วันเสาร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2554

กลยุทธ์ (Strategies)

กลยุทธ์ (Strategies)
วิธีการหรือแนวทางในการดำเนินงาน เพื่อสร้างให้องค์การสามารถบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมาย
                กลยุทธ์เป็นการกำหนดมาตรการ/ วิธีการ/ หรือเทคนิคการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย โดยมีหลักการ/ จุดยืน ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ขององค์การ ซึ่งจะตอบคำถามหลักที่ว่าองค์การจะเลือกแนวทางการดำเนินงานอย่างไรต่อไป   (How do we get there?)
คุณลักษณะของความเป็นกลยุทธ์
Henry Mintzberg มองว่าความเป็นกลยุทธ์จะต้องมีความหมาย ที่มีลักษณะประกอบกัน ดังนี้
        1. Strategy is a plan                          ความเป็นแผน
        2. Strategy is a pattern                     ความเป็นรูปแบบ
        3. Strategy is a position                   ความมีจุดยืน
        4. Strategy is a perspective             ความเป็นมิติทางความคิด
        5. Strategy is a play                          ความเป็นเกมส์การต่อสู้ที่ใช้อุบาย                                                                                            หรือเล่ห์เหลี่ยม
การจัดแบ่งกลยุทธ์
ภาครัฐ 
                กลยุทธ์มี 4 ระดับ คือ
                                1. กลยุทธ์ระดับชาติ: เพื่อการขับเคลื่อนในเวทีสากลและชูธงนำในระดับประเทศ
                                2. กลยุทธ์ระดับกลาง: เพื่อการขับเคลื่อนภารกิจหลักตามนโยบายของรัฐบาล และยุทธศาสตร์ชาติ
                                3. กลยุทธ์ระดับกรม: เพื่อการขับเคลื่อนภารกิจขององค์การให้บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนด
                                4. กลยุทธ์ระดับหน่วยปฏิบัติการ: เพื่อการขับเคลื่อนภารกิจเฉพาะกิจ ซึ่งมีทั้งภารกิจหลักและภารกิจสนับสนุน ให้บรรลุเป้าหมายตามภารกิจหรือตามแผน
ภาคเอกชน
กลยุทธ์มี 3 ระดับ คือ
1. กลยุทธ์ระดับองค์การหรือกลุ่มกิจการ (Corporate Strategy ซึ่งเป็นกลยุทธ์หลักโดยรวมขององค์กร
2. กลยุทธ์ระดับหน่วยธุรกิจ (Business Strategy) เป็นกลยุทธ์หลักของหน่วยธุรกิจแต่ละหน่วย
3. กลยุทธ์ระดับหน้าที่งาน (Functional Strategy) เป็นกลยุทธ์เฉพาะกิจ เฉพาะทาง แต่ละด้าน ตามความชำนาญการของแต่ละหน่วย ที่มีหน้าที่เป็นการเฉพาะ เช่น กลยุทธ์ทางการตลาด กลยุทธ์ทางการผลิต กลยุทธ์ทางการประชาสัมพันธ์ กลยุทธ์ทางการเงิน
การจัดวางกลยุทธ์
1.       กลยุทธ์เชิงรุก 
                                การกำหนดแนวทางการดำเนินงาน ที่มุ่งเน้นสู่เป้าหมายในทุวิถีทาง โดยการระดมความรู้ ความสามารถ และทรัพยากร ที่มีความชำนาญการ เหมาะสมและหลากหลายไว้อย่างพร้อมเพรียง โดยอาจมุ่งเน้น
                                1.1 มุ่งเน้นการขยายตัวหรือสร้างความเติบโต
                                1.2 มุ่งเน้นการสร้างความมั่งคั่ง
2. กลยุทธ์ตั้งรับ  
