PA 715
นโยบายสาธารณะ หมายถึง มาตรการที่รัฐหรือหน่วยงานของรัฐ จัดให้มีขึ้น เพื่อเจตนาที่จะแก้ไขปัญหาของบ้านเมือง
สิ่งที่รัฐบาลไม่เลือกกระทำ เช่น
1. โรงไฟฟ้านิวส์เคลีย
2. หวยบนดิน
3. คาซิโน
4. ภาษีมรดก
5. สิทธิบัตรยา
6. จดทะเบียนโสเภณี
นโยบาย (Policy) มี 3 ขั้นตอน
1. การกำหนดนโยบาย (Policy Formulation)
2. การนำนโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementations) วงจรนโยบาย Policy Cycle
3. การประเมินนโยบาย(Policy Evalution)
การกำหนดนโยบาย (Policy Formulation)
1. นโยบาย
2. แผน
3. แผนงาน
4. โครงการ/กิจกรรม
ปัญหานโยบายสาธารณะ
ความจริง ปัญหา หรือ problem หมายถึง ประเด็น หรือ issue เชิงสาธารณะที่ประชาชนให้ความสนใจ
รูปแบบของนโยบายสาธารณะ
- เป็นสิ่งที่ต้องทำให้ประชาชน อย่างเป็นธรรม (Equity) คือการที่รัฐสามารถเลือกปฏิบัติได้ แต่การเลือกปฏิบัติจะต้องเป็นคุณแก่สังคมส่วนใหญ่ เช่น การจัดเก็บภาษี บัตรทองรักษาทุกโรค ฯลฯ
- ความเสมอภาค คือ ความเท่าเทียมกัน (Equality) เป็นเป้าหมายสูงสุดของผู้กำหนดนโยบาย
- นโยบายสาธารณะต้องมีข้อผูกพันทางกฎหมายต่อบุคคลในสังคม ทำให้แตกต่างจากนโยบายโดยทั่วไป
- แต่ขณะเดียวกัน เช่นนโยบายบริษัท ถ้าสังคมไม่ปฏิบัติ ไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย
- การวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ มีรัฐเท่านั้นมีอำนาจที่จะหน่วงเหนี่ยว คุมขัง บุคคลได้ เมื่อบุคคลนั้นไม่ปฏิบัติตามนโยบาย
- นโยบายสาธารณะอาจออกมาได้หลายรูปแบบ เช่น แผนสภาพัฒน์ ฯมาตรการ กฎ ระเบียบ แผน แผนงาน โครงการ ฯลฯ
- นโยบายสาธารณะมีหลายระดับ เช่น รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด กฎกระทรวง
- รูปแบบของนโยบาย
นโยบายที่เป็นระเบียบกฎเกณฑ์ (regulatory policy) มาตรการบังคับให้โรงงานอุตสาหกรรมจ่ายภาษีที่เป็นผลเสียต่อส่วนรวม
นโยบายจัดสรรทรัพยากร (distributive policy) ในสังคม เช่น การกำหนดเรื่องที่ดิน สาธารณสุข (หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า) เช่น โฉนดชุมชน บัตรทอง
นโยบายจัดสรรทรัพยากรใหม่ (redistributive policy) รัฐจัดการกระจายการให้บริการที่จำเป็น รัฐดึงเอาเรื่องบางเรื่องมาจัดสรรใหม่เพื่อให้เกิดความทั่วถึง เป็นธรรม เช่น ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ ภาษีมรดก ภาษีทรัพย์สิน(เน้นไปบีบคนมีที่ดินทรัพย์สินมากๆกระจายให้เกิดความเสมอภาค) ปฏิรูปที่ดิน ฯลฯ
นโยบายจัดโครงสร้างสถาบันใหม่ (constituent policy) หรือ นโยบายเชิงสัญลักษณ์ (symbolic policy) เช่น องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ แปลงสินทรัพย์เป็นทุน
