วันเสาร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

pa709 ผศ.ภีรภัทร

Innovation (pa709)

คำว่า นวัตกรรม หมายถึงการทำสิ่งต่างๆด้วยวิธีใหม่ๆ และยังอาจหมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางความคิด การผลิต กระบวนการ หรือองค์กร ไม่ว่าการเปลี่ยนนั้นจะเกิดขึ้นจากการปฏิวัติ การเปลี่ยนอย่างถอนรากถอนโคน หรือการพัฒนาต่อยอด ทั้งนี้ มักมีการแยกแยะความแตกต่างอย่างชัดเจน ระหว่างการประดิษฐ์คิดค้น ความคิดริเริ่ม และนวัตกรรม อันหมายถึงความคิดริเริ่มที่นำมาประยุกต์ใช้อย่างสัมฤทธิ์ผล (Mckeown, 2008) และในหลายสาขา เชื่อกันว่าการที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งจะเป็นนวัตกรรมได้นั้น จะต้องมีความแปลกใหม่อย่างเห็นได้ชัด และไม่เป็นแค่เพียงการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ เป็นต้นว่า ในด้านศิลปะ เศรษฐศาสตร์ เศรษฐกิจ และนโยบายของรัฐ ในเชิงเศรษฐศาสตร์นั้น การเปลี่ยนแปลงนั้นจะต้องเพิ่มมูลค่า มูลค่าของลูกค้า หรือมูลค่าของผู้ผลิต เป้าหมายของนวัตกรรมคือการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก เพื่อทำให้สิ่งต่างๆเกิดเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น นวัตกรรมก่อให้ได้ผลิตผลเพิ่มขึ้น และเป็นที่มาสำคัญของ

นวัตกรรมในองค์กร
ในบริบทขององค์กร เราอาจเชื่อมโยงนวัตกรรมเข้ากับสมรรถนะ และ การเติบโต ด้วยการพัฒนาประสิทธิภาพ ความสามารถในการผลิต คุณภาพ จุดยืนด้วยความสามารถในการแข่งขัน ส่วนแบ่งการตลาด ฯลฯ องค์กรทุกองค์กรสามารถสร้างนวัตกรรมได้ อาทิเช่น โรงพยาบาล มหาวิทยาลัย และรัฐบาลท้องถิ่น
นวัตกรรม
มีผู้ให้ความหมายไว้มากมาย ในยุคแรกๆ จะพูดถึงอะไรที่เป็นสิ่งใหม่ๆ เท่านั้น ต่อมา โรเจอร์ ได้เริ่มกล่าวถึง การแพร่กระจายของนวัตกรรมด้วย Diffusion of Innovation อย่างไรก็ดี คำจำกัดความที่ดูเหมือนจะครอบคลุมที่สุด คือ Invention + Commercialization หรือ ต้องมีการนำสิ่งประดิษฐ์ที่คิดว่าใหม่ ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จริง ทั้งทางธุรกิจ หรือ ทางสังคม ทั้งนี้รูปแบบของนวัตกรรม ก็สามารถแบ่งออกเป็นได้ตามรูปแบบ (Product, Service, Process) หรือ อาจแบ่งตามระดับความใหม่ก็ได้ ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มด้วยกัน ได้แก่ Incremental, Modular, Architectural และ Radical Innovation Teerapon.T (2008) กล่าวถึง Innovation หรือ นวัตกรรมว่า อาจหมายถึง สิ่งประดิษฐ์ หรือ สิ่งใหม่ ที่ต้องสร้างให้เกิดValue Creation 

"BRIC" ขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก

                เพราะ "บราซิล" ไม่ได้เด่นดังแค่เรื่องฟุตบอล และเทศกาลคาร์นิวัล "รัสเซีย" ก็ไม่ได้มีชื่อแค่วอดก้า คาเวียร์และจัตุรัสแดง "อินเดีย" ก็มีอะไรมากกว่าโรตีและทัช มาฮาล ส่วนความยิ่งใหญ่ของแผ่นดิน "จีน" ก็ไม่ได้สะท้อนแค่จากกำแพงเมืองจีน แต่ทั้ง 4 ประเทศนี้ มีอะไรมากกว่านั้น โดยเฉพาะในแง่ของศักยภาพทางเศรษฐกิจและการลงทุน