                การกำหนดแนวทางการดำเนินงาน ที่เตรียมพร้อมต่อการรับความเปลี่ยนแปลงที่ยังไม่อาจประเมินได้ชัดเจน เนื่องจากมีข้อจำกัด ซึ่งอาจเป็นปัจจัยภายนอก หรือปัจจัยภายในขององค์การก็ได้ ทำให้แนวทางการดำเนินงานมุ่งหวังเพียงเพื่อรักษาสถานภาพหรือเป้าหมายเดิมให้คงไว้ ซึ่งอาจดำเนินการโดย
                                2.1 มุ่งเน้นการสร้างความมั่นคง
                                2.2 มุ่งเน้นการสร้างเสถียรภาพ
3. กลยุทธ์ชะลอตัว
                การกำหนดแนวทางการดำเนินงานที่มุ่งรักษาสภาพของกิจการที่เป็นอยู่ โดยให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด และยังสามารถดำเนินการอยู่ต่อไป และเตรียมพร้อมสำหรับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงใหม่ มุ่งหวังเพื่อรอจังหวะของการพลิกผันไปสู่สภาพที่ดีข้างหน้า
4. กลยุทธ์การลดหรือตัดทอน
                การกำหนดแนวทางการดำเนินงานที่มุ่งแก้ไขปัญหาหรือความเสียหายที่เกิดขึ้นกับองค์การ ทั้งนี้เพื่อให้องค์การอยู่รอดต่อไปได้ โดยอาจต้องลดหรือตัดทอนกิจการหรือทรัพย์สินต่างๆ ที่สูญเสียออกไป  อาจทำได้โดย
                                4.1 การลดขนาดของกิจการหรือเป้าหมาย โดยใช้เทคนิควิธีการต่างๆ เช่น การลดขนาดขององค์การ (Down-sizing) การแปรรูปกิจการ การว่าจ้างทดแทน หรือเช้าซื้อทดแทนการลงทุน การชะลองานบางด้าน การปรับลดพนักงาน เป็นต้น
                                4.2 การถอนตัว ในกิจการหรือภารกิจบางด้านที่ดำเนินการอยู่ให้ออกไป แต่ยังคงรักษาไว้ซึ่งอำนาจในการบริหารองค์การระดับหนึ่ง
                                4.3 การเลิกกิจการ การกำหนดแนวทางการดำเนินงาน เพื่อการยกเลิกกิจการ อาจเป็นบางส่วนหรือทั้งหมด ซึ่งอาจทำโดยการขายกิจการหรือโอนกิจการให้ผู้อื่น
การกำหนดกลยุทธ์
1.             ระดับองค์กร :
                                                การกำหนดจะต้องประเมินสถานภาพองค์กร ทางเลือกที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและเป้าหมายขององค์การ
                                กลยุทธ์ - การรักษาเสถียรภาพ
                   การสร้างความเจริญเติบโต
                   การตัดทอน การยุบเลิก ลดขนาดขององค์กร
                2. ระดับแผนงาน
                                กลยุทธ์ - การเพิ่มประสิทธิภาพ ประสิทธิผล
                   การปรับปรุงระบบ กระบวนการ
                   การเสริมสร้างการมีส่วนร่วม
3. ระดับโครงการ
                                กลยุทธ์ - การปรับปรุงรูปแบบ
                   การส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความสามารถ
                   การประสานกิจกรรม
ความหมายของการวางแผนกลยุทธ์
                   กระบวนการตัดสินใจในปัจจุบันเพื่อกำหนดทิศทางเกี่ยวกับอนาคตหรือความมุ่งมั่นที่ต้องการจะเป็น ตามภารกิจหลัก ในการบรรลุเป้าหมายที่ต้องการขององค์กร
                   แผนที่มุ่งเน้นอนาคต โดยการวิเคราะห์และสร้างทัศนภาพที่ยาวไกลด้วยการคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเพื่อนำมาปรับทิศทางการดำเนินงาน การตัดสินใจ ทบทวน และพัฒนาบทบาทภารกิจที่ควรเป็นในอนาคตขององค์กร
