วันเสาร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

PA709 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับนวัตกรรม ดร.พีระพงศ์

Innovation
วัตถุประสงค์การเรียนรู้
1. เข้าใจถึงความหมายและความสำคัญของนวัตกรรม
2. ศึกษาและเข้าใจว่านวัตกรรมมีส่วนช่วยให้องค์การสามารถเติบโตและอยู่รอดได้อย่างไร
3. เข้าใจถึงกระบวนการทางนวัตกรรม
4. ศึกษาและเข้าใจถึงปัจจัยเสี่ยงและอุปสรรคต่าง ๆ ของการจัดการนวัตกรรม
5. ศึกษาและเข้าใจถึงแนวทางของจัดการอย่างมีประสิทธิผล
INNOVATION
1. เป็นตัวแปรที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงองค์การ ด้าน
                ๐ ความอยู่รอด     ๐ การเจริญเติบโต
                ๐ การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน
                ๐ การสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่
                ๐ Core Compentency
2.  นวัตกรรมไม่ใช่แค่การพัฒนาสินค้าใหม่ เท่านั้น
3.  นวัตกรรมเกี่ยวข้องกับการลดต้นทุน
4. นวัตกรรมเกี่ยวข้องกับแสวงหาแนวทางการตอบสนองความต้องการของตลาด
5.  การยกระดับคุณภาพชีวิต และการสร้างคุณค่าเพิ่ม
INNOVATION
Invention=
Application=
Exploitation of Knowledge =
Change =
What is?
RESEARCH
ใช้เงิน           สร้างความรู้
INNOVATION
เปลี่ยนความรู้     ความมั่งคั่ง
ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการนวัตกรรม
นวัตกรรมไม่มีองค์ความรู้ของตนเอง แต่อาศัยองค์ความรู้ต่างๆมาประกอบกัน เช่น วิทยาศาสตร์ สังคม วิศกรรม ทฤษฎีทางธุรกิจ และการออกแบบและการตลาด โดยเรียกว่า การจัดการนวัตกรรม


คำว่า นวัตกรรม (innovation)” มาจากรากศัพท์ในภาษาลาติน คือคำว่า “Nova” ซึ่งแปลว่า ใหม่
            เป็นการแสวงหาผลประโยชน์ในเชิงพาณิชย์และสังคมจากความคิดใหม่ นวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์ คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือ "การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่างๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง และสังคม
นวัตกรรม (Innovation) คือ รวมไปถึงการทำใหม่ขึ้นอีกครั้ง โดยการปรับปรุงสิ่งเก่าให้ใหม่ขึ้นมาและมีการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร หน่วยงาน ตลอดจนองค์การนั้นๆ ซึ่งนวัตกรรมไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป  แต่จะเป็นการปรับปรุงเสริมแต่งและพัฒนาเพื่อความอยู่รอดของระบบ ( ที่มา : Morton, 1971)
Joseph Schumpeter
                นวัตกรรมทางเทคโนโลยี คือ การสร้างสรรค์ วิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เป็นหลัก และยังหมายถึงความสามารถในการเรียนรู้และนำไปปฏิบัติให้เกิดผลได้จริง
Michael E. Porter
                นวัตกรรม คือ สิ่งสำคัญที่ทำให้ใหม่และแนวทางใหม่ในการทำสิ่งต่างๆเข้าไว้ด้วยกัน
ความใหม่ (Newness) มี 3 รูปแบบ
l  New to the Firm ใหม่สำหรบองค์กร
l  New to the Market or Industry   ใหม่ในตลาดการค้า
l  New to the Worlds or Disruptive Innovation (Breakthroughs) ใหม่สำหรับโลกนี้ ไม่เคยมีมาก่อน เกิดขึ้นมากับยุคสมัย

นวัตกรรม (Innovation) คือ เครื่องมือที่สำคัญของผู้ประกอบการ (entrepreneur)    เพื่อเป็นโอกาสที่ใช้แสวงหาผลประโยชน์ จากการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในรูปแบบของธุรกิจและการบริการ  ที่แตกต่างจากคู่แข่ง  โดยอยู่ในรูปแบบของดำเนินงาน ความสามารถในการเรียนรู้ และความสามารถในการปฏิบัติ (ที่มา : Peter Drucker (1985) Innovation and entrepreneurship)
นวัตกรรม (Innovation)  หมายถึง เทคโนโลยี การออกแบบ  การผลิต  การบริหารจัดการ  และการดำเนินธุรกิจ  ที่นำไปสู่การดำเนินกิจกรรมทางการตลาด  เพื่อนำเสนอสินค้า/บริการใหม่  หรือสินค้า/บริการที่ได้รับการพัฒนา (ที่มา :  Chris  Freeman, 1992)
นวัตกรรม (Innovation) หมายถึง ความคิด การกระทํา หรือวัตถุใหม่ๆ ซึ่งถูกรับรู้ว่าเป็นสิ่งใหม่ๆ ด้วยตัวบุคคลแต่ละคนหรือหน่วยอื่นๆ ของการยอมรับในสังคม (ที่มา : Everette M. Rogers, 1983)
นวัตกรรมทำให้เกิด
ผู้ผลิต
ผู้บริโภค
แบบเดิม
การผลิตนำการตลาด
วางแผนกลยุทธ์ปัจจัยนำเข้า
แบบปัจจุบัน
เน้นผู้บริโภคนำการตลาด
มีการวิจัย



l  การพัฒนาจากสิ่งประดิษฐ์สู่นวัตกรรม
                                นวัตกรรมมีองค์ประกอบของสิ่งประดิษฐ์ผสมผสานอยู่ แต่ยังมีส่วนผสมของกิจกรรมอื่นๆ เข้ามามีส่วนร่วมด้วยอีก เช่น การออกแบบ การผลิต การตลาด การจัดจำหน่ายและส่งเสริมการขาย ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวนั้นเป็นส่วนผสมผสานในเชิงพาณิชย์เป็นส่วนใหญ่  กระบวนการผสมผสานสามารถทำต่อได้อย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ เกิดขึ้นต่อไปอีก
วัตถุประสงค์ การทำธุรกิจ
1.       แสวงหากำไร
2.       ความอยู่รอด                         ใช้ Inovation
3.       การเจริญเติบโต
ทางรอดทางธุรกิจ
 

1.การลดต้นทุน  เพิ่มคุณภาพ                                                              2. ขายมาก ก็กำไรมาก
                - Process , Organization                                 - Product / Service   Marketing
ก่อให้เกิด  competitive  คือความได้เปรียบ
สำหรับองค์กรภาครัฐ
ใช้การลดเงินงบประมาณ กับลดระยะเวลาทำการ

Oslo Manual ได้แบ่งรูปแบบของนวัตกรรมไว้ดังนี้
1. นวัตกรรมของผลิตภัณฑ์ หรือบริการ (Product or Service Innovation)
Bringing a new product to market
            e.g.  the ball point pen, zip fastener etc.
เกิดคุณสมบัติใหม่หรือพัฒนาคุณสมบัติ คุณลักษณะของสินค้าให้ดีมากขึ้น หรือแตกต่างจากสินค้าเดิม เช่น เพิ่มคุณสมบัติของผ้าให้หายใจได้ หรือกันน้ำ
Bringing a new service to market
            e.g. Lastminute.com,  Amazon.com, E-Bay.com, Dell Computer, Southwest Airlines
กระบวนการผลิตใหม่/พัฒนาขึ้นมาก รวมทั้งการเปลี่ยนเทคนิค เครื่องมืออุปกรณ์ และ/หรือซอร์ฟแวร์ เช่น ลดต้นทุนในกระบวนการทอผ้า
(เป้าหมายขายมาก  กำไรมาก )
Product
Walkman
Akio Morita/Sony
Japan
Ballpoint Pen
Laszlo Biro
Hungary
Television
John Logie Baird
UK
Spreadsheet
Dan Bricklin
USA

2. นวัตกรรมของกระบวนการ (Process Innovation)
A new way of making or delivering something
e.g. Moving assembly line, Just-in-Time, Float Glass, Housekeeping process (Ritz-Carlton), RDFI Inventory control (Wal-Mart)
มักจะใช้เพื่อลดต้นทุนหรือตัดกระบวนการที่ไม่สำคัญออกไปหรือเพิ่มคุณภาพของสินค้า/บริการ
Service
Telephone Insurance
Peter Wood/RBS
UK
Credit Card
R. Schneider/F. cNamara
USA
Internet Bookstore
Jeff Buzos
USA
“No Frills” Airline
Herb Kelleher/ Rollin King
USA
(เป้าหมาย ลดต้นทุน เพิ่มคุณภาพ) Just in time                Logistic            Supply Chain (มาจากการยกเลิกคลังสินค้าออกจากกระบวนการผลิตเพื่อลดต้นทุน)
Value  Added = การสร้างมูลค่าเพิ่ม
Input
Process
Output
-          Man
-          Money
-          Material
-          Machine
(ManagementX
-          แยกตัว
-          รวมตัว
-ของเสีย(Waste)  ให้เป็น การสร้างมูลค่าเพิ่ม เกิดโอกาสทางธุรกิจใหม่
-          Efficiency
-          Effectiveness
ประสิทธิภาพ หมายถึง การใช้ทรัพยากรในการดำเนินการใดๆ ก็ตามโดยมีสิ่งมุ่งหวังถึงผลสำเร็จ และผลสำเร็จนั้นได้มาโดยการใช้ทรัพยากรน้อยที่สุด และการดำเนินการเป็นไปอย่างประหยัด ไม่ว่าจะเป็นระยะเวลา ทรัพยากร แรงงาน รวมทั้งสิ่งต่างๆ ที่ต้องใช้ในการดำเนินการนั้นๆ ให้เป็นผลสำเร็จ และถูกต้อง
ประสิทธิผล (effectiveness) นั้น มีผู้ให้คำนิยาม ไว้หลากหลายและได้ให้ ความหมายของคำว่าประสิทธิผลคล้ายกันว่า หมายถึง ความสามารถในการดำเนินการ ให้เกิดผลตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
Creative ความคิดสร้างสรรค์  = new + constructive  คือการสร้างสรรค์ใหม่
Competitive การแข่งขัน  = strategic advantage ได้เปรียบเชิงกลยุทธ์
Value มูลค่า  = contribute to economic ส่งผลให้ทางเศรษฐกิจ& social development
Mostly innovations implicit risk. 