ผลของนโยบายสาธารณะ ผูกพันต่อทุกบุคคลในสังคม ทำให้แตกต่างจากนโยบายทั่วไป
นโยบายสาธารณะที่สำคัญ
· การเมือง(ยุบสภา เลือกตั้งใหม่ รัฐประหาร การปฏิวัติโดยมวลชน)
· เศรษฐกิจ น้ำมันขึ้นราคา ปาล์ม น้ำตาล ไข่ ข้าวยากหมากแพง เงินเฟ้อ
· สังคมยากจน ยาเสพติด การพนัน (หวยหุ้น หวยเสียว)
· พลังงาน (น้ำมัน ก๊าซ นิวเคลียร์ พลังงานทดแทน พลังงานทางเลือก)
· เทคโนโลยี่ 3G 4G
· รัฐสวัสดิการ/ประชานิยม (Social welfares )
· สาธารณสุข(แท้งเสรี การุณยฆาต อุ้มบุญ stop teen mum)
· การศึกษา (การปฏิรูปการศึกษา รอบ 2 เด็กไทยยิ่งฉลาดน้อยลง IQ 91 สูงสุด 110 )
· ความมั่นคง (ความรุนแรง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ การทำสงครามกับเพื่อนบ้าน)
· การทุจริต คอรัปชั่นของมักการเมืองและข้าราชการ (การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ) เช่น ใต้โต๊ะ บนโต๊ะ 30 %
รัฐสวัสดิการกับประชานิยม
ประเด็น problem | ประชานิยม Populism | รัฐสวัสดิการ Social welfares |
1. ปรัชญา | สร้างคะแนนนิยม | รับรองสิทธิขั้นพื้นฐานในการพัฒนาศักยภาพของ ประชาชน |
2. ระบบเศรษฐกิจ | รัฐแทรกแซงทุกนโยบาย | ใช้กลไกตลาด |
3. นโยบายความยากจน | ประกาศชัดเจน | ไม่ประกาศชัดเจน |
4. กลุ่มเป้าหมาย | กว้างกว่าคนจน | ครอบคลุมทุกคน |
5. บทบาทของรัฐ | มาก (โดยเฉพาะการหาเสียง) | มีบาทบาททุกเรื่องที่เกี่ยวกับสวัสดิการสังคม |
6. ภาระต่องบประมาณ | ภาระมาก,และมักมีภาระการคลังผูกพันต่อเนื่อง | ภาระมาก |
7. ความยั่งยืน | ขึ้นลงตามกระแสการเมือง | มีกรอบบริหารที่ทำให้ระบบสวัสดิการถาวร แต่ในระยะยาวถ้าไม่รอบคอบ ประเทศอาจล้มละลาย |
8. บทบาทของ ประชาสังคม | ไม่ชัดเจนแล้วแต่ความสัมพันธ์กับรัฐ | มีส่วนในการจัดการ |
9. บทบาทภาคธุรกิจ | ไม่ปรากฎ | มีบทบาทปานกลาง |
10. ผลสำเร็จในอนาคต | เป็นครั้งคราว | ลดได้ถาวร |
11. ผลเชื่อมโยงกับการกระจายรายได้ | เป็นผลจากความเหลื่อมล่ำในการกระจายรายได้ (ผู้มีรายได้น้อยมักได้รับประโยชน์มากกว่ากลุ่มอื่น | แนวคิดและวิธีดำเนินการมีส่วนแก้ปัญหาการกระจายรายได้ |
ประเด็นที่น่าสนใจ | ประชานิยม Populism | รัฐสวัสดิการ Social welfares |
เป้าหมาย | เน้นความเป็นธรรม | เน้นความเสมอภาค |
ภาระผูกพันงบประมาณ | ภาระน้อยกว่า | ภาระมากกว่า |
มาตรการด้านภาษี | เก็บภาษีน้อย | เก็บภาษีสูง : กลุ่มแสกนดิเนเวีย vat สูงถึง 20 % ระบบการศึกษา ยุโรป ฟรีทั้งหมด กลุ่มยุโรป สรุปเก็บภาษี สแกนดิเนเวีย 52 % ของ GDP ยุโรป 49 % ของ GDP ไทย 17 % ของ GDP |
