วันจันทร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

pa709 (ตอนจบ) ผศ.ภีรภัทร


BSC balance scorecard
เริ่มด้วยการจำแนกที่กลยุทธ์
วิสัยทัศน์ Vision เป้าหมายองค์กรเป็นอย่างไรมี่ไหน
พันธกิจ  Mission วิธีการนำไปสู่เป้าหมาย เป็นเป้าหมายObjective ระยะสั้นที่เราจะไป
การเขียนแผนที่กลยุทธ์(มี 4 มุมมอง)
F = Financial
C = customer ผู้บริโภค
I = Internal / Business
P = Process








หลักการ BSC balance scorecard
Objective เป้าหมายต้องการอะไร (ลำดับที่ทำ 1)
KPI  ตัวชี้วัด (ลำดับที่ทำ 3)
Baseline  ค่ามาตรฐานที่เป็นอยู่ (ลำดับที่ทำ 4)
Target  เป้าหมายต้องการเท่าไหร่ (ลำดับที่ทำ 5)
Initiative  วิธีการทำให้สำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ (ลำดับที่ทำ 2)


ทำแค่ สาม มุมมอง

FORM : Corporate KPIs

Dimension
Objective
KPIs
Baseline
Target
Frequency
Initiative
Financial






Customer






Internal Process






Learning & Growth






ตัวชี้วัด หรือ Key Performance Indicators : KPI) 
ในการจัดทำ Balanced Scorecard จำเป็นต้องอาศัยตัวชี้วัด (Key Performance Indicators : KPI) ประกอบในการจัดทำด้วย ตัวชี้วัดดังกล่าวจะเป็นเครื่องมือที่ทำให้ทราบว่ามุมมองแต่ละด้านนั้นมีปัจจัยใด ที่องค์กรให้ความสำคัญในการประเมินผล โดยมุมมองด้านต่าง ๆ จะประกอบด้วย
1. มุมมองด้านการเงิน (Financial Perspectives) – เป็นมุมมองที่มีความสำคัญอย่างยิ่งเพราะสามารถทำให้ทราบว่ากิจการขณะนี้มีผลการดำเนินงานเป็นอย่างไร ด้านการเงินจะมีการพิจารณาตัวชี้วัด (KPI) ในด้าน
1.1  การเพิ่มขึ้นของกำไร (Increase Margin)
1.2 การเพิ่มขึ้นของรายได้ (Increase Revenue)
1.3 การลดลงของต้นทุน (Reduce Cost) และ อื่น ๆ
2. มุมมองด้านลูกค้า (Customer Perspectives) -  เป็นมุมมองที่จะตอบคำถามที่ว่า ลูกค้ามองเราอย่างไร โดยจะมีการพิจารณาตัวชี้วัด (KPI) ในด้าน
2.1 ความพึงพอใจของลูกค้า (Customer Satisfaction)
2.2 ส่วนแบ่งตลาด (Market Share)
2.3 การรักษาฐานลูกค้าเดิม (Customer Retention)
2.4 การเพิ่มลูกค้าใหม่ (Customer Acquisition) และ อื่น ๆ
3. มุมมองด้านกระบวนการภายใน (Internal Process Perspectives) – เป็นส่วนที่ช่วยทำให้องค์กรสามารถนำเสนอคุณค่า (Value)ที่ลูกค้าต้องการได้ โดยมีการพิจารณาตัวชี้วัด (KPI) ในด้าน
3.1 ผลิตภาพ (Productivity)
3.2 ทักษะของพนักงาน (Employee Skill)
3.3 คุณภาพ (Quality)
3.4 วงจรเวลา (Cycle Time)
3.5  การปฏิบัติงาน (Operations) และ อื่น ๆ    
                4. มุมมองด้านการเรียนรู้และการเติบโตขององค์กร (Learning and Growth Perspectives) – เป็นมุมมองที่ผู้บริหารจะให้ความสำคัญกับบุคลากรในองค์กร โดยมีการพิจารณาตัวชี้วัด (KPI) ในด้าน
                                4.1 ความพึงพอใจและทัศนคติของพนักงาน (Satisfaction and Attitude of employee)   
                                4.2 ทักษะ (Skill) ของพนักงาน
                                4.3 อัตราการเข้าออกของพนักงาน (Turnover) และอื่น ๆ 
Corporate Goal ของกิจการประกอบด้วย
1. ด้านการเงิน (Financial Goal) - เป็นการกำหนดกำไรในแต่ละปีเพื่อที่จะนำไปสู่การวางแผนในแต่ละปี เช่น การขยายสาขา การเพิ่มยอดขายในแต่ละสาขา เป็นต้น
2. ด้านความพึงพอใจของลูกค้า (Customer Satisfaction Goal) – เป็นการกำหนดวิธีการที่จะก่อให้เกิดความพึงพอใจจากลูกค้า เช่น เวลาที่ใช้ในการบริการ สินค้าที่ลูกค้าต้องการในแต่ละสาขา เป็นต้น
3. ด้านกระบวนการภายใน (Internal Process Goal) – เป็นการสร้างระบบภายในองค์กรให้มีประสิทธิภาพในการทำงาน เช่น  มาตรฐานการคัดเลือกสินค้าที่มีคุณภาพ ระบบโลจิสติกส์ที่ดี เป็นต้น
4. ด้านการเรียนรู้และพัฒนา (Learning and Growth Goal) เป็นการพัฒนาบุคลากรในองค์กรให้มีคุณภาพ เช่น การอบรม การจ่ายผลตอบแทนที่ดี กำลังใจในการทำงาน เป็นต้น    


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น