3. นวัตกรรมของการตลาด (Marketing innovation)
      Involving in significant changes in product designs, packaging, product placement, product promotion or price
      การออกแบบ, ช่องทางการจัดจำหน่าย, การบรรจุหีบห่อ, การกำหนดราคา, การส่งเสริมการขาย เช่น การออกแบบลายผ้าใหม่ โดยไม่เปลี่ยนคุณสมบัติเดิมของผ้า
Process
Moving Assembly Line
Henry Ford
USA
Float Glass
Alistair Pilkington
UK
Single Minute Exchange of Dies (SMED)
 Shigeo Shingo/Toyota
Japan
Computerised Airline Reservations (SABRE)
IBM/American Airlines
USA
Marketing  (Marketing Mixes)  มี 4 องค์ประกอบ
-          Product = การผลิต
-          Price  ต้นทุนต่ำที่สุด  (Price Sensitive คือ การรับรู้ต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาได้เร็ว)
-          Place = การวางสินค้าขาย
-          Promotion = การโฆษณา
4. นวัตกรรมขององค์การ(Organizational innovation)
Business practices : knowledge sharing
Workplace organization : training & education system, new management system (supply-chain, re-engineering)
External relation : new collaboration with customer, supplier, research organization, outsourcing
   การปรับเปลี่ยนรูปแบบ การบริหาร วิธีคิด วิธีปฏิบัติ ของการดำเนินงานในองค์การจากรูปแบบเดิมๆ ไปสู่รูปแบบใหม่ ที่จะช่วยส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานสูงสุด














รูปแบบของนวัตกรรม
-          Product /service
-          Process
-          Marketing
-          Organization

Assembly time 
Craft Production, 1913 (minutes)
Mass Production, 1914 (minutes)
Reduction in effort (%) 
การลดพลังงาน
Engine
594
226
62%
Magneto
20
5
75%
Axle
150
26.5
83%
Components into vehicle
750
93
88%

ตัวอย่างของธุรกิจนวัตกรรม
TRUE Coffee
ร้านกาแฟและให้บริการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
รูปแบบการดำเนินชีวิตแบบใหม่ (Lifestyle)
KTC
ธุรกิจบัตรเครดิต
รูปแบบของผลิตภัณฑ์
Miss Lilly
เครือข่ายร้านดอกไม้
ช่องทางการจัดจำหน่าย
JC Decaux
Out-of-home advertising
รูปแบบการจัดจำหน่าย บริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ ช่องทางการให้บริการ

เราแบ่งประเภทของนวัตกรรมตามระดับของความแปลกใหม่ (Degree of novelty)
ทำให้สามารถแบ่งออกมาได้ 4 ประเภท คือ
1. Incremental innovation  นวัตกรรมที่เพิ่มขึ้น
2. Modular innovation
3. Architectural innovation
4. Radical/breakthrough innovation

Innovation
Components
System
Incremental
Improved  เพิ่มขึ้นทำให้ดีขึ้น
No change
Modular
New  ของใหม่
No change
Architectural
Improved  
New configuration/architecture
Radical
New  
New configuration/architecture

l  Component knowledge
            เป็นส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญในการออกแบบผลิตภัณฑ์  ซึ่งจะต้องรู้และทราบว่าวัสดุชิ้นส่วนแต่ละชิ้นส่วนนั้นจะต้องทำหน้าที่อะไรและมีความสำคัญอย่างไรต่อระบบ
l  System knowledge
            คือ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบการทำงานและชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆ ที่ทำหน้าที่สนับสนุนการทำงานที่ช่วยให้เราทราบว่าชิ้นส่วนต่างๆ มีความสัมพันธ์กันอย่างไร
กระบวนการทางนวัตกรรม Innovation Process
1.      Inventions =สิ่งประดิษฐ์
2.      Innovation=นวัตกรรม
3.      Commercialization=การหลอมรวมนวัตกรรม
4.      Diffusion=การแพร่กระจาย
การแพร่กระจายของนวัตกรรม (Diffusion)
l  การแพร่จากการใช้ประโยชน์ทางการทหารมาเป็นการใช้กับบุคคลทั่วไป เช่น อินเทอร์เน็ต หรือ GPS
l  การแพร่จากการใช้ประโยชน์ของมืออาชีพ หรือทางวิทยาศาสตร์มาเป็นการใช้โดยผู้บริโภค เช่น การถ่ายภาพแบบดิจิตอล
l  การแพร่จากการใช้นวัตกรรมของมืออาชีพด้านงานเทคนิค ซึ่งเป็นกลุ่มแรกที่รับเทคโนโลยีมาใช้ตั้งแต่ช่วงแรก ไปยังกลุ่มที่รับเทคโนโลยีมาใช้ภายหลังและไม่ได้ใช้กับงานเทคนิค เช่น คอมพิวเตอร์
l  การแพร่กระจายของนวัตกรรมเข้าสู่ตลาด

1. นวัตกรรมค่อยเป็นค่อยไปหรือส่วนเพิ่ม (Incremental Innovation)
เป็นนวัตกรรมที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีหรือสิ่งเดิมที่มีอยู่แล้ว ซึ่งอาจปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น หรือปรับปรุงเทคโนโลยีหรือสิ่งที่มีอยู่เพื่อจุดมุ่งหมายหรือการใช้งานในรูปแบบอื่น เช่น ชิปประมวลผลคอมพิวเตอร์ของ Intel
“ a change that builds on a firm’s expertise in component technology within established product architecture.” (Christensen 1993)

Example of Incremental Innovation
เครื่องซักผ้า (New model of Automatic Washing Machine)
            Improved components – architecture unchanged
            One or more components improved
            e.g. faster spin speeds: 800, 1000, 1200, 1400, 1600rpm or             increased capacity or “green” machine using less water
            Better performance
            Existing concepts reinforced
            Same customers
กับดักของนวัตกรรมส่วนเพิ่ม
1. หลีกเลี่ยงการเพิ่มเติมสิ่งที่ไม่จำเป็น อาจทำให้ลูกค้าหงุดหงิดกับสิ่งที่ไม่จำเป็น แพงขึ้น ใหญ่ขึ้น ซับซ้อนขึ้น ใช้งานยากขึ้น เช่น PlayStation 3 ของ Sony กับ Wii ของ Nintendo
2. อย่าลงทุนกับนวัตกรรมส่วนเพิ่มทั้งหมด ไม่ทำให้ก้าวไปสู่เทคโนโลยีใหม่ได้ จึงทำให้เสียเปรียบการแข่งขัน
วงจรการผลิต Production Life Cycle.(PLC)
1.      Introduction
-          Promotion
-          Place
-          Price
-          Product
(ลูกค้าไม่มาก สินค้าไม่เป็นที่รู้จัก)
2.      Growth
-          เน้นการผลิต
-          เน้นการตอบสนองความต้องการ
-          คู่แข่งเริ่มเข้าสู่ตลาด
-          การแข่งขันสูงขึ้น
3.      Marketing
-          ยอดการขายลดลง
-          สินค้าไม่เป็นที่ต้องการ
-          เน้นการโฆษณา
-          การลดราคา ผลการลดเกิดการทำลายภาพลักษณ์ของสินค้า
4.      Decline
-          พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่
(ผู้ผลิตกลัวมากที่สุดคือ Choice = ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อสินค้าได้ตามความต้องการ)