Knowledge provides the fuel of innovation-the changes that help it catch up and sometimes move ahead. (ความรู้ให้เชื้อเพลิงของนวัตกรรมการเปลี่ยนแปลงที่ช่วยให้มันจับขึ้นและบางครั้งก็ย้ายไปข้างหน้า)
The core competency argument, which suggests that organizations need to work at building and managing their knowledge resources. (Pralahad and Hamel, 1994)(มีข้อโต้แย้งที่ความสามารถหลักซึ่งแสดงให้เห็นว่าองค์กรที่ต้องไปทำงานที่การสร้างและจัดการความรู้แหล่งข้อมูล)
คนจริงๆเป็นองค์กรของทรัพย์สินที่มีค่ามากที่สุดเพราะคนที่ทำจริงแสดงขุมพลังของการเรียนรู้


ต้องการความคาดเดาในช่องเวลาที่เปลี่ยนแปลงไป
โดยสรุป  ทฤษฎีคลื่นยาวใช้สถิติประชากรศาสตร์  (Demographics)  มาพยากรณ์  (Forecast)  แบบวิถีการใช้จ่าย  (Spending  Patterns) 
และแบบวิถีของการพัฒนาเทคโนโลยีและวัตกรรม  (Technology  and  Innovation  Patterns)  ของคนทั้งสังคมใน  ช่วงวัย  ต่างๆ  ในแต่ละปีล่วงหน้าเป็นระยะเวลากว่าร้อยปี  ทำให้สามารถพยากรณ์ล่วงหน้าถึงสภาวะการเจริญเติบโตของระบบเศรษฐกิจทั้งระบบได้  โดยรอบหมุนของคลื่นเทคโนโลยีจะครบรอบทุก  40  ปี  (โดยประมาณ)  และรอบหมุนของคลื่นการใช้จ่ายจะครบรอบทุก  80  ปี  (โดยประมาณ)  ระวัง  A  Glimmer  of  Hope  กำลังจะกลายเป็นแสงจากรถไฟสวนทาง

Hollywood Model

การจัดองค์กรในรูปแบบ Hollywood Model เป็นการจำลองรูปแบบการทำงานในการสร้างภาพยนตร์ในฮอลลีวูด ของสหรัฐอเมริกาโดยมีหลักการสำคัญคือ การดึงคนที่มีความชำนาญในทักษะที่แตกต่างกันมาทำงานร่วมกันเพื่อให้งานสำเร็จ และเมื่อสิ้นสุดงาน ก็แยกย้ายกันไปทำงานตามความชำนาญกับทีมงานและโครงการอื่นๆ ต่อไป ทำให้การทำงานมีความยืดหยุ่น เป็นการทำงานเพื่อพัฒนาวิชาชีพ ประสบการณ์ มากกว่าการยึดติดกับโครงสร้างของทีมงาน

การทำงานแบบ Hollywood Model มีลักษณะดังนี้

สร้างทีมงานโดยการระดมบุคคลที่มีความสามาณแต่ละด้านมาร่วมกันทำงาน
มีความหลากหลายในการจ้างงาน ผู้ผลิตไม่จำเป็นต้องเปิดจ้างเอง แต่ใช้บริษัทจัดหางานจ้างคนหรือองค์กรที่เหมาะสมมาทำงานได้
จ้างเหมาทำงานบางส่วน หรือทั้งหมด
ไม่เป็นทีมงานที่ถาวร เมื่อจบโครงการ จะแยกย้ายออกไป และมีโครงสร้ามทีมที่ไม่ตายตัว
ใช้เครือข่ายในการทำงาน โดยจ้างเหมาะส่วนต่างๆ ของงาน
จัดทีมงานที่เน้นผลงาน (RBM) โดยระดมคนทำงานกลุ่มหนึ่งให้สำเร็จในระยะเวลาหนึ่ง



