แผนพัฒนาฯ เป็นนโยบายสาธารณะแห่งชาติ โดยเดิมทีประเทศของเราไม่มีการวางแผนเลยในเวลาทำอะไร เพิ่งเริ่มมีการวางแผนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504 เป็นต้นมา เรามีแผนพัฒนาฯ ฉบับแรกโดยที่เริ่มตั้งแต่รัฐบาล จอมพลสฤษดิ์ฯ ถ้าดูยุดรัฐบาลของจอมพลสฤษดิ์ ขึ้นมามีอำนาจด้วยการปฏิวัติ จอมพลสฤษดิ์ไม่ได้จบการศึกษา จากเมืองนอกเหมือนจอมพล ป.หรือคนอื่นๆที่จบการศึกษามาในยุคนั้น โดยจอมพลสฤษดิ์เรียนจบจากโรงเรียนทหารของเมืองไทย จอมพลสฤษดิ์ได้นำเสนอ โปรโมทแนวทางประชาธิปไตยในรูปแบบของแก คือประชาธิปไตยแบบไทยๆ ในสมัยนั้นการเมืองเริ่มนิ่ง จอมพลสฤษดิ์สามารถควบคุมการเมือง การปกครองได้ ในช่วงนั้นประเทศมีการพัฒนาและมีความเจริญค่อนข้างมาก โดยมีความสัมพันธ์ที่ดีกับสหรัฐอเมริกา ซึ่งอเมริกาได้ใช้ไทยเป็นฐานทัพในการทำสงครามเวียดนาม และอเมริกาก็เริ่มมีอิทธิพลและให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศไทย ซึ่งยุคนี้เป็นยุคเริ่มต้นและเป็นยุคทองในการวางแผนพัฒนาประเทศ
โดยแผนพัฒนาจะมีช่วงการดำเนินการในวาระ 4 ปี เริ่มจากแผนพัฒนาฉบับที่ 1 ปีพ.ศ. 2504-2509 ซึ่งรูปแบบของแผนพัฒนาฯของไทยได้ลอกแบบของอเมริกามา จึงได้มีการจัดตั้งสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผน1 แผน จะเน้นการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจด้วยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศก่อน ซึ่งประเทศไทยได้วางโครงสร้างพื้นฐานเช่น ถนน ระบบประปา ระบบไฟฟ้า และสาธารณูปโภคอื่นๆเพื่อรองรับในการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาประเทศ ช่วงนั้นสหรัฐฯได้เข้ามาช่วยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโดยการช่วยทำถนน เช่นถนนสุขุมวิท ถนนพหลโยธินเป็นต้น ซึ่งตอนนั้นมองความเจริญเป็นความเจริญทางวัตถุโดยปรับระบบเศรษฐกิจให้เข้ากับการพัฒนาวัตถุ โดยได้รับแรงหนุนจากสหรัฐฯ ซึ่งช่วงนั้นแผนฯจะเป็นลักษณะ Top-down Planning ก็คือเป็นแผนที่ส่งตรงมาจากส่วนกลางลงไปที่ส่วนภูมิภาค ซึ่งเราก็ได้เห็นหน่วยงานที่พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น รพช. (สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท)
ยุคต่อมาแผนพัฒนาฯฉบับที่ 3 พ.ศ.2515-2519 และแผนพัฒนาฯฉบับที่ 4 พ.ศ.2520-2524 ในยุคนี้เป็นยุคที่ต่อเนื่องหลังจากที่ได้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานได้พอสมควรแล้ว เมื่อโครงสร้างพื้นฐานพร้อมแล้วจึงได้เริ่มมีการตั้งโรงงานในเขตจังหวัดใกล้เคียงกับ กรุงเทพเพื่อความสะดวกในการขนส่งสินค้ามาขายในเมือง โดยช่วงนั้นประเทศไทยได้เปลี่ยนตัวเองเป็นประเทศอุตสาหกรรมมากขึ้น จากเดิมที่เป็นการผลิตในประเทศเพื่อทดแทนการนำสินค้าเข้า พอผลิตได้เยอะขึ้นก็เปลี่ยนมาเป็นการส่งออก ทำให้เศรษฐกิจมีการขยายตัว แต่ยุคนั้นจะมีความผันผวนทางการเมืองสูง เกิดการประท้วงรัฐบาลของนักศึกษา เกิดเหตุการณ์ความรุนแรงในเดือนตุลาคม2516 เนื่องจากในประชาชนมีรายได้เพิ่มจากเศรษฐกิจที่ดีขึ้น จนเกิดชนชั้นกลาง และมีการตั้งมหาวิทยาลัย มากขึ้นทั้งในส่วนกลางและต่างจังหวัด ประชาชนจึงได้ส่งลูกเข้าเรียนมหาลัย เยาวชนเหล่านี้เมื่อได้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยจึงมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางอุดมการณ์การปกครองในระบบประชาธิปไตย ในยุคนั้นในต่างประเทศก็เกิดภาวะสงครามเย็น ที่มีการสู้รบกันระหว่างแนวความคิดสังคมนิยมของโซเวียต กับประชาธิปไตยของอเมริกา และเมื่อเห็นว่าในประเทศมีการปกครองภายใต้เผด็จการอำนาจนิยมทหารที่มีการสืบทอดอำนาจ จึงรวมตัวกันออกมาเคลื่อนไหวประท้วงรัฐบาล และแนวทางการต่อสู้ของนักศึกษาก็ได้รับชัยชนะ โดยได้โค่นล้มรัฐบาลเผด็จการทหารลงได้ ต่อมาจึงนายสัญญา ธรรมศักดิ์ ซึ่งเป็นพลเรือน จึงได้ขึ้นเป็นนายกฯและได้มีการร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีแนวทางเป็นประชาธิปไตยมากในสมัยนั้น ซึ่งช่วงปีพ.ศ.2516-2519 ประชาชนมีเสรีภาพในการปกครองมาก จึงเกิดการรวมตัวเคลื่อนไหวประท้วงไม่ใช่เฉพาะนักศึกษา แต่ยังมีกลุ่ม ต่างๆที่เรียกร้องสิทธิของตนเช่นกลุ่มผู้ใช้แรงงาน ซึ่งผู้ใช้แรงงานก็เกิดจากการเปลี่ยนประเทศจากเกษตรกรรมมาเป็นอุตสาหกรรม จากแผนฯ1 แผนฯ2 ที่สร้างโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อเปลี่ยนประเทศเข้าสู่การพัฒนาด้านอุตสาหกรรมมากขึ้น ทำให้ไม่ได้ไปดูแลภาคเกษตรกรรม ในการสร้างโรงงานอุตสาหกรรมนั้น ก็ต้องการแรงงานเข้ามาสู่ภาคอุตสาหกรรมนี้ แรงงานคนหนุ่มสาวภาคเกษตรจึงเคลื่อนเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมเป็นจำนวนมาก คนหนุ่มสาวก็ทิ้งบ้านตนเองที่อยู่ชนบทแล้วก็เข้ามาอยู่รวมกันในเมือง ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงงาน วิถีชีวิตก็เปลี่ยนไป การอยู่ในโรงงานกับอยู่ในชนบทมันต่างกัน เพราะการอยู่ในชนบทจะเป็นวิถีชีวิตที่พึ่งพากัน แต่อยู่ในเมืองต้องอยู่อย่างแออัด ซึ่งมีนักทฤษฎีหลายคน ได้ตั้งสมมุติฐานว่า สังคมประชาธิปไตยจะเกิดได้ต้องเป็นสังคมเมือง ต้องเป็นสังคมที่คนรวมกันอยู่แออัด และก็มีความเป็นปัจเจกสูง เวลาโหวตจะได้ไม่มีการซื้อเสียง ซึ่งพวกที่อยู่ในโรงงานจะอยู่ในสภาวะที่ไม่ค่อยดี ถูกกดขี่แรงงานจากนายจ้าง กลุ่มผู้ใช้แรงงานจึงรวมตัวกันประท้วงโดยมีกลุ่มนักศึกษาเป็นผู้สนับสนุน จึงเกิดการเคลื่อนไหวประท้วงในช่วงนี้ถี่มาก ซึงสถิติการประท้วงตั้งแต่ 14 ต.ค.16-6ต.ค. 19 จะเกิดการประท้วงขึ้นเยอะมาก จึงเกิดความไม่พอใจกับประชาชนอีกกลุ่มที่คิดว่าประเทศมีแต่การประท้วงจนไม่มีเวลาไปพัฒนาประเทศแล้วจะไปแข่งกับประเทศอื่นได้อย่างไร ดังนั้นในเหตุการณ์ 6 ต.ค.19 จึงเป็นเหตุการณ์ในลักษณะ ขวาพิฆาตซ้าย คือจะเป็นในลักษณะอนุรักษ์นิยมต่อสู้กับสังคมนิยมแบบคอมมิวนิสต์ ที่เสนอความเท่าเทียมกันในสังคม ซึ่งในเหตุการณ์ 6 ต.