วันอังคารที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2554

แนวข้อสอบ รศ.ดร. สุพิณ เกชาคุปต์

1.           การเปลี่ยนแปลงของโลก (ยุคโลกาภิวัตน์)  มีผลกระทบต่อการบริหารรัฐกิจอย่างไร
ตอบ
เนื่องจาก กระแสโลกาภิวัตน์ ที่ทุกประเทศมีแนวโน้มที่จะมีการเปิดเสรีในด้านต่าง ๆ ทำให้ เศรษฐกิจเกิดการไร้พรมแดน และมีการแข่งขันในเวทีโลกรุนแรงมากขึ้น สังคมมีเข้าสู่ยุคแห่งการเรียนรู้ กระแสสังคมเข้าสู่ยุคประชาธิปไตยการบริหารจัดการแนวใหม่ที่ยึดหลักธรรมาภิบาลจึงส่งผลให้ สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกประเทศเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนที่ต้องเพิ่มศักยภาพและความยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนเพื่อตอบสนองความต้องการของระบบที่เปลี่ยนแปลงไป
2.           กระบวนทัศน์ Public Management  และ Reinventing Government  กระบวนทัศน์อันไหน  นำมาใช้ในการบริหารบ้านเมืองในยุคปัจจุบันได้ดีกว่ากัน  เพราะเหตุใด
ตอบ
“Public Management” หมายถึง แนวคิดในการนำเอาหลักการบริหารงานแบบเอกชนมาใช้ในการบริหารงานหน่วยงานภาครัฐ หรือปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารงานภาครัฐให้เป็นเหมือนเอกชน เกิดจากการที่หน่วยงานภาครัฐเล็งเห็นถึงปัญหาของการทำงานของหน่วยงานภาครัฐภายใต้กรอบของ Public Administration และได้เห็นผลความสำเร็จของเอกชนอันเนื่องมาจากการนำเอาหลักการบริหารต่างๆ ตามกรอบของ Public Management มาใช้ 

สำหรับในมุมมองของนักวิชาการ มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันไปหลายด้าน ทั้งที่คิดว่า Public Management มีขอบเขตที่กว้างกว่า Public Administrator (Henri Fayol) หรือคิดว่า Public Management เหมือนหรือเป็นเรื่องเดียวกันกับ Public Administrator และที่คิดว่า Public Management เป็นเพียงส่วนหนึ่งของ Public Administrator (Ott, Hyde และ Shafritz) 

Donald F.Kettl ได้นำเสนอขอบเขตของ Public Management ว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ การเพิ่ม Productivity ของการทำงานของหน่วยงานภาครัฐ การใช้กลไกตลาด การให้บริการกับประชาชนในฐานะลูกค้าที่มารับบริการ การกระจายอำนาจ (Decentralization) ลงไปสู่ท้องถิ่น และการให้ความสำคัญกับการวัดผลสัมฤทธิ์ของงาน 