2.  นวัตกรรมลำดับขั้น (Modular Innovation
          นวัตกรรมลำดับขั้นมีความสัมพันธ์โดยตรงกับรูปลักษณ์ของสินค้า/บริการกับการเปลี่ยน แปลงระบบการทำงานของสินค้า/บริการเดิมที่มีอยู่ เพื่อจะได้วัสดุชิ้นส่วนใหม่กับรูปลักษณ์ของสินค้า/บริการใหม่ จากกรอบแนวความคิดของ Henderson and Clark แสดงตำแหน่งของนวัตกรรมลำดับขั้นอยู่ตรงมุมบนด้านขวา ที่ซึ่งมีความแตกต่างจากนวัตกรรมค่อยเป็นค่อยไปตรงที่ นวัตกรรมค่อยเป็นค่อย (Incremental Innovation) ไปไม่ได้มีการเปลี่ยนรูปลักษณ์ใหม่ทั้งหมด แต่การเปลี่ยนรูปลักษณ์ใหม่ทั้งหมดจะเกิดขึ้นกับนวัตกรรมลำดับขั้น (Modular Innovation) ตลอดจนการนำวัสดุชิ้นส่วนใหม่ๆ ดังเช่นในกรณีศึกษาเรื่องนาฬิกาในวิทยุ
“an innovation that changes a core design concept without changing the product’s architecture.” ที่มา ... Henderson and Clark (1990)
ตัวอย่าง
-          Clockwork Radio
-          New component – architecture unchanged
-          new modes of operation : ส่วนประกอบเปลี่ยนโดยใช้แหล่งพลังงานใหม่ จากเดิม ไฟฟ้าหรือถ่านไฟฉาย เป็น การหมุนของนาฬิกา  แต่ระบบการทำงานหรือโครงสร้างเดิมนั้นไม่เปลี่ยน คือ วิทยุยังคงทำงานระบบเดิม
-          New customers : ลูกค้าใหม่ เช่น นักผจญภัย นักเดินป่า
-          อรรถประโยชน์คงเดิม

3. นวัตกรรมการเปลี่ยนแปลงรูปแบบ (Architectural Innovation)
นวัตกรรมการเปลี่ยนแปลงรูปแบบ (Architectural Innovation) เป็นนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานของระบบที่ก่อให้เกิดการเชื่อมโยงในรูปแบบใหม่ๆ ในขณะที่วัสดุชิ้นส่วนและการออกแบบผลิตภัณฑ์อาจจะยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรืออาจมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย ผู้ผลิตส่วนใหญ่มักจะกระทำในแนวทางนี้ที่จะช่วยก่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เรามักจะคุ้นเคยกับคำว่า “Minor Change” หรือการเปลี่ยนแปลงรูปแบบเพียงบางส่วนหรือเพียงเล็กน้อย
“leaves the core technological concepts of components intact but changes the way they are designed to work together.” (Henderson and Clark, 1990)
ส่วนประกอบไม่เปลี่ยน  แต่เปลี่ยนการนำเอาส่วนประกอบ   มาเชื่อมโยงกันใหม่ คือ re-design and re-configuration

ตัวอย่างเช่น
iPod
Improved components and new/revised system
Components: Scroll wheel, Firewire file transfer software,
1.8inch hard drive, improved battery
System: new method of operation
Big improvement on existing MP3 players
Much easier to operate, much greater capacity
New dominant design
Novelty = ‘the way in which the components work together’
กล้องดิจิตอลกับกล้องฟิล์ม  , ไอพอร์ตกับวอล์คแมน
4. นวัตกรรมปฏิรูป (Radical Innovationอาจมีชื่อเรียกที่มักใช้ทดแทนกัน คือ 1. Discontinuous innovation 2. Breakthrough innovation 3. Disruptive innovation

“Radical innovation establishes a new dominant design, and hence a new set of core design concepts embodied in components that are linked together in a new architecture.” (Henderson and Clark, 1990)
l  จะมีผลกระทบอย่างมากต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาด สภาพทางเศรษฐกิจของบริษัทในตลาดนั้น และรูปแบบการดำรงชีวิตของประชากร
l  ผลกระทบของนวัตกรรมประเภทนี้ เช่น การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของตลาด  สร้างตลาดใหม่ หรือทำให้สินค้า/บริการเดิมต้องหมดความนิยมไป  บางครั้งอาจต้องใช้ระยะเวลานานพอสมควร  หลังจากได้นำสินค้า/บริการออกสู่ตลาดแล้ว
ต้องมีคุณลักษณะดังต่อไปนี้หนึ่งข้อหรือมากกว่า
1.      ต้องเป็นคุณสมบัติการใช้งานแบบใหม่ทั้งหมด
2.      การปรับปรุงคุณสมบัติการใช้งานที่มีอยู่ ต้องทำให้ดีกว่าเดิม 5 เท่า หรือมากกว่านั้น
3.      สามารถลดต้นทุนได้ 30% หรือมากกว่า
4.      ต้องเปลี่ยนสิ่งที่เป็นพื้นฐานของการแข่งขัน หรือมีผลกระทบในวงกว้าง เช่น ทีวี โทรศัพท์ กล้องดิจิตอล เครื่องยนต์แบบเผาไหม้
ตัวอย่าง    Jet engine
New components and new architecture
l  Gas turbine replaces reciprocating engine powering a propeller เครื่องใบพัดกับเครื่องเจ๊ท  ต่อมาทุกบริษัทก็ผลิตเครื่องเจ็ท กลายเป็นสินค้า Incremental Innovation
l  New components, new materials, new operating principles
l  New skills, new knowledge, new methods of manufacture
l  New customers - air travel no longer a luxury
l  Transformation - ended scheduled services by sea
การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี  Technological Change
วัตถุประสงค์การเรียนรู้
1.      เพื่อศึกษาและทำความเข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่
2.      เพื่อศึกษาและทำความเข้าใจถึงความหมายของเทคโนโลยี่
3.      เพื่อศึกษาและวิเคราะห์

Innovation:Linkage between Knowledge and Productivity
-          Competitiveness การแข่งขัน
-          Productivityกำลังผลิต  = Output/Input(คน เงิน  วัสดุอุปกรณ์ เครื่องจักร) เช่น 12/3=4
-          Innovation เป็นนวัตกรรมใหม่ๆ
-          Knowledge Acquisition เกิดองค์ความรู้
-          Learning การเรียนรู้

What is Innovation?