ประชากรไทยทั้งหมด 65.4 ล้านคน
ผู้เสียภาษีจริงๆ 6 ล้านคน
Free rider 40 ล้านคน
ตัวแบบนโยบายสาธารณะ 7 ตัว
l ตัวแบบสถาบัน (Institutional Model) นโยบายสาธารณะเกิดขึ้นจากสถาบันทางการเมืองที่เป็นทางการ
l ตัวแบบกลุ่ม (Group Model) นโยบายสาธารณะเกิดขึ้นจากผลการต่อสู้ระหว่างกลุ่มในสังคม
l ตัวแบบเชิงระบบ (System Model) นโยบายสาธารณะเกิดขึ้นจากการกลั่นกรองของระบบการเมือง
l ตัวแบบชนชั้นนำ (Elite Model) นโยบายสาธารณะเกิดขึ้นจากการชี้นำของชนชั้นนำในสังคม
l ตัวแบบทฤษฎีเกม (Game theory Model) นโยบายสาธารณะในฐานะทางเลือกที่สมเหตุสมผลในสถานการณ์การแข่งขัน
l ตัวแบบส่วนเพิ่ม (Incremental Model) นโยบายสาธารณะเป็นสิ่งที่แตกต่างจากอดีต
l ตัวแบบเหตุผล (Rational Model) นโยบายสาธารณะเป็นผลจากการพิจารณาทางเลือกต่างๆ ที่มีเหตุมีผล ส่งผลดีต่อประชาชนมากกว่าผลเสีย
ตัวแบบสถาบัน (Institutional Model)
Group Model เกิดการต่อรองจากกลุ่มต่างๆ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนโยบาย ทำให้เกิดความสมดุล เช่นกลุ่มทุนที่เป็นนายทุนใหญ่อัดฉีดเงินมหาศาลเพื่อรักษาผลประโยชนของตนเอง ออกก.ม.ช่วย เช่นกลุ่ม CP
Elite Model เกิดจากลุ่มคนชั้นนำไม่กี่คน คิดนโยบายขึ้นมาเพื่อนำมาปฏิบัติ แล้วเกิดผลดีมากมาย เช่น 30 บาทรักษาทุกโรค Otop
Incremental Model กลุ่มนี้นำนโยบายเดิมที่ดีดีมาต่อยอด เรียกว่า นโยบายส่วนเพิ่ม เพื่อผลประโยชน์ของประชาชน เช่น Otop , 30 บาทรักษาทุกโรค (ที่เก็บเพื่อ ให้รู้คุณค่า การรับผิดชอบ กันการทิ้งยา เพราะเป็นจิตวิทยา
Game Theory Model กลุ่มนี้มีแนวคิด นำไปใช้ในนโยบายสาธารณะ เช่น การทหาร และการต่างประเทศ ตัวอย่างเกมส์ รัสเซียนรูเลต เกมส์ขับรถชนกัน ใช้ความเสี่ยงและความตายเป็นเดิมพัน เอาไปขู่ทางด้านความมั่นคง การเจรจาจะต้องเป็นฝ่ายเหนือกว่า จึงจะเกิดอำนาจต่อรอง
System Model ปัจจุบันนิยมใช้มาก
ขั้นตอนของการนำนโยบายไปปฏิบัติ
1.ขั้นตอนของการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติในระดับมหภาค แบ่งเป็น 2 ขั้นตอนหลัก
ขั้นตอนที่ 1 ; ได้แก่ขั้นตอนการแปลงนโยบาย ออกเป็นแนวทางปฏิบัติ หรือออกมาในรูปแบบแผนงาน หรือโครงการแล้วแต่กรณี
ขั้นตอนที่ 2 ; เป็นขั้นตอนในการทำให้หน่วยงาน ในระดับท้องถิ่นยอมรับแนวทาง แผนงาน โครงการ หรือผลของการแปลงนโยบายนั้นไปปฏิบัติต่อไป
1.ขั้นตอนของการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติในระดับมหภาค แบ่งเป็น 2 ขั้นตอนหลัก
ขั้นตอนที่ 1 ; ได้แก่ขั้นตอนการแปลงนโยบาย ออกเป็นแนวทางปฏิบัติ หรือออกมาในรูปแบบแผนงาน หรือโครงการแล้วแต่กรณี