ด้วยแนวโน้มของเทคโนโลยี จะเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เขาเชื่อว่าโลกแบนราบเป็นโลกที่ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน   
โลกในปัจจุบันของเราเชื่อมกันทุกทิศทาง ฉะนั้นเราไม่สามารถมองว่าโลกเป็นแท่ง ๆ ได้อีกต่อไปแล้ว แต่เป็นแนวนอนที่เชื่อมโยงถึงกันจากที่ไหนก็เกิดขึ้นได้ เขาได้แบ่งโลกาภิวัตน์ ออกเป็น 3 ยุค ดังนี้ (ความหมาย : โลกาภิวัตน์ หรือ โลกานุวัตร (globalization)  คือ ผลจากการพัฒนาการติดต่อสื่อสาร การคมนาคมขนส่ง และเทคโนโลยีสารสนเทศ อันแสดงให้เห็นถึงการเจริญเติบโตของความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง เทคโนโลยี และวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงระหว่างปัจเจกบุคคล ชุมชน หน่วยธุรกิจ และรัฐบาล ทั่วทั้งโลก
ยุคโลกาภิวัตน์ 1.0 (ราว ค.ศ. 1492 – 1800) เป็นช่วงต้นที่มีการสำรวจเส้นการเดินทางบนโลก และการล่าอาณานิคม ประเทศที่เข้มแข็ง มีความเชี่ยวชาญด้านการเดินเรือและมีความรู้ด้านแผนที่ ก็มีโอกาสในการแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติจากประเทศที่อ่อนแอ และเพื่อเป็นตลาดสินค้า โดยใช้พลังอำนาจที่ตนมีอยู่ขยายอิทธิพลออกไป เช่น ประเทศล่าอาณานิคม อังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน ฯลฯ
ยุคโลกาภิวัตน์  2.0 (ราว ค.ศ. 1800 – 2000) เป็นช่วงที่เกิดการถดถอยทางเศรษฐกิจ และเกิดสงครามโลกทั้ง 2 ครั้ง โดยในช่วงแรกได้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution) เป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่ ในอังกฤษ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี เกิดขึ้นในค.ศ.ที่ 18 และ 19 โดยมีจุดเริ่มจากเทคโนโลยีเครื่องจักรไอน้ำ (ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงหลัก)ของเจมส์วัตต์  ทำงานด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมสิ่งทอ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและเศรษฐกิจถูกผลักดันด้วยการสร้างเรือ เรือกำปั่น และทางรถไฟที่อาศัยเครื่อง จักรไอน้ำ ความเจริญก้าวหน้าแผ่ขยายทั่วโลก ในช่วงครึ่งหลังของยุค มีตัวเร่งคือ ต้นทุนการสื่อสารโทรคมนาคมที่ต่ำลง อันเป็นผลมาจากการหลอมหลวมกันของเทคโนโลยีการสื่อสารและคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล โดยเริ่มมีอินเทอร์เน็ตใน
ยุคโลกาภิวัตน์ 3.0 (ตั้งแต่ ค.ศ. 2000 เป็นต้นมา) เป็นช่วงที่ปัจเจกชนมีอำนาจในการแข่งขันมากขึ้น ด้วยตัวเร่งจากเทคโนโลยีโลกดูเล็กลง กลไกในการเข้าถึงเทคโนโลยีเป็นเรื่องง่าย เกิดการบริหารแนวใหม่ ที่วัดกันด้วยมาตรฐานคุณภาพและการให้บริการ เพื่อช่วงชิงลูกค้า มีการลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศสูง และมีโลกไซเบอร์ ที่ช่วยเสริมสร้างอำนาจ ปัจเจกชนคนธรรมดา ให้สามารถสร้างเศรษฐกิจข้ามชาติได้ และสามารถสร้างพลังที่น่าเกรงขามในการต่อรองกับอำนาจรัฐได้ อีกทั้งการสร้างเครือข่ายของการเมืองภาคประชาชนอย่างเข้มแข็ง มีประสิทธิภาพด้วยเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ทรงอานุภาพ สนามแข่งขันได้ถูกปรับให้เท่าเทียมกัน