เทคโนโลยี (Technology) มีความหมายค่อนข้างกว้างโดยทั่วไปหมายถึง สิ่งที่มนุษย์พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่างๆ เช่น เครื่องจักร อุปกรณ์ วัสดุ หรือเป็นได้แม้กระทั่งสิ่งของที่จับต้องไม่ได้ เช่น กระบวนการต่างๆ
วิทยาศาสตร์ (Science)  หมายถึง กระบวนการประมวลความรู้เชิงประจักษ์ที่เรียกว่า กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อนำมาใช้สร้างทฤษฎีหรือกฎต่างๆ ทางวิทยาศาสตร์ จากข้อมูลที่ทดลองหรือสังเกตได้จากธรรมชาติที่ซึ่งวิทยาศาสตร์ถูกแบ่งย่อยออกเป็น 2 ลักษณะคือ วิทยาศาสตร์ธรรมชาติและวิทยาศาสตร์ประยุกต์
ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยี่กับวิทยาศาสตร์
1.      เทคโนโลยี่เกี่ยวข้องกับการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ ในด้านการทำอย่างไร และการสร้างอย่างไร
2.      การพัฒนาทางเทคโนโลยี่อาจจะยีงไม่จำเป็นที่จะต้องมีความเข้าใจวิทยาศาสตร์อย่างลึกซึ้งถึงปรากฏการณ์และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
3.      วิทยาศาสตร์นั้นมีความจำเป็นที่จะต้องมีความรู้และความเข้าใจในเชิงทฤษฎี เพื่อที่จะนำหลักการทางด้านเหตุและทางด้านผล มาอธิบายความสัมพันธ์และปรากฏการณืที่เกิดขึ้น
4.      วิทยาศาสตร์นั้นเกี่ยวข้องกับทฤษฎี การทดลองค้นคว้า การสังเกต การเก็บรวบรวม อย่างเป็นระบบ การสร้างสมมุติฐาน ที่สามารถอธิบายผลการศึกษาได้ตามหลักการของเหตุผล
5.      วิทยาศาสตร์เป็นความรู้ที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ มีหลักสำคัญ คือ การอธิบายว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
6.      เทคโนโลยี เป็นการประยุคต์เอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้และก่อให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติแก่มนุษย์ ในการนำไปประดิษฐ์สิ่งต่างๆ
7.      เทคโนโลยี จะขึ้นอยู่กับปัจจัยทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นสิ่งของที่มีการซื้อขาย
8.      วิทยาศาสตร์เป็นสมบัติของส่วนรวมของมนุษยชาติมีการเผยแพร่ อาจจะเก็บไว้ในรูป เอกสารหรือตำรา
9.      การค้นพบทางวิทยาศาสตร์นำไปสู่ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
Technology Cycle
                    การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีมีอัตราการเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างกัน บางครั้งมีอัตราการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว บางช่วงเวลาเสมือนว่าจะหยุดนิ่ง
                    การเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรม และการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีนั้น ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในสถาบันการศึกษาหรือสถาบันวิจัยและพัฒนาต่างๆ
รูปแบบวัฎจักรของเทคโนโลยีนั้นเป็นวัฎจักรที่ไม่สิ้นสุดเหมือนกับวัฎจักรทางธุรกิจกล่าวคือประมาณ 50 ปี
Kondratiev Cycle หรือ Long Wave Cycle
Schumpeter สรุปว่า การปฏิวัติอุตสาหกรรมมีพื้นฐานของการเปลี่ยนแปลงมาจากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี หรือ Technological change (ตารางที่จะแสดงต่อไป)
กรณีศึกษา : ยุครุ่งเรืองของกิจการรถไฟ
            เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ มากมาย ได้แก่
1.      การประยุกต์เครื่องจักรไอน้ำมาใช้เป็นหัวลากตู้โดยสารหลายๆ ตู้ได้ติดต่อกัน
2.      เป็นการนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาสร้างเป็นนวัตกรรมเพื่อการขนส่งผู้โดยสารเป็นครั้งแรก
3.      ความเร็วในการขับเคลื่อนสูงมากถึง 30 ไมล์ต่อชั่วโมง
4.      เป็นครั้งแรกของการนำแนวคิดเรื่องของการกำหนดตารางการเดินทางมาใช้กับกิจการรถไฟเพื่อให้บริการแก่ผู้โดยสาร
Phases of the Long Wave Cycle
                    Recovery (อัตราการเกิดของนวัตกรรมมีมาก กลุ่มเป้าหมายมีจำนวนไม่มาก(Niche) กำลังการผลิตน้อย ยอดขายไม่มาก Make to order ให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์ รายได้ในราคาแพง)Niche = กลุ่มช่องว่างของการผลิตสินค้า (เฉพาะกลุ่ม)”
                   Increased innovation, new industries emerge, entrepreneurial
                    Prosperity  (นวัตกรรมมุ่งเน้นที่ผลิตภัณฑ์ ยอดขายเพิ่มมากขึ้น ผลิตครั้งละมากๆ (Lot size) เริ่มให้ความสำคัญกับมาตรฐาน คู่แข่งขันเริ่มเข้ามา เน้นอัตราการตอบสนอง เพิ่มกำลังการผลิต)
                   Diffusion of innovations, rising living standards, expansion
                    Recession  (นวัตกรรมเน้นที่กระบวนการ การผลิตเป็นแบบ (Continuous) เน้นกิจกรรมการตลาด การลดต้นทุนการผลิต ไม่ลงทุนเพิ่ม สินค้าเริ่มไม่เป็นที่ต้องการ
                   Risky investments, diminishing returns, spectacular collapses
                    Depression (เร่งสร้างการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ผลิตมากไม่ได้เพราะไม่มีใครซื้อ ลดคนงาน ผลิตเป็นช่วงๆ ไม่ลงทุนเพิ่ม)
                   Low growth, rising unemployment, consolidation, new industries mature, consolidation, intense price competition, inventions & discoveries of next phase
Date
Cycle/Wave
Technology
1780-1830
First
Cotton, Iron, Water Power  พลังงานทางธรรมชาติ
1830-1880
Second
Railways, Steam Power, Steamship  เครื่องจักรไอน้ำ
1880-1930
Third
Electricity, Chemicals, Steel  พลังงานไฟฟ้า
1930-1980
Fourth
Cars, Electronics, Oil, Aerospace  พลังงานจากน้ำมัน  อวกาศ อิเลคตรอน พวกทีวีรุ่นต่างๆ
1980 -
Fifth
Computers, Telecommunications and Biotechnology  คอมพิวเตอร์ การสื่อสาร ไบโอเทคโนโลยี
องค์ประกอบของนวัตกรรม
            คุณลักษณะทั่วไป  มี 7 ข้อ
1.      ค่าใช้จ่ายการวิจัยและพัฒนา  สูงมาก  เช่น บริษัท ดาวน์คอร์นิ่ง เคมีคอล ให้ทุนทำวิจัย 100 %  ใช้ด้าน นวัตกรรม 11 % ด้านจดสิทธิบัตร 33 % เก็บไว้เฉยๆ 56 %
2.      มีต้นทุนด้านพาณิชย์สูงมาก
3.      ต้นทุนทางด้านพฤติกรรมทางสังคม เปลี่ยนแปลงสูงมาก(รวดเร็ว)
4.      นวัตกรรมแต่ละประเภทจะมีต้นทุนในเรื่องของความเสี่ยง(Risks)
5.      มีความสอดคล้องกับเวลาและความต้องการของผู้บริโภค
6.      มีเทคโนโลยีเป็นองค์ประกอบ โดยมีส่วนผสมของ ความคิดสร้างสรรค์ Creative พรสวรรค์ Talents และวิธีการ Know how
7.      การสร้างนวัตกรรมต้องอาศัยระยะเวลาในการบ่มเพาะและทดสอบ ไม่สามารถเร่งรีบได้
คุณภาพของนวัตกรรม มี 5 ข้อ
1.      เบื้องต้นต้องมี ความต้องการ Willingness และความพร้อม Readiness เพื่อดำเนินการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางนวัตกรรม
2.      นวัตกรรมกระบวนการ Innovation Process เป็นการนำแนวความคิดใหม่ไปปฏิบัติ และการเรียนรู้ใหม่ๆ เพื่อก่อให้เกดิการเปลี่ยนแปลงรูปแบบทางสังคมและพฤติกรรม ได้ องค์กรนั้นไม่สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมได้
3.      การศึกษาและวิเคราะห์ถึงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ทางการตลาด การวิจัยทางการตลาด และการวิเคราะห์คู่แข่งขันทางธุรกิจเพื่อนำไปใช้ในการตัดสินใจอย่างเป็นระบบและกระบวนการ
4.      การรับรู้  Awareness) ว่าองค์กรนั้นมีจุดยืนใรตำแหน่งใด (Where we stand) เพื่อรับรู้ถึงช่องว่างทางธุรกิจหรือโอกาสทางธุรกิจ
5.      การเปิดกว้างเพื่อการรับรู้ ข้อมูลข่าวสารต่างๆ เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง ปรับเปลี่ยน หรือพัฒนาองค์กร ที่จะช่วยให้องค์การมีความยืดหยุ่นมากขึ้น
มิติของคุณภาพ 8 ประการของ David Gravin
1.      ผลงานหรือการปฏิบัติ Performance หมายถึง ความสามารถพื้นฐานของผลิตภัณฑ์
2.      จุดเด่นหรือหน้าที่เสริม Special Feature หมายถึง คุณสมบัติพิเศษจากคุณสมบัติพื้นฐาน
3.      ความเชื่อถือได้
4.      การตรงข้อกำหนด
5.      ความคงทน
6.      ความสามารถในการบริการ
7.      สุนทรีภาพ
8.      การรับรู้สัมผัสอื่น ๆ

นวัตกรรมและวิวัฒนาการของอุตสาหกรรม
(Innovation and Industrial Evolution)
วัตถุประสงค์การเรียนรู้
1.  ศึกษาถึง ความสัมพันธ์ของพลวัตร ที่เกี่ยวข้องกับ นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ (Product Innovation) นวัตกรรมกระบวนการ(Process Innovation) และโครงสร้างองค์การ (Organization Structure)
2. ศึกษาถึง การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในรูปแบบที่มีความสัมพันธ์ระหว่างกัน
Dynamics of Relationship
พลวัตรของความสัมพันธ์ (Dynamics of Relationship) เป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของกระบวนการทางนวัตกรรม (Innovative Process) สำหรับทุกอุตสาหกรรมในปัจจุบัน ที่เป็นการที่จะสร้างสิ่งใหม่ การสร้างเครือข่ายเพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงอย่างเป็นระบบ เพื่อการเชื่อมโยงไปถึงตลาดหรือผู้บริโภคด้วย



นวัตกรรมผลิตภัณฑ์  (Product Innovation)
-          นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ในช่วงเวลาที่ผ่านมา อาจมีต้นกำเนิดมาจากการแสวงหาแนวทางของการก้าวข้ามเทคโนโลยี (Breakthrough) หรือมาจากการแสวงหาแนวทางในการตอบสนองความคาดหวังในผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภค
-          สังเกตเห็นได้ว่า นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ ที่มีลักษณะเป็นนวัตกรรมปฏิรูป (Radical Innovation) ที่เป็นจุดสิ้นสุดของ แบบผลิตภัณฑ์ที่ครอบงำตลาด (Dominant Designs) ที่นำไปสู่แบบผลิตภัณฑ์ที่เหนือกว่า ที่ก่อให้เกิดวิวัฒนาการของผลิตภัณฑ์ ในขณะที่ความคาดหวังของตลาด หรือผู้บริโภคในผลิตภัณฑ์นั้นที่ต้องการให้สินค้าหรือบริการมีลักษณะ คุณสมบัติ และความสามารถ ตามต้องการ แต่หลังจากนั้นนั้นจะเป็นลักษณะของนวัตกรรมแบบค่อยเป็นค่อยไป (Incremental Innovation)
-           ในระหว่างการพัฒนาเทคโนโลยีในผลิตภัณฑ์ใหม่ กระบวนการผลิตที่ถูกสร้างขึ้นโดยปกติแล้ว จะยังไม่เป็นระบบมากเท่าใดนัก คือ ไร้ประสิทธิภาพ ใช้แรงงานมาก เป็นการผลิตแบบฝีมือ
-          โดยธรรมชาตินวัตกรรมผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมกระบวนการ มีความสัมพันธ์ระหว่างกันเป็นอย่างมาก เมื่ออัตราการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ลดลง อัตราการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมกระบวนการเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีการออกแบบกระบวนการผลิตให้เป็นมาตรฐาน เพื่อช่วยลดตนทุนการผลิต และผลิตครั้งละในปริมาณที่มาก


