วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2554

การบริหารเชิงพฤติกรรม

มุมมองการบริหารเชิงพฤติกรรม
             มุมองแบบสมัยเดิมมองที่โครงสร้าง กฎระเบียบต่าง ๆ ขององค์การ แต่สำหรับมุมมองการบริหารเชิงพฤติกรรม มองโครงสร้าง กฎระเบียบต่าง ๆขององค์การเป็นเพียงส่วนหนึ่งขององค์การ และมองว่าองค์ประกอบที่สำคัญของการบริหารคือ คนในองค์กร

แนวคิดมุมมองเชิงพฤติกรรม แบ่งออกเป็นแนวคิด 2 สำนัก คือ

             1. แนวคิดสำนักมนุษยสัมพันธ์ เป็นการอาศัยโครงสร้างและกฎเกณฑ์การบริหารเพื่อควบคุมให้บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนด โดยใช้หลักเหตุผล และผู้บังคับบัญชาที่มีสมรรถภาพ สามารถเร่งรัดงานจากผู้ใต้บังคับบัญชา โดยผูกมัดน้ำใจของผู้ใต้บังคับบัญชา
             2. แนวคิดสำนักมนุษยนิยม “คนแสวงหาความพึงพอใจที่ปฎิบัติงานเต็มตามศักยภาพที่มีหลักการ

             -คำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
             -มนุษย์สามารถจะพัฒนาตัวเองเพื่อความสมบูรณ์ในตัวเอง
             -ประโยชน์ต่อต่อองค์การได้รับคือประโยชน์ของสมาชิกหรือคนในองค์กร
             -คนเป็นผู้กำหนดนโยบายและควบคุมนโยบาย
             -การเปลี่ยนแปลงขององค์การมาจากการระดมความคิดของทุกฝ่าย

ปัจจัย

             -ค่านิยม ทัศนคติ บุคลิกภาพ การมอง การเรียนรู้ การจูงใจ

ปัจจัยกลุ่ม

             -โครงสร้างกลุ่ม เป้าหมายเฉพาะกลุ่ม การสื่อสารภายในกล่ม

สรุป
 
             มุมมองการบริหารเชิงพฤติกรรมให้ความสำคัญกับคนและกลุ่ม โดยเสนอให้หลักการบริหารต้องมีความสอดคล้องกับปัจจัยต่าง ๆ ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้การปฎิบัติงานในองค์การเกิดประสิทธิภาพนำมาใช้

มุมมองการบริหารเชิงปริมาณ  

             -นำมาใช้แก้ปัญหาที่มีความซับซ้อนขององค์การโดยวิธการหาข้อมูลที่เป้นตัวเลขออกมาใช้ในการตัดสินใจกระบวนการ 

             เป็นการวิเคราะห์ปัญหา การวางรูปแบบปัญหา การสร้างแบบจำลอง การวิเคราะห์แบบจำลอง การดำเนินการโดยใช้โมเดลทางวิทยาศาสตร์  การวิเคราะห์ข้อมูลในอดีตเพื่อคาดการณ์ในอนาคต

จุดแข็ง

             - เน้นประสิทธิภาพในการตัดสินใจในสถานการณ์จำลอง
             -   จัดเตรียมแนวทางที่เป็นระบบ
             -   บริหารงานโดยไม่จำเป็นต้องอาศัยความรู้ล่วงหน้าเกี่ยวกับความซับซ้อนของปัญหา
             -   ทุนไม่สูงเมื่อเปรียบเทียบกับทางเลือกอื่น

ข้อจำกัด

             -ไม่เหมาะกับสถานการณ์ที่ต้องมีการตัดสินใจหลายสถานการณ์ เนื่องจากการตัดสินใจการบริหารจัดการเป็นเรื่องยากที่จะเข้าใจและมีลักษณะเฉพาะ
             -อาจไม่สะท้องให้เห็นสภาพเป็นจริงของสถานการณ์
             -มีต้นทุนสูง

มุมมองการบริหารเชิงระบบ

             -ส่วนต่าง ๆ ที่ขึ้นอยู่ต่อกันจำนวนหนึ่ง ซึ่งเมื่อรวมเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแล้วก็จะทำหน้าที่บางสิ่งบางอย่างให้สำเร็จผลตามที่ต้องการระบบปิด
             เป็นระบบที่เน้นการมีกิจกรรมภายในที่เกี่ยวข้องกับคนเป็นหลัก แต่ให้ความสนใจหรือเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมภายนอกน้อยมาก หรือไม่ให้ความสนใจเลย ระบบเปิดเน้นการมีปฎิกิริยาสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมภายนอกระบบ

สรุป

    องค์การเป็นระบบ ๆ หนึ่งที่ตั้งขึ้นและดำเนินการอยู่ในสภาพแวดล้อมใดแวดล้อมหนึ่ง และในทุกขณะของระบบ องค์การก็เป็นส่วนหนึ่งของระบบใหญ่ จะมีความเกี่ยวกับอยู่เสมอ การกระทำใด ๆ โดยองค์การก็ย่อมสามารถส่งผลกระทบต่อส่วนที่อยู่ภายนอกองค์การหรือระบบใหญ่อยู่เสมอ ผู้บริหารต้องเข้าใจถึงความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันระหว่างองค์กรกับสภาพแวดล้อมภายนอก

มุมมองเชิงสถานการณ์

   การตอบสนองของผู้บริหารจะขึ้นอยู่กับปัจจัยทางสถานการณ์

ปัจจัย
  
             - สภาพแวดล้อมที่ไม่คงที่ มีอัตราการเปลี่ยนแปลงและความสลับซับซ้อน
             -หน่วยธุรกิจจะเป็นที่ตำแหน่งที่ดีกว่าสำนักงานใหญ่ในการสร้างกลยุทธ
             -ความเชียวชาญ สามารถสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน
             -นำเสนอผู้ตรวจสอบ เพื่อ การควบคุมนี้เข้มงวด ปกป้องผู้บริโภคและบริษัท
             -ต้องคงผู้นำ แต่ไม่ต้องการคงสภาพเดิม

แนวคิด

             -สถานการณ์ต่าง ๆ มีอิทธิผลต่อกลยุทธ์โครงสร้าง กระบวนการซึ่งมีผลต่อการปฏิบัติงาน
             -ผู้บริหารควรจะปรับตัวขององค์การให้สอดคล้องกับสถานการณ์

สิ่งที่ให้ประโยชน์

             -ระบุสถานการณ์หลักได้
             -โต้แย้งกับหลักสากลของการจัดการ

ข้อจำกัด
  
             -สถานการณ์วิกฤตทั้งหมดไม่สามารถระบุได้
             -ทฤษฎีอาจไม่สามารถประยุกต์ใช้ได้กับประเด็นปัญหาทั้งหมด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น