วันเสาร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ทฤษฏีและแนวคิดด้านการเงินการคลังสาธารณะ

ทฤษฏีและแนวคิดด้านการเงินการคลังสาธารณะTheory and concept of fiscal and public finance

                    การศึกษาการคลังสาธารณะ
                   เรื่องการจัดการทางการเงินของรัฐบาล เช่น งบประมาณรายรับ รายจ่าย การก่อหนี้ภาครัฐ เป็นต้น
                   เรื่องการใช้นโยบายการคลังเพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจ
                    งบประมาณของรัฐบาล
                   การแสดงรายการรับและรายการจ่ายที่เกิดขึ้นทั้งหมดในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง
                   แยกลักษณะของงบประมาณออกได้คือ
                    งบประมาณเกินดุล (budget surplus)
                    งบประมาณสมดุล(balance budget)
                    งบประมาณขาดดุล(budget deficit)
                    รายรับของรัฐบาล มี ๒ ส่วน คือ รายรับจากรายได้ และจากเงินกู้
                   รายได้ ที่รัฐบาลได้รับจากเงินภาษีอากร (90%)จากการขายสินค้าบริการ(3%) และรัฐพาณิชย์(7%)
                   เงินกู้ เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ โดยออกตั๋วเงินคลัง พันธบัตร ตราสารหนี้ หรือทำสัญญากู้
                    รายจ่ายของรัฐบาล อาจแบ่งออกได้ตามลักษณะโครงสร้างแผนงาน และลักษณะงานอื่น ๆ
                   โครงสร้างแผนงาน มี ๑๒ ประเภท แบ่งออกเป็นกลุ่ม ๆ ได้ ๔ กลุ่ม คือกลุ่มพัฒนาเศรษฐกิจ กลุ่มรักษาความมั่นคงแห่งชาติและความสงบเรียบร้อยภายใน กลุ่มการบริหารงานทั่วไป และกลุ่มการชำระหนี้
                   ลักษณะของเศรษฐกิจ แบ่งออกได้เป็น ๔ กลุ่ม ได้แก่ การบริหารทั่วไป  การบริการชุมชนและสังคม การเศรษฐกิจ และการดำเนินการอื่น ๆ
                    หนี้สาธารณะ คือข้อผูกพันที่รัฐบาลก่อขึ้นด้วยการกู้ยืมโดยตรง และด้วยการค้ำประกัน รวมทั้งเงินปริวรรตที่รัฐบาลรับรอง ได้แก่
                   หนี้ภายในประเทศ รัฐกู้ยืมหรือค้ำประกันจากสถาบันการเงิน หรือเอกชนภายในประเทศ
                   หนื้ต่างประเทศ คือการที่รัฐกู้ยืม หรือค้ำประกันจากแหล่งเงินต่างประเทศ
                    ฐานะทางการคลังของรัฐบาล ประกอบด้วย
                   ด้านรายรับ การนำส่งเข้าคลังจากแหล่งของรายได้ ภาษี การขายสิ่งของบริการ และรัฐพาณิชย์
                   ด้านรายจ่าย การจ่ายจริงจากงบประมาณปีปัจจุบัน และปีก่อนที่กันเอาไว้เบิกจ่ายเหลื่อมปี
                   เงินนอกงบประมาณ เงินที่มิใช่เงินงบประมาณ และหน่วยงานนำเอาฝากไว้กับกระทรวงการคลัง เช่นเงินกู้จากต่างประเทศ เงินทุนหมุนเวียนเป็นต้น
                   เงินกู้ คือการกู้เงินของรัฐบาลในแต่ละปีเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ตาม ม.๙ ทวิ พรบ.งบประมาณ ๒๕๐๒ แก้ไข ม.๓ ของ พรบ.ปี ๒๕๑๗
                    ฐานะของการคลังแสดงได้จาก
                   ดุลงบประมาณ(budget balance)คือส่วนต่างของงบรายได้และรายจ่าย
                   ดุลเงินสดรัฐบาล (cash balance)คือส่วนต่างของรายได้และรายจ่ายจริงของรัฐบาล ซึ่งทั้งจากเงินในและนอกงบประมาณ
                   เงินคงคลัง(Treasury balance)คือเงินสดอยู่ในมือและเงินฝากของกระทรวงคลังทั้งที่อยู่ในส่วนกลางและภูมิภาค เงินฝากของกระทรวงคลังที่ ธปท. เงินสดคลังจังหวัดและอำเภอ เงินสดกรมธนารักษ์ เงินฝากคลังในธนาคารกรุงไทย เงินสดระหว่างทาง รวมธนบัตรเหรียญกษาปณ์ของกระทรวงคลังที่อยู่ระหว่างการขนย้ายในส่วนกลางและภูมิภาค
                    นโยบายการคลัง fiscal policy
                   การจัดการงบประมาณเกี่ยวกับรายรับและรายจ่ายเพื่อสร้างเสถียรภาพในการใช้จ่ายรวมของระบบเศรษฐกิจให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม การใช้นโยบายทางภาษีช่วยลดปัญหาความผันผวนทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ่นได้ เช่นการจ้างงาน ราคาสินค้า แบ่งนโยบายออกได้ ๒ แบบ
                    นโยบายสร้างเถียรภาพโดยอัตโนมัติ( automatic stabilizer)
                    นโยบายแบบจงใจ(discretionary stabilizer) โดยปรับค่าใช้จ่าย หรือปรับภาษี
                    แบบขยายตัว(expansionary fiscal policy)โดยเพิ่มค่าใช้จ่ายการซื้อสินค้าบริการขั้นสุดท้าย และการโอนเงินเพื่อเพิ่มค่าใช้จ่ายรวม
                    แบบหดตัว(contractionary fiscal policy)โดยลดค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าบริการในตลาด เพื่อให้ส่งผลต่อการลดการใช้จ่ายของประชาชนโดยรวม
                    นโยบายการคลังเพื่อกระตุ้นและรักษาเถียรภาพเศรษฐกิจ
                   เรื่องของรายได้ของชาติ (national income account)
                   คิดได้ ๓ ทาง คือ คิดจากรายได้ จากรายจ่าย จากมูลค่าผลผลิต ล้วนให้มูลค่าของรายได้ประชาชาติหรือรายได้ของชาติ
                   กรณีด้าน รายจ่าย
                    Y = C + I + G
                    Y = C + I + G + (X-M)
                    Y หมายถึงรายได้มวลรวม GNP,
                    C หมายถึงรายจ่ายเพื่อการบริโภคของประชาชนโดยรวม
                    I หมายถึงรายจ่ายเพื่อการลงทุนของประชาชนรวม
                    G หมายถึงรายจ่ายของภาครัฐเพื่อการบริโภคและเพื่อการลงทุน
                    X หมายถึงมูลค่าการส่งออกของชาติ
                    M หมายถึงมูลค่าการนำเข้าของชาติ
                    X-M หมายถึงค่าสุทธิของการค้าของชาติ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น