การเปลี่ยนแปลงขององค์การ (Organization Change)
-          โดยหลักการ องค์การมีรูปแบบของการเปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะของนวัตกรรมขององค์การนั้นๆ หรืออาจจะมาจาก ประสบการณ์ของผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ การปรับเปลี่ยนรูปแบบของการมุ่งเน้นด้านการสร้างนวัตกรรม ไปสู่การผลิตในปริมาณมาก (Mass Production)  เพื่อให้ผลิตภัณฑ์เป็นมาตรฐาน (Standardized)
-          การเปลี่ยนแปลงของผลิตภัณฑ์ (Change in Products) และการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการผลิต (Change in Processes) มีรูปแบบของการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบ
-          ในขณะที่การเปลี่ยนแปลงขององค์การ อย่าไปคาดหวังว่าองค์การใดองค์การหนึ่งที่ดำเนินการเปลี่ยนแปลงองค์การของตนเองแล้วประสบความสำเร็จนั้น จะสามารถนำสิ่งดังกล่าวมาใช้กับองค์การของเราแล้วจะประสบความสำเร็จได้เช่นกัน
-          โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงเวลาที่ตลาดมีการแข่งขันสูง และเทคโนโลยีมีความไม่แน่นอนสูง แผนกผลิตต้องมุ่งเน้นในด้านผลิตภาพ(Productivity) มากขึ้น บุคลากรแต่ละคนภายในองค์การจะต้องประสานงานและปฏิบัติหน้าที่ร่วมกัน เพื่อที่จะก้าวผ่านสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน
-          โครงสร้างที่เกิดจากสภาวการณ์ ดังกล่าวนี้เราเรียกว่า โครงสร้างแบบมีชีวิต (Organic Structure)  คือ การให้ความสำคัญกับสิ่งต่าง ๆ  การปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินงาน เพื่อความสำเร็จของงาน การลดลำดับขั้นของสายการบังคับบัญชา  และมีการสื่อสารรอบทิศทาง โครงสร้างแบบมีชีวิต (Organic Structure)  จึงมีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่ไม่แน่นอน (Uncertain Environment)
การเปลี่ยนแปลงขององค์การ (Organization Change) มีองค์ประกอบ 3 ส่วนคือ
·         Structure
·         System                       การเปลี่ยนแปลงมีผลกระทบต่อ คน  ในองค์กร
·         Culture

ลักษณะการเปลี่ยนแปลงรูปแบบขององค์การอาจมีสาเหตุมาจาก
1. กลไกการควบคุมแบบไม่เป็นทางการ (Informal Control) ที่มีความยืดหยุ่นก่อให้เกิดแนวทางที่นำไปสู่รูปแบบของโครงสร้างองค์การ การกำหนดเป้าหมาย และวิธีปฏิบัติขององค์การ ที่มีลักษณะเฉพาะ
2. โครงสร้างองค์การมีของสายการบังคับบัญชาแบบเป็นลำดับขั้น (Hierarchical) ไม่ยืดหยุ่น มุ่งเน้นที่งานเป็นสำคัญ และมีลักษณะเป็นทางการ
3. การสร้างสรรค์นวัตกรรม ที่ครั้งหนึ่งเป็นเป้าหมายและวัตถุประสงค์หลักขององค์การ ต่อมาองค์การให้ความสำคัญทางด้านการสร้างสรรค์นวัตกรรมน้อยลง และปรับเปลี่ยนเป้าหมายไปสร้างนวัตกรรมแบบค่อยเป็นค่อยไปแทน (Incremental Innovation)
คุณลักษณะของตลาด (Market Characteristic)
1.  เมื่อเทคโนโลยียังไม่มีความชัดเจน
2.  ผู้ผลิตต่างแย่งชิงความเป็นผู้นำในอุตสาหกรรม
3.  ส่วนแบ่งทางการตลาดจึงมีความไม่แน่นอน                                                                                 Fluid Phase
4.  เมื่อมีการออกแบบผลิตภัณฑ์ซึ่งเรียกว่า แบบผลิตภัณฑ์มาตรฐาน (Dominant Design)
5.  ผล คือ ทำให้ส่วนแบ่งทางการตลาดจึงเริ่มมีความเสถียร (Stable) มากขึ้น
6.  นวัตกรรมของผลิตภัณฑ์จึงมีลักษณะแบบค่อยเป็นค่อยไป (Incremental Innovation)
7.  ผลที่ตามมา คือ ส่วนแบ่งทางการตลาด (Market Share) มีการเปลี่ยนแปลงไม่มากนัก  
8.  การตอบสนองความต้องการของตลาด เน้นที่ความรวดเร็วในการตอบสนอง
สภาพแวดล้อมทางการแข่งขัน (Competitive Environment)
มีลักษณะทั่วไป คือ
1.  เมื่ออัตราการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ลดลง อัตราการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมกระบวนการจะสูงขึ้น
2. เมื่อผลิตภัณฑ์ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ ความไม่แน่นอนก็จะเกิดขึ้นทั้งทางด้านผู้บริโภคและผู้ผลิตเอง
3. เมื่อใดที่ผสมผสานความต้องการทางด้านการตลาดและทางด้านผู้ผลิตได้อย่างลงตัว และกลายเป็นแบบผลิตภัณฑ์มาตรฐาน (Dominant Design) ก็สามารถครอบครองส่วนแบ่งทางการตลาดได้เป็นระยะเวลานาน
4. Dominant Design นำไปสู่การปรับเปลี่ยนรูปแบบทางการแข่งขันของผู้ผลิต จากเดิมที่มุ่งเน้นผลิตภัณฑ์ไปสู่การมุ่งเน้นที่กระบวนการ ท้ายที่สุด ผู้แข่งขันบางรายไม่สามารถปรับตัวได้ และต้องออกจากการแข่งขัน บางรายอาจจะใช้วิธีการรวมกิจการ (Merge)
ช่วงระยะเวลาของตัวแบบพลวัตรทางนวัตกรรม  แบ่งช่วงระยะเวลาออกเป็น 3 ช่วง คือ
1) ไม่แน่นอน (Fluid)
2) ถ่ายโอน (Transitional)
3) เฉพาะเจาะจง (Specific)
ที่ซึ่งในแต่ละช่วงเวลามีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับ
1) อัตราการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรม (Rate of Innovation)
2) คุณลักษณะของผลิตภัณฑ์
3) คุณลักษณะของกระบวนการ
4) คุณลักษณะขององค์การ
ช่วงระยะเวลาไม่แน่นอน (The Fluid Phase) ความไม่แน่นอนเกิดขึ้น 2 รูปแบบ คือ
1) กลุ่มเป้าหมาย (Target Market)
2) เทคโนโลยีที่จะนำมาเสนอผู้ผลิต
เงื่อนไข
1. เป็นช่วงระยะเวลาที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง
2. ก่อให้เกิดวิวัฒนาการทางเทคโนโลยี
3. อัตราการเปลี่ยนแปลงของผลิตภัณฑ์มีอัตราการที่รวดเร็ว
4. ผลิตภัณฑ์ทางเทคโนโลยีใหม่ถูกนำเสนอแก่ตลาดในช่วงนี้มักจะมีราคาแพง
5. ยังอาจจะหามาตรฐานที่แท้จริงยังไม่ได้ แต่ผลิตภัณฑ์ทางเทคโนโลยีดังกล่าวสามารถที่จะตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในตลาดกลุ่มเป้าหมายเฉพาะหรือตลาดนิช (Niches Market)
ช่วงระยะเวลาถ่ายโอน (Transitional Phase)
เงื่อนไข
1. ผลิตภัณฑ์ได้รับการยอมรับจากตลาด
2. ผู้ประกอบการของธุรกิจมีอัตราการเจริญเติบโตที่สูงขึ้น
3. เกิดแบบผลิตภัณฑ์มาตรฐาน (Dominant Design) ขึ้น
4. การแข่งขันมุ่งเน้นไปที่การผลิตสินค้าหรือบริการที่มีลักษณะที่มีความเฉพาะที่ตรงกับความต้องการของลูกค้ามากขึ้น
5.  ลูกค้ามีความเข้าใจในสินค้าหรือบริการมากขึ้นด้วยเช่นกัน
6.  ผู้ประกอบการก็ปรับตัวเองจากการเป็นผู้ประดิษฐ์ มาเป็นผู้ผลิตที่เน้นและให้ความสำคัญกับการผลิตสินค้าในปริมาณมาก
7.  นวัตกรรมผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมกระบวนการเป็นเรื่องที่มีความสัมพันธ์และมีการเชื่อมโยงกันมากขึ้น
ช่วงระยะเวลาเฉพาะเจาะจง (Specific Phase)
เงื่อนไข
1. กระบวนการผลิตให้ความสำคัญกับคำว่า ประสิทธิภาพ (Efficiency)
2. อัตราส่วนระหว่างคุณภาพกับต้นทุนเป็นเรื่องพื้นฐานของการแข่งขัน
3. สินค้าและบริการเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในตลาด
4. ความแตกต่างของสินค้าและบริการระหว่างคู่แข่งขันนั้นมีความแตกต่างกันไม่มากนัก
5. นวัตกรรมผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมกระบวนการเป็นเรื่องเดียวกัน
6. การเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง (ผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการ) เป็นเรื่องยากมีต้นทุนสูงในการเปลี่ยนแปลง และต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายๆ ฝ่ายในการเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์ได้รับการยอมรับจากตลาด

