วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

กระบวนทัศน์ใหม่ในการปฏิรูประบบราชการไทย

                1.   ด้านการบริหารจัดการ (Management)
                      1.1   รัฐบาลควรส่งเสริมการปฏิรูประบบราชการอย่างต่อเนื่องและจริงจังโดยกำหนดเป็นวาระแห่งชาติ
                      1.2   ควรนำการบริหารเชิงกลยุทธ์มาใช้อย่างกว้างขวาง
                      1.3   การนำแนวคิดและเทคนิคการบริหารจากภาคเอกชนมาประยุกต์ใช้ เช่น Balanced Scorecard, Re-engineering, Kaizen, Total quality Management ฯลฯ
                      1.4   การลดอำนาจหน้าที่และขั้นตอนการปฏิบัติราชการ
                      1.5   นำหลักการบริหารจัดการที่ดี (Good Governance) มาใช้อย่างกว้างขวางและปฏิบัติอย่างจริงจัง
                      1.6   สนับสนุนให้มีการกำหนดกรอบระยะเวลาในการปฏิบัติราชการ
                      1.7   ให้ความสำคัญกับการควบคุมตรวจสอบขององค์การอิสระตามรัฐธรรมนูญมากขึ้น
                      1.8   ให้ความสำคัญกับประชาชนในการตรวจสอบการบริหารงานของภาครัฐ เพื่อให้เกิดความโปร่งใส
                      1.9   กำหนดวาระของผู้ดำรงตำแหน่งการบริหาร
                      1.10    การพัฒนาองค์การเพื่อเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้
                2.   ด้านการให้บริการประชาชน (Citizen Service)
                      2.1   คำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนเป็นสำคัญ
                      2.2   พัฒนาระบบการให้บริการสาธารณะโดยนำระบบ One Stop Service มาใช้อย่างกว้างขวาง
                      2.3   สนับสนุนให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการให้บริการสาธารณะมากขึ้น
                      2.4   ให้ความช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสและคนยากจนให้ทั่วถึงและเป็นธรรม
                      2.5   จัดตั้งหน่วยงานกลางอำนวยความสะดวก และให้บริการประชาชน
                      2.6   รับฟังความคิดเห็นของประชาชนเพื่อนำไปปรับปรุงการให้บริการให้มีประสิทธิภาพ และตอบสนองความต้องการของประชาชน
                      2.7   ปรับปรุงสำนักงานให้ทันสมัย สะดวกในการติดต่อ
                      2.8   นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ในการปฏิบัติงานและให้บริการ
                3.   ด้านพฤติกรรมการทำงานของข้าราชการ (Civil Servants)
                      3.1   ใฝ่รู้ ตื่นตัวในการศึกษาหาความรู้อย่างเสมอ (Alert) โดยเฉพาะความรู้ในด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
                      3.2   สร้างความเชื่อมั่นในตนเอง (Self-Confidence)
                      3.3   ยืนหยัดในความถูกต้อง (What’s Right)
                      3.4   คิดใหญ่ (Big Thinking) และทำให้ได้
                      3.5   มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Initiatives) ข้าราชการยุคใหม่จะต้องกล้าคิดกล้าทำ กล้าวิพากษ์ และสามารถใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการทำงาน
                      3.6   จะต้องทำงานเชิงรุก (Proactive)
                      3.7   ปรับปรุงการทำงานอยู่เสมอ (Continuous Improvement) 

บทสรุป

                กระบวนทัศน์ใหม่ในการปฏิรูประบบราชการที่ได้นำเสนอดังกล่าว เป็นแนวทางหนึ่งในการนำไปพัฒนาระบบราชการให้ก้าวไปสู่การเป็นราชการยุคใหม่ และพัฒนาไปสู่การเป็นรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) ต่อไป ทั้งนี้การปฏิรูประบบราชการให้ประสบความสำเร็จนั้น จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกส่วนในสังคม นับตั้งแต่ผู้บริหารระดับประเทศ ผู้บริหารระดับสูง นักวิชาการ ข้าราชการ สื่อมวลชน ภาคเอกชน และประชาชน ที่จะต้องช่วยกันปฏิรูปให้สำเร็จ เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายของการปฏิรูปภาครัฐที่ว่า เพื่อให้ประชาชนคนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความเป็นอยู่ที่ดี และมีความสุข สังคมไทยมีเสถียรภาพ ชาติไทยมีเกียรติภูมิ ได้รับความเชื่อถือ และมีความสามารถสูงในการแข่งขันในเวทีโลก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น