ค.19 ฝ่ายนักศึกษาเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ กลุ่มนักศึกษาจึงหนีเข้าป่า โดยมีการรวมกลุ่มกันเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลทหารในป่า ซึ่งในยุคนี้จะมีความผันผวนทางการเมืองเป็นอย่างมาก แต่ในช่วงแผนฯ3 แผนฯ 4 นี้ก็ได้ เริ่มมีการพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่กับการพัฒนาด้านสังคม เพราะรัฐบาลเริ่มตระหนักแล้วว่าพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเดียวคงเอาตัวไม่รอด การพัฒนาเศรษฐกิจกลายเป็นว่ามีคนแค่กระจุกเดียวที่ได้ประโยชน์จากการพัฒนาเศรษฐกิจนั้น แต่ผู้ใช้แรงงานและคนส่วนใหญ่ก็ยังไม่ลืมตาอ้าปากได้ แผนพัฒนฯก็เลยเกลี่ยไปพัฒนาด้านสังคมด้วย ช่างนี้ก็ยังเป็น Top-down Planning ก็คือเป็นแผนที่ส่งตรงมาจากส่วนกลางลงไปที่ส่วนภูมิภาค พอเสร็จสิ้นแผนฯ4 ก็เข้าสู่แผนฯ5 ซึ่งการเมืองเริ่มเป็นประชาธิปไตย แต่เป็นประชาธิปไตยแบบครึ่งใบ คือไม่เป็นประชาธิปไตยเต็มรูปแบบเช่น ส.ว.มาจากการแต่งตั้ง นายกฯมาจากการแต่งตั้งจากบุคคลภายนอกไม่ใช่เป็นส.ส. และไม่ได้รับเสียงโหวตในสภาฯให้เป็นนายกฯ ซึ่งยุคนี้อยู่ช่วงแผนฯ 5,6,7 และการเมืองเริ่มนิ่ง อยู่ในช่วงสมัยพลเอก เปรมเป็นนายกฯ แต่การเมืองสมัยนี้ก็ยังมีแรงกระเพื่อม เช่นการลอบฆ่านายก,ผู้นำทหาร แต่ก็ยังทำไม่สำเร็จและพลเอกเปรมสามารถควบคุมการเมืองได้ ช่วงประชาธิปไตยครึ่งใบนี้ก็เริ่มให้พื้นที่กับนักการเมืองเพิ่มมากขึ้น จากเดิมที่ทหารคุมทั้งหมด โดยมีระบบการเลือกตั้ง มีระบบรัฐสภาที่เข้มแข็งมากขึ้น การเมืองมีเสถียรภาพมั่นคงมาก เมื่อการเมืองนิ่งเศรษฐกิจก็เริ่มดีขึ้นเรื่อยๆ นำไปสู่การมุ่งขยายการพัฒนาชนบท ซึ่งช่วงนั้นแผนฯเริ่มที่จะเป็นลักษณะ Top-down & Bottom Up Planning ก็คือเป็นแผนที่ส่งตรงมาจากส่วนกลางลงไปที่ส่วนภูมิภาค และส่วนภูมิภาคก็ยังมีโอกาสเสนอแนวทางพัฒนาในระดับล่าง ขึ้นไปยังส่วนกลาง แต่ในช่วงพลเอกเปรม นั้นก็ยังมีปัญหาเศรษฐกิจ เกี่ยวกับปัญหาน้ำมันแพงในตลาดโลก ซึ่งส่งผลกระทบเศรษฐกิจทั่วโลกรวมถึงในประเทศไทย พลเอกเปรมจึงแก้ปัญหาโดยออกนโยบายรัดเข็มขัดทางการคลัง ไม่ให้ใช้จ่ายฟุ่มเฟือยรวมไปถึงรณรงค์ให้ประชาชนประหยัดพลังงานเช่นรณรงค์ให้ปิดไฟ ทีวีไม่แพร่ภาพช่วงหัวค่ำที่มีคนดูเยอะ เป็นนโยบายที่ช่วยให้ประหยัดได้จริง
หลังจากช่วงพลเอกเปรม พลเอกชาติชาย ชุณหวัน ก็ได้เข้ามาเป็นนายก โดยเป็นนายกที่ได้รับเสียงโหวตจากสภาเป็นคนแรก โดยใช้สแกนในการหาเสียงว่าถ้าอยากให้เศรษฐกิจดีต้องเลือกพลเอกชาติชายฯ และเมื่อได้เข้ามาเป็นนายยกฯแล้วก็ได้ใช้นโยบายเปลี่ยนสนามรบให้เป็นสนามการค้า ซึ่งพลเอกชาติชายมีพื้นฐาน ในการเป็นทูตทหารจึงได้เห็นบริบทการเปลี่ยนแปลงของประเทศต่างๆจึงได้นำความรู้ด้านการทูตมาจัดทำนโยบาย ซึ่งเป็นแนวคิดแบบทหารหัวสมัยใหม่ ความเจริญเศรษฐกิจในช่วงนั้นได้รับผลจากการดำเนินนโยบายนี้และได้รับผลจากเศรษฐกิจภายนอกประเทศที่ค่าเงิน เยน ของญี่ปุ่นแข็งตัว ทำให้สินค้าอุตสาหกรรมต่างๆที่ผลิตในญี่ปุ่นมีต้นทุนและราคาสูงเนื่องมาจากการแข็งตัวของค่าเงินในญี่ปุ่นเอง ญี่ปุ่นจึงแก้ปัญหานี้โดยย้ายฐานการผลิตมายังประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งในสมัยนั้นญี่ปุ่นมองว่าประเทศไทยมีศักยภาพสูงสุดในภูมิภาคนี้ มีความพร้อมในการวางฐานการผลิตสินค้าของญี่ปุ่น ซึ่งฝีมือทักษะของแรงงานไทย มีความละเอียดและคุณภาพใกล้เคียงกับประเทศญี่ปุ่น ในยุคนี้ได้เปลี่ยนสินค้าส่งออก จากที่ส่งออกข้าวเป็นอันดับหนึ่งของประเทศกลายมาเป็นสินค้าประเภทอิเล็กทรอนิกส์ และชิ้นส่วนยานยนต์ ที่มีการส่งออกสูงมาก เศรษฐกิจในช่วงนี้มีความคล่องตัวสูงเพราะญี่ปุ่นได้ย้ายฐานการผลิตและได้นำเงินมาลงทุนในประเทศไทยจำนวนมากและได้มีการขยายโรงงานออกไปตามต่างจังหวัด และขยายถนนเป็นโครงข่ายโลจิสติกส์ ใช้สำหรับขนส่งสินค้า ซึ่งทำให้เป็นการพัฒนาชนบทไปในตัว เป็นการสร้างงานเป็นอย่างมาก ทำให้เศรษฐกิจโตอย่างรวดเร็ว จนเกิดชนชั้นกลางเป็นจำนวนมาก แต่ในสมัยนั้นก็มีการทุจริตในรัฐบาลเป็นอย่างมาก จนถูกเรียกว่าเป็นการทุจริตแบบบุปเฟ่คาบิเน็ส จนเกิดเหตุการณ์ปฏิวัติรัฐประหาร และเกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ หลังจากนั้นนายอานันท์ ปันยารชุณ ก็ได้ขึ้นมาเป็นนายกฯ นายอานันท์ได้เข้ามาโดยการแต่งตั้งแต่ก็ไม่ได้เป็นนายกฯที่เข้ามารักษาการ เหมือนคนอื่นๆ นายอานันท์ได้มีนโยบายปรับปรุงประเทศในหลายๆเรื่องเช่น ทำแท็กซี่มิเตอร์ และแก้ไขเกี่ยวกับเรื่องเงินทุน ที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศได้อย่างเสรี คือเปิดเสรีทางด้านการเงิน ทำให้เงินต่างประเทศไหลเข้ามาในประเทศเป็นอย่างมาก แต่เงินที่ไหลเข้ามานั้น ไม่ได้เข้ามาเพื่อลงทุนสร้างเศรษฐกิจแต่เป็นการไหลเพื่อเข้ามาให้นักลงทุนได้กู้ ซึ่งนักลงทุนในประเทศเข้าถึงแหล่งเงินกู้ได้ง่าย ทำให้เหมือนเศรษฐกิจพองตัว แต่แท้ที่จริงแล้ว การกู้ส่วนมากจะกู้ไปเพื่อเก็งกำไร โดยการซื้อที่ดิน อสังหาริมทรัพย์ และลงทุนในสินค้าที่คิดว่าเก็บไว้เพื่อเก็งกำไรในอนาคต ปรากฏว่า ต่อมาสินค้าสินค้าเหล่านั้นขายคืนไม่ได้กำไรอย่างที่นักลงทุนคิด เกิดหนี้เสีย ในสมัยรัฐบาลนายกฯเชาวลิต ยงใจยุทธอย่างมาก จนเกิดภาวะที่เรียกว่าฟองสบู่แตก เป็นผลมาจากที่ชนชั้นกลางชนะในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ทำให้ชนชั้นกลาง ฮึกเหิมและคิดว่าสามารถกำหนดเศรษฐกิจได้ พอเกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง เมื่อปี 2540 ทำให้รัฐบาลนายกฯเชาวลิตต้องลาออก ชนชั้นกลางมีหนี้สินเป็นจำนวนมาก ต่อมานายกฯชวนก็เข้ามาเป็นรัฐบาล และแก้ปัญหาเรื่องการเงินโดยไปกู้ IMF และอยู่ภายใต้การครอบงำของIMF ซึ่งต้องทำตามนโยบายทางการเงินที่ IMF กำหนด จนรัฐบาลนี้ถูกเรียกว่าเป็นเด็กดีของIMF ภาวะเศรษฐกิจในช่วงนี้สถาบันการเงินและธนาคารมีหนี้สินจำนวนมาก และจะกลายเป็นหนี้เสีย รัฐบาลกลัวว่าสถาบันการเงินเหล่านั้นจะล้ม จึงให้โอนหนี้ของสถาบันการเงินให้เข้าระบบมาเป็นหนี้ของรัฐบาล สร้างความไม่พอใจกับประชาชนและผู้มีเงินฝากในธนาคารเนื่องจากต้องรับภาระหนี้ที่ไม่ได้ก่อนั้นด้วย หนี้เหล่านั้นกลายเป็นหนี้สาธารณะไป ซึ่งเป็นการไม่แฟร์ในการแก้ปัญหาหนี้ แต่รัฐบาลก็ไม่รู้จะทำอย่างไร ซึ่งวิกฤตในปี2540 นี้เป็นวิกฤตที่สภาพัฒน์ฯไม่ได้คาดการณ์มาก่อน จึงปรับตัวไม่ทันในเรื่องของการจัดทำแผนฯ ในแผนฯฉบับที่ 8 จึงยึดคนเป็นจุดศูนย์กลางในการพัฒนา และมาปรับตัวในแผนฯที่ 9คือเน้นการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมโดยเน้นพัฒนาในเชิงเศรษฐกิจพอเพียง เนื่องจากแผนฯที่ผ่านๆมาเน้นการเปิดประเทศ และประเทศได้รับผลกระทบจากกระแสทุนนิยมเป็นอย่างมากทำให้ประเทศปรับตัวไม่ทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงของกระแสทุนนิยม จึงต้องหันมาเน้นแนวทางของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจอีกรอบ โดยแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงนี้ใด้ใช้เป็นแนวทางต่อเนื่องจนมาถึงแผนปัจจุบันคือแผนฯที่10 โดยได้มุ่งพัฒนาสู่ สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน คนไทยมีคุณธรรมนำความรอบรู้ รู้เท่าทันโลก ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง สังคมสันติสุข เศรษฐกิจมีคุณภาพ เสถียรภาพ และเป็นธรรม สิ่งแวดล้อมมีคุณภาพและทรัพยากรธรรมชาติยั่งยืน อยู่ภายใต้ระบบบริหารจัดการประเทศที่มีธรรมาภิบาล ดำรงไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และอยู่ในประชาคมโลกได้อย่างมีศักดิ์ศรี