รู้ก่อน ได้เปรียบ
ค.ศ. 1300 คลื่นลูกที่หนึ่ง ปฏิวัติเกษตรกรรมสร้างความมั่งคั่ง
ค.ศ. 1800 คลื่นลูกที่สอง ปฏิวัติอุตสาหกรรมสร้างความมั่งคั่ง
ค.ศ. 1965 คลื่นลูกที่สาม ปฏิวัติสารสนเทศองค์ความรู้ สร้างความมั่งคั่ง
ค.ศ. 2004 ยุคที่แปด ตามศาสตร์ ฮวงจุ้ยตะวันออกจะรุ่งเรืองต่อเนื่อง 20 ปี

การบูรณาการองค์ความรู้สู่โลกอนาคต
สังคมโลก – ประเทศมหาอำนาจ สร้างความได้เปรียบจากองค์ความรู้
1.      เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)  การใช้มาตรการต่างๆ เช่น แก้กฎหมายการละเมิดลิขสิทธิ์ กับประเทศผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ทางซอฟท์แวร์ ฯลฯ
2.      เทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology) การกีดกันผลผลิตเกษตรที่เป็น GMOการสะสม และพัฒนาสายพันธุ์โดยวิธีการต่างๆ
3.      ด้านวัสดุ  (Materials) การพัฒนาวัสดุ จากสารสังเคราะห์ และปิโตรเคมี เพื่อเป็นผู้นำผลิตภัณฑ์ใหม่ ทดแทนวัสดุจากธรรมชาติ
4.      เทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร (Agriculture and Food Technology)  การใช้กฎหมาย และมาตรฐานคุณภาพกีดกันการค้าสินค้าเกษตร เช่น GAP, GMP, HACCP, COC etc.
5.      ด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม (Environmental Quality)  การใช้กฎหมาย มาตรการรักษาสิ่งแวดล้อม และกลุ่มพลังสังคมกีดกันทางการค้าและการพัฒนาประเทศ
6.      ด้านการขนส่ง (Transportation & Logistics)  การกำกับ และควบคุมเส้นทางขนส่ง ตลอดจนข้อมูลสำคัญ เพื่อผลทางการแข่งขันของประเทศ
7.      พลังงาน (Energy)  การจัดระเบียบสังคม และเข้าไปมีอิทธิพลในกลุ่มประเทศที่เป็นแหล่งพลังงานของโลกทั้งแก๊สและน้ำมัน
Knowledge Management การจัดการความรู้
เราจะเตรียมคน และองค์การให้พร้อมต่อสถานการณ์ภายใต้องค์การที่ใฝ่รู้ ได้อย่างไร

WHAT IS?
Turban and Aronson (2001) คือกระบวนการที่ช่วยให้องค์การสามารถระบุ เลือก จัดการ แยกแยะ และถ่ายโอนความรู้ที่สำคัญและความเชี่ยวชาญที่เป็นส่วนหนึ่งของความจำองค์การที่ในรูปแบบที่องค์การดำเนินอยู่
Tiwana (2000) กล่าวว่า การจัดการความรู้เป็น ความสามารถในการสร้างและรักษามูลค่าของความสามารถหลักของธุรกิจ
Mertins, Heisin, and Vobeck (2003) กล่าวว่า การจัดการความรู้ เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมซึ่งจะส่งเสริมและกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ประสบการณ์ ระหว่างพนักงานและหน่วยงานขององค์การ
การจัดการความรู้เป็นการดำเนินการต่อความรู้อย่างน้อย 6ประการ ได้แก่
1. การกำหนดความรู้หลักที่จำเป็นต่อการใช้งาน
2. การเสาะแวงหาความรู้ที่ต้องการ
3. การปรับปรุงความรู้
4. การดัดแปลงความรู้ (อาจสร้างเองบางส่วน)
5. การแลกเปลี่ยนความรู้
6. การจัดเก็บความรู้
การจัดการความรู้ เป็นกระบวนการและวิธีปฏิบัติในการพัฒนา แสวงหา จัดเก็บ และแลกเปลี่ยนความรู้ เรียนรู้ร่วมกัน เพื่อให้ เรียนรู้มากขึ้นและเพิ่มประสิทธิภาพในองค์การ
การจัดการความรู้ เป็นแนวทางหนึ่งของการพัฒนาองค์การที่นำไปสู่การเป็นองค์การที่ดีเลิศ สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ และการเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขัน
วัตถุประสงค์ของ การจัดการความรู้
1. เป็นการนำความรู้และประสบการณ์ของบุคลากรมาใช้ประโยชน์
2. เป็นการพัฒนาสมรถนะขององค์การโดยใช้ความรู้ที่มีอยู่
3. เป็นการพัฒนาความรู้เดิมให้เอื้อประโยชน์ต่อการสร้างความรู้ใหม่อย่างเป็นระบบ เพื่อพัฒนาให้เกิด นวัตกรรม
ประโยชน์ของ การจัดการความรู้
1. เพิ่มศักยภาพในการตัดสินใจ (ความรู้และข้อมูลมีมาก)
2. สร้างการยอมรับ ด้านคุณภาพ
3. เกิดความยืดหยุ่นในการทำงานเป็นทีม
4. การสร้างนวัตกรรมใหม่ๆเกิดขึ้น
5. เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล

ความหมายของ ความรู้


-          Tiwana (2000, p. 5) คือ ส่วนผสมที่ไม่สามารถจับต้องได้มาจากพื้นฐานประสบการณ์ ค่านิยม ความเชี่ยวชาญภายในตัวบุคคล
-          Barnes (2002, p. 16) คือ ความเชื่อของบุคคลที่จำแนกบุคคล แต่ละบุคคลว่า มีความสามารถมากน้อยเพียงใดในการกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างมีประสิทธิภาพ
-          โกศล ดีศีลธรรม (2546, หน้า 7) ว่า ความรู้เป็นความสามารถ      ในการปฏิบัติการอย่างมีประสิทธิผล (effective action)
-          สรุปได้ว่า ความรู้ คือ กรอบของการประสม-ประสานระหว่าง สารสนเทศ ความรอบรู้ ประสบการณ์ ความเข้าใจ ค่านิยม และความเชื่อที่มีอยู่ภายในจิตใจของบุคคล ช่วยให้บุคคลมีความสามารถในการประเมินคุณค่าและคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้น และเป็นสิ่งที่จำแนกว่าบุคคลแต่ละบุคคลมีความสามารถมากน้อยเพียงใด

