ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการคลังสาธารณะ
ความหมายของการคลังสาธารณะ
- อรัญธรรมโน กล่าวว่า “การคลังสาธารณะเป็นการศึกษาเกี่ยวกับข้อเท็จจริง ทฤษฎีวิธีการและผลกระทบกระเทือนของการรับและจ่ายเงินของรัฐบาลและการบริหารหนี้สาธารณะ”
- พูนศรี สงวนชีพ เห็นว่า “การคลังสาธารณะเป็นการดำเนินการเกี่ยวกับการเงินของรัฐบาล คือ การจ่ายเงิน การหารายได้ การก่อหนี้สาธารณะ และนโยบายการคลัง”
- สุรเชษฐ์ ชิระมณี ได้ให้ความหมายของการคลังสาธารณะไว้ว่า “เป็นวิชาที่ทำการศึกษาเกี่ยวกับการแสวงหารายได้ การใช้จ่าย การก่อหนี้ และผลกระทบของการดำเนินนโยบายทงการคลังที่มีต่อสังคม
Richard A. Musgrave & Peggy B. Musgrave
1. มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับระดับของการเข้าไปมีบทบาททางเศรษฐกิจในแง่ของการใช้และการจัดสรรทรัพยากรและสังคม รวมทั้งการกระจายรายได้ของประชาชน
2. มีเนื้อหาสาระเกี่ยวข้องกับมาตรการต่างๆทางด้านรายได้และรายจ่ายของงบประมาณรัฐบาล
สรุป
การคลังสาธารณะเป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับรายรับของรัฐบาล รายจ่ายของรัฐบาล หนี้สาธารณะ นโยบายการคลังและนโยบายการเงิน
ภาพรวมของการคลังสาธารณะ
ความเป็นมาทางการคลังสาธารณะ
การศึกษาความเป็นมาทางการคลังในต่างประเทศสามารถแบ่งได้เป็น 6 ยุค คือ
1. ยุคสมัยโบราณ
2. ยุคศักดินา
3. ยุคลัทธิพาณิชย์นิยม ( Mercantilism)
4. ยุคของ อดัมสมิธ ( Adam smith) ในปี ค.ศ. 1776
5. ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ( Industrial Revoltion)
6. ยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงปัจจุบัน
ความสำคัญของการคลัง
1. จำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้น ทำให้ขอบเขตหน้าที่ของรัฐบาลกว้างขวางขึ้น
2. การดำเนินงานของรัฐบาลจะกระทบกระเทือนต่อโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศ และการตัดสิใจในการใช้จ่ายของเอกชนเป็นอย่างมาก
3. รัฐบาลเป็นผู้ใช้จ่ายเงินรายใหญ่ของประเทศ
4. เมื่อต้องใช้จ่ายเป็นจำนวนมากรัฐต้องจัดเก็บภาษีเป็นจำนวนมาก
5. การผันแปรทางเศรษฐกิจในปัจจุบันเป็นไปอย่างรุนแรงกว่าในอดีตเป็นอย่างมาก
6. เมื่อรัฐบาลต้องใช้จ่ายเป็นจำนวนมากขึ้น ก็จำเป็นต้องก่อนหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น
ขอบข่ายการศึกษาการคลังแนวเศรษฐศาสตร์
1. การศึกษาตามแนว Positive Approach หรือ Predictive Approach
2. การศึกษาตามแนว Normative Approach
ขอบข่ายการศึกษาการคลังแนวรัฐประศาสนศาสตร์
1. ทฤษฎีฐานคติ (Assumptive theory )
2. ทฤษฎีปทัสถาน ( Normative theory)
3. ทฤษฎีพรรณนาและอธิบาย (Descriptive explanatory theory)
4. ทฤษฎีอุปกรณ์ (Instrumental theory)
ขอบข่ายการศึกษาการคลังแนวกฏหมาย
เนื่องจากการบริหารงานของรัฐบาลจะต้องมีการออกกฎหมายหรือมีกฎหมายให้อำนาจไว้รัฐบาลจึงจะบริหารงานได้
ความสัมพันธ์ของการคลังกับศาสตร์ต่างๆ
1. การเมือง
2. ประวิตศาสตร์และสถิติ
3. ศีลธรรมหรือจริยธรรม
4. จิตวิทยาสังคม
5. กฎหมาย
6. เศรษฐศาสตร์
สิ่งที่เหมือนระหว่างการรัฐบาลกับการเงินของเอกชน
1. การแสวงหารายได้
2. การใช้จ่าย
3. การก่อหนี้
สิ่งที่แตกต่างกันระหว่างการคลังรัฐบาลกับการเงินเอกชน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น