ฟรีดแมน ได้พูดถึงโลกแบนว่ามาจากปัจจัยที่ประสานพลังกันทำให้โลกแบนมีอยู่ 10 ประการ ปัจจัยเหล่านี้เกิดจากการผสมผสานกันระหว่างการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง การก่อกำเนิดของนวัตกรรม และการดำเนินธุรกิจของบริษัทต่าง ๆ ประกอบด้วย
  1. ยุคแห่งการสร้างสรรค์ครั้งใหม่ : เมื่อกำแพงพังทลายลงและวินโดวส์ถือกำเนิดขึ้นมา การพังทลายของกำแพงเบอร์ลินในวันที่ 9 พฤศจิกายน 1989 เป็นจุดเริ่มต้นในการปลดปล่อยประชาชน ที่ทำให้ทางเลือกของระบอบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมหมดสิ้นไป ดุลแห่งอำนาจทั่วโลกเปลี่ยนแปลงไปสู่การเกื้อหนุนต่อแนวทางประชาธิปไตย ภาครัฐต้องมีการปรับตัวจากเดิมที่รวมศูนย์กลางอำนาจไว้ไปเป็นแบบกระจายอำนาจเพื่อนำไปสู่การส่งบริการที่ดีขึ้น
  2. ยุคแห่งการเชื่อมต่อครั้งใหม่ : เมื่อเว็บไซต์แพร่หลายและเน็ตสเคปกลายเป็นบริษัทมหาชน การเกิดขึ้นของ Netscape และภาวะใหม่ที่มีอินเทอร์เน็ตเป็นศูนย์กลาง  ทำให้ลดข้อจำกัดในเรื่องของเวลาและภูมิศาสตร์ ผู้คนสามารถหาข้อมูลและความรู้ได้อย่างรวดเร็วและง่ายมากขึ้น มืออาชีพในภาครัฐสามารถใช้ e-network ในการแบ่งปันข้อมูลและตอบข้อซักถามระหว่างกันได้
  3. ซอฟแวร์ที่ช่วยให้การทำงานลื่นไหล (Work Flow Software) ระบบซอร์ฟแวร์นั้นเชื่อมโยงทุกช่วงของห่วงโซ่อุปทาน และระบบการทำงานที่ต่างกันเข้าไว้ด้วยกัน ทำให้การทำงานลื่น และการติดต่อสื่อสารกันอย่างใกล้ชิด ภาครัฐสามารถเชื่อมโยงระบบอิสระหรือระบบเดี่ยวทั้งในภาครัฐและ/หรือเอกชนได้ เช่น ระบบให้บริการคนป่วยทางจิตที่ไม่มีบัตรหรือจำอะไรไม่ได้
  4. อัพโหลด (Uploading) เทคโนโลยีในการอัพโหลดของพลังชุมชนออนไลน์กำลังจะกลายเป็นหนึ่งในรูปแบบความร่วมมือที่แปลกใหม่ที่สุดในโลกที่แบนราบ คนจำนวนมากสร้างสรรค์เนื้อหาด้วยตนเองหรือร่วมกับผู้อื่น เพื่อเผยแพร่ความคิดไปทั่วโลก พลังอำนาจที่เพิ่งค้นพบช่วยให้ปัจเจกบุคคลและชุมชนส่งผลงานและความคิดเห็นสู่ระบบออนไลน์ได้ ผู้คนกำลังเปลี่ยนสถานะจากผู้รับเป็นผู้ให้และมีส่วนร่วม Open-sourcing เช่น เมือง Palo Alto ใช้ “Wikis” เป็นแหล่งข้อมูลเปิดให้ทุกคนที่ต้องการนำเสนอข้อมูลที่น่าสนใจเพื่อพัฒนาฐานความรู้