ในความเข้าใจของผมเห็นว่า Public Management เป็นส่วนหนึ่งของ Public Administrator ซึ่งทั้งสองแนวคิดต่างก็มีข้อดีข้อเสียในตัว การที่จะบริหารจัดการประเทศได้อย่างดีเพื่อให้เกิดความผาสุกของประชาชนนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องใช้กรอบความคิดทั้งของ Public Management และ Public Administrator ไปควบคู่กัน โดยพิจารณาจากบริบทของสังคมไทยให้เหมาะสม เช่น การนำเอาแนวความคิดเรื่องการกระจายอำนาจมาใช้เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารงาน แต่เพิ่มความเข้มข้นในการตรวจสอบผู้ที่ได้รับมอบอำนาจ หรือการปรับเปลี่ยนบทบาทของภาครัฐให้เป็นเพียงผู้กระตุ้นให้เกิดการบริการ (Catalyst) แล้วให้เอกชนเป็นผู้รับผิดชอบด้านการให้บริการประชาชนในบริการสาธารณะบางประเภท เช่น รถเมล์ รถไฟ โทรศัพท์ เป็น
Public Management Reform
1. การยกระดับผลการปฏิบัติงานของภาครัฐ โดยการปรับปรุงการบริหารงานบุคคล การบริหารการเงินและงบประมาณเทคโนโลยีการบริหาร โดยใช้หลักการกระจายอำนาจให้ผู้ปฏิบัติ การผ่อนคลายกฎระเบียบ การรับฟังความต้องการของลูกค้า
2. การนำวิธีการจัดการของเอกชนมาใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพส่งเสริมให้มีการแข่งขัน และลดการผูกขาดในการจัดทำบริการสาธารณะ การจัดหาพัสดุ การจ้างเหมาเอกชน การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
Reinventing Government
1.        Catalytic Government คือหางเสือไม่ลงมือทำเอง
2.        Community Owned Government ร่วมตัดสินใจ
3.        Competitive Government ทางเลือกสาธารณะ
4.        Customer Driven Gov. ใส่ใจความต้องการของ ปชช.
5.        Mission Driven Gov. มีพันธกิจ
6.        Market Oriented Gov. ใช้กลไกตลาด
7.        Result Oriented Gov มุ่งสัมฤทธิ์ผล
8.        Enterprising Gov. ทำแบบผู้ประกอบการหารายได้
9.        Anticipatory Gov. คาดปัญหาล่วงหน้าและมีแผน
10. Decentralized Gov. กระจายอำนาจ
กระบวนทัศน์อันไหน  นำมาใช้ในการบริหารบ้านเมืองในยุคปัจจุบันได้ดีกว่ากัน 
                                น่าจะเป็นการผสมผสาน ทั้งสองกระบวนทัศน์เข้าด้วยกัน เพื่อปรับใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ในยุคโลกาภิวัตน์ ฯลฯ ใส่ความคิดของตนเองเข้าไปจ้า....


3.           กระบวนทัศน์ NPM ถ้านำมาใช้ในระบบราชการ  ทำให้ประเทศไทยดีขึ้นจริงหรือไม่  เพราะเหตุใด
ตอบ
กระบวนทัศน์ NPM   (New Public Management)
                ลดบทบาทของรัฐในการจัดทำบริการสาธารณะ  การแข่งขันโดยผ่านกลไกการตลาดทางเสเพื่อประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ รัฐเปิดโอกาสให้มีการแข่งขัน โดยเสรี และใช้รูปแบบอื่นในการจัดทำบริการสารธารณะ  สรุป ก็คือ ผลักดันงานของรัฐใน ด้านบริการสาธารณะไปให้เอกชนเพื่อได้มีการแข่งขันในกลไกทางการตลาด และรัฐเป็นผู้ เปิดโอกาสให้เอกชนแข่งขันกัน
               
สาระสำคัญของ NPM (New Public Management)
การเปลี่ยนแปลงหลักการบริหารที่เน้น input และ pocess เป็นการเน้นที่ output และ outcome เน้นที่ผลสัมฤทธิ์คือประสิทธิภาพและประสิทธิผล  การสร้างระบบการวัดผลงาน กำหนดตัวชี้วัดและมาตรฐาน      มีโครงสร้างองค์การที่กะทัดรัด แนบราบ เป็นอิสระ สร้างสายสัมพันธ์แบบสัญญา (จ้าง) มากกว่าสายการบังคับบัญชา ดูผลงาน การทำงานตามหน้าที่) ใช้กลไกการตลาดในการจัดบริการสาธารณะ (แปรรูป, จ้างเหมา)  เส้นแบ่งระหว่างภาคนรัฐและเอกชนไม่ชัดเจน เนื่องจากความสัมพันธ์แบบเป็นหุ้นส่วนมีมากขึ้น   ค่านิยม เช่น หลักสากล เสมอภาค มั่นคง ลดความสำคัญให้กับประสิทธิภาพ
องค์ประกอบของ NPM
1.     ใช้มืออาชีพมาจัดการ
2.    กำหนดมาตรฐานและตัวชีวัดการปฏิบัติงานที่ชัดเจน
3.    มุ่งควบคุมที่ผลลัพธ์ (Outputs) มากกว่าวิธีการ
4.    แตกองค์การให้เล็กลงเป็นหน่วยงานย่อยเพื่อประสิทธิภาพ
5.    ใช้การแข่งขันผลักดันให้เกิดมาตรฐานที่ดีขึ้นและต้นทุนต่ำลง
6.    ใช้วิธีการของธุรกิจเอกชน
7.    เน้นวินัยและความประหยัดในการใช้ทรัพยากร




