วันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ตัวอย่างกรณีศึกษา ข้อ 5 ของ รศ.ดร.ภิรมย์

5.ยกตัวอย่างกรณีศึกษาอื่นที่ท่านประสบ แล้วเขียนกรณีศึกษา ประกอบด้วย ข้อเท็จจริง  และสรุปความเห็น โดยอิงหลักบรรทัดฐานทางการคลัง มาด้วย เรียนกรณีศึกษาในเอกสารคำบรรยาย    คำตอบ

โครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ

1.ความเป็นมา
โครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ  เป็นโครงการหนึ่งภายใต้นโยบายเศรษฐกิจรากหญ้าของรัฐบาลโดยรัฐบาล จัดสรรเงินอุดหนุนให้แก่หมู่บ้าน และชุมชนเมือง แห่งละ 1 ล้านบาท ในลักษณะเงินทุนหมุนเวียน เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนในหมู่บ้าน ละชุมชนเมือง สำหรับใช้ในการ ลงทุนสร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย บรรเทาเหตุฉุกเฉิน และความจำเป็นเร่งด่วน

2.ข้อเท็จจริงของโครงการ
โครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชน จึงมีสภาพเป็นเพียงแหล่งเงินกู้แหล่งใหม่ที่นำมาให้ระดับรากหญ้ากู้เพิ่มมากขึ้น การทุ่มเงินลงไปยังหมู่บ้านให้ชาวบ้านกู้ง่ายใช้คล่อง ยังกระตุ้นพฤติกรรมบริโภคนิยมให้กับชาวบ้านมากยิ่งขึ้นไปอีก หลายๆ คนก็ได้พกพาโทรศัพท์มือถือ ขี่รถมอเตอร์ไซด์  

3.การพัฒนาบรรทัดฐาน
        3.1 ระดับสูง
รัฐบาลต้องการให้คนจนเข้าถึงแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำแทนแหล่งเงินกู้นอกระบบดอกเบี้ยแพง เพื่อสร้างอาชีพ สร้างรายได้ที่มั่นคงนำไปสู่ชีวิตที่ดีขึ้น 
       3.2 ระดับกลาง
         การบริหารจัดการกองทุนยังคงไม่มีความยืดหยุ่น เนื่องจากกองทุนแต่ละกองได้รับการจัดสรรเท่ากันหมด โดยไม่พิจารณาตามความต้องการเงินทุนของแต่ละหมู่บ้าน และไม่มีระบบการป้องกันไม่ให้เกิดหนี้เสีย
      3.2 การพิจารณาระดับล่าง
คณะกรรมการกองทุนส่วนใหญ่มีขีดความสามารถในการบริหารจัดการในระดับปานกลาง การขาดความรู้ ทักษะ ในด้านกฎหมาย  การอนุมัติเงินกู้ การจัดทำบัญชี  และติดตามการนำเงินไปใช้ตามวัตถุประสงค์ เช่น
            1.สมาชิกนำเงินไปใช้ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ที่แท้จริง
            2.ข้อจำกัดในเรื่องวงเงินกู้ที่ต่ำ และระยะเวลาชำระหนี้คืนสั้นภายในกำหนด 1 ปี
            3.สมาชิกสามารถไปกู้เงินจากแหล่งเงินกู้อื่น เพื่อมาชำระหนี้คืนกองทุน เนื่องจากช่วงเวลาการชำระหนี้คืนไม่ตรงกับช่วงเก็บผลผลิต

4. การสังเคราะห์ผลการพัฒนาโครงการ
                    รัฐบาลมุ่งเน้นที่จะแก้ปัญหาความยากจนให้หมดไป และต้องการให้ประชาชนมีเงินกู้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ ตามนโยบายการขจัดความยากจนออกไปจากประเทศ และเพื่อแก้ปัญหาการกู้ยืมเงินนอกระบบที่มีดอกเบี้ยแพง ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการประเภทนี้หมดไปจากระบบเงินนอกระบบ ในความเป็นจริงประชาชนนำเงินที่ได้มาจากการกู้นอกระบบมาใช้หนี้กองทุนหมู่บ้าน และก็กู้เงินจากกองทุนหมู่บ้านไปใช้หนี้นอกระบบ ทำให้โครงการไม่ประสบผลสำเร็จ

สรุปผล
          โครงการกองทุนหมู่บ้าน นอกเหนือจากไม่ทำให้ชาวบ้านลืมตาอ้าปากได้แล้ว ยังทำให้ชาวบ้านตกอยู่ในวงจรหนี้สินอุบาทว์ ชาวบ้านที่กู้เงินนอกระบบอยู่แล้ว ก็ยังคงกู้อยู่ เนื่องจากต้องนำเงินมาใช้หนี้กองทุนหมู่บ้าน จากนั้น ก็กู้เงินจากกองทุนหมู่บ้านไปใช้หนี้นอกระบบ หมุนเวียนกันไปไม่สิ้นสุด นอกเหนือไปจากการกู้จากแหล่งเงินกู้อื่นๆ ที่มีอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น สถาบันการเงินในระบบ กลุ่มสัจจะออมทรัพย์ในชุมชน สหกรณ์ ส่วนความเป็นอยู่ของชาวบ้านก่อนนี้เป็นอยู่อย่างไร ตอนนี้ก็ยังเป็นอยู่อย่างนั้น

ข้อเสนอแนะ
        1) ควรออกระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน และชุมชนเมืองแห่งชาติ และควรปรับระเบียบข้อบังคับกองทุนกำหนด ให้ขยายระยะเวลาชำระคืนเงินกู้ไม่เกิน 3 ปี หรือตามกิจกรรมการผลิต
        2) ควรพัฒนาศักยภาพของกองทุนในการบริหารจัดการของกองทุน โดยจัดทำโครงการฝึกอบรมบัญชีอย่างง่าย และให้สมาชิกจัดทำบัญชีรายรับรายจ่าย เพื่อประเมินผลการดำเนินงานของสมาชิก
        3) ควรส่งเสริมการอนุมัติเงินกู้ที่เชื่อมโยงกับโครงการอื่น ๆ ของรัฐบาลให้มากขึ้น
        4) เนื่องจากสมาชิกกองทุนส่วนใหญ่ สามารถกู้เงินจากแหล่งอื่นได้หลายแหล่ง จึงควรมีการเชื่อมโยงเครือข่าย ระบบบัญชีของกองทุนกับแหล่งเงินทุนอื่น ๆ เพื่อให้ตรวจสอบความเข้มแข็งทางด้านสถานภาพการเงินของสมาชิกได้อย่างถูกต้อง และรวดเร็ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น