องค์ประกอบของความรู้
ข้อมูล (data) หมายถึง ข้อมูลดิบ ข้อเท็จจริงที่เกิดจากการทำงานประจำวันขององค์การและถูกจัดเก็บไว้ในสภาพเดิม ซึ่งถือว่าเป็นข้อมูลในระดับกระบวนการปฏิบัติงาน (transaction process) และมีอยู่เป็นจำนวนมาก อาจมีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์
สารสนเทศ (information) หมายถึง ข้อมูลดิบที่ผ่านการประมวลผลแล้ว และมีคุณค่าสำหรับการใช้งานในระดับหนึ่งต่อผู้ใช้ภายในบริบทของการใช้งาน ซึ่งอาจมีคุณค่าสำหรับบุคคลคนหนึ่งหรือคนกลุ่มหนึ่ง แต่ในขณะเดียวกันอาจไม่มีคุณค่าสำหรับบุคคลอื่น จึงกล่าวได้ว่า คุณค่าของสารสนเทศขึ้นอยู่กับความตรงกับความต้องการในการ    ใช้งาน
ความรู้ (knowledge) คือ กรอบของการประสมประสานระหว่าง สารสนเทศ ความรอบรู้ ประสบการณ์ ความเข้าใจ ค่านิยมและความเชื่อที่มีอยู่ภายในจิตใจของบุคคล ความรู้ช่วยให้บุคคลมีสามารถในการประเมินคุณค่าและคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้น และเป็นสิ่งที่จำแนกว่าบุคคลแต่ละบุคคลมีความสามารถมากน้อยเพียงใดในการกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
สรุปได้ว่า ข้อมูล สารสนเทศ และความรู้ มีความแตกต่างกันในประเด็นที่ว่า ความรู้เป็นกระบวนการของการขัดเกลา เลือกใช้ และบูรณาการข้อมูลและสารสนเทศที่บุคคลมีอยู่ จนเกิดเป็นความรู้ใหม่ (new knowledge) ที่ช่วยให้บุคคลสามารถทำในสิ่งที่ถูกต้อง และในขณะเดียวกันข้อมูล สารสนเทศ และความรู้ ก็มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด กล่าวคือ สารสนเทศจะเกิดขึ้นได้ต้องมีข้อมูล และความรู้จะเกิดขึ้นได้ต้องมีข้อมูลและสารสนเทศ
TYPE OF KNOWLEDGES
1.ความรู้ที่มีรูปแบบชัดแจ้ง (explicit knowledge) คือ ความรู้ภายนอกตัวบุคคล และมีความเป็นทางการและเป็นระบบ ที่ถูกบันทึกไว้ในสื่อประเภทต่าง ๆ ในรูปแบบของเอกสาร ได้แก่ วารสาร คู่มือ รายงานวิจัย สิทธิบัตร เป็นต้น ความรู้ที่มีรูปแบบชัดเจนเหล่านี้จึงง่ายต่อการสื่อสารและแลกเปลี่ยนกันระหว่างบุคคล
2.ความรู้ที่เป็นนัยหรือความรู้แบบที่ซ่อนเร้น (tacit knowledge) คือ ความรู้ที่อยู่ภายในตัวบุคคล ยากที่จะจัดเป็นทางการและสื่อสารกันให้ผู้อื่นรู้ได้ เป็นมิติแห่งการรับรู้เฉพาะบุคคลที่สำคัญ เช่น ประสบการณ์ ความชำนาญ มุมมอง ความเชื่อ เป็นต้น
รูปแบบของการแปลงความรู้
            Nonaka and Takeuchi  ได้ให้ตัวแบบพลวัตรของการสร้างสรรค์ความรู้ในองค์กร  บนพื้อฐานความคิดว่า “ความรู้ของมนุษย์ถูกสร้างขึ้นและขยายขอบเขตผ่านการมีปฏิกิริยาต่อกันในทางสังคม (Social interaction ) ระหว่างความรู้ที่มีรูปแบบชัดเจนกับความรู้ที่ซ่อนเร้น  ซึ่งเรียกการมีปฏิกิริยาต่อกันนี้ว่า การแปลงความรู้ (Knowledge conversion) และได้แบ่งการแปลงความรู้ออกเป็น 4 รูปแบบ ดังนี้คือ
1.      การแปลงความรู้ที่ซ่อนเร้นไปสู่ความรู้ที่ซ่อนเร้น (Form Tacit  to tacit) หรือการเรียนรู้ทางสังคม (Socialization
2.      การแปลงความรู้ที่ซ่อนเร้นไปสู่ความรู้ที่ชัดเจน(Form Tacit  to explicit) หรือการนำความรู้ที่ซ่อนเร้นอยู่ภายในตัวออกสู่ภายนอก (Externalization)
3.      การแปลงความรู้ที่ชัดเจนไปสู่ความรู้ที่ชัดแจ้ง(Form explicit to explicit) หรือการรวม(Combination)
4.      การแปลงความรู้ที่ชัดแจ้งไปสู่ความรู้ที่ซ่อนเร้น(Form explicit to tacit)หรือกระบวนการนำความรู้จากภายนอกเข้าสู่ภายในของตัวตน (Internalization)

ความรู้ที่ซ่อนเร้น             ไปสู่      ความรู้ที่มีรูปแบบชัดแจ้ง
 

                        ความรู้ที่ซ่อนเร้น
การรวมความรู้ที่มีรูปแบบชัดแจ้ง
 
การนำความรู้ที่มีรูปแบบชัดแจ้งเข้าสู่ฐานความรู้ที่ซ่อนเร้น
 
                                    จาก
                        ความรู้ที่มีรูปแบบ
                                ชัดแจ้ง





กระบวนการการจัดการความรู้
1. Define การกำหนดองค์ความรู้ที่ต้องการ ความรู้หลักที่จำเป็นต่องานหรือกิจกรรมของกลุ่ม
2. Create การเสาะแวงหาความรู้ที่ต้องการ และการสร้างความรู้ เพื่อการนำมาใช้งาน
3. Capture การปรับปรุง ดัดแปลง หรือสร้างความรู้ขึ้นเอง บางส่วนเพื่อให้เหมาะสมต่อการใช้งาน
4. Share การแบ่งปัน การแลกเปลี่ยน การกระจาย และการถ่ายโอนความรู้
5. Use การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ การจัดเก็บ
องค์ประกอบของการการจัดการความรู้
1. คน เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุด คือเป็นทั้งแหล่งความรู้ แสวงหาความรู้ คัดเลือกความรู้ สร้างความรู้ และใช้ประโยชน์จากความรู้
2. เทคโนโลยี เป็นเครื่องมือสนับสนุนเพื่อการเสาะแวงหาความรู้ที่ต้องการ การสร้างความรู้ เพื่อการนำมาใช้งาน และเพื่อการจัดเก็บความรู้
3. กระบวนการหรือระบบ เป็นการบริหารจัดการกับความรู้เพื่อนำความรู้ไปใช้เพื่อการสร้าง  นวัตกรรม




แนวทางแห่งความสำเร็จของการจัดการความรู้
1. การกำหนดวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน การจัดการความรู้มาใช้ปฏิบัติในองค์การแห่งใด ย่อมมีผลกระทบต่อบุคลากรทุกคนในองค์การนั้น การเริ่มต้นจึงควรดำเนินการอย่างเป็นระบบชัดเจน คือ การกำหนดวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน (shared vision) ให้สมาชิกทุกคนร่วมรับรู้ถึงความจำเป็นในการพัฒนาภูมิปัญญา ควบคู่ไปกับการมุ่งมั่นในการดำเนินกิจกรรมคุณค่า (value activity) ตลอดจนสร้างความเข้าใจในคุณประโยชน์ที่องค์การและบุคลากรจะได้รับ เพื่อนำมาซึ่งความร่วมแรงร่วมใจกันต่อไป
2. กำหนดกลยุทธ์ที่จะดำเนินการ เป็นหัวใจสำคัญของความสำเร็จในการนำระบบการบริหารใหม่ เข้ามาใช้ จึงควรมีการกำหนดกลุ่มผู้ดูแลรับผิดชอบที่ชัดเจนขึ้นมา เพื่อประสานกิจกรรมทั้งหมดให้สอดคล้องกัน โดยอาจใช้กลยุทธ์ 4 หลักดังต่อไปนี้
                                2.1 ชี้นำ โดยคณะผู้บริหารระดับสูงต้องให้ความสนใจ สนับสนุนและผลักดันทุกวิถีทาง รวมทั้งจะต้องมีการติดตามและมีการนำเสนอความคืบหน้ากันในที่ประชุมอย่างสม่ำเสมอ
                                2.2 ปลูกฝัง ฝ่ายทรัพยากรบุคคลจะเข้ามาดูแลรับผิดชอบในกิจกรรมสำคัญที่จะเป็นโครงสร้างพื้นฐานและโครงสร้างขององค์ความรู้ต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการเสริมสร้างศักยภาพ รวมทั้งเป็นพี่เลี้ยงแก่ทุกทีมงานที่จะร่วมบริหารภูมิปัญญา
                                2.3 ปฏิรูป โดยการตั้งคณะทำงานตัวแทนจากหน่วยงานต่าง ๆ เข้ามา ร่วมรับผิดชอบดำเนินการในกิจกรรมที่ต้องมีการประสานกิจกรรมระหว่างกัน เพื่อให้เกิดกิจกรรมที่ทรงคุณค่าแก่ลูกค้าทั้งภายในและภายนอกองค์การ
                                2.4 การปรับตัว เป็นกลยุทธ์ในระดับทีมงานที่จะร่วมกันเรียนรู้และทำงานอย่างเป็นระบบโดยใช้ภูมิปัญญาเดิมร่วมกับการแสวงหาภูมิปัญญาใหม่ ผนวกเข้ากับระบบการปฏิบัติงานเพื่อการสร้างวัฒนธรรมใหม่
3. การพัฒนารูปธรรมของการเรียนรู้ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนสำคัญดังต่อไปนี้
                                3.1 มีวิสัยทัศน์องค์การ (corporate vision) ที่ชัดเจน ปฏิบัติได้ภายใต้การสนับสนุนและมุ่งมั่นของบุคลากรทุกคนในองค์การ
                                3.2 การจัดหาโครงสร้างพื้นฐาน ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของบุคลากรทุกคนให้เป็น ไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เช่น เครื่องมือ อุปกรณ์ต่าง ๆ ห้องสมุด เป็นต้น
                                3.3 มีระบบการบริหารและระบบการทำงานที่ดี
4. เข้าสู่กระบวนการเรียนรู้ เป็นขั้นตอนการพัฒนาตัวบุคลากรแต่ละบุคคลในองค์การให้มีศักยภาพที่สูงขึ้น ที่องค์การหวังให้เป็นกุญแจสู่ความสำเร็จ (key success factor) ในยุคของการแข่งขันใหม่ที่ใช้ปัจเจกบุคคลเป็นที่ตั้ง โดยเริ่มต้นที่
                                4.1 การปลูกฝังทัศนคติและค่านิยมองค์การให้ทุกคน
                                4.2 การพัฒนาทักษะและความสามารถให้สอดคล้องกับสายอาชีพของแต่ละหน้าที่งาน
                                4.3 ความภาคภูมิใจและความรู้สึกมีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าขององค์การ
5. การวัดผล
                                5.1 การวัดผลเป็นรายบุคคล โดยเน้นไปที่ทักษะการติดต่อสื่อความ ทักษะในการทำงาน และทักษะในการเป็นผู้นำ
                                5.2 การวัดผลตามกิจกรรม เน้นที่ความสำเร็จตามเป้าหมายของแต่ละกิจกรรม
                                5.3 การวัดผลจากตัวระบบ เป็นการวัดผลเชิงพัฒนาการของตัวระบบการบริหารต่าง ๆ ที่องค์การได้นำเข้ามาปฏิบัติ