4.           การบริหารราชการที่เน้นเฉพาะกระบวนทัศน์ใด  กระบวนทัศน์หนึ่ง  เพียงพอหรือไม่ที่จะแก้ปัญหา  และนำพาประเทศไปสู่อนาคตได้
ตอบ
                ไม่เพียงพอ แล้วแต่สถานการณ์ ที่มีความเหมาะสมต่อกระบวนทัศน์ใด

5.           ท่านเห็นด้วยกับแนวคิดแบบ NPS  ยังไง  ในการบริหารราชการภายใต้สถานการณ์ยุคปัจจุบัน
ตอบ
จากแนวคิด NPM สู่ NPS
จาก "การศึกษาการบริหารแยกออกจากการเมือง (politics-administration dichotomy)"
สู่ "การเมืองกับการบริหารมิอาจแยกออกจากกันได้"
สู่ "กำเนิดของการบริหารรัฐกิจใหม่ (New Public Administration : NPA)"
สู่ "การจัดการภาครัฐใหม่ (New Public Management : NPM)" ที่เน้น 6 เรื่องหลัก ได้แก่
1)            การปรับใช้หลักการจัดการนิยมของภาคเอกชนมาใช้กับการบริหารงานภาครัฐ
2) การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
3) การแตกหน่วยงาน
4) การแข่งขัน
5) การกระจายอำนาจ
6) และการมอบอำนาจให้กับพลเมือง
จนกระทั้งแนวคิด NPM ได้รับการวิพากษ์ เช่น ประเด็นการเปลี่ยนสถานะประชาชนพลเมือง ให้กลายเป็นเพียง "ลูกค้า" ตามวิธีคิดแบบธุรกิจเอกชน โดยมองข้ามความเป็นพลเมืองในฐานะผู้ที่ได้รับสิทธิตามที่กฎหมายรัฐธรรมนูญรับรอง ทั้งในแง่สิทธิ ความคุ้มครอง และการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมเสมอภาค โดยที่บางกรณีผู้ที่ไม่เสียภาษี รัฐจำต้องให้การยกเว้น เช่น คนชรา เด็ก และผู้ด้อยโอกาสทางสังคม (ผู้พิการช่วยตนเองไม่ได้ เป็นต้น)
ลักษณะดังกล่าวข้างต้น ผู้ที่วิพากษ์แนวคิดแบบ NPM มองว่า การยึคแนว NPM ก็คือ การลดฐานะของประชาชนเป็นเพียง "ลูกค้า" และในกรณีที่ "ลูกค้า" ไม่จ่ายค่าบริการ/ภาษี เขาก็อาจจะไม่ได้รับบริการ หรือแม้จะได้รับบริการก็อาจเป็นบริการที่ไม่เท่าเทียมเสมอภาค
ในแง่นี้ อาจารย์อัมพร จึงได้นำข้อเสนอของ เดนฮาร์ท (Denhardt) ซึ่งเป็นทางเลือกใหม่สำหรับการบริหารรัฐกิจที่ควรได้รับการพิจารณา เพราะ "มุ่งเน้นที่พลเมือง" (Citizen - First) เพื่อประโยชน์ในการสร้างชุมชนที่มีความใกล้เคียงกับประชาสังคม (Civil Society) ภายใต้กรอบของระบอบประชาธิปไตยที่ยึดกฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นหลัก โดยให้ชื่อว่า สู่ "การบริการสาธารณะใหม่ (New Public Service)"
แนวคิด New Public Service มีหลักสำคัญ 7 ประการ ได้แก่
1) ให้บริการพลเมืองมิใช่ลูกค้า
2) แสวงหาผลประโยชน์สาธารณะ
3) เห็นคุณค่าของความเป็นพลเมือง (Citizenship) และการบริการสาธารณะเหนือการเป็นผู้ประกอบการ
4) คิดเชิงกลยุทธ์ กระทำอย่างเป็นประชาธิปไตย
5) ตระหนักถึงความยากลำบากในการสร้างความรับผิดชอบได้
6) เป็นผู้นำในการให้บริการโดยยึดคุณค่าทางสังคมมากกว่าจะเป็นผู้กำกับ (steer) หรือควบคุม (control) ทิศทางของสังคม
7) เห็นคุณค่าของ "ประชาชน" โดยการสร้างหน้าต่างแห่งโอกาส และเปิดประตูสู่การสร้างเครือข่ายความร่วมมือและการมีส่วนร่วมให้เกิดขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น