2.หลักของการบริหารการคลัง
หลักการบริหารการคลังจะเป็นการศึกษาแนวคิดเรื่องธรรมาภิบาล วินัยทางการคลัง ความโปร่งใส ความรับผิดชอบต่อสาธารณชน และประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากร หลักการบริหารการคลังแบ่งออกเป็น 3 ระดับคือ
1.ธรรมาภิบาล ซึ่งเป็นบรรทัดฐานระดับสูง
2.วินัยทางการคลัง ความโปร่งใสทางการคลัง ความรับผิดชอบทางการคลังต่อสาธารณชน ประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรของรัฐ ซึ่งเป็นบรรทัดฐานระดับกลาง
3.บรรทัดฐานทางการคลังว่าด้วยหน้าที่และรายจ่ายของรัฐ รายได้ รายจ่าย งบประมาณ การเงิน การบัญชี การายงาน การตรวจสอบนโยบายการคลัง และความสัมพันธ์ทางการคลังระหว่างรัฐบาลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งเป็นบรรทัดฐานทางการคลังระดับล่างสุด หรือระดับปฏิบัติการ
หลักการบริหารและมาตรการของนโยบายการคลังที่สำคัญซึ่งรัฐบาลนำมาใช้ สามารถจำแนกออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้
1.มาตรการทางด้านการคลังที่ดำเนินไปโดยอิสระ (Nondiscretionary หรือ Automatic Fiscal Policy) หมายถึงการเปลี่ยนแปลงค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าและบริการของรัฐบาล รวมถึงการเปลี่ยนแปลงอัตราภาษี จะถูกกำหนดขึ้นเองอัตโนมัติตามการเปลี่ยนแปลงของระดับรายได้ประชาชาติ มาตรการทางด้านการคลังนี้ไม่ใช่เครื่องมือที่ใช้ในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจแต่เป็นเครื่องมือที่ช่วยชะลอไม่ให้รายได้ประชาชาติเปลี่ยนแปลงเร็วเกินไป ทั้งนี้เพื่อช่วยยืดเวลาให้รัฐบาลสามารถนำเอามาตรการทางด้านการคลังที่ใช้ดุลยพินิจ มาใช้ได้ทันเวลา
2.มาตรการทางด้านการคลังที่ใช้ดุลยพินิจ
ถ้าช่วงห่างระหว่างช่องว่างของเงินฝืดและเงินเฟ้อมีขนาดใหญ่ และรัฐบาลมาสามารถขจัดการเคลื่อนไหวที่ขึ้นลงในระยะสั้นในระบบเศรษฐกิจได้โดยใช้เครื่องมือของมาตรการการคลังโดยอิสระ ในกรณีนี้รัฐบาลจำเป็นจะต้องนำเอามาตรการการทางคลังที่ใช้ดุลยพินิจมาใช้อธิเช่น การเปลี่ยนแปลงค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าและบริการของรัฐบาล และการเลี่ยนแปลงภาษี
ความสำคัญของหารบริหารการคลัง
เป็นหลักแห่งการบริหารและพัฒนาประเทศ ถ้าเป็นนโยบายการคลังที่ดี จะทำให้ประเทศมรสภาพคล่องทางด้านเศรษฐกิจ โดยทั่วไปรัฐบาลมักจะใช้งบประมาณแผ่นดินเป็นเครื่องมือสำคัญของนโยบายการคลัง งบประมาณแผ่นดินเป็นแผนการใช้เงินของรัฐบาล ประกอบด้วยประมาณการรายรับและรายจ่าย รวมทั้งการจัดหาเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายตามประมาณการในช่วงระยะเวลา 1 ปี ดังนั้นการบริหารการคลังจะต้องมีความโปร่งใสที่สามารถตรวจสอบได้ และทันต่อระบบเศรษฐกิจในปัจจุบัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น