  5. เอาต์ซอร์ซ (Outsourcing) หมายถึง การมอบหมาย หรือจ้างให้คนภายนอกที่มีความชำนาญมาทำงานบางอย่าง แทนเรา หรือการทำงานร่วมกัน อินเดีย เป็นตัวอย่างผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการ Outsource ทางด้านไอที  ภาครัฐมีการกระทำเช่นกัน เช่น บริการทำความสะอาด  ระบบการจัดการขยะแข็ง  การขนส่ง  การจัดการทรัพยากรมนุษย์  แผนกดับเพลิง  ตำรวจและบริการเทียบปรับ  บรรณารักษ์  และบริการทางการแพทย์สำหรับคนจน ซึ่งส่วนมากจะทำให้รัฐได้ประโยชน์จากมาตรฐานและประสิทธิภาพ การทำงานที่ได้มาตรฐาน แต่จ่ายในราคาที่ถูกกว่า 
  6. การย้ายฐานการผลิตไปต่างแดน  (Offshoring) เมื่อเทียบกับ Outsourcing คือให้คนอื่นทำงานให้เฉพาะบาง function แต่ Offshoring เป็นการยกโรงงานทั้งโรงไปไว้ที่ต่างประเทศ แต่กระบวนการผลิตและตัวสินค้ายังคงเหมือนเดิม โดยเชื่อมโยงด้วยห่วงโซ่อุปทาน ด้วยเหตุผลด้านค่าแรงงาน ค่าภาษีต่ำกว่า และความช่วยเหลือด้านพลังงาน
ห่วงโซ่อุปทาน (Supply-Chaining) วอลมาร์ท  ผลิต คือ ห่วงโซ่ที่ยอดเยี่ยมและมีประสิทธิภาพสูงที่สุดในโลก และได้นำเทคโนโลยี RFID (Radio Frequency Identification) มาใช้ในระบบลำเลียงสินค้า วิธีหนึ่งคือการเปลี่ยนจำนวนสินค้าคงคลังให้เป็นข้อมูลซึ่งวอลมาร์ทเป็นผู้บุกเบิกวิธีนี้  เช่น  e-Seal ของกรมศุลกากร
  1. อินซอร์ซ (Insourcing ) การ outsource เป็นการยกกระบวนการออกไปทำภายนอก ส่วน insource เป็นการให้คนภายนอกเข้ามาดำเนินการกิจกรรมภายใน  เช่น ภาครัฐไม่พอใจในการจัดทำรายการของสถานีโทรทัศน์ท้องถิ่น  จึงนำเอาหน่วยผลิตรายการมาภายนอกมาดำเนินการ ทำให้สามารถควบคุมข่าวสาร เวลาในการรับชม และเชื่อมโยงต่อสื่ออื่น ๆ ได้ด้วย เช่น เว็บไซด์
  2. อินฟอร์ม (In-forming) คือการสร้างและขับเคลื่อนห่วงโซ่อุปทานของตัวคุณเอง ที่ประกอบด้วยข้อมูล ความรู้ และอื่น ๆ การที่เราสามารถหาข้อมูลความรู้และติดต่อสื่อสารกันได้ง่าย ทางอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็น Google, Yahoo, MSN  ประชาชนอาจคาดหวังว่ารัฐบาลในท้องถิ่นจะติดต่อกับตนผ่านทาง Facebook ก็ได้  นอกจากนี้รัฐในหลายพื้นที่ใช้การทำ CRM software ที่สามารถเชื่อมประชากรด้วยข้อมูลหรือบริการที่เขาสนใจ  โดยไม่จำเป็นต้องใช้พนักงาน
  3. สารกระตุ้นพลัง (The Steroids) เป็นเรื่องของคำสี่คำที่เปลี่ยนพฤติกรรมของคนทั้งโลกคือ Digital, Mobile, Personal และ Virtual  โดย Digital จะใช้ในการแทนการเก็บเนื้อหาและใช้ในการสื่อสารข้อมูล Mobile คือสภาพที่เคลื่อนที่ไปได้ ทำให้การสื่อสารเปลี่ยน สภาพจากความนิ่งอยู่กับที่เป็นเคลื่อนไปเคลื่อนมา ด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกประเภท  Personal ความเป็นส่วนตัวที่สามารถทำเองได้ เพื่อตัวคุณเอง ด้วยอุปกรณ์ของคุณเอง Virtual คือกระบวนการปรับแต่ง ดัดแปลงให้มีความเสมือนจริงและส่งผ่านเนื้อหาในรูปแบบดิจิตอล  เช่น Cyber ClassRoom ก็คือการเรียนผ่านคอมพิวเตอร์และเครือข่าย หรือ Internet banking จากตัวกระตุ้นทั้งสี่เป็นตัวเร่งทำให้โลกแบนลง