จะเห็นได้ว่าแผนฯของไทยจะเน้นพัฒนาเศรษฐกิจเป็นหลัก ในช่วงของการพัฒนาประเทศในช่วงแรก แล้วค่อยๆมากลับลำมาเน้นพัฒนาคนทีหลัง เน้นเรื่องความพอเพียงทีหลังนะคะ ในขณะที่ประเทศสิงคโปร์ จะเน้นพัฒนาคนก่อน เพราะประเทศสิงคโปร์เป็นประเทศเล็กเทียบไม่ได้กับประเทศไทย ประเทศสิงคโปร์กลัวประเทศไทยมากเพราะไทยมีทรัพยากรพร้อมทุกอย่าง จึงได้จ้างอาจารย์มหาลัย ในอังกฤษมาวางยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศ ซึ่งก็ต้องเน้นเรื่องการพัฒนาคน เพราะสิงค์โปรไม่มีทรัพยากรอื่นๆมากมายนอกจากทรัพยากรมนุษย์ จึงต้องเน้นพัฒนาคน แต่ถ้าถามว่าเมืองไทยมีศักยภาพดีไหม๊ ซึ่งจริงๆแล้วไทยมีศักยภาพในการพัฒนาดีมากแต่เราต้องมาให้ถูกทาง โดยเรามีวัฒธรรมที่เข็มแข็งในการที่จะก้าวไปข้างหน้า
สรุปสาระสำคัญของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1-10
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 พ.ศ.2504-2509
เน้นเฉพาะด้านเศรษฐกิจเป็นสำคัญ โดยเฉพาะการลงทุนใน สิ่งก่อสร้างขั้นพื้นฐานในรูปแบบของระบบคมนาคมและ ขนส่ง ระบบเขื่อนเพื่อการชลประทานและพลังงานไฟฟ้า สาธารณูปการ ฯลฯ รัฐทุ่มเททรัพยากรเข้าไปเพื่อการปู พื้นฐานให้มีการลงทุนในด้านเอกชนเป็นหลัก
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ.2510-2514
ยึดแนวทางแผน 1 โดยขยายขอบเขตของแผนให้ครอบคลุม ถึงการพัฒนาของรัฐ โดยสมบูรณ์กระจายให้บังเกิดผลไปทั่ว ประเทศ เน้นเขตทุรกันดารและห่างไกลความเจริญ และมี โครงการ พิเศษนอกเหนือไปจากหน้าที่ปกติของกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ เช่น โครงการพัฒนาภาค โครงการเร่งรัด พัฒนาชนบทและโครงการช่วยเหลือชาวนา ฯลฯ
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ.2515-2519
1.รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ โดยรักษาอัตราการขยายตัวของปริมาณเงินตรา, รักษาระดับราคาสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพ, รักษาเสถียรภาพทางการเงินระหว่างประเทศ, ส่งเสริมการส่งออก, ปรับปรุงโครงสร้างการนำเข้า
2. ปรับปรุงโครงสร้างทางเศรษฐกิจและยกระดับการผลิต เร่งรัดการส่งออกและทดแทนสินค้านำเข้า ปรับงบลงทุนในโครงการก่อสร้างมาสนับสนุนการลงทุนเพื่อใช้ประโยชน์จากโครงการขั้นพื้นฐานที่มีอยู่
3. กระจายรายได้และบริการทางสังคม โดยลดอัตราการเพิ่มประชากร กระจายบริการเศรษฐกิจและสังคมสู่ชนบท ปรับปรุงสถาบันและองค์กรทางด้านเกษตรและสินเชื่อ รักษาระดับราคาสินค้าเกษตร
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 4 พ.ศ.2520-2524
1. เน้นการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศโดยมุ่งขยายการผลิต สาขาเกษตร, ปรับปรุงโครงสร้างอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อส่ง ออก, กระจายรายได้และการมีงานทำในภูมิภาค, มาตรการ กระตุ้นอุตสาหกรรมที่ซบเซา, รักษาดุลการชำระเงินและการ ขาดดุลงบประมาณ
2. เร่งบูรณะและปรับปรุงการบริหารทรัพยากรหลักของชาติ รวมทั้งการนำเอาทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ โดยเฉพาะที่ดิน แหล่งน้ำ ป่าไม้และแหล่งแร่, เร่งรัดการปฏิรูปที่ดิน, จัดสรร แหล่งน้ำในประเทศ, อนุรักษ์ทะเลหลวง, สำรวจและพัฒนา แหล่งพลังงานในอ่าวไทยและภาคใต้ฝั่งตะวันออก
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 พ.ศ.2525-2529
1. ยึดพื้นที่เป็นหลักในการวางแผน กำหนดแผนงานและโครง การให้มีผลทางปฏิบัติทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เช่น พื้นที่ เป้าหมายเพื่อพัฒนาชนบท พื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก พื้น ที่เมืองหลัก ฯลฯ
2. เน้นการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจการเงินของประเทศ เป็นพิเศษโดยการเร่งระดมเงินออม, สร้างวินัยทางเศรษฐกิจ การเงิน และการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจต่าง ๆ เช่น ปรับ โครงสร้างการเกษตร ปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมเพื่อการส่ง ออกและกระจายอุตสาหกรรมไปสู่ส่วนภูมิภาค, ปรับโครง สร้างการค้าต่างประเทศ และบริการ, ปรับโครงสร้างการผลิต และการใช้พลังงาน ฯลฯ
3. เน้นความสมดุลในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมของ ประเทศ
4. เน้นการแก้ปัญหาความยากจนในชนบทล้าหลัง กำหนดพื้นที่ เป้าหมาย 286 อำเภอและกิ่งอำเภอ
5. เน้นการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติเช่นมีระบบการบริหารการ พัฒนาชนบทแนวใหม่ประกาศใช้ พ.ศ. 2527
6. เน้นบทบาทและการระดมความร่วมมือจากภาคเอกชน
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 6 พ.ศ.2530-2534
1. เน้นการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการรักษาเสถียรภาพของการเงินการคลัง โดยเน้นการระดมเงินออมในประเทศ เน้นการใช้จ่ายภาครัฐอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ และเน้นบทบาทภาคเอกชนในการพัฒนา
2. เน้นการพัฒนาฝีมือแรงงานและคุณภาพชีวิต
3. เน้นการเพิ่มบทบาทองค์กรประชาชนในท้องถิ่นเพื่อพัฒนาทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
4. เริ่มแผนหลักการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
5. ทบทวนบทบาทรัฐในการพัฒนาประเทศ
6. มีแผนพัฒนารัฐวิสาหกิจ
7. มุ่งปรับโครงสร้างการผลิตและการตลาดของประเทศให้กระจายตัวมากขึ้น