                   ให้ความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ ยังเป็นการวิเคราะห์เพื่อมองภาพรวม โดยเน้นระดับการวิเคราะห์ทั่วทั้งองค์การ มากกว่าพิจารณาเพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือเฉพาะบางแผนงาน โครงการ กิจกรรม
ลักษณะของแผนกลยุทธ์
                   เป็นแผนระยะกลางและระยะยาว (3-10 ปี) ที่มีผลต่อการดำรงอยู่ขององค์กร
                   เป็นความมุ่งหวังที่ต้องการจะเป็น / มี / ทำ ในอนาคต  (สร้างวิสัยทัศน์ Vision)
                   เป็นทัศนภาพเชิงบูรณาการขององค์กรที่เหมาะสมและสอดคล้องศักยภาพและสถานการณ์
                   เป็นการกำหนดตำแหน่งหรือฐานะขององค์กรในเวทีการต่อสู้ / การแข่งขัน
                   เป็นการมุ่งสู่ผลลัพธ์โดยมีวิธีการ / มาตรการ ที่ชัดเจน (กำหนดเป้าหมาย Objectives และ กลยุทธ์ Strategies)
ขบวนการจัดทำแผนกลยุทธ์
                   ริเริ่มและสร้างการยอมรับขบวนการจัดทำแผน
                   ชี้ชัดถึงอำนาจหน้าที่ขององค์กร
                   ทำความเข้าใจในพันธะกิจและคุณค่าขององค์กร
                   ประเมินบรรยากาศภายในและภายนอกองค์กรเพื่อแยกแยะจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและภาวะคุกคาม (SWOT)
                   ชี้ชัดประเด็นปัญหาที่องค์กรเผชิญอยู่
                   กำหนดกลยุทธ์เพื่อจัดการ
                   กำหนดวิสัยทัศน์ขององค์กรที่มีประสิทธิภาพ
                   พัฒนาขบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพ
ริเริ่มและสร้างการยอมรับ
วัตถุประสงค์เพื่อสร้างข้อตกลงร่วมกันภายในกลุ่มของผู้มีอำนาจในการตัดสินใจต่อการวางแผนกลยุทธ์ ประเด็นที่ต้องมีการตกลงร่วมกันประกอบด้วย
              จุดมุ่งหมายของแผน
              ขั้นตอนในขบวนการทำงาน
              รูปแบบและระยะจัดทำแผน
              บทบาทหน้าที่และผู้ร่วมจัดทำแผน
              ข้อจำกัดและขอบเขตของทีมทำงาน
การวางแผน คือ คิดก่อนทำ
                   เป็นเครื่องมือ การบริหารเชิงประสิทธิภาพ/ประสิทธิผล
                   เป็นกระบวนการคาดการณ์มุ่งสู่เป้าหมาย
                   เป็นเครื่องมือการตัดสินใจเชิงบูรณาการสู่อนาคต
                   เป็นเครื่องมือกำกับทิศทางการทำงานสู่เป้าหมาย
                   เป็นกระบวนการควบคุมและประสานกิจกรรมมุ่งสู่ผลลัพธ์
อำนาจหน้าที่
องค์กรแต่ละองค์กรต้องเข้าใจถึงข้อกำหนดอำนาจหน้าที่โดยกฎระเบียบ กฎหมาย วัฒนธรรม ฯลฯ ที่ควบคุมองค์กรตนอยู่ บุคคลในองค์กรทั่วไปมักจะดำเนินบทบาทของตนผิดพลาดไปจากสิ่งที่ควรกระทำ ใน 3 ประเด็นพื้นฐานดังนี้
                   ไม่รู้ว่าตนจะต้องทำอะไรและไม่ควรทำอะไร
                   เชื่อว่าองค์กรของตนมีอำนาจจำกัดเกินกว่าที่เป็นจริง
                   มีสมมุติฐานว่าหากไม่ถูกสั่งให้ทำก็ไม่ควรกระทำสิ่งนั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น