ในมุมมองหนึ่ง สินค้าที่ขึ้นชื่อว่าเป็นนวัตกรรม กลายเป็นสินค้าพื้น ๆ อย่างรวดเร็วชนิดที่ไม่เคยเป็นมาก่อน คู่แข่งจากทั่วทุกมุมโลกทำให้การแข่งขันทวีความรุนแรงอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน กระแสแฟชั่นโลกที่เกิดขึ้นและเสื่อมลงราวกับสายฟ้าแลบ ในโลกที่เป็นเช่นนี้ ด้วยสาเหตุใด และทุกคนกำลังหาห่วงโซ่อุปทานที่ชาญฉลาดและมีความเร็วสูง นับเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งในการดีดตัวเองให้เหนือกว่าคู่แข่ง โลกกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างไร้ทิศทางหรือไม่ หรือเรากำลังเดินหลงทางอยู่บนโลกใบนี้  นัยสำคัญสำหรับภาครัฐในการดำเนินการด้านนวัตกรรม
1.  สร้างวิสัยทัศน์และคุณค่านวัตกรรมมักจะประสบผลสำเร็จเมื่อชี้นำด้วยคุณค่าหลักและวิสัยทัศน์ เพื่อผลสำเร็จที่ดีกว่านั่นเอง
2. สร้างและรักษาวัฒนธรรมนวัตกรรมสิ่งสำคัญคือต้องมีความหลากหลาย (diversity) ทั้งทางด้านวัฒนธรรม มุมมอง แนวคิด จะช่วยเพิ่มโอกาสในการมองสิ่งต่าง ๆ ในวิธีการใหม่
3. ใช้วิกฤตการณ์ครั้งสำคัญหรือโอกาสในการก่อให้เกิดนวัตกรรม   วิกฤตมักจะกระตุ้นความคิดและกดดันให้ต้อง ใช้เวลาในการศึกษา ภาครัฐสามารถใช้เทคนิค เช่น สมมติฐานย้อนกลับในการมองหานวัตกรรมในระหว่างวิกฤต  ยกตัวอย่างในกรณีของนักผจญเพลิงที่ต้องดับไฟป่า
4. สร้างความร่วมมือ  นำเอากลุ่มสนใจที่หลากหลายเข้ามาร่วมกัน  ซึ่งจะช่วยให้เกิดการพัฒนาความคิดและแบ่งอำนาจร่วมกันได้  เช่น Public-Private Partnerships (PPPs)
5.การให้รางวัลและยกย่องบุคลากรที่สนับสนุนหรือมีผลงานนวัตกรรมให้ดำเนินการเหมือนเช่นภาคเอกชนที่ให้ความสำคัญด้านนี้  ทั้งทางด้านขวัญกำลังใจและเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับคนเหล่านี้ ซึ่งจะทำให้ลดอุปสรรคในองค์การได้
6. หานวัตกรรมใหม่ในสายงานหรือแนวคิดที่ไม่เกี่ยวข้องกันยกตัวอย่าง เช่น งานตำรวจกับงานห้องสมุด
7 แสดงออกถึงความกล้าหาญเราจำเป็นต้องต่อสู้ไม่เพียงแค่พิสูจน์ว่าถูกเท่านั้น  แต่ต้องมีประสิทธิภาพด้วย อาจต้องทั้งเสียสละ แสดงออกและมีความยืดหยุ่น
8. ยึดมั่นในการกระทำหรือนวัตกรรมที่สำคัญพยายามดำเนินการและแสดงในการทดสอบเบื้องต้นในประสิทธิภาพนวัตกรรมนั้น ๆ ชัยชนะไม่ได้มาเพียงแค่วันเดียว
9. สร้างผู้นำที่ได้รับการยอมรับผู้นำที่ได้การยอมรับจะสามารถนำพานวัตกรรมในองค์การได้  สามารถสร้างทีมงาน มีวิสัยทัศน์และมีอิทธิพลต่อคนอื่นได้
10. แบ่งปันพรสวรรค์สิ่งนี้สำคัญที่สุดในองค์การภาครัฐ  นวัตกรรมจำเป็นต้องนำไปทำซ้ำหรือปรับใช้ให้รวดเร็ว เพราะสิงโตวิ่งเร็วกว่าคน นวัตกรรมจึงจำเป็นต้องดีกว่าและสามารถแก้ไขปัญหาตรงจุดมากขึ้น ดังนั้นนวัตกรรมจะมีผลกระทบเกิดขึ้นมากหากเราสามารถเร่งการยอมรับของคนในองค์การนั่นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น