8. เน้นการนำบริการพื้นฐานที่มีอยู่แล้วมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่
9. พัฒนาเมืองและพื้นที่เฉพาะ กระจายความเจริญสู่ภูมิภาค
10. ขยายขอบเขตพัฒนาชนบทครอบคลุมทั่วประเทศ เขตล้าหลัง 5,787 หมู่บ้าน เขตปานกลาง 35,514 หมู่บ้าน และเขตก้าวหน้า 11,612 หมู่บ้าน
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 7 พ.ศ.2535-2539
1. เน้นการรักษาอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง และมีเสถียรภาพ
2. เน้นการกระจายรายได้ และการพัฒนาไปสู่ภูมิภาคและชนบท
3. เน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อม
4. เน้นการพัฒนากฎหมาย รัฐวิสาหกิจ และระบบราชการ
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 พ.ศ.2540-2544
เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของการวางแผนพัฒนาประเทศที่ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม และมุ่งให้ “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” และใช้เศรษฐกิจเป็นเครื่องมือช่วยพัฒนาให้คนมีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นพร้อมทั้ง ปรับเปลี่ยนวิธีการพัฒนาแบบแยกส่วนมาเป็นบูรณาการแบบองค์รวม เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตามในปีแรกของแผนฯ ประเทศไทยต้อง ประสบวิกฤตเศรษฐกิจอย่างรุนแรง และส่งผลกระทบต่อคนและสังคมเป็นอย่างมาก จึงต้องเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจให้มีเสถียรภาพมั่นคง และลดผลกระทบจากวิกฤตที่ก่อให้เกิดปัญหาการว่างงานและความยากจนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
1. การพัฒนาศักยภาพของคน
2. การพัฒนาสภาพแวดล้อมของสังคมให้เอื้อต่อการพัฒนาคน
3. การเสริมสร้างศักยภาพการพัฒนาของภูมิภาคและชนบทเพื่อ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างทั่วถึง
4. การพัฒนาสมรรถนะทางเศรษฐกิจเพื่อสนับสนุนการพัฒนา คนและคุณภาพชีวิต
5. การจัดหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
6. การพัฒนาประชารัฐ เป็นการพัฒนาภาครัฐให้มีสมรรถนะ และพันธกิจหลักในการเสริมสร้างศักยภาพและสมรรถนะ ของคนและมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ
7. การบริหารจัดการเพื่อให้มีการนำแผนพัฒนาฯไปดำเนินการ ให้เกิดผลในทางปฏิบัติด้วยแนวทางการแปลงแผนไปสู่การ ปฏิบัติ
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545 - 2549)
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๔๕–๒๕๔๙) เป็นแผนที่ได้อัญเชิญแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาและบริหารประเทศ ได้อัญเชิญ “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” มาเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาและบริหารประเทศ ควบคู่ไปกับกระบวนทรรศน์การพัฒนาแบบบูรณาการเป็นองค์รวมที่มี “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” ต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 โดยยึดหลักทางสายกลาง เพื่อให้ประเทศรอดพ้นจากวิกฤต สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง และนำไปสู่การพัฒนาที่สมดุล มีคุณภาพและยั่งยืน ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และสถานการณ์เปลี่ยนแปลงต่าง ๆ โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่สมดุลทั้งด้านตัวคน สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมเพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนและความอยู่ดีมีสุขของคนไทย ผลการพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 สรุปได้ว่า ประสบความสำเร็จที่น่าพอใจ เศรษฐกิจของประเทศขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 5.7 ต่อปี เสถียรภาพทางเศรษฐกิจปรับตัวสู่ความมั่นคง ความยากจนลดลง ขณะเดียวกันระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้นมาก อันเนื่องมาจากการดำเนินการเสริมสร้างสุขภาพอนามัยการมีหลักประกันสุขภาพที่ มีการปรับปรุงทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ โดยครอบคลุมคนส่วนใหญ่ของประเทศ และการลดลงของปัญหายาเสพติด
วัตถุประสงค์
(๑) เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจให้มีเสถียรภาพและมีภูมิคุ้มกัน
(๒) เพื่อวางรากฐานการพัฒนาประเทศให้เข้มแข็ง ยั่งยืน สามารถพึ่งตนเองได้อย่างรู้เท่าทันโลก
(๓) เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการที่ดีในสังคมไทยทุกระดับ
(๔) เพื่อแก้ปัญหาความยากจนและเพิ่มศักยภาพและโอกาสของคนไทยในการพึ่งพาตนเอง
ลำดับความสำคัญของการพัฒนา
1. การเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวอย่างรวดเร็วและมีเสถียรภาพ
2. การสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก
3. การบรรเทาปัญหาสังคม 4. การแก้ปัญหาความยากจน
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550 - 2554)
ประเทศไทยยังคงต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในหลายบริบท ทั้งที่เป็นโอกาสและข้อจำกัดต่อการพัฒนาประเทศ จึงต้องมีการเตรียมความพร้อมของคนและระบบให้มีภูมิคุ้มกัน พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น โดยยังคงอัญเชิญ “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” มาเป็นแนวปฏิบัติในการพัฒนาแบบบูรณาการเป็นองค์รวมที่มี “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” ต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 และแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 และให้ความสำคัญต่อการรวมพลังสังคมจากทุกภาคส่วนให้มีส่วนร่วมดำเนินการใน ทุกขั้นตอนของแผนฯ พร้อมทั้งสร้างเครือข่ายการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาสู่การปฏิบัติ รวมทั้งการติดตามตรวจสอบผลการดำเนินงานตามแผนอย่างต่อเนื่อง
วิสัยทัศน์ประเทศไทย
มุ่งพัฒนาสู่ “สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน (Green and Happiness Society)คนไทยมีคุณธรรมนำความรอบรู้ รู้เท่าทันโลก ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง สังคมสันติสุข เศรษฐกิจมีคุณภาพ เสถียรภาพ และเป็นธรรม สิ่งแวดล้อมมีคุณภาพและทรัพยากรธรรมชาติยั่งยืน อยู่ภายใต้ระบบบริหารจัดการประเทศที่มีธรรมาภิบาล ดำรงไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และอยู่ในประชาคมโลกได้อย่างมีศักดิ์ศรี”
