ลูกค้าจงรักภักดี พอใจ
On-time Delivery การจัดส่งได้ตรงตามเวลา
·          Internal Business Processes  (Process Quality Process Cycle Time)คุณภาพขบวนการ เวลาของขบวนการที่ดี
·          Learning& Growth    (Employee Skills ) พนักงานมีทักษะ ความรู้ความสามารถ
BSC. กับการประเมินผลในระบบราชการไทย

1.    ประสิทธิผล ( Effectiveness)
·       การทำงานให้เกิดผลสำเร็จตามเป้าประสงค์
·         เปรียบเทียบ Outcome ผลลัพธ์ กับ Goal เป้าประสงค์
2.    คุณภาพบริการ (Quality of Service)
·         ผลผลิต และการบริการ เป็นที่พึงพอใจของลูกค้าหรือผู้รับบริการ(ประชาชน)
·         เข้าใจความต้องการลูกค้า มองการบริการในสายตาของลูกค้า
·         การสร้างคุณค่า (Value Attribution) ให้แก่ลูกค้า
·         การรับฟังความเห็นของลูกค้า
·         ความโปร่งใส ตรวจสอบได้
·         การมีส่วนร่วมของประชาชน
3.    ประสิทธิภาพ ( Efficiency)
·       การทำงานให้คุ้มค่า
·       เปรียบเทียบ Output กับ InputInput

4.    การพัฒนาองค์กร
·       การพัฒนาสมรรถนะบุคลากร ( Competency)
·       เทคโนโลยีสนับสนุนการเรียนรู้
·       การสร้างบรรยากาศ และวัฒนธรรมองค์การ
·       การพัฒนาคุณภาพการจัดการ
1.       Financial Perspective
·       มิติด้านการเงิน เป็นจุดร่วมของ การวัดในมิติอื่นๆใน BSC
·       ตัวชี้วัดที่นิยมใช้ มักจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับ
-      การเพิ่มรายได้
-      การลดต้นทุน
-      การเพิ่มผลผลิต
-      การใช้ประโยชน์ทรัพย์สิน
-      การลดความเสี่ยง
2.       Customer Perspective
·       การแข่งขันในปัจจุบัน หัวใจอยู่ที่การเข้าใจความต้องการของลูกค้า
·       เป็นวิธีการคิดที่เปลี่ยน Focus ความสนใจจากภายในที่เน้นผลผลิตและการพัฒนาเทคโนโลยี มาสู่ภายนอก ในการให้ความสนใจต่อลูกค้า
·       มอง 2 ด้าน ทั้งในด้าน
-      How do the customers see us? (customer’s perspective) และ
-      How do we see our customers? (focus on customers)
Core Measurement ของ Customer Perspective
เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ
PMQA : Public Sector Management Quality Award
KPIs : Key Performance Indicators
·       The key indicators are used to determine just how to integrate the information into your business plan
·       ตัวชี้วัดหลักของผลการดำเนินงาน เป็นเครื่องมือสำคัญที่บ่งบอกถึงข้อมูลที่แสดงสถานะที่เป็นจริงขององค์การในปัจจุบัน เพื่อประโยชน์ในการกำกับตรวจสอบการดำเนินการตามแผนที่กำหนด
เหตุผลสำคัญที่ต้องมีการวัดความสำเร็จในการทำงาน        
·         เพื่อให้รู้ถึงสถานะที่เป็นจริงขององค์การในปัจจุบัน
·         เพื่อปรับปรุงแก้ไขในจุดที่เป็นปัญหา
·         เพื่อการให้รางวัลและการลงโทษ
·         เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานบุคคล
·         เพื่อการพัฒนาองค์การในระยะยาว
คำถามสำหรับการสร้างตัวชี้วัดที่ดี
·       วัดทำไม :: มีวัตถุประสงค์ของการวัดที่ชัดเจน
·       วัดอะไร :: จะใช้อะไรเป็นตัวชี้วัด
·       วัดอย่างไร :: สูตร วิธีการคำนวณ วิธีการเก็บข้อมูล
·       วัดเมื่อใด :: ระยะเวลาในการประเมิน ความถี่ห่าง
·       ใครเป็นผู้วัด :: หน่วยงาน บุคคล ที่ทำหน้าที่ประเมิน
องค์ประกอบของตัวชี้วัด
·       ชื่อตัวชี้วัด
·       คำจำกัดความ หรือการให้คำอธิบายความหมาย
·       สูตรการคำนวณ
·       เป้าหมายการวัด
·       เกณฑ์การประเมิน
·       น้ำหนักตัวชี้วัด
ชื่อตัวชี้วัด (Name of KPIs.)
1.         สั้น กระชับ สะท้อนถึงเนื้อหา
2.        ไม่จำเป็นต้องมีรายละเอียดจนสร้างความสับสน
3.        สื่อสารกับคนในองค์กรได้ง่าย
4.        อาจมีรหัส เพื่อแยกหมวดหมู่ของตัวชี้วัด เช่น F1 F2 สำหรับตัวชี้วัดด้านการเงิน C1 C2 สำหรับตัวชี้วัดด้านลูกค้า
แนวทางการกำหนดเป้าหมาย
1.       การเทียบผลงานปีที่ผ่านมา past performance
2.       การเทียบผลงานเฉลี่ยในช่วงเวลาที่ผ่านมา average
3.       การพิจารณาจากแนวโน้มที่น่าจะเป็นไปในอนาคต Trend
4.       การพิจารณากับผลงานที่ดีที่สุดในช่วงเวลาที่ผ่านมา best record
5.       การเทียบกับหน่วยเวลาอื่นๆที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกัน benchmarking : outside best practice
6.       การตั้งเป้าหมายตามนโยบายของผู้บริหาร policy
7.       การตั้งเป้าหมายร่วมจากผู้ปฏิบัติงาน MBO : management by objective

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น