****การวัดผลการเรียนรู้นี้จำเป็นต้องทำเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง เพื่อจะได้ทราบแนวโน้มของพัฒนาการที่ได้เกิดขึ้นไปแล้วและที่กำลังจะเกิดขึ้น ช่วยให้องค์การสามารถปรับเปลี่ยนกลวิธีและขั้นตอนการพัฒนาภูมิปัญญาด้วยกิจกรรมคุณค่าต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลสูงยิ่งขึ้น****



การพัฒนาตนเองให้เป็นเลิศ (personal mastery)
-  บุคคลหรือสมาชิกขององค์การเป็นรากฐานขององค์การแห่งการเรียนรู้
-  บุคคลที่มีระดับความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษ จะสามารถขยายความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานที่เขาต้องการได้อย่างต่อเนื่อง
-  สมาชิกองค์การแห่งการเรียนรู้นั้นจะต้องมีคุณลักษณะสำคัญที่เรียกว่า ความเป็นนายของตัวเอง (human mastery) ในการควบคุมจิตใจและพฤติกรรมของตัวเอง
-  เป็นบุคคลที่พร้อมจะเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา ยอมรับความจริง ไม่ยึดมั่นถือมั่น เปลี่ยนไปตามกระแสโลก มีจิตใจที่เจริญ
-  สมาชิกในองค์การที่มีกรอบแนวคิดแบบการพัฒนาตนเองให้เป็นเลิศ (personal mastery)  ต้องเป็นผู้ที่มีความกระตือรือร้น สนใจและใฝ่ที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา รวมทั้งมีความปรารถนาที่จะเรียนรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพของตนมุ่งสู่จุดมุ่งหมาย และความสำเร็จที่ได้กำหนดไว้
MENTAL MODELS
เป็นภาพสมมติ  หรือความเชื่อ ที่อยู่ในจิตใจของเรา เกี่ยวกับตัวของเรา หรือทุกสิ่งในโลกซึ่งอาจจะเป็นความจริง หรือคาดเดาเอาเอง
หลัก คือการขุดเอา mental models ออกมา แล้วสร้างใหม่ ให้เป็นภาพที่อยู่บนพื้นฐานของความจริง โดย
1. Reflection คือ หยุดคาดเดา และคิดอย่างไตร่ตรอง
2. Inquiry คือ การไต่ถาม การสนทนาเพื่อแลกเปลี่ยนความคิด พัฒนาความรู้เกี่ยวกับข้อสมมติของกันและกัน
กรอบความเชื่อที่สมเหตุสมผล (mental models)
-  กรอบความเชื่อของบุคคล ในการเข้าใจ และมองโลกตามความเป็นจริงอย่างสมเหตุสมผล
-  กรอบความเชื่อที่สมเหตุสมผล มีส่วนสำคัญและมีอิทธิพลต่อการแสดงพฤติกรรมของบุคคล
-  มีความสำคัญยิ่งต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลในองค์การ เพราะหากมีการเปลี่ยนแปลงความคิดความเข้าใจ และความเชื่อของบุคคลในองค์การให้มีความสมเหตุสมผล พวกเขาก็จะมีพฤติกรรมการปฏิบัติที่เป็นไปในทางบวก
-  แต่องค์การไม่ควรกำหนดหรือควบคุม แต่ควรปล่อยให้พวกเขาได้มีอิสระในการคิด และสร้างสรรค์รูปแบบในการพัฒนาขึ้นเองตามสถานการณ์ต่าง ๆ ซึ่งเป้าหมายของการพัฒนาในข้อนี้ไม่ได้เน้นให้ทุกคนมีความเห็นในแนวทางเดียวกับองค์การทุกอย่าง แต่ต้องการเห็นความสอดคล้องกันในแต่ละแนวคิดที่มารวมกันเกิดเป็นวิสัยทัศน์ร่วม

SHARED  VISION
ความเข้าใจของบุคลากรทุกระดับในทิศทางอนาคตขององค์กรโดยเกิดจากการร่วมสร้าง และกระทบความคิดร่วมกัน
การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน (shared vision)
-          เป็นการสร้างทัศนะของความร่วมมือกันอย่างยึดมั่นของสมาชิกในองค์การ
-          ทำให้สมาชิกทุกคนมีความตระหนัก และเข้าใจในความเปลี่ยนแปลงขององค์การ มีมุมมองร่วมกันเกี่ยวกับปรากฏการณ์แห่งความเปลี่ยนแปลง และอนาคตขององค์การ เพื่อช่วยให้สมาชิกทุกคนเกิดการยอมรับ พร้อมใจ และให้ข้อผูกพันต่อจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ขององค์การที่ต้องการตอบ สนองต่อความเปลี่ยนแปลง
-          องค์การแห่งการเรียนรู้ จะต้องเป็นองค์การที่สมาชิกทุกคนได้รับการพัฒนา          วิสัยทัศน์ของตนให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์รวมขององค์การ ซึ่งจะสนับสนุนให้เกิดพลัง-ร่วม (synergy) ของคนทั้งองค์การที่มีการคาดหวังต่อความเปลี่ยนแปลง และความก้าวหน้าต่อไป ภายใต้จุดมุ่งหมายเดียวกันของคนทั้งองค์การ ซึ่งแนวทางการสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน มีองค์ประกอบพื้นฐาน คือ

TEAM LEARNING
การปรับเข้าสู่แนวคิด(alignment)  เพื่อเสริมสร้าง ความสามารถของทีม ในการคิดและปฏิบัติ ลักษณะร่วมเสริมพลัง  หรือ การทวีประโยชน์ (Synergistic)
หลักสำคัญ ในการสร้างความเข้าใจโดยรวม คือ
1. Dialogue การสนทนา ให้เกิดการคิดร่วมกัน  เกิดสภาวะการไถ่ถามแบบเคารพความคิดผู้อื่น และสร้างสภาพให้เห็นความสำคัญของภาพรวม
2. Skillful Discussion การตัดสินใจ ภายใต้หลักของความชำนาญ ความสนใจและความตั้งใจ                                          โดยกำหนดความหมายร่วมกัน(shared meaning) และใช้ความรู้ให้เกิดประโยชน์
การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (team learning)
-          เป็นกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของสมาชิก โดยอาศัยความรู้และความคิดของสมาชิกในกลุ่มมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน เพื่อพัฒนาความรู้และความสามารถของทีมให้เกิดขึ้น
-          การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีมจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อมีการรวมพลังของสมาชิกในทีมให้ได้มีโอกาสที่จะเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ร่วมกัน โดยการแลกเปลี่ยนข้อมูล แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และประสบการณ์ซึ่งกันและกัน อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง จนเกิดเป็นความคิดร่วมกันของกลุ่ม (group thinking) 
-          ๐ กลุ่มควรลดสิ่งที่ก่อให้เกิดอิทธิพลของความครอบงำแนวความคิดของสมาชิกคน    อื่น ๆ
-          การปฏิบัติร่วมกันที่เกิดจากความเต็มใจจากสมาชิกทุกคน อันจะนำองค์การบรรลุสู่เป้าหมายได้

SYSTEMS  THINKING
การเห็นภาพทั้งหมดของกระบวนการที่สัมพันธ์กันจะช่วยยุติ การโทษกัน การขัดใจกัน เป็นจุดเริ่มต้นที่จะทำให้
ติดต่อกันได้ดีขึ้น ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาพื้นฐานขององค์กรให้สำเร็จ
-         เป็นการคิดที่คำนึงถึงปัจจัยแวดล้อมที่มีผลต่อหรือได้รับผลจาก กระบวนการทำงาน
-         การแก้ปัญหา ณ จุดหนึ่ง อาจก่อปัญหาในจุดอื่น
-         การเขียนภาพของกระบวนการทั้งหมด  เป็นวิธีแก้การติดขัด (gridlock) ขององค์กร
การคิดอย่างเป็นระบบ (systems thinking)
-          สิ่งต่างๆ  ล้วนมีการเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ เป็นวัฏจักร มีลักษณะบูรณาการอย่างเป็นองค์รวม
-          การมีความคิดอย่างเป็นระบบ จะเป็นองค์ความรู้ที่จะช่วยให้เราสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้อย่างเป็นระบบ และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
-          ต้องคิดให้รอบคอบและมีการวางแผนในระยะยาว แต่ผลที่ได้มีความชัดเจน สามารถมองเห็นปัญหาได้อย่างทะลุปรุโปร่ง
-          การคิดอย่างเป็นระบบของสมาชิกในองค์การมีส่วนสำคัญต่อการสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ เป็นกระบวนการในการหาความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น โดยอาศัยองค์ความรู้ที่ได้จากการบูรณาการ มีลักษณะเป็นสหวิทยา เกิดกรอบความรู้ใหม่ ความคิดใหม่ เป็นกรอบของการสร้างความกระจ่างในความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของปรากฏการณ์ต่าง ๆ อย่างลึกซึ้ง