พันธกิจ
(1) พัฒนาคนให้มีคุณภาพพร้อมคุณธรรมและรอบรู้อย่างเท่าทัน
(2) เสริมสร้างเศรษฐกิจให้มีคุณภาพ เสถียรภาพ และเป็นธรรม
(3) ดำรงความหลากหลายทางชีวภาพ และสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติและคุณภาพสิ่งแวดล้อม
(4) พัฒนาระบบบริหารจัดการประเทศให้เกิดธรรมาภิบาลภายใต้ระบอบประชาธิปไตยที่มีองค์พระมหากษัตริย์เป็นประมุข
โดยแผนพัฒนาจะมีช่วงการดำเนินการในวาระ 4 ปี เริ่มจากแผนพัฒนาฉบับที่ 1 ปีพ.ศ. 2504-2509 ซึ่งรูปแบบของแผนพัฒนาฯของไทยได้ลอกแบบของอเมริกามา จึงได้มีการจัดตั้งสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผน1 แผน จะเน้นการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจด้วยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศก่อน ซึ่งประเทศไทยได้วางโครงสร้างพื้นฐานเช่น ถนน ระบบประปา ระบบไฟฟ้า และสาธารณูปโภคอื่นๆเพื่อรองรับในการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาประเทศ ช่วงนั้นสหรัฐฯได้เข้ามาช่วยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโดยการช่วยทำถนน เช่นถนนสุขุมวิท ถนนพหลโยธินเป็นต้น ซึ่งตอนนั้นมองความเจริญเป็นความเจริญทางวัตถุโดยปรับระบบเศรษฐกิจให้เข้ากับการพัฒนาวัตถุ โดยได้รับแรงหนุนจากสหรัฐฯ ซึ่งช่วงนั้นแผนฯจะเป็นลักษณะ Top-down Planning ก็คือเป็นแผนที่ส่งตรงมาจากส่วนกลางลงไปที่ส่วนภูมิภาค ซึ่งเราก็ได้เห็นหน่วยงานที่พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น รพช. (สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท)
ยุคต่อมาแผนพัฒนาฯฉบับที่ 3 พ.ศ.2515-2519 และแผนพัฒนาฯฉบับที่ 4 พ.ศ.2520-2524 ในยุคนี้เป็นยุคที่ต่อเนื่องหลังจากที่ได้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานได้พอสมควรแล้ว เมื่อโครงสร้างพื้นฐานพร้อมแล้วจึงได้เริ่มมีการตั้งโรงงานในเขตจังหวัดใกล้เคียงกับ กรุงเทพเพื่อความสะดวกในการขนส่งสินค้ามาขายในเมือง โดยช่วงนั้นประเทศไทยได้เปลี่ยนตัวเองเป็นประเทศอุตสาหกรรมมากขึ้น จากเดิมที่เป็นการผลิตในประเทศเพื่อทดแทนการนำสินค้าเข้า พอผลิตได้เยอะขึ้นก็เปลี่ยนมาเป็นการส่งออก ทำให้เศรษฐกิจมีการขยายตัว แต่ยุคนั้นจะมีความผันผวนทางการเมืองสูง เกิดการประท้วงรัฐบาลของนักศึกษา เกิดเหตุการณ์ความรุนแรงในเดือนตุลาคม2516 เนื่องจากในประชาชนมีรายได้เพิ่มจากเศรษฐกิจที่ดีขึ้น จนเกิดชนชั้นกลาง และมีการตั้งมหาวิทยาลัย มากขึ้นทั้งในส่วนกลางและต่างจังหวัด ประชาชนจึงได้ส่งลูกเข้าเรียนมหาลัย เยาวชนเหล่านี้เมื่อได้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยจึงมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางอุดมการณ์การปกครองในระบบประชาธิปไตย ในยุคนั้นในต่างประเทศก็เกิดภาวะสงครามเย็น ที่มีการสู้รบกันระหว่างแนวความคิดสังคมนิยมของโซเวียต กับประชาธิปไตยของอเมริกา และเมื่อเห็นว่าในประเทศมีการปกครองภายใต้เผด็จการอำนาจนิยมทหารที่มีการสืบทอดอำนาจ จึงรวมตัวกันออกมาเคลื่อนไหวประท้วงรัฐบาล และแนวทางการต่อสู้ของนักศึกษาก็ได้รับชัยชนะ โดยได้โค่นล้มรัฐบาลเผด็จการทหารลงได้ ต่อมาจึงนายสัญญา ธรรมศักดิ์ ซึ่งเป็นพลเรือน จึงได้ขึ้นเป็นนายกฯและได้มีการร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีแนวทางเป็นประชาธิปไตยมากในสมัยนั้น ซึ่งช่วงปีพ.ศ.2516-2519 ประชาชนมีเสรีภาพในการปกครองมาก จึงเกิดการรวมตัวเคลื่อนไหวประท้วงไม่ใช่เฉพาะนักศึกษา แต่ยังมีกลุ่ม ต่างๆที่เรียกร้องสิทธิของตนเช่นกลุ่มผู้ใช้แรงงาน ซึ่งผู้ใช้แรงงานก็เกิดจากการเปลี่ยนประเทศจากเกษตรกรรมมาเป็นอุตสาหกรรม จากแผนฯ1 แผนฯ2 ที่สร้างโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อเปลี่ยนประเทศเข้าสู่การพัฒนาด้านอุตสาหกรรมมากขึ้น ทำให้ไม่ได้ไปดูแลภาคเกษตรกรรม ในการสร้างโรงงานอุตสาหกรรมนั้น ก็ต้องการแรงงานเข้ามาสู่ภาคอุตสาหกรรมนี้ แรงงานคนหนุ่มสาวภาคเกษตรจึงเคลื่อนเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมเป็นจำนวนมาก คนหนุ่มสาวก็ทิ้งบ้านตนเองที่อยู่ชนบทแล้วก็เข้ามาอยู่รวมกันในเมือง ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงงาน วิถีชีวิตก็เปลี่ยนไป การอยู่ในโรงงานกับอยู่ในชนบทมันต่างกัน เพราะการอยู่ในชนบทจะเป็นวิถีชีวิตที่พึ่งพากัน แต่อยู่ในเมืองต้องอยู่อย่างแออัด ซึ่งมีนักทฤษฎีหลายคน ได้ตั้งสมมุติฐานว่า สังคมประชาธิปไตยจะเกิดได้ต้องเป็นสังคมเมือง ต้องเป็นสังคมที่คนรวมกันอยู่แออัด และก็มีความเป็นปัจเจกสูง เวลาโหวตจะได้ไม่มีการซื้อเสียง ซึ่งพวกที่อยู่ในโรงงานจะอยู่ในสภาวะที่ไม่ค่อยดี ถูกกดขี่แรงงานจากนายจ้าง กลุ่มผู้ใช้แรงงานจึงรวมตัวกันประท้วงโดยมีกลุ่มนักศึกษาเป็นผู้สนับสนุน จึงเกิดการเคลื่อนไหวประท้วงในช่วงนี้ถี่มาก ซึงสถิติการประท้วงตั้งแต่ 14 ต.ค.16-6ต.ค. 19 จะเกิดการประท้วงขึ้นเยอะมาก จึงเกิดความไม่พอใจกับประชาชนอีกกลุ่มที่คิดว่าประเทศมีแต่การประท้วงจนไม่มีเวลาไปพัฒนาประเทศแล้วจะไปแข่งกับประเทศอื่นได้อย่างไร ดังนั้นในเหตุการณ์ 6 ต.ค.19 จึงเป็นเหตุการณ์ในลักษณะ ขวาพิฆาตซ้าย คือจะเป็นในลักษณะอนุรักษ์นิยมต่อสู้กับสังคมนิยมแบบคอมมิวนิสต์ ที่เสนอความเท่าเทียมกันในสังคม ซึ่งในเหตุการณ์ 6 ต.ค.19 ฝ่ายนักศึกษาเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ กลุ่มนักศึกษาจึงหนีเข้าป่า โดยมีการรวมกลุ่มกันเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลทหารในป่า ซึ่งในยุคนี้จะมีความผันผวนทางการเมืองเป็นอย่างมาก แต่ในช่วงแผนฯ3 แผนฯ 4 นี้ก็ได้ เริ่มมีการพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่กับการพัฒนาด้านสังคม เพราะรัฐบาลเริ่มตระหนักแล้วว่าพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเดียวคงเอาตัวไม่รอด การพัฒนาเศรษฐกิจกลายเป็นว่ามีคนแค่กระจุกเดียวที่ได้ประโยชน์จากการพัฒนาเศรษฐกิจนั้น แต่ผู้ใช้แรงงานและคนส่วนใหญ่ก็ยังไม่ลืมตาอ้าปากได้ แผนพัฒนฯก็เลยเกลี่ยไปพัฒนาด้านสังคมด้วย ช่างนี้ก็ยังเป็น Top-down Planning ก็คือเป็นแผนที่ส่งตรงมาจากส่วนกลางลงไปที่ส่วนภูมิภาค พอเสร็จสิ้นแผนฯ4 ก็เข้าสู่แผนฯ5 ซึ่งการเมืองเริ่มเป็นประชาธิปไตย แต่เป็นประชาธิปไตยแบบครึ่งใบ คือไม่เป็นประชาธิปไตยเต็มรูปแบบเช่น ส.