วันศุกร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

วิกฤตการณ์ต้มยำกุ้ง และ วิกฤตการณ์แฮมเบอเกอร์ แนวทางการแก้ไข

กรณีวิกฤตการณ์ต้มยำกุ้ง
            สาเหตุเกิดจากความผิดพลาดในการดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนของไทยจนมีทุนสำรองระหว่างประเทศไม่เพียงพอ กอปรกับสถาบันการเงินมีปัญหา ดังนั้นมันจึงรุกรามไปถึงประเทศอื่นด้วย
            การดำเนินนโยบายด้านอัตราแลกเปลี่ยนซึ่งขณะนั้นรัฐได้ควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนให้อยู่ในระดับ 25-26 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ  อัตราเงินเฟ้อ 3 - 6 % ต่อปี  เป็นแรงดึงดูดเงินทุนจากต่างประเทศเข้ามาในไทยจำนวนมหาศาล ขณะนั้นเงินลงทุนมีสัดส่วนสูงกว่าเงินออมน่าสังเกตุคือ ได้เกิดการลงทุนมากเกินควรในหลายๆ สาขา โดยเฉพาะในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์  เงินทุนที่นำเข้าสุทธิจากต่างประเทศได้ผลักดันให้หนี้ต่างประเทศคงค้างของไทยพุ่งสูงขึ้น โดยกว่าร้อยละ 98 ของเงินทุนสุทธิเป็นยอดหนี้ของภาคเอกชน จุดอ่อนของภาคเอกชนไทยในขณะนั้น คือ การกู้เงินจนหนี้สินเกินเงินกองทุนหลายเท่าตัว หรือไม่ก็ก่อหนี้ระยะสั้นมากเกินควร
            นโยบายการเงินที่ผิดพลาด ได้อัดฉีดเงินเข้าไปอุ้มสถาบันการเงินที่มีปัญหาเศรษฐกิจไทยเริ่มอ่อนแอลงอีกเพราะนักลงทุนต่างชาติเริ่มขาดความเชื่อมั่น 
วิกฤตการณ์แฮมเบอเกอร์
            สาเหตุเกิดจากความผิดพลาดของสหรัฐอเมริกาในการจัดการสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์และการกำกับดูแลกลุ่มวาณิชธนกิจ (Investment banker) อย่างไม่รัดกุม จนเกิดปัญหาขาดสภาพคล่องและลุกลามคุมคามความมั่นคงของสถาบันการเงิน
            สาเหตุแรกของวิกฤต คือ มีทุนไหลเข้าไปในประเทศมากจนล้นออกไปในภาคอสังหาริมทรัพย์ จนทำให้มีการเก็งกำไรกันขึ้น ต้นเหตุที่มีเงินทุนไหลเข้ามาในสหรัฐมากก็เพราะดอลลาร์สหรัฐเป็นเงินสกุลหลักซึ่งเป็นที่เชื่อถือของชาวโลก  และเกิดจากรัฐบาลพิมพ์ธนบัตรของตนเองโดยไม่มีหลักทรัพย์หนุนหลังและไหลเวียนอยู่ในต่างประเทศ  หรือสหรัฐก่อหนี้ด้วยการพิมพ์ธนบัตรเกินหลักทรัพย์ของตนเอง ปัจจุบันรัฐบาลสหรัฐมีหนี้อันเนื่องมาจากการกระทำข้างต้น 3 ล้านล้านดอลลาร์ ประกอบกับการขาดสภาพคล่องของกลุ่มวาณิชธนกิจจนทำให้ราคาหุ้นของ 5 บริษัทใหญ่ตกจนไม่สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง สุดท้ายก็กระทบไปทั่วโลก
ข้อแตกต่างระหว่างวิกฤตการณ์ต้มยำกุ้ง กับ วิกฤตการณ์แฮมเบอเกอร์
            สาเหตุของต้มยำกุ้งเกิดจากการดำเนินนโยบายของรัฐบาลไทยในเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน และการอุ้มสถาบันการเงิน ส่วนวิกฤตการณ์แฮมเบอร์เกอร์ เกิดจากวินัยการคลังของสหรัฐกล่าวคือรัฐบาลพิมพ์ธนบัตรออกมามากเกินไป และการรัฐไม่เข้าไปควบคุมระบบการเงินของกลุ่มวาณิชธนกิจ
ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย
            วิกฤตการณ์ต้มยำกุ้ง ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย ทำให้เกิดสภาวะเงินเฟ้อ ราคาสินค้าสูงทุกประเภท ประชาชนมีหนี้สิ้นมากมาย ส่งผลทำให้สถาบันการเงินมีหนี้ NPL มาก รัฐบาลต้องนำเงินมาอุ้มสถาบันการเงินเพื่อป้องกันการล่มสลายของสถาบันการเงิน จนส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโลก
            วิกฤตการณ์แฮมเบอเกอร์ ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย ทำให้บริษัทเครือข่ายของกลุ่มวาณิชธนกิจ ขาดทุนต่อเนื่อง จนจำเป็นต้องปลดพนักงาน ออกเป็นจำนวนมาก มีคนตกงานมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อปัญหาสังคมภายในประเทศ  เมื่อมีคนตกงานมากขึ้น จึงทำให้มีการใช้จ่ายน้อยลง ส่งผลให้เงินสภาวะเงินฝืด จนรัฐบาลต้องนโยบายเร่งด่วนกระตุ้นการใช้จ่ายของประชาชน  โดยจ่ายเงินให้ประชาชนที่มีรายได้น้อยคนละ 2,000 บาท
การแก้ไขปัญหา
แยกเป็น 2 แบบ คือ สภาวะเงินเฟ้อ กับ สภาวะเงินฝืด
            สภาวะเงินเฟ้อ คือสภาวะที่มีเม็ดเงินอยู่ในระบบเศรษฐกิจมากจนเกินไปทำให้สินค้ามีราคาแพง การแก้ไขต้องลดจำนวนเม็ดเงินที่อยู่ในระบบ ด้วยการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ และอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก
            สภาวะเงินฝืด คือ สภาวะที่มีเม็ดเงินอยู่ในระบบเศรษฐกิจน้อย ผู้คนไม่ยอมจ่ายเงิน ทำให้สินค้าขายได้ยาก บริษัทที่ผลิตสินค้า เกิดสภาวะขาดสภาพคล่อง ต้องแก้ไขด้วยการลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ เพื่อให้ประชาชนกล้าที่จะลงทุน  รัฐต้องกำหนดนโยบายกระตุ้นการใช้จ่ายเงิน อาจจะดึงนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น