วันเสาร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

นโยบายการคลัง (Fiscal policy)

นโยบายการคลัง (Fiscal policy)
หมายถึง การจัดการเกี่ยวกับงบประมาณ รายรับและรายจ่ายของรัฐบาล เพื่อสร้างเสถียรภาพการใช้จ่ายรวมของระบบเศรษฐกิจให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ซึ่งการใช้นโยบายการคลังผ่านการใช้จ่ายและการเก็บภาษี สามารถช่วยลดปัญหาความผันผวนทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นได้ เช่นความผันผวนด้านการจ้างงาน ความผันผวนของราคาสินค้า เป็นต้นรายได้  นโยบายการคลัง (Fiscal policy)  มี 2 แบบคือ
1 นโยบายการคลัง ที่สามารถสร้างเสถียรภาพได้โดยอัตโนมัติ  
2 นโยบายการคลัง
นโยบายการคลัง ที่สามารถสร้างเสถียรภาพได้โดยอัตโนมัติ    หมายถึง การปรับเปลี่ยนรายรับ รายจ่าย ของรัฐบาลโดยอัตโนมัติ ตามการเปลี่ยนแปลงของภาวะเศรษฐกิจ เช่นรายได้จากการเก็บภาษี ในช่วงที่เศรษฐกิจรุ่งเรือง ประชาชน สามารถทำมาค้าขายดี ก็เสียภาษีมาก รัฐบาลก็เก็บภาษีได้มากโดยอัตโนมัติ รัฐบาลจึงไม่จำเป็นต้องใช้จ่ายเพือการช่วยเหลือ สงเคราะห์ประชาชนมากนัก เนื่องจากประชาชนมีรายได้ดีอยู่แล้ว ซึ่งลักษณะดังกล่าวจะเห็นว่าเกิดเสถียรภาพขึ้นโดยอัตโนมัติ โดยที่รัฐบาลไม่ต้องเปลี่ยนแปลงระดับค่าใช้จ่ายหรือปรับอัตราภาษี
นโยบายการคลังแบบจงใจ หมายถึงการที่รัฐบาลจงใจปรับค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าและบริการต่าง ๆ หรือปรับอัตราภาษี เพื่อหวังผลในการควบคุมระดับค่าใช้จ่ายรวม ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมต่อการสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
- แบบขยายตัวทางเศรษฐกิจ
- แบบหดตัว
นโยบายของรัฐบาลอภิสิทธิ์
1.               นโยบายการเงิน
- ลดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง เพื่อกระตุ้นการลงทุนและรักษาค่าเงิน
- การลดมาตรการผ่อนปรนและกระตุ้นสินเชื่อ
- อัดเงินเข้าสู่ธนาคารต่างของรัฐ เช่น  ออมสิน SME Bank ( เข้าไปค้ำประกันเงินกู้แก่ธุรกิจ ), อาคารสงเคราะห์ (กระตุ้นภาคการบริโภคและอสังหาริมทรัพย์)
        2.นโยบายการคลัง
                  - งบประมาณแผ่นดินแบบขาดดุล  เพื่อขยายตัวทางเศรษฐกิจ
                  - อัดชีดเงินเข้าสู่ระบบ ผ่านเช็คช่วยชาติ, โบนัสข้าราชการ, โครงการลงทุนสารธารณะ (รถไฟฟ้าสายใหม่ๆ )
                  - ลดภาษีบางตัว  เก็บภาษีเพิ่มบางตัว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น