ว.มาจากการแต่งตั้ง นายกฯมาจากการแต่งตั้งจากบุคคลภายนอกไม่ใช่เป็นส.ส. และไม่ได้รับเสียงโหวตในสภาฯให้เป็นนายกฯ ซึ่งยุคนี้อยู่ช่วงแผนฯ 5,6,7 และการเมืองเริ่มนิ่ง อยู่ในช่วงสมัยพลเอก เปรมเป็นนายกฯ แต่การเมืองสมัยนี้ก็ยังมีแรงกระเพื่อม เช่นการลอบฆ่านายก,ผู้นำทหาร แต่ก็ยังทำไม่สำเร็จและพลเอกเปรมสามารถควบคุมการเมืองได้ ช่วงประชาธิปไตยครึ่งใบนี้ก็เริ่มให้พื้นที่กับนักการเมืองเพิ่มมากขึ้น จากเดิมที่ทหารคุมทั้งหมด โดยมีระบบการเลือกตั้ง มีระบบรัฐสภาที่เข้มแข็งมากขึ้น การเมืองมีเสถียรภาพมั่นคงมาก เมื่อการเมืองนิ่งเศรษฐกิจก็เริ่มดีขึ้นเรื่อยๆ นำไปสู่การมุ่งขยายการพัฒนาชนบท ซึ่งช่วงนั้นแผนฯเริ่มที่จะเป็นลักษณะ Top-down & Bottom Up Planning ก็คือเป็นแผนที่ส่งตรงมาจากส่วนกลางลงไปที่ส่วนภูมิภาค และส่วนภูมิภาคก็ยังมีโอกาสเสนอแนวทางพัฒนาในระดับล่าง ขึ้นไปยังส่วนกลาง แต่ในช่วงพลเอกเปรม นั้นก็ยังมีปัญหาเศรษฐกิจ เกี่ยวกับปัญหาน้ำมันแพงในตลาดโลก ซึ่งส่งผลกระทบเศรษฐกิจทั่วโลกรวมถึงในประเทศไทย พลเอกเปรมจึงแก้ปัญหาโดยออกนโยบายรัดเข็มขัดทางการคลัง ไม่ให้ใช้จ่ายฟุ่มเฟือยรวมไปถึงรณรงค์ให้ประชาชนประหยัดพลังงานเช่นรณรงค์ให้ปิดไฟ ทีวีไม่แพร่ภาพช่วงหัวค่ำที่มีคนดูเยอะ เป็นนโยบายที่ช่วยให้ประหยัดได้จริง
หลังจากช่วงพลเอกเปรม พลเอกชาติชาย ชุณหวัน ก็ได้เข้ามาเป็นนายก โดยเป็นนายกที่ได้รับเสียงโหวตจากสภาเป็นคนแรก โดยใช้สแกนในการหาเสียงว่าถ้าอยากให้เศรษฐกิจดีต้องเลือกพลเอกชาติชายฯ และเมื่อได้เข้ามาเป็นนายยกฯแล้วก็ได้ใช้นโยบายเปลี่ยนสนามรบให้เป็นสนามการค้า ซึ่งพลเอกชาติชายมีพื้นฐาน ในการเป็นทูตทหารจึงได้เห็นบริบทการเปลี่ยนแปลงของประเทศต่างๆจึงได้นำความรู้ด้านการทูตมาจัดทำนโยบาย ซึ่งเป็นแนวคิดแบบทหารหัวสมัยใหม่ ความเจริญเศรษฐกิจในช่วงนั้นได้รับผลจากการดำเนินนโยบายนี้และได้รับผลจากเศรษฐกิจภายนอกประเทศที่ค่าเงิน เยน ของญี่ปุ่นแข็งตัว ทำให้สินค้าอุตสาหกรรมต่างๆที่ผลิตในญี่ปุ่นมีต้นทุนและราคาสูงเนื่องมาจากการแข็งตัวของค่าเงินในญี่ปุ่นเอง ญี่ปุ่นจึงแก้ปัญหานี้โดยย้ายฐานการผลิตมายังประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งในสมัยนั้นญี่ปุ่นมองว่าประเทศไทยมีศักยภาพสูงสุดในภูมิภาคนี้ มีความพร้อมในการวางฐานการผลิตสินค้าของญี่ปุ่น ซึ่งฝีมือทักษะของแรงงานไทย มีความละเอียดและคุณภาพใกล้เคียงกับประเทศญี่ปุ่น ในยุคนี้ได้เปลี่ยนสินค้าส่งออก จากที่ส่งออกข้าวเป็นอันดับหนึ่งของประเทศกลายมาเป็นสินค้าประเภทอิเล็กทรอนิกส์ และชิ้นส่วนยานยนต์ ที่มีการส่งออกสูงมาก เศรษฐกิจในช่วงนี้มีความคล่องตัวสูงเพราะญี่ปุ่นได้ย้ายฐานการผลิตและได้นำเงินมาลงทุนในประเทศไทยจำนวนมากและได้มีการขยายโรงงานออกไปตามต่างจังหวัด และขยายถนนเป็นโครงข่ายโลจิสติกส์ ใช้สำหรับขนส่งสินค้า ซึ่งทำให้เป็นการพัฒนาชนบทไปในตัว เป็นการสร้างงานเป็นอย่างมาก ทำให้เศรษฐกิจโตอย่างรวดเร็ว จนเกิดชนชั้นกลางเป็นจำนวนมาก แต่ในสมัยนั้นก็มีการทุจริตในรัฐบาลเป็นอย่างมาก จนถูกเรียกว่าเป็นการทุจริตแบบบุปเฟ่คาบิเน็ส จนเกิดเหตุการณ์ปฏิวัติรัฐประหาร และเกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ หลังจากนั้นนายอานันท์ ปันยารชุณ ก็ได้ขึ้นมาเป็นนายกฯ นายอานันท์ได้เข้ามาโดยการแต่งตั้งแต่ก็ไม่ได้เป็นนายกฯที่เข้ามารักษาการ เหมือนคนอื่นๆ นายอานันท์ได้มีนโยบายปรับปรุงประเทศในหลายๆเรื่องเช่น ทำแท็กซี่มิเตอร์ และแก้ไขเกี่ยวกับเรื่องเงินทุน ที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศได้อย่างเสรี คือเปิดเสรีทางด้านการเงิน ทำให้เงินต่างประเทศไหลเข้ามาในประเทศเป็นอย่างมาก แต่เงินที่ไหลเข้ามานั้น ไม่ได้เข้ามาเพื่อลงทุนสร้างเศรษฐกิจแต่เป็นการไหลเพื่อเข้ามาให้นักลงทุนได้กู้ ซึ่งนักลงทุนในประเทศเข้าถึงแหล่งเงินกู้ได้ง่าย ทำให้เหมือนเศรษฐกิจพองตัว แต่แท้ที่จริงแล้ว การกู้ส่วนมากจะกู้ไปเพื่อเก็งกำไร โดยการซื้อที่ดิน อสังหาริมทรัพย์ และลงทุนในสินค้าที่คิดว่าเก็บไว้เพื่อเก็งกำไรในอนาคต ปรากฏว่า ต่อมาสินค้าสินค้าเหล่านั้นขายคืนไม่ได้กำไรอย่างที่นักลงทุนคิด เกิดหนี้เสีย ในสมัยรัฐบาลนายกฯเชาวลิต ยงใจยุทธอย่างมาก จนเกิดภาวะที่เรียกว่าฟองสบู่แตก เป็นผลมาจากที่ชนชั้นกลางชนะในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ทำให้ชนชั้นกลาง ฮึกเหิมและคิดว่าสามารถกำหนดเศรษฐกิจได้ พอเกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง เมื่อปี 2540 ทำให้รัฐบาลนายกฯเชาวลิตต้องลาออก ชนชั้นกลางมีหนี้สินเป็นจำนวนมาก ต่อมานายกฯชวนก็เข้ามาเป็นรัฐบาล และแก้ปัญหาเรื่องการเงินโดยไปกู้ IMF และอยู่ภายใต้การครอบงำของIMF ซึ่งต้องทำตามนโยบายทางการเงินที่ IMF กำหนด จนรัฐบาลนี้ถูกเรียกว่าเป็นเด็กดีของIMF ภาวะเศรษฐกิจในช่วงนี้สถาบันการเงินและธนาคารมีหนี้สินจำนวนมาก และจะกลายเป็นหนี้เสีย รัฐบาลกลัวว่าสถาบันการเงินเหล่านั้นจะล้ม จึงให้โอนหนี้ของสถาบันการเงินให้เข้าระบบมาเป็นหนี้ของรัฐบาล สร้างความไม่พอใจกับประชาชนและผู้มีเงินฝากในธนาคารเนื่องจากต้องรับภาระหนี้ที่ไม่ได้ก่อนั้นด้วย หนี้เหล่านั้นกลายเป็นหนี้สาธารณะไป ซึ่งเป็นการไม่แฟร์ในการแก้ปัญหาหนี้ แต่รัฐบาลก็ไม่รู้จะทำอย่างไร ซึ่งวิกฤตในปี2540 นี้เป็นวิกฤตที่สภาพัฒน์ฯไม่ได้คาดการณ์มาก่อน จึงปรับตัวไม่ทันในเรื่องของการจัดทำแผนฯ ในแผนฯฉบับที่ 8 จึงยึดคนเป็นจุดศูนย์กลางในการพัฒนา และมาปรับตัวในแผนฯที่ 9คือเน้นการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมโดยเน้นพัฒนาในเชิงเศรษฐกิจพอเพียง เนื่องจากแผนฯที่ผ่านๆมาเน้นการเปิดประเทศ และประเทศได้รับผลกระทบจากกระแสทุนนิยมเป็นอย่างมากทำให้ประเทศปรับตัวไม่ทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงของกระแสทุนนิยม จึงต้องหันมาเน้นแนวทางของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจอีกรอบ โดยแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงนี้ใด้ใช้เป็นแนวทางต่อเนื่องจนมาถึงแผนปัจจุบันคือแผนฯที่10 โดยได้มุ่งพัฒนาสู่ สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน คนไทยมีคุณธรรมนำความรอบรู้ รู้เท่าทันโลก ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง สังคมสันติสุข เศรษฐกิจมีคุณภาพ เสถียรภาพ และเป็นธรรม สิ่งแวดล้อมมีคุณภาพและทรัพยากรธรรมชาติยั่งยืน อยู่ภายใต้ระบบบริหารจัดการประเทศที่มีธรรมาภิบาล ดำรงไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และอยู่ในประชาคมโลกได้อย่างมีศักดิ์ศรี