ขั้นตอนที่ 2 ; เป็นขั้นตอนในการทำให้หน่วยงาน ในระดับท้องถิ่นยอมรับแนวทาง แผนงาน โครงการ หรือผลของการแปลงนโยบายนั้นไปปฏิบัติต่อไป
2. ขั้นตอนที่ 2 การนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติในระดับจุลภาค แบ่งย่อยออกเป็น 3 ขั้นตอนหลักคือ
ขั้นตอนที่ 1 ; ขั้นตอนระดมพลัง เป็นขั้นตอนที่หน่วยงานท้องถิ่นจะต้อง ดำเนินการใน 2 กิจกรรม
1.การพิจารณารับนโยบาย
2.การแสวงหาความสนับสนุนในนโยบายจากท้องถิ่น
ขั้นตอนที่ 2 ; เป็นขั้นตอนการปฏิบัติ ซึ่งครอบคลุมถึงกระบวนการใน การปรับเปลี่ยนโครงการที่ได้มีการยอมรับแล้ว ออกมาในรูปของการปฏิบัติจริง
ขั้นตอนที่ 3 ; ได้แก่ขั้นตอนการสร้างความเป็นปึกแผ่นหรือความต่อเนื่องครอบคลุมไปถึงการแสวงหาวิธีการที่จะทำให้นโยบายนั้นถูกปรับเปลี่ยนและได้รับการยอมรับ เข้าเป็นหน้าที่ประจำของผู้ปฏิบัติ
ขั้นตอนที่ 1 ; ขั้นตอนระดมพลัง เป็นขั้นตอนที่หน่วยงานท้องถิ่นจะต้อง ดำเนินการใน 2 กิจกรรม
1.การพิจารณารับนโยบาย
2.การแสวงหาความสนับสนุนในนโยบายจากท้องถิ่น
ขั้นตอนที่ 2 ; เป็นขั้นตอนการปฏิบัติ ซึ่งครอบคลุมถึงกระบวนการใน การปรับเปลี่ยนโครงการที่ได้มีการยอมรับแล้ว ออกมาในรูปของการปฏิบัติจริง
ขั้นตอนที่ 3 ; ได้แก่ขั้นตอนการสร้างความเป็นปึกแผ่นหรือความต่อเนื่องครอบคลุมไปถึงการแสวงหาวิธีการที่จะทำให้นโยบายนั้นถูกปรับเปลี่ยนและได้รับการยอมรับ เข้าเป็นหน้าที่ประจำของผู้ปฏิบัติ
• ตัวแบบที่ยึดหลักเหตุผล
• ตัวแบบทางด้านการจัดการ
• ตัวแบบทางด้านการพัฒนาองค์การ
• ตัวแบบกระบวนการของระบบราชการ
• ตัวแบบทางการเมือง
น้นการวางแผนและควบคุมเป็นหลัก ถ้าไม่วางแผนล้มเหลวแน่นอน
• ตัวแบบเชิงบูรณาการ
ตัวแบบการยึดหลักเหตุและผล (Rational Model)
1. ความไม่ชัดเจนของนโยบายและเป้าหมาย (In clarity) : เช่นนโยบายการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เป็นนโยบายที่เขียนไว้กว้างๆ และมักจะล้มเหลว
2. ความไม่สามารถกำหนดภารกิจและการมอบหมายงานที่ไม่ชัดเจน (Mission / Assignment) : ไม่มากไม่น้อยจนเกินไป
3. ขาดความเป็นมาตรฐาน (Standardization) : ไม่มีข้อกำหนดมาตรฐาน , นโยบายสาธารณสุขประสบความสำเร็จเพราะมีคู่มือปฏิบัติที่ดี
4. ขาดการติดตามผล (Monitoring / Evaluation) : ต้องมีการรายงาน ความก้าวหน้า เช่นโครงการพระราชดำริ ที่ประสบความสำเร็จเพราะพระองค์ ท่านทรงเดินทางไปตรวจและติดตามผลตลอด
5. ความล้มเหลวในกระบวนการ (Reward / Punishment) : การให้คุณให้โทษ เช่นทำไปก็ไม่ได้ความ ไม่ประสบความสำเร็จก็ควรจะหยุดโครงการ
ตัวแบบทางด้านการจัดการ (Management Capacity Model)