จะเห็นได้ว่าแผนฯของไทยจะเน้นพัฒนาเศรษฐกิจเป็นหลัก ในช่วงของการพัฒนาประเทศในช่วงแรก แล้วค่อยๆมากลับลำมาเน้นพัฒนาคนทีหลัง เน้นเรื่องความพอเพียงทีหลังนะคะ ในขณะที่ประเทศสิงคโปร์ จะเน้นพัฒนาคนก่อน เพราะประเทศสิงคโปร์เป็นประเทศเล็กเทียบไม่ได้กับประเทศไทย ประเทศสิงคโปร์กลัวประเทศไทยมากเพราะไทยมีทรัพยากรพร้อมทุกอย่าง จึงได้จ้างอาจารย์มหาลัย ในอังกฤษมาวางยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศ ซึ่งก็ต้องเน้นเรื่องการพัฒนาคน เพราะสิงค์โปรไม่มีทรัพยากรอื่นๆมากมายนอกจากทรัพยากรมนุษย์ จึงต้องเน้นพัฒนาคน แต่ถ้าถามว่าเมืองไทยมีศักยภาพดีไหม๊ ซึ่งจริงๆแล้วไทยมีศักยภาพในการพัฒนาดีมากแต่เราต้องมาให้ถูกทาง โดยเรามีวัฒธรรมที่เข็มแข็งในการที่จะก้าวไปข้างหน้า
สรุปสาระสำคัญของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1-10
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 พ.ศ.2504-2509
เน้นเฉพาะด้านเศรษฐกิจเป็นสำคัญ โดยเฉพาะการลงทุนใน สิ่งก่อสร้างขั้นพื้นฐานในรูปแบบของระบบคมนาคมและ ขนส่ง ระบบเขื่อนเพื่อการชลประทานและพลังงานไฟฟ้า สาธารณูปการ ฯลฯ รัฐทุ่มเททรัพยากรเข้าไปเพื่อการปู พื้นฐานให้มีการลงทุนในด้านเอกชนเป็นหลัก
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ.2510-2514
ยึดแนวทางแผน 1 โดยขยายขอบเขตของแผนให้ครอบคลุม ถึงการพัฒนาของรัฐ โดยสมบูรณ์กระจายให้บังเกิดผลไปทั่ว ประเทศ เน้นเขตทุรกันดารและห่างไกลความเจริญ และมี โครงการ พิเศษนอกเหนือไปจากหน้าที่ปกติของกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ เช่น โครงการพัฒนาภาค โครงการเร่งรัด พัฒนาชนบทและโครงการช่วยเหลือชาวนา ฯลฯ
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ.2515-2519
1.รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ โดยรักษาอัตราการขยายตัวของปริมาณเงินตรา, รักษาระดับราคาสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพ, รักษาเสถียรภาพทางการเงินระหว่างประเทศ, ส่งเสริมการส่งออก, ปรับปรุงโครงสร้างการนำเข้า
2. ปรับปรุงโครงสร้างทางเศรษฐกิจและยกระดับการผลิต เร่งรัดการส่งออกและทดแทนสินค้านำเข้า ปรับงบลงทุนในโครงการก่อสร้างมาสนับสนุนการลงทุนเพื่อใช้ประโยชน์จากโครงการขั้นพื้นฐานที่มีอยู่
3. กระจายรายได้และบริการทางสังคม โดยลดอัตราการเพิ่มประชากร กระจายบริการเศรษฐกิจและสังคมสู่ชนบท ปรับปรุงสถาบันและองค์กรทางด้านเกษตรและสินเชื่อ รักษาระดับราคาสินค้าเกษตร
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 4 พ.ศ.2520-2524
1. เน้นการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศโดยมุ่งขยายการผลิต สาขาเกษตร, ปรับปรุงโครงสร้างอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อส่ง ออก, กระจายรายได้และการมีงานทำในภูมิภาค, มาตรการ กระตุ้นอุตสาหกรรมที่ซบเซา, รักษาดุลการชำระเงินและการ ขาดดุลงบประมาณ
2. เร่งบูรณะและปรับปรุงการบริหารทรัพยากรหลักของชาติ รวมทั้งการนำเอาทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ โดยเฉพาะที่ดิน แหล่งน้ำ ป่าไม้และแหล่งแร่, เร่งรัดการปฏิรูปที่ดิน, จัดสรร แหล่งน้ำในประเทศ, อนุรักษ์ทะเลหลวง, สำรวจและพัฒนา แหล่งพลังงานในอ่าวไทยและภาคใต้ฝั่งตะวันออก
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 พ.ศ.2525-2529
1. ยึดพื้นที่เป็นหลักในการวางแผน กำหนดแผนงานและโครง การให้มีผลทางปฏิบัติทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เช่น พื้นที่ เป้าหมายเพื่อพัฒนาชนบท พื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก พื้น ที่เมืองหลัก ฯลฯ
2. เน้นการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจการเงินของประเทศ เป็นพิเศษโดยการเร่งระดมเงินออม, สร้างวินัยทางเศรษฐกิจ การเงิน และการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจต่าง ๆ เช่น ปรับ โครงสร้างการเกษตร ปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมเพื่อการส่ง ออกและกระจายอุตสาหกรรมไปสู่ส่วนภูมิภาค, ปรับโครง สร้างการค้าต่างประเทศ และบริการ, ปรับโครงสร้างการผลิต และการใช้พลังงาน ฯลฯ
3. เน้นความสมดุลในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมของ ประเทศ
4. เน้นการแก้ปัญหาความยากจนในชนบทล้าหลัง กำหนดพื้นที่ เป้าหมาย 286 อำเภอและกิ่งอำเภอ
5. เน้นการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติเช่นมีระบบการบริหารการ พัฒนาชนบทแนวใหม่ประกาศใช้ พ.ศ. 2527
6. เน้นบทบาทและการระดมความร่วมมือจากภาคเอกชน
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 6 พ.ศ.2530-2534
1. เน้นการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการรักษาเสถียรภาพของการเงินการคลัง โดยเน้นการระดมเงินออมในประเทศ เน้นการใช้จ่ายภาครัฐอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ และเน้นบทบาทภาคเอกชนในการพัฒนา
2. เน้นการพัฒนาฝีมือแรงงานและคุณภาพชีวิต
3. เน้นการเพิ่มบทบาทองค์กรประชาชนในท้องถิ่นเพื่อพัฒนาทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
4. เริ่มแผนหลักการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
5. ทบทวนบทบาทรัฐในการพัฒนาประเทศ
6. มีแผนพัฒนารัฐวิสาหกิจ
7. มุ่งปรับโครงสร้างการผลิตและการตลาดของประเทศให้กระจายตัวมากขึ้น
8. เน้นการนำบริการพื้นฐานที่มีอยู่แล้วมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่
9. พัฒนาเมืองและพื้นที่เฉพาะ กระจายความเจริญสู่ภูมิภาค
10. ขยายขอบเขตพัฒนาชนบทครอบคลุมทั่วประเทศ เขตล้าหลัง 5,787 หมู่บ้าน เขตปานกลาง 35,514 หมู่บ้าน และเขตก้าวหน้า 11,612 หมู่บ้าน
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 7 พ.ศ.2535-2539
1. เน้นการรักษาอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง และมีเสถียรภาพ
2. เน้นการกระจายรายได้ และการพัฒนาไปสู่ภูมิภาคและชนบท
3. เน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อม
4. เน้นการพัฒนากฎหมาย รัฐวิสาหกิจ และระบบราชการ
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 พ.ศ.2540-2544
เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของการวางแผนพัฒนาประเทศที่ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม และมุ่งให้ “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” และใช้เศรษฐกิจเป็นเครื่องมือช่วยพัฒนาให้คนมีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นพร้อมทั้ง ปรับเปลี่ยนวิธีการพัฒนาแบบแยกส่วนมาเป็นบูรณาการแบบองค์รวม เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตามในปีแรกของแผนฯ ประเทศไทยต้อง ประสบวิกฤตเศรษฐกิจอย่างรุนแรง และส่งผลกระทบต่อคนและสังคมเป็นอย่างมาก จึงต้องเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจให้มีเสถียรภาพมั่นคง และลดผลกระทบจากวิกฤตที่ก่อให้เกิดปัญหาการว่างงานและความยากจนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
1. การพัฒนาศักยภาพของคน
2. การพัฒนาสภาพแวดล้อมของสังคมให้เอื้อต่อการพัฒนาคน
3. การเสริมสร้างศักยภาพการพัฒนาของภูมิภาคและชนบทเพื่อ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างทั่วถึง
4. การพัฒนาสมรรถนะทางเศรษฐกิจเพื่อสนับสนุนการพัฒนา คนและคุณภาพชีวิต
5. การจัดหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
6. การพัฒนาประชารัฐ เป็นการพัฒนาภาครัฐให้มีสมรรถนะ และพันธกิจหลักในการเสริมสร้างศักยภาพและสมรรถนะ ของคนและมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ
7. การบริหารจัดการเพื่อให้มีการนำแผนพัฒนาฯไปดำเนินการ ให้เกิดผลในทางปฏิบัติด้วยแนวทางการแปลงแผนไปสู่การ ปฏิบัติ
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545 - 2549)
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๔๕–๒๕๔๙) เป็นแผนที่ได้อัญเชิญแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาและบริหารประเทศ ได้อัญเชิญ “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” มาเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาและบริหารประเทศ ควบคู่ไปกับกระบวนทรรศน์การพัฒนาแบบบูรณาการเป็นองค์รวมที่มี “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” ต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 โดยยึดหลักทางสายกลาง เพื่อให้ประเทศรอดพ้นจากวิกฤต สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง และนำไปสู่การพัฒนาที่สมดุล มีคุณภาพและยั่งยืน ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และสถานการณ์เปลี่ยนแปลงต่าง ๆ โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่สมดุลทั้งด้านตัวคน สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมเพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนและความอยู่ดีมีสุขของคนไทย ผลการพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 สรุปได้ว่า ประสบความสำเร็จที่น่าพอใจ เศรษฐกิจของประเทศขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 5.7 ต่อปี เสถียรภาพทางเศรษฐกิจปรับตัวสู่ความมั่นคง ความยากจนลดลง ขณะเดียวกันระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้นมาก อันเนื่องมาจากการดำเนินการเสริมสร้างสุขภาพอนามัยการมีหลักประกันสุขภาพที่ มีการปรับปรุงทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ โดยครอบคลุมคนส่วนใหญ่ของประเทศ และการลดลงของปัญหายาเสพติด
วัตถุประสงค์
(๑) เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจให้มีเสถียรภาพและมีภูมิคุ้มกัน
(๒) เพื่อวางรากฐานการพัฒนาประเทศให้เข้มแข็ง ยั่งยืน สามารถพึ่งตนเองได้อย่างรู้เท่าทันโลก
(๓) เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการที่ดีในสังคมไทยทุกระดับ
(๔) เพื่อแก้ปัญหาความยากจนและเพิ่มศักยภาพและโอกาสของคนไทยในการพึ่งพาตนเอง
ลำดับความสำคัญของการพัฒนา
1. การเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวอย่างรวดเร็วและมีเสถียรภาพ
2. การสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก
3. การบรรเทาปัญหาสังคม 4. การแก้ปัญหาความยากจน
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550 - 2554)
ประเทศไทยยังคงต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในหลายบริบท ทั้งที่เป็นโอกาสและข้อจำกัดต่อการพัฒนาประเทศ จึงต้องมีการเตรียมความพร้อมของคนและระบบให้มีภูมิคุ้มกัน พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น โดยยังคงอัญเชิญ “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” มาเป็นแนวปฏิบัติในการพัฒนาแบบบูรณาการเป็นองค์รวมที่มี “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” ต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 และแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 และให้ความสำคัญต่อการรวมพลังสังคมจากทุกภาคส่วนให้มีส่วนร่วมดำเนินการใน ทุกขั้นตอนของแผนฯ พร้อมทั้งสร้างเครือข่ายการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาสู่การปฏิบัติ รวมทั้งการติดตามตรวจสอบผลการดำเนินงานตามแผนอย่างต่อเนื่อง
วิสัยทัศน์ประเทศไทย
มุ่งพัฒนาสู่ “สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน (Green and Happiness Society)คนไทยมีคุณธรรมนำความรอบรู้ รู้เท่าทันโลก ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง สังคมสันติสุข เศรษฐกิจมีคุณภาพ เสถียรภาพ และเป็นธรรม สิ่งแวดล้อมมีคุณภาพและทรัพยากรธรรมชาติยั่งยืน อยู่ภายใต้ระบบบริหารจัดการประเทศที่มีธรรมาภิบาล ดำรงไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และอยู่ในประชาคมโลกได้อย่างมีศักดิ์ศรี”
พันธกิจ
(1) พัฒนาคนให้มีคุณภาพพร้อมคุณธรรมและรอบรู้อย่างเท่าทัน
(2) เสริมสร้างเศรษฐกิจให้มีคุณภาพ เสถียรภาพ และเป็นธรรม
(3) ดำรงความหลากหลายทางชีวภาพ และสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติและคุณภาพสิ่งแวดล้อม
(4) พัฒนาระบบบริหารจัดการประเทศให้เกิดธรรมาภิบาลภายใต้ระบอบประชาธิปไตยที่มีองค์พระมหากษัตริย์เป็นประมุข
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น