1.โครงสร้าง (Organization / Structure) : โครงสร้างหากใหญ่เกินไปจะทำให้การประสานงานและการเชื่อมโยงล่าช้า ต้องทำเป็นมหาชน
2.คน (Personal) : ให้ประชาชนนำนโยบายไปปฏิบัติช่วยราชการ (Citizen Co- operation) คนไม่พอ,คนไม่มีคุณภาพ,ไม่มีการนำคนไปใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่
3.ไม่มีสถานะในการกระจายรายได้ลงไป (Budget Allocation Adequacy) พอเพียง : ปัจจัยสำคัญต้องเรียกร้องให้มอบอำนาจลงมาจากบนลงมาล่าง
4.สถานที่ (Location / Office / Facilities) : นโยบายจะประสบความสำเร็จได้ต้องมีความพร้อมด้านสถานที่, ความสะดวก-สบาย, เข้าออกง่าย, มีถนนผ่าน
5.หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (Number of Agencies) : การที่จะนำนโยบายไปปฏิบัติให้ประสบความสำเร็จอีกประการหนึ่งคือปัจจัยกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ตัวแบบทางด้านการพัฒนาองค์การ
ลักษณะ ผู้นำหมู่ มีผู้นำผลัดเปลี่ยนหมุนเวียน ไม่มีข้อขัดแย้ง ทุกตัวมองเห็นกันตลอดเวลา ตัวใดถูกยิง ก็จะมีอีก 2 ตัวช่วยกัน ดูแลช่วยเหลือตามที่สามารถช่วยได้
Bison theory ความป่าไบซัน
ความ ไบซัน ทำงานเป็นทีมใหญ่ ทีมเวิร์คที่มีพลัง มีความเชื่อผู้นำ
เกิดเป็นทฤษฎี ควายบิน ( flight of the buffalo) ของ James A. Belasco การเลือกผู้นำ สามารถใช้ได้ 2 แบบแล้วแต่สถานการณ์ เรียกว่า แบบควายผสมห่าน เช่น ประเทศ
ตัวแบบทางกระบวนการของระบบราชการ (Bureaucratic Process Model)
ในการนำนโยบายไปปฏิบัติให้ประสบความสำเร็จได้ต้องมีปัจจัยต่อไปนี้คือ :-
1. ระดับความเข้าใจสภาพความเป็นจริงในการให้บริการ : นโยบายจะสำเร็จหรือล้มเหลว ไม่ใช่เรื่องของการบริหารทีมีประสิทธิภาพหรือขาดประสิทธิภาพ หากแต่ขึ้นอยู่กับผู้กำหนดนโยบายหรือผู้บริหารเข้าใจว่า สภาพความเป็นจริงของการปฏิบัติเกิดขึ้นในลักษณะใดมากกว่า
2. ข้าราชการ : การยัดเยียดนโยบายใหม่ๆ ที่จะไปมีผลกระทบวิถีชีวิตประจำวันของข้าราชการมักจะไร้ผล นอกเสียจากข้าราชการหรือ ผู้ปฏิบัติจะยอมรับหรือปรับนโยบายแนวทางปฏิบัติเหล่านั้นเข้าเป็น ส่วนหนึ่งของหน้าที่ประจำวันเอง
Michael Lipsky กล่าวว่า ข้าราชการที่มีหน้าที่ติดต่อใกล้ชิดประชาชน หรือ Street Level Bureaucrat สามารถใช้วิจารณญาณในการปฏิบัติหน้าที่ของตน โดยที่ผู้บังคับบัญชาไม่สามารถควบคุมได้ การยัดเยียดโครงการใหม่ๆ ที่จะไปมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตประจำวันของข้าราชการเหล่านี้มักจะไร้ผล
Jame D. Sorg ได้แบ่งพฤติกรรมของผู้ปฏิบัติระดับล่างออกเป็น 4 รูปแบบ
1. พวกตั้งใจทำตาม และทำตามสำเร็จ (Intentional Compliance)
2. พวกตั้งใจทำตาม และทำตามไม่สำเร็จ (Intentional Non-Compliance) โง่แต่ขยัน
3. พวกตั้งใจไม่ทำตาม และไม่ทำตามสำเร็จ (Unintentional Compliance)
4. พวกตั้งใจไม่ทำตาม แต่ไม่สำเร็จ (Unintentional Non-Compliance)
องค์กรภาครัฐ ควรเลือกคนขยัน แต่ไม่เก่ง เพราะสามารถฝึกได้
องค์กรเอกชน ควรเลือก ขยัน เก่ง
ตัวแบบทางการเมือง (Political Model)
การนำนโยบายไปปฏิบัติจะสำเร็จหรือล้มเหลว ขึ้นอยู่กับความสามารถในการเผชิญหน้า การบริหารความขัดแย้ง การแสวงหาผู้สนับสนุนหรือการยอมรับ การโฆษณาชวนเชื่อ การรู้จักสร้างเงื่อนไขและหาข้อต่อรองในการจัดสรรทรัพยากรทั้งระดับบุคคล กลุ่มบุคคล หน่วยงาน ตลอดจนองค์การต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง การสนับสนุนจากนักการเมือง สื่อมวลชน กลุ่มอิทธิพล และกลุ่มผลประโยชน์ บุคคลสำคัญ รวมถึงบุคลิกภาพ ความรู้ความสามารถ ความชำนาญในการต่อรองของผู้เล่น (players) แต่ละคน เป็นสำคัญ
ลักษณะเด่นคือ การเจรจา การประงานเก่ง ความรู้ดี ความสามารถดี ต่อรอง ล็อบบี้เก่ง
ลักษณะเด่น เอาของทุกลักษณะที่เด่นๆ มาใช้รวมกัน
สรุป : ปัจจัยในการนำนโยบายไปปฏิบัติ ให้ได้ผลสำเร็จจะมีปัจจัยมากมาย แต่พอที่จะสรุปได้ด้วย ความรู้สามารถของผู้นำ ความร่วมมือของผู้ปฏิบัติ และจะต้องมีการติดตามควบคุม โดยต้องคำนึงถึงการปฎิสัมพันธ์ของสิ่งแวดล้อมด้วย
การวัดความสำเร็จ มิติที่ 1 ได้แก่ การวัดผลผลิต(out put) ผลลัพธ์(out come) ผลลัพธ์สุดท้าย(Ultimate outcome)
มิติที่ 2 ได้แก่ การวัดผลกระทบของนโยบาย(Impact)
มิติที่ 3 ได้แก่ การวัดว่าผลของนโยบายมีประโยชน์ต่อประเทศชาติโดยรวม(overall benefit)ได้หรือไม่
มิติที่สอง
ผลกระทบ : ผลสำเร็จของโครงการต้องเป็นความสำเร็จที่แท้จริง
• โครงการต้องไม่ก่อให้เกิดปัญหาต่อโครงการหรือนโยบายอื่นๆ
• โครงการต้องไม่ก่อให้เกิดปัญหาความเชื่อถือได้ของผลโครงการ
• โครงการที่สำเร็จจะต้องไม่มีปัญหาทางด้านมาตรการ จะต้องทำได้จริง เช่น
• โครงการที่สำเร็จจะต้องไม่มีปัญหาทางด้านมนุษยธรรมหรือศีลธรรม เช่น ฆ่าตัดตอน แท้งเสรี ผลัดดันโรบินยา
นโยบายที่ดีจะต้องมี 2 ส่วน
1. หลักการพื้นฐาน เช่น พระบรมราโชวาท “ เราจะครองแผ่นดินดินโดยธรรม”
2. นำไปสู่ผลลัพธ์สุดท้าย เช่น “เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”
แนวคำถามของ อ.วัลลภ
1. นโยบายสาธารณะคืออะไร มีรูปแบบและตัวแบบ ว่ามีลักษณะอย่างไร อะไรบ้าง จงอธิบายพร้อมตัวอย่าง นโยบายหรือโครงการ เพื่อประกอบรูปแบบหรือตัวแบบ ทั้งสองให้